กรุงเทพ--18 ก.พ.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2547 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนผ่านทางโทรศัพท์เกี่ยวกับผลการเยือนประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้หารือ กับนาย Rashid Abdullah Al Nuaimi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศยูเออีและ H.H. Sheikh Nasyan bin Mubarak Al-Nasyan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการยูเออี ผลการหารือสรุปได้ดังนี้
1. ทั้งสองฝ่ายเห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับยูเออีเป็นไปด้วยดีมาตลอด แต่มีความห่างเหินกันบ้างในอดีต บัดนี้ความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันขึ้น ทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่า การเยือนครั้งนี้จะเป็นหน้าใหม่ (new chapter) ของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับยูเออี และสิ่งที่น่าสนใจในความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่ายคือ ธนาคารชาติของยูเออีเป็นธนาคารต่างชาติ แห่งแรกที่ปรับขยายระยะเวลาการชำระหนี้ให้ไทยเมื่อไทยประสบวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540
2. ทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่า จะมีการตั้งคณะกรรมาธิการร่วม (Joint Commission) ระดับปลัดกระทรวงขึ้นเพื่อดูแลความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศทุกเรื่อง เพราะปีหน้าจะมีการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ครบรอบ 30 ปี ระหว่างไทยกับยูเออี ทั้งสองฝ่ายจึงจะตั้งกลไกนี้เพื่อดูแลและกระชับความสัมพันธ์และติดตามเรื่องต่างๆ
3. ทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าจะเร่งลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ ซึ่งขณะนี้ทั้งสองฝ่ายกำลังพิจารณาร่างความตกลงดังกล่าวอยู่ ในโอกาสนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศยูเออีไปเยือนไทยและลงนามความตกลงดังกล่าวด้วย
4. ทั้งสองฝ่ายตกลงจะร่วมมือกันในสาขาต่างๆ ดังนี้
4.1 การประมงและการเกษตร ฝ่ายไทยจะให้ความร่วมมือกับยูเออีในด้าน การประมงที่ไทยมีประสบการณ์มาก นอกจากนั้น ฝ่ายยูเออีได้ให้ความสนใจด้านการเกษตรเพราะยูเออีมีโครงการทำเมืองให้เป็นสีเขียว โดยจะเห็นว่าเมืองอาบูดาบีซึ่งเป็นเมืองหลวง อยู่กลางทะเลทรายแต่ปลูกต้นไม้เขียวทั่วเมือง ซึ่งยูเออีลงทุนไปมาก แต่ในขณะเดียวกันก็มีปัญหาเรื่องโรคและแมลงในต้นไม้ ซึ่งฝ่ายไทยมีประสบการณ์ในเรื่องนี้และสามารถให้ความช่วยเหลือได้
4.2 ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว ทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันต่อไป และฝ่าย ไทยได้แจ้งให้ฝ่ายยูเออีทราบว่า ไทยมีบริการทางการแพทย์ (medical services) อย่างไรบ้าง ขณะนี้มีชาวยูเออีปีละประมาณ 12,000 คนมาประเทศไทยเพื่อตรวจและรักษาสุขภาพ ซึ่งบุคคลเหล่านี้อาจจะเป็นสมาชิกบัตร Thailand Elite Card ได้ ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตไทย จะให้ข้อมูลบุคคลดังกล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ต่อไป
4.3 ความร่วมมือทางด้านการศึกษา ฝ่ายยูเออีพร้อมที่จะร่วมมือกับไทยในการที่ไทยจะจัดตั้งสาขาของมหาวิทยาลัย Al-Azhar ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยอิสลามในไทย โดยจะให้คำแนะนำในประสบการณ์และการสร้างหลักสูตร พร้อมทั้งได้ให้ความเห็นว่ามหาวิทยาลัยดังกล่าวไม่ควรมีการสอนศาสนาอิสลามเพียงอย่างเดียว แต่ควรจะมีการสอนสาขาวิชาชีพอื่นๆ ด้วย ซึ่งยูเออีจะนำเสนอประสบการณ์ที่ยูเออีเคยมีกับไทยในเรื่องนี้
