กรุงเทพ--17 ก.พ.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2547 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้สรุปผลการเยือนประเทศบาร์เรนอย่างเป็นทางการและการเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย-บาห์เรน (the High Joint Commission between the Kingdom of Thailand and Kingdom of Bahrain- HJC) ซึ่งมี H.E. Shaikh Mohammed bin Mubarak Al - Khalifa รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศบาห์เรนเป็นประธานร่วม ดังนี้
1. การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงกับบาห์เรนครั้งนี้เป็นครั้งแรกและ บาห์เรนเป็นประเทศแรกในกลุ่มประเทศอ่าวเปอร์เชียที่มีการประชุมในระดับนี้กับไทย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงนโยบายต่างประเทศของไทยที่ให้ความสำคัญกับการค้าเสรี ความสัมพันธ์และความร่วมมือกับประเทศเอเชียตะวันตก
2. ไทยและบาห์เรนมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น ผู้นำของทั้งสองประเทศต่างให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมความร่วมมือทวิภาคี การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงครั้งแรกนี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยมีผลของความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม ดังนี้
2.1 ทั้งสองฝ่ายรับทราบความคืบหน้าการดำเนินการในกรอบความตกลงว่าด้วยการเป็นพันธมิตรทางเศรษฐกิจไทยบาห์เรน (Framework Agreement on Closer Economic Partnership : CEP) ในส่วนของความตกลงเปิดการค้าเสรี นอกจากเปิดเสรีสำหรับสินค้าในกลุ่มearly harvest 600 กว่ารายการแล้ว ขณะนี้การเจรจากำลังเข้าสู่ phase 2 โดยฝ่ายไทยได้ยื่นรายการสินค้า 1,862 รายการ ที่จะลดภาษีระหว่างกัน โดยบาห์เรนจะสามารถเป็นประตูการค้า สำหรับสินค้าไทยที่จะส่งออกไปยังกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council - GCC) ทั้ง 6 ประเทศ ได้แก่ บาห์เรน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ โอมาน ซาอุดิอาระเบียและ คูเวต
2.2 ภาคเอกชนไทยประกอบด้วยสมาคมผู้ลงทุนและประกอบธุรกิจในต่างประเทศ (Overseas Business and Investment Association : OBIA) ประกอบด้วยกลุ่มธุรกิจประมาณ 10 สาขาซึ่งได้เดินทางมาพร้อมคณะนี้ด้วยได้เห็นชอบที่จะจัดตั้ง Thai Business Center ที่ Bahrain Mall เพื่อจัดโชว์และจำหน่ายสินค้าไทยต่างๆ รวมทั้งสินค้า OTOP แก่ชาวบาห์เรนและชาวซาอุดีอาระเบียที่ได้ขับรถเข้ามาเที่ยวบาห์เรนเป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้ ไทยและบาห์เรนแสดงความมุ่งมั่นที่จะจัดนิทรรศการด้านการค้าในประเทศอีกฝ่ายหนึ่ง โดยฝ่ายไทยจะจัด Thailand Exhibition ในบาห์เรนระหว่างวันที่ 26-28 เมษายน 2547 และฝ่ายบาห์เรนจะจัด Bahrain Trade and Tourism Exhibition ในไทยในปี 2548
