กรุงเทพ--17 ก.พ.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2547 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ไปเยี่ยมกระทรวงวัฒนธรรมและประชุมร่วมกับนายอนุรักษ์ จุรีมาศ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ที่ห้องประชุมกระทรวงวัฒนธรรม โดยมีนายสรจักร เกษมสุวรรณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศและนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรมและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของทั้งสองกระทรวงเข้าร่วมประชุมด้วย ภายหลัง การประชุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้แถลงข่าวร่วมกัน สรุปได้ดังนี้
1. การประชุมร่วมกันครั้งนี้ กระทรวงวัฒนธรรมได้เชิญกระทรวงการต่างประเทศ มาประชุมร่วมกันตามนโยบายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีที่ต้องการให้การดำเนินการในเรื่องต่างๆ มีบูรณาการมากขึ้นและไม่ต้องการเห็นกำแพงกั้นระหว่างกระทรวงต่างๆ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศก็ได้ดำเนินนโยบายนี้มาตลอดกับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง กระทรวงแรงงาน
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและคณะได้นำเสนอต่อกระทรวงการต่าง ประเทศเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ของกระทรวงวัฒนธรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้นำเสนอต่อกระทรวงวัฒนธรรมเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศทั้งหมด ที่เป็นยุทธศาสตร์สำคัญ เช่น ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน ความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศ อาเซียน 10 ประเทศ กรอบการประชุมความร่วมมือเอเชีย (ACD) ซึ่งมีสมาชิก 22 ประเทศ ยุทธศาสตร์ความสัมพันธ์ทวิภาคีกับประเทศสำคัญๆ ทั้งหลาย อาทิ สหรัฐฯ ประเทศในยุโรป จีน ญี่ปุ่น พร้อมทั้งได้แจ้งว่าไทยได้ลงนามความตกลงทางด้านวัฒนธรรมกับประเทศต่างๆ ไปแล้ว 27 ประเทศ
3. กระทรวงทั้งสองได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันว่าในความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ นั้นมีจุดเกาะเกี่ยวทางด้านวัฒนธรรมที่มีความสำคัญอย่างไรบ้าง โดยกระทรวงการต่างประเทศมีกรมสารนิเทศเป็นผู้รับผิดชอบดูแลทางด้านการทูตเชิงวัฒนธรรม (cultural diplomacy) เพราะกระทรวงการต่างประเทศถือว่าวัฒนธรรมเป็นสื่อสำคัญที่สุดในความสัมพันธ์ในภาคประชาชน ( people to people contact) ซึ่งเป็นการติดต่อสื่อสารกันในระดับประชาชน นโยบายต่างประเทศของไทยนั้นถือว่าความสัมพันธ์ภาคประชาชนเป็นรากฐานที่แน่นแฟ้นที่สุดของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาล นักธุรกิจ นักการเมืองจะสมบูรณ์แน่นแฟ้นไม่ได้ถ้าความสัมพันธ์ในภาคประชาชนไม่มีความเข้าใจกัน หรือไม่มีความสามารถในการสื่อสารกัน ทั้งนี้ วัฒนธรรมในความหมายอย่างกว้างนั้นรวมถึงความเข้าใจกันทางด้านอารยธรรม วิธีคิด ประวัติศาสตร์ ความเชื่อมโยงต่างๆ อันเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของความสัมพันธ์ในภาคประชาชน