4.4 ความร่วมมือทางด้านพลังงาน ไทยได้แจ้งแก่ฝ่ายยูเออีว่า ไทยจะเป็นศูนย์กลางการค้าน้ำมันในภูมิภาค (Oil Trading Center) และ land bridge ทางด้านพลังงาน โดยกระทรวงพลังงานของไทยได้ขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศช่วยยื่นเอกสารเกี่ยวกับแนวคิด (Concept Paper) ให้แก่ฝ่ายยูเออี ซึ่งเป็นเอกสารที่อธิบายให้ทราบว่าแนวคิดเป็นอย่างไร และแนวทางความร่วมมือในเรื่องนี้เป็นอย่างไร เพื่อเชิญชวนให้ฝ่าย ยูเออีมาลงทุนกับไทย ซึ่งฝ่ายยูเออีได้แสดงความสนใจอย่างมาก และในขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของยูเออีได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ของยูเออี ซึ่งตีพิมพ์เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2547 ว่า ยูเออีมีความสนใจที่จะเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการ land bridge ทางด้านพลังงานของไทย
4.5 ความร่วมมือเกี่ยวกับ ACD ฝ่ายยูเออีได้แสดงความสนใจโดยได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอย่างเป็นทางการขอเข้าเป็นสมาชิก ACD เนื่องจากเห็นว่าจะสามารถมีส่วนร่วมและทำให้ ACD เข้มแข็งขึ้นได้ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศก็แจ้งว่า ประเทศไทยเห็นด้วยและไม่ขัดข้อง และในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ประสานงานของ ACD ก็ได้เริ่มหารือกับประเทศสมาชิกอื่นๆ หลายประเทศแล้ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเทศสมาชิก ACD 22 ประเทศ ที่จะประชุมกันในเดือนมิถุนายน 2547 ว่าจะมีมติอย่างไรในเรื่องนี้ สำหรับประเทศไทยนั้นยินดีให้การสนับสนุน
4.6 ความร่วมมือระหว่าง ASEAN กับ GCC ทั้งสองฝ่ายหารือกันว่า ทำอย่างไรจะให้ประเทศในกลุ่ม ASEAN ซึ่งมีสมาชิก 10 ประเทศ กับกลุ่มประเทศความ ร่วมมืออ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council - GCC) ซึ่งมีสมาชิกอยู่ 6 ประเทศ สามารถเชื่อมโยงและร่วมมือกันได้ทั้งในด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคงและการเมืองมากขึ้น ซึ่งเมื่อ รวมกันทั้งสองกลุ่มจะมีสมาชิกถึง 16 ประเทศ ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอว่าน่าจะมีการพบกันระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ 2 องค์กรนี้ แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีการพบกันที่เวทีการประชุมสหประชาชาติที่นครนิวยอร์กทุกปี
แต่เนื่องจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสองกลุ่มเดินทางไปไม่พร้อมกัน จึงเป็นเพียงการพบกันระหว่างตัวแทนของกลุ่ม GCC กับตัวแทนของกลุ่ม ASEAN และไม่มีการเจรจาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในระดับนโยบายและระดับรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจึงเสนอว่าในการประชุม ACD ประจำปี สมาชิกอาเซียน 10 ประเทศเข้าร่วมประชุมอยู่แล้ว และมีสมาชิกของ GCC เป็นสมาชิก ACD อยู่แล้ว 4 ประเทศ ถ้ายูเออีเป็นสมาชิก ACD อีกหนึ่งประเทศก็จะเพิ่มเป็น 5 ประเทศ เพราะฉะนั้น ในช่วงที่การประชุม ACD เสร็จแล้ว อาจมีการขยายเวลา เพื่อจัดประชุมระหว่าง ASEAN กับ GCC ต่อได้ ซึ่งจะทำให้มีความเชื่อมโยงระหว่างสองอนุภูมิภาคมากยิ่งขึ้น ซึ่งฝ่ายยูเออี ก็เห็นด้วยกับข้อเสนอของฝ่ายไทย
5. สถานการณ์ในอิรักและตะวันออกกลาง ฝ่ายไทยแจ้งให้ยูเออีทราบว่า ไทยสนับสนุนบทบาทของสหประชาชาติและต้องการเห็นรัฐบาลที่ปกครองโดยชาวอิรัก เกิดขึ้นโดยเร็ว เพื่อให้ชาวอิรักสามารถปกครองตนเอง แต่ในเรื่องการเลือกตั้งนั้นควรมี โครงสร้างพื้นฐานทางด้านการเลือกตั้งเกิดขึ้นก่อน อาทิ มีการสำรวจว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งมี กี่คน จะจัดการเลือกตั้งอย่างไรนั้น ดังนั้นจึงน่าที่จะให้สหประชาชาติเข้ามามีบทบาทในช่วงสั้นๆ ก่อนการเลือกตั้ง สำหรับสถานการณ์ในตะวันออกกลางนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งฝ่ายยูเออีว่า ประเทศไทยสนับสนุนการแก้ปัญหาอย่างสันติและต้องการเห็นทุกฝ่ายหยุดความเป็นศัตรูและการใช้กำลังเข่นฆ่าซึ่งกันและกัน และหันกลับมา สู่การเจรจา เช่น การเจรจาระบบ Quartet ที่มีการริเริ่มขึ้น หรือตามมติสหประชาชาติ ซึ่งเรื่องนี้เป็นจุดยืนของประเทศไทย และฝ่ายยูเออีก็แสดงความยินดีที่ไทยกับยูเออีมีความเห็นที่สอดคล้องกัน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2547 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนผ่านทางโทรศัพท์เกี่ยวกับผลการเยือนประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้หารือ กับนาย Rashid Abdullah Al Nuaimi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศยูเออีและ H.H. Sheikh Nasyan bin Mubarak Al-Nasyan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการยูเออี ผลการหารือสรุปได้ดังนี้
