ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในตลาดส่งออกผลไม้สดที่มีศักยภาพของไทย ในปี 2546 ไทยส่งออกผลไม้สดไปญี่ปุ่นเป็นมูลค่า 5.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 90 จากปี 2545 ผลไม้สดของไทยที่ส่งออกไปญี่ปุ่นในปัจจุบันมีอยู่ 6 ชนิด คือ มะม่วง มังคุด มะพร้าว กล้วย ทุเรียน และสับปะรด
ภาวะตลาดผลไม้สดทั้ง 6 ชนิดของไทยในญี่ปุ่นเป็นดังนี้
- มะม่วง ในปี 2546 ญี่ปุ่นนำเข้ามะม่วงจากไทยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 144 ทำให้เป็นผลไม้ที่มีสัดส่วนการส่งออกสูงสุดในบรรดาผลไม้สดที่ไทยส่งออกไปญี่ปุ่นทั้งหมด และญี่ปุ่นขยับขึ้นเป็นตลาดส่งออกมะม่วงอันดับ 1 ของไทยแทนมาเลเซีย อย่างไรก็ตาม การขยายตลาดส่งออกมะม่วงไทยไปญี่ปุ่นยังมีอุปสรรคอยู่บ้างเนื่องจากเป็นผลไม้ที่ค่อนข้างใหม่ในญี่ปุ่น และชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างมะม่วงของไทยและของฟิลิปปินส์ ขณะที่ฟิลิปปินส์มีความได้เปรียบจากต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า
- มังคุด แม้ว่าญี่ปุ่นเพิ่งอนุญาตให้นำเข้ามังคุดจากไทยเมื่อเดือนเมษายน 2546 แต่ญี่ปุ่นกลับเป็นตลาดส่งออกมังคุดสำคัญอันดับ 2 ของไทยรองจากฮ่องกงเนื่องจากรสชาติเป็นที่ถูกใจของชาวญี่ปุ่นและยังไม่มีคู่แข่ง อย่างไรก็ตาม การส่งออกมังคุดของไทยยังประสบปัญหาทั้งจากต้นทุนการผลิตที่สูงโดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการอบไอน้ำเพื่อกำจัดแมลง และคุณภาพผลที่ไม่สม่ำเสมอ
ทั้งนี้ ส่วนแบ่งตลาดมะม่วงและมังคุดของไทยในญี่ปุ่นในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2546 มีสัดส่วนร้อยละ 19 เป็นอันดับ 3 รองจากฟิลิปปินส์ (ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 49) และเม็กซิโก (ร้อยละ 25)
- มะพร้าว ญี่ปุ่นนำเข้าทั้งมะพร้าวแก่และมะพร้าวอ่อนจากไทย ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2546 ไทยมีส่วนแบ่งตลาดมะพร้าวโดยรวมเป็นอันดับ 1 ในญี่ปุ่น (ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 82) ตามด้วยฟิลิปปินส์ (ร้อยละ 11) และจีน (ร้อยละ 6) สำหรับมะพร้าวอ่อนพบว่ามีศักยภาพสูงในการขยายตลาดญี่ปุ่นเพราะยังไม่มีคู่แข่ง และชาวญี่ปุ่นเริ่มหันมานิยมดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนแทนเครื่องดื่มเพื่อดับกระหายเนื่องจากเป็นผลไม้ที่มีสารเคมีตกค้างน้อยกว่าผลไม้ชนิดอื่น
- กล้วย ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกกล้วยอันดับ 1 ของไทยตั้งแต่ปี 2544 แม้ว่ามูลค่าส่งออกค่อนข้างคงที่ แต่เป็นตลาดที่มีศักยภาพเนื่องจากชาวญี่ปุ่นนิยมบริโภคกล้วย อย่างไรก็ตาม กล้วยไทยมีคู่แข่งสำคัญ คือ ฟิลิปปินส์และเอกวาดอร์ ซึ่งมีต้นทุนการผลิตกล้วยต่ำกว่าไทยเพราะพื้นที่เพาะปลูกเป็นแปลงขนาดใหญ่ ขณะที่ฟิลิปปินส์ได้เปรียบในแง่ของต้นทุนค่าขนส่งไปญี่ปุ่นเนื่องจากมีระยะทางใกล้กว่าไทย นอกจากนี้ ผลผลิตที่ส่งออกได้ตลอดทั้งปีประกอบกับผลมีขนาดใหญ่ เปลือกหนา และมีความหวานน้อยกว่า ทำให้เกิดริ้วรอยและเน่าเสียยากกว่ากล้วยจากไทย ปัจจัยดังกล่าวทำให้กล้วยจากฟิลิปปินส์และเอกวาดอร์เป็นที่นิยมของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่น ทั้งนี้ ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2546 กล้วยไทยมีส่วนแบ่งตลาดญี่ปุ่นเพียงร้อยละ 0.3 ขณะที่กล้วยจากฟิลิปปินส์และเอกวาดอร์มีส่วนแบ่งตลาดสูงถึงร้อยละ 77 และร้อยละ 13 ตามลำดับ
- ทุเรียน ในปี 2546 มูลค่าส่งออกทุเรียนของไทยไปญี่ปุ่นขยายตัวถึงร้อยละ 150 เนื่องจากรัฐบาลเร่งปรับปรุงระบบการตรวจสอบคุณภาพผลทุเรียนสดก่อนการส่งออก และมุ่งประชาสัมพันธ์เพื่อขยายตลาดส่งออกอย่างจริงจัง อย่างไรก็ตาม การที่ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ยังไม่คุ้นเคยกับกลิ่นทุเรียนและราคาที่ค่อนข้างสูง ทำให้เป็นผลไม้ที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าที่ควร และตลาดจำกัดอยู่เฉพาะชาวญี่ปุ่นที่เคยรับประทานทุเรียนมาก่อน ทั้งนี้ ปัจจุบันญี่ปุ่นนำเข้าทุเรียนเฉพาะจากไทยและฟิลิปปินส์เท่านั้น โดยในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2546 ทุเรียนจากไทยมีส่วนแบ่งตลาดญี่ปุ่นสูงถึงร้อยละ 95
- สับปะรด ในปี 2546 มูลค่าส่งออกสับปะรดไทยไปญี่ปุ่นลดลงราวเท่าตัว เพราะไม่สามารถแข่งขันกับสับปะรดจากฟิลิปปินส์ที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าไทย มีผลผลิตส่งออกได้ตลอดทั้งปี และมีการพัฒนาความหวานจนเท่าเทียมกับสับปะรดไทย ทั้งนี้ ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2546 ไทยมีส่วนแบ่งตลาดสับปะรดในญี่ปุ่นเพียงร้อยละ 0.1 ขณะที่ฟิลิปปินส์ครองส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 1 ถึงร้อยละ 95
แม้ว่าปัจจุบันการส่งออกผลไม้ไทยไปญี่ปุ่นโดยเฉพาะมะม่วง กล้วย และสับปะรด ต้องเผชิญกับการแข่งขันจากคู่แข่งสำคัญอย่างฟิลิปปินส์และเอกวาดอร์ แต่การที่ญี่ปุ่นนำเข้าผลไม้ค่อนข้างมากในแต่ละปีเพราะชาวญี่ปุ่นนิยมบริโภคผลไม้ รวมทั้งผลไม้ไทยมีรสชาติถูกใจชาวญี่ปุ่น ประกอบกับรัฐบาลไทยมีนโยบายสนับสนุนการส่งออกผลไม้อย่างจริงจัง อาทิ การเร่งแก้ไขปัญหาสารเคมีตกค้างและแมลงศัตรูพืชที่ติดไปกับผลไม้ส่งออก และการประชาสัมพันธ์ผลไม้ไทยในต่างประเทศ คาดว่าจะมีส่วนช่วยให้การส่งออกผลไม้ไทยไปญี่ปุ่นมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กุมภาพันธ์ 2547--
-พห-
ภาวะตลาดผลไม้สดทั้ง 6 ชนิดของไทยในญี่ปุ่นเป็นดังนี้
- มะม่วง ในปี 2546 ญี่ปุ่นนำเข้ามะม่วงจากไทยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 144 ทำให้เป็นผลไม้ที่มีสัดส่วนการส่งออกสูงสุดในบรรดาผลไม้สดที่ไทยส่งออกไปญี่ปุ่นทั้งหมด และญี่ปุ่นขยับขึ้นเป็นตลาดส่งออกมะม่วงอันดับ 1 ของไทยแทนมาเลเซีย อย่างไรก็ตาม การขยายตลาดส่งออกมะม่วงไทยไปญี่ปุ่นยังมีอุปสรรคอยู่บ้างเนื่องจากเป็นผลไม้ที่ค่อนข้างใหม่ในญี่ปุ่น และชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างมะม่วงของไทยและของฟิลิปปินส์ ขณะที่ฟิลิปปินส์มีความได้เปรียบจากต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า
- มังคุด แม้ว่าญี่ปุ่นเพิ่งอนุญาตให้นำเข้ามังคุดจากไทยเมื่อเดือนเมษายน 2546 แต่ญี่ปุ่นกลับเป็นตลาดส่งออกมังคุดสำคัญอันดับ 2 ของไทยรองจากฮ่องกงเนื่องจากรสชาติเป็นที่ถูกใจของชาวญี่ปุ่นและยังไม่มีคู่แข่ง อย่างไรก็ตาม การส่งออกมังคุดของไทยยังประสบปัญหาทั้งจากต้นทุนการผลิตที่สูงโดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการอบไอน้ำเพื่อกำจัดแมลง และคุณภาพผลที่ไม่สม่ำเสมอ
ทั้งนี้ ส่วนแบ่งตลาดมะม่วงและมังคุดของไทยในญี่ปุ่นในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2546 มีสัดส่วนร้อยละ 19 เป็นอันดับ 3 รองจากฟิลิปปินส์ (ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 49) และเม็กซิโก (ร้อยละ 25)
- มะพร้าว ญี่ปุ่นนำเข้าทั้งมะพร้าวแก่และมะพร้าวอ่อนจากไทย ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2546 ไทยมีส่วนแบ่งตลาดมะพร้าวโดยรวมเป็นอันดับ 1 ในญี่ปุ่น (ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 82) ตามด้วยฟิลิปปินส์ (ร้อยละ 11) และจีน (ร้อยละ 6) สำหรับมะพร้าวอ่อนพบว่ามีศักยภาพสูงในการขยายตลาดญี่ปุ่นเพราะยังไม่มีคู่แข่ง และชาวญี่ปุ่นเริ่มหันมานิยมดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนแทนเครื่องดื่มเพื่อดับกระหายเนื่องจากเป็นผลไม้ที่มีสารเคมีตกค้างน้อยกว่าผลไม้ชนิดอื่น
- กล้วย ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกกล้วยอันดับ 1 ของไทยตั้งแต่ปี 2544 แม้ว่ามูลค่าส่งออกค่อนข้างคงที่ แต่เป็นตลาดที่มีศักยภาพเนื่องจากชาวญี่ปุ่นนิยมบริโภคกล้วย อย่างไรก็ตาม กล้วยไทยมีคู่แข่งสำคัญ คือ ฟิลิปปินส์และเอกวาดอร์ ซึ่งมีต้นทุนการผลิตกล้วยต่ำกว่าไทยเพราะพื้นที่เพาะปลูกเป็นแปลงขนาดใหญ่ ขณะที่ฟิลิปปินส์ได้เปรียบในแง่ของต้นทุนค่าขนส่งไปญี่ปุ่นเนื่องจากมีระยะทางใกล้กว่าไทย นอกจากนี้ ผลผลิตที่ส่งออกได้ตลอดทั้งปีประกอบกับผลมีขนาดใหญ่ เปลือกหนา และมีความหวานน้อยกว่า ทำให้เกิดริ้วรอยและเน่าเสียยากกว่ากล้วยจากไทย ปัจจัยดังกล่าวทำให้กล้วยจากฟิลิปปินส์และเอกวาดอร์เป็นที่นิยมของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่น ทั้งนี้ ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2546 กล้วยไทยมีส่วนแบ่งตลาดญี่ปุ่นเพียงร้อยละ 0.3 ขณะที่กล้วยจากฟิลิปปินส์และเอกวาดอร์มีส่วนแบ่งตลาดสูงถึงร้อยละ 77 และร้อยละ 13 ตามลำดับ
- ทุเรียน ในปี 2546 มูลค่าส่งออกทุเรียนของไทยไปญี่ปุ่นขยายตัวถึงร้อยละ 150 เนื่องจากรัฐบาลเร่งปรับปรุงระบบการตรวจสอบคุณภาพผลทุเรียนสดก่อนการส่งออก และมุ่งประชาสัมพันธ์เพื่อขยายตลาดส่งออกอย่างจริงจัง อย่างไรก็ตาม การที่ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ยังไม่คุ้นเคยกับกลิ่นทุเรียนและราคาที่ค่อนข้างสูง ทำให้เป็นผลไม้ที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าที่ควร และตลาดจำกัดอยู่เฉพาะชาวญี่ปุ่นที่เคยรับประทานทุเรียนมาก่อน ทั้งนี้ ปัจจุบันญี่ปุ่นนำเข้าทุเรียนเฉพาะจากไทยและฟิลิปปินส์เท่านั้น โดยในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2546 ทุเรียนจากไทยมีส่วนแบ่งตลาดญี่ปุ่นสูงถึงร้อยละ 95
- สับปะรด ในปี 2546 มูลค่าส่งออกสับปะรดไทยไปญี่ปุ่นลดลงราวเท่าตัว เพราะไม่สามารถแข่งขันกับสับปะรดจากฟิลิปปินส์ที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าไทย มีผลผลิตส่งออกได้ตลอดทั้งปี และมีการพัฒนาความหวานจนเท่าเทียมกับสับปะรดไทย ทั้งนี้ ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2546 ไทยมีส่วนแบ่งตลาดสับปะรดในญี่ปุ่นเพียงร้อยละ 0.1 ขณะที่ฟิลิปปินส์ครองส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 1 ถึงร้อยละ 95
แม้ว่าปัจจุบันการส่งออกผลไม้ไทยไปญี่ปุ่นโดยเฉพาะมะม่วง กล้วย และสับปะรด ต้องเผชิญกับการแข่งขันจากคู่แข่งสำคัญอย่างฟิลิปปินส์และเอกวาดอร์ แต่การที่ญี่ปุ่นนำเข้าผลไม้ค่อนข้างมากในแต่ละปีเพราะชาวญี่ปุ่นนิยมบริโภคผลไม้ รวมทั้งผลไม้ไทยมีรสชาติถูกใจชาวญี่ปุ่น ประกอบกับรัฐบาลไทยมีนโยบายสนับสนุนการส่งออกผลไม้อย่างจริงจัง อาทิ การเร่งแก้ไขปัญหาสารเคมีตกค้างและแมลงศัตรูพืชที่ติดไปกับผลไม้ส่งออก และการประชาสัมพันธ์ผลไม้ไทยในต่างประเทศ คาดว่าจะมีส่วนช่วยให้การส่งออกผลไม้ไทยไปญี่ปุ่นมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กุมภาพันธ์ 2547--
-พห-