กรุงเทพ--16 ก.พ.--กระทรวงการต่างประเทศ
ด้วยประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเจรจาอย่างเป็นทางการระหว่างไทย - ญี่ปุ่น เพื่อจัดทำความตกลง JTEPA ครั้งที่ 1 หรือความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น ในวันที่ 16-17 กุมภาพันธ์ 2547 ณ ห้องวิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีนายพิศาล มาณวพัฒน์ อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายไทยและนาย Ichiro Fujisakiรองปลัดกระทรวงการต่างประเทศฝ่ายเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเป็นหัวหน้าคณะฝ่ายญี่ปุ่นแนวความคิดสำหรับความร่วมมือการเป็นหุ้นส่วนทางด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับญี่ปุ่นนั้น เป็นข้อเสนอของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเมื่อครั้งที่เดินทางไปเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2544 โดยได้เสนอให้มีการจัดทำความร่วมมือ หุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิด (Closer Economic Partnership) ระหว่างกัน ซึ่งรวมถึงการจัดทำ FTA ด้วย ต่อมาเมื่อเดือนมกราคม 2545 นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเสนอฝ่ายไทยเพื่อให้มีการจัดทำความร่วมมือหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจแทน (Comprehensive Economic Partnership) โดยครอบคลุมสาขาต่างๆ ทั้งในด้านการลงทุน อุตสาหกรรม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งการจัดทำ FTA ระหว่างกันด้วย
ผลพวงจากดำริของผู้นำทั้งสอง จึงได้มีการจัดตั้ง Japan-Thailand Economic Partnership (JTEP) Working Group และ JTEP Task Force ทั้งนี้ ในกรอบของ Working Group จะเป็นการหารือระหว่างภาครัฐบาลในขณะที่การจัดตั้ง JTEP Task Force นั้น จะมีผู้แทนจาก ภาคเอกชนและนักวิชาการร่วมด้วย สำหรับสาขาของความร่วมมือหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจจะ ครอบคลุม 21 สาขา ได้แก่ การค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน การเคลื่อนย้ายของบุคคลธรรมดา (movement of natural persons) แหล่งกำเนิดสินค้า ระเบียบพิธีการศุลกากร ความร่วมมือด้านการเกษตร ป่าไม้และประมง มาตรฐานการยอมรับร่วมกัน นโยบายการ แข่งขัน การท่องเที่ยว การส่งเสริมการค้าและการลงทุน ความร่วมมือด้านการบริการการเงิน การศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สิทธิทรัพย์สินทางปัญญา การค้าไร้กระดาษ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี พลังงานและสิ่งแวดล้อม การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ การปรับปรุงบรรยากาศทางธุรกิจ และการ ยุติข้อพิพาท
ทั้งนี้ ที่ประชุม Task Force ได้มีการยกร่างรายงานแนวทางความร่วมมือในแต่ละสาขาข้างต้น และได้นำเสนอให้ผู้นำของทั้งสองประเทศพิจารณาเพื่อให้มีการประกาศเริ่มการเจรจาจัดทำความตกลง JTEP โดยระหว่างการเยือนญี่ปุ่นของนายกรัฐมนตรีเพื่อร่วมการประชุม ASEAN-Japan Commemorative Summit ที่กรุงโตเกียว เมื่อเดือนธันวาคม 2546 ผู้นำทั้งสอง เห็นชอบให้เริ่มการเจรจาอย่างเป็นทางการ โดยให้มีการเจรจาครั้งแรกในไทยในช่วงต้นปี 2547
การประชุมครั้งนี้ จะมีการเจรจาครอบคลุม 21 สาขาของความร่วมมือ ระหว่างวันที่ 16 -17 กุมภาพันธ์ 2547 นอกจากนี้ก็จะมีการจัดประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ควบคู่กับการประชุมการเจรจาอย่างเป็นทางการข้างต้น โดยในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ จะมีการประชุมของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในสาขา (1) Science, Technology, Energy and Environment (2) Agriculture, Forestry and Fisheries Cooperation (3) Paperless Trading (4) Information and Communication Technology สำหรับวันที่ 17 กุมภาพันธ์ จะมีการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในสาขา (1) Trade in Services (2) Mutual Recognition and Standards and Conformity Assessment
การประชุมครั้งนี้คงจะพิจารณาในสาขาของความร่วมมือที่สามารถจะดำเนินการ ได้ระหว่างกันในเร็ววัน สำหรับสาขาความร่วมมือที่มีความละเอียดอ่อน อาทิเช่น สินค้าเกษตร โดยเฉพาะข้าวก็คงจะมีการหยิบยกขึ้นเจรจาในโอกาสหน้าต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ด้วยประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเจรจาอย่างเป็นทางการระหว่างไทย - ญี่ปุ่น เพื่อจัดทำความตกลง JTEPA ครั้งที่ 1 หรือความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น ในวันที่ 16-17 กุมภาพันธ์ 2547 ณ ห้องวิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีนายพิศาล มาณวพัฒน์ อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายไทยและนาย Ichiro Fujisakiรองปลัดกระทรวงการต่างประเทศฝ่ายเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเป็นหัวหน้าคณะฝ่ายญี่ปุ่นแนวความคิดสำหรับความร่วมมือการเป็นหุ้นส่วนทางด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับญี่ปุ่นนั้น เป็นข้อเสนอของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเมื่อครั้งที่เดินทางไปเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2544 โดยได้เสนอให้มีการจัดทำความร่วมมือ หุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิด (Closer Economic Partnership) ระหว่างกัน ซึ่งรวมถึงการจัดทำ FTA ด้วย ต่อมาเมื่อเดือนมกราคม 2545 นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเสนอฝ่ายไทยเพื่อให้มีการจัดทำความร่วมมือหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจแทน (Comprehensive Economic Partnership) โดยครอบคลุมสาขาต่างๆ ทั้งในด้านการลงทุน อุตสาหกรรม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งการจัดทำ FTA ระหว่างกันด้วย
ผลพวงจากดำริของผู้นำทั้งสอง จึงได้มีการจัดตั้ง Japan-Thailand Economic Partnership (JTEP) Working Group และ JTEP Task Force ทั้งนี้ ในกรอบของ Working Group จะเป็นการหารือระหว่างภาครัฐบาลในขณะที่การจัดตั้ง JTEP Task Force นั้น จะมีผู้แทนจาก ภาคเอกชนและนักวิชาการร่วมด้วย สำหรับสาขาของความร่วมมือหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจจะ ครอบคลุม 21 สาขา ได้แก่ การค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน การเคลื่อนย้ายของบุคคลธรรมดา (movement of natural persons) แหล่งกำเนิดสินค้า ระเบียบพิธีการศุลกากร ความร่วมมือด้านการเกษตร ป่าไม้และประมง มาตรฐานการยอมรับร่วมกัน นโยบายการ แข่งขัน การท่องเที่ยว การส่งเสริมการค้าและการลงทุน ความร่วมมือด้านการบริการการเงิน การศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สิทธิทรัพย์สินทางปัญญา การค้าไร้กระดาษ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี พลังงานและสิ่งแวดล้อม การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ การปรับปรุงบรรยากาศทางธุรกิจ และการ ยุติข้อพิพาท
ทั้งนี้ ที่ประชุม Task Force ได้มีการยกร่างรายงานแนวทางความร่วมมือในแต่ละสาขาข้างต้น และได้นำเสนอให้ผู้นำของทั้งสองประเทศพิจารณาเพื่อให้มีการประกาศเริ่มการเจรจาจัดทำความตกลง JTEP โดยระหว่างการเยือนญี่ปุ่นของนายกรัฐมนตรีเพื่อร่วมการประชุม ASEAN-Japan Commemorative Summit ที่กรุงโตเกียว เมื่อเดือนธันวาคม 2546 ผู้นำทั้งสอง เห็นชอบให้เริ่มการเจรจาอย่างเป็นทางการ โดยให้มีการเจรจาครั้งแรกในไทยในช่วงต้นปี 2547
การประชุมครั้งนี้ จะมีการเจรจาครอบคลุม 21 สาขาของความร่วมมือ ระหว่างวันที่ 16 -17 กุมภาพันธ์ 2547 นอกจากนี้ก็จะมีการจัดประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ควบคู่กับการประชุมการเจรจาอย่างเป็นทางการข้างต้น โดยในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ จะมีการประชุมของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในสาขา (1) Science, Technology, Energy and Environment (2) Agriculture, Forestry and Fisheries Cooperation (3) Paperless Trading (4) Information and Communication Technology สำหรับวันที่ 17 กุมภาพันธ์ จะมีการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในสาขา (1) Trade in Services (2) Mutual Recognition and Standards and Conformity Assessment
การประชุมครั้งนี้คงจะพิจารณาในสาขาของความร่วมมือที่สามารถจะดำเนินการ ได้ระหว่างกันในเร็ววัน สำหรับสาขาความร่วมมือที่มีความละเอียดอ่อน อาทิเช่น สินค้าเกษตร โดยเฉพาะข้าวก็คงจะมีการหยิบยกขึ้นเจรจาในโอกาสหน้าต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-