4. สองฝ่ายได้หารือร่วมกันเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยกระทรวงการต่างประเทศจะร่วมมือกับกระทรวงวัฒนธรรมเพื่อให้มีกลไกในการสร้างความเข้าใจกันทางด้านวัฒนธรรมระหว่างประชาชน เช่น ในกรณีความสัมพันธ์กับกัมพูชานั้น ทั้งสองฝ่ายมีคณะกรรมการสมาคมร่วมทางวัฒนธรรมระหว่างกันอยู่แล้ว ดังนั้น กระทรวงการต่างประเทศจะขอความร่วมมือจากกระทรวงวัฒนธรรมในการจัดให้นักวิชาการหรือผู้รู้ของไทย-กัมพูชาได้มีโอกาสทำความเข้าใจและ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเรื่องประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมต่างๆ ซึ่งควรจะรวมถึงการชำระบทเรียนเพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างกันให้มากขึ้น และมีภาพพจน์ที่ดีต่อกันด้วย ส่วนในด้านความสัมพันธ์กับลาว พม่า และเวียดนาม นั้น ประชาชนของไทยและประเทศดังกล่าวรู้จักกันทางด้านวัฒนธรรมค่อนข้างน้อยทั้งๆ ที่มีความใกล้ชิดกันมาก จึงต้องมีการส่งเสริมความเข้าใจกันทางวัฒนธรรมให้ มากขึ้น
5. ในการร่วมมือกันส่งเสริมวัฒนธรรมไทยในต่างประเทศดังกล่าว กระทรวงการ ต่างประเทศและกระทรวงวัฒนธรรมได้ตกลงกันดังนี้
5.1 คณะของสองกระทรวงโดยนายสรจักร เกษมสุวรรณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ และนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรมจะเป็นประธานร่วมในการยกร่างยุทธศาสตร์ทางด้านการทูตเชิงวัฒนธรรมขึ้น และปลัดกระทรวงการ ต่างประเทศกับปลัดกระทรวงวัฒนธรรมก็จะดูแลทางด้านปฏิบัติการตามแผนยุทธศาสตร์เกี่ยวกับ กิจกรรมทางวัฒนธรรมกับต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศเพื่อนบ้าน กลุ่มอาเซียน กลุ่ม ACD และประเทศสำคัญๆ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี ยุโรปตะวันออก รวมถึงกับประเทศที่ไทยมีความตกลงทางวัฒนธรรมอยู่แล้ว 27 ประเทศ ซึ่งยังมีกิจกรรมระหว่างกันอยู่น้อยด้วยโดยให้เริ่มดำเนินการตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2547 และให้นำงบประมาณทั้งสองกระทรวงมารวมกัน ถ้างบประมาณ ไม่พอและมีความจำเป็นต้องใช้งบประมาณเพิ่มก็จะของบกลางจากรัฐบาล สำหรับในปีงบประมาณ 2548 เมื่อมียุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการร่วมกันแล้ว ทั้งสองกระทรวงจะจัดสรรงบประมาณตามแผนปฏิบัติการร่วมกัน
5.2 กระทรวงการต่างประเทศขอให้กระทรวงวัฒนธรรมเข้ามามีส่วนร่วมในการ อบรมข้าราชการของกระทรวงฯ ตลอดจนพบหารือกับเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ในการประชุม เอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ประจำปี เพื่อทำความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับการนำเสนอวัฒนธรรม ของไทยในต่างประเทศ ซึ่งปลัดกระทรวงวัฒนธรรมก็พร้อมจะให้ความร่วมมือ
5.3 กระทรวงการต่างประเทศจะประสานข้อมูลกับกระทรวงวัฒนธรรมเกี่ยวกับการ เดินทางไปเยือนต่างประเทศของนายกรัฐมนตรี โดยกระทรวงการต่างประเทศจะส่งแผนงานให้กระทรวงวัฒนธรรมทราบเกี่ยวกับประเทศที่จะไปเยือน และจะพิจารณาร่วมกันว่าในการเดินทางเยือนของ นายกรัฐมนตรีนั้นควรจะมีกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรมเสริมอย่างไรหรือไม่ เพราะหลายๆ ครั้งๆ ประเทศ ที่ไปเยือนได้หยิบยกประเด็นความร่วมมือทางวัฒนธรรมขึ้นมาหารือ พร้อมทั้งนำไปเยี่ยมชมสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ฝ่ายไทยจึงควรที่จะมีการนำวัฒนธรรมไทยไปเสนอต่างประเทศในระหว่างการเยือนด้วย นอกจากนั้นในระดับการเยือนอย่างเป็นทางการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศก็จะส่งข้อมูลไปให้กระทรวงวัฒนธรรมว่าจะมีการเยือนประเทศใดบ้างเช่นเดียวกัน และทั้งสองกระทรวงจะพิจารณาร่วมกันว่าควรจะจัดกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรมอะไรไปร่วมด้วย เช่น นิทรรศการ การแสดงอาหารไทย นาฏศิลป์หรือสถาปัตยกรรมไทย