2.3 ในด้านความร่วมมือด้านการเงินและการธนาคาร ฝ่ายบาห์เรนได้แสดงความประสงค์ที่จะลงทุนในธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ตลอดจนการจัดตั้งสาขาธนาคารอิสลามบาห์เรนในประเทศไทยด้วย ซึ่งฝ่ายไทยรับจะไปพิจารณากฎระเบียบที่จะช่วยส่งเสริมการลงทุนที่เป็นประโยชน์ของบาห์เรนในไทยต่อไป
2.4 ในกรอบความร่วมมือเอเชีย (ACD) ซึ่งบาห์เรนเป็นประเทศแกนนำในสาขาความมั่นคงด้านพลังงาน และบาห์เรนได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Energy Security เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมานั้น ฝ่ายไทยได้เชิญบาห์เรนเข้าร่วมโครงการ Asian Bond Fund ในส่วนของกองทุนที่ 2 และเข้าร่วมการประชุมคณะทำงานด้านการเงินของ ACD และการประชุมรัฐมนตรีคลัง ACD ในระหว่างวันที่ 1-2 พฤษภาคม 2547
2.5 ในด้านพลังงาน ฝ่ายไทยได้เชิญบาห์เรนไปลงทุนในโครงการ oil trading center และ Land Bridge ของไทย ซึ่งทางบาห์เรนได้แสดงความสนใจมากในฐานะประเทศที่ตั้งโรงกลั่นและประเทศผู้ค้าขายน้ำมัน นอกจากนี้ บริษัท ปตท.สผ. ของไทยและบริษัท Bahrain Petroleum Company (BAPCO) ได้แสดงความสนใจที่จะศึกษาลู่ทางการร่วมสำรวจและผลิตในแหล่งน้ำมันนอกชายฝั่งแปลงที่ 1 ของบาห์เรน
2.6 ในส่วนของธุรกิจก่อสร้าง บาห์เรนแจ้งว่าพร้อมที่จะเปิดโอกาสและสนับสนุนกลุ่มธุรกิจก่อสร้างไทยให้เข้าไปรับงานในบาห์เรน โดยเฉพาะในโครงการ Bahrain Financial Harbour และ Sitar Causeway โดยขอให้กลุ่มธุรกิจไทยรีบแสดงเจตจำนงค์เพื่อเข้าร่วมการประมูลโครงการดังกล่าวต่อไป
นอกจากนี้ ฝ่ายบาห์เรนได้แสดงความสนใจในโครงการบ้านพักอาศัยต้นทุนต่ำของไทยอย่างมาก ซึ่งผู้ว่าการเคหะแห่งชาติที่เดินทางไปพร้อมคณะฯ ได้บรรยายสรุปผลการ ดำเนินงานโครงการดังกล่าวให้ที่ประชุมทราบด้วย ซึ่งหากเรื่องนี้สัมฤทธิ์ผล ก็จักเป็นโอกาสอันดีสำหรับการเคหะแห่งชาติที่จะร่วมโครง Low cost housing ของบาห์เรนต่อไป
2.7 ฝ่ายบาห์เรนแสดงความสนใจที่จะร่วมมือกับไทยในด้านการทดสอบคุณภาพอัญมณี และขอความร่วมมือด้านบุคคลากรที่มีทักษะฝีมือแรงงานในด้านนี้ เพื่อแสวงหาความร่วมมือทางธุรกิจต่อไป โดยเฉพาะโครงการของบาห์เรนที่จะจัดตั้ง Jewelry Exchange Center ที่บาห์เรน
2.8 ในส่วนของความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว ไทยและบาห์เรนเห็นพ้องกันที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยว และทางบาห์เรนได้จัดส่งบันทึกความเข้าใจด้านการท่องเที่ยวให้ฝ่ายไทยพิจารณาด้วยแล้ว และจะได้พยายามเร่งรัดความร่วมมือด้านนี้ นอกจากนี้ บาห์เรนได้แจ้งด้วยว่าจะใช้สนามบินในกรุงเทพฯ ของไทยเป็น Air Hub สำหรับสายการบิน Gulf Air ที่จะขยายเส้นทางการบินสู่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาค อาทิ จีนและเกาหลีใต้
3. ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้มีโอกาสได้เข้าเฝ้าฯ His Majesty King Hamad bin Isa Al Khalifa กษัตริย์บาห์เรนเป็นกรณีพิเศษ และเข้าเฝ้าฯ H.H. Shaikh Khalifa bin Salman Al Khalifa นายกรัฐมนตรีบาห์เรน ตลอดจนเข้าพบหารือกับ H.E. Abdulla Hassan Saif รัฐมนตรีการคลังและเศรษฐกิจแห่งชาติบาห์เรนอีกด้วย ฝ่ายบาห์เรนได้ให้การต้อนรับคณะฝ่ายไทยอย่างอบอุ่นฉันทมิตร ซึ่งสะท้อนถึงมิตรภาพที่ใกล้ชิดระหว่างสองประเทศ
