= เปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร
วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร
นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง และนายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง
เปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ตามพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญทั่วไป พ.ศ. ๒๕๔๗
เพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรกตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
= เครื่องหมายเชิดชูเกียรติในการปฏิบัติหน้าที่
วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ เวลา ๑๐.๓๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง ชั้นล่าง อาคาร
รัฐสภา ๑ นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวแสงดความยินดีแก่สมาชิกฯ
ที่ได้รับโล่ประกาศเกียติคุณว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่สมาชิกได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ มีจำนวน ๑๖๔ ท่าน
จากครั้งแรกมีการมอบโล่เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๕ จำนวน ๘๐ ท่าน และครั้งที่สองเมื่อปี
พ.ศ. ๒๕๔๖ จำนวน ๑๓๘ ท่าน และที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งคือ ในจำนวน ๑๖๔ ท่าน มีผู้ได้รับโล่ถึง
๓ ครั้ง จำนวน ๓๒ ท่าน นั่นย่อมเป็นนิมิตหมายที่ดี แสดงถึงว่าทุกท่านได้ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่หลักของ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติเป็นประการสำคัญ และในการรับโล่
ครั้งนี้ถือว่าเป็นเครื่องหมายเชิดชูเกียรติในการปฏิบัติหน้าที่ของท่าน
= โครงการยุวชนประชาธิปไตย
วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ เวลา ๑๔.๐๐ นาฬิกา นายคัมภีร์ ดิษฐากรณ์ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ในฐานะประธานคณะทำงานฝ่ายเลขานุการและประสานงานโครงการยุวชนประชาธิปไตย เป็นประธาน
ในการประชุมคณะทำงานฝ่ายเลขานุการและประสานงาน ครั้งที่ ๑/๒๕๔๗ ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ
หมายเลข ๔ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๑
โครงการนี้เปิดรับสมัคร
รุ่นที่ ๑/๔๗ วันที่ ๑-๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
รุ่นที่ ๒/๔๗ วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ - ๒๔ มีนาคม ๒๕๔๗
ประกาศผล
รุ่นที่ ๑/๔๗ วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๗ ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
รุ่นที่ ๒/๔๗ วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๗ ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
เยาวชนต่างจังหวัดและปริมณฑล
ติดต่อขอรายละเอียดโครงการและส่งใบสมัครได้ที่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต ๑ ของจังหวัดที่เยาวชนศึกษาอยู่ในแต่ละรุ่น
เยาวชนในกรุงเทพมหานคร
ติดต่อขอรายละเอียดโครงการและส่งใบสมัครได้ที่ กลุ่มงานเผยแพร่ประชาธิปไตยฯ สำนักประชาสัมพันธ์
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร อาคารทิปโก้ทาวเวอร์ ชั้น ๒๐ ถนนพระราม ๖ สามเสนใน กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทรศัพท์ ๐ ๒๓๕๗ ๓๑๐๐ หรือ ๓๑๐๑-๖ โทรสาร ๐ ๒๓๕๗ ๓๑๓๗ http://www.parliament.go.th
= เพิ่มเบี้ยประชุมกรรมาธิการ
คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในเรื่องของเบี้ยประชุมกรรมาธิการ เนื่องจากภาระหน้าที่ของ
คณะกรรมาธิการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญนั้นมีปริมาณมาก โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอ
ร่างพระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
และกรรมาธิการ (ฉบับที่) พ.ศ. …. เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมาธิการและอนุกรรมาธิการ
ให้กระทรวงการคลังพิจารณา เสนอความเห็น เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ซึ่งกระทรวงการคลัง
ได้พิจารณาแล้วเห็นชอบด้วยกับร่างดังกล่าว คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้เพิ่มเงินค่าเบี้ยประชุมครั้งละ ๕๐๐ บาท
เป็นครั้งละ ๑,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกินคนละ ๒,๐๐๐ บาทต่อวัน และเบี้ยประชุมอนุกรรมาธิการจากเดิม ไม่ได้รับ
เบี้ยประชุมให้ได้รับครั้งละ ๕๐๐ บาท แต่ไม่เกินคนละ ๑,๐๐๐ บาทต่อวัน ซึ่งถ้าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรท่านใดเป็นกรรมาธิการหลายคณะ
จะได้รับเบี้ยประชุมเพียง ๒ คณะ เท่านั้น ในการประชุมแต่ละวัน
= มหกรรมรับประทาน "ไก่" ที่รัฐสภา
ภาวะการเกิดโรคระบาดไข้หวัดนกในไก่ได้สร้างความวิตกกังวลต่อพฤติกรรมการบริโภคไก่
ในหมู่คนไทยทั้งประเทศ ทำให้ธุรกิจการจำหน่ายไก่อยู่ในภาวะตกต่ำ จึงทำให้รัฐบาลต้องสร้างความ
มั่นใจให้กับประชาชนในการบริโภคไก่กลับคืนมา โดยจัดให้มีการรณรงค์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น จัดให้มี "สถานีไก่"
ขึ้นมา โดยใช้สถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง ๑๑ กรมประชาสัมพันธ์ เป็นศูนย์กลางในการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน
รวมทั้งได้มีอาหารที่ทำด้วยไก่และไข่สุกไว้บริการทุกมื้อกลางวัน พร้อมกันนี้ได้จัดให้มี "มหกรรมกินไก่ไทยปลอดภัย ๑๐๐%"
ขึ้น ในวันเสาร์ที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ ณ ท้องสนามหลวง โดยมีนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ดารา นักร้อง นักแสดง
ศิลปินจากหลายแขนง ร่วมรับประทานไก่เพื่อเรียกความเชื่อมั่นในการบริโภคไก่กลับคืนมา ส่วนที่ต่างจังหวัดได้จัดขึ้น
ณ ศาลากลางจังหวัดทุกจังหวัด
สำหรับที่รัฐสภาได้จัดให้มีการบริโภคไก่ทอดและเครื่องดื่มจากบริษัท KFC และ
สหฟาร์ม ให้แก่สมาชิกรัฐสภา ข้าราชการ ลูกจ้าง และสื่อมวลชน ในวันพุธที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ เวลา ๑๒.๐๐ นาฬิกา
ณ ห้องรับรองสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๑ สโมสรรัฐสภาใหญ่-เล็ก
= กองทุนสงเคราะห์สมาชิกรัฐสภา
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้มีหน้าที่ร่วมกันตรากฎหมายให้ออกมาบังคับใช้
กับประชาชนทั้งประเทศ ซึ่งถือได้ว่าเป็นบุคคลที่ทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติอย่างทวีคูณ
ในขณะที่พ้นจากตำแหน่งจะไม่ได้รับสวัสดิการเหมือนเช่นข้าราชการทั่วไป ทั้งที่ปฏิบัติงานตอบแทนคุณแผ่นดินเช่นกัน
รัฐสภาจึงออกระเบียบรัฐสภาว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา พ.ศ.๒๕๔๓ โดยมีคณะกรรมการ
กองทุนสงเคราะห์ผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา มีอำนาจพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินสงเคราะห์ค่ารักษาพยาบาลและ
สงเคราะห์ครอบครัว รวมทั้งกรณีผู้ที่เคยเป็นสมาชิก รัฐสภาได้ถึงแก่กรรม ทั้งนี้ค่ารักษาพยาบาลจะไม่รวม
ค่าตรวจสุขภาพประจำปีปฏิทิน
การจ่ายเงินสงเคราะห์ค่ารักษาพยาบาลจะต้องเป็นสมาชิกรัฐสภาที่เจ็บป่วย
และไม่มีสิทธิรับเงินทดแทนจากบริษัทประกัน รวมทั้งสิทธิเบิกสวัสดิการ บำเหน็จ หรือบำนาญอื่นใด โดยพิจารณา
จ่ายเงินได้ไม่เกินรายละ ๑๐,๐๐๐ บาทต่อปี
หากสมาชิกรัฐสภาถึงแก่กรรม ผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์ คือ คู่สมรส บุตร บิดา-มารดา
โดยบุคคลที่เคยเป็นสมาชิกรัฐสภาได้แสดงเจตนาเป็นหนังสือให้เป็นผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์โดยเร็ว
รายละ ๕๐,๐๐๐ บาท ทั้งนี้ภายในหนึ่งปีนับแต่ผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภาถึงแก่กรรม
= สังเกตการณ์การเลือกตั้งผู้พิพากษาสมทบ
วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ ที่รัฐสภา เวลา ๑๑.๒๐ นาฬิกา นายเปรมศักดิ์ เพียยุระ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการแรงงานสภาผู้แทนราษฎร
ได้แถลงถึงปัญหาการเลือกตั้งผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงานกลางว่า ในปีนี้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ได้กำหนดให้มีการเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างเพื่อดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงานกลาง
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๔๗ ที่อาคารกระทรวงแรงงาน แต่เนื่องจาก การประกาศกำหนดวัน เวลา
และสถานที่ทำการเลือกตั้งดังกล่าว ทางสมาคมนายจ้างและสหภาพแรงงานไม่สามารถแจ้งรายชื่อผู้แทนเพื่อ
เข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้แทนได้ภายในระยะเวลาตามที่กำหนด ดังนั้นกรมสวัสดิการและ
คุ้มครองแรงงานจึงยกเลิกประกาศ เรื่อง กำหนดวัน เวลา และสถานที่เลือกตั้งฯ เพื่อให้สมาคมนายจ้างและ
สหภาพแรงงานได้ใช้สิทธิเลือกตั้งอย่างทั่วถึง โดยเลื่อนกำหนดวัน เวลาเลือกตั้งผู้แทนทั้งสองฝ่าย เพื่อดำรง
ตำแหน่งผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงานกลาง เป็นวันอาทิตย์ที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐-๑๕.๐๐ นาฬิกา
ณ บริเวณชั้นล่าง อาคารกระทรวงแรงงาน ถนนมิตรไมตรี ดินแดง กรุงเทพฯ
นายเปรมศักดิ์กล่าวต่อไปว่า เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในการเลือกตั้งอย่างที่ผ่าน ๆ มา
จึงได้ส่งผู้แทนในคณะกรรมาธิการร่วมสังเกตการณ์ในการเลือกตั้งครั้งนี้ จำนวน ๒ คน ที่บริเวณอาคารเลือกตั้งในวันดังกล่าวด้วย
= คณะกรรมาธิการการแรงงานห่วงผลกระทบผู้ใช้แรงงานในธุรกิจการ
เลี้ยงไก่
นายเปรมศักดิ์ เพียยุระ ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร ได้กล่าวว่า
ทางกรรมาธิการการแรงงานห่วงผลกระทบผู้ใช้แรงงานในธุรกิจการเลี้ยงไก่เนื่องจากการระบาดของโรคไข้หวัดนก ดังนี้
๑. กลุ่มปลูกพืชผลผลิตป้อนโรงงานอาหารสัตว์
๒. กลุ่มประกอบการโรงงานอาหารสัตว์
๓. กลุ่มเลี้ยงสัตว์ระบบปิดในฟาร์ม
๔. กลุ่มโรงงานฆ่าและชำแหละสัตว์ปีก
๕. กลุ่มโรงงานผลิตและแปรรูปอาหาร แช่แข็ง อาหารสำเร็จรูป
สถานประกอบการที่อยู่ในความคุ้มครองของระบบประกันสังคม จำแนกออกเป็น ๒ กลุ่ม
มีสถานประกอบการ ๑,๐๓๑ แห่ง ลูกจ้าง ผู้ประกันตน และเกษตรกรผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งสิ้น
๑๕๑,๐๔๒ คน ได้แก่ กลุ่มเลี้ยงสัตว์ระบบปิดในฟาร์ม และกลุ่มโรงงานฆ่าและชำแหละสัตว์ปีก
ยังมีกลุ่มอื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบทางตรงและทางอ้อม ได้แก่ กลุ่มเลี้ยงสัตว์และ
ฆ่าสัตว์รายย่อย กลุ่มกิจกรรมการขนส่ง และกิจการต่อเนื่อง เป็นต้น จะมีแรงงานได้รับผลกระทบ
ไม่น้อยกว่า จำนวน ๒ แสนคน
การดำเนินงานในการแก้ปัญหาของผู้ที่จะได้รับความเดือดร้อนและความเสียหาย
๑. ควรใช้มาตรการชะลอการเลิกจ้าง หยุดงาน
๒. ควรใช้กลไกด้านจัดสร้างเครือข่ายตลาดแรงงาน
๓. ควรส่งเสริมการทำงานในพื้นที่โดยเป็นการทำงานในอาชีพเสริม
๔. ควรส่งเสริมการฝึกอาชีพระยะสั้น
๕. ควรใช้มาตรการลดภาระค่าใช้จ่าย ทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ผลทางตรง กลุ่มที่ได้รับผลกระทบทั้งในส่วนของลูกจ้างแรงงานและครอบครัว
นายจ้าง ผู้ประกอบการ ควรจะได้รับการบรรเทาปัญหาเฉพาะหน้าโดยด่วน
ผลทางอ้อม ควรสร้างระบบการจ้างงานใหม่ ชดเชยระบบเดิม และเกิดกำลัง
แรงงานสำรองในภาคการผลิตใหม่ ที่ช่วยให้เกิดแผนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
= ทุนมูลนิธิพระปกเกล้าฯ
มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จ
พระนางเจ้ารำไพพรรณี ได้มอบทุนการศึกษาให้กับบุตรข้าราชการ ลูกจ้างสำนักงานเลขาธิการ
สภาผู้แทนราษฎร และสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา โดยได้กำหนดเงื่อนไขในการขอรับทุนการศึกษาบุตร
ประจำปี ๒๕๔๗ คือ
๑. ผู้มีสิทธิขอรับทุนการศึกษา ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
๑.๑ เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
๑.๒ มีความประพฤติเรียบร้อย
๑.๓ มีบุตรอยู่ในระหว่างการศึกษา
๑.๔ มีรายได้ (ไม่รวมคู่สมรส) เดือนละไม่เกิน ๗,๓๘๐.-บาท ในวันที่ยื่นขอ
รับทุน
๑.๕ ไม่เป็นผู้ได้รับทุนการศึกษาของบุตรจากที่อื่นในปีการศึกษาเดียวกัน
๑.๖ การขอรับทุนการศึกษาให้ผู้มีสิทธิขอรับทุนขอได้ไม่เกิน ๑ ทุน
๒. บุตรของผู้มีสิทธิขอรับทุนการศึกษา ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
๒.๑ กำลังเรียนอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาหรือชั้นมัธยมศึกษาหรือ
เทียบเท่า
๒.๒ มีผลการเรียนดี (๗๐% หรือ ๒.๗๕ ขึ้นไป) มีความประพฤติดีและอยู่ใน
ฐานะที่ควรให้ความช่วยเหลือ
๒.๓ เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย และอยู่ในความอุปการะของผู้มีสิทธิ
ขอรับทุนการศึกษา ทั้งนี้ ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม
๒.๔ ไม่เป็นผู้ได้รับทุนการศึกษาจากที่อื่นในปีการศึกษาเดียวกัน
ข้าราชการและลูกจ้างที่สนใจติดต่อขอใบสมัครและยื่นสมัครขอรับทุนได้ที่กลุ่มงาน
กิจการทั่วไป สำนักบริหารงานกลาง สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (อาคารทิปโก้ ชั้น ๑๗)
ตั้งแต่บัดนี้ - ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
= ประชุมสภาผู้แทนราษฎร
สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
วันพุธที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
เมื่อเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา เป็นประธาน
เปิดการประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยสามัญทั่วไป ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑ โดยมีการพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ พ.ศ. …. ซึ่ง
พันตำรวจโทดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แจ้งต่อที่ประชุมถึงหลักการในการตั้งงบประมาณ
รายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ จำนวน ๑๓๕,๕๐๐ ล้านบาท และได้ตั้งรายจ่ายชดใช้
เงินคงคลังจำนวน ๓๙,๐๐๐ ล้านบาท โดยให้เหตุผลดังนี้
๑. รัฐบาลมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินในการดำเนินนโยบายและมาตราการต่าง ๆ
รวมทั้งการปรับปรุงระบบบริหารงานบุคคล สวัสดิการ และค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐ รวมทั้ง
ค่าใช้จ่ายเพื่อส่งเสริมสร้างศักยภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ
จึงต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมตามจำนวนเงินดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
- เพื่อจัดสรรเป็นเงินบำเหน็จดำรงชีพ ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๒๑)
พ.ศ. ๒๕๔๖ และพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖ จำนวน ๓๓,๐๔๐ ล้านบาท
- ค่าใช้จ่ายตามมาตรการพัฒนาและบริหารกำลังคน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงจำนวน ๑๔,๕๙๐ ล้านบาท
- ค่าใช้จ่ายการปรับเงินค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐจำนวน ๑๖,๕๗๐ ล้านบาท
- ค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศจำนวน ๕๙,๐๐๐ ล้านบาท
- เงินอุดหนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์
การพัฒนาจังหวัดจำนวน ๑๒,๓๐๐ ล้านบาท
๒. เนื่องจากได้มีการจ่ายเงินคงคลัง เพื่อไถ่ถอนตั๋วเงินคลัง ดังนั้นจึงต้องตั้งรายจ่ายเพื่อชดใช้
เงินคงคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณเป็นจำนวนเงิน ๓๙,๐๐๐ ล้านบาท
ซึ่ง นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ได้ให้ความเห็นว่า รัฐบาลได้จัดทำ
งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาจัดทำงบประมาณ ปี ๒๕๐๒ โดยขอให้รัฐบาลถอนร่าง
พระราชบัญญัติฉบับนี้และทำเอกสารพร้อมตัวเลขการจัดเก็บรายได้อย่างชัดเจนมาแสดงต่อที่ประชุมในการประชุมครั้งต่อไป
นายกรัฐมนตรีได้ยอมรับฟังความคิดเห็นดังกล่าว และได้ถอนร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ไปก่อน ทั้งนี้ที่ประชุมได้มีมติถอน
ร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวและให้นำกลับมาพิจารณาพร้อมแสดงเอกสารประกอบเพิ่มเติมในคราวต่อไป
นอกจากนี้ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติเครื่องแบบกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองพิจารณาเสร็จแล้ว โดยมี
นายวิฑูรย์ นามบุตร เป็นประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งได้มอบหมาย
ให้นายสามารถ แก้วมีชัย รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่ ๑ เป็นผู้ชี้แจงต่อที่ประชุมเป็นการแก้ไขเพิ่มเติม
ทั้งสิ้น ๖ มาตรา ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้
สำหรับร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ …) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา
เสร็จแล้วนั้น เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติล้มละลายทั้งสิ้น ๑๕ มาตรา โดยมีเหตุผลคือ กฎหมายว่าด้วย
ล้มละลายเดิมนั้นได้บัญญัติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดให้ลูกหนี้พ้นจากการ ล้มละลาย ซึ่งผลของกฎหมาย
ที่ใช้บังคับในปัจจุบันยังขาดความชัดเจนและทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ที่ เกี่ยวกับผลของการพ้นจากการล้มละลาย
โดยเฉพาะการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ อย่างไรก็ตามหลักการของบทบัญญัตินี้เป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยให้บุคคลล้มละลาย
ที่สุจริตได้มีโอกาสพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลาย จึงสมควรให้คงหลักการดังกล่าวไว้ โดยยกเลิกบทบัญญัติเดิมและ
นำมากำหนดเพิ่มเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการปลดจากล้มละลายโดยผลของกฎหมาย นอกจากนี้บทบัญญัติที่กำหนดให้บุคคล
ล้มละลายอาจร้องขอให้ศาลมีคำสั่งปลดจากล้มละลายได้ที่ใช้บังคับในปัจจุบันนั้น ยังขาดความชัดเจนและขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ
ของศาลในแต่ละกรณี จึงเห็นสมควรให้มีการแก้ไขหลักเกณฑ์ที่ศาลจะสั่งปลดจาก การล้มละลายให้ความชัดเจนยิ่งขึ้น
เพื่อเป็นหลักประกันแก่บุคคลล้มละลายว่าหากดำเนินการตามกฎหมายแล้วจะได้รับการปลดจากการล้มละลาย และเพื่อให้
บทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับค่าธรรมเนียม ในคดีล้มละลายที่ใช้บังคับอยู่มีความเหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน ซึ่งที่ประชุม
มีมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้
และสุดท้ายได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดี ล้มละลาย (ฉบับที่ ….) พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว โดยมีนายปกิต พัฒนกุล ประธานคณะกรรมาธิการฯ ได้ชี้แจงในหลักการและ
เหตุผลของการแก้ไขเพิ่มเติมทั้งสิ้น ๗ มาตรา โดย บทบัญญัติในส่วนของการกำหนดหลักเกณฑ์การอุทธรณ์คำพิพากษา
หรือคำสั่งของศาลล้มละลายที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้นไม่มีความเหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบันเป็นเหตุให้การดำเนินการพิจารณา
เป็นไปด้วยความล่าช้าและไม่คุ้มครองสิทธิของเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างเพียงพอ อีกทั้งหลักเกณฑ์การอุทธรณ์ที่กำหนด
ในกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายที่ใช้บังคับในปัจจุบันใช้บังคับเฉพาะคดีฟื้นฟูกิจการของ
ลูกหนี้จำเป็นต้องมีการแก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ การอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลล้มละลายเพื่อให้การ
ดำเนินการพิจารณาเป็นไปด้วยความรวดเร็วและเพื่อให้หลักการการอุทธรณ์ทั้งคดีล้มละลายและคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
อยู่ในกฎหมายเดียวกัน ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวนี้
ซึ่งที่ประชุมได้นำร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๓ ฉบับ ที่ผ่านการเห็นชอบแล้วส่งให้กับที่ประชุมวุฒิสภาพิจารณาต่อไป
ปิดประชุมเวลา ๑๕.๔๕ นาฬิกา
สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
วันพฤหัสบดีที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
เมื่อเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา นายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง
เป็นประธานในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๒ (สมัยสามัญทั่วไป) โดยมีการพิจารณา
ในเรื่องของกระทู้ถามสด จำนวน ๓ เรื่อง
๑. กระทู้ถามของนายตรีพล เจาะจิตต์ เรื่อง ปัญหาสินค้าเกษตรกับคู่ค้าระหว่าง
ประเทศ ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล)
เป็นผู้ตอบกระทู้ว่า การที่สินค้าเกษตรหลายชนิด เช่น ลำไย กุ้ง ไก่ มักประสบปัญหาในการถูกกีดกันจาก
ประเทศคู่ค้าจนทำให้ปริมาณการส่งออกมีแนวโน้มจะลดต่ำลงเรื่อย ๆ ซึ่งจะมีผลทำให้ราคาสินค้าในประเทศ
ตกต่ำกระทบต่อเกษตรกรผู้ผลิตอย่างมาก โดยเฉพาะลำใยที่มีปัญหาเกิดขึ้นตั้งแต่ปี ๒๕๔๕-๒๕๔๖ นั้น จะนำไปศึกษา
และจะนำมารายงานให้ทราบต่อไป ในส่วนของกุ้งซึ่งเป็นสินค้าที่ทำรายได้ให้แก่ประเทศไทยเป็นอย่างมาก
แต่ราคาตกต่ำทางกระทรวงพาณิชย์ได้เข้าไปดูแลในเรื่องของ ตลาดกุ้งแล้ว โดยให้มีการรับจำนำและไถ่ถอน
ในทุก ๔ เดือน รวมทั้งรณรงค์ให้มีการบริโภคกุ้งในประเทศ โดยจัดเทศกาลกินกุ้ง รวมทั้งวางจำหน่ายใน
ศูนย์การค้าต่าง ๆ ด้วย
๒. กระทู้ถามของนายชลน่าน ศรีแก้ว เรื่อง มาตรการป้องกันดูแลรักษาควบคุม
ไข้หวัดนกในคน ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
(นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์) ตอบกระทู้ว่า อาการของโรคไข้หวัดนกเกิดจากไวรัสชนิดหนึ่ง แต่ผู้ที่มีอาการ
เป็นไข้หวัดใหญ่ จะอยู่ในชนิด H๑ H๒ และ H๓ ส่วนสัตว์ปีกจะอยู่ในกลุ่ม H๕ จะไม่มีไวรัสชนิดนี้
ในตัวบุคคลมาก่อน จึงไม่มีภูมิคุ้มกัน แต่จะไม่ติดต่อจากคนสู่คน แต่จะติดจากสัตว์ปีกสู่คนเท่านั้น โดย ติดต่อ
ทางการสัมผัส น้ำลาย น้ำเมือกจากสัตว์ที่ป่วยเป็นโรค แต่ถ้ามีการบริโภคสัตว์ เช่น ไก่ เป็ด ไข่
ที่สุกแล้ว จะไม่มีอาการเป็นไข้หวัดนกดังกล่าว และควรป้องกันการติดเชื้อด้วยการล้างมือ ใส่ผ้าคาดจมูก
และรักษาตัวให้สะอาดจากการสัมผัสสัตว์ที่เป็นโรคดังกล่าวนี้
๓. กระทู้ถามของนายประทีป กรีฑาเวช เรื่อง บทบาทและหน้าที่ของผู้ว่าฯ ซี อี โอ
(CEO) ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา) เป็นผู้ตอบ
กระทู้ว่า ผู้ว่า CEO เป็นหัวหน้าคณะผู้บริหารในจังหวัด ทำหน้าที่ในการบริหารด้านต่าง ๆ ภายในจังหวัด
โดยมีหัวหน้าส่วนราชการแต่ละส่วนในจังหวัด และผู้แทนจากองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
นายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เข้ามาร่วมบริหารงานในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการ
บริหารงานบุคคล ซึ่งผู้ว่าฯ CEO จะรับเงินเดือนจากภาษีอากรของประชาชน ดังนั้น การดำเนินงานต่าง ๆ
ของผู้ว่า CEO ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ของราคาพืชผลเกษตรตกต่ำ โรคระบาดต่าง ๆ ต้องรายงานให้
กระทรวงมหาดไทย รองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลในเขตจังหวัดต่าง ๆ รวมทั้งกระทรวง
ที่เกี่ยวข้องโดยตรงได้รับทราบข้อมูลและผลการดำเนินงานต่าง ๆ เหล่านั้น
จากนั้น ที่ประชุมได้มีการหารือกันเพื่อหยิบยกญัตติด่วน เรื่อง ไข้หวัดนก ซึ่ง
นายอลงกรณ์ พลบุตร ได้ยื่นเป็นญัตติด่วนขึ้นมาพิจารณาก่อน ที่ประชุมพิจารณาแล้วมีมติ ให้นำญัตติด่วนที่ ๑๗
เรื่องการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
ขึ้นมาพิจารณาก่อนและตามด้วยญัตติด่วน เรื่อง ไข้หวัดนกเป็นลำดับต่อไป
ที่ประชุมได้มีการพิจารณาญัตติด่วนที่ ๑๗ เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง
เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา จากการประชุมได้มีสมาชิกฯ อภิปรายกันอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับการ
แต่งตั้งนางสาวพรทิพย์ จาละ รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ขึ้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการ
แทนนายชัยวัฒน์ ซึ่งป่วยเนื่องจากเส้นโลหิตในสมองแตก
จากการพิจารณาได้มีมติเห็นชอบด้วยคะแนน ๒๙๙ เสียง
จากนั้นสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาญัตติกรณีการระบาดของไข้หวัดนก รวม ๔ ญัตติ
โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านเสนอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง
การระบาดของโรค โดยได้พิจารณาเป็นเรื่องด่วน ทั้งนี้มีสมาชิกขออภิปรายหลายคน อาทิ
นายอลงกรณ์ พลบุตร นายตรีพล เจาะจิตต์ นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ
นายโสภณ เพชรสว่าง นายเชน เทือกสุบรรณ นายชิงชัย มงคลธรรม นางสาวรังสิมา
รอดรัศมี นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล นายสุวโรช พะลัง โดยมีประเด็นการอภิปรายดังนี้คือ
การที่รัฐบาลพยายามปฏิเสธและไม่ยอมรับว่าเกิดภาวะการระบาดของโรคไข้หวัดนก
ปกปิดข้อมูลการแพร่เชื้อโรค สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจการส่งไก่ไปยังต่างประเทศ กรณีนี้
นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ ได้ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเกษตรและ
สหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข การปกปิดข้อมูล
ทำให้การรักษาโรคทำได้ยาก ไม่ถูกวิธี เกิดการแพร่เชื้อโรคอย่างรวดเร็ว ควบคุมลำบาก
การดำเนินการของรัฐบาลใช้วิธีการทำลายไก่ที่ไม่ใช่เขตพื้นที่ควบคุมหรือพื้นที่สีแดง
คือ บางจังหวัดเป็นพื้นที่สีเขียว ปลอดจากโรค ถูกทำลายไก่ไปด้วย แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลใช้วิธีคาดคะเน
มากกว่าการสำรวจพื้นที่จริง นอกจากนี้ยังไม่มีการแยกแยะประเภทไก่ที่ถูกทำลายให้ชัดเจน ตัวอย่างเช่น
กรณีไก่พื้นเมือง ไก่แจ้ ไก่ชน ที่เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลิน ที่มีราคาสูง หายาก ซึ่งนายชิงชัย มงคลธรรม
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ อภิปรายถึงความบกพร่องของรัฐบาล เพราะเข้าใจคนรักไก่เป็นอย่างดี
เนื่องจากเลี้ยงไก่เพื่อความเพลิดเพลินมานานและมีจำนวนมากเช่นกัน
ผลกระทบจากการทำลายไก่จำนวนมากส่งผลต่อการประกอบอาชีพอื่น ๆ ตามมา
นายตรีพล เจาะจิตต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช อภิปรายว่าธุรกิจอาหารสัตว์ เสียหาย
มูลค่ากว่าแสนล้านบาท จึงเรียกร้องให้รัฐบาลหาผู้รับผิดชอบ ทางด้านธุรกิจไข่เค็มไชยา ได้รับ
ผลกระทบเพราะไม่มีไข่สำหรับเป็นวัตถุดิบการผลิตสินค้า ผู้ประกอบการขาดรายได้ ขณะที่ผู้เลี้ยงหอยแมลงภู่
จังหวัดสมุทรสงครามประสบปัญหาหอยแมลงภู่ขายไม่ได้ เพราะโรงงานที่เคยใช้หอยเลี้ยงเป็ด
ไม่สั่งซื้อหอย เพราะฟาร์มเลี้ยงเป็ดถูกปิดลง นางสาวรังสิมา รอดรัศมี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด
สมุทรสงคราม อภิปรายรัฐบาล พร้อมทั้งทวงถามเงินชดเชยกรณีเกษตรกรผู้เลี้ยงหอยได้รับผลเสียหายจาก
ภาวะหอยตาย เพราะโรงงานปล่อยน้ำเสียจากจังหวัดเพชรบุรีปล่อยเข้ามาในพื้นที่การเพาะเลี้ยงหอยเมื่อ ๔ เดือนก่อน
จึงขอให้รัฐบาลเร่งจ่ายเงินชดเชยให้โดยด่วน
ทางด้านนายสุวโรช พะลัง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร ขอให้รัฐบาลออกมา
ชี้แจงรายละเอียดการทำลายไก่ ว่าทำด้วยวิธีใด อย่างไร และสามารถตรวจสอบถึงการไม่แพร่เชื้อของโรคได้
แน่นอนเพียงใด
จากนั้นนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชี้แจงกรณีไข้หวัด
นกระบาดนั้น รัฐบาลได้วางแผนการแก้ไขอย่างเป็นขั้นเป็นตอน การที่ออกมาประกาศภาวะการระบาดของโรคช้า
เพราะการตรวจพิสูจน์ในห้องปฏิบัติการหรือห้องแล็บที่มีจำนวนไม่มากในประเทศ การเพาะเชื้อต้องใช้เวลาพอสมควร
จึงจะออกมาประกาศได้ ทั้งนี้ต้องให้เกิดความชัดเจน ส่วนการทำลายไก่ในแต่ละพื้นที่นั้นเพื่อให้เกิดความแน่ใจว่า
สามารถควบคุมการแพร่เชื้อในรัศมีควบคุม จึงต้องกำหนดระยะทางเพื่อการทำลาย สำหรับการสร้างความเชื่อมั่น
กับประชาชนในการจัดมหกรรมการรับประทานไก่นั้น เพื่อให้เห็นว่าบุคคลสำคัญของประเทศมีความมั่นใจต่อ
การปลอดเชื้อโรค หากไก่ที่นำมาปรุงด้วยอุณหภูมิสูงจะปลอดภัยต่อสุขภาพแน่นอน การส่งผลิตภัณฑ์ไก่ไปต่างประเทศนั้น
ผู้แทนจากองค์การอนามัยโลกได้มาตรวจสอบสถานการณ์ในประเทศไทยแล้ว และได้มีการรายงานต่อองค์การอนามัยโลก
เรียบร้อยแล้ว ดังนั้น สหภาพยุโรปน่าจะเชื่อมั่นมากขึ้นคงจะสั่งไก่จากไทยเป็นปกติอย่างแน่นอน
หลังจากที่รัฐมนตรีตอบการอภิปรายเสร็จสิ้นแล้ว นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ประธานในที่ประชุมฯ ได้สั่งปิดประชุมเวลาประมาณ ๒๒.๐๐ นาฬิกา
-------------------------------------------------------------
วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร
นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง และนายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง
เปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ตามพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญทั่วไป พ.ศ. ๒๕๔๗
เพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรกตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
= เครื่องหมายเชิดชูเกียรติในการปฏิบัติหน้าที่
วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ เวลา ๑๐.๓๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง ชั้นล่าง อาคาร
รัฐสภา ๑ นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวแสงดความยินดีแก่สมาชิกฯ
ที่ได้รับโล่ประกาศเกียติคุณว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่สมาชิกได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ มีจำนวน ๑๖๔ ท่าน
จากครั้งแรกมีการมอบโล่เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๕ จำนวน ๘๐ ท่าน และครั้งที่สองเมื่อปี
พ.ศ. ๒๕๔๖ จำนวน ๑๓๘ ท่าน และที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งคือ ในจำนวน ๑๖๔ ท่าน มีผู้ได้รับโล่ถึง
๓ ครั้ง จำนวน ๓๒ ท่าน นั่นย่อมเป็นนิมิตหมายที่ดี แสดงถึงว่าทุกท่านได้ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่หลักของ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติเป็นประการสำคัญ และในการรับโล่
ครั้งนี้ถือว่าเป็นเครื่องหมายเชิดชูเกียรติในการปฏิบัติหน้าที่ของท่าน
= โครงการยุวชนประชาธิปไตย
วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ เวลา ๑๔.๐๐ นาฬิกา นายคัมภีร์ ดิษฐากรณ์ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ในฐานะประธานคณะทำงานฝ่ายเลขานุการและประสานงานโครงการยุวชนประชาธิปไตย เป็นประธาน
ในการประชุมคณะทำงานฝ่ายเลขานุการและประสานงาน ครั้งที่ ๑/๒๕๔๗ ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ
หมายเลข ๔ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๑
โครงการนี้เปิดรับสมัคร
รุ่นที่ ๑/๔๗ วันที่ ๑-๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
รุ่นที่ ๒/๔๗ วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ - ๒๔ มีนาคม ๒๕๔๗
ประกาศผล
รุ่นที่ ๑/๔๗ วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๗ ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
รุ่นที่ ๒/๔๗ วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๗ ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
เยาวชนต่างจังหวัดและปริมณฑล
ติดต่อขอรายละเอียดโครงการและส่งใบสมัครได้ที่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต ๑ ของจังหวัดที่เยาวชนศึกษาอยู่ในแต่ละรุ่น
เยาวชนในกรุงเทพมหานคร
ติดต่อขอรายละเอียดโครงการและส่งใบสมัครได้ที่ กลุ่มงานเผยแพร่ประชาธิปไตยฯ สำนักประชาสัมพันธ์
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร อาคารทิปโก้ทาวเวอร์ ชั้น ๒๐ ถนนพระราม ๖ สามเสนใน กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทรศัพท์ ๐ ๒๓๕๗ ๓๑๐๐ หรือ ๓๑๐๑-๖ โทรสาร ๐ ๒๓๕๗ ๓๑๓๗ http://www.parliament.go.th
= เพิ่มเบี้ยประชุมกรรมาธิการ
คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในเรื่องของเบี้ยประชุมกรรมาธิการ เนื่องจากภาระหน้าที่ของ
คณะกรรมาธิการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญนั้นมีปริมาณมาก โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอ
ร่างพระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
และกรรมาธิการ (ฉบับที่) พ.ศ. …. เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมาธิการและอนุกรรมาธิการ
ให้กระทรวงการคลังพิจารณา เสนอความเห็น เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ซึ่งกระทรวงการคลัง
ได้พิจารณาแล้วเห็นชอบด้วยกับร่างดังกล่าว คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้เพิ่มเงินค่าเบี้ยประชุมครั้งละ ๕๐๐ บาท
เป็นครั้งละ ๑,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกินคนละ ๒,๐๐๐ บาทต่อวัน และเบี้ยประชุมอนุกรรมาธิการจากเดิม ไม่ได้รับ
เบี้ยประชุมให้ได้รับครั้งละ ๕๐๐ บาท แต่ไม่เกินคนละ ๑,๐๐๐ บาทต่อวัน ซึ่งถ้าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรท่านใดเป็นกรรมาธิการหลายคณะ
จะได้รับเบี้ยประชุมเพียง ๒ คณะ เท่านั้น ในการประชุมแต่ละวัน
= มหกรรมรับประทาน "ไก่" ที่รัฐสภา
ภาวะการเกิดโรคระบาดไข้หวัดนกในไก่ได้สร้างความวิตกกังวลต่อพฤติกรรมการบริโภคไก่
ในหมู่คนไทยทั้งประเทศ ทำให้ธุรกิจการจำหน่ายไก่อยู่ในภาวะตกต่ำ จึงทำให้รัฐบาลต้องสร้างความ
มั่นใจให้กับประชาชนในการบริโภคไก่กลับคืนมา โดยจัดให้มีการรณรงค์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น จัดให้มี "สถานีไก่"
ขึ้นมา โดยใช้สถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง ๑๑ กรมประชาสัมพันธ์ เป็นศูนย์กลางในการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน
รวมทั้งได้มีอาหารที่ทำด้วยไก่และไข่สุกไว้บริการทุกมื้อกลางวัน พร้อมกันนี้ได้จัดให้มี "มหกรรมกินไก่ไทยปลอดภัย ๑๐๐%"
ขึ้น ในวันเสาร์ที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ ณ ท้องสนามหลวง โดยมีนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ดารา นักร้อง นักแสดง
ศิลปินจากหลายแขนง ร่วมรับประทานไก่เพื่อเรียกความเชื่อมั่นในการบริโภคไก่กลับคืนมา ส่วนที่ต่างจังหวัดได้จัดขึ้น
ณ ศาลากลางจังหวัดทุกจังหวัด
สำหรับที่รัฐสภาได้จัดให้มีการบริโภคไก่ทอดและเครื่องดื่มจากบริษัท KFC และ
สหฟาร์ม ให้แก่สมาชิกรัฐสภา ข้าราชการ ลูกจ้าง และสื่อมวลชน ในวันพุธที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ เวลา ๑๒.๐๐ นาฬิกา
ณ ห้องรับรองสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๑ สโมสรรัฐสภาใหญ่-เล็ก
= กองทุนสงเคราะห์สมาชิกรัฐสภา
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้มีหน้าที่ร่วมกันตรากฎหมายให้ออกมาบังคับใช้
กับประชาชนทั้งประเทศ ซึ่งถือได้ว่าเป็นบุคคลที่ทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติอย่างทวีคูณ
ในขณะที่พ้นจากตำแหน่งจะไม่ได้รับสวัสดิการเหมือนเช่นข้าราชการทั่วไป ทั้งที่ปฏิบัติงานตอบแทนคุณแผ่นดินเช่นกัน
รัฐสภาจึงออกระเบียบรัฐสภาว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา พ.ศ.๒๕๔๓ โดยมีคณะกรรมการ
กองทุนสงเคราะห์ผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา มีอำนาจพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินสงเคราะห์ค่ารักษาพยาบาลและ
สงเคราะห์ครอบครัว รวมทั้งกรณีผู้ที่เคยเป็นสมาชิก รัฐสภาได้ถึงแก่กรรม ทั้งนี้ค่ารักษาพยาบาลจะไม่รวม
ค่าตรวจสุขภาพประจำปีปฏิทิน
การจ่ายเงินสงเคราะห์ค่ารักษาพยาบาลจะต้องเป็นสมาชิกรัฐสภาที่เจ็บป่วย
และไม่มีสิทธิรับเงินทดแทนจากบริษัทประกัน รวมทั้งสิทธิเบิกสวัสดิการ บำเหน็จ หรือบำนาญอื่นใด โดยพิจารณา
จ่ายเงินได้ไม่เกินรายละ ๑๐,๐๐๐ บาทต่อปี
หากสมาชิกรัฐสภาถึงแก่กรรม ผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์ คือ คู่สมรส บุตร บิดา-มารดา
โดยบุคคลที่เคยเป็นสมาชิกรัฐสภาได้แสดงเจตนาเป็นหนังสือให้เป็นผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์โดยเร็ว
รายละ ๕๐,๐๐๐ บาท ทั้งนี้ภายในหนึ่งปีนับแต่ผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภาถึงแก่กรรม
= สังเกตการณ์การเลือกตั้งผู้พิพากษาสมทบ
วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ ที่รัฐสภา เวลา ๑๑.๒๐ นาฬิกา นายเปรมศักดิ์ เพียยุระ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการแรงงานสภาผู้แทนราษฎร
ได้แถลงถึงปัญหาการเลือกตั้งผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงานกลางว่า ในปีนี้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ได้กำหนดให้มีการเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างเพื่อดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงานกลาง
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๔๗ ที่อาคารกระทรวงแรงงาน แต่เนื่องจาก การประกาศกำหนดวัน เวลา
และสถานที่ทำการเลือกตั้งดังกล่าว ทางสมาคมนายจ้างและสหภาพแรงงานไม่สามารถแจ้งรายชื่อผู้แทนเพื่อ
เข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้แทนได้ภายในระยะเวลาตามที่กำหนด ดังนั้นกรมสวัสดิการและ
คุ้มครองแรงงานจึงยกเลิกประกาศ เรื่อง กำหนดวัน เวลา และสถานที่เลือกตั้งฯ เพื่อให้สมาคมนายจ้างและ
สหภาพแรงงานได้ใช้สิทธิเลือกตั้งอย่างทั่วถึง โดยเลื่อนกำหนดวัน เวลาเลือกตั้งผู้แทนทั้งสองฝ่าย เพื่อดำรง
ตำแหน่งผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงานกลาง เป็นวันอาทิตย์ที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐-๑๕.๐๐ นาฬิกา
ณ บริเวณชั้นล่าง อาคารกระทรวงแรงงาน ถนนมิตรไมตรี ดินแดง กรุงเทพฯ
นายเปรมศักดิ์กล่าวต่อไปว่า เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในการเลือกตั้งอย่างที่ผ่าน ๆ มา
จึงได้ส่งผู้แทนในคณะกรรมาธิการร่วมสังเกตการณ์ในการเลือกตั้งครั้งนี้ จำนวน ๒ คน ที่บริเวณอาคารเลือกตั้งในวันดังกล่าวด้วย
= คณะกรรมาธิการการแรงงานห่วงผลกระทบผู้ใช้แรงงานในธุรกิจการ
เลี้ยงไก่
นายเปรมศักดิ์ เพียยุระ ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร ได้กล่าวว่า
ทางกรรมาธิการการแรงงานห่วงผลกระทบผู้ใช้แรงงานในธุรกิจการเลี้ยงไก่เนื่องจากการระบาดของโรคไข้หวัดนก ดังนี้
๑. กลุ่มปลูกพืชผลผลิตป้อนโรงงานอาหารสัตว์
๒. กลุ่มประกอบการโรงงานอาหารสัตว์
๓. กลุ่มเลี้ยงสัตว์ระบบปิดในฟาร์ม
๔. กลุ่มโรงงานฆ่าและชำแหละสัตว์ปีก
๕. กลุ่มโรงงานผลิตและแปรรูปอาหาร แช่แข็ง อาหารสำเร็จรูป
สถานประกอบการที่อยู่ในความคุ้มครองของระบบประกันสังคม จำแนกออกเป็น ๒ กลุ่ม
มีสถานประกอบการ ๑,๐๓๑ แห่ง ลูกจ้าง ผู้ประกันตน และเกษตรกรผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งสิ้น
๑๕๑,๐๔๒ คน ได้แก่ กลุ่มเลี้ยงสัตว์ระบบปิดในฟาร์ม และกลุ่มโรงงานฆ่าและชำแหละสัตว์ปีก
ยังมีกลุ่มอื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบทางตรงและทางอ้อม ได้แก่ กลุ่มเลี้ยงสัตว์และ
ฆ่าสัตว์รายย่อย กลุ่มกิจกรรมการขนส่ง และกิจการต่อเนื่อง เป็นต้น จะมีแรงงานได้รับผลกระทบ
ไม่น้อยกว่า จำนวน ๒ แสนคน
การดำเนินงานในการแก้ปัญหาของผู้ที่จะได้รับความเดือดร้อนและความเสียหาย
๑. ควรใช้มาตรการชะลอการเลิกจ้าง หยุดงาน
๒. ควรใช้กลไกด้านจัดสร้างเครือข่ายตลาดแรงงาน
๓. ควรส่งเสริมการทำงานในพื้นที่โดยเป็นการทำงานในอาชีพเสริม
๔. ควรส่งเสริมการฝึกอาชีพระยะสั้น
๕. ควรใช้มาตรการลดภาระค่าใช้จ่าย ทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ผลทางตรง กลุ่มที่ได้รับผลกระทบทั้งในส่วนของลูกจ้างแรงงานและครอบครัว
นายจ้าง ผู้ประกอบการ ควรจะได้รับการบรรเทาปัญหาเฉพาะหน้าโดยด่วน
ผลทางอ้อม ควรสร้างระบบการจ้างงานใหม่ ชดเชยระบบเดิม และเกิดกำลัง
แรงงานสำรองในภาคการผลิตใหม่ ที่ช่วยให้เกิดแผนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
= ทุนมูลนิธิพระปกเกล้าฯ
มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จ
พระนางเจ้ารำไพพรรณี ได้มอบทุนการศึกษาให้กับบุตรข้าราชการ ลูกจ้างสำนักงานเลขาธิการ
สภาผู้แทนราษฎร และสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา โดยได้กำหนดเงื่อนไขในการขอรับทุนการศึกษาบุตร
ประจำปี ๒๕๔๗ คือ
๑. ผู้มีสิทธิขอรับทุนการศึกษา ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
๑.๑ เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
๑.๒ มีความประพฤติเรียบร้อย
๑.๓ มีบุตรอยู่ในระหว่างการศึกษา
๑.๔ มีรายได้ (ไม่รวมคู่สมรส) เดือนละไม่เกิน ๗,๓๘๐.-บาท ในวันที่ยื่นขอ
รับทุน
๑.๕ ไม่เป็นผู้ได้รับทุนการศึกษาของบุตรจากที่อื่นในปีการศึกษาเดียวกัน
๑.๖ การขอรับทุนการศึกษาให้ผู้มีสิทธิขอรับทุนขอได้ไม่เกิน ๑ ทุน
๒. บุตรของผู้มีสิทธิขอรับทุนการศึกษา ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
๒.๑ กำลังเรียนอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาหรือชั้นมัธยมศึกษาหรือ
เทียบเท่า
๒.๒ มีผลการเรียนดี (๗๐% หรือ ๒.๗๕ ขึ้นไป) มีความประพฤติดีและอยู่ใน
ฐานะที่ควรให้ความช่วยเหลือ
๒.๓ เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย และอยู่ในความอุปการะของผู้มีสิทธิ
ขอรับทุนการศึกษา ทั้งนี้ ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม
๒.๔ ไม่เป็นผู้ได้รับทุนการศึกษาจากที่อื่นในปีการศึกษาเดียวกัน
ข้าราชการและลูกจ้างที่สนใจติดต่อขอใบสมัครและยื่นสมัครขอรับทุนได้ที่กลุ่มงาน
กิจการทั่วไป สำนักบริหารงานกลาง สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (อาคารทิปโก้ ชั้น ๑๗)
ตั้งแต่บัดนี้ - ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
= ประชุมสภาผู้แทนราษฎร
สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
วันพุธที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
เมื่อเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา เป็นประธาน
เปิดการประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยสามัญทั่วไป ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑ โดยมีการพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ พ.ศ. …. ซึ่ง
พันตำรวจโทดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แจ้งต่อที่ประชุมถึงหลักการในการตั้งงบประมาณ
รายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ จำนวน ๑๓๕,๕๐๐ ล้านบาท และได้ตั้งรายจ่ายชดใช้
เงินคงคลังจำนวน ๓๙,๐๐๐ ล้านบาท โดยให้เหตุผลดังนี้
๑. รัฐบาลมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินในการดำเนินนโยบายและมาตราการต่าง ๆ
รวมทั้งการปรับปรุงระบบบริหารงานบุคคล สวัสดิการ และค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐ รวมทั้ง
ค่าใช้จ่ายเพื่อส่งเสริมสร้างศักยภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ
จึงต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมตามจำนวนเงินดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
- เพื่อจัดสรรเป็นเงินบำเหน็จดำรงชีพ ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๒๑)
พ.ศ. ๒๕๔๖ และพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖ จำนวน ๓๓,๐๔๐ ล้านบาท
- ค่าใช้จ่ายตามมาตรการพัฒนาและบริหารกำลังคน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงจำนวน ๑๔,๕๙๐ ล้านบาท
- ค่าใช้จ่ายการปรับเงินค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐจำนวน ๑๖,๕๗๐ ล้านบาท
- ค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศจำนวน ๕๙,๐๐๐ ล้านบาท
- เงินอุดหนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์
การพัฒนาจังหวัดจำนวน ๑๒,๓๐๐ ล้านบาท
๒. เนื่องจากได้มีการจ่ายเงินคงคลัง เพื่อไถ่ถอนตั๋วเงินคลัง ดังนั้นจึงต้องตั้งรายจ่ายเพื่อชดใช้
เงินคงคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณเป็นจำนวนเงิน ๓๙,๐๐๐ ล้านบาท
ซึ่ง นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ได้ให้ความเห็นว่า รัฐบาลได้จัดทำ
งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาจัดทำงบประมาณ ปี ๒๕๐๒ โดยขอให้รัฐบาลถอนร่าง
พระราชบัญญัติฉบับนี้และทำเอกสารพร้อมตัวเลขการจัดเก็บรายได้อย่างชัดเจนมาแสดงต่อที่ประชุมในการประชุมครั้งต่อไป
นายกรัฐมนตรีได้ยอมรับฟังความคิดเห็นดังกล่าว และได้ถอนร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ไปก่อน ทั้งนี้ที่ประชุมได้มีมติถอน
ร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวและให้นำกลับมาพิจารณาพร้อมแสดงเอกสารประกอบเพิ่มเติมในคราวต่อไป
นอกจากนี้ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติเครื่องแบบกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองพิจารณาเสร็จแล้ว โดยมี
นายวิฑูรย์ นามบุตร เป็นประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งได้มอบหมาย
ให้นายสามารถ แก้วมีชัย รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่ ๑ เป็นผู้ชี้แจงต่อที่ประชุมเป็นการแก้ไขเพิ่มเติม
ทั้งสิ้น ๖ มาตรา ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้
สำหรับร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ …) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา
เสร็จแล้วนั้น เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติล้มละลายทั้งสิ้น ๑๕ มาตรา โดยมีเหตุผลคือ กฎหมายว่าด้วย
ล้มละลายเดิมนั้นได้บัญญัติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดให้ลูกหนี้พ้นจากการ ล้มละลาย ซึ่งผลของกฎหมาย
ที่ใช้บังคับในปัจจุบันยังขาดความชัดเจนและทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ที่ เกี่ยวกับผลของการพ้นจากการล้มละลาย
โดยเฉพาะการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ อย่างไรก็ตามหลักการของบทบัญญัตินี้เป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยให้บุคคลล้มละลาย
ที่สุจริตได้มีโอกาสพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลาย จึงสมควรให้คงหลักการดังกล่าวไว้ โดยยกเลิกบทบัญญัติเดิมและ
นำมากำหนดเพิ่มเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการปลดจากล้มละลายโดยผลของกฎหมาย นอกจากนี้บทบัญญัติที่กำหนดให้บุคคล
ล้มละลายอาจร้องขอให้ศาลมีคำสั่งปลดจากล้มละลายได้ที่ใช้บังคับในปัจจุบันนั้น ยังขาดความชัดเจนและขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ
ของศาลในแต่ละกรณี จึงเห็นสมควรให้มีการแก้ไขหลักเกณฑ์ที่ศาลจะสั่งปลดจาก การล้มละลายให้ความชัดเจนยิ่งขึ้น
เพื่อเป็นหลักประกันแก่บุคคลล้มละลายว่าหากดำเนินการตามกฎหมายแล้วจะได้รับการปลดจากการล้มละลาย และเพื่อให้
บทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับค่าธรรมเนียม ในคดีล้มละลายที่ใช้บังคับอยู่มีความเหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน ซึ่งที่ประชุม
มีมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้
และสุดท้ายได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดี ล้มละลาย (ฉบับที่ ….) พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว โดยมีนายปกิต พัฒนกุล ประธานคณะกรรมาธิการฯ ได้ชี้แจงในหลักการและ
เหตุผลของการแก้ไขเพิ่มเติมทั้งสิ้น ๗ มาตรา โดย บทบัญญัติในส่วนของการกำหนดหลักเกณฑ์การอุทธรณ์คำพิพากษา
หรือคำสั่งของศาลล้มละลายที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้นไม่มีความเหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบันเป็นเหตุให้การดำเนินการพิจารณา
เป็นไปด้วยความล่าช้าและไม่คุ้มครองสิทธิของเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างเพียงพอ อีกทั้งหลักเกณฑ์การอุทธรณ์ที่กำหนด
ในกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายที่ใช้บังคับในปัจจุบันใช้บังคับเฉพาะคดีฟื้นฟูกิจการของ
ลูกหนี้จำเป็นต้องมีการแก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ การอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลล้มละลายเพื่อให้การ
ดำเนินการพิจารณาเป็นไปด้วยความรวดเร็วและเพื่อให้หลักการการอุทธรณ์ทั้งคดีล้มละลายและคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
อยู่ในกฎหมายเดียวกัน ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวนี้
ซึ่งที่ประชุมได้นำร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๓ ฉบับ ที่ผ่านการเห็นชอบแล้วส่งให้กับที่ประชุมวุฒิสภาพิจารณาต่อไป
ปิดประชุมเวลา ๑๕.๔๕ นาฬิกา
สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
วันพฤหัสบดีที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
เมื่อเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา นายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง
เป็นประธานในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๒ (สมัยสามัญทั่วไป) โดยมีการพิจารณา
ในเรื่องของกระทู้ถามสด จำนวน ๓ เรื่อง
๑. กระทู้ถามของนายตรีพล เจาะจิตต์ เรื่อง ปัญหาสินค้าเกษตรกับคู่ค้าระหว่าง
ประเทศ ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล)
เป็นผู้ตอบกระทู้ว่า การที่สินค้าเกษตรหลายชนิด เช่น ลำไย กุ้ง ไก่ มักประสบปัญหาในการถูกกีดกันจาก
ประเทศคู่ค้าจนทำให้ปริมาณการส่งออกมีแนวโน้มจะลดต่ำลงเรื่อย ๆ ซึ่งจะมีผลทำให้ราคาสินค้าในประเทศ
ตกต่ำกระทบต่อเกษตรกรผู้ผลิตอย่างมาก โดยเฉพาะลำใยที่มีปัญหาเกิดขึ้นตั้งแต่ปี ๒๕๔๕-๒๕๔๖ นั้น จะนำไปศึกษา
และจะนำมารายงานให้ทราบต่อไป ในส่วนของกุ้งซึ่งเป็นสินค้าที่ทำรายได้ให้แก่ประเทศไทยเป็นอย่างมาก
แต่ราคาตกต่ำทางกระทรวงพาณิชย์ได้เข้าไปดูแลในเรื่องของ ตลาดกุ้งแล้ว โดยให้มีการรับจำนำและไถ่ถอน
ในทุก ๔ เดือน รวมทั้งรณรงค์ให้มีการบริโภคกุ้งในประเทศ โดยจัดเทศกาลกินกุ้ง รวมทั้งวางจำหน่ายใน
ศูนย์การค้าต่าง ๆ ด้วย
๒. กระทู้ถามของนายชลน่าน ศรีแก้ว เรื่อง มาตรการป้องกันดูแลรักษาควบคุม
ไข้หวัดนกในคน ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
(นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์) ตอบกระทู้ว่า อาการของโรคไข้หวัดนกเกิดจากไวรัสชนิดหนึ่ง แต่ผู้ที่มีอาการ
เป็นไข้หวัดใหญ่ จะอยู่ในชนิด H๑ H๒ และ H๓ ส่วนสัตว์ปีกจะอยู่ในกลุ่ม H๕ จะไม่มีไวรัสชนิดนี้
ในตัวบุคคลมาก่อน จึงไม่มีภูมิคุ้มกัน แต่จะไม่ติดต่อจากคนสู่คน แต่จะติดจากสัตว์ปีกสู่คนเท่านั้น โดย ติดต่อ
ทางการสัมผัส น้ำลาย น้ำเมือกจากสัตว์ที่ป่วยเป็นโรค แต่ถ้ามีการบริโภคสัตว์ เช่น ไก่ เป็ด ไข่
ที่สุกแล้ว จะไม่มีอาการเป็นไข้หวัดนกดังกล่าว และควรป้องกันการติดเชื้อด้วยการล้างมือ ใส่ผ้าคาดจมูก
และรักษาตัวให้สะอาดจากการสัมผัสสัตว์ที่เป็นโรคดังกล่าวนี้
๓. กระทู้ถามของนายประทีป กรีฑาเวช เรื่อง บทบาทและหน้าที่ของผู้ว่าฯ ซี อี โอ
(CEO) ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา) เป็นผู้ตอบ
กระทู้ว่า ผู้ว่า CEO เป็นหัวหน้าคณะผู้บริหารในจังหวัด ทำหน้าที่ในการบริหารด้านต่าง ๆ ภายในจังหวัด
โดยมีหัวหน้าส่วนราชการแต่ละส่วนในจังหวัด และผู้แทนจากองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
นายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เข้ามาร่วมบริหารงานในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการ
บริหารงานบุคคล ซึ่งผู้ว่าฯ CEO จะรับเงินเดือนจากภาษีอากรของประชาชน ดังนั้น การดำเนินงานต่าง ๆ
ของผู้ว่า CEO ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ของราคาพืชผลเกษตรตกต่ำ โรคระบาดต่าง ๆ ต้องรายงานให้
กระทรวงมหาดไทย รองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลในเขตจังหวัดต่าง ๆ รวมทั้งกระทรวง
ที่เกี่ยวข้องโดยตรงได้รับทราบข้อมูลและผลการดำเนินงานต่าง ๆ เหล่านั้น
จากนั้น ที่ประชุมได้มีการหารือกันเพื่อหยิบยกญัตติด่วน เรื่อง ไข้หวัดนก ซึ่ง
นายอลงกรณ์ พลบุตร ได้ยื่นเป็นญัตติด่วนขึ้นมาพิจารณาก่อน ที่ประชุมพิจารณาแล้วมีมติ ให้นำญัตติด่วนที่ ๑๗
เรื่องการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
ขึ้นมาพิจารณาก่อนและตามด้วยญัตติด่วน เรื่อง ไข้หวัดนกเป็นลำดับต่อไป
ที่ประชุมได้มีการพิจารณาญัตติด่วนที่ ๑๗ เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง
เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา จากการประชุมได้มีสมาชิกฯ อภิปรายกันอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับการ
แต่งตั้งนางสาวพรทิพย์ จาละ รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ขึ้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการ
แทนนายชัยวัฒน์ ซึ่งป่วยเนื่องจากเส้นโลหิตในสมองแตก
จากการพิจารณาได้มีมติเห็นชอบด้วยคะแนน ๒๙๙ เสียง
จากนั้นสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาญัตติกรณีการระบาดของไข้หวัดนก รวม ๔ ญัตติ
โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านเสนอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง
การระบาดของโรค โดยได้พิจารณาเป็นเรื่องด่วน ทั้งนี้มีสมาชิกขออภิปรายหลายคน อาทิ
นายอลงกรณ์ พลบุตร นายตรีพล เจาะจิตต์ นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ
นายโสภณ เพชรสว่าง นายเชน เทือกสุบรรณ นายชิงชัย มงคลธรรม นางสาวรังสิมา
รอดรัศมี นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล นายสุวโรช พะลัง โดยมีประเด็นการอภิปรายดังนี้คือ
การที่รัฐบาลพยายามปฏิเสธและไม่ยอมรับว่าเกิดภาวะการระบาดของโรคไข้หวัดนก
ปกปิดข้อมูลการแพร่เชื้อโรค สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจการส่งไก่ไปยังต่างประเทศ กรณีนี้
นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ ได้ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเกษตรและ
สหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข การปกปิดข้อมูล
ทำให้การรักษาโรคทำได้ยาก ไม่ถูกวิธี เกิดการแพร่เชื้อโรคอย่างรวดเร็ว ควบคุมลำบาก
การดำเนินการของรัฐบาลใช้วิธีการทำลายไก่ที่ไม่ใช่เขตพื้นที่ควบคุมหรือพื้นที่สีแดง
คือ บางจังหวัดเป็นพื้นที่สีเขียว ปลอดจากโรค ถูกทำลายไก่ไปด้วย แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลใช้วิธีคาดคะเน
มากกว่าการสำรวจพื้นที่จริง นอกจากนี้ยังไม่มีการแยกแยะประเภทไก่ที่ถูกทำลายให้ชัดเจน ตัวอย่างเช่น
กรณีไก่พื้นเมือง ไก่แจ้ ไก่ชน ที่เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลิน ที่มีราคาสูง หายาก ซึ่งนายชิงชัย มงคลธรรม
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ อภิปรายถึงความบกพร่องของรัฐบาล เพราะเข้าใจคนรักไก่เป็นอย่างดี
เนื่องจากเลี้ยงไก่เพื่อความเพลิดเพลินมานานและมีจำนวนมากเช่นกัน
ผลกระทบจากการทำลายไก่จำนวนมากส่งผลต่อการประกอบอาชีพอื่น ๆ ตามมา
นายตรีพล เจาะจิตต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช อภิปรายว่าธุรกิจอาหารสัตว์ เสียหาย
มูลค่ากว่าแสนล้านบาท จึงเรียกร้องให้รัฐบาลหาผู้รับผิดชอบ ทางด้านธุรกิจไข่เค็มไชยา ได้รับ
ผลกระทบเพราะไม่มีไข่สำหรับเป็นวัตถุดิบการผลิตสินค้า ผู้ประกอบการขาดรายได้ ขณะที่ผู้เลี้ยงหอยแมลงภู่
จังหวัดสมุทรสงครามประสบปัญหาหอยแมลงภู่ขายไม่ได้ เพราะโรงงานที่เคยใช้หอยเลี้ยงเป็ด
ไม่สั่งซื้อหอย เพราะฟาร์มเลี้ยงเป็ดถูกปิดลง นางสาวรังสิมา รอดรัศมี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด
สมุทรสงคราม อภิปรายรัฐบาล พร้อมทั้งทวงถามเงินชดเชยกรณีเกษตรกรผู้เลี้ยงหอยได้รับผลเสียหายจาก
ภาวะหอยตาย เพราะโรงงานปล่อยน้ำเสียจากจังหวัดเพชรบุรีปล่อยเข้ามาในพื้นที่การเพาะเลี้ยงหอยเมื่อ ๔ เดือนก่อน
จึงขอให้รัฐบาลเร่งจ่ายเงินชดเชยให้โดยด่วน
ทางด้านนายสุวโรช พะลัง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร ขอให้รัฐบาลออกมา
ชี้แจงรายละเอียดการทำลายไก่ ว่าทำด้วยวิธีใด อย่างไร และสามารถตรวจสอบถึงการไม่แพร่เชื้อของโรคได้
แน่นอนเพียงใด
จากนั้นนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชี้แจงกรณีไข้หวัด
นกระบาดนั้น รัฐบาลได้วางแผนการแก้ไขอย่างเป็นขั้นเป็นตอน การที่ออกมาประกาศภาวะการระบาดของโรคช้า
เพราะการตรวจพิสูจน์ในห้องปฏิบัติการหรือห้องแล็บที่มีจำนวนไม่มากในประเทศ การเพาะเชื้อต้องใช้เวลาพอสมควร
จึงจะออกมาประกาศได้ ทั้งนี้ต้องให้เกิดความชัดเจน ส่วนการทำลายไก่ในแต่ละพื้นที่นั้นเพื่อให้เกิดความแน่ใจว่า
สามารถควบคุมการแพร่เชื้อในรัศมีควบคุม จึงต้องกำหนดระยะทางเพื่อการทำลาย สำหรับการสร้างความเชื่อมั่น
กับประชาชนในการจัดมหกรรมการรับประทานไก่นั้น เพื่อให้เห็นว่าบุคคลสำคัญของประเทศมีความมั่นใจต่อ
การปลอดเชื้อโรค หากไก่ที่นำมาปรุงด้วยอุณหภูมิสูงจะปลอดภัยต่อสุขภาพแน่นอน การส่งผลิตภัณฑ์ไก่ไปต่างประเทศนั้น
ผู้แทนจากองค์การอนามัยโลกได้มาตรวจสอบสถานการณ์ในประเทศไทยแล้ว และได้มีการรายงานต่อองค์การอนามัยโลก
เรียบร้อยแล้ว ดังนั้น สหภาพยุโรปน่าจะเชื่อมั่นมากขึ้นคงจะสั่งไก่จากไทยเป็นปกติอย่างแน่นอน
หลังจากที่รัฐมนตรีตอบการอภิปรายเสร็จสิ้นแล้ว นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ประธานในที่ประชุมฯ ได้สั่งปิดประชุมเวลาประมาณ ๒๒.๐๐ นาฬิกา
-------------------------------------------------------------