ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการอิสลามกลางประจำ 3 จังหวัดภาคใต้ ออกแถลงการณ์ยุติการให้ความร่วมมือกับรัฐบาลในการแก้ปัญหาภาคใต้ว่า ขณะนี้สถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นมีความน่าเป็นห่วง เพราะเหตุการณ์ความรุนแรงได้ขยายขอบเขตออกไปเป็นวงกว้าง ซึ่งความซับซ้อนของปัญหา เกิดขึ้นจากความไม่ไว้วางใจระหว่างภาครัฐและประชาชน จึงอยากให้รัฐบาลได้ใช้ความระมัดระวังและความละเอียดรอบคอบเพื่อเข้าไปประสานรอยร้าวและความหวาดระแวงที่เกิดขึ้น
ดร.สุรินทร์กล่าวว่า รัฐบาลจะหวังพึ่งแต่จุฬาราชมนตรีในการแก้ปัญหาทุกครั้งแต่เพียงอย่างเดียวคงไม่ได้ เพราะปัญหาส่วนใหญ่เกิดกับผู้นำท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง เช่นการอุ้มหายตัวอย่างลึกลับ เมื่อมาพบตัวอีกทีก็กลายเป็นศพไปแล้ว ปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง ซึ่งการแก้ปัญหาต้องมีความละมุนละม่อม เพราะไม่เช่นนั้นปัญหาจะกลับไปสู่ความรุนแรง รวมทั้งการเผชิญหน้าทางความคิด วิธีการ และการจัดการแก้ปัญหา
ทั้งนี้ขอเสนอสิ่งที่รัฐบาลจะต้องเร่งทำต่อไปนี้คือ
1.รัฐบาลต้องเปลี่ยนแนวความคิด ซึ่งตนเข้าใจว่าขณะนี้รัฐบาลเริ่มคิดได้แล้วว่าการดำเนินการที่ผ่านมานั้นเป็นการคิดผิด เพราะปัญหาภาคใต้มีความสลับซับซ้อนมีหลายมติและมีความอ่อนไหวอยู่ในตัว ซึ่งต้องยอมรับว่ารัฐหรือผู้นำส่วนกลางไม่เข้าใจปัญหาอย่างแท้จริง
2.ต้องทำให้เกิดความมีเอกภาพ เพราะในอดีตที่ผ่านมา มีการพูดกันไปคนละทางเป็นผลให้เกิดความแตกแยกภายในภาคใต้ ทั้งนี้ตนคิดว่าหากรัฐบาลจะใช้ความรุนแรงก็สามรถทำได้ แต่ก็ต้องอยู่ในกรอบที่กฎหมายระบุไว้
3.การมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลพยายามเรียกร้องให้ประชาชนในพื้นที่ให้ความร่วมมือกับภาครัฐ แต่ขณะเดียวกันกลับไม่ให้เกียรติประชาชนทางภาคใต้
และ4.ต้องมีมิติด้านต่างประเทศ ซึ่งหากความขัดแย้งยังยืดเยื้อรัฐบาลจะต้องหันกลับมาดูในมิตินี้ เพื่อหาทางอธิบายให้ชาวโลกโดยเฉพาะโลกมุสลิมให้เข้าใจ
เมื่อถามว่ารัฐบาลจะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างไร เพื่อให้ผู้นำทางภาคใต้กลับมาให้ความร่วมมือกับรัฐบาลอีกครั้ง ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า รัฐบาลต้องให้คำรับรองกับประชาชนว่า หากมีปัญหาลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นอีกจะมีหลักประกันหรือการดำเนินการอย่างไร ซึ่งต่อไปนี้รัฐบาลต้องมีมาตรการที่ชัดเจนเพื่อให้เรียกความไว้วางใจให้กลับคืนมา อย่างไรก็ตามขอตั้งข้อสังเกตว่า 20-30 ปีที่ผ่านมา ไม่เคยเกิดปัญหาความรุนแรงอย่างต่อเนื่องเหมือนขณะนี้ จึงต้องตั้งคำถามว่าเพราะเหตุใดสถานการณ์ถึงได้เลวลงเลวลงทุกวัน
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 9/02/47--จบ--
-สส-
ดร.สุรินทร์กล่าวว่า รัฐบาลจะหวังพึ่งแต่จุฬาราชมนตรีในการแก้ปัญหาทุกครั้งแต่เพียงอย่างเดียวคงไม่ได้ เพราะปัญหาส่วนใหญ่เกิดกับผู้นำท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง เช่นการอุ้มหายตัวอย่างลึกลับ เมื่อมาพบตัวอีกทีก็กลายเป็นศพไปแล้ว ปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง ซึ่งการแก้ปัญหาต้องมีความละมุนละม่อม เพราะไม่เช่นนั้นปัญหาจะกลับไปสู่ความรุนแรง รวมทั้งการเผชิญหน้าทางความคิด วิธีการ และการจัดการแก้ปัญหา
ทั้งนี้ขอเสนอสิ่งที่รัฐบาลจะต้องเร่งทำต่อไปนี้คือ
1.รัฐบาลต้องเปลี่ยนแนวความคิด ซึ่งตนเข้าใจว่าขณะนี้รัฐบาลเริ่มคิดได้แล้วว่าการดำเนินการที่ผ่านมานั้นเป็นการคิดผิด เพราะปัญหาภาคใต้มีความสลับซับซ้อนมีหลายมติและมีความอ่อนไหวอยู่ในตัว ซึ่งต้องยอมรับว่ารัฐหรือผู้นำส่วนกลางไม่เข้าใจปัญหาอย่างแท้จริง
2.ต้องทำให้เกิดความมีเอกภาพ เพราะในอดีตที่ผ่านมา มีการพูดกันไปคนละทางเป็นผลให้เกิดความแตกแยกภายในภาคใต้ ทั้งนี้ตนคิดว่าหากรัฐบาลจะใช้ความรุนแรงก็สามรถทำได้ แต่ก็ต้องอยู่ในกรอบที่กฎหมายระบุไว้
3.การมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลพยายามเรียกร้องให้ประชาชนในพื้นที่ให้ความร่วมมือกับภาครัฐ แต่ขณะเดียวกันกลับไม่ให้เกียรติประชาชนทางภาคใต้
และ4.ต้องมีมิติด้านต่างประเทศ ซึ่งหากความขัดแย้งยังยืดเยื้อรัฐบาลจะต้องหันกลับมาดูในมิตินี้ เพื่อหาทางอธิบายให้ชาวโลกโดยเฉพาะโลกมุสลิมให้เข้าใจ
เมื่อถามว่ารัฐบาลจะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างไร เพื่อให้ผู้นำทางภาคใต้กลับมาให้ความร่วมมือกับรัฐบาลอีกครั้ง ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า รัฐบาลต้องให้คำรับรองกับประชาชนว่า หากมีปัญหาลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นอีกจะมีหลักประกันหรือการดำเนินการอย่างไร ซึ่งต่อไปนี้รัฐบาลต้องมีมาตรการที่ชัดเจนเพื่อให้เรียกความไว้วางใจให้กลับคืนมา อย่างไรก็ตามขอตั้งข้อสังเกตว่า 20-30 ปีที่ผ่านมา ไม่เคยเกิดปัญหาความรุนแรงอย่างต่อเนื่องเหมือนขณะนี้ จึงต้องตั้งคำถามว่าเพราะเหตุใดสถานการณ์ถึงได้เลวลงเลวลงทุกวัน
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 9/02/47--จบ--
-สส-