วันนี้ (8ก.พ.47)เวลา 10.30น. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นประธานเปิดงานประชุมใหญ่สามัญประจำปีสาขาพรรคประชาธิปัตย์ จังหวัดนนทบุรี พร้อมกันนั้นก็ได้กล่าวบรรยายในหัวข้อเรื่อง ‘มุมมองการเมืองปี 47’ ว่าจากคำกล่าวของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในรายการ นายกฯทักษิณคุยกับประชาชนวานนี้ (7ก.พ.47) ที่ยืนยันว่ารัฐบาลจะไม่ยุบสภาแม้แต่วันเดียวว่า คำพูดดังกล่าวเป็นสิทธิของนายกฯที่สามารถจะยุบหรือไม่ยุบก็ได้ แต่ทั้งนี้ตนก็อยากตั้งข้อสังเกตว่า เหตุใดนายกฯจึงหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาพูดอีกทั้งที่ขณะนี้ก็ไม่มีใครออกมาเรียกร้องให้ยุบสภา ดังนั้นจึงเห็นได้ว่านายกฯพยายามที่จะย้ำ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนว่าภาพลักษณ์ของรัฐบาลยังเข้มแข็งอยู่
นายจุรินทร์กล่าวว่า หากมองย้อนกลับไปใน 2-3 เดือนที่ผ่าน ต้องยอมรับว่ามีเหตุการณ์ที่จะนำพารัฐบาลไปสู่ความเสื่อม 8 สถานการณ์คือ สถานการณ์แรก กรณีพระราชบัญญัติ (พรบ.) ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่รัฐบาลใช้เสียงข้างมากลากกฎหมายที่ผิดพลาดให้ผ่านสภา จนเป็นผลให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานกลับคืนมา ซึ่งกรณีนี้ก็ได้สร้างความคลางแคลงใจให้กับประชาชนโดยทั่วไปว่า เพราะเหตุใดรัฐบาลจึงไม่รอบคอบในเรื่องนี้ สถานการณ์ที่ 2.พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ ซึ้งถือเป็นความผิดพลาดซ้ำซ้อนหลังจากเกิดกรณีพรบ.ครูและบุคลากรทางการศึกษามาแล้ว ซึ่งขณะนี้ก็ยังสรุปไม่ได้ว่ารัฐบาลจะจัดการกับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นอย่างไร
สถานการณ์ที่ 3 ความล้มเหลวในการจัดการกับเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในภาคใต้ ซึ่งตนคิดว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจาก 1.รัฐบาลประเมินสถานการณ์ความรุนแรงไว้ต่ำจนเกินกว่าความเป็นจริง เช่นการเมืองว่าเป็นฝีมือของโจรกระจอก 2.นโยบายการแก้ปัญหาแบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน ยิ่งเป็นการเติมเชื้อความรุนแรงให้เพิ่มขึ้น 3.ดำเนินนโยบายที่ผิดพลาด โดยการยุบศูนย์อำนวยการบริหารชายแดนภาคใต้หรือ ศอ.บต. และกองกำลังตำรวจ ทหารและพลเรือน หรือพตท.43 และมอบอำนาจการจัดการเบ็ดเสร็จให้กับตำรวจ ซึ่งการส่งตำรวจเข้าไปควบคุมเป็นการสร้างความไม่ไว้วางใจให้กับประชาชนกับข้าราชการ ซึ่งนายกฯก็จะมาโทษประชาชนไม่ได้ว่าไม่ให้ข้อมูล