4. ฝ่ายบาห์เรนได้แสดงความพร้อมที่จะสนับสนุนโครงการการจัดตั้งมหาวิทยาลัย Al - Azhar ของอียิปต์ในประเทศไทย ซึ่งกษัตริย์บาห์เรนได้แสดงความสนับสนุนและทรงชี้แนะว่า หลักสูตรการศึกษาในมหาวิทยาลัยดังกล่าวควรครอบคลุมทั้งเรื่องศาสนาและวิชาชีพอื่นๆ ไปพร้อมกันด้วย ทั้งนี้ ไทยได้เคยทาบทามประเทศบรูไนและมาเลเซียในเรื่องนี้มาก่อนหน้านี้ด้วยแล้ว ดังนั้นการสนับสนุนการจัดตั้งมหาวิทยาลัยดังกล่าวของอิยิปต์ บรูไน มาเลเซียและบาร์เรน จะช่วยส่งเสริมการศึกษาชาวไทยมุสลิมในอนาคตอย่างมาก
5. นายกรัฐมนตรีบาร์เรนได้แสดงความชื่นชมประเทศไทยในการให้บริการทางการแพทย์ว่ามีคุณภาพและราคาสมเหตุผล และประสงค์ให้โรงพยาบาลต่างๆ ของไทยมีความร่วมมือที่ใกล้ชิดกับโรงพยาบาลบาห์เรน ทั้งนี้ ปัจจุบันมีชาวบาห์เรน โอมานและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี)นับหมื่นๆ คนที่เดินทางมายังประเทศไทยเพื่อรับบริการทางการแพทย์
6. ความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและความร่วมมือที่ใกล้ชิดระหว่างไทย — บาห์เรนเป็น ตัวอย่างที่ดีสำหรับการขยายความสัมพันธ์สู่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ ซึ่งขณะนี้ทั้งประเทศโอมาน คูเวต และยูเออี ต่างแสดงความสนใจที่จะขยายความร่วมมือกับไทยและเข้าร่วมเป็นสมาชิกของการประชุมความร่วมมือเอเชีย (ACD) ต่อไปอีกด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2547 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้สรุปผลการเยือนประเทศบาร์เรนอย่างเป็นทางการและการเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย-บาห์เรน (the High Joint Commission between the Kingdom of Thailand and Kingdom of Bahrain- HJC) ซึ่งมี H.E. Shaikh Mohammed bin Mubarak Al - Khalifa รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศบาห์เรนเป็นประธานร่วม ดังนี้
1. การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงกับบาห์เรนครั้งนี้เป็นครั้งแรกและ บาห์เรนเป็นประเทศแรกในกลุ่มประเทศอ่าวเปอร์เชียที่มีการประชุมในระดับนี้กับไทย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงนโยบายต่างประเทศของไทยที่ให้ความสำคัญกับการค้าเสรี ความสัมพันธ์และความร่วมมือกับประเทศเอเชียตะวันตก
2. ไทยและบาห์เรนมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น ผู้นำของทั้งสองประเทศต่างให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมความร่วมมือทวิภาคี การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงครั้งแรกนี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยมีผลของความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม ดังนี้
