บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔
ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพุธที่ ๔ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง และนายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง ขึ้นบัลลังก์
ประธานสภาผู้แทนราษฎรกล่าวเปิดประชุมแล้วให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรอ่านพระบรมราชโองการ
ให้ที่ประชุมรับทราบ รวม ๓ ฉบับ คือ
๑. พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศพระราชกฤษฎีกา
เรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญทั่วไป พ.ศ. ๒๕๔๗
๒. พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศแต่งตั้ง
พลตำรวจโท วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ เป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
แห่งชาติ
๓. พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศแต่งตั้ง พลเอก ธีรเดช
มีเพียร เป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. เรื่องพลตรี มนูญกฤต รูปขจร ได้ลาออกจากตำแหน่งประธานวุฒิสภา
ตั้งแต่วันที่ ๔ มกราคม ๒๕๔๗
๒. เรื่องสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๑๘ (๓) จำนวน ๒ คน ตามลำดับ คือ
(๑) นายไพร พัฒโน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสงขลา พรรคประชาธิปัตย์
ขอลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๔๗
(๒) นางอัญชลี วานิช เทพบุตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์
ขอลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
๓. เรื่องประธานสภาผู้แทนราษฎรได้อนุญาตให้นำเรื่องออกจากระเบียบวาระการประชุม
ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๕๗ จำนวน ๒ เรื่อง คือ
(๑) ขออนุญาตเรียกตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไปทำการสอบสวนในคดีอาญา
ตามคดีอาญาที่ ๒๑๙๒/๒๕๔๖ เรื่อง หมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา
หรือโดยการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่นใด และคดีอาญาที่ ๓๒๘/๒๕๔๖ เรื่อง
ร่วมกันหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร เนื่องจากเหตุการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป
(๒) ตั้งซ่อมกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปรับปรุงโครงสร้าง
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจากเรื่องดังกล่าวได้พิจารณาเสร็จ
และได้ส่งรายงานฯ มาให้สภาผู้แทนราษฎรแล้ว
๔. รับทราบการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ….
๕. รับทราบการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ….
๖. เรื่องนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไว้พิจารณาให้คำรับรอง จำนวน ๓ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. …. ซึ่ง นางนิภา พริ้งศุลกะ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๒) ร่างพระราชบัญญัติการบริหารราชการมหานครภูเก็ต พ.ศ. …. ซึ่ง นางอัญชลี วานิช เทพบุตร กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๓) ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. …. ซึ่ง
นายประสงค์ บูรณ์พงศ์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
๗. ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้อนุญาตให้ถ่ายทอดการพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. …. ทางสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง ๑๑ กรมประชาสัมพันธ์
ส่วนสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา ยังคงถ่ายทอด
การประชุมตามปกติ จนกว่าการพิจารณาจะแล้วเสร็จ
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอนำระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๗
คือ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ หลังจากนั้นนายกรัฐมนตรีได้นำเสนอร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ พ.ศ. …. มีหลักการ
และเหตุผลดังนี้
หลักการ
๑. ตั้งงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นจำนวน ๑๓๕,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๒. ตั้งรายจ่ายชดใช้เงินคงคลัง เป็นจำนวน ๓๙,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
เหตุผล
๑. เนื่องจากรัฐบาลมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินในการดำเนินนโยบายและมาตรการต่าง ๆ รวมทั้ง
การปรับปรุงระบบบริหารงานบุคคล สวัสดิการ และค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐ ค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้าง
ศักยภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ จึงต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
เป็นจำนวน ๑๓๕,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
(๑) เพื่อจัดสรรเป็นเงินบำเหน็จดำรงชีพ ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๒๑)
