ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. สรอ. ขอให้ไทยเปิดเสรีการเงิน ประกันภัย และคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา นายสมคิด
จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีที่ สรอ. ขอให้ไทยเปิดเสรีทางการเงิน ประกันภัย รวมถึง
คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาตามข้อตกลงเอฟทีเอว่า รัฐบาล สรอ. ต้องการเปิดการเจรจาการค้าเสรีกับ
ไทยอย่างเป็นทางการในเดือน มี.ค.นี้ โดยคณะเจรจาของไทยจะมีตัวแทนของรัฐบาลและภาคเอกชนเดินทาง
ไปด้วย แต่ขณะนี้ยังไม่เห็นข้อเสนอภาคการเงินเข้ามา ถ้าเปิดแล้วไทยเสียหายก็ต้องพิจารณาอีกครั้งว่าเรื่อง
ใดเปิดได้ เรื่องใดยังต้องรักษาไว้ ทั้งนี้ ในปี 2546 สรอ. ขาดดุลการค้าไทย 1.7 แสนล้านบาท แต่ตัว
เลขดังกล่าวไม่รวมการค้าบริการและภาษีนำเข้าสินค้าของ สรอ.ที่ค่อนข้างต่ำ อนึ่ง หากไทยตกลงทำเอฟทีเอ
จะทำให้ สรอ. ได้เปรียบประเทศอื่น โดยสามารถเข้ามาถือหุ้นหรือครอบงำกิจการด้วยการถือหุ้นในธุรกิจการ
เงิน หลักทรัพย์ และประกันภัยได้ 100% จากปัจจุบันไทยเปิดเสรีให้ต่างชาติถือหุ้นได้เพียง 49% ซึ่งจะกระทบ
ภาคธุรกิจการเงิน หลักทรัพย์ และประกันภัยของไทยค่อนข้างมาก (โพสต์ทูเดย์)
2. ธปท. มั่นใจปีนี้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นตามทิศทางเศรษฐกิจ รองผู้ว่าการ สาย
เสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า ตัวเลขการปล่อยสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ในปีนี้
ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามทิศทางการขยายตัวของเศรษฐกิจ ถึงแม้จะมีการคืนหนี้จากลูกหนี้อย่างต่อเนื่อง แต่
เมื่อคิดสุทธิแล้วการปล่อยสินเชื่อใหม่ยังคงมีมากกว่า อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมในการใช้เงินลงทุนของภาค
ธุรกิจเปลี่ยนไป เพราะที่ผ่านมาบริษัทมีเงินทุนสะสมจากรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น และมีการระดมทุนจากตลาดทุน
และตลาดตราสารหนี้ทำให้ความต้องการสินเชื่อในอนาคตไม่มากเช่นที่ผ่านมา แต่หากจะให้สินเชื่อใหม่ขยาย
ตัวมากขึ้นหรือขยายตัวในอัตราเท่ากับการขยายตัวตาม GDP ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะการขยายตัวของ GDP
ในระดับนี้ การขยายตัวของสินเชื่อจะอยู่ในระดับนี้หรือมากกว่าเล็กน้อย แต่จะให้การขยายตัวของสินเชื่ออยู่ใน
ระดับ 20-30% คงเป็นไปได้ยาก อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของสินเชื่อในขณะนี้ไม่ได้มีปัญหาหนี้ไม่ก่อให้เกิด
รายได้ (NPL) จำนวนมากอย่างที่ผ่านมา โดยตัวเลขล่าสุดสัดส่วนหนี้ NPL ต่อสินเชื่อรวมได้ปรับลดลงมาอยู่ที่
12% จากระดับ 15% ในเดือนก่อนหน้า และ ธปท. กำลังหารือกันที่จะออกมาตรการเพิ่มเติมที่จะทำให้
ธนาคารพาณิชย์มีการเร่งปรับโครงสร้างหนี้เพื่อลดหนี้ NPL ให้เร็วขึ้น (แนวหน้า, สยามรัฐ)
3. ธปท. ประกาศเกณฑ์การควบกิจการมีผลบังคับตามวันที่ รมว.คลัง ลงนาม นางธาริษา วัฒนเกส
รองผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยว่า ขณะนี้มีบริษัทเงินทุน (บง.) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (บค.) เข้ามาหารือและสอบถามข้อสงสัยในการยกระดับเป็นธนาคารพาณิชย์ตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
เป็นจำนวนมาก ส่วนกรณีบริษัท ฟินันซ่า กับ บง.กรุงเทพธนาทร ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นนั้น ธปท. จะยึด
กรอบและเวลาการยกระดับเป็นธนาคารพาณิชย์ตามวันที่ รมว. ก.คลังลงนาม คือ วันที่ 23 ม.ค.47 แม้ว่า
เกณฑ์ดังกล่าวจะมีผลในวันที่ 1 ก.พ.47 ก็ตาม (โพสต์ทูเดย์, โลกวันี้)
4. ทริส เรทติ้ง คาดการณ์ปีนี้จะมีเอกชนออกหุ้นกู้กว่าแสนล้านบาท กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทริส
เรทติ้ง จำกัด เปิดเผยว่า ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ตลาดตราสารหนี้มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมี
การระดมทุนไม่ต่ำกว่าปีละ 1 แสนล้านบาท และสิ้นปี 2546 มีการระดมทุนสูงสุดถึง 2 แสนล้านบาท แม้ว่าใน
ไตรมาส 3 ของปีก่อนจะมีการชะลอการออกหุ้นกู้เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยผันผวนและนักลงทุนเข้าไปลงทุนใน
ตลาดหุ้นมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในปีนี้คาดว่าจะมีการออกหุ้นกู้ไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท โดยได้มีบริษัทที่ขอ
อนุมัติผู้ถือหุ้น เพื่อออกหุ้นกู้แล้ว 3.2 หมื่นล้านบาท จำนวน 22 บริษัท โดยขนาดมูลค่าที่จะเสนอขาย 2-3 พัน
ล้านบาท ซึ่งการลงทุนในตราสารหนี้ยังมีความจำเป็น โดยเฉพาะนักลงทุนสถาบันที่ต้องการกระจายความเสี่ยง
ในการลงทุน แม้ว่าแนวโน้มตลาดหุ้นจะดี แต่ต้องมีการลงทุนส่วนหนึ่งในตราสารหนี้ (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของสรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 7 ก.พ. เพิ่มขึ้น รายงาน
จากวอชิงตันเมื่อวันที่ 12 ก.พ. 47 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของ
สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 7 ก.พ. อยู่ที่ระดับ 363,000 คน เพิ่มขึ้น 6,000 คนจากสัปดาห์ก่อนที่ระดับ
357,000 คน (ตัวเลขหลังปรับ) นับเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างผิดคาด และต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 2 ทำสถิติสูงที่สุด
ในรอบ 2 เดือน ก่อนหน้านั้นวอลสตรีทคาดว่าจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกจะลดลงอยู่ที่ระดับ
345,000 คนจากระดับ 356,000 คนในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 31 ม.ค. อย่างไรก็ตามตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการ
ว่างงานครั้งแรกเมื่อ 2 สัปดาห์ที่แล้วมิได้สะท้อนตลาดแรงงานมากนัก เนื่องจากสภาพอากาศหนาว ในช่วงฤดู
หนาว แต่ก็ได้สร้างความสับสนแก่ตลาดเป็นอันมากเนื่องจากทั้งตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน และตัวเลข
ยอดค้าปลีกของสรอ. ไม่เป็นไปตามการคาดการณ์ อย่างไรก็ตามได้มีการจับตามองอย่างใกล้ชิดในตัวเลข
เฉลี่ยการว่างงาน 4 สัปดาห์ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดสถานการณ์ตลาดแรงงานที่สมเหตุสมผลกว่าตัวเลขที่ผันผวนใน
ระยะสั้น โดยค่าเฉลี่ย 4 สัปดาห์ของจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก ณ วันที่ 7 ก.พ.อยู่ที่ระดับ
350,500 คนเพิ่มขึ้นจากระดับ 345,500 คนและ 345,250 คนในช่วง 2 สัปดาห์ก่อนตามลำดับ สำหรับค่า
เฉลี่ย 4 สัปดาห์ของตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานต่อเนื่อง ณ 31 ม.ค. 47 มีจำนวน 3.083 ล้านคนลด
ลงจากจำนวน 3.106 ล้านคนในสัปดาห์ก่อน ลดลงอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ 18 ส.ค. 44 (รอยเตอร์)
2. คำสั่งซื้อเครื่องจักรของญี่ปุ่นในเดือน ธ.ค.46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 เทียบต่อเดือน รายงาน
จากโตเกียว เมื่อ 12 ก.พ.47 รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า คำสั่งซื้อเครื่องจักรของภาคเอกชนญี่ปุ่น ซึ่งเป็น
เครื่องชี้วัดแนวโน้มการใช้จ่ายลงทุนของภาคเอกชนในเดือน ธ.ค.46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 เทียบต่อเดือน ซึ่ง
มากกว่าที่รอยเตอร์คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 และดีขึ้นกว่าเดือน พ.ย.46 ที่ลดลงถึงร้อยละ 7.8
