จากการประมาณการอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ประชาชาติรายไตรมาสของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2546 ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2545 โดยใน ไตรมาสที่ 3 ของปี 2546 มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 6.5 เทียบกับร้อยละ 5.8 ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2546 และร้อยละ 5.8 ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2545 และหากพิจารณาค่า GDP ที่ปรับตัวดัชนีฤดูกาลในไตรมาสที่ 3 ของปี 2546 ขยายตัวร้อยละ 2.0 ซึ่งสูงกว่าไตรมาสที่ 2 ของปี 2546 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.9
ในส่วนของ GDP สาขาอุตสาหกรรม ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2546 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ ไตรมาสที่ผ่านมา และปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2545 โดยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2546 สาขา อุตสาหกรรมมีการขยายตัวร้อยละ 9.0 เทียบกับร้อยละ 11.1 ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2546 และร้อยละ 7.6 ใน ไตรมาสที่ 3 ของปี 2545 โดยสาขาอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวได้ดีในไตรมาสที่ 3 ของปี 2546 ได้แก่อุตสาหกรรมเครื่องจักร เครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้าและยานยนต์ นอกจากนั้นอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยังคงยืนยันประมาณการการเติบโตของ GDP ปี 2547 ไว้ที่ระดับร้อยละ 7-8 คือ กรณีฐานร้อยละ 7 และกรณีเป้าหมายร้อยละ 8 แม้ว่า GDP ในไตรมาสแรกของปี 2547 จะได้รับผลกระทบบ้างจากไข้หวัดนก
สำหรับตัวเลขชี้วัดทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับ ไตรมาสเดียวกันของปี 2545 โดยจะเห็นว่าตัวเลขอัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ประมาณร้อยละ 10.1 โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการแปรรูปผลไม้และผัก และเมื่อพิจารณาตัวเลขการส่งออก มูลค่าการส่งออกได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 19.4 โดยมีสินค้าที่ติดอันดับต้นๆ ได้แก่ คอมพิวเตอร์และ ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์
ในส่วนของการลงทุนภาคเอกชนก็มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ทั้งยอดการขายซีเมนต์ในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศ และยอดการนำเข้าสินค้าทุน ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค พบว่า เครื่องชี้วัดที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน ภาษีมูลค่าเพิ่ม การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค และยอดการจำหน่ายรถยนต์และรถจักรยานยนต์
ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม
จากรายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) ที่จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 50 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา และไตรมาสเดียวกันของปี 2545 ร้อยละ 5.3 และร้อยละ 9.5 ตามลำดับ โดยมีอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ และอุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ เป็นอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่าเพิ่มขึ้น
เมื่อเทียบปี 2546 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 125.11 และในปี 2545 มีค่า 114.53 จะเห็นว่าในปี 2546 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 9.2 โดยเป็นการขยายตัวจากอุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศ
ดัชนีการส่งสินค้า
ดัชนีการส่งสินค้า (Shipment Index) แสดงทิศทางของระดับการขนส่งสินค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) โดยครอบคลุมอุตสาหกรรม 50 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2545 ร้อยละ 6.0 และร้อยละ 10.1 ตามลำดับ โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ และอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2545 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ และอุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน
เมื่อเทียบปี 2546 ดัชนีการส่งสินค้ามีค่า 123.80 และในปี 2545 มีค่า 114.21 จะเห็นว่าในปี 2546 ดัชนีการส่งสินค้า เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 8.4
