กรุงเทพ--9 ก.พ.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2547 นายเตช บุนนาค ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ได้เป็นประธานการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกรอบความร่วมมือเศรษฐกิจบังกลาเทศ-อินเดีย-พม่า-ศรีลังกา-ไทย (Bangladesh-India-Myanmar-Sri Lanka-Thailand Economic Cooperation) หรือ BIMST-EC ครั้งที่ 7 ที่ โรงแรม เลอ เมอริเดียน จังหวัดภูเก็ตภายหลังการประชุม ปลัดกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวผลการประชุม เจ้าหน้าที่อาวุโส BIMST-EC ดังนี้
1. กรอบความร่วมมือเศรษฐกิจ บังกลาเทศ-อินเดีย-พม่า-ศรีลังกา-ไทย หรือ BIMST-EC ก่อตั้งจากการริเริ่มของไทย ในนาม BIST-EC (Bangladesh-India-Sri Lanka-Thailand Economic Cooperation) ตั้งแต่ปี 2540 และต่อมาเมื่อพม่าเข้าร่วมเป็นสมาชิกจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น BIMST-EC (Bangladesh-India-Myanmar-Sri Lanka-Thailand Economic Cooperation) และเมื่อเดือนธันวาคม 2546 เนปาลและภูฏาน ได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกอื่นให้เข้าเป็นสมาชิกของ BIMST-EC ทั้งนี้ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ปรากฏว่าความร่วมมือในกรอบ BIMST-EC ได้รับแรงผลักดันมากขึ้น เนื่องจากนโยบาย Look West ของประเทศไทยในขณะที่ ประเทศในเอเชียใต้ โดยเฉพาะอินเดียก็ดำเนินนโยบาย Look East มายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก และจากการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ BIMST-EC ครั้งที่แล้ว ที่กรุงโคลัมโบ ทุก ๆ ฝ่ายเห็นตรงกันในการยกระดับความร่วมมือในกรอบ BIMST-EC โดยให้มี การจัดการประชุมสุดยอดครั้งแรกของ BIMST-EC ขึ้น
2. วัตถุประสงค์ของการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสในวันนี้คือการติดตามความ คืบหน้าของการดำเนินงานตามมติที่ประชุมรัฐมนตรี BIMST-EC ครั้งที่แล้ว (ครั้งที่ 5) ซึ่งจัดที่ ศรีลังกาเมื่อปี 2545 และเพื่อเป็นการเตรียมการสำหรับการประชุมระดับรัฐมนตรีในวันที่ 8 กุมภาพันธ์และการประชุมผู้นำ BIMST-EC ซึ่งเดิมกำหนดจะมีขึ้นในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2547 แต่ได้เลื่อนออกไปและขณะนี้ อยู่ในระหว่างการทาบทามกำหนดวันใหม่
3. เจ้าหน้าที่อาวุโสรับทราบรายงานผลความคืบหน้าของความร่วมมือ 6 สาขา ได้แก่ การค้าและการลงทุน การคมนาคมและขนส่ง เทคโนโลยี พลังงานและประมง ตลอดจนโครงการที่ประเทศสมาชิก BIMST-EC กำหนดให้ความสำคัญอันดับต้น รวมทั้งประเด็นสำคัญ อีกประการได้แก่ การพิจารณากรอบความตกลงการจัดตั้งเขตการค้าเสรี BIMST-EC ซึ่งในประเด็นนี้ ที่ประชุมรัฐมนตรีการค้า/เศรษฐกิจ BIMST-EC ที่จะมีขึ้นในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2547 จะได้มีการพิจารณากัน โดยหากเป็นไปด้วยดี จะมีการลงนามกรอบความตกลงฯ ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ศกนี้
4. ในการประชุมวันนี้ ที่ประชุมได้มีการหารือและทบทวนความร่วมมือภายใต้โครงการที่สำคัญต่าง ๆ ดังนี้
4.1 โครงการปีการท่องเที่ยว BIMST-EC ปี ค.ศ. 2004 (Visit BIMST-EC Year 2004) ซึ่งประเทศสมาชิกได้ร่วมการเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2547 ที่กรุงนิวเดลี โดยมีการจัดทำเอกสาร โปสเตอร์ CD-ROM โดยโครงการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนการตลาดและประชาสัมพันธ์ร่วมกัน อาทิเช่น การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์วิทยาและพุทธศาสนา
4.2 โครงการ BIMST-EC Trans-Power and Development Project ภายใต้ความร่วมมือด้านพลังงานซึ่งพม่าเป็นประเทศแกนนำนั้น ประเทศไทยได้เสนอที่จะเป็นผู้นำในการศึกษาความร่วมมือในการพัฒนาเครือข่ายและการซื้อขายพลังงานระหว่างประเทศสมาชิก BIMST-EC
4.3 โครงการ Ecosystem-Based Fishery Management in the Bay of Bengal ที่เสนอโดยประเทศไทย เพื่อสำรวจทรัพยากรทางทะเลในอ่าวเบงกอลร่วมกันเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเล
4.4 โครงการพัฒนาการเชื่อมโยงเครือข่ายถนนในไทย-พม่า-อินเดีย ซึ่งเป็นโครงการร่วมกันในการพัฒนาถนนในพม่าตั้งแต่ชายแดนประเทศไทยที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เข้าไปในพม่าโดยผ่านเมืองพุกาม และไปสู่ภาคตะวันออกของอินเดียที่เมืองมอเร (Moreh)
4.5 ที่ประชุมเน้นให้ประเทศสมาชิก BIMST-EC เปิดเสรีการบินเพื่อส่งเสริมการค้า การท่องเที่ยวและการไปมาหาสู่ระหว่างประเทศสมาชิก BIMST-EC
4.6 ที่ประชุมให้ความสำคัญกับความร่วมมือทางวิชาการ และแสดงความ ชื่นชมไทยที่สนับสนุนโครงการฝึกอบรมด้านการค้าที่สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (International Institute for Trade and Development - ITD) นอกไปจากนั้นฝ่ายไทยได้ประกาศให้ทุนการศึกษาแก่บุคลากรประเทศสมาชิก BIMST-EC จำนวน 100 ทุนและอินเดียประกาศให้ทุนอบรมจำนวน 150 ทุนด้วย
5. นอกไปจากนั้นที่ประชุมยังได้พิจารณาข้อเสนอเพื่อปรับปรุงทิศทางในอนาคตของ BIMST-EC ดังนี้
5.1 ที่ประชุมเห็นพ้องกับข้อเสนอของไทยให้จัดตั้งหน่วยงาน Technical Support Facility (TSF) เพื่อช่วยปรับปรุงกลไกการประสานงานระหว่างประเทศสมาชิกกับภาคเอกชน BIMST-EC ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ประเทศไทยจะสนับสนุนทางการเงินในการจัดตั้ง TSF ในช่วงการทดลองเป็นเวลา 2 ปี ขึ้นที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประเทศสมาชิก BIMST-EC สามารถสนับสนุนบุคลากรเพิ่มเติมได้ตามสมัครใจ
5.2 ที่ประชุมฯ เห็นด้วยที่จะอำนวยความสะดวกในการเดินทางของนักธุรกิจของประเทศสมาชิก โดยจะพยายามออกมาตรการการตรวจลงตรา long-term multiple visa สำหรับนักธุรกิจของประเทศ BIMST-EC
5.3 การส่งเสริมการติดต่อไปมาหาสู่ประชาชนระหว่างกัน (People to People Contact) เช่น การแข่งขันฟุตบอลเยาวชน BIMST-EC ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นเป็นครั้งแรก และจะมีการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศในช่วงบ่ายของวันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2547 โดยนายกรัฐมนตรีจะเป็นประธานในพิธีปิด ที่ประชุมฯ ขอให้ประเทศสมาชิกอื่น ๆ จัดต่อเนื่อง ในปีต่อ ๆ ไป
6. นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้เห็นถึงความจำเป็นที่ประเทศสมาชิก BIMST-EC จะได้ส่งเสริมความร่วมมืออย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้นเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาเรื่องการก่อการร้าย ข้ามชาติ และปัญหาโรคติดเชื้อ (infectious diseases) โดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความ ร่วมมือทางวิชาการ
7. ในวันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2547 จะมีการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ/การค้า BIMST-EC เพื่อติดตามความคืบหน้าและวางนโยบายสำหรับโครงการต่าง ๆ ภายใต้ความร่วมมือการค้าและการลงทุน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2547 นายเตช บุนนาค ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ได้เป็นประธานการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกรอบความร่วมมือเศรษฐกิจบังกลาเทศ-อินเดีย-พม่า-ศรีลังกา-ไทย (Bangladesh-India-Myanmar-Sri Lanka-Thailand Economic Cooperation) หรือ BIMST-EC ครั้งที่ 7 ที่ โรงแรม เลอ เมอริเดียน จังหวัดภูเก็ตภายหลังการประชุม ปลัดกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวผลการประชุม เจ้าหน้าที่อาวุโส BIMST-EC ดังนี้
1. กรอบความร่วมมือเศรษฐกิจ บังกลาเทศ-อินเดีย-พม่า-ศรีลังกา-ไทย หรือ BIMST-EC ก่อตั้งจากการริเริ่มของไทย ในนาม BIST-EC (Bangladesh-India-Sri Lanka-Thailand Economic Cooperation) ตั้งแต่ปี 2540 และต่อมาเมื่อพม่าเข้าร่วมเป็นสมาชิกจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น BIMST-EC (Bangladesh-India-Myanmar-Sri Lanka-Thailand Economic Cooperation) และเมื่อเดือนธันวาคม 2546 เนปาลและภูฏาน ได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกอื่นให้เข้าเป็นสมาชิกของ BIMST-EC ทั้งนี้ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ปรากฏว่าความร่วมมือในกรอบ BIMST-EC ได้รับแรงผลักดันมากขึ้น เนื่องจากนโยบาย Look West ของประเทศไทยในขณะที่ ประเทศในเอเชียใต้ โดยเฉพาะอินเดียก็ดำเนินนโยบาย Look East มายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก และจากการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ BIMST-EC ครั้งที่แล้ว ที่กรุงโคลัมโบ ทุก ๆ ฝ่ายเห็นตรงกันในการยกระดับความร่วมมือในกรอบ BIMST-EC โดยให้มี การจัดการประชุมสุดยอดครั้งแรกของ BIMST-EC ขึ้น
2. วัตถุประสงค์ของการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสในวันนี้คือการติดตามความ คืบหน้าของการดำเนินงานตามมติที่ประชุมรัฐมนตรี BIMST-EC ครั้งที่แล้ว (ครั้งที่ 5) ซึ่งจัดที่ ศรีลังกาเมื่อปี 2545 และเพื่อเป็นการเตรียมการสำหรับการประชุมระดับรัฐมนตรีในวันที่ 8 กุมภาพันธ์และการประชุมผู้นำ BIMST-EC ซึ่งเดิมกำหนดจะมีขึ้นในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2547 แต่ได้เลื่อนออกไปและขณะนี้ อยู่ในระหว่างการทาบทามกำหนดวันใหม่
3. เจ้าหน้าที่อาวุโสรับทราบรายงานผลความคืบหน้าของความร่วมมือ 6 สาขา ได้แก่ การค้าและการลงทุน การคมนาคมและขนส่ง เทคโนโลยี พลังงานและประมง ตลอดจนโครงการที่ประเทศสมาชิก BIMST-EC กำหนดให้ความสำคัญอันดับต้น รวมทั้งประเด็นสำคัญ อีกประการได้แก่ การพิจารณากรอบความตกลงการจัดตั้งเขตการค้าเสรี BIMST-EC ซึ่งในประเด็นนี้ ที่ประชุมรัฐมนตรีการค้า/เศรษฐกิจ BIMST-EC ที่จะมีขึ้นในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2547 จะได้มีการพิจารณากัน โดยหากเป็นไปด้วยดี จะมีการลงนามกรอบความตกลงฯ ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ศกนี้
4. ในการประชุมวันนี้ ที่ประชุมได้มีการหารือและทบทวนความร่วมมือภายใต้โครงการที่สำคัญต่าง ๆ ดังนี้
4.1 โครงการปีการท่องเที่ยว BIMST-EC ปี ค.ศ. 2004 (Visit BIMST-EC Year 2004) ซึ่งประเทศสมาชิกได้ร่วมการเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2547 ที่กรุงนิวเดลี โดยมีการจัดทำเอกสาร โปสเตอร์ CD-ROM โดยโครงการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนการตลาดและประชาสัมพันธ์ร่วมกัน อาทิเช่น การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์วิทยาและพุทธศาสนา
4.2 โครงการ BIMST-EC Trans-Power and Development Project ภายใต้ความร่วมมือด้านพลังงานซึ่งพม่าเป็นประเทศแกนนำนั้น ประเทศไทยได้เสนอที่จะเป็นผู้นำในการศึกษาความร่วมมือในการพัฒนาเครือข่ายและการซื้อขายพลังงานระหว่างประเทศสมาชิก BIMST-EC
4.3 โครงการ Ecosystem-Based Fishery Management in the Bay of Bengal ที่เสนอโดยประเทศไทย เพื่อสำรวจทรัพยากรทางทะเลในอ่าวเบงกอลร่วมกันเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเล
4.4 โครงการพัฒนาการเชื่อมโยงเครือข่ายถนนในไทย-พม่า-อินเดีย ซึ่งเป็นโครงการร่วมกันในการพัฒนาถนนในพม่าตั้งแต่ชายแดนประเทศไทยที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เข้าไปในพม่าโดยผ่านเมืองพุกาม และไปสู่ภาคตะวันออกของอินเดียที่เมืองมอเร (Moreh)
4.5 ที่ประชุมเน้นให้ประเทศสมาชิก BIMST-EC เปิดเสรีการบินเพื่อส่งเสริมการค้า การท่องเที่ยวและการไปมาหาสู่ระหว่างประเทศสมาชิก BIMST-EC
4.6 ที่ประชุมให้ความสำคัญกับความร่วมมือทางวิชาการ และแสดงความ ชื่นชมไทยที่สนับสนุนโครงการฝึกอบรมด้านการค้าที่สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (International Institute for Trade and Development - ITD) นอกไปจากนั้นฝ่ายไทยได้ประกาศให้ทุนการศึกษาแก่บุคลากรประเทศสมาชิก BIMST-EC จำนวน 100 ทุนและอินเดียประกาศให้ทุนอบรมจำนวน 150 ทุนด้วย
5. นอกไปจากนั้นที่ประชุมยังได้พิจารณาข้อเสนอเพื่อปรับปรุงทิศทางในอนาคตของ BIMST-EC ดังนี้
5.1 ที่ประชุมเห็นพ้องกับข้อเสนอของไทยให้จัดตั้งหน่วยงาน Technical Support Facility (TSF) เพื่อช่วยปรับปรุงกลไกการประสานงานระหว่างประเทศสมาชิกกับภาคเอกชน BIMST-EC ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ประเทศไทยจะสนับสนุนทางการเงินในการจัดตั้ง TSF ในช่วงการทดลองเป็นเวลา 2 ปี ขึ้นที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประเทศสมาชิก BIMST-EC สามารถสนับสนุนบุคลากรเพิ่มเติมได้ตามสมัครใจ
5.2 ที่ประชุมฯ เห็นด้วยที่จะอำนวยความสะดวกในการเดินทางของนักธุรกิจของประเทศสมาชิก โดยจะพยายามออกมาตรการการตรวจลงตรา long-term multiple visa สำหรับนักธุรกิจของประเทศ BIMST-EC
5.3 การส่งเสริมการติดต่อไปมาหาสู่ประชาชนระหว่างกัน (People to People Contact) เช่น การแข่งขันฟุตบอลเยาวชน BIMST-EC ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นเป็นครั้งแรก และจะมีการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศในช่วงบ่ายของวันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2547 โดยนายกรัฐมนตรีจะเป็นประธานในพิธีปิด ที่ประชุมฯ ขอให้ประเทศสมาชิกอื่น ๆ จัดต่อเนื่อง ในปีต่อ ๆ ไป
6. นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้เห็นถึงความจำเป็นที่ประเทศสมาชิก BIMST-EC จะได้ส่งเสริมความร่วมมืออย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้นเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาเรื่องการก่อการร้าย ข้ามชาติ และปัญหาโรคติดเชื้อ (infectious diseases) โดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความ ร่วมมือทางวิชาการ
7. ในวันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2547 จะมีการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ/การค้า BIMST-EC เพื่อติดตามความคืบหน้าและวางนโยบายสำหรับโครงการต่าง ๆ ภายใต้ความร่วมมือการค้าและการลงทุน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-