บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔
ครั้งที่ ๓ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพุธที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร
และนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งขึ้นบัลลังก์
ประธานสภาผู้แทนราษฎรกล่าวเปิดประชุม จากนั้นได้แจ้งให้ที่ประชุม
รับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร ลงวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
เรื่อง ให้นายอุทัย สุดสุข ผู้สมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ
พรรคประชาธิปัตย์ ลำดับที่ ๓๒ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน นางอัญชลี
วานิช เทพบุตร ซึ่งพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพราะได้ลาออกจาก
การเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และประธานสภาผู้แทนราษฎรได้กล่าวนำ
นายอุทัย สุดสุข ปฏิญาณตนต่อที่ประชุมก่อนเข้ารับหน้าที่ตามมาตรา ๑๕๐
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๒. เรื่อง สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๑๘ (๓) คือ นายพรศักดิ์ เปี่ยมคล้า
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครปฐม พรรคไทยรักไทย ขอลาออกจากการเป็น
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
๓. ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้อนุญาตให้ถ่ายทอดการพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. …. ทางสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง ๑๑ กรมประชาสัมพันธ์
ส่วนสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา
ยังคงถ่ายทอดการประชุมตามปกติ จนกว่าการพิจารณาจะแล้วเสร็จ
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
ระเบียบวาระเรื่องด่วน คือ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
โดยรองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ได้นำเสนอร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ พ.ศ. …. มีหลักการ
และเหตุผลดังนี้
หลักการ
๑. ตั้งงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗
เป็นจำนวน ๑๓๕,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๒. ตั้งรายจ่ายชดใช้เงินคงคลัง เป็นจำนวน ๓๙,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
เหตุผล
๑. เนื่องจากรัฐบาลมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินในการดำเนินนโยบาย
และมาตรการต่าง ๆ รวมทั้งการปรับปรุงระบบบริหารงานบุคคล สวัสดิการ และค่าตอบ
แทนบุคลากรภาครัฐ ค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืนของ
ประเทศให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ จึงต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
เป็นจำนวน ๑๓๕,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
(๑) เพื่อจัดสรรเป็นเงินบำเหน็จดำรงชีพ ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จ
บำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๒๑) พ.ศ. ๒๕๔๖ และพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จ
บำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นจำนวน ๓๓,๐๔๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๒) ค่าใช้จ่ายตามมาตรการพัฒนาและบริหารกำลังคนเพื่อรองรับ
การเปลี่ยนแปลงเป็นจำนวน ๑๔,๕๙๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๓) ค่าใช้จ่ายการปรับเงินค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐ เป็นจำนวน
๑๖,๕๗๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๔) ค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนา
ที่ยั่งยืนของประเทศ เป็นจำนวน ๕๙,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๕) เงินอุดหนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อดำเนินการตาม
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด เป็นจำนวน ๑๒,๓๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๒. เนื่องจากได้มีการจ่ายเงินคงคลังเพื่อไถ่ถอนตั๋วเงินคลัง ดังนั้น
จึงต้องตั้งรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมาย
ว่าด้วยวิธีการงบประมาณ เป็นจำนวน ๓๙,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
เมื่อรองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ได้แถลงหลักการ
และเหตุผลพร้อมคำแถลงประกอบงบประมาณฯ จบแล้ว ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ได้อนุญาตให้ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกฯ อภิปราย โดยมีประธานสภา
ผู้แทนราษฎรและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรทั้งสองได้ผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม
รองนายกรัฐมนตรี (นายโภคิน พลกุล) รองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ตอบชี้แจง
จนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่ง
ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน
เพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายโภคิน พลกุล ๒. ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
๓. นายวราเทพ รัตนากร ๔. นายสรอรรถ กลิ่นประทุม
๕. นายชัย ชิดชอบ ๖. นายเอกพร รักความสุข
๗. นายรุ่งเรือง พิทยศิริ ๘. นายวุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์
๙. นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ๑๐. นายมงคล กิมสูนจันทร์
๑๑. นายปกิต พัฒนกุล ๑๒. นายวิทยา บุรณศิริ
๑๓. นายพงษ์ศักดิ์ วรปัญญา ๑๔. นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ
๑๕. นายประแสง มงคลศิริ ๑๖. นายบัวสอน ประชามอญ
๑๗. นายทองดี มนิสสาร ๑๘. นายชวลิต วิชยสุทธิ์
๑๙. นายพิทยา บุญเฉลียว ๒๐. นายสุชาติ ตันติวณิชชานนท์
๒๑. นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ๒๒. นางฟาริดา สุไลมาน
๒๓. นายเสริมศักดิ์ การุญ ๒๔. นายภาคิน สมมิตร
๒๕. ศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน ๒๖. นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
๒๗. นายจุติ ไกรฤกษ์ ๒๘. นายอลงกรณ์ พลบุตร
๒๙. นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ๓๐. นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย
๓๑. นายสรรเสริญ สมะลาภา ๓๒. นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ
๓๓. นายวิรัช รัตนเศรษฐ ๓๔. นายสมศักดิ์ พันธ์เกษม
๓๕. นายวารุจ ศิริวัฒน์
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
เลิกประชุมเวลา ๒๐.๒๕ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ พ.ศ. ….