5.4 ทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันพิจารณาใช้ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Asset) เพื่อเพิ่มมูลค่าทางสังคมและเศรษฐกิจ โดยทั้งสองฝ่ายเห็นว่าทุนทางวัฒนธรรมที่สำคัญสามารถเพิ่มสินทรัพย์ของชาติ (National asset) ได้ เพราะฉะนั้นการรักษาหรืออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมต่างๆ นอกจากเพื่อคงคุณค่าของวัฒนธรรมในตัวเองแล้ว ยังเป็นการอนุรักษ์เพื่อเป็นสินทรัพย์ของชาติที่เป็นฐานของการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจในการหารายได้เข้าประเทศด้วย เช่นเดียวกับบางประเทศที่ดำเนินการประสบความสำเร็จมาแล้ว เช่น ฝรั่งเศส อิตาลี ดังนั้น กระทรวงการต่างประเทศจะยินดีสนับสนุนกระทรวงวัฒนธรรมในเรื่องนี้
5.5 ทั้งสองฝ่ายจะวางแผนร่วมกันในการแก้ไขภาพพจน์ของไทยในบางประเทศ ที่มีภาพลบของไทยอยู่ และในประเทศที่รู้จักประเทศไทยไม่มากเท่าที่ควรแต่มีศักยภาพที่จะเพิ่มพูน ประโยชน์ทางด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจแก่ไทย ทั้งสองกระทรวงก็จะดำเนินการส่งเสริม วัฒนธรรมไทยร่วมกัน นอกจากนี้ กระทรวงวัฒนธรรมได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการจัดตั้งตลาดนัดศิลปะ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีและน่าสนใจอย่างยิ่ง และการปรับปรุงศูนย์วัฒนธรรมให้เป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมในภูมิภาค ซึ่งเป็นการดำเนินนโยบายทางวัฒนธรรมเชิงรุก (pro-active) เพื่อทำให้ประเทศไทยเป็นประตู (Gateway) ทางด้านวัฒนธรรม ซึ่งไทยสามารถเปิดให้ประเทศเพื่อนบ้านมาแสดงทักษะทางด้านศิลปวัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้านในไทยได้ด้วย ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศจะให้การสนับสนุนเช่นเดียวกัน
5.6 ทั้งสองกระทรวงจะสนับสนุนการมีเครื่องดนตรีไทยประจำสถานทูตบางแห่ง โดยอาจจะมีประมาณ 4-5 แห่ง ตามภูมิภาคต่างๆ โดยการจัดซื้อแล้วส่งไปให้สถานทูตดังกล่าวเก็บรักษาไว้ เพื่อจัดแสดงในโอกาสที่มีศิลปินไทยเดินทางไปแสดงในประเทศนั้นๆ หรือประเทศใกล้เคียง เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการขนส่งเครื่องดนตรีแต่ละครั้งซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง
6. ในการประชุมหารือกันครั้งนี้ ทั้งสองกระทรวงมีความเห็นตรงกันว่าภาพยนตร์ไทยเรื่อง "โหมโรง" ที่ได้มีการฉายอยู่ในขณะนี้ สามารถสะท้อนถึงศิลปวัฒนธรรมและดนตรีของไทยได้ อย่างดี และเป็นเรื่องชีวประวัติของหลวงประดิษฐ์ไพเราะ ซึ่งเป็นครูเพลงชั้นนำของประเทศไทย ดังนั้น สองกระทรวงจะเป็นประธานร่วมกันในการจัดฉายภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวรอบพิเศษขึ้นที่โรงภาพยนตร์เฉลิมกรุงในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2547 เวลา 19.45 น. โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมจะเป็นประธานร่วมกันในการเชิญเอกอัครราชทูตต่างประเทศ และ ตัวแทนองค์การระหว่างประเทศที่ประจำอยู่ในประเทศไทย พร้อมด้วยภริยามาชมภาพยนตร์เรื่องนี้ ซึ่งถือว่าเป็นภาพยนตร์ที่ส่งเสริมภาพลักษณ์ของไทยได้อย่างถูกต้อง การที่ตัวแทนประเทศต่างๆ เข้าใจประเทศไทยอย่างดีและถูกต้องจะทำให้การส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทยในต่างประเทศมีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2547 