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง (Finished Goods Inventory Index) แสดงทิศทางหรือระดับการเพิ่มขึ้นหรือลดลง ของการสำรองสินค้าเพื่อไม่ให้สินค้าขาดตลาด ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) โดยครอบคลุมอุตสาหกรรม 50 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มจาก ไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2545 ร้อยละ 3.4 และร้อยละ 11.8 ตามลำดับ โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น จากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุและสินค้าที่เกี่ยวข้อง และอุตสาหกรรมการแปรรูปผลไม้และผัก สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2545 ได้แก่ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุและสินค้าที่เกี่ยวข้อง และอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์
เมื่อเทียบปี 2546 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง มีค่า 126.47 และปี 2545 มีค่า 114.27 จะเห็นว่าในปี 2546 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 10.7
อัตราการใช้กำลังการผลิต
อัตราการใช้กำลังการผลิต เป็นตัวบ่งชี้สภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม โดยเปรียบเทียบระดับการผลิตที่เกิดขึ้นจริงกับระดับการผลิตที่ใช้กำลังการผลิตเต็มที่ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 50 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มสูงขึ้น จากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2545 ร้อยละ 7.6 และร้อยละ 10.1 ตามลำดับ โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น จากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการแปรรูปผลไม้และผัก อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ และอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2545 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการแปรรูปผลไม้และผัก และอุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์
เมื่อเทียบปี 2546 อัตราการใช้กำลังการผลิต มีค่า 58.49 และในปี 2545 มีค่า 53.84 จะเห็นว่าในปี 2546 อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 8.6
ดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจและผู้บริโภค
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค จัดทำโดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แบ่งออกเป็น 3 ดัชนี ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนีเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ และดัชนีเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต (ตารางที่ 2) พบว่า ไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ทั้ง 3 ดัชนี มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น จากไตรมาสที่ผ่านมา และไตรมาสเดียวกันของปี 2545 สำหรับปัจจัยที่ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกรายการในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ได้แก่ การส่งออกของไทยเริ่มปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และรัฐบาลยังคงดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 มีค่า 104.8, 108.3 และ 110.9 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ค่าดัชนีมีค่าสูงกว่า 100 แสดงว่า ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นมากขึ้นเป็นลำดับว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของไทยปรับตัวดีขึ้นสู่ระดับปกติแล้วหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม มีค่าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา และไตรมาสเดียวกันของปี 2545
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ ไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 มีค่า 96.1 , 100.2 และ 102.9 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ค่าดัชนีเริ่มปรับตัวเข้าสู่ 100 แสดงว่า ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นว่าภาวะการจ้างงานโดยรวมของไทยปรับตัวดีขึ้นสู่ระดับปกติแล้วหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจ ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับโอกาสหางานทำเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2545
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต ไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 มีค่า 120.6, 122.0 และ 123.3 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ค่าดัชนีมีค่าสูงกว่า 100 แสดงว่า ผู้บริโภคยังมีความมั่นใจในรายได้ในอนาคตของตนว่าจะปรับตัวดีขึ้นและมีโอกาสน้อยที่จะปรับตัวลดลง ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2545
จากการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ซึ่งจัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ตารางที่ 3) พบว่า ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ดัชนีปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2545 การที่ดัชนีโดยรวมมีค่าสูงกว่าระดับ 50 แสดงว่าความเชื่อมั่นทางธุรกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี ผู้ประกอบการมองว่าภาวะการณ์ด้านธุรกิจในอนาคตเริ่มมีแนวโน้มดีขึ้น สำหรับดัชนีที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น คือ ผลประกอบการของบริษัท อำนาจซื้อของประชาชน การลงทุนของบริษัท และการผลิตของบริษัท
