นายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ/การค้า BIMST-EC ครั้งที่ 5 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2547 ณ จังหวัดภูเก็ต ว่ารัฐมนตรีเศรษฐกิจ/การค้า BIMST — EC 6 ประเทศ ได้เห็นชอบร่างกรอบความตกลงเขตการค้าเสรี BIMST — EC และได้ลงนามเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2547 โดยมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และรัฐมนตรีต่างประเทศ BIMST — EC ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนาม สมาชิก BIMST — EC 6 ประเทศที่ร่วมลงนาม ได้แก่ อินเดีย พม่า ศรีลังกา ไทย เนปาล และภูฏาน โดยเนปาลและภูฏานเป็นสมาชิกโดยสมบูรณ์เมื่อเดือนธันวาคม 2546 และเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ/การค้า BIMST-EC อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก ทั้งนี้ บังกลาเทศยังไม่พร้อมที่จะร่วมลงนามในกรอบความตกลง BIMST-EC FTA ในการประชุมครั้งนี้ กรอบความตกลงฯ นี้ครอบคลุมเรื่องการเปิดเสรีการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และประเทศกำลังพัฒนาจะให้การปฏิบัติที่พิเศษและแตกต่างให้กับประเทศพัฒนาน้อยที่สุด เช่น ให้ประเทศพัฒนาน้อยที่สุดใช้ระยะเวลาลดภาษีที่นานกว่า เป็นต้น ซึ่งจะเป็นโอกาสที่ดีในการขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างสมาชิก
นอกจากนี้ ที่ประชุมรัฐมนตรีได้เห็นชอบกับข้อเสนอของเจ้าหน้าที่อาวุโสที่จะให้มีการตั้ง Task Force เพื่อทบทวนสาขาความร่วมมือการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและวิธีการจัดประชุมของสาขาย่อยโดยหมุนเวียนการเป็นเจ้าภาพตามความสมัครใจ เพื่อให้ผลความร่วมมือในด้านต่างๆ มีความคืบหน้ามากขึ้น
นายวัฒนา กล่าวถึงประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจากเขตการค้าเสรีว่าไทยจะมีตลาดคู่ค้าที่เพิ่มขึ้น เพราะสมาชิก BIMST-EC 6 ประเทศมีประชากรรวมประมาณ 1,300 ล้านคน ซึ่งเป็นตลาดใหญ่มาก ปี 2003 มูลค่าการค้าของสมาชิก 3,052 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็น 2% ของมูลค่าการค้ารวมของไทย หรือขยายตัว 17.8% สินค้าส่งออก สำคัญของไทยไปสมาชิก BIMST-EC เช่น เม็ดพลาสติก ผ้าผืน เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ เหล็ก น้ำมัน น้ำตาลทราย ซีเมนต์ เป็นต้น สินค้านำเข้า สำคัญ เช่น เครื่องเพชรพลอยและอัญมณี เหล็ก เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งใช้เป็นวัถตุดิบในการผลิต ในภาพรวมประเทศไทยยังขาดดุลการค้ากับกลุ่ม BIMST-EC เนื่องจากไทยนำเข้า เหล็ก และเศษโลหะมาก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวต่อไปว่า เนื่องจากตลาดในเอเชียใต้เป็นตลาดใหม่ที่มีแนวโน้มที่ดี กระทรวงพาณิชย์ จึงกำหนดแผนที่จะจัดงานแสดงสินค้า (Thailand Exhibition 2004) เพื่อส่งเสริมให้ผู้ผลิต/ผู้ส่งออกสินค้าไทย มีโอกาสเจาะขยายตลาดและเผยแพร่สินค้าไทย ให้เป็นที่รู้จัก ระหว่าง มีนาคม-กรกฎาคม ศกนี้ โดยจะจัดงานแสดงสินค้าในประเทศบังคลาเทศ (กรุงธากา และเมืองจิตตะกอง) สหภาพพม่า (กรุงย่างกุ้ง) และอินเดีย (เมืองบังกะลอร์และเมืองเชนไน)
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (66) 2282-6171-9 แฟกซ์ (66) 2280-0775--จบ--
-พห-
นอกจากนี้ ที่ประชุมรัฐมนตรีได้เห็นชอบกับข้อเสนอของเจ้าหน้าที่อาวุโสที่จะให้มีการตั้ง Task Force เพื่อทบทวนสาขาความร่วมมือการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและวิธีการจัดประชุมของสาขาย่อยโดยหมุนเวียนการเป็นเจ้าภาพตามความสมัครใจ เพื่อให้ผลความร่วมมือในด้านต่างๆ มีความคืบหน้ามากขึ้น
นายวัฒนา กล่าวถึงประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจากเขตการค้าเสรีว่าไทยจะมีตลาดคู่ค้าที่เพิ่มขึ้น เพราะสมาชิก BIMST-EC 6 ประเทศมีประชากรรวมประมาณ 1,300 ล้านคน ซึ่งเป็นตลาดใหญ่มาก ปี 2003 มูลค่าการค้าของสมาชิก 3,052 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็น 2% ของมูลค่าการค้ารวมของไทย หรือขยายตัว 17.8% สินค้าส่งออก สำคัญของไทยไปสมาชิก BIMST-EC เช่น เม็ดพลาสติก ผ้าผืน เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ เหล็ก น้ำมัน น้ำตาลทราย ซีเมนต์ เป็นต้น สินค้านำเข้า สำคัญ เช่น เครื่องเพชรพลอยและอัญมณี เหล็ก เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งใช้เป็นวัถตุดิบในการผลิต ในภาพรวมประเทศไทยยังขาดดุลการค้ากับกลุ่ม BIMST-EC เนื่องจากไทยนำเข้า เหล็ก และเศษโลหะมาก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวต่อไปว่า เนื่องจากตลาดในเอเชียใต้เป็นตลาดใหม่ที่มีแนวโน้มที่ดี กระทรวงพาณิชย์ จึงกำหนดแผนที่จะจัดงานแสดงสินค้า (Thailand Exhibition 2004) เพื่อส่งเสริมให้ผู้ผลิต/ผู้ส่งออกสินค้าไทย มีโอกาสเจาะขยายตลาดและเผยแพร่สินค้าไทย ให้เป็นที่รู้จัก ระหว่าง มีนาคม-กรกฎาคม ศกนี้ โดยจะจัดงานแสดงสินค้าในประเทศบังคลาเทศ (กรุงธากา และเมืองจิตตะกอง) สหภาพพม่า (กรุงย่างกุ้ง) และอินเดีย (เมืองบังกะลอร์และเมืองเชนไน)
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (66) 2282-6171-9 แฟกซ์ (66) 2280-0775--จบ--
-พห-