มูลค่าการส่งออกสินค้าแก้วและเซรามิกของไทยไปสหภาพยุโรปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามลำดับ โดย
ในปี 2544 ไทยส่งออกมูลค่า 131.10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2545 ไทยส่งออกมูลค่า 157.77 ล้าน
เหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2544 ร้อยละ 20.34 สำหรับปี 2546 ไทยส่งออกมูลค่า 189.74 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 20.26
สหภาพยุโรปให้สิทธิ GSP สินค้าในกลุ่มแก้วและเซรามิก (พิกัด 68-70) ทุกรายการรวม 258
รายการ ประมาณร้อยละ 91.5 ของรายการทั้งหมด มีอัตราภาษีปกติในระดับต่ำคือ ร้อยละ 0-7 (อัตราภาษี
GSP ร้อยละ 0-3.5) และมีมูลค่าในการส่งออกไปสหภาพยุโรปประมาณร้อยละ 40 ของมูลค่าการส่งออกรวม
ทั้งกลุ่ม แต่ส่วนที่เหลือมีอัตราภาษีปกติสูงกว่าคือ ร้อยละ 9-12 (อัตราภาษี GSP ร้อยละ 5.5-8.4) และมี
มูลค่าการส่งออกสูงจึงคาดว่าจะมีผลกระทบ โดยเฉพาะสินค้าในรายการ ดังนี้
พิกัด รายการสินค้า อัตราภาษี(%)
MFN GSP
6911 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร เครื่องครัว เครื่องใช้ในบ้าน/
ห้องน้ำ ชนิดพอร์ซเลน ชนิดเนื้อบดละเอียด (ไชน่า) 12 8.4
6912 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร เครื่องครัว เครื่องใช้ในบ้าน/
ห้องน้ำที่เป็นเซรามิก 9 5.5
7013 เครื่องแก้วชนิดที่ใช้บนโต๊ะอาหาร ในครัว ในห้องน้ำ
ในสำนักงานใช้ตกแต่งภายใน 11 7.5
ประเทศคู่แข่งของไทยที่ถูกตัดสิทธิ GSP อยู่ก่อนหน้าแล้วคือ จีน และเม็กซิโก นอกจากนี้ ปัจจุบัน
สินค้าเซรามิกของไทยกำลังอยู่ในข่ายส่งสัย ว่าเป็นสินค้าที่ผู้ส่งออกของไทยนำเข้าจากจีน และส่งออกโดยใช้
หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าของไทยเพื่อใช้ประโยชน์จาก GSP เนื่องจากสินค้าของจีนถูกตัดสิทธิไปแล้ว
และตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา สหภาพยุโรปขอให้ฝ่ายไทยตรวจสอบความถูกต้อง (Verification) ของ
ฟอร์ม A เป็นจำนวนมาก
การประกาศตัดสิทธิ GSP ในครั้งนี้จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 โดยสหภาพยุโรป
ได้ออกประกาศแจ้งล่วงหน้าเป็นเวลา 1 ปี เพื่อให้ผู้ประกอบการเตรียมการเพื่อปรับตัวและปรับปรุงกระบวน
การการผลิตต่าง ๆ ซึ่งเป็นไปตามระเบียบ หากแต่แตกต่างจากการประกาศตัดสิทธิ GSP ครั้งก่อนหน้านี้
(ในปี 2546) ซึ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ออกประกาศแจ้งล่วงหน้า 6 เดือน เมื่อพฤษภาคม 2546
เริ่มตัดสิทธิร้อยละ 50 ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2546 และตัดสิทธิทั้งหมดวันที่ 1 พฤษภาคม 2547 เนื่องจาก
ประเทศอาร์เจนตินา ซึ่งอยู่ในข่ายที่จะถูกตัดสิทธิ ประสบกับวิกฤตทางเศรษฐกิจ สหภาพยุโรปจึงพยายามหา
แนวทางให้ความช่วยเหลือ จึงทำให้การพิจารณาและออกประกาศตัดสิทธิ-คืนสิทธิ GSP ล่าช้าออกไปจากที่
กำหนดไว้ (และต่อมาได้เพิ่มเติมมาตรการ Financial Crisis Clause โดยมีเงื่อนไขว่าในกรณีที่
ประเทศผู้รับสิทธิประสบวิกฤติทางเศรษฐกิจและการเงิน โดยมีมูลค่า GDP ลดลงอย่างน้อยร้อยละ 3 ใน
ช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา (ตามสถิติล่าสุดที่หาได้) จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องถูกตัดสิทธิสินค้ากลุ่มใหม่ ประเทศ
ที่ได้รับประโยชน์จากมาตรการนี้คือ อาร์เจนตินา อุรุกวัย และเวเนซูเอล่า
ที่มา: หอการค้าไทย ศูนย์ข้อมูลธุรกิจ www.thaiechamber.com
-ดท-