1. ทั้งสองฝ่ายเห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับยูเออีเป็นไปด้วยดีมาตลอด แต่มีความห่างเหินกันบ้างในอดีต บัดนี้ความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันขึ้น ทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่า การเยือนครั้งนี้จะเป็นหน้าใหม่ (new chapter) ของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับยูเออี และสิ่งที่น่าสนใจในความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่ายคือ ธนาคารชาติของยูเออีเป็นธนาคารต่างชาติ แห่งแรกที่ปรับขยายระยะเวลาการชำระหนี้ให้ไทยเมื่อไทยประสบวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540
2. ทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่า จะมีการตั้งคณะกรรมาธิการร่วม (Joint Commission) ระดับปลัดกระทรวงขึ้นเพื่อดูแลความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศทุกเรื่อง เพราะปีหน้าจะมีการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ครบรอบ 30 ปี ระหว่างไทยกับยูเออี ทั้งสองฝ่ายจึงจะตั้งกลไกนี้เพื่อดูแลและกระชับความสัมพันธ์และติดตามเรื่องต่างๆ
3. ทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าจะเร่งลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ ซึ่งขณะนี้ทั้งสองฝ่ายกำลังพิจารณาร่างความตกลงดังกล่าวอยู่ ในโอกาสนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศยูเออีไปเยือนไทยและลงนามความตกลงดังกล่าวด้วย
4. ทั้งสองฝ่ายตกลงจะร่วมมือกันในสาขาต่างๆ ดังนี้
4.1 การประมงและการเกษตร ฝ่ายไทยจะให้ความร่วมมือกับยูเออีในด้าน การประมงที่ไทยมีประสบการณ์มาก นอกจากนั้น ฝ่ายยูเออีได้ให้ความสนใจด้านการเกษตรเพราะยูเออีมีโครงการทำเมืองให้เป็นสีเขียว โดยจะเห็นว่าเมืองอาบูดาบีซึ่งเป็นเมืองหลวง อยู่กลางทะเลทรายแต่ปลูกต้นไม้เขียวทั่วเมือง ซึ่งยูเออีลงทุนไปมาก แต่ในขณะเดียวกันก็มีปัญหาเรื่องโรคและแมลงในต้นไม้ ซึ่งฝ่ายไทยมีประสบการณ์ในเรื่องนี้และสามารถให้ความช่วยเหลือได้
4.2 ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว ทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันต่อไป และฝ่าย ไทยได้แจ้งให้ฝ่ายยูเออีทราบว่า ไทยมีบริการทางการแพทย์ (medical services) อย่างไรบ้าง ขณะนี้มีชาวยูเออีปีละประมาณ 12,000 คนมาประเทศไทยเพื่อตรวจและรักษาสุขภาพ ซึ่งบุคคลเหล่านี้อาจจะเป็นสมาชิกบัตร Thailand Elite Card ได้ ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตไทย จะให้ข้อมูลบุคคลดังกล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ต่อไป
4.3 ความร่วมมือทางด้านการศึกษา ฝ่ายยูเออีพร้อมที่จะร่วมมือกับไทยในการที่ไทยจะจัดตั้งสาขาของมหาวิทยาลัย Al-Azhar ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยอิสลามในไทย โดยจะให้คำแนะนำในประสบการณ์และการสร้างหลักสูตร พร้อมทั้งได้ให้ความเห็นว่ามหาวิทยาลัยดังกล่าวไม่ควรมีการสอนศาสนาอิสลามเพียงอย่างเดียว แต่ควรจะมีการสอนสาขาวิชาชีพอื่นๆ ด้วย ซึ่งยูเออีจะนำเสนอประสบการณ์ที่ยูเออีเคยมีกับไทยในเรื่องนี้
4.4 ความร่วมมือทางด้านพลังงาน ไทยได้แจ้งแก่ฝ่ายยูเออีว่า ไทยจะเป็นศูนย์กลางการค้าน้ำมันในภูมิภาค (Oil Trading Center) และ land bridge ทางด้านพลังงาน โดยกระทรวงพลังงานของไทยได้ขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศช่วยยื่นเอกสารเกี่ยวกับแนวคิด (Concept Paper) ให้แก่ฝ่ายยูเออี ซึ่งเป็นเอกสารที่อธิบายให้ทราบว่าแนวคิดเป็นอย่างไร และแนวทางความร่วมมือในเรื่องนี้เป็นอย่างไร เพื่อเชิญชวนให้ฝ่าย ยูเออีมาลงทุนกับไทย ซึ่งฝ่ายยูเออีได้แสดงความสนใจอย่างมาก และในขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของยูเออีได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ของยูเออี ซึ่งตีพิมพ์เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2547 ว่า ยูเออีมีความสนใจที่จะเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการ land bridge ทางด้านพลังงานของไทย
4.5 ความร่วมมือเกี่ยวกับ ACD ฝ่ายยูเออีได้แสดงความสนใจโดยได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอย่างเป็นทางการขอเข้าเป็นสมาชิก ACD เนื่องจากเห็นว่าจะสามารถมีส่วนร่วมและทำให้ ACD เข้มแข็งขึ้นได้ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศก็แจ้งว่า ประเทศไทยเห็นด้วยและไม่ขัดข้อง และในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ประสานงานของ ACD ก็ได้เริ่มหารือกับประเทศสมาชิกอื่นๆ หลายประเทศแล้ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเทศสมาชิก ACD 22 ประเทศ ที่จะประชุมกันในเดือนมิถุนายน 2547 ว่าจะมีมติอย่างไรในเรื่องนี้ สำหรับประเทศไทยนั้นยินดีให้การสนับสนุน
4.6 ความร่วมมือระหว่าง ASEAN กับ GCC ทั้งสองฝ่ายหารือกันว่า ทำอย่างไรจะให้ประเทศในกลุ่ม ASEAN ซึ่งมีสมาชิก 10 ประเทศ กับกลุ่มประเทศความ ร่วมมืออ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council - GCC) ซึ่งมีสมาชิกอยู่ 6 ประเทศ สามารถเชื่อมโยงและร่วมมือกันได้ทั้งในด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคงและการเมืองมากขึ้น ซึ่งเมื่อ รวมกันทั้งสองกลุ่มจะมีสมาชิกถึง 16 ประเทศ ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอว่าน่าจะมีการพบกันระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ 2 องค์กรนี้ แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีการพบกันที่เวทีการประชุมสหประชาชาติที่นครนิวยอร์กทุกปี
แต่เนื่องจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสองกลุ่มเดินทางไปไม่พร้อมกัน จึงเป็นเพียงการพบกันระหว่างตัวแทนของกลุ่ม GCC กับตัวแทนของกลุ่ม ASEAN และไม่มีการเจรจาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในระดับนโยบายและระดับรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจึงเสนอว่าในการประชุม ACD ประจำปี สมาชิกอาเซียน 10 ประเทศเข้าร่วมประชุมอยู่แล้ว และมีสมาชิกของ GCC เป็นสมาชิก ACD อยู่แล้ว 4 ประเทศ ถ้ายูเออีเป็นสมาชิก ACD อีกหนึ่งประเทศก็จะเพิ่มเป็น 5 ประเทศ เพราะฉะนั้น ในช่วงที่การประชุม ACD เสร็จแล้ว อาจมีการขยายเวลา เพื่อจัดประชุมระหว่าง ASEAN กับ GCC ต่อได้ ซึ่งจะทำให้มีความเชื่อมโยงระหว่างสองอนุภูมิภาคมากยิ่งขึ้น ซึ่งฝ่ายยูเออี ก็เห็นด้วยกับข้อเสนอของฝ่ายไทย
5. สถานการณ์ในอิรักและตะวันออกกลาง ฝ่ายไทยแจ้งให้ยูเออีทราบว่า ไทยสนับสนุนบทบาทของสหประชาชาติและต้องการเห็นรัฐบาลที่ปกครองโดยชาวอิรัก เกิดขึ้นโดยเร็ว เพื่อให้ชาวอิรักสามารถปกครองตนเอง แต่ในเรื่องการเลือกตั้งนั้นควรมี โครงสร้างพื้นฐานทางด้านการเลือกตั้งเกิดขึ้นก่อน อาทิ มีการสำรวจว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งมี กี่คน จะจัดการเลือกตั้งอย่างไรนั้น ดังนั้นจึงน่าที่จะให้สหประชาชาติเข้ามามีบทบาทในช่วงสั้นๆ ก่อนการเลือกตั้ง สำหรับสถานการณ์ในตะวันออกกลางนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งฝ่ายยูเออีว่า ประเทศไทยสนับสนุนการแก้ปัญหาอย่างสันติและต้องการเห็นทุกฝ่ายหยุดความเป็นศัตรูและการใช้กำลังเข่นฆ่าซึ่งกันและกัน และหันกลับมา สู่การเจรจา เช่น การเจรจาระบบ Quartet ที่มีการริเริ่มขึ้น หรือตามมติสหประชาชาติ ซึ่งเรื่องนี้เป็นจุดยืนของประเทศไทย และฝ่ายยูเออีก็แสดงความยินดีที่ไทยกับยูเออีมีความเห็นที่สอดคล้องกัน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-