เมื่อเทียบปี 2546 ดัชนีส่วนใหญ่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2545 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคและผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นที่ดีต่อภาวะเศรษฐกิจมากขึ้น
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (Thai Industries Sentiment Index : TISI)
จัดทำโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอ การค้าไทย (ตารางที่ 4) พบว่า ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ดัชนีลดลงเล็กน้อย จากไตรมาสที่ผ่านมาแต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสเดียวกันของปี 2545 อย่างไรก็ตามค่าดัชนียังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่า 100 แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นในสภาวะอุตสาหกรรมโดยรวมอยู่ในระดับที่ดี จะมีเพียงค่าดัชนีความเชื่อมั่นในด้านต้นทุนการประกอบการเท่านั้นที่มีค่าดัชนีต่ำกว่า 100 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่มองว่าต้นทุนการประกอบการอยู่ในระดับที่สูงอยู่ สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นในแต่ละปัจจัยของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมที่อยู่ในระดับเกินกว่า 100 ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นในยอดขายโดยรวมในปัจจุบัน ดัชนีความเชื่อมั่นในยอดคำสั่งซื้อโดยรวมในปัจจุบัน ดัชนีความเชื่อมั่นด้านปริมาณการผลิตในอนาคต และดัชนีความเชื่อมั่นด้านกำไรสุทธิในปัจจุบัน
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ (Leading Economic Index : LEI) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็น เครื่องมือในการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจ ในอีก 3-4 เดือนข้างหน้า ปรากฏว่าดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในเดือนธันวาคม 2546 อยู่ที่ระดับ 134.0 ซึ่งปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน ร้อยละ 0.1 ตามการเพิ่มขึ้นของเครื่องชี้ ได้แก่ ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ และจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ
สำหรับดัชนีในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 มีค่า 133.5 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาที่มีค่า 130.7 และดัชนีเฉลี่ยทั้งปี 2546 มีค่าอยู่ที่ระดับ 128.4
ดัชนีพ้องเศรษฐกิจ
ค่าประมาณการเบื้องต้นของดัชนีพ้องเศรษฐกิจ (Coincident Economic Index : CEI) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ในเดือนธันวาคม 2546 อยู่ที่ระดับ 122.4 เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายนร้อยละ 1.8 ตามการเพิ่มขึ้นของเครื่องชี้ ได้แก่ ยอดภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ปริมาณจำหน่ายรถยนต์รวม ดัชนีผลผลิต อุตสาหกรรม และยอดการนำเข้าสินค้า ณ ราคาคงที่
สำหรับดัชนีในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 มีค่า 121.9 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาที่มีค่า 120.6 และดัชนีเฉลี่ยทั้งปี 2546 มีค่าอยู่ที่ระดับ 120.4
การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภค
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (Expenditure on private consumption) ในไตรมาสที่ 4 ของ ปี 2546 มีการปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2545 (ตารางที่ 5)
ทั้งนี้ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัวในเกณฑ์ดี ซึ่งเครื่องชี้สำคัญที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2545 คือ ปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน ภาษีมูลค่าเพิ่ม การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ยอดการจำหน่ายรถยนต์และรถจักรยานยนต์
เมื่อเทียบปี 2546 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เพิ่มขึ้นจากปี 2545 เนื่องจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ตลอดจนอัตราดอกเบี้ยต่ำ ทำให้ภาคเอกชนหันมาใช้จ่ายมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนภาคเอกชนโดยรวม (ตารางที่ 6) ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 พิจารณาจากปัจจัยหลัก 3 ประการ ได้แก่ ยอดการขายซีเมนต์ในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศ และยอดการนำเข้าสินค้าทุน พบว่า การลงทุนภาคเอกชน ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2545