*************************
ครั้งที่ ๓ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพุธที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร
และนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งขึ้นบัลลังก์
ประธานสภาผู้แทนราษฎรกล่าวเปิดประชุม จากนั้นได้แจ้งให้ที่ประชุม
รับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร ลงวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
เรื่อง ให้นายอุทัย สุดสุข ผู้สมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ
พรรคประชาธิปัตย์ ลำดับที่ ๓๒ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน นางอัญชลี
วานิช เทพบุตร ซึ่งพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพราะได้ลาออกจาก
การเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และประธานสภาผู้แทนราษฎรได้กล่าวนำ
นายอุทัย สุดสุข ปฏิญาณตนต่อที่ประชุมก่อนเข้ารับหน้าที่ตามมาตรา ๑๕๐
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๒. เรื่อง สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๑๘ (๓) คือ นายพรศักดิ์ เปี่ยมคล้า
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครปฐม พรรคไทยรักไทย ขอลาออกจากการเป็น
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
๓. ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้อนุญาตให้ถ่ายทอดการพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. …. ทางสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง ๑๑ กรมประชาสัมพันธ์
ส่วนสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา
ยังคงถ่ายทอดการประชุมตามปกติ จนกว่าการพิจารณาจะแล้วเสร็จ
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
ระเบียบวาระเรื่องด่วน คือ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
โดยรองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ได้นำเสนอร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ พ.ศ. …. มีหลักการ
และเหตุผลดังนี้
หลักการ
๑. ตั้งงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗
เป็นจำนวน ๑๓๕,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๒. ตั้งรายจ่ายชดใช้เงินคงคลัง เป็นจำนวน ๓๙,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
เหตุผล
๑. เนื่องจากรัฐบาลมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินในการดำเนินนโยบาย
และมาตรการต่าง ๆ รวมทั้งการปรับปรุงระบบบริหารงานบุคคล สวัสดิการ และค่าตอบ
แทนบุคลากรภาครัฐ ค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืนของ
ประเทศให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ จึงต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
เป็นจำนวน ๑๓๕,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
(๑) เพื่อจัดสรรเป็นเงินบำเหน็จดำรงชีพ ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จ
บำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๒๑) พ.ศ. ๒๕๔๖ และพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จ
บำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นจำนวน ๓๓,๐๔๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๒) ค่าใช้จ่ายตามมาตรการพัฒนาและบริหารกำลังคนเพื่อรองรับ
การเปลี่ยนแปลงเป็นจำนวน ๑๔,๕๙๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๓) ค่าใช้จ่ายการปรับเงินค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐ เป็นจำนวน
๑๖,๕๗๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๔) ค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนา
ที่ยั่งยืนของประเทศ เป็นจำนวน ๕๙,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๕) เงินอุดหนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อดำเนินการตาม
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด เป็นจำนวน ๑๒,๓๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๒. เนื่องจากได้มีการจ่ายเงินคงคลังเพื่อไถ่ถอนตั๋วเงินคลัง ดังนั้น
จึงต้องตั้งรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมาย
ว่าด้วยวิธีการงบประมาณ เป็นจำนวน ๓๙,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
เมื่อรองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ได้แถลงหลักการ
และเหตุผลพร้อมคำแถลงประกอบงบประมาณฯ จบแล้ว ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ได้อนุญาตให้ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกฯ อภิปราย โดยมีประธานสภา
ผู้แทนราษฎรและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรทั้งสองได้ผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม
รองนายกรัฐมนตรี (นายโภคิน พลกุล) รองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ตอบชี้แจง
จนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่ง
ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน
เพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายโภคิน พลกุล ๒. ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
๓. นายวราเทพ รัตนากร ๔. นายสรอรรถ กลิ่นประทุม
๕. นายชัย ชิดชอบ ๖. นายเอกพร รักความสุข
๗. นายรุ่งเรือง พิทยศิริ ๘. นายวุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์
๙. นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ๑๐. นายมงคล กิมสูนจันทร์
๑๑. นายปกิต พัฒนกุล ๑๒. นายวิทยา บุรณศิริ
๑๓. นายพงษ์ศักดิ์ วรปัญญา ๑๔. นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ
๑๕. นายประแสง มงคลศิริ ๑๖. นายบัวสอน ประชามอญ
๑๗. นายทองดี มนิสสาร ๑๘. นายชวลิต วิชยสุทธิ์
๑๙. นายพิทยา บุญเฉลียว ๒๐. นายสุชาติ ตันติวณิชชานนท์
๒๑. นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ๒๒. นางฟาริดา สุไลมาน
๒๓. นายเสริมศักดิ์ การุญ ๒๔. นายภาคิน สมมิตร
๒๕. ศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน ๒๖. นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
๒๗. นายจุติ ไกรฤกษ์ ๒๘. นายอลงกรณ์ พลบุตร
๒๙. นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ๓๐. นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย
๓๑. นายสรรเสริญ สมะลาภา ๓๒. นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ
๓๓. นายวิรัช รัตนเศรษฐ ๓๔. นายสมศักดิ์ พันธ์เกษม
๓๕. นายวารุจ ศิริวัฒน์
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
เลิกประชุมเวลา ๒๐.๒๕ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ พ.ศ. ….
*************************