นายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้แถลงข่าวในวันนี้ว่า จากการประชุมผู้นำเอเปคเมื่อเดือนตุลาคม 2546 ฝ่ายสหรัฐฯและไทยได้ประกาศว่าจะทำเขตการค้าเสรีระหว่างกัน ซึ่งตามขั้นตอนของสหรัฐฯ ฝ่ายบริหารจะต้องแจ้งรัฐสภาก่อน และให้เวลาแก่สมาชิก รัฐสภา 90 วัน ในการให้ข้อคิดเห็นในประเด็นต่างๆ หลังจากนั้น ฝ่ายบริหารจึงจะเริ่มเจรจาได้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้กล่าวต่อไปว่า เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2547 นายโรเบิร์ต โซลิค (Mr. Robert Zoellick) หัวหน้าคณะผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (United States Trade Representative : USTR) ได้มีหนังสือถึงรัฐสภาสหรัฐฯแสดงเจตจำนงที่จะทำเขตการค้าเสรี(Free Trade Area : FTA ) กับไทยแล้ว โดยจะเริ่มเจรจากับไทยได้ในเดือนมิถุนายนศกนี้ ทั้งนี้ ประเด็นใน FTA ที่ USTR ให้ความสำคัญที่จะเจรจากับไทย ประกอบด้วย เรื่องการลดภาษีสินค้า การจัดทำกฎแหล่งกำเนิดสินค้า มาตรการด้านสุขอนามัย อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า ทรัพย์สินทางปัญญา การค้าบริการ การลงทุน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ นโยบายการแข่งขัน สิ่งแวดล้อม แรงงาน เป็นต้น
ในส่วนของประเทศไทยนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้กล่าวถึงความสำคัญของการทำเขตการค้าเสรีกับสหรัฐฯว่า สหรัฐฯเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญอันดับสองของประเทศไทยและเป็นประเทศที่ไทยส่งสินค้าไปขายเป็นอันดับหนึ่ง มูลค่าการค้าในแต่ละปีสูงเกือบ 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยไทยส่งสินค้าไปสหรัฐฯเป็นมูลค่ากว่า 13,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และนำเข้าจากสหรัฐฯประมาณ 6,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และในด้านการลงทุนนั้น สหรัฐฯมีการลงทุนโดยตรงในไทยประมาณ 16 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ดังนั้น การทำ FTA กับสหรัฐฯจะทำให้มีการเปิดตลาดสินค้าส่งออกของไทยมากขึ้น และจะส่งผลให้มีการโยกย้ายฐานการลงทุนมาสู่ประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ไทยเป็นศูนย์การลงทุนของภูมิภาคนี้ด้วย
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้กล่าวถึงการเตรียมการฝ่ายไทยว่า ในการเจรจา ไทยจะผลักดันให้สหรัฐฯลดภาษีให้กับสินค้าไทยทันที เช่น สิ่งทอและเสื้อผ้า ยานยนต์และชิ้นส่วน อัญมณี เครื่องประดับ และเครื่องหนัง เป็นต้น แก้ปัญหาเรื่องมาตรการด้านสุขอนามัยสินค้าเกษตร เช่น เนื้อไก่แช่เย็นแช่แข็ง ผลไม้สด ถั่วลิสง เป็นต้น และมาตรฐานสินค้า เพื่อให้สินค้าของไทยสามารถเข้าตลาดสหรัฐฯได้มากขึ้น และขณะนี้คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ หรือ กนศ. ได้แต่งตั้งให้นายนิตย์ พิบูลสงคราม เป็นหัวหน้าคณะเจรจาเขตการค้าเสรีไทย-สหรัฐฯ และในฝ่ายไทยได้มีการเตรียมความพร้อมในเรื่องการเตรียมท่าทีไทยในเรื่องต่างๆ โดยได้มีการประชุมหารือกับภาครัฐฯ เอกชน อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้เปิดโอกาสให้สาธารณชนแสดงข้อคิดเห็น โดยแจ้งข้อมูลที่กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งจะมีแบบฟอร์มแสดงความคิดเห็นที่จัดให้ไว้ หรือ ผ่านทาง website ที่ www.dtn.moc.go.th