หากแยกตามรายการสินค้าพบว่า ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 เพิ่มขึ้นทั้งจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2545
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 เพิ่มขึ้นทั้งจากไตรมาสที่ผ่านมา และไตรมาสเดียวกันของปี 2545
ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุน ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 เพิ่มขึ้นทั้งจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2545
เมื่อเทียบปี 2546 การลงทุนภาคเอกชนมีการขยายตัวจากปี 2545 เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำเป็นปัจจัยสนับสนุนการลงทุน
ภาวะราคาสินค้า
จากการสำรวจดัชนีราคาผู้บริโภค (ตารางที่ 7) และดัชนีราคาผู้ผลิต (ตารางที่ 8) โดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ พบว่า ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ดัชนีราคาผู้บริโภคปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2545 ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ตามราคาผักและผลไม้
ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิต ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2545 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดผลผลิตเกษตรกรรมและผลิตภัณฑ์จากเหมือง สำหรับราคาหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมทรงตัวจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่ปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2545
เมื่อเทียบปี 2546 ดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาผู้ผลิต เพิ่มขึ้นจากปี 2545
แรงงานในภาคอุตสาหกรรม
จากการสำรวจภาวะการทำงานของประชาชนในไตรมาสที่ 4 (ตัวเลขเดือนพฤศจิกายน)ของปี 2546 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่ามีผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน 35.28 ล้านคน เป็นผู้ที่มีงานทำ 34.5 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 97.8 ของกำลังแรงงานทั้งหมด และมีผู้ว่างงาน 0.54 ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ 1.50) ลดลงจากช่วงไตรมาสที่ 3 เล็กน้อยที่มีผู้ว่างงาน 0.55 ล้านคน
สำหรับการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 มีจำนวน 5.49 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 15.91 ของผู้มีงานทำทั้งหมด และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงไตรมาสที่ 3 พบว่าอุตสาหกรรมการผลิตมีจำนวนผู้มีงานทำเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จาก 5.39 ล้านคนเป็น 5.49 ล้านคน เพิ่มขึ้นประมาณ 100,000 คน หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 1.9
ทางด้านจำนวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ณ สิ้นไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 มีจำนวนผู้ประกันตนทั้งสิ้น 7,434,237 คน เพิ่มขึ้นจากช่วงไตรมาสที่ 3 82,916 คน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.12) กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้รับแจ้งจำนวนลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างในระยะเวลา 12 เดือนของปี 2546 มีจำนวน 176,793 คน โดยเป็นการเลิกจ้างในอุตสาหกรรมการผลิตจำนวน 69,502 คน อุตสาหกรรมที่มีการเลิกจ้างมากที่สุด 4 อันดับแรกได้แก่อุตสาหกรรมการผลิตอาหาร มีจำนวน 9,299 คน รองลงมาคืออุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปและเครื่องแต่งกายจำนวน 8,308 คน อุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอและสิ่งถัก จำนวน 6,490 คน และอุตสาหกรรมการผลิตยางและพลาสติก จำนวน 6,076 คน
ส่วนสถานประกอบการที่เลิกกิจการมีจำนวน 17,487 แห่ง ซึ่งอุตสาหกรรมที่มีการเลิกกิจการ มากที่สุดคือ อุตสาหกรรมการผลิต ประกอบ ซ่อมยานพาหนะและอุปกรณ์ 826 แห่ง รองลงมาคืออุตสาหกรรมการผลิตโลหะขั้นมูลฐาน จำนวน 642 แห่ง และอุตสาหกรรมอาหารเครื่องดื่มและยาสูบ 575 แห่ง
การค้าต่างประเทศ
สถานการณ์การค้าในช่วงไตรมาสสี่ของปี 2546 มีทิศทางเพิ่มสูงขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ของ ปี 2546 โดยในไตรมาสที่ 4 นี้การค้าต่างประเทศของไทยมีมูลค่าทั้งสิ้น 42,828.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 21,909.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 20,918.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.93 และการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.56 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่ามูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 19.39 และมูลค่าการ นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.16 ส่งผลให้การเกินดุลการค้าในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 มีมูลค่า 990.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งลดลงจากไตรมาส 3 ร้อยละ 2.81 และลดลงร้อยละ 39.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว
เมื่อพิจารณาสถานการณ์การค้าตลอดทั้งปี 2546 พบว่า การส่งออกมีมูลค่าสูงถึง 80,238.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.6 เมื่อเทียบกับปี 2545 ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 75,018.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 ส่งผลให้มีการเกินดุลการค้า 5,219.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3
เป็นที่น่าสังเกตว่าการส่งออกตลอดทั้งปี 2546 เมื่อพิจารณาเป็นรายเดือน พบว่ามีมูลค่าการส่งออกเกินกว่า 6,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯทุกเดือน โดยเฉพาะตั้งแต่เดือนกันยายนถึงธันวาคม มีมูลค่าการส่งออกสูงเกินกว่า 7,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
โครงสร้างการส่งออก
การส่งออกในปี 2546 ประกอบด้วย สินค้าอุตสาหกรรม 61,364.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 76.5) สินค้าเกษตรกรรม 8,860.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 11.0) สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร 5,954.2ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 7.4) สินค้าแร่ธาตุและเชื้อเพลิง 2,302.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 2.9) และสินค้าอื่นๆ 1,756.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 2.2)
เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการส่งออกของสินค้าเกือบทุกตัวมีอัตราการขยายตัวที่เพิ่มขึ้น โดยสินค้าเกษตรกรรมส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.5 สินค้าอุตสาหกรรมเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 สินค้าอุตสาหกรรม ส่งออกเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 16.8 สินค้าแร่ธาตุและเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.0 และสินค้าอื่นลดลงร้อยละ 13.9สินค้าส่งออกที่สำคัญ 10 รายการหลักในปี 2546 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบซึ่งมีมูลค่าการส่งออกสูงสุดคือ 8,192.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือ แผงวงจรไฟฟ้า 4,626.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 3,957.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ยางพารา 2,788.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เสื้อผ้าสำเร็จรูป 2,764.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัญมณีและเครื่องประดับ 1,829.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ 2,502.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เม็ดพลาสติก 2,149.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 2,137.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และข้าว 1,855.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มูลค่าการส่งออก 10 รายการหลักรวมกันเท่ากับ 33,506.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 42.49 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด
ตลาดส่งออก
ในปี 2546 การส่งออกไปยังตลาดหลัก ซึ่งได้แก่ อาเซียน สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และจีน มีสัดส่วนการส่งออกรวมคิดเป็นร้อยละ 73.54 ของการส่งออกของไทยไปยังทั่วโลก โดยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนพบว่า การส่งออกของประเทศไทยเพิ่มขึ้นในทุกตลาดหลัก โดยในตลาดอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.9 ตลาดญี่ปุ่นร้อยละ 14.5 ตลาดสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ตลาดสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1 ตลาดจีนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 60.1 และตลาดอื่นๆร้อยละ 17.8
โครงสร้างการนำเข้า
การนำเข้าในปี 2546 ประกอบด้วยสินค้าทุน มีมูลค่าสูงที่สุด 33,639.5ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 44.8) รองลงมาเป็นการนำเข้าวัตถุดิบ 22,278.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 29.7) น้ำมันเชื้อเพลิง 8,895.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 11.9) สินค้าอุปโภคบริโภค 6,288.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 8.4) สินค้าหมวดยานพาหนะ 3,081.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 4.1) และ สินค้าอื่นๆ 835.6 (คิดเป็นร้อยละ 1.1)
เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่าสินค้าทุกหมวดมีมูลค่าการนำเข้าขยายตัว โดยสินค้าทุนนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.0 น้ำมันเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.1 สินค้าวัตถุดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.6 สินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.2 และสินค้าหมวดยานพาหนะเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.9 สินค้าหมวดอื่นๆเพิ่มขึ้นร้อยละ 52.2
