แท็ก
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กรมการค้าต่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์
สหภาพยุโรป
กรมประมง
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ร่วมกับกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการรับประกันการส่งออกกุ้งไปสหภาพยุโรป (อียู) เพื่อบรรเทาปัญหาการส่งออกกุ้งไปอียูลดลงอย่างต่อเนื่อง ณ อาคารเอ็กซิม ธสน. สำนักงานใหญ่ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2547
นายสถาพร ชินะจิตร กรรมการผู้จัดการ ธสน. เปิดเผยว่า เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้ส่งออกกุ้งไทยซึ่งมีมาตรฐานสูงในระดับสากลอยู่แล้วให้สามารถส่งออกกุ้งไปยังอียูได้มากขึ้น ธสน. จะให้ความคุ้มครองความเสี่ยงที่เกิดจากการห้ามนำเข้าสินค้าที่ตรวจพบสารปนเปื้อนชนิดคลอแรมฟินิคอลและไนโตรฟูแรนส์เกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ในกฎหมายของกลุ่มประเทศอียู ภายใต้ข้อตกลงนี้ กรมประมงจะทำหน้าที่ตรวจสอบกุ้งและผลิตภัณฑ์จากกุ้งที่จะทำการส่งออกอย่างเข้มงวดให้เป็นไปตามมาตรฐานอียู ขณะที่กรมการค้าต่างประเทศจะเป็นผู้ติดตามดูแลรักษาผลประโยชน์ให้แก่ผู้ส่งออกกุ้งของไทย และ ธสน. ทำหน้าที่ให้ความคุ้มครองความเสี่ยงดังกล่าวแก่ผู้ส่งออกที่ถือกรมธรรม์ประกันการส่งออกของ ธสน. โดยผู้ส่งออกที่จะขอรับบริการจะต้องมีการผลิตที่มีมาตรฐานและมีคุณสมบัติตรงตามที่ ธสน. กำหนดไว้ กุ้งที่ใช้เป็นวัตถุดิบจะต้องซื้อตรงจากฟาร์มที่ได้รับการรับรอง Good Aquaculture Practice (GAP) หรือ Code of Conduct (CoC) จากกรมประมง ทั้งนี้ ธสน. จะให้ความคุ้มครองตั้งแต่เริ่มส่งออกจนกระทั่งสินค้าผ่านการตรวจหรือถูกเก็บไว้ในท่าเรือไม่เกิน 30 วัน โดยผู้ส่งออกจะได้รับค่าสินไหมทดแทน 70% ของมูลค่าสินค้าในกรณีที่สินค้าถูกทำลาย หรือ 70% ของมูลค่าค่าใช้จ่ายในการนำสินค้ากลับมา ในกรณีที่สามารถนำสินค้ากลับมาได้
กรรมการผู้จัดการ ธสน. กล่าวว่า การลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่หน่วยงานภาครัฐทั้ง 3 แห่งร่วมกันสร้างหลักประกันให้แก่ผู้ส่งออกกุ้งและผลิตภัณฑ์จากกุ้งไปตลาดอียู ภายหลังจากที่อียูออกมาตรการว่าด้วยการกำหนดระดับสูงสุดของสารตกค้างที่มาจากยาปฏิชีวนะในสินค้าอาหารที่มาจากสัตว์ที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค โดยจะทำลายสินค้ากุ้งนำเข้าทันทีที่พบสารต้องห้ามในการเลี้ยงสัตว์เกินกว่าปริมาณที่กำหนดไว้ ซึ่ง 2 ใน 10 ชนิด คือ สารคลอแรมฟินิคอลและสารไนโตรฟูแรนส์ การให้บริการประกันนี้ จึงเป็นการเฉลี่ยความเสี่ยงจากการถูกตรวจแล้วไม่ผ่าน ซึ่งอาจเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวแก่ผู้ส่งออกแต่ละรายไม่อาจรับความเสี่ยงดังกล่าวเองได้
นายสถาพร กล่าวต่อไปว่า คาดว่าบริการประกันการส่งออกกุ้งไปอียูนี้จะช่วยให้มูลค่าการส่งออกกุ้งและผลิตภัณฑ์จากกุ้งของไทยไปยังอียูเพิ่มสูงขึ้นอีก 4,000 ล้านบาท หลังจากที่การส่งออกสินค้าประเภทนี้ไปอียูมีปริมาณลดลงอย่างต่อเนื่อง จากมูลค่าการส่งออก 4,673.99 ล้านบาทในปี 2544 เหลือเพียง 1,518.10 ล้านบาทในปี 2545
ผู้ส่งออกที่สนใจบริการประกันการส่งออกกุ้งไปตลาดอียู สามารถติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ส่วนรับประกันการส่งออก 3 ฝ่ายรับประกันการส่งออกและการลงทุนต่างประเทศ โทร. 0 2271 3700 ต่อ 1730 - 34 ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์นี้เป็นต้นไป
ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหาร โทร. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ต่อ 1142-1145
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กุมภาพันธ์ 2547--
-พห-
นายสถาพร ชินะจิตร กรรมการผู้จัดการ ธสน. เปิดเผยว่า เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้ส่งออกกุ้งไทยซึ่งมีมาตรฐานสูงในระดับสากลอยู่แล้วให้สามารถส่งออกกุ้งไปยังอียูได้มากขึ้น ธสน. จะให้ความคุ้มครองความเสี่ยงที่เกิดจากการห้ามนำเข้าสินค้าที่ตรวจพบสารปนเปื้อนชนิดคลอแรมฟินิคอลและไนโตรฟูแรนส์เกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ในกฎหมายของกลุ่มประเทศอียู ภายใต้ข้อตกลงนี้ กรมประมงจะทำหน้าที่ตรวจสอบกุ้งและผลิตภัณฑ์จากกุ้งที่จะทำการส่งออกอย่างเข้มงวดให้เป็นไปตามมาตรฐานอียู ขณะที่กรมการค้าต่างประเทศจะเป็นผู้ติดตามดูแลรักษาผลประโยชน์ให้แก่ผู้ส่งออกกุ้งของไทย และ ธสน. ทำหน้าที่ให้ความคุ้มครองความเสี่ยงดังกล่าวแก่ผู้ส่งออกที่ถือกรมธรรม์ประกันการส่งออกของ ธสน. โดยผู้ส่งออกที่จะขอรับบริการจะต้องมีการผลิตที่มีมาตรฐานและมีคุณสมบัติตรงตามที่ ธสน. กำหนดไว้ กุ้งที่ใช้เป็นวัตถุดิบจะต้องซื้อตรงจากฟาร์มที่ได้รับการรับรอง Good Aquaculture Practice (GAP) หรือ Code of Conduct (CoC) จากกรมประมง ทั้งนี้ ธสน. จะให้ความคุ้มครองตั้งแต่เริ่มส่งออกจนกระทั่งสินค้าผ่านการตรวจหรือถูกเก็บไว้ในท่าเรือไม่เกิน 30 วัน โดยผู้ส่งออกจะได้รับค่าสินไหมทดแทน 70% ของมูลค่าสินค้าในกรณีที่สินค้าถูกทำลาย หรือ 70% ของมูลค่าค่าใช้จ่ายในการนำสินค้ากลับมา ในกรณีที่สามารถนำสินค้ากลับมาได้
กรรมการผู้จัดการ ธสน. กล่าวว่า การลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่หน่วยงานภาครัฐทั้ง 3 แห่งร่วมกันสร้างหลักประกันให้แก่ผู้ส่งออกกุ้งและผลิตภัณฑ์จากกุ้งไปตลาดอียู ภายหลังจากที่อียูออกมาตรการว่าด้วยการกำหนดระดับสูงสุดของสารตกค้างที่มาจากยาปฏิชีวนะในสินค้าอาหารที่มาจากสัตว์ที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค โดยจะทำลายสินค้ากุ้งนำเข้าทันทีที่พบสารต้องห้ามในการเลี้ยงสัตว์เกินกว่าปริมาณที่กำหนดไว้ ซึ่ง 2 ใน 10 ชนิด คือ สารคลอแรมฟินิคอลและสารไนโตรฟูแรนส์ การให้บริการประกันนี้ จึงเป็นการเฉลี่ยความเสี่ยงจากการถูกตรวจแล้วไม่ผ่าน ซึ่งอาจเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวแก่ผู้ส่งออกแต่ละรายไม่อาจรับความเสี่ยงดังกล่าวเองได้
นายสถาพร กล่าวต่อไปว่า คาดว่าบริการประกันการส่งออกกุ้งไปอียูนี้จะช่วยให้มูลค่าการส่งออกกุ้งและผลิตภัณฑ์จากกุ้งของไทยไปยังอียูเพิ่มสูงขึ้นอีก 4,000 ล้านบาท หลังจากที่การส่งออกสินค้าประเภทนี้ไปอียูมีปริมาณลดลงอย่างต่อเนื่อง จากมูลค่าการส่งออก 4,673.99 ล้านบาทในปี 2544 เหลือเพียง 1,518.10 ล้านบาทในปี 2545
ผู้ส่งออกที่สนใจบริการประกันการส่งออกกุ้งไปตลาดอียู สามารถติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ส่วนรับประกันการส่งออก 3 ฝ่ายรับประกันการส่งออกและการลงทุนต่างประเทศ โทร. 0 2271 3700 ต่อ 1730 - 34 ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์นี้เป็นต้นไป
ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหาร โทร. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ต่อ 1142-1145
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กุมภาพันธ์ 2547--
-พห-