สถานการณ์ที่ 4 การแพร่ระบาดของเชื้อโรคไข้หวัดนกที่เกิดขึ้นเพราะ รัฐบาลพยายามปิดบังข้อมูลข้อเท็จจริงกับประชาชน ทั้งที่รู้ล่วงหน้ามาตั้งแต่เดือน พ.ย.46 แล้ว ซึ่งตนเชื่อว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของคนทั้งในและต่างประเทศ สถานการณ์ที่ 5 พระราชบัญญัติงานประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมปี 47 ซึ่งในกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 17 กำหนดไว้ว่ารัฐบาลต้องระบุถึงแหล่งที่มา และต้องบอกกับสภาว่าจะนำเงินงบประมาณไปใช้จ่ายส่วนใด แต่ร่างพรบ.ฉบับดังกล่าวรัฐบาลกลับไม่ชี้แจงรายละเอียดที่มาของเงินงบประมาณ ทำให้ผู้นำฝ่ายค้านทักท้วงจนรัฐบาลจนมุมกลางสภา ยอมถอนร่างฉบับดังกล่าวกลับไปเพิ่มเติมรายละเอียด
สถานการณ์ที่ 6 ที่นายกฯระบุว่า พรรคไทยรักไทยจะส่งใครลงสมัครผู้ว่ากทม.ก็ได้รับเลือก เพราะผู้ว่าที่มาจากพรรคไทยรักไทยหรือรัฐบาลจะได้รับการสั่งการโดยตรงจากนายกฯ ซึ่งกรณีนี้ตนคิดว่าเป็นความพยายามรวมกลางศูนย์อำนาจไปสู่การตัดสินใจของนายกฯเพียงผู้เดียว สถานการณ์ที่ 7 กรณีที่ส.ส.ของพรรคไทยรักไทยลาออกเพื่อไปสมัครลงเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือ อบจ. โดยเมื่อคราวที่มีส.ส.จากประชาธิปัตย์ลาออก นายกฯก็ได้ออกมาตำหนิอย่างรุนแรง แต่เมื่อมีส.ส.ของพรรคไทยรักไทยลาออก กลับมีการออกมาแก้เกี้ยวว่าจะชดใช้เงินจำนวน 5 ล้านบาท ให้กับกกต.เพื่อเลือกตั้งซ่อมเอง ตนคิดว่าเหตคุการณ์นี้ชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลนี้มีแนวคิดว่าเงินเท่านั้นที่จะสามารถแก้ปัญหาได้ทุกเรื่อง
สถานการณ์ที่ 8 กรณีไอทีวีขอลดค่าสัมปทานกับรัฐบาล ซึ่งในสมัยก่อนไอทีวีคือทีวีเสรี แต่วันหนึ่งบริษัทชินคอเปอร์เรชั่นก็ได้เข้าไปซื้อหุ้นไอทีวีถึง 53% ทำให้ไอทีวีกลายเป็นทีวีครอบครัวนายกฯไปโดยปริยาย และหากไอทีวีขอลดค่าสัมปทานจาก 900 ล้านบาทต่อปี เหลือ 200 ล้านบาทต่อปีสำเร็จ รัฐจะต้องเสียผลประโยชน์ที่จะได้รับถึงปีละ 17,000 ล้านบาทต่อปี
‘นายกฯบอกว่าไม่ต้องห่วง ผมเลือกผลประโยชน์ชาติ ไม่เลือกผลประโยชน์ส่วนตนแน่นอน พวกเราประชุมวิปฝ่ายค้านก็พบว่าถ้านายกฯเลือกผลประโยชน์ชาติ ทำไมไม่สั่งให้บริษัทชินหรือไอทีวีขอยกเลิกสัมปทานเสีย ทุกอย่างจะได้ยุติและเพื่อพิสูจน์ว่าท่านเลือกผลประโยชน์ของชาติจริงๆ แต่ถ้าท่านยังให้เรื่องนี้คาอยู่ ไม่ว่าท่านจะใช้วิธีคัดค้านไม่เห็นด้วยกับการลดค่าสัมปานโดยสั่งให้สำนักนายกฯคัดค้าน สั่งอัยการคัดค้านอย่างไร โอกาสปากว่าตาขยิบก็ยังมีอยู่วันยังค่ำ เพราะมันมีผลประโยชน์ทับซ้อน ส่วนที่นายกฯพูดว่าเชื่อผมได้ว่าไม่ใช่คนตะกละตะกลาม ผมอยากจะบอกว่านายกฯมีสิทธิพูด แต่คำถามคือ ถ้าไม่ตะกละตะกลาม เรื่องสนามกอล์ฟอัลไพน์ทำไมไม่คืนที่ให้วัด เรื่องพะราชกำหนดภาษีสรรพสามิตที่ออกมาเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทมือถือ ทำไมท่านไม่ยกเลิก ท่านออกมาทำไม ทั้งหมดสะท้อนให้เห็นว่าคำพูดของท่านที่พูดว่าไม่ตะกละตะกลามเชื่อถือได้หรือไม่ได้’ นายจุรินทร์กล่าว
