ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ก.คลังเผยหนี้สาธารณะ ณ เดือน พ.ย.46 ลดลงเหลือ 2.89 ล้านล้านบาท ผู้อำนวยการ
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ในฐานะรองโฆษก ก.คลัง เปิดเผยว่า ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30
พ.ย.46 มีจำนวน 2,887,516 ล้านบาท หรือ 48.90% ของ GDP แบ่งเป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง
1,622,291 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน 864,588 ล้านบาท และหนี้ของกองทุนเพื่อ
การฟื้นฟูระบบสถาบันการเงิน 400,636 ล้านบาท ทั้งนี้ หนี้สาธารณะลดลง 5,217 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ
เดือนก่อน ส่วนผลการดำเนินการบริหารจัดการหนี้ของภาครัฐเดือน ม.ค.47 ในส่วนของหนี้ต่างประเทศ ก.
คลังได้ชำระคืนเงินกู้ Euro Commercial Paper (ECP) ซึ่งเป็นใช้เป็น Bridge Financing ในการรี
ไฟแนนซ์เงินกู้จาก ธ.โลก และ ธ.เพื่อการพัฒนาเอเชีย 95 ล้านเหรียญ สรอ. หรือเทียบเท่า 3,723 ล้าน
บาท ทำให้ลดภาระดอกเบี้ยในอนาคตได้ 1,016 ล้านบาท ส่วนหนี้ในประเทศ ก.คลังได้ชำระคืนพันธบัตร
กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินที่ ก.คลังค้ำประกัน (FIDF2) ที่ครบกำหนด 2,000 ล้าน
บาท (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
2. ธปท. ติดตามปัจจัยต่างประเทศใกล้ชิดทั้งการขึ้นดอกเบี้ยและค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ผู้ว่าการ
ธปท. กล่าวว่า กำลังจับตาดูปัจจัยต่างประเทศอย่างใกล้ชิด ทั้งแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ย สรอ. ค่าเงิน
ดอลลาร์ที่อ่อนตัวลง และปัจจัยอื่นที่ยังไม่ชัดเจนนัก ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงจริงก็จะปรับเปลี่ยนนโยบายตามความ
เหมาะสม เพื่อให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพและขยายตัวต่อเนื่องทั้งด้านนโยบายการเงินและอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้
คณะกรรมการนโยบายการเงินได้ระบุในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อของ ธปท. โดยประเมินทิศทางดอกเบี้ย
สรอ. ว่า ธ.กลาง สรอ. จะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเฟดฟันด์ เรต ที่อัตรา 1% ไปจนถึงสิ้นปี 2547 และ
หากเศรษฐกิจสหรัฐยังไม่ฟื้นตัวจริง ดอกเบี้ย สรอ. ก็จะยืนอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องไปทั้งปี 2548 ส่วน
ดอกเบี้ยยุโรปอาจมีการปรับลดลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะค่าเงินยูโรแข็งขึ้นกว่า 17% แล้วในช่วง 1 ปีที่
ผ่านมา (แนวหน้า)
3. ธปท. ขยายเวลาสถาบันการเงินถือครอง NPA นานถึง 10 ปี ผู้ว่าการ ธปท. ได้ออก
หนังสือเวียนถึงสถาบันการเงินแจ้งว่า ธปท. ได้ขยายเวลาการถือครองอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่รับโอนมา
ในช่วงวันที่ 1 ม.ค.40 — 31 ธ.ค.47 ให้ถือครองได้นานขึ้นเป็น 10 ปี นับจากวันที่รับโอน จากเดิมที่
อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ถือครองได้ 5 ปี และบริษัทเงินทุนถือครองได้ 3 ปี โดย
จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2547 เพื่อให้การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินสามารถดำเนิน
การได้อย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับการขยายระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรและค่า
ธรรมเนียมในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์ของ ธปท. ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ต้องทยอย
ขายอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ถือครองครบ 5 ปี ออกไปให้ได้ตามเกณฑ์ที่ ธปท. กำหนด คือ นำมูลค่าเอ็นพี
เอตามบัญชีสุทธิที่ต้องขาย หารด้วยจำนวนปีที่เหลือ 5 ปี เช่น มีเอ็นพีเอ 100 ล้านบาท ปีที่ 6 ที่ถือครองต้อง
ขายให้ได้ไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาท (100 ล้านบาท หารด้วย 5ปี) ปีที่ 7 ต้องขายให้ได้ไม่น้อยกว่าจำนวน
เอ็นพีเอที่เหลืออยู่ตามบัญชี คือ 20 ล้านบาท (80 ล้านบาท หารด้วย 4ปี) จนกว่าเอ็นพีเอที่เหลือจะขายออก
ไปหมด แต่หากไม่สามารถทำได้ตามเกณฑ์และเวลาที่กำหนด ต้องตั้งสำรองเอ็นพีเอที่เหลือให้ครบ 100%
อนึ่ง ณ สิ้นปี 2546 ธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบมีเอ็นพีเอประมาณ 1.5 — 1.6 แสนล้านบาท (โพสต์ทูเดย์)
4. ธปท. ออกกฎดูแลการให้บริการเงินอิเล็คทรอนิคส์ ผู้ว่าการ ธปท. ส่งหนังสือเวียนแจ้ง
สถาบันการเงินว่า ธปท. จะกำกับดูแลการให้บริการเงินอิเล็คทรอนิคส์ โดยจะพิจารณาความเสี่ยงและแนว
ทางการกำกับในเบื้องต้นให้ธนาคารพาณิชย์ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการบริการเงินอิเล็คทรอนิคส์ ซึ่งการ
ใช้เงินอิเล็คทรอนิคส์อาจมีผลกระทบต่อระบบและการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของ ธปท. หากจำเป็น
ธปท. อาจกำหนดสัดส่วนการดำรงเงินสดสำรองต่อเงินอิเล็คทรอนิคส์ เพราะผู้ออกเงินอิเล็คทรอนิคส์อาจมี
ปัญหาในการเรียกเก็บเงิน ทำให้มีความเสี่ยงเรื่องสภาพคล่อง นอกจากนี้ การบริการลักษณะนี้อาจเอื้อต่อการ
ฟอกเงินด้วย เช่น ระบบการโอนเงินได้ระหว่างลูกค้าโดยไม่ผ่านระบบของผู้ให้บริการ ซึ่ง ธปท. จะกำหนด
มูลค่าสูงสุดของเงินอิเล็คทรอนิคส์ที่สามารถใช้ได้และเงินอิเล็คทรอนิคส์ที่ให้บริการต้องเป็นเงินบาทและใช้ใน
ประเทศไทยเท่านั้น และผู้ให้บริการจะต้องขออนุญาต ธปท. ก่อน อนึ่ง เงินอิเล็คทรอนิคส์ หมายถึง เงินที่ผู้
บริโภคจ่ายล่วงหน้าให้ผู้ออกเงินอิเล็คทรอนิคส์ อาจอยู่ในรูปของบัตรพลาสติก เช่น อี-เพิร์ส (E-purse)
อี-วอลเล็ต (E-wallet) หรือสมาร์ทการ์ดต่าง ๆ (มติชน, เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อุปสงค์น้ำมันของโลกเพิ่มขึ้นมากจากเศรษฐกิจที่ขยายตัว รายงานจากลอนดอนเมื่อวันที่ 11
ก.พ. 47 สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency -IEA) เปิดเผยว่า
อุปสงค์น้ำมันโลกในปีนี้ขยายตัวอย่างรวดเร็วกว่าที่คาดไว้ เนื่องจากการขยายตัวอย่างมากของเศรษฐกิจโลก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจของประเทศจีน อย่างไรก็ตาม IEA ได้ให้คำแนะนำแก่ประเทศอุตสาหกรรมของ
OECD ให้ลดประมาณการการผลิตน้ำมันดิบในปี 47 จากวันละ 2.20 ล้านบาร์เรลเหลือเพียงวันละ 1.44
ล้านบาร์เรล เพื่อผ่อนคลายแรงกดดันจากประเทศผู้ผลิตน้ำมันเพื่อการส่งออก (OPEC) ที่เผชิญกับการแข่งขัน
จากการเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันจากกลุ่มอิสระ โดยเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา กลุ่ม OPEC ได้ตกลงที่จะลด
ปริมาณการผลิตน้ำมันลงเนื่องจากมีปริมาณน้ำมันดิบส่วนเกินในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี46 ที่อุปสงค์น้ำมันดิบลดลงสู่
ระดับต่ำสุด อย่างไรก็ตามอุปสงค์น้ำมันได้ขยายตัวอย่างผิดคาดในบางประเทศอาทิประเทศจีนและภูมิภาคที่
เศรษฐกิจขยายตัวอย่างแข็งแกร่งขณะที่ประเทศในกลุ่ม OECD ที่เศรษฐกิจชะลอตัวบ้างเนื่องจากเป็นช่วงฤดู
หนาว ทั้งนี้ IEA ยังได้คาดการณ์อุปสงค์น้ำมันโลกในปีนี้ไว้เพียงระดับ 79.9 ล้านบาร์เรลต่อวันเพื่อช่วยกลุ่ม
OPEC ในการรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมัน (รอยเตอร์)
2. การส่งออกของเยอรมนีในปี 46 ขยายตัวแม้ค่าเงินสกุลยูโรจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20 รายงาน
จากเบอร์ลิน เมื่อ 11 ก.พ.47 สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนี เปิดเผยว่า ในปี 46 เยอรมนีเกินดุลการค้า
ลดลงเหลือจำนวน 129.7 พัน ล.ยูโร จากจำนวน 132.8 พัน ล.ยูโรในปี 45 เนื่องจากยอดการนำเข้า
ขยายตัวมากกว่ายอดส่งออก โดยในปี 46 มีการส่งออกจำนวน 661.6 พัน ล.ยูโร หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6
แต่การนำเข้ากลับขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 531.9 พัน ล.ยูโร หรือคิดเป็นร้อยละ 2.6 และหากพิจารณา
เฉพาะเดือน ธ.ค.46 เยอรมนีมีการส่งออกจำนวน 54.5 พัน ล.ยูโร หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 ส่งผลให้เกิน
ดุลการค้าจำนวน 10.4 พัน ล.ยูโร มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะเกินดุลจำนวน 9.1 พัน ล.ยูโร
ทั้งนี้ ค่าเงินสกุลยูโรในเดือน ธ.ค.46 เฉลี่ยอยู่ที่ 1.23 ดอลลาร์ สรอ.ต่อ 1 ยูโร ขณะที่เดือน ธ.ค.45
ค่าเงินอยู่ที่ 1.02 ดอลลาร์ สรอ.ต่อ 1 ยูโร หรือเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 20 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การส่งออก
ของเยอรมนีได้รับผลกระทบจากค่าเงินยูโรเพียงเล็กน้อย โดยได้รับผลดีจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก
อย่างไรก็ตาม ยอดการส่งออกของเยอรมนีไปยังประเทศ สรอ. ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญรองจากฝรั่งเศส
ในรอบ 11 เดือนแรกของปี 46 (ม.ค.-พ.ย.) ลดลงร้อยละ 10 แต่การส่งออกไปยังประเทศจีนและรัสเซี
ยกลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 26 และ 6.4 ตามลำดับ (รอยเตอร์)
3. ภาวะการส่งออกของญี่ปุ่นที่ขยายตัวส่งผลให้ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ธ.ค.46 เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 38.5 เทียบต่อปี รายงานจากโตเกียว เมื่อ 12 ก.พ.47 ก.คลังญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ในเดือน ธ.ค.46
ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวน 1.1950 ล้านล้านเยน (11.34 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ
38.5 เทียบจากปีก่อน ซึ่งต่ำกว่าที่รอยเตอร์คาดการณ์ไว้ว่าจะเกินดุลจำนวน 1.4 ล้านล้านเยน ทั้งนี้เนื่อง
จากมีการส่งออกสินค้าประเภทเครื่องจักรกลตามความต้องการของประเทศคู่ค้าสำคัญ เช่น สรอ. และจีน
มากขึ้น ส่งผลให้มีการขยายตัวในการใช้จ่ายและรายได้ของภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น โดยการส่งออกของญี่ปุ่นในเดือน
ธ.ค.46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 และการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ส่งผลให้ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ
33.9 สำหรับตลอดปี 46 ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นทั้งสิ้นจำนวน 15.7853 ล้านล้านเยน หรือคิดเป็น
ร้อยละ 11.6 (รอยเตอร์)
4.จีนขาดดุลการค้าเป็นครั้งแรกในรอบ 10 เดือน รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 11 ก.พ.47 จีนขาด
ดุลการค้าในเดือน ม.ค.47 จำนวน 20 ล้านดอลลาร์ สรอ. เป็นครั้งแรกในรอบ 10 เดือน อันเป็นผลจาก
การตัดเงินช่วยเหลือทางด้านภาษี ที่จีนให้แก่ผู้ส่งออก ซึ่งมีผลตั้งแต่ต้นปีนี้ ทำให้ผู้ส่งออกเร่งส่งออกในช่วง
ปลายปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ยอดส่งออกในเดือน ม.ค.47 ลดลงร้อยละ 50.7 เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค.46 แต่
ยังเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ยอดนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.2
เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แต่อย่างไรก็ดีคาดว่าจีนจะกลับมามียอดเกินดุลการค้าอีกในเดือนถัดไป
มาตรการตัดเงินช่วยเหลือทางภาษีแก่ผู้ส่งออกของจีนมีเพื่อลดแรงกดดันทางการค้าจาก สรอ.ซึ่งกล่าวหาจีน
ว่าดำเนินการค้าไม่เป็นธรรมโดยการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนคงที่เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ.ทำ
ให้สินค้าของจีนมีราคาต่ำกว่าความเป็นจริง ส่งผลให้ สรอ.ขาดดุลการค้ากับจีนจำนวน 58.6 พันล้านดอลลาร์
สรอ.ในปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นจากปี 45 ที่มีจำนวน 42.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. นอกจากนี้ยังสูญเสียงานในภาค
อุตสาหกรรมไปกว่า 2 ล้านตำแหน่งในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่เกินดุลการค้ากับ สรอ. แต่จีนกลับขาด
ดุลการค้ากับประเทศในอาเซียนซึ่งจีนนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์นำมาประกอบเป็นสินค้าเพื่อส่งออก (รอยเตอร์)
5. การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของจีนในเดือน ม.ค.47 เติบโตร้อยละ 13.6 เทียบต่อปี
รายงานจากปักกิ่งเมื่อ 11 ก.พ.47 ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ของ
จีนในเดือน ม.ค.47 มีจำนวน 4.1 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 เทียบต่อปี เป็นผลจากนัก
ลงทุนต่างประเทศเชื่อมั่นต่อการบริโภคภายในประเทศจีนที่เติบโตอย่างมีเสถียรภาพและค่าแรงงานที่ต่ำ ทั้งนี้
FDI ของจีนได้กลับมาเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าร้อยละ 34 ในเดือน ธ.ค.46 หลังจากที่ลดลงอย่างมากก่อนหน้านี้
อย่างไรก็ตาม FDI ทั้งปี 46 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.4 เป็นจำนวน 53.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ต่ำกว่า
เป้าหมาย 57 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคซาร์ส สำหรับ FDI
ที่ทำสัญญาแล้ว ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดแนวโน้มการลงทุนในอนาคต เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 เป็นจำนวน 10.2 พัน
ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือน ม.ค.47 ส่วนทั้งปี 46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 39 เป็นจำนวน 115.07 พัน ล.ดอลลาร์
สรอ. อนึ่ง The China Economic Monitoring Centre ซึ่งเป็นสถาบันภายใต้การกำกับดูแลของสำนัก
งานสถิติแห่งชาติ ได้คาดการณ์การไหลเข้าของเงินลงทุนจากต่างประเทศในปี 47 ว่าจะมีจำนวน 55 พัน ล.
ดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
6. จีนกำหนดเป้าหมายการเติบโตของปริมาณเงินหมุนเวียนในปี 47 ร้อยละ 17 รายงานจาก
ปักกิ่งเมื่อ 11 ก.พ.47 The People’s Bank of China เปิดเผยว่า จีนจำเป็นต้องดำเนินนโยบายการ
เงินที่มีเสถียรภาพอย่างต่อเนื่อง และต้องรักษาการเติบโตของเงินกู้โดยรวมให้มีเสถียรภาพ โดยได้กำหนด
เป้าหมายการเติบโตของปริมาณเงินหมุนเวียนในปี 47 ไว้ที่ประมาณร้อยละ 17 ต่ำกว่าปี 46 ที่เติบโตร้อยละ
19.6 รวมทั้งกำหนดเป้าหมายควบคุมเงินกู้ไว้ที่ระดับ 2.6 ล้านล้านหยวน ลดลงร้อยละ 13 จากปีก่อน ทั้งนี้
การเพิ่มขึ้นของปริมาณเงินหมุนเวียน เป็นผลจากการที่ ธ.กลางจีน นำเงินออกใช้เป็นจำนวนมากเพื่อดูดซับ
เงินตราต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นมากจากการขยายตัวของการส่งออกและการลงทุนจากต่างประเทศ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 12/2/47 11/2/47 31/12/46 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.942 39.622 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.7359/39.0295 39.4435/39.7378 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.8750 - 1.2800 1.2800 - 1.3000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 753.24/32.69 772.15/41.74 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,500/7,600 7,450/7,550 7,700/7,800 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 28.24 28.51 28.66 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 17.29*/14.39 ปตท.
* ปรับเลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ก.คลังเผยหนี้สาธารณะ ณ เดือน พ.ย.46 ลดลงเหลือ 2.89 ล้านล้านบาท ผู้อำนวยการ
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ในฐานะรองโฆษก ก.คลัง เปิดเผยว่า ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30
พ.ย.46 มีจำนวน 2,887,516 ล้านบาท หรือ 48.90% ของ GDP แบ่งเป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง
1,622,291 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน 864,588 ล้านบาท และหนี้ของกองทุนเพื่อ
การฟื้นฟูระบบสถาบันการเงิน 400,636 ล้านบาท ทั้งนี้ หนี้สาธารณะลดลง 5,217 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ
เดือนก่อน ส่วนผลการดำเนินการบริหารจัดการหนี้ของภาครัฐเดือน ม.ค.47 ในส่วนของหนี้ต่างประเทศ ก.
คลังได้ชำระคืนเงินกู้ Euro Commercial Paper (ECP) ซึ่งเป็นใช้เป็น Bridge Financing ในการรี
ไฟแนนซ์เงินกู้จาก ธ.โลก และ ธ.เพื่อการพัฒนาเอเชีย 95 ล้านเหรียญ สรอ. หรือเทียบเท่า 3,723 ล้าน
บาท ทำให้ลดภาระดอกเบี้ยในอนาคตได้ 1,016 ล้านบาท ส่วนหนี้ในประเทศ ก.คลังได้ชำระคืนพันธบัตร
กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินที่ ก.คลังค้ำประกัน (FIDF2) ที่ครบกำหนด 2,000 ล้าน
บาท (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
2. ธปท. ติดตามปัจจัยต่างประเทศใกล้ชิดทั้งการขึ้นดอกเบี้ยและค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ผู้ว่าการ
ธปท. กล่าวว่า กำลังจับตาดูปัจจัยต่างประเทศอย่างใกล้ชิด ทั้งแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ย สรอ. ค่าเงิน
ดอลลาร์ที่อ่อนตัวลง และปัจจัยอื่นที่ยังไม่ชัดเจนนัก ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงจริงก็จะปรับเปลี่ยนนโยบายตามความ
เหมาะสม เพื่อให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพและขยายตัวต่อเนื่องทั้งด้านนโยบายการเงินและอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้
คณะกรรมการนโยบายการเงินได้ระบุในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อของ ธปท. โดยประเมินทิศทางดอกเบี้ย
สรอ. ว่า ธ.กลาง สรอ. จะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเฟดฟันด์ เรต ที่อัตรา 1% ไปจนถึงสิ้นปี 2547 และ
หากเศรษฐกิจสหรัฐยังไม่ฟื้นตัวจริง ดอกเบี้ย สรอ. ก็จะยืนอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องไปทั้งปี 2548 ส่วน
ดอกเบี้ยยุโรปอาจมีการปรับลดลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะค่าเงินยูโรแข็งขึ้นกว่า 17% แล้วในช่วง 1 ปีที่
ผ่านมา (แนวหน้า)
3. ธปท. ขยายเวลาสถาบันการเงินถือครอง NPA นานถึง 10 ปี ผู้ว่าการ ธปท. ได้ออก
หนังสือเวียนถึงสถาบันการเงินแจ้งว่า ธปท. ได้ขยายเวลาการถือครองอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่รับโอนมา
ในช่วงวันที่ 1 ม.ค.40 — 31 ธ.ค.47 ให้ถือครองได้นานขึ้นเป็น 10 ปี นับจากวันที่รับโอน จากเดิมที่
อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ถือครองได้ 5 ปี และบริษัทเงินทุนถือครองได้ 3 ปี โดย
จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2547 เพื่อให้การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินสามารถดำเนิน
การได้อย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับการขยายระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรและค่า
ธรรมเนียมในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์ของ ธปท. ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ต้องทยอย
ขายอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ถือครองครบ 5 ปี ออกไปให้ได้ตามเกณฑ์ที่ ธปท. กำหนด คือ นำมูลค่าเอ็นพี
เอตามบัญชีสุทธิที่ต้องขาย หารด้วยจำนวนปีที่เหลือ 5 ปี เช่น มีเอ็นพีเอ 100 ล้านบาท ปีที่ 6 ที่ถือครองต้อง
ขายให้ได้ไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาท (100 ล้านบาท หารด้วย 5ปี) ปีที่ 7 ต้องขายให้ได้ไม่น้อยกว่าจำนวน
เอ็นพีเอที่เหลืออยู่ตามบัญชี คือ 20 ล้านบาท (80 ล้านบาท หารด้วย 4ปี) จนกว่าเอ็นพีเอที่เหลือจะขายออก
ไปหมด แต่หากไม่สามารถทำได้ตามเกณฑ์และเวลาที่กำหนด ต้องตั้งสำรองเอ็นพีเอที่เหลือให้ครบ 100%
อนึ่ง ณ สิ้นปี 2546 ธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบมีเอ็นพีเอประมาณ 1.5 — 1.6 แสนล้านบาท (โพสต์ทูเดย์)
4. ธปท. ออกกฎดูแลการให้บริการเงินอิเล็คทรอนิคส์ ผู้ว่าการ ธปท. ส่งหนังสือเวียนแจ้ง
สถาบันการเงินว่า ธปท. จะกำกับดูแลการให้บริการเงินอิเล็คทรอนิคส์ โดยจะพิจารณาความเสี่ยงและแนว
ทางการกำกับในเบื้องต้นให้ธนาคารพาณิชย์ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการบริการเงินอิเล็คทรอนิคส์ ซึ่งการ
ใช้เงินอิเล็คทรอนิคส์อาจมีผลกระทบต่อระบบและการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของ ธปท. หากจำเป็น
ธปท. อาจกำหนดสัดส่วนการดำรงเงินสดสำรองต่อเงินอิเล็คทรอนิคส์ เพราะผู้ออกเงินอิเล็คทรอนิคส์อาจมี
ปัญหาในการเรียกเก็บเงิน ทำให้มีความเสี่ยงเรื่องสภาพคล่อง นอกจากนี้ การบริการลักษณะนี้อาจเอื้อต่อการ
ฟอกเงินด้วย เช่น ระบบการโอนเงินได้ระหว่างลูกค้าโดยไม่ผ่านระบบของผู้ให้บริการ ซึ่ง ธปท. จะกำหนด
มูลค่าสูงสุดของเงินอิเล็คทรอนิคส์ที่สามารถใช้ได้และเงินอิเล็คทรอนิคส์ที่ให้บริการต้องเป็นเงินบาทและใช้ใน
ประเทศไทยเท่านั้น และผู้ให้บริการจะต้องขออนุญาต ธปท. ก่อน อนึ่ง เงินอิเล็คทรอนิคส์ หมายถึง เงินที่ผู้
บริโภคจ่ายล่วงหน้าให้ผู้ออกเงินอิเล็คทรอนิคส์ อาจอยู่ในรูปของบัตรพลาสติก เช่น อี-เพิร์ส (E-purse)
อี-วอลเล็ต (E-wallet) หรือสมาร์ทการ์ดต่าง ๆ (มติชน, เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อุปสงค์น้ำมันของโลกเพิ่มขึ้นมากจากเศรษฐกิจที่ขยายตัว รายงานจากลอนดอนเมื่อวันที่ 11
ก.พ. 47 สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency -IEA) เปิดเผยว่า
อุปสงค์น้ำมันโลกในปีนี้ขยายตัวอย่างรวดเร็วกว่าที่คาดไว้ เนื่องจากการขยายตัวอย่างมากของเศรษฐกิจโลก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจของประเทศจีน อย่างไรก็ตาม IEA ได้ให้คำแนะนำแก่ประเทศอุตสาหกรรมของ
OECD ให้ลดประมาณการการผลิตน้ำมันดิบในปี 47 จากวันละ 2.20 ล้านบาร์เรลเหลือเพียงวันละ 1.44
ล้านบาร์เรล เพื่อผ่อนคลายแรงกดดันจากประเทศผู้ผลิตน้ำมันเพื่อการส่งออก (OPEC) ที่เผชิญกับการแข่งขัน
จากการเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันจากกลุ่มอิสระ โดยเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา กลุ่ม OPEC ได้ตกลงที่จะลด
ปริมาณการผลิตน้ำมันลงเนื่องจากมีปริมาณน้ำมันดิบส่วนเกินในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี46 ที่อุปสงค์น้ำมันดิบลดลงสู่
ระดับต่ำสุด อย่างไรก็ตามอุปสงค์น้ำมันได้ขยายตัวอย่างผิดคาดในบางประเทศอาทิประเทศจีนและภูมิภาคที่
เศรษฐกิจขยายตัวอย่างแข็งแกร่งขณะที่ประเทศในกลุ่ม OECD ที่เศรษฐกิจชะลอตัวบ้างเนื่องจากเป็นช่วงฤดู
หนาว ทั้งนี้ IEA ยังได้คาดการณ์อุปสงค์น้ำมันโลกในปีนี้ไว้เพียงระดับ 79.9 ล้านบาร์เรลต่อวันเพื่อช่วยกลุ่ม
OPEC ในการรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมัน (รอยเตอร์)
2. การส่งออกของเยอรมนีในปี 46 ขยายตัวแม้ค่าเงินสกุลยูโรจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20 รายงาน
จากเบอร์ลิน เมื่อ 11 ก.พ.47 สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนี เปิดเผยว่า ในปี 46 เยอรมนีเกินดุลการค้า
ลดลงเหลือจำนวน 129.7 พัน ล.ยูโร จากจำนวน 132.8 พัน ล.ยูโรในปี 45 เนื่องจากยอดการนำเข้า
ขยายตัวมากกว่ายอดส่งออก โดยในปี 46 มีการส่งออกจำนวน 661.6 พัน ล.ยูโร หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6
แต่การนำเข้ากลับขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 531.9 พัน ล.ยูโร หรือคิดเป็นร้อยละ 2.6 และหากพิจารณา
เฉพาะเดือน ธ.ค.46 เยอรมนีมีการส่งออกจำนวน 54.5 พัน ล.ยูโร หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 ส่งผลให้เกิน
ดุลการค้าจำนวน 10.4 พัน ล.ยูโร มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะเกินดุลจำนวน 9.1 พัน ล.ยูโร
ทั้งนี้ ค่าเงินสกุลยูโรในเดือน ธ.ค.46 เฉลี่ยอยู่ที่ 1.23 ดอลลาร์ สรอ.ต่อ 1 ยูโร ขณะที่เดือน ธ.ค.45
ค่าเงินอยู่ที่ 1.02 ดอลลาร์ สรอ.ต่อ 1 ยูโร หรือเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 20 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การส่งออก
ของเยอรมนีได้รับผลกระทบจากค่าเงินยูโรเพียงเล็กน้อย โดยได้รับผลดีจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก
อย่างไรก็ตาม ยอดการส่งออกของเยอรมนีไปยังประเทศ สรอ. ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญรองจากฝรั่งเศส
ในรอบ 11 เดือนแรกของปี 46 (ม.ค.-พ.ย.) ลดลงร้อยละ 10 แต่การส่งออกไปยังประเทศจีนและรัสเซี
ยกลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 26 และ 6.4 ตามลำดับ (รอยเตอร์)
3. ภาวะการส่งออกของญี่ปุ่นที่ขยายตัวส่งผลให้ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ธ.ค.46 เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 38.5 เทียบต่อปี รายงานจากโตเกียว เมื่อ 12 ก.พ.47 ก.คลังญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ในเดือน ธ.ค.46
ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวน 1.1950 ล้านล้านเยน (11.34 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ
38.5 เทียบจากปีก่อน ซึ่งต่ำกว่าที่รอยเตอร์คาดการณ์ไว้ว่าจะเกินดุลจำนวน 1.4 ล้านล้านเยน ทั้งนี้เนื่อง
จากมีการส่งออกสินค้าประเภทเครื่องจักรกลตามความต้องการของประเทศคู่ค้าสำคัญ เช่น สรอ. และจีน
มากขึ้น ส่งผลให้มีการขยายตัวในการใช้จ่ายและรายได้ของภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น โดยการส่งออกของญี่ปุ่นในเดือน
ธ.ค.46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 และการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ส่งผลให้ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ
33.9 สำหรับตลอดปี 46 ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นทั้งสิ้นจำนวน 15.7853 ล้านล้านเยน หรือคิดเป็น
ร้อยละ 11.6 (รอยเตอร์)
4.จีนขาดดุลการค้าเป็นครั้งแรกในรอบ 10 เดือน รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 11 ก.พ.47 จีนขาด
ดุลการค้าในเดือน ม.ค.47 จำนวน 20 ล้านดอลลาร์ สรอ. เป็นครั้งแรกในรอบ 10 เดือน อันเป็นผลจาก
การตัดเงินช่วยเหลือทางด้านภาษี ที่จีนให้แก่ผู้ส่งออก ซึ่งมีผลตั้งแต่ต้นปีนี้ ทำให้ผู้ส่งออกเร่งส่งออกในช่วง
ปลายปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ยอดส่งออกในเดือน ม.ค.47 ลดลงร้อยละ 50.7 เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค.46 แต่
ยังเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ยอดนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.2
เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แต่อย่างไรก็ดีคาดว่าจีนจะกลับมามียอดเกินดุลการค้าอีกในเดือนถัดไป
มาตรการตัดเงินช่วยเหลือทางภาษีแก่ผู้ส่งออกของจีนมีเพื่อลดแรงกดดันทางการค้าจาก สรอ.ซึ่งกล่าวหาจีน
ว่าดำเนินการค้าไม่เป็นธรรมโดยการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนคงที่เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ.ทำ
ให้สินค้าของจีนมีราคาต่ำกว่าความเป็นจริง ส่งผลให้ สรอ.ขาดดุลการค้ากับจีนจำนวน 58.6 พันล้านดอลลาร์
สรอ.ในปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นจากปี 45 ที่มีจำนวน 42.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. นอกจากนี้ยังสูญเสียงานในภาค
อุตสาหกรรมไปกว่า 2 ล้านตำแหน่งในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่เกินดุลการค้ากับ สรอ. แต่จีนกลับขาด
ดุลการค้ากับประเทศในอาเซียนซึ่งจีนนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์นำมาประกอบเป็นสินค้าเพื่อส่งออก (รอยเตอร์)
5. การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของจีนในเดือน ม.ค.47 เติบโตร้อยละ 13.6 เทียบต่อปี
รายงานจากปักกิ่งเมื่อ 11 ก.พ.47 ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ของ
จีนในเดือน ม.ค.47 มีจำนวน 4.1 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 เทียบต่อปี เป็นผลจากนัก
ลงทุนต่างประเทศเชื่อมั่นต่อการบริโภคภายในประเทศจีนที่เติบโตอย่างมีเสถียรภาพและค่าแรงงานที่ต่ำ ทั้งนี้
FDI ของจีนได้กลับมาเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าร้อยละ 34 ในเดือน ธ.ค.46 หลังจากที่ลดลงอย่างมากก่อนหน้านี้
อย่างไรก็ตาม FDI ทั้งปี 46 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.4 เป็นจำนวน 53.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ต่ำกว่า
เป้าหมาย 57 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคซาร์ส สำหรับ FDI
ที่ทำสัญญาแล้ว ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดแนวโน้มการลงทุนในอนาคต เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 เป็นจำนวน 10.2 พัน
ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือน ม.ค.47 ส่วนทั้งปี 46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 39 เป็นจำนวน 115.07 พัน ล.ดอลลาร์
สรอ. อนึ่ง The China Economic Monitoring Centre ซึ่งเป็นสถาบันภายใต้การกำกับดูแลของสำนัก
งานสถิติแห่งชาติ ได้คาดการณ์การไหลเข้าของเงินลงทุนจากต่างประเทศในปี 47 ว่าจะมีจำนวน 55 พัน ล.
ดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
6. จีนกำหนดเป้าหมายการเติบโตของปริมาณเงินหมุนเวียนในปี 47 ร้อยละ 17 รายงานจาก
ปักกิ่งเมื่อ 11 ก.พ.47 The People’s Bank of China เปิดเผยว่า จีนจำเป็นต้องดำเนินนโยบายการ
เงินที่มีเสถียรภาพอย่างต่อเนื่อง และต้องรักษาการเติบโตของเงินกู้โดยรวมให้มีเสถียรภาพ โดยได้กำหนด
เป้าหมายการเติบโตของปริมาณเงินหมุนเวียนในปี 47 ไว้ที่ประมาณร้อยละ 17 ต่ำกว่าปี 46 ที่เติบโตร้อยละ
19.6 รวมทั้งกำหนดเป้าหมายควบคุมเงินกู้ไว้ที่ระดับ 2.6 ล้านล้านหยวน ลดลงร้อยละ 13 จากปีก่อน ทั้งนี้
การเพิ่มขึ้นของปริมาณเงินหมุนเวียน เป็นผลจากการที่ ธ.กลางจีน นำเงินออกใช้เป็นจำนวนมากเพื่อดูดซับ
เงินตราต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นมากจากการขยายตัวของการส่งออกและการลงทุนจากต่างประเทศ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 12/2/47 11/2/47 31/12/46 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.942 39.622 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.7359/39.0295 39.4435/39.7378 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.8750 - 1.2800 1.2800 - 1.3000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 753.24/32.69 772.15/41.74 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,500/7,600 7,450/7,550 7,700/7,800 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 28.24 28.51 28.66 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 17.29*/14.39 ปตท.
* ปรับเลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-