นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง สรุปผลการดำเนินการบริหารจัดการหนี้ของภาครัฐ ประจำเดือนมกราคม 2547 และ ใน 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม 2546 - มกราคม 2547) พร้อมทั้งสถานะหนี้สาธารณะล่าสุด ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2546 ดังนี้
1. การปรับโครงสร้างหนี้ของภาครัฐ
ในเดือนมกราคม 2547 :-
- ด้านต่างประเทศ
กระทรวงการคลังได้ชำระคืนเงินกู้ ECP (Euro Commercial Paper) ซึ่งใช้เป็น Bridge Financing ในการ Refinance เงินกู้จากธนาคารโลกและธนาคารพัฒนาเอเชีย 95 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเทียบเท่า 3,723 ล้านบาท ทำให้ลดยอดหนี้คงค้างได้ 3,723 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยในอนาคตได้ 1,016 ล้านบาท รัฐวิสาหกิจ ได้แก่
1) บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศได้ชำระคืนเงินกู้ ECP ซึ่งใช้เป็น Bridge Financing ในการ Refinance เงินกู้ธนาคารพัฒนาเอเชีย 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเทียบเท่า 59 ล้านบาท ทำให้ลดยอดหนี้คงค้างได้ 59 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยในอนาคตได้ 16 ล้านบาท และ Roll Over เงินกู้ ECP ส่วนที่เหลือ 2.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ออกไปอีก 6 เดือน ทำให้สามารถลดภาระดอกเบี้ยได้ 3 ล้านบาท 2) การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้ Roll Over เงินกู้ ECP ซึ่งใช้เป็น Bridge Financing ในการทำ Refinance เงินกู้จากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (Japan Bank for International Cooperation : JBIC) จำนวน 13,311 ล้านเยน ทำให้ลดภาระดอกเบี้ยได้ 14 ล้านบาท และ 3) บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ได้ Roll Over เงินกู้ ECP ซึ่งใช้เป็น Bridge Financing ในการทำ Refinance เงินกู้จากธนาคารโลก 35 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ออกไปอีก 2 เดือน ทำให้ลดภาระดอกเบี้ยได้ 15 ล้านบาท
- ด้านในประเทศ
กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศ โดยการชำระคืนพันธบัตรกองทุน เพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน (FIDF2) ที่ครบกำหนด22,000 ล้านบาท โดยชำระจากบัญชีสะสมเพื่อชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
ในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 :-
- ด้านต่างประเทศ
กระทรวงการคลังได้ชำระคืนเงินกู้ ECP 3,723 ล้านบาท ทำให้ลดยอดหนี้คงค้างได้ 3,723 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยในอนาคตได้ 1,016 ล้านบาท และรัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ต่างประเทศเป็นวงเงินรวม 28,138 ล้านบาท เป็นการชำระคืนก่อนกำหนด 14,930 ล้านบาท การ Refinance ในวงเงิน 2,875 ล้านบาท และ การ Roll Over เงินกู้ ECP จำนวนรวม 10,333 ล้านบาท ผลจากการดำเนินการดังกล่าว ทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้างได้ 14,930 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยได้ 4,376 ล้านบาท
- ด้านในประเทศ
กระทรวงการคลังได้ Roll Over พันธบัตรเพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ( FIDF1) วงเงิน 50,000 ล้านบาท ด้วยการออกพันธบัตรระยะยาว 30,000 ล้านบาท และตั๋วปรับโครงสร้างหนี้ 20,000 ล้านบาท นอกจากนั้นได้ไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลตามโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Tier 1) ก่อนครบกำหนดในวงเงิน 25,075 ล้านบาท ทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้างได้ 25,075 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ย 6,305 ล้านบาท ส่วนรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทยและธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้ Roll over เงินกู้ในประเทศรวมทั้งสิ้น 5,500 ล้านบาท
2. การกู้เงินของภาครัฐ
ในเดือนมกราคม 2547 :-
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินในประเทศไปแล้วทั้งสิ้น 25,000 ล้านบาท โดยการออกตั๋วเงินคลังเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 13,000 ล้านบาท และการออกพันธบัตรเพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF3) 12,000 ล้านบาทในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 :-
กระทรวงการคลังได้กู้เงินในประเทศไปแล้วทั้งสิ้น 25,000 ล้านบาท ตามที่กล่าวข้างต้น ส่วนรัฐวิสาหกิจได้กู้เงินในประเทศไปแล้วทั้งสิ้น 1,920 ล้านบาท
3. การชำระหนี้ของรัฐบาล
ในเดือนมกราคม 2547 :-
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้จากงบประมาณ 10,085 ล้านบาท เป็นการชำระคืนเงินต้น 6,828 ล้านบาท และดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวม 3,257 ล้านบาท
ในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 :-
กระทรวงการคลังได้ชำระหนี้จากงบประมาณรวมทั้งสิ้น 35,037 ล้านบาท เป็นการชำระคืนเงินต้น 9,532 ล้านบาท และดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวม 25,505 ล้านบาท
สถานะหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2546
ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2546 มีจำนวน 2,887,516 ล้านบาท หรือร้อยละ 48.90 ของ GDP เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1,622,291 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 864,588 ล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 400,636 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน หนี้สาธารณะลดลง 5,217 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงลดลง 11,858 ล้านบาท และหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น 4,761 ล้านบาท ส่วนหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เพิ่มขึ้น 1,881 ล้านบาท
หนี้สาธารณะจำแนกเป็นหนี้ในประเทศ 2,188,322 ล้านบาท หรือร้อยละ 75.79 และหนี้ต่างประเทศ 699,194 ล้านบาท หรือร้อยละ 24.21 และเป็นหนี้ระยะยาว 2,375,991 ล้านบาท หรือร้อยละ 82.28 และหนี้ระยะสั้น 511,525 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.72 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 11/2547 11 กุมภาพันธ์ 2547--
-รก-
1. การปรับโครงสร้างหนี้ของภาครัฐ
ในเดือนมกราคม 2547 :-
- ด้านต่างประเทศ
กระทรวงการคลังได้ชำระคืนเงินกู้ ECP (Euro Commercial Paper) ซึ่งใช้เป็น Bridge Financing ในการ Refinance เงินกู้จากธนาคารโลกและธนาคารพัฒนาเอเชีย 95 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเทียบเท่า 3,723 ล้านบาท ทำให้ลดยอดหนี้คงค้างได้ 3,723 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยในอนาคตได้ 1,016 ล้านบาท รัฐวิสาหกิจ ได้แก่
1) บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศได้ชำระคืนเงินกู้ ECP ซึ่งใช้เป็น Bridge Financing ในการ Refinance เงินกู้ธนาคารพัฒนาเอเชีย 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเทียบเท่า 59 ล้านบาท ทำให้ลดยอดหนี้คงค้างได้ 59 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยในอนาคตได้ 16 ล้านบาท และ Roll Over เงินกู้ ECP ส่วนที่เหลือ 2.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ออกไปอีก 6 เดือน ทำให้สามารถลดภาระดอกเบี้ยได้ 3 ล้านบาท 2) การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้ Roll Over เงินกู้ ECP ซึ่งใช้เป็น Bridge Financing ในการทำ Refinance เงินกู้จากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (Japan Bank for International Cooperation : JBIC) จำนวน 13,311 ล้านเยน ทำให้ลดภาระดอกเบี้ยได้ 14 ล้านบาท และ 3) บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ได้ Roll Over เงินกู้ ECP ซึ่งใช้เป็น Bridge Financing ในการทำ Refinance เงินกู้จากธนาคารโลก 35 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ออกไปอีก 2 เดือน ทำให้ลดภาระดอกเบี้ยได้ 15 ล้านบาท
- ด้านในประเทศ
กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศ โดยการชำระคืนพันธบัตรกองทุน เพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน (FIDF2) ที่ครบกำหนด22,000 ล้านบาท โดยชำระจากบัญชีสะสมเพื่อชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
ในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 :-
- ด้านต่างประเทศ
กระทรวงการคลังได้ชำระคืนเงินกู้ ECP 3,723 ล้านบาท ทำให้ลดยอดหนี้คงค้างได้ 3,723 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยในอนาคตได้ 1,016 ล้านบาท และรัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ต่างประเทศเป็นวงเงินรวม 28,138 ล้านบาท เป็นการชำระคืนก่อนกำหนด 14,930 ล้านบาท การ Refinance ในวงเงิน 2,875 ล้านบาท และ การ Roll Over เงินกู้ ECP จำนวนรวม 10,333 ล้านบาท ผลจากการดำเนินการดังกล่าว ทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้างได้ 14,930 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยได้ 4,376 ล้านบาท
- ด้านในประเทศ
กระทรวงการคลังได้ Roll Over พันธบัตรเพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ( FIDF1) วงเงิน 50,000 ล้านบาท ด้วยการออกพันธบัตรระยะยาว 30,000 ล้านบาท และตั๋วปรับโครงสร้างหนี้ 20,000 ล้านบาท นอกจากนั้นได้ไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลตามโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Tier 1) ก่อนครบกำหนดในวงเงิน 25,075 ล้านบาท ทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้างได้ 25,075 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ย 6,305 ล้านบาท ส่วนรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทยและธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้ Roll over เงินกู้ในประเทศรวมทั้งสิ้น 5,500 ล้านบาท
2. การกู้เงินของภาครัฐ
ในเดือนมกราคม 2547 :-
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินในประเทศไปแล้วทั้งสิ้น 25,000 ล้านบาท โดยการออกตั๋วเงินคลังเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 13,000 ล้านบาท และการออกพันธบัตรเพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF3) 12,000 ล้านบาทในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 :-
กระทรวงการคลังได้กู้เงินในประเทศไปแล้วทั้งสิ้น 25,000 ล้านบาท ตามที่กล่าวข้างต้น ส่วนรัฐวิสาหกิจได้กู้เงินในประเทศไปแล้วทั้งสิ้น 1,920 ล้านบาท
3. การชำระหนี้ของรัฐบาล
ในเดือนมกราคม 2547 :-
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้จากงบประมาณ 10,085 ล้านบาท เป็นการชำระคืนเงินต้น 6,828 ล้านบาท และดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวม 3,257 ล้านบาท
ในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 :-
กระทรวงการคลังได้ชำระหนี้จากงบประมาณรวมทั้งสิ้น 35,037 ล้านบาท เป็นการชำระคืนเงินต้น 9,532 ล้านบาท และดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวม 25,505 ล้านบาท
สถานะหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2546
ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2546 มีจำนวน 2,887,516 ล้านบาท หรือร้อยละ 48.90 ของ GDP เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1,622,291 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 864,588 ล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 400,636 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน หนี้สาธารณะลดลง 5,217 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงลดลง 11,858 ล้านบาท และหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น 4,761 ล้านบาท ส่วนหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เพิ่มขึ้น 1,881 ล้านบาท
หนี้สาธารณะจำแนกเป็นหนี้ในประเทศ 2,188,322 ล้านบาท หรือร้อยละ 75.79 และหนี้ต่างประเทศ 699,194 ล้านบาท หรือร้อยละ 24.21 และเป็นหนี้ระยะยาว 2,375,991 ล้านบาท หรือร้อยละ 82.28 และหนี้ระยะสั้น 511,525 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.72 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 11/2547 11 กุมภาพันธ์ 2547--
-รก-