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า และหากรวมสถานการณ์เก่าอีก 2 เรื่องคือ 1.กรณีที่ดินสนามกอล์ฟอัลไพน์ ที่ขณะนี้นายกฯ ก็ถือคติด้านได้อายอดไม่ยอมคืนให้กับวัด และเรื่องที่ 2.พระราชกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ที่เอื้อประโยชน์ให้กับนายกฯโดยตรง ก็จะเป็น 10 สถานการณ์ ที่จะนำพารัฐบาลไปสู่ความเสื่อมสะสม อย่างไรก็ตามในฐานะฝ่ายค้าน พรรคประชาธิปัตย์ขอยืนยันว่าจะติดตามในเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 8/02/47--จบ--
-สส-
นายจุรินทร์กล่าวว่า หากมองย้อนกลับไปใน 2-3 เดือนที่ผ่าน ต้องยอมรับว่ามีเหตุการณ์ที่จะนำพารัฐบาลไปสู่ความเสื่อม 8 สถานการณ์คือ สถานการณ์แรก กรณีพระราชบัญญัติ (พรบ.) ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่รัฐบาลใช้เสียงข้างมากลากกฎหมายที่ผิดพลาดให้ผ่านสภา จนเป็นผลให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานกลับคืนมา ซึ่งกรณีนี้ก็ได้สร้างความคลางแคลงใจให้กับประชาชนโดยทั่วไปว่า เพราะเหตุใดรัฐบาลจึงไม่รอบคอบในเรื่องนี้ สถานการณ์ที่ 2.พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ ซึ้งถือเป็นความผิดพลาดซ้ำซ้อนหลังจากเกิดกรณีพรบ.ครูและบุคลากรทางการศึกษามาแล้ว ซึ่งขณะนี้ก็ยังสรุปไม่ได้ว่ารัฐบาลจะจัดการกับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นอย่างไร
สถานการณ์ที่ 3 ความล้มเหลวในการจัดการกับเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในภาคใต้ ซึ่งตนคิดว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจาก 1.รัฐบาลประเมินสถานการณ์ความรุนแรงไว้ต่ำจนเกินกว่าความเป็นจริง เช่นการเมืองว่าเป็นฝีมือของโจรกระจอก 2.นโยบายการแก้ปัญหาแบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน ยิ่งเป็นการเติมเชื้อความรุนแรงให้เพิ่มขึ้น 3.ดำเนินนโยบายที่ผิดพลาด โดยการยุบศูนย์อำนวยการบริหารชายแดนภาคใต้หรือ ศอ.บต. และกองกำลังตำรวจ ทหารและพลเรือน หรือพตท.43 และมอบอำนาจการจัดการเบ็ดเสร็จให้กับตำรวจ ซึ่งการส่งตำรวจเข้าไปควบคุมเป็นการสร้างความไม่ไว้วางใจให้กับประชาชนกับข้าราชการ ซึ่งนายกฯก็จะมาโทษประชาชนไม่ได้ว่าไม่ให้ข้อมูล
สถานการณ์ที่ 4 การแพร่ระบาดของเชื้อโรคไข้หวัดนกที่เกิดขึ้นเพราะ รัฐบาลพยายามปิดบังข้อมูลข้อเท็จจริงกับประชาชน ทั้งที่รู้ล่วงหน้ามาตั้งแต่เดือน พ.ย.46 แล้ว ซึ่งตนเชื่อว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของคนทั้งในและต่างประเทศ สถานการณ์ที่ 5 พระราชบัญญัติงานประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมปี 47 ซึ่งในกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 17 กำหนดไว้ว่ารัฐบาลต้องระบุถึงแหล่งที่มา และต้องบอกกับสภาว่าจะนำเงินงบประมาณไปใช้จ่ายส่วนใด แต่ร่างพรบ.ฉบับดังกล่าวรัฐบาลกลับไม่ชี้แจงรายละเอียดที่มาของเงินงบประมาณ ทำให้ผู้นำฝ่ายค้านทักท้วงจนรัฐบาลจนมุมกลางสภา ยอมถอนร่างฉบับดังกล่าวกลับไปเพิ่มเติมรายละเอียด