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ไปเยี่ยมกระทรวงวัฒนธรรมและประชุมร่วมกับนายอนุรักษ์ จุรีมาศ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ที่ห้องประชุมกระทรวงวัฒนธรรม โดยมีนายสรจักร เกษมสุวรรณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศและนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรมและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของทั้งสองกระทรวงเข้าร่วมประชุมด้วย ภายหลัง การประชุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้แถลงข่าวร่วมกัน สรุปได้ดังนี้
1. การประชุมร่วมกันครั้งนี้ กระทรวงวัฒนธรรมได้เชิญกระทรวงการต่างประเทศ มาประชุมร่วมกันตามนโยบายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีที่ต้องการให้การดำเนินการในเรื่องต่างๆ มีบูรณาการมากขึ้นและไม่ต้องการเห็นกำแพงกั้นระหว่างกระทรวงต่างๆ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศก็ได้ดำเนินนโยบายนี้มาตลอดกับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง กระทรวงแรงงาน
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและคณะได้นำเสนอต่อกระทรวงการต่าง ประเทศเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ของกระทรวงวัฒนธรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้นำเสนอต่อกระทรวงวัฒนธรรมเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศทั้งหมด ที่เป็นยุทธศาสตร์สำคัญ เช่น ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน ความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศ อาเซียน 10 ประเทศ กรอบการประชุมความร่วมมือเอเชีย (ACD) ซึ่งมีสมาชิก 22 ประเทศ ยุทธศาสตร์ความสัมพันธ์ทวิภาคีกับประเทศสำคัญๆ ทั้งหลาย อาทิ สหรัฐฯ ประเทศในยุโรป จีน ญี่ปุ่น พร้อมทั้งได้แจ้งว่าไทยได้ลงนามความตกลงทางด้านวัฒนธรรมกับประเทศต่างๆ ไปแล้ว 27 ประเทศ
3. กระทรวงทั้งสองได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันว่าในความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ นั้นมีจุดเกาะเกี่ยวทางด้านวัฒนธรรมที่มีความสำคัญอย่างไรบ้าง โดยกระทรวงการต่างประเทศมีกรมสารนิเทศเป็นผู้รับผิดชอบดูแลทางด้านการทูตเชิงวัฒนธรรม (cultural diplomacy) เพราะกระทรวงการต่างประเทศถือว่าวัฒนธรรมเป็นสื่อสำคัญที่สุดในความสัมพันธ์ในภาคประชาชน ( people to people contact) ซึ่งเป็นการติดต่อสื่อสารกันในระดับประชาชน นโยบายต่างประเทศของไทยนั้นถือว่าความสัมพันธ์ภาคประชาชนเป็นรากฐานที่แน่นแฟ้นที่สุดของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาล นักธุรกิจ นักการเมืองจะสมบูรณ์แน่นแฟ้นไม่ได้ถ้าความสัมพันธ์ในภาคประชาชนไม่มีความเข้าใจกัน หรือไม่มีความสามารถในการสื่อสารกัน ทั้งนี้ วัฒนธรรมในความหมายอย่างกว้างนั้นรวมถึงความเข้าใจกันทางด้านอารยธรรม วิธีคิด ประวัติศาสตร์ ความเชื่อมโยงต่างๆ อันเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของความสัมพันธ์ในภาคประชาชน