2.1 ทั้งสองฝ่ายรับทราบความคืบหน้าการดำเนินการในกรอบความตกลงว่าด้วยการเป็นพันธมิตรทางเศรษฐกิจไทยบาห์เรน (Framework Agreement on Closer Economic Partnership : CEP) ในส่วนของความตกลงเปิดการค้าเสรี นอกจากเปิดเสรีสำหรับสินค้าในกลุ่มearly harvest 600 กว่ารายการแล้ว ขณะนี้การเจรจากำลังเข้าสู่ phase 2 โดยฝ่ายไทยได้ยื่นรายการสินค้า 1,862 รายการ ที่จะลดภาษีระหว่างกัน โดยบาห์เรนจะสามารถเป็นประตูการค้า สำหรับสินค้าไทยที่จะส่งออกไปยังกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council - GCC) ทั้ง 6 ประเทศ ได้แก่ บาห์เรน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ โอมาน ซาอุดิอาระเบียและ คูเวต
2.2 ภาคเอกชนไทยประกอบด้วยสมาคมผู้ลงทุนและประกอบธุรกิจในต่างประเทศ (Overseas Business and Investment Association : OBIA) ประกอบด้วยกลุ่มธุรกิจประมาณ 10 สาขาซึ่งได้เดินทางมาพร้อมคณะนี้ด้วยได้เห็นชอบที่จะจัดตั้ง Thai Business Center ที่ Bahrain Mall เพื่อจัดโชว์และจำหน่ายสินค้าไทยต่างๆ รวมทั้งสินค้า OTOP แก่ชาวบาห์เรนและชาวซาอุดีอาระเบียที่ได้ขับรถเข้ามาเที่ยวบาห์เรนเป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้ ไทยและบาห์เรนแสดงความมุ่งมั่นที่จะจัดนิทรรศการด้านการค้าในประเทศอีกฝ่ายหนึ่ง โดยฝ่ายไทยจะจัด Thailand Exhibition ในบาห์เรนระหว่างวันที่ 26-28 เมษายน 2547 และฝ่ายบาห์เรนจะจัด Bahrain Trade and Tourism Exhibition ในไทยในปี 2548
2.3 ในด้านความร่วมมือด้านการเงินและการธนาคาร ฝ่ายบาห์เรนได้แสดงความประสงค์ที่จะลงทุนในธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ตลอดจนการจัดตั้งสาขาธนาคารอิสลามบาห์เรนในประเทศไทยด้วย ซึ่งฝ่ายไทยรับจะไปพิจารณากฎระเบียบที่จะช่วยส่งเสริมการลงทุนที่เป็นประโยชน์ของบาห์เรนในไทยต่อไป
2.4 ในกรอบความร่วมมือเอเชีย (ACD) ซึ่งบาห์เรนเป็นประเทศแกนนำในสาขาความมั่นคงด้านพลังงาน และบาห์เรนได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Energy Security เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมานั้น ฝ่ายไทยได้เชิญบาห์เรนเข้าร่วมโครงการ Asian Bond Fund ในส่วนของกองทุนที่ 2 และเข้าร่วมการประชุมคณะทำงานด้านการเงินของ ACD และการประชุมรัฐมนตรีคลัง ACD ในระหว่างวันที่ 1-2 พฤษภาคม 2547
2.5 ในด้านพลังงาน ฝ่ายไทยได้เชิญบาห์เรนไปลงทุนในโครงการ oil trading center และ Land Bridge ของไทย ซึ่งทางบาห์เรนได้แสดงความสนใจมากในฐานะประเทศที่ตั้งโรงกลั่นและประเทศผู้ค้าขายน้ำมัน นอกจากนี้ บริษัท ปตท.สผ. ของไทยและบริษัท Bahrain Petroleum Company (BAPCO) ได้แสดงความสนใจที่จะศึกษาลู่ทางการร่วมสำรวจและผลิตในแหล่งน้ำมันนอกชายฝั่งแปลงที่ 1 ของบาห์เรน
2.6 ในส่วนของธุรกิจก่อสร้าง บาห์เรนแจ้งว่าพร้อมที่จะเปิดโอกาสและสนับสนุนกลุ่มธุรกิจก่อสร้างไทยให้เข้าไปรับงานในบาห์เรน โดยเฉพาะในโครงการ Bahrain Financial Harbour และ Sitar Causeway โดยขอให้กลุ่มธุรกิจไทยรีบแสดงเจตจำนงค์เพื่อเข้าร่วมการประมูลโครงการดังกล่าวต่อไป
