บันทึกการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๓ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ

ข่าวการเมือง Wednesday February 18, 2004 15:29 —รัฐสภา

                          บันทึกการประชุมวุฒิสภา
ครั้งที่ ๓ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ
วันจันทร์ที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๔๐ นาฬิกา
เมื่อสมาชิกฯ มาประชุมครบองค์ประชุมแล้ว นายสุชน ชาลีเครือ
รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานวุฒิสภา และนายสหัส พินทุเสนีย์
รองประธานวุฒิสภาคนที่สอง ขึ้นบัลลังก์
รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานวุฒิสภา ได้กล่าวเปิดประชุม
แล้วเสนอให้ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุมวุฒิสภา
ครั้งที่ ๘ (สมัยสามัญทั่วไป) วันศุกร์ที่ ๗ มีนาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๙ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๑๐ (สมัยสามัญทั่วไป) วันศุกร์ที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๑๑ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๑๒ (สมัยสามัญทั่วไป) วันศุกร์ที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๑๓ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๖ และ
ครั้งที่ ๑๔ (สมัยสามัญทั่วไป) วันศุกร์ที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๔๖
ซึ่งที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมทั้ง ๗ ครั้งดังกล่าว
ต่อมา ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานวุฒิสภา และรองประธานวุฒิสภาคนที่สอง
ได้ผลัดเปลี่ยนกันทำหน้าที่ประธานของที่ประชุม โดยผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานวุฒิสภา
ได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณากระทู้ถาม ตามลำดับ ดังนี้
๑. กระทู้ถามด่วน เรื่อง การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก ของนายนิวัฒน์ พ้นชั่ว
ถามนายกรัฐมนตรี
๒. กระทู้ถามด่วน เรื่อง การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก ของนายอำนาจ เธียรประมุข
ถามนายกรัฐมนตรี
๓. กระทู้ถามด่วน เรื่อง การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก ของนายสมบูรณ์ ทองบุราณ
ถามนายกรัฐมนตรี
ในการพิจารณากระทู้ถามตามลำดับที่ ๑ ถึงลำดับที่ ๓ รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายเนวิน ชิดชอบ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
(พลตำรวจเอก จำลอง เอี่ยมแจ้งพันธุ์) ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบกระทู้ถามทั้ง ๓ เรื่องดังกล่าว
จากนั้น ประธานของที่ประชุมได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอนำเรื่องด่วน ลำดับที่ ๒
ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ ประธานของที่ประชุมจึงเสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
เรื่องด่วน ตามลำดับ ดังนี้
๑. พิจารณาให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ
คณะกรรมการกฤษฎีกา ตามมาตรา ๖๓ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา
พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๒
หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย และรองนายกรัฐมนตรี (นายโภคิน พลกุล) ตอบชี้แจงแล้ว
ที่ประชุมได้ลงมติให้ความเห็นชอบการแต่งตั้ง นางสาวพรทิพย์ จาละ เป็นเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
๒. ญัตติ เรื่อง ขอเสนอญัตติให้วุฒิสภามีมติให้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เข้าร่วมประชุมวุฒิสภา
ตามมาตรา ๒๑๐ ของรัฐธรรมนูญฯ เพื่อชี้แจงกรณีการระบาดของโรคไข้หวัดนก
และตั้งกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาสอบสวนและศึกษาในกรณีการระบาดของโรคไข้หวัดนก
ซึ่งนายนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กับคณะ เป็นผู้เสนอ เมื่อผู้เสนอญัตติได้แถลงเหตุผล และมีสมาชิกฯ
อภิปรายแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับญัตติดังกล่าว
๓. ร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งสภาผู้แทนราษฎร
ลงมติเห็นชอบแล้ว หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับร่างพระราชบัญญัติไว้พิจารณา
และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา จำนวน ๒๗ คน ประกอบด้วย
๑. พลตำรวจโท ชูชาติ ทัศนเสถียร ๒. นายจำเจน จิตรธร
๓. นายเชิดพงษ์ อุทัยสาง ๔. นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์
๕. นายมนู วณิชชานนท์ ๖. นายบรรฑูรย์ เกริกพิทยา
๗. ร้อยตรี อำนวย ไทยานนท์ ๘. นายคำนวณ เหมาะประสิทธิ์
๙. นายปรีชา ปิตานนท์ ๑๐. นายมนัส รุ่งเรือง
๑๑. นายสงวน นันทชาติ ๑๒. นายเสรี สุวรรณภานนท์
๑๓. นายระวี กิ่งคำวงศ์ ๑๔. นายอุบล เอื้อศรี
๑๕. นายวิเชียร เปาอินทร์ ๑๖. พลเอก มนัส อร่ามศรี
๑๗. นายชงค์ วงษ์ขันธ์ ๑๘. นายนิรัตน์ อยู่ภักดี
๑๙. นายสุนทร จินดาอินทร์ ๒๐. นายโสภณ สุภาพงษ์
๒๑. นายบุญยืน ศุภสารสาทร ๒๒. นายสราวุธ นิยมทรัพย์
๒๓. นายสัก กอแสงเรือง ๒๔. นายวงศ์พันธ์ ณ ตะกั่วทุ่ง
๒๕. นายพิสุทธิ์ ศรีขจร ๒๖. นายวรรณชัย บุญบำรุง
๒๗. นายไกรสร บารมีอวยชัย
โดยมีกำหนดการแปรญัตติตามข้อบังคับฯ
๔. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. .... ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงยุติธรรม ตอบชี้แจงแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับร่างพระราชบัญญัติ
ไว้พิจารณา และมีมติให้ส่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. พิจารณา โดยมีกำหนดการแปรญัตติตามข้อบังคับฯ
๕. ร่างพระราชบัญญัติเครื่องแบบกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ….
ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงยุติธรรม ตอบชี้แจงแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับร่างพระราชบัญญัติ
ไว้พิจารณา และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา จำนวน ๒๗ คน ประกอบด้วย
๑. นายทวีป ขวัญบุรี ๒. นายเกษม ชัยสิทธิ์
๓. นายสมศักดิ์ โล่สถาพรพิพิธ ๔. นางอรัญญา สุจนิล
๕. นายอาคม ตุลาดิลก ๖. นายแคล้ว นรปติ
๗. นายระวี กิ่งคำวงศ์ ๘. คุณหญิงจินตนา สุขมาก
๙. นายสุพร สุภสร ๑๐. นางประทีป อึ้งทรงธรรม
๑๑. พลเอก มนัส อร่ามศรี ๑๒. นายบุญเลิศ ไพรินทร์
๑๓. นายนิตินัย นาครทรรพ ๑๔. พันตำรวจเอก ไพจิตร ศรีคงคา
๑๕. นายคำพันธ์ ป้องปาน ๑๖. นายสม ต๊ะยศ
๑๗. นายวีรพงศ์ สกลกิติวัฒน์ ๑๘. นางเตือนใจ ดีเทศน์
๑๙. นายถวิล ไพรสณฑ์ ๒๐. นายกำพล ภู่มณี
๒๑. นายลำพอง พิลาสมบัติ ๒๒. นางจิตรา อยู่ประเสริฐ
๒๓. พลเอก หาญ ลีนานนท์ ๒๔. นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
๒๕. นายสาธิต อนันตสมบูรณ์ ๒๖. นายตรีทศ นิโครธางกูร
๒๗. นายประนูญ สุวรรณภักดี
โดยมีกำหนดการแปรญัตติตามข้อบังคับฯ
ต่อจากนั้น ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้นำเรื่องตั้งกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของ
ประชาชน แทนตำแหน่งที่ว่าง ๒ ตำแหน่ง และมีมติให้ตั้ง นายอนันต์ ผลอำนวย
และนายสมพร คำชื่น เป็นกรรมาธิการแทน นายวิชิต พูลลาภ ซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามข้อบังคับฯ
ข้อ ๙๔ (๒) และนายพา อักษรเสือ ซึ่งขอลาออกจากตำแหน่ง
เลิกประชุมเวลา ๑๖.๑๕ นาฬิกา
(นายมนตรี รูปสุวรรณ)
เลขาธิการวุฒิสภา
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
รับร่างพระราชบัญญัติไว้พิจารณา จำนวน ๓ ฉบับ ดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๓. ร่างพระราชบัญญัติเครื่องแบบกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ....
กลุ่มงานรายงานการประชุม
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
โทร. ๐ ๒๖๖๘ ๖๒๙๐ - ๕ ต่อ ๑๑๐-๑๑๑
โทรสาร ๐ ๒๖๖๘ ๖๒๙๐ - ๕ ต่อ ๑๒๑

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