หลังจากที่รัฐบาลปรับปรุงการประเมินตัวเลขดังกล่าวใหม่ แต่ก็ยังคงต้องเฝ้าติดตามดูอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้
รัฐบาลญี่ปุ่นยังคาดการณ์ว่าคำสั่งซื้อเครื่องจักรในไตรมาสแรกของปี 47 จะลดลงร้อยละ 0.2 ขณะที่นัก
วิเคราะห์ส่วนใหญ่มองว่าเป็นผลกระทบจากการที่คำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นอย่างมากในไตรมาส 4 ปี 46 ถึงร้อยละ
11.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (รอยเตอร์)
3. รอยเตอร์คาดว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในไตรมาส 4 ปี 46 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ
4.6 รายงานจากโตเกียว เมื่อ 12 ก.พ.47 ผลสำรวจโดยรอยเตอร์คาดการณ์ว่า อัตราการเติบโตทาง
เศรษฐกิจของญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 4 ปี 46 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 ซึ่งขยายตัวมากกว่า สรอ.ที่คาดว่าจะมีอัตรา
การเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสเดียวกันร้อยละ 4.0 อันเป็นสัญญาณที่แท้จริงว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะฟื้นตัวจาก
10 ปีก่อนที่ตกอยู่ในภาวะชะลอตัว ทั้งนี้ การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในตลาดโลก ส่วนหนึ่งมาจากการส่ง
ออกสินค้าไปยังประเทศ สรอ. ที่เป็นตลาดส่งออกใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นรวมทั้งจีนมากขึ้น ซึ่งสามารถดึงดูดให้เกิด
การลงทุนและความต้องการสินค้าของผู้บริโภคอย่างแข็งแกร่ง ส่งผลให้ญี่ปุ่นมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่าง
มากใน 9 เดือนสุดท้ายของปี 46 (เม.ย.-ธ.ค.) (รอยเตอร์)
4.ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้คาดว่าเศรษฐกิจของเกาหลีใต้จะขยายตัวเพิ่มขึ้นในไตร
มาสที่ 1 ปี 47 รายงานจากโซล เมื่อ 13 ก.พ.47 ก.พาณิชย์รายงานผลการสำรวจความเห็นของผู้ประกอบ
การอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ จำนวน 6,058 บริษัท ในระหว่างวันที่ 17 ธ.ค.46 ถึงวันที่ 7 ม.ค. 47
ว่าคาดการณ์ภาวะธุรกิจของบริษัทตนในไตรมาสแรกปีนี้อย่างไร โดยดัชนีมีค่าระหว่าง 0-7 ปรากฎว่าดัชนีมี
ค่าอยู่ที่ระดับ 4.1 เช่นเดียวกับไตรมาสสุดท้ายปี 46 ซึ่งสูงสุดในรอบ 6 ไตรมาส หลังจากที่ยืนอยู่ในระดับ
ต่ำกว่า 4.0 ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 46 และอยู่ในระดับ 4.0 ในไตรมาสที่ 3 และ 4 ปี 45 และ
คาดว่าจะอยู่ในระดับ 4.4 ตลอดปี 47 ตัวเลขดัชนีที่สูงกว่า 4.0 แสดงว่าธุรกิจที่คาดว่าธุรกิจของตนจะดีขึ้น
มีจำนวนมากกว่าธุรกิจที่มองว่าจะเลวลง เกาหลีใต้ซึ่งมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ในเอเชียเพิ่งจะพ้นจาก
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปี 46 เป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี และคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวมากกว่าร้อยละ 5
ในปีนี้หลังจากขยายตัวประมาณร้อยละ 2.9 ในปี 46 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 13/2/47 12/2/47 31/12/46 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.87 39.622 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.6850/38.9796 39.4435/39.7378 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.8750 - 1.2800 1.2800 - 1.3000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 748.16/39.70 772.15/41.74 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,500/7,600 7,500/7,600 7,700/7,800 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 28.58 28.24 28.66 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 17.29*/14.39 ปตท.
* ปรับเลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. สรอ. ขอให้ไทยเปิดเสรีการเงิน ประกันภัย และคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา นายสมคิด
จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีที่ สรอ. ขอให้ไทยเปิดเสรีทางการเงิน ประกันภัย รวมถึง
คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาตามข้อตกลงเอฟทีเอว่า รัฐบาล สรอ. ต้องการเปิดการเจรจาการค้าเสรีกับ
ไทยอย่างเป็นทางการในเดือน มี.ค.นี้ โดยคณะเจรจาของไทยจะมีตัวแทนของรัฐบาลและภาคเอกชนเดินทาง
ไปด้วย แต่ขณะนี้ยังไม่เห็นข้อเสนอภาคการเงินเข้ามา ถ้าเปิดแล้วไทยเสียหายก็ต้องพิจารณาอีกครั้งว่าเรื่อง
ใดเปิดได้ เรื่องใดยังต้องรักษาไว้ ทั้งนี้ ในปี 2546 สรอ. ขาดดุลการค้าไทย 1.7 แสนล้านบาท แต่ตัว
เลขดังกล่าวไม่รวมการค้าบริการและภาษีนำเข้าสินค้าของ สรอ.ที่ค่อนข้างต่ำ อนึ่ง หากไทยตกลงทำเอฟทีเอ
จะทำให้ สรอ. ได้เปรียบประเทศอื่น โดยสามารถเข้ามาถือหุ้นหรือครอบงำกิจการด้วยการถือหุ้นในธุรกิจการ
เงิน หลักทรัพย์ และประกันภัยได้ 100% จากปัจจุบันไทยเปิดเสรีให้ต่างชาติถือหุ้นได้เพียง 49% ซึ่งจะกระทบ
ภาคธุรกิจการเงิน หลักทรัพย์ และประกันภัยของไทยค่อนข้างมาก (โพสต์ทูเดย์)
2. ธปท. มั่นใจปีนี้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นตามทิศทางเศรษฐกิจ รองผู้ว่าการ สาย
เสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า ตัวเลขการปล่อยสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ในปีนี้
ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามทิศทางการขยายตัวของเศรษฐกิจ ถึงแม้จะมีการคืนหนี้จากลูกหนี้อย่างต่อเนื่อง แต่
เมื่อคิดสุทธิแล้วการปล่อยสินเชื่อใหม่ยังคงมีมากกว่า อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมในการใช้เงินลงทุนของภาค
ธุรกิจเปลี่ยนไป เพราะที่ผ่านมาบริษัทมีเงินทุนสะสมจากรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น และมีการระดมทุนจากตลาดทุน
และตลาดตราสารหนี้ทำให้ความต้องการสินเชื่อในอนาคตไม่มากเช่นที่ผ่านมา แต่หากจะให้สินเชื่อใหม่ขยาย
ตัวมากขึ้นหรือขยายตัวในอัตราเท่ากับการขยายตัวตาม GDP ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะการขยายตัวของ GDP
ในระดับนี้ การขยายตัวของสินเชื่อจะอยู่ในระดับนี้หรือมากกว่าเล็กน้อย แต่จะให้การขยายตัวของสินเชื่ออยู่ใน
ระดับ 20-30% คงเป็นไปได้ยาก อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของสินเชื่อในขณะนี้ไม่ได้มีปัญหาหนี้ไม่ก่อให้เกิด
รายได้ (NPL) จำนวนมากอย่างที่ผ่านมา โดยตัวเลขล่าสุดสัดส่วนหนี้ NPL ต่อสินเชื่อรวมได้ปรับลดลงมาอยู่ที่
12% จากระดับ 15% ในเดือนก่อนหน้า และ ธปท. กำลังหารือกันที่จะออกมาตรการเพิ่มเติมที่จะทำให้
ธนาคารพาณิชย์มีการเร่งปรับโครงสร้างหนี้เพื่อลดหนี้ NPL ให้เร็วขึ้น (แนวหน้า, สยามรัฐ)
3. ธปท. ประกาศเกณฑ์การควบกิจการมีผลบังคับตามวันที่ รมว.คลัง ลงนาม นางธาริษา วัฒนเกส
รองผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยว่า ขณะนี้มีบริษัทเงินทุน (บง.) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (บค.) เข้ามาหารือและสอบถามข้อสงสัยในการยกระดับเป็นธนาคารพาณิชย์ตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
เป็นจำนวนมาก ส่วนกรณีบริษัท ฟินันซ่า กับ บง.กรุงเทพธนาทร ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นนั้น ธปท. จะยึด
กรอบและเวลาการยกระดับเป็นธนาคารพาณิชย์ตามวันที่ รมว. ก.คลังลงนาม คือ วันที่ 23 ม.ค.47 แม้ว่า
เกณฑ์ดังกล่าวจะมีผลในวันที่ 1 ก.พ.47 ก็ตาม (โพสต์ทูเดย์, โลกวันี้)
4. ทริส เรทติ้ง คาดการณ์ปีนี้จะมีเอกชนออกหุ้นกู้กว่าแสนล้านบาท กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทริส
เรทติ้ง จำกัด เปิดเผยว่า ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ตลาดตราสารหนี้มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมี
การระดมทุนไม่ต่ำกว่าปีละ 1 แสนล้านบาท และสิ้นปี 2546 มีการระดมทุนสูงสุดถึง 2 แสนล้านบาท แม้ว่าใน
ไตรมาส 3 ของปีก่อนจะมีการชะลอการออกหุ้นกู้เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยผันผวนและนักลงทุนเข้าไปลงทุนใน
ตลาดหุ้นมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในปีนี้คาดว่าจะมีการออกหุ้นกู้ไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท โดยได้มีบริษัทที่ขอ
อนุมัติผู้ถือหุ้น เพื่อออกหุ้นกู้แล้ว 3.2 หมื่นล้านบาท จำนวน 22 บริษัท โดยขนาดมูลค่าที่จะเสนอขาย 2-3 พัน
ล้านบาท ซึ่งการลงทุนในตราสารหนี้ยังมีความจำเป็น โดยเฉพาะนักลงทุนสถาบันที่ต้องการกระจายความเสี่ยง
ในการลงทุน แม้ว่าแนวโน้มตลาดหุ้นจะดี แต่ต้องมีการลงทุนส่วนหนึ่งในตราสารหนี้ (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของสรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 7 ก.พ. เพิ่มขึ้น รายงาน
จากวอชิงตันเมื่อวันที่ 12 ก.พ. 47 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของ
สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 7 ก.พ. อยู่ที่ระดับ 363,000 คน เพิ่มขึ้น 6,000 คนจากสัปดาห์ก่อนที่ระดับ
357,000 คน (ตัวเลขหลังปรับ) นับเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างผิดคาด และต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 2 ทำสถิติสูงที่สุด
ในรอบ 2 เดือน ก่อนหน้านั้นวอลสตรีทคาดว่าจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกจะลดลงอยู่ที่ระดับ
345,000 คนจากระดับ 356,000 คนในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 31 ม.ค. อย่างไรก็ตามตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการ
ว่างงานครั้งแรกเมื่อ 2 สัปดาห์ที่แล้วมิได้สะท้อนตลาดแรงงานมากนัก เนื่องจากสภาพอากาศหนาว ในช่วงฤดู
หนาว แต่ก็ได้สร้างความสับสนแก่ตลาดเป็นอันมากเนื่องจากทั้งตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน และตัวเลข
ยอดค้าปลีกของสรอ. ไม่เป็นไปตามการคาดการณ์ อย่างไรก็ตามได้มีการจับตามองอย่างใกล้ชิดในตัวเลข
เฉลี่ยการว่างงาน 4 สัปดาห์ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดสถานการณ์ตลาดแรงงานที่สมเหตุสมผลกว่าตัวเลขที่ผันผวนใน
ระยะสั้น โดยค่าเฉลี่ย 4 สัปดาห์ของจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก ณ วันที่ 7 ก.พ.อยู่ที่ระดับ
350,500 คนเพิ่มขึ้นจากระดับ 345,500 คนและ 345,250 คนในช่วง 2 สัปดาห์ก่อนตามลำดับ สำหรับค่า
เฉลี่ย 4 สัปดาห์ของตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานต่อเนื่อง ณ 31 ม.ค. 47 มีจำนวน 3.083 ล้านคนลด
ลงจากจำนวน 3.106 ล้านคนในสัปดาห์ก่อน ลดลงอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ 18 ส.ค. 44 (รอยเตอร์)
2. คำสั่งซื้อเครื่องจักรของญี่ปุ่นในเดือน ธ.ค.46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 เทียบต่อเดือน รายงาน
จากโตเกียว เมื่อ 12 ก.พ.47 รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า คำสั่งซื้อเครื่องจักรของภาคเอกชนญี่ปุ่น ซึ่งเป็น
เครื่องชี้วัดแนวโน้มการใช้จ่ายลงทุนของภาคเอกชนในเดือน ธ.ค.46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 เทียบต่อเดือน ซึ่ง
มากกว่าที่รอยเตอร์คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 และดีขึ้นกว่าเดือน พ.ย.46 ที่ลดลงถึงร้อยละ 7.8
หลังจากที่รัฐบาลปรับปรุงการประเมินตัวเลขดังกล่าวใหม่ แต่ก็ยังคงต้องเฝ้าติดตามดูอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้
รัฐบาลญี่ปุ่นยังคาดการณ์ว่าคำสั่งซื้อเครื่องจักรในไตรมาสแรกของปี 47 จะลดลงร้อยละ 0.2 ขณะที่นัก
วิเคราะห์ส่วนใหญ่มองว่าเป็นผลกระทบจากการที่คำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นอย่างมากในไตรมาส 4 ปี 46 ถึงร้อยละ
11.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (รอยเตอร์)
3. รอยเตอร์คาดว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในไตรมาส 4 ปี 46 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ
4.6 รายงานจากโตเกียว เมื่อ 12 ก.พ.47 ผลสำรวจโดยรอยเตอร์คาดการณ์ว่า อัตราการเติบโตทาง
เศรษฐกิจของญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 4 ปี 46 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 ซึ่งขยายตัวมากกว่า สรอ.ที่คาดว่าจะมีอัตรา
การเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสเดียวกันร้อยละ 4.0 อันเป็นสัญญาณที่แท้จริงว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะฟื้นตัวจาก
10 ปีก่อนที่ตกอยู่ในภาวะชะลอตัว ทั้งนี้ การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในตลาดโลก ส่วนหนึ่งมาจากการส่ง
ออกสินค้าไปยังประเทศ สรอ. ที่เป็นตลาดส่งออกใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นรวมทั้งจีนมากขึ้น ซึ่งสามารถดึงดูดให้เกิด
การลงทุนและความต้องการสินค้าของผู้บริโภคอย่างแข็งแกร่ง ส่งผลให้ญี่ปุ่นมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่าง
มากใน 9 เดือนสุดท้ายของปี 46 (เม.ย.-ธ.ค.) (รอยเตอร์)
4.ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้คาดว่าเศรษฐกิจของเกาหลีใต้จะขยายตัวเพิ่มขึ้นในไตร
มาสที่ 1 ปี 47 รายงานจากโซล เมื่อ 13 ก.พ.47 ก.พาณิชย์รายงานผลการสำรวจความเห็นของผู้ประกอบ
การอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ จำนวน 6,058 บริษัท ในระหว่างวันที่ 17 ธ.ค.46 ถึงวันที่ 7 ม.ค. 47
ว่าคาดการณ์ภาวะธุรกิจของบริษัทตนในไตรมาสแรกปีนี้อย่างไร โดยดัชนีมีค่าระหว่าง 0-7 ปรากฎว่าดัชนีมี
ค่าอยู่ที่ระดับ 4.1 เช่นเดียวกับไตรมาสสุดท้ายปี 46 ซึ่งสูงสุดในรอบ 6 ไตรมาส หลังจากที่ยืนอยู่ในระดับ
ต่ำกว่า 4.0 ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 46 และอยู่ในระดับ 4.0 ในไตรมาสที่ 3 และ 4 ปี 45 และ
คาดว่าจะอยู่ในระดับ 4.4 ตลอดปี 47 ตัวเลขดัชนีที่สูงกว่า 4.0 แสดงว่าธุรกิจที่คาดว่าธุรกิจของตนจะดีขึ้น
มีจำนวนมากกว่าธุรกิจที่มองว่าจะเลวลง เกาหลีใต้ซึ่งมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ในเอเชียเพิ่งจะพ้นจาก
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปี 46 เป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี และคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวมากกว่าร้อยละ 5
ในปีนี้หลังจากขยายตัวประมาณร้อยละ 2.9 ในปี 46 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 13/2/47 12/2/47 31/12/46 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.87 39.622 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.6850/38.9796 39.4435/39.7378 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.8750 - 1.2800 1.2800 - 1.3000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 748.16/39.70 772.15/41.74 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,500/7,600 7,500/7,600 7,700/7,800 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 28.58 28.24 28.66 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 17.29*/14.39 ปตท.
* ปรับเลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-