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (66) 2282-6171-9 แฟกซ์ (66) 2280-0775--จบ--
-พห-
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้กล่าวต่อไปว่า เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2547 นายโรเบิร์ต โซลิค (Mr. Robert Zoellick) หัวหน้าคณะผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (United States Trade Representative : USTR) ได้มีหนังสือถึงรัฐสภาสหรัฐฯแสดงเจตจำนงที่จะทำเขตการค้าเสรี(Free Trade Area : FTA ) กับไทยแล้ว โดยจะเริ่มเจรจากับไทยได้ในเดือนมิถุนายนศกนี้ ทั้งนี้ ประเด็นใน FTA ที่ USTR ให้ความสำคัญที่จะเจรจากับไทย ประกอบด้วย เรื่องการลดภาษีสินค้า การจัดทำกฎแหล่งกำเนิดสินค้า มาตรการด้านสุขอนามัย อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า ทรัพย์สินทางปัญญา การค้าบริการ การลงทุน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ นโยบายการแข่งขัน สิ่งแวดล้อม แรงงาน เป็นต้น
ในส่วนของประเทศไทยนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้กล่าวถึงความสำคัญของการทำเขตการค้าเสรีกับสหรัฐฯว่า สหรัฐฯเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญอันดับสองของประเทศไทยและเป็นประเทศที่ไทยส่งสินค้าไปขายเป็นอันดับหนึ่ง มูลค่าการค้าในแต่ละปีสูงเกือบ 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยไทยส่งสินค้าไปสหรัฐฯเป็นมูลค่ากว่า 13,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และนำเข้าจากสหรัฐฯประมาณ 6,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และในด้านการลงทุนนั้น สหรัฐฯมีการลงทุนโดยตรงในไทยประมาณ 16 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ดังนั้น การทำ FTA กับสหรัฐฯจะทำให้มีการเปิดตลาดสินค้าส่งออกของไทยมากขึ้น และจะส่งผลให้มีการโยกย้ายฐานการลงทุนมาสู่ประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ไทยเป็นศูนย์การลงทุนของภูมิภาคนี้ด้วย
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้กล่าวถึงการเตรียมการฝ่ายไทยว่า ในการเจรจา ไทยจะผลักดันให้สหรัฐฯลดภาษีให้กับสินค้าไทยทันที เช่น สิ่งทอและเสื้อผ้า ยานยนต์และชิ้นส่วน อัญมณี เครื่องประดับ และเครื่องหนัง เป็นต้น แก้ปัญหาเรื่องมาตรการด้านสุขอนามัยสินค้าเกษตร เช่น เนื้อไก่แช่เย็นแช่แข็ง ผลไม้สด ถั่วลิสง เป็นต้น และมาตรฐานสินค้า เพื่อให้สินค้าของไทยสามารถเข้าตลาดสหรัฐฯได้มากขึ้น และขณะนี้คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ หรือ กนศ. ได้แต่งตั้งให้นายนิตย์ พิบูลสงคราม เป็นหัวหน้าคณะเจรจาเขตการค้าเสรีไทย-สหรัฐฯ และในฝ่ายไทยได้มีการเตรียมความพร้อมในเรื่องการเตรียมท่าทีไทยในเรื่องต่างๆ โดยได้มีการประชุมหารือกับภาครัฐฯ เอกชน อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้เปิดโอกาสให้สาธารณชนแสดงข้อคิดเห็น โดยแจ้งข้อมูลที่กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งจะมีแบบฟอร์มแสดงความคิดเห็นที่จัดให้ไว้ หรือ ผ่านทาง website ที่ www.dtn.moc.go.th
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (66) 2282-6171-9 แฟกซ์ (66) 2280-0775--จบ--
-พห-