4. สองฝ่ายได้หารือร่วมกันเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยกระทรวงการต่างประเทศจะร่วมมือกับกระทรวงวัฒนธรรมเพื่อให้มีกลไกในการสร้างความเข้าใจกันทางด้านวัฒนธรรมระหว่างประชาชน เช่น ในกรณีความสัมพันธ์กับกัมพูชานั้น ทั้งสองฝ่ายมีคณะกรรมการสมาคมร่วมทางวัฒนธรรมระหว่างกันอยู่แล้ว ดังนั้น กระทรวงการต่างประเทศจะขอความร่วมมือจากกระทรวงวัฒนธรรมในการจัดให้นักวิชาการหรือผู้รู้ของไทย-กัมพูชาได้มีโอกาสทำความเข้าใจและ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเรื่องประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมต่างๆ ซึ่งควรจะรวมถึงการชำระบทเรียนเพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างกันให้มากขึ้น และมีภาพพจน์ที่ดีต่อกันด้วย ส่วนในด้านความสัมพันธ์กับลาว พม่า และเวียดนาม นั้น ประชาชนของไทยและประเทศดังกล่าวรู้จักกันทางด้านวัฒนธรรมค่อนข้างน้อยทั้งๆ ที่มีความใกล้ชิดกันมาก จึงต้องมีการส่งเสริมความเข้าใจกันทางวัฒนธรรมให้ มากขึ้น
5. ในการร่วมมือกันส่งเสริมวัฒนธรรมไทยในต่างประเทศดังกล่าว กระทรวงการ ต่างประเทศและกระทรวงวัฒนธรรมได้ตกลงกันดังนี้
5.1 คณะของสองกระทรวงโดยนายสรจักร เกษมสุวรรณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ และนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรมจะเป็นประธานร่วมในการยกร่างยุทธศาสตร์ทางด้านการทูตเชิงวัฒนธรรมขึ้น และปลัดกระทรวงการ ต่างประเทศกับปลัดกระทรวงวัฒนธรรมก็จะดูแลทางด้านปฏิบัติการตามแผนยุทธศาสตร์เกี่ยวกับ กิจกรรมทางวัฒนธรรมกับต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศเพื่อนบ้าน กลุ่มอาเซียน กลุ่ม ACD และประเทศสำคัญๆ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี ยุโรปตะวันออก รวมถึงกับประเทศที่ไทยมีความตกลงทางวัฒนธรรมอยู่แล้ว 27 ประเทศ ซึ่งยังมีกิจกรรมระหว่างกันอยู่น้อยด้วยโดยให้เริ่มดำเนินการตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2547 และให้นำงบประมาณทั้งสองกระทรวงมารวมกัน ถ้างบประมาณ ไม่พอและมีความจำเป็นต้องใช้งบประมาณเพิ่มก็จะของบกลางจากรัฐบาล สำหรับในปีงบประมาณ 2548 เมื่อมียุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการร่วมกันแล้ว ทั้งสองกระทรวงจะจัดสรรงบประมาณตามแผนปฏิบัติการร่วมกัน
5.2 กระทรวงการต่างประเทศขอให้กระทรวงวัฒนธรรมเข้ามามีส่วนร่วมในการ อบรมข้าราชการของกระทรวงฯ ตลอดจนพบหารือกับเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ในการประชุม เอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ประจำปี เพื่อทำความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับการนำเสนอวัฒนธรรม ของไทยในต่างประเทศ ซึ่งปลัดกระทรวงวัฒนธรรมก็พร้อมจะให้ความร่วมมือ
5.3 กระทรวงการต่างประเทศจะประสานข้อมูลกับกระทรวงวัฒนธรรมเกี่ยวกับการ เดินทางไปเยือนต่างประเทศของนายกรัฐมนตรี โดยกระทรวงการต่างประเทศจะส่งแผนงานให้กระทรวงวัฒนธรรมทราบเกี่ยวกับประเทศที่จะไปเยือน และจะพิจารณาร่วมกันว่าในการเดินทางเยือนของ นายกรัฐมนตรีนั้นควรจะมีกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรมเสริมอย่างไรหรือไม่ เพราะหลายๆ ครั้งๆ ประเทศ ที่ไปเยือนได้หยิบยกประเด็นความร่วมมือทางวัฒนธรรมขึ้นมาหารือ พร้อมทั้งนำไปเยี่ยมชมสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ฝ่ายไทยจึงควรที่จะมีการนำวัฒนธรรมไทยไปเสนอต่างประเทศในระหว่างการเยือนด้วย นอกจากนั้นในระดับการเยือนอย่างเป็นทางการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศก็จะส่งข้อมูลไปให้กระทรวงวัฒนธรรมว่าจะมีการเยือนประเทศใดบ้างเช่นเดียวกัน และทั้งสองกระทรวงจะพิจารณาร่วมกันว่าควรจะจัดกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรมอะไรไปร่วมด้วย เช่น นิทรรศการ การแสดงอาหารไทย นาฏศิลป์หรือสถาปัตยกรรมไทย