แหล่งนำเข้า
การนำเข้าจากแหล่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น, อาเซียน, สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และจีน โดยในปี 2546 มีสัดส่วนนำเข้ารวมร้อยละ 68.21 และเมื่อเทียบกับปี 2545 พบว่าการนำเข้าจากกลุ่มประเทศอาเซียน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 ,สหภาพยุโรป ร้อยละ 6.6 ,ญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.1 ,สหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5, จีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.6 และจากแหล่งอื่นๆลดลงร้อยละ 6.3
แนวโน้มการส่งออก
สถานการณ์การค้าในปี 2547 ยังคงมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น แม้ว่าจะมีปัญหาเรื่องของการระบาดของไข้หวัดนก ที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์ไก่โดยตรงของไทย จากการศึกษาของศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบว่าหากประเทศคู่ค้าระงับการนำเข้าไก่จากไทย 1 เดือน การส่งออกไก่จะลดลงร้อยละ 4.35 แต่จะมีผลต่อการส่งออกโดยรวมเพียงร้อยละ 0.1 ซึ่งไม่กระทบต่อการส่งออกโดยรวมมากนัก
กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์แนวโน้มการส่งออกในทิศทางที่ดี โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกรวมทั้งปี 2547 น่าจะขยายตัวได้ในระหว่างร้อยละ 10 -13 แต่อย่างไรก็ตามยังต้องพิจารณาปัจจัยหลายๆด้านประกอบกันด้วย โดยเฉพาะในเรื่องของการเปิดเสรีการค้า รวมทั้งราคาวัตถุดิบ และราคาสินค้าเกษตรบางชนิดเช่น ข้าวหอมมะลิที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นมาก
การลงทุนจากต่างประเทศ
การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 จากข้อมูลเบื้องต้นของธนาคารแห่งประเทศไทย การลงทุนสุทธิในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน มีมูลค่ารวม - 2,028 ล้านบาท โดยในเดือนตุลาคมมีมูลค่าการลงทุนสุทธิ -3,118 ล้านบาท และเดือนพฤศจิกายน 1,090 ล้านบาท
ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่สี่ของปี 2546 สาขาอุตสาหกรรมเป็นสาขาที่มีการลงทุนสุทธิมากที่สุด คือ 5,755 ล้านบาท โดยในสาขาอุตสาหกรรมมีการลงทุนสุทธิในหมวดอาหารมากที่สุด เป็นเงินลงทุนสุทธิ 3,019 ล้านบาท รองลงมาคือหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง 656 ล้านบาท และสาขาเหมืองแร่ 655 ล้านบาท
ประเทศที่เข้ามาลงทุนสุทธิในประเทศไทยมากที่สุดในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน คือ ประเทศญี่ปุ่น มีเงินลงทุนสุทธิถึง 2,402 ล้านบาท รองลงมาคือ ประเทศสิงคโปร์ ,ไต้หวัน และมาเลเซียมีเงินลงทุนสุทธิ 2,214 ล้านบาท , 1,142 ล้านบาท และ 993 ล้านบาท ตามลำดับ
สำหรับการลงทุนจากต่างประเทศที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พบว่า ในปี 2546 การลงทุนจากต่างประเทศที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI มีจำนวนทั้งสิ้น 591 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 220,100 ล้านบาท โดยเป็นโครงการที่ลงทุนจากต่างประเทศ 100 % จำนวน 305 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 104,500 ล้านบาท เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างไทยและต่างประเทศ 286 โครงการ เป็นเงินลงทุน 115,600 ล้านบาท
เมื่อพิจารณาในหมวดของการเข้ามาลงทุน พบว่า ในปี 2546 ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุด คือ หมวดผลิตโลหะและอุปกรณ์ มีเงินลงทุน 69,500 ล้านบาท รองลงมาคือ หมวดเคมี กระดาษ และพลาสติก มีเงินลงทุน 51,100 ล้านบาท หมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 44,300 ล้านบาท
สำหรับแหล่งลงทุนในปี 2546 พบว่านักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นมีการลงทุนมากที่สุดโดยได้รับการส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 260 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 97,957 ล้านบาท รองลงมาคือ ประเทศ สหรัฐอเมริกาจำนวน 40 โครงการ 24,574 ล้านบาท สหราชอาณาจักร 14 โครงการ เป็นเงินลงทุน 20,513 ล้านบาท ,ไต้หวัน จำนวน 57 โครงการ เป็นเงินลงทุน 13,553 ล้านบาท
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-
ในส่วนของ GDP สาขาอุตสาหกรรม ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2546 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ ไตรมาสที่ผ่านมา และปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2545 โดยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2546 สาขา อุตสาหกรรมมีการขยายตัวร้อยