แท็ก
เกษตรกร
ผลิตผลทางการเกษตรและอาหารยังเป็นสินค้าที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการ และเป็นสินค้าส่งออกสำคัญที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทยมาโดยตลอด อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาพบว่าสินค้าดังกล่าวมักเกิดความเสียหายในระหว่างการขนส่งและการวางจำหน่าย อาทิ สินค้าไม่สด มีเชื้อราและเน่าเสีย ฯลฯ โดยมีสาเหตุมาจากการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสม
ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์สำหรับบรรจุผลิตผลทางการเกษตรและอาหาร เรียกว่า “Active Packaging” หรือบรรจุภัณฑ์แอกทิฟ ซึ่งนอกจากจะทำหน้าที่เป็นภาชนะที่ห่อหุ้มและปกป้องผลผลิตและสินค้าไม่ให้เกิดความเสียหายระหว่างการขนส่งสินค้าและการวางจำหน่ายแล้วยังได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อยืดอายุและรักษาคุณภาพความสดใหม่ของผลผลิตและอาหารให้คงอยู่ในสภาพเดิมได้นาน
หลักการทำงานและเทคโนโลยีของบรรจุภัณฑ์แอกทิฟ
เนื่องจากผลิตผลทางการเกษตรหลังการเก็บเกี่ยว รวมถึงในช่วงรอบรรจุหีบห่อกระบวนการต่างๆ ทางชีวเคมีในผัก ผลไม้ และดอกไม้ ยังคงดำเนินอยู่เช่นเดียวกับที่ยังติดอยู่กับลำต้นหรือยังไม่ได้ถูกเก็บเกี่ยว อาทิ มีการดูดเอาก๊าซออกซิเจนเข้าไปและปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และความร้อนออกมา มีการคายน้ำทำให้สินค้าสูญเสียน้ำหนัก ซึ่งหากไม่ได้รับการชดเชยอาหาร แร่ธาตุ และน้ำอย่างถูกวิธีจะก่อให้เกิดการเหี่ยวเฉาหรือเน่าเสียได้ เช่นเดียวกับสินค้าอาหารบางชนิดที่จะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนส่งผลให้มีกลิ่นเหม็นหืนหรือเน่าเสียได้
บรรจุภัณฑ์แอกทิฟจึงได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อทำหน้าที่ควบคุมองค์ประกอบของบรรยากาศภายในบรรจุภัณฑ์ โดยการสกัดกั้นการแพร่ของก๊าซต่างๆ ให้ผ่านเข้าหรือออกจากบรรจุภัณฑ์ตามความต้องการ เพื่อให้เหมาะสมต่อการเก็บรักษาผลผลิตหรืออาหารนั้นๆ ให้คงความสดใหม่และเก็บไว้ได้นาน ซึ่งอาจทำได้ 2 วิธี
- วิธีแรก เป็นวิธีที่ใช้กันมานานแล้วและยังใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยการใช้สารประกอบทางเคมีที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการบรรจุในซองเล็กๆ แล้วนำไปบรรจุไว้ในบรรจุภัณฑ์หลักเพื่อให้สารในซองดูดหรือคายก๊าซบางชนิด อาทิ ดูดออกซิเจน คายคาร์บอนไดออกไซด์ ควบคุมความชื้น ดูดเอทิลิน (เป็นก๊าซที่ทำให้ผลไม้สุก) ดูดกลิ่นหรือยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ เป็นต้น
- วิธีที่สอง เป็นวิธีที่เพิ่งพัฒนาขึ้นใหม่ ด้วยการนำสารเคมีไปผสมลงในพลาสติกหรือฟิล์มที่ใช้ทำบรรจุภัณฑ์โดยตรง ซึ่งขณะนี้มีการผลิตและใช้แล้วในหลายประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ในส่วนของประเทศไทย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (หรือ National Metal and Materials Technology Center: MTEC) ร่วมกับคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ผลิตฟิล์มแอกทิฟเพื่อทดลองใช้กับพืชผัก ได้แก่ พริกขี้หนูสวนและข้าวโพดฝักอ่อน ปรากฏว่าฟิล์มแอกทิฟที่ไทยพัฒนาขึ้นสามารถยืดอายุและรักษาคุณภาพของผลผลิตได้ดี ดังนั้น ระหว่างนี้จึงได้ทดลองและวิจัยเพื่อพัฒนาฟิล์มแอกทิฟสำหรับใช้กับสินค้าเกษตรชนิดอื่นๆ ด้วย
ประเภทบรรจุภัณฑ์แอกทิฟ
สามารถแบ่งตามสารเคมีที่มีอยู่ในบรรจุภัณฑ์ ทั้งนี้ การใช้บรรจุภัณฑ์แอกทิฟต้องเลือกให้เหมาะสมกับอาหารหรือผลผลิตที่บรรจุ อาทิ
Oxygen Scavenging เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยลดปริมาณออกซิเจน เหมาะสำหรับใช้บรรจุอาหารทั่วไปรวมถึงอาหารที่ผ่านการอบ อาทิ ขนมเค้กและขนมปัง โดยส่วนใหญ่จะใช้ธาตุเหล็กหรือสารประกอบธาตุเหล็กเป็นตัวดูดซับออกซิเจน เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารเกิดการเน่าเสียและเกิดเชื้อราได้ง่าย อย่างไรก็ตาม อาหารแต่ละประเภทต้องการลดปริมาณออกซิเจนในสัดส่วนที่ไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับประเภทของอาหาร Carbon Dioxide Release เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยเพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ เหมาะสำหรับใช้บรรจุอาหารที่เกิดเชื้อราได้ง่าย อาทิ เนื้อสด เนื้อไก่ เนื้อปลา เนยแข็ง และสตรอว์เบอร์รี เป็นต้น ส่วนใหญ่จะใช้แคลเซียมคาร์บอเนตหรือหินปูนเป็นตัวเพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ได้
Humidity Control เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับควบคุมความชื้น เหมาะสำหรับบรรจุผลิตผลทางการเกษตร อาทิ ผัก ผลไม้ และดอกไม้ชนิดต่างๆ โดยใช้สารซิลิกาเจลเป็นตัวควบคุมผัก ผลไม้ และดอกไม้ ไม่ให้คายน้ำออกมามากเกินไปซึ่งจะทำให้แร่ธาตุและสารอาหารต่างๆ ออกมาด้วย ซึ่งนอกจากจะทำให้สินค้ามีน้ำหนักลดลงแล้วยังเป็นการเร่งการเจริญเติบโตของเชื้อราอีกด้วย Ethylene Scavenging เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับลดปริมาณเอทิลีน เหมาะสำหรับใช้บรรจุพืชสวนต่างๆ ซึ่งจะทำให้ผักและผลไม้ชะลอการสุกออกไป ส่วนมากนิยมใช้สาร Potassium Permanganate เป็นสารดูดเอทิลีน
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กุมภาพันธ์ 2547--
-พห-
ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์สำหรับบรรจุผลิตผลทางการเกษตรและอาหาร เรียกว่า “Active Packaging” หรือบรรจุภัณฑ์แอกทิฟ ซึ่งนอกจากจะทำหน้าที่เป็นภาชนะที่ห่อหุ้มและปกป้องผลผลิตและสินค้าไม่ให้เกิดความเสียหายระหว่างการขนส่งสินค้าและการวางจำหน่ายแล้วยังได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อยืดอายุและรักษาคุณภาพความสดใหม่ของผลผลิตและอาหารให้คงอยู่ในสภาพเดิมได้นาน
หลักการทำงานและเทคโนโลยีของบรรจุภัณฑ์แอกทิฟ
เนื่องจากผลิตผลทางการเกษตรหลังการเก็บเกี่ยว รวมถึงในช่วงรอบรรจุหีบห่อกระบวนการต่างๆ ทางชีวเคมีในผัก ผลไม้ และดอกไม้ ยังคงดำเนินอยู่เช่นเดียวกับที่ยังติดอยู่กับลำต้นหรือยังไม่ได้ถูกเก็บเกี่ยว อาทิ มีการดูดเอาก๊าซออกซิเจนเข้าไปและปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และความร้อนออกมา มีการคายน้ำทำให้สินค้าสูญเสียน้ำหนัก ซึ่งหากไม่ได้รับการชดเชยอาหาร แร่ธาตุ และน้ำอย่างถูกวิธีจะก่อให้เกิดการเหี่ยวเฉาหรือเน่าเสียได้ เช่นเดียวกับสินค้าอาหารบางชนิดที่จะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนส่งผลให้มีกลิ่นเหม็นหืนหรือเน่าเสียได้
บรรจุภัณฑ์แอกทิฟจึงได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อทำหน้าที่ควบคุมองค์ประกอบของบรรยากาศภายในบรรจุภัณฑ์ โดยการสกัดกั้นการแพร่ของก๊าซต่างๆ ให้ผ่านเข้าหรือออกจากบรรจุภัณฑ์ตามความต้องการ เพื่อให้เหมาะสมต่อการเก็บรักษาผลผลิตหรืออาหารนั้นๆ ให้คงความสดใหม่และเก็บไว้ได้นาน ซึ่งอาจทำได้ 2 วิธี
- วิธีแรก เป็นวิธีที่ใช้กันมานานแล้วและยังใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยการใช้สารประกอบทางเคมีที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการบรรจุในซองเล็กๆ แล้วนำไปบรรจุไว้ในบรรจุภัณฑ์หลักเพื่อให้สารในซองดูดหรือคายก๊าซบางชนิด อาทิ ดูดออกซิเจน คายคาร์บอนไดออกไซด์ ควบคุมความชื้น ดูดเอทิลิน (เป็นก๊าซที่ทำให้ผลไม้สุก) ดูดกลิ่นหรือยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ เป็นต้น
- วิธีที่สอง เป็นวิธีที่เพิ่งพัฒนาขึ้นใหม่ ด้วยการนำสารเคมีไปผสมลงในพลาสติกหรือฟิล์มที่ใช้ทำบรรจุภัณฑ์โดยตรง ซึ่งขณะนี้มีการผลิตและใช้แล้วในหลายประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ในส่วนของประเทศไทย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (หรือ National Metal and Materials Technology Center: MTEC) ร่วมกับคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ผลิตฟิล์มแอกทิฟเพื่อทดลองใช้กับพืชผัก ได้แก่ พริกขี้หนูสวนและข้าวโพดฝักอ่อน ปรากฏว่าฟิล์มแอกทิฟที่ไทยพัฒนาขึ้นสามารถยืดอายุและรักษาคุณภาพของผลผลิตได้ดี ดังนั้น ระหว่างนี้จึงได้ทดลองและวิจัยเพื่อพัฒนาฟิล์มแอกทิฟสำหรับใช้กับสินค้าเกษตรชนิดอื่นๆ ด้วย
ประเภทบรรจุภัณฑ์แอกทิฟ
สามารถแบ่งตามสารเคมีที่มีอยู่ในบรรจุภัณฑ์ ทั้งนี้ การใช้บรรจุภัณฑ์แอกทิฟต้องเลือกให้เหมาะสมกับอาหารหรือผลผลิตที่บรรจุ อาทิ
Oxygen Scavenging เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยลดปริมาณออกซิเจน เหมาะสำหรับใช้บรรจุอาหารทั่วไปรวมถึงอาหารที่ผ่านการอบ อาทิ ขนมเค้กและขนมปัง โดยส่วนใหญ่จะใช้ธาตุเหล็กหรือสารประกอบธาตุเหล็กเป็นตัวดูดซับออกซิเจน เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารเกิดการเน่าเสียและเกิดเชื้อราได้ง่าย อย่างไรก็ตาม อาหารแต่ละประเภทต้องการลดปริมาณออกซิเจนในสัดส่วนที่ไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับประเภทของอาหาร Carbon Dioxide Release เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยเพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ เหมาะสำหรับใช้บรรจุอาหารที่เกิดเชื้อราได้ง่าย อาทิ เนื้อสด เนื้อไก่ เนื้อปลา เนยแข็ง และสตรอว์เบอร์รี เป็นต้น ส่วนใหญ่จะใช้แคลเซียมคาร์บอเนตหรือหินปูนเป็นตัวเพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ได้
Humidity Control เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับควบคุมความชื้น เหมาะสำหรับบรรจุผลิตผลทางการเกษตร อาทิ ผัก ผลไม้ และดอกไม้ชนิดต่างๆ โดยใช้สารซิลิกาเจลเป็นตัวควบคุมผัก ผลไม้ และดอกไม้ ไม่ให้คายน้ำออกมามากเกินไปซึ่งจะทำให้แร่ธาตุและสารอาหารต่างๆ ออกมาด้วย ซึ่งนอกจากจะทำให้สินค้ามีน้ำหนักลดลงแล้วยังเป็นการเร่งการเจริญเติบโตของเชื้อราอีกด้วย Ethylene Scavenging เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับลดปริมาณเอทิลีน เหมาะสำหรับใช้บรรจุพืชสวนต่างๆ ซึ่งจะทำให้ผักและผลไม้ชะลอการสุกออกไป ส่วนมากนิยมใช้สาร Potassium Permanganate เป็นสารดูดเอทิลีน
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กุมภาพันธ์ 2547--
-พห-