5.4 ทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันพิจารณาใช้ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Asset) เพื่อเพิ่มมูลค่าทางสังคมและเศรษฐกิจ โดยทั้งสองฝ่ายเห็นว่าทุนทางวัฒนธรรมที่สำคัญสามารถเพิ่มสินทรัพย์ของชาติ (National asset) ได้ เพราะฉะนั้นการรักษาหรืออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมต่างๆ นอกจากเพื่อคงคุณค่าของวัฒนธรรมในตัวเองแล้ว ยังเป็นการอนุรักษ์เพื่อเป็นสินทรัพย์ของชาติที่เป็นฐานของการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจในการหารายได้เข้าประเทศด้วย เช่นเดียวกับบางประเทศที่ดำเนินการประสบความสำเร็จมาแล้ว เช่น ฝรั่งเศส อิตาลี ดังนั้น กระทรวงการต่างประเทศจะยินดีสนับสนุนกระทรวงวัฒนธรรมในเรื่องนี้
5.5 ทั้งสองฝ่ายจะวางแผนร่วมกันในการแก้ไขภาพพจน์ของไทยในบางประเทศ ที่มีภาพลบของไทยอยู่ และในประเทศที่รู้จักประเทศไทยไม่มากเท่าที่ควรแต่มีศักยภาพที่จะเพิ่มพูน ประโยชน์ทางด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจแก่ไทย ทั้งสองกระทรวงก็จะดำเนินการส่งเสริม วัฒนธรรมไทยร่วมกัน นอกจากนี้ กระทรวงวัฒนธรรมได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการจัดตั้งตลาดนัดศิลปะ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีและน่าสนใจอย่างยิ่ง และการปรับปรุงศูนย์วัฒนธรรมให้เป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมในภูมิภาค ซึ่งเป็นการดำเนินนโยบายทางวัฒนธรรมเชิงรุก (pro-active) เพื่อทำให้ประเทศไทยเป็นประตู (Gateway) ทางด้านวัฒนธรรม ซึ่งไทยสามารถเปิดให้ประเทศเพื่อนบ้านมาแสดงทักษะทางด้านศิลปวัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้านในไทยได้ด้วย ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศจะให้การสนับสนุนเช่นเดียวกัน
5.6 ทั้งสองกระทรวงจะสนับสนุนการมีเครื่องดนตรีไทยประจำสถานทูตบางแห่ง โดยอาจจะมีประมาณ 4-5 แห่ง ตามภูมิภาคต่างๆ โดยการจัดซื้อแล้วส่งไปให้สถานทูตดังกล่าวเก็บรักษาไว้ เพื่อจัดแสดงในโอกาสที่มีศิลปินไทยเดินทางไปแสดงในประเทศนั้นๆ หรือประเทศใกล้เคียง เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการขนส่งเครื่องดนตรีแต่ละครั้งซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง
6. ในการประชุมหารือกันครั้งนี้ ทั้งสองกระทรวงมีความเห็นตรงกันว่าภาพยนตร์ไทยเรื่อง "โหมโรง" ที่ได้มีการฉายอยู่ในขณะนี้ สามารถสะท้อนถึงศิลปวัฒนธรรมและดนตรีของไทยได้ อย่างดี และเป็นเรื่องชีวประวัติของหลวงประดิษฐ์ไพเราะ ซึ่งเป็นครูเพลงชั้นนำของประเทศไทย ดังนั้น สองกระทรวงจะเป็นประธานร่วมกันในการจัดฉายภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวรอบพิเศษขึ้นที่โรงภาพยนตร์เฉลิมกรุงในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2547 เวลา 19.45 น. โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมจะเป็นประธานร่วมกันในการเชิญเอกอัครราชทูตต่างประเทศ และ ตัวแทนองค์การระหว่างประเทศที่ประจำอยู่ในประเทศไทย พร้อมด้วยภริยามาชมภาพยนตร์เรื่องนี้ ซึ่งถือว่าเป็นภาพยนตร์ที่ส่งเสริมภาพลักษณ์ของไทยได้อย่างถูกต้อง การที่ตัวแทนประเทศต่างๆ เข้าใจประเทศไทยอย่างดีและถูกต้องจะทำให้การส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทยในต่างประเทศมีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-