สุกร
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาเกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นในทุกพื้นที่ เนื่องจากในช่วงนี้ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรมีมากกว่าปกติ ทั้งนี้ เนื่องจากการเกิดภาวะโรคระบาดไข้หวัดนกในสัตว์ปีก ทำให้ผู้บริโภคไม่มีความมั่นใจในการบริโภคเนื้อสัตว์ปีกทุกชนิด แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้นอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 41.07 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 39.22 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.72 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.14 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 39.13 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 41.03 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 42.98 บาท ส่วนราคา ลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ราคาตัวละ 1,100 บาท (บวกลบ 42) สูงขึ้นจากตัวละ 900 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 22.22
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 42.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.53 และราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 51.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.96
ไก่เนื้อ
1. สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ตลาดไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ยังคงซบเซา ความต้องการบริโภคลดลงเพราะผู้บริโภคไม่มั่นใจในความปลอดภัยที่จะบริโภคเนื้อไก่ เพราะเกรงว่าติดเชื้อโรคไข้หวัดนก ส่งผลให้ราคาเกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงทุกพื้นที่ ภาครัฐและภาคเอกชนได้ร่วมมือกันในการรณรงค์ให้ผุบริโภคมีความมั่นใจในการบริโภค โดยการผลิตเมนูอาหารที่ทำจากเนื้อไก่ปรุงสุกในอุณหภูมิมากกว่า 70 องศา แจกฟรีให้กับผู้บริโภคตามจุดต่าง ๆ เช่น สนามหลวง สถานีโทรทัศน์ช่อง 11 เป็นต้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 26.05 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 27.15 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.05 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 27.16 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 24.87 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 25.91 บาท และภาคเหนือ ไม่มีรายงานราคา ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาตัวละ 4.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 40
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 14.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10.71 ส่วนราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 31.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10.14
ไข่ไก่
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์ไข่ไก่ในสัปดาห์นี้ ราคาเกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงทุกพื้นที่ ความต้องการบริโภคลดลงเพราะผู้บริโภคไม่มั่นใจในการบริโภคไข่ แม้จะมีการประชาสัมพันธ์ว่าสามารถบริโภคไข่ได้อย่างปลอดภัยถ้าทำให้สุกมากกว่า 70 องศา ก็ตาม แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวลดลงอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 159 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 196 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 18.88 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 181 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 186 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 146 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 168 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 18 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 172 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 225 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 23.56
ไข่เป็ด
1. ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 191 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 203 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.91 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 150 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 195 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 204 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 212 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 285 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 48.34 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.26 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.66 โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 41.81 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 53.04 บาท ภาคใต้กิโลกรัมละ 45.66 บาท และภาคกลางไม่มีรายงานราคา
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 37.87 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 38.64 บาท ส่วนภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 5 ประจำวันที่ 2-8 กุมภาพันธุ์ 2547--
-พห-
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาเกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นในทุกพื้นที่ เนื่องจากในช่วงนี้ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรมีมากกว่าปกติ ทั้งนี้ เนื่องจากการเกิดภาวะโรคระบาดไข้หวัดนกในสัตว์ปีก ทำให้ผู้บริโภคไม่มีความมั่นใจในการบริโภคเนื้อสัตว์ปีกทุกชนิด แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้นอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 41.07 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 39.22 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.72 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.14 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 39.13 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 41.03 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 42.98 บาท ส่วนราคา ลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ราคาตัวละ 1,100 บาท (บวกลบ 42) สูงขึ้นจากตัวละ 900 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 22.22
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 42.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.53 และราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 51.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.96
ไก่เนื้อ
1. สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ตลาดไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ยังคงซบเซา ความต้องการบริโภคลดลงเพราะผู้บริโภคไม่มั่นใจในความปลอดภัยที่จะบริโภคเนื้อไก่ เพราะเกรงว่าติดเชื้อโรคไข้หวัดนก ส่งผลให้ราคาเกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงทุกพื้นที่ ภาครัฐและภาคเอกชนได้ร่วมมือกันในการรณรงค์ให้ผุบริโภคมีความมั่นใจในการบริโภค โดยการผลิตเมนูอาหารที่ทำจากเนื้อไก่ปรุงสุกในอุณหภูมิมากกว่า 70 องศา แจกฟรีให้กับผู้บริโภคตามจุดต่าง ๆ เช่น สนามหลวง สถานีโทรทัศน์ช่อง 11 เป็นต้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 26.05 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 27.15 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.05 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 27.16 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 24.87 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 25.91 บาท และภาคเหนือ ไม่มีรายงานราคา ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาตัวละ 4.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 40
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 14.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10.71 ส่วนราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 31.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10.14
ไข่ไก่
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์ไข่ไก่ในสัปดาห์นี้ ราคาเกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงทุกพื้นที่ ความต้องการบริโภคลดลงเพราะผู้บริโภคไม่มั่นใจในการบริโภคไข่ แม้จะมีการประชาสัมพันธ์ว่าสามารถบริโภคไข่ได้อย่างปลอดภัยถ้าทำให้สุกมากกว่า 70 องศา ก็ตาม แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวลดลงอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 159 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 196 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 18.88 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 181 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 186 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 146 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 168 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 18 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 172 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 225 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 23.56
ไข่เป็ด
1. ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 191 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 203 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.91 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 150 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 195 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 204 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 212 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 285 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 48.34 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.26 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.66 โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 41.81 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 53.04 บาท ภาคใต้กิโลกรัมละ 45.66 บาท และภาคกลางไม่มีรายงานราคา
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 37.87 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 38.64 บาท ส่วนภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 5 ประจำวันที่ 2-8 กุมภาพันธุ์ 2547--
-พห-