กรุงเทพ--13 ก.พ.--กระทรวงการต่างประเทศ
ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประเทศคู่เจรจาอาเซียน-สหรัฐอเมริกา ครั้งที่ 17 ( 17th ASEAN-US Dialogue) เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2547 ณ โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ โดยมีนายเตช บุนนาค ปลัดกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธานร่วมกับนาย James A. Kelly, Assistant Secretary of State ของสหรัฐฯ
ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศ ปัญหาข้ามชาติ เศรษฐกิจของโลกและภูมิภาค และแนวทางความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่าง อาเซียน-สหรัฐฯ โดยประเด็นสำคัญที่ได้รับการหยิกยกขึ้นในการประชุมคือ การก่อการร้าย ปัญหา อิรักและตะวันออกกลาง ปัญหาคาบสมุทรเกาหลี ยาเสพติด อาชญากรรมข้ามชาติ HIV / AIDS สิ่งแวดล้อม โรคไข้หวัดนก พัฒนาการของ WTO / APEC แนวโน้มเศรษฐกิจอาเซียนและสหรัฐฯ รวมทั้งความร่วมมือด้านการพัฒนาระหว่างอาเซียน-สหรัฐฯ
ในการประชุมครั้งนี้ สหรัฐฯ ขอบคุณประเทศอาเซียนในความร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้าย และขอความร่วมมือประเทศอาเซียนในการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ รวมทั้งเสนอให้ปรับสถานะของ ASEAN Regional Forum (ARF) เป็นสถาบัน โดยให้สำนักเลขาธิการอาเซียนทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการ และทำให้ประธาน ARF มีบทบาทแข็งขัน ทั้งนี้ สหรัฐฯ จะยื่น concept paper ในเรื่องนี้ต่อที่ประชุม ARF ครั้งต่อไป อนึ่ง สหรัฐฯ มิได้ยกเรื่องพม่าในระหว่างการประชุม แต่อย่างใด และแสดงเจตจำนงจะให้ความร่วมมือในโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของ อาเซียน (ASEAN Cooperation Plan - ACP) อย่างจริงจัง สหรัฐฯ ได้กล่าวถึงความสำคัญของ Informal Coordinating Mechanism (ICM) ซึ่งเป็นกลไกประสานงานความร่วมมือในกรอบ ACP โดยเสนอให้มี การจัดประชุม ICM ครั้งต่อไปในเดือนเมษายนหรือต้นเดือนพฤษภาคม ศกนี้ และเสนอให้มีการจัดประชุมคู่เจรจาอาเซียน-สหรัฐฯ เป็นประจำทุกปี พร้อมทั้งรับจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคู่เจรจา อาเซียน-สหรัฐฯ ครั้งต่อไปในปลายปี 2547 นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังแจ้งว่าจะจัดตั้งหน่วยงานระดับ ภูมิภาคภายใต้การกำกับดูแลของ USAID ขึ้นที่กรุงเทพฯ เพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการต่างๆ ในกรอบ ACP ด้วย
ส่วนเรื่องเศรษฐกิจ ฝ่ายอาเซียนได้พยายามที่จะผลักดันการจัดทำความตกลง Trade and Investment Framework Agreement (TIFA) กับสหรัฐฯ และได้แจ้งฝ่ายสหรัฐฯ เกี่ยวกับการที่อาเซียนจะจัดตั้ง ASEAN Economic Community (AEC) ภายในปี ค.ศ. 2020 ซึ่งมีเป้าหมาย ที่จะทำให้อาเซียนเป็น single market and product base อันจะทำให้อาเซียนเป็นตลาดการค้า และการลงทุนที่มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ภาคเอกชนจากสหรัฐฯ และอาเซียนได้เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ในช่วง working lunch และในช่วงของการประชุมระเบียบวาระที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ และได้ นำเสนอข้อเรียกร้องต่อภาครัฐบาลให้พิจารณาการดำเนินการในเรื่องต่างๆ คือ การลดภาษีรถยนต์ในประเทศอาเซียน การเปิดน่านฟ้าประเทศอาเซียนสำหรับการขนส่งสินค้า อนุมัติการโฆษณาในรายการโทรทัศน์ที่ส่งสัญญาณผ่านสายเคเบิลในประเทศอาเซียน การลดภาษีและยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษีต่อสินค้าเกษตรของสหรัฐฯ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประเทศคู่เจรจาอาเซียน-สหรัฐอเมริกา ครั้งที่ 17 ( 17th ASEAN-US Dialogue) เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2547 ณ โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ โดยมีนายเตช บุนนาค ปลัดกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธานร่วมกับนาย James A. Kelly, Assistant Secretary of State ของสหรัฐฯ
ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศ ปัญหาข้ามชาติ เศรษฐกิจของโลกและภูมิภาค และแนวทางความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่าง อาเซียน-สหรัฐฯ โดยประเด็นสำคัญที่ได้รับการหยิกยกขึ้นในการประชุมคือ การก่อการร้าย ปัญหา อิรักและตะวันออกกลาง ปัญหาคาบสมุทรเกาหลี ยาเสพติด อาชญากรรมข้ามชาติ HIV / AIDS สิ่งแวดล้อม โรคไข้หวัดนก พัฒนาการของ WTO / APEC แนวโน้มเศรษฐกิจอาเซียนและสหรัฐฯ รวมทั้งความร่วมมือด้านการพัฒนาระหว่างอาเซียน-สหรัฐฯ
ในการประชุมครั้งนี้ สหรัฐฯ ขอบคุณประเทศอาเซียนในความร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้าย และขอความร่วมมือประเทศอาเซียนในการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ รวมทั้งเสนอให้ปรับสถานะของ ASEAN Regional Forum (ARF) เป็นสถาบัน โดยให้สำนักเลขาธิการอาเซียนทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการ และทำให้ประธาน ARF มีบทบาทแข็งขัน ทั้งนี้ สหรัฐฯ จะยื่น concept paper ในเรื่องนี้ต่อที่ประชุม ARF ครั้งต่อไป อนึ่ง สหรัฐฯ มิได้ยกเรื่องพม่าในระหว่างการประชุม แต่อย่างใด และแสดงเจตจำนงจะให้ความร่วมมือในโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของ อาเซียน (ASEAN Cooperation Plan - ACP) อย่างจริงจัง สหรัฐฯ ได้กล่าวถึงความสำคัญของ Informal Coordinating Mechanism (ICM) ซึ่งเป็นกลไกประสานงานความร่วมมือในกรอบ ACP โดยเสนอให้มี การจัดประชุม ICM ครั้งต่อไปในเดือนเมษายนหรือต้นเดือนพฤษภาคม ศกนี้ และเสนอให้มีการจัดประชุมคู่เจรจาอาเซียน-สหรัฐฯ เป็นประจำทุกปี พร้อมทั้งรับจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคู่เจรจา อาเซียน-สหรัฐฯ ครั้งต่อไปในปลายปี 2547 นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังแจ้งว่าจะจัดตั้งหน่วยงานระดับ ภูมิภาคภายใต้การกำกับดูแลของ USAID ขึ้นที่กรุงเทพฯ เพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการต่างๆ ในกรอบ ACP ด้วย
ส่วนเรื่องเศรษฐกิจ ฝ่ายอาเซียนได้พยายามที่จะผลักดันการจัดทำความตกลง Trade and Investment Framework Agreement (TIFA) กับสหรัฐฯ และได้แจ้งฝ่ายสหรัฐฯ เกี่ยวกับการที่อาเซียนจะจัดตั้ง ASEAN Economic Community (AEC) ภายในปี ค.ศ. 2020 ซึ่งมีเป้าหมาย ที่จะทำให้อาเซียนเป็น single market and product base อันจะทำให้อาเซียนเป็นตลาดการค้า และการลงทุนที่มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ภาคเอกชนจากสหรัฐฯ และอาเซียนได้เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ในช่วง working lunch และในช่วงของการประชุมระเบียบวาระที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ และได้ นำเสนอข้อเรียกร้องต่อภาครัฐบาลให้พิจารณาการดำเนินการในเรื่องต่างๆ คือ การลดภาษีรถยนต์ในประเทศอาเซียน การเปิดน่านฟ้าประเทศอาเซียนสำหรับการขนส่งสินค้า อนุมัติการโฆษณาในรายการโทรทัศน์ที่ส่งสัญญาณผ่านสายเคเบิลในประเทศอาเซียน การลดภาษีและยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษีต่อสินค้าเกษตรของสหรัฐฯ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-