นอกจากนี้ ฝ่ายบาห์เรนได้แสดงความสนใจในโครงการบ้านพักอาศัยต้นทุนต่ำของไทยอย่างมาก ซึ่งผู้ว่าการเคหะแห่งชาติที่เดินทางไปพร้อมคณะฯ ได้บรรยายสรุปผลการ ดำเนินงานโครงการดังกล่าวให้ที่ประชุมทราบด้วย ซึ่งหากเรื่องนี้สัมฤทธิ์ผล ก็จักเป็นโอกาสอันดีสำหรับการเคหะแห่งชาติที่จะร่วมโครง Low cost housing ของบาห์เรนต่อไป
2.7 ฝ่ายบาห์เรนแสดงความสนใจที่จะร่วมมือกับไทยในด้านการทดสอบคุณภาพอัญมณี และขอความร่วมมือด้านบุคคลากรที่มีทักษะฝีมือแรงงานในด้านนี้ เพื่อแสวงหาความร่วมมือทางธุรกิจต่อไป โดยเฉพาะโครงการของบาห์เรนที่จะจัดตั้ง Jewelry Exchange Center ที่บาห์เรน
2.8 ในส่วนของความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว ไทยและบาห์เรนเห็นพ้องกันที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยว และทางบาห์เรนได้จัดส่งบันทึกความเข้าใจด้านการท่องเที่ยวให้ฝ่ายไทยพิจารณาด้วยแล้ว และจะได้พยายามเร่งรัดความร่วมมือด้านนี้ นอกจากนี้ บาห์เรนได้แจ้งด้วยว่าจะใช้สนามบินในกรุงเทพฯ ของไทยเป็น Air Hub สำหรับสายการบิน Gulf Air ที่จะขยายเส้นทางการบินสู่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาค อาทิ จีนและเกาหลีใต้
3. ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้มีโอกาสได้เข้าเฝ้าฯ His Majesty King Hamad bin Isa Al Khalifa กษัตริย์บาห์เรนเป็นกรณีพิเศษ และเข้าเฝ้าฯ H.H. Shaikh Khalifa bin Salman Al Khalifa นายกรัฐมนตรีบาห์เรน ตลอดจนเข้าพบหารือกับ H.E. Abdulla Hassan Saif รัฐมนตรีการคลังและเศรษฐกิจแห่งชาติบาห์เรนอีกด้วย ฝ่ายบาห์เรนได้ให้การต้อนรับคณะฝ่ายไทยอย่างอบอุ่นฉันทมิตร ซึ่งสะท้อนถึงมิตรภาพที่ใกล้ชิดระหว่างสองประเทศ
4. ฝ่ายบาห์เรนได้แสดงความพร้อมที่จะสนับสนุนโครงการการจัดตั้งมหาวิทยาลัย Al - Azhar ของอียิปต์ในประเทศไทย ซึ่งกษัตริย์บาห์เรนได้แสดงความสนับสนุนและทรงชี้แนะว่า หลักสูตรการศึกษาในมหาวิทยาลัยดังกล่าวควรครอบคลุมทั้งเรื่องศาสนาและวิชาชีพอื่นๆ ไปพร้อมกันด้วย ทั้งนี้ ไทยได้เคยทาบทามประเทศบรูไนและมาเลเซียในเรื่องนี้มาก่อนหน้านี้ด้วยแล้ว ดังนั้นการสนับสนุนการจัดตั้งมหาวิทยาลัยดังกล่าวของอิยิปต์ บรูไน มาเลเซียและบาร์เรน จะช่วยส่งเสริมการศึกษาชาวไทยมุสลิมในอนาคตอย่างมาก
5. นายกรัฐมนตรีบาร์เรนได้แสดงความชื่นชมประเทศไทยในการให้บริการทางการแพทย์ว่ามีคุณภาพและราคาสมเหตุผล และประสงค์ให้โรงพยาบาลต่างๆ ของไทยมีความร่วมมือที่ใกล้ชิดกับโรงพยาบาลบาห์เรน ทั้งนี้ ปัจจุบันมีชาวบาห์เรน โอมานและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี)นับหมื่นๆ คนที่เดินทางมายังประเทศไทยเพื่อรับบริการทางการแพทย์
6. ความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและความร่วมมือที่ใกล้ชิดระหว่างไทย — บาห์เรนเป็น ตัวอย่างที่ดีสำหรับการขยายความสัมพันธ์สู่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ ซึ่งขณะนี้ทั้งประเทศโอมาน คูเวต และยูเออี ต่างแสดงความสนใจที่จะขยายความร่วมมือกับไทยและเข้าร่วมเป็นสมาชิกของการประชุมความร่วมมือเอเชีย (ACD) ต่อไปอีกด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-