พ.ศ. ๒๕๔๖ และพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นจำนวน ๓๓,๐๔๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๒) ค่าใช้จ่ายตามมาตรการพัฒนาและบริหารกำลังคนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง เป็นจำนวน ๑๔,๕๙๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๓) ค่าใช้จ่ายการปรับเงินค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐ เป็นจำนวน ๑๖,๕๗๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๔) ค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ เป็นจำนวน ๕๙,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๕) เงินอุดหนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด เป็นจำนวน ๑๒,๓๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๒. เนื่องจากได้มีการจ่ายเงินคงคลังเพื่อไถ่ถอนตั๋วเงินคลัง ดังนั้น
จึงต้องตั้งรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมาย
ว่าด้วยวิธีการงบประมาณ เป็นจำนวน ๓๙,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
เมื่อนายกรัฐมนตรีได้แถลงหลักการและเหตุผลพร้อมคำแถลงประกอบ
งบประมาณฯ จบแล้ว ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้อนุญาตให้ผู้นำฝ่ายค้านในสภา
ผู้แทนราษฎร และสมาชิกฯ อภิปรายในประเด็นความสมบูรณ์ของการเสนอร่างพระราชบัญญัติตามกฎหมาย
โดยมีนายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรี (นายโภคิน พลกุล) ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว
คณะรัฐมนตรีได้ขอถอนร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อนำไปพิจารณาปรับปรุงใหม่ ซึ่งที่ประชุมยินยอมให้ถอนได้
จากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำระเบียบวาระที่ ๔.๒, ๔.๓ และ ๔.๔ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระ
ตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติเครื่องแบบกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระ ที่ ๔.๒)
๒. ร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๓)
๓. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระ
ที่ ๔.๔)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๓ ฉบับ ในวาระที่ ๒
ทีละฉบับ ตามลำดับ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตรา
จนจบร่าง และได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ทั้ง ๓ ฉบับ ทีละฉบับ ตามลำดับ
เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ ทั้งนี้ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับข้อสังเกต
ของคณะกรรมาธิการฯ ที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เพื่อแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย โดยในระหว่างการพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. รองประธานสภาผู้แทนราษฎร
คนที่หนึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่แทน
เลิกประชุมเวลา ๑๕.๓๕ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๓ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติเครื่องแบบกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๓. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
***********************************
ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพุธที่ ๔ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง และนายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง ขึ้นบัลลังก์
ประธานสภาผู้แทนราษฎรกล่าวเปิดประชุมแล้วให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรอ่านพระบรมราชโองการ
ให้ที่ประชุมรับทราบ รวม ๓ ฉบับ คือ
๑. พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศพระราชกฤษฎีกา
เรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญทั่วไป พ.ศ. ๒๕๔๗
๒. พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศแต่งตั้ง
พลตำรวจโท วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ เป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
แห่งชาติ
๓. พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศแต่งตั้ง พลเอก ธีรเดช
มีเพียร เป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. เรื่องพลตรี มนูญกฤต รูปขจร ได้ลาออกจากตำแหน่งประธานวุฒิสภา
ตั้งแต่วันที่ ๔ มกราคม ๒๕๔๗
๒. เรื่องสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๑๘ (๓) จำนวน ๒ คน ตามลำดับ คือ
(๑) นายไพร พัฒโน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสงขลา พรรคประชาธิปัตย์
ขอลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๔๗
(๒) นางอัญชลี วานิช เทพบุตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์
ขอลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
๓. เรื่องประธานสภาผู้แทนราษฎรได้อนุญาตให้นำเรื่องออกจากระเบียบวาระการประชุม
ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๕๗ จำนวน ๒ เรื่อง คือ
(๑) ขออนุญาตเรียกตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไปทำการสอบสวนในคดีอาญา
ตามคดีอาญาที่ ๒๑๙๒/๒๕๔๖ เรื่อง หมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา
หรือโดยการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่นใด และคดีอาญาที่ ๓๒๘/๒๕๔๖ เรื่อง
ร่วมกันหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร เนื่องจากเหตุการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป
(๒) ตั้งซ่อมกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปรับปรุงโครงสร้าง
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจากเรื่องดังกล่าวได้พิจารณาเสร็จ
และได้ส่งรายงานฯ มาให้สภาผู้แทนราษฎรแล้ว
๔. รับทราบการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ….
๕. รับทราบการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ….
๖. เรื่องนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไว้พิจารณาให้คำรับรอง จำนวน ๓ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. …. ซึ่ง นางนิภา พริ้งศุลกะ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๒) ร่างพระราชบัญญัติการบริหารราชการมหานครภูเก็ต พ.ศ. …. ซึ่ง นางอัญชลี วานิช เทพบุตร กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๓) ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. …. ซึ่ง
นายประสงค์ บูรณ์พงศ์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
๗. ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้อนุญาตให้ถ่ายทอดการพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. …. ทางสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง ๑๑ กรมประชาสัมพันธ์
ส่วนสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา ยังคงถ่ายทอด
การประชุมตามปกติ จนกว่าการพิจารณาจะแล้วเสร็จ
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอนำระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๗
คือ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ หลังจากนั้นนายกรัฐมนตรีได้นำเสนอร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ พ.ศ. …. มีหลักการ
และเหตุผลดังนี้
หลักการ
๑. ตั้งงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นจำนวน ๑๓๕,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๒. ตั้งรายจ่ายชดใช้เงินคงคลัง เป็นจำนวน ๓๙,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
เหตุผล
๑. เนื่องจากรัฐบาลมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินในการดำเนินนโยบายและมาตรการต่าง ๆ รวมทั้ง
การปรับปรุงระบบบริหารงานบุคคล สวัสดิการ และค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐ ค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้าง
ศักยภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ จึงต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
เป็นจำนวน ๑๓๕,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
(๑) เพื่อจัดสรรเป็นเงินบำเหน็จดำรงชีพ ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๒๑)
พ.ศ. ๒๕๔๖ และพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นจำนวน ๓๓,๐๔๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๒) ค่าใช้จ่ายตามมาตรการพัฒนาและบริหารกำลังคนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง เป็นจำนวน ๑๔,๕๙๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๓) ค่าใช้จ่ายการปรับเงินค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐ เป็นจำนวน ๑๖,๕๗๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๔) ค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ เป็นจำนวน ๕๙,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๕) เงินอุดหนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด เป็นจำนวน ๑๒,๓๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๒. เนื่องจากได้มีการจ่ายเงินคงคลังเพื่อไถ่ถอนตั๋วเงินคลัง ดังนั้น
จึงต้องตั้งรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมาย
ว่าด้วยวิธีการงบประมาณ เป็นจำนวน ๓๙,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
เมื่อนายกรัฐมนตรีได้แถลงหลักการและเหตุผลพร้อมคำแถลงประกอบ
งบประมาณฯ จบแล้ว ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้อนุญาตให้ผู้นำฝ่ายค้านในสภา
ผู้แทนราษฎร และสมาชิกฯ อภิปรายในประเด็นความสมบูรณ์ของการเสนอร่างพระราชบัญญัติตามกฎหมาย
โดยมีนายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรี (นายโภคิน พลกุล) ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว
คณะรัฐมนตรีได้ขอถอนร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อนำไปพิจารณาปรับปรุงใหม่ ซึ่งที่ประชุมยินยอมให้ถอนได้
จากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำระเบียบวาระที่ ๔.๒, ๔.๓ และ ๔.๔ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระ
ตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติเครื่องแบบกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระ ที่ ๔.๒)
๒. ร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๓)
๓. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระ
ที่ ๔.๔)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๓ ฉบับ ในวาระที่ ๒
ทีละฉบับ ตามลำดับ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตรา
จนจบร่าง และได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ทั้ง ๓ ฉบับ ทีละฉบับ ตามลำดับ
เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ ทั้งนี้ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับข้อสังเกต
ของคณะกรรมาธิการฯ ที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เพื่อแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย โดยในระหว่างการพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. รองประธานสภาผู้แทนราษฎร
คนที่หนึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่แทน
เลิกประชุมเวลา ๑๕.๓๕ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๓ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติเครื่องแบบกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๓. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
***********************************