สถานการณ์ที่ 6 ที่นายกฯระบุว่า พรรคไทยรักไทยจะส่งใครลงสมัครผู้ว่ากทม.ก็ได้รับเลือก เพราะผู้ว่าที่มาจากพรรคไทยรักไทยหรือรัฐบาลจะได้รับการสั่งการโดยตรงจากนายกฯ ซึ่งกรณีนี้ตนคิดว่าเป็นความพยายามรวมกลางศูนย์อำนาจไปสู่การตัดสินใจของนายกฯเพียงผู้เดียว สถานการณ์ที่ 7 กรณีที่ส.ส.ของพรรคไทยรักไทยลาออกเพื่อไปสมัครลงเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือ อบจ. โดยเมื่อคราวที่มีส.ส.จากประชาธิปัตย์ลาออก นายกฯก็ได้ออกมาตำหนิอย่างรุนแรง แต่เมื่อมีส.ส.ของพรรคไทยรักไทยลาออก กลับมีการออกมาแก้เกี้ยวว่าจะชดใช้เงินจำนวน 5 ล้านบาท ให้กับกกต.เพื่อเลือกตั้งซ่อมเอง ตนคิดว่าเหตคุการณ์นี้ชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลนี้มีแนวคิดว่าเงินเท่านั้นที่จะสามารถแก้ปัญหาได้ทุกเรื่อง
สถานการณ์ที่ 8 กรณีไอทีวีขอลดค่าสัมปทานกับรัฐบาล ซึ่งในสมัยก่อนไอทีวีคือทีวีเสรี แต่วันหนึ่งบริษัทชินคอเปอร์เรชั่นก็ได้เข้าไปซื้อหุ้นไอทีวีถึง 53% ทำให้ไอทีวีกลายเป็นทีวีครอบครัวนายกฯไปโดยปริยาย และหากไอทีวีขอลดค่าสัมปทานจาก 900 ล้านบาทต่อปี เหลือ 200 ล้านบาทต่อปีสำเร็จ รัฐจะต้องเสียผลประโยชน์ที่จะได้รับถึงปีละ 17,000 ล้านบาทต่อปี
‘นายกฯบอกว่าไม่ต้องห่วง ผมเลือกผลประโยชน์ชาติ ไม่เลือกผลประโยชน์ส่วนตนแน่นอน พวกเราประชุมวิปฝ่ายค้านก็พบว่าถ้านายกฯเลือกผลประโยชน์ชาติ ทำไมไม่สั่งให้บริษัทชินหรือไอทีวีขอยกเลิกสัมปทานเสีย ทุกอย่างจะได้ยุติและเพื่อพิสูจน์ว่าท่านเลือกผลประโยชน์ของชาติจริงๆ แต่ถ้าท่านยังให้เรื่องนี้คาอยู่ ไม่ว่าท่านจะใช้วิธีคัดค้านไม่เห็นด้วยกับการลดค่าสัมปานโดยสั่งให้สำนักนายกฯคัดค้าน สั่งอัยการคัดค้านอย่างไร โอกาสปากว่าตาขยิบก็ยังมีอยู่วันยังค่ำ เพราะมันมีผลประโยชน์ทับซ้อน ส่วนที่นายกฯพูดว่าเชื่อผมได้ว่าไม่ใช่คนตะกละตะกลาม ผมอยากจะบอกว่านายกฯมีสิทธิพูด แต่คำถามคือ ถ้าไม่ตะกละตะกลาม เรื่องสนามกอล์ฟอัลไพน์ทำไมไม่คืนที่ให้วัด เรื่องพะราชกำหนดภาษีสรรพสามิตที่ออกมาเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทมือถือ ทำไมท่านไม่ยกเลิก ท่านออกมาทำไม ทั้งหมดสะท้อนให้เห็นว่าคำพูดของท่านที่พูดว่าไม่ตะกละตะกลามเชื่อถือได้หรือไม่ได้’ นายจุรินทร์กล่าว
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า และหากรวมสถานการณ์เก่าอีก 2 เรื่องคือ 1.กรณีที่ดินสนามกอล์ฟอัลไพน์ ที่ขณะนี้นายกฯ ก็ถือคติด้านได้อายอดไม่ยอมคืนให้กับวัด และเรื่องที่ 2.พระราชกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ที่เอื้อประโยชน์ให้กับนายกฯโดยตรง ก็จะเป็น 10 สถานการณ์ ที่จะนำพารัฐบาลไปสู่ความเสื่อมสะสม อย่างไรก็ตามในฐานะฝ่ายค้าน พรรคประชาธิปัตย์ขอยืนยันว่าจะติดตามในเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 8/02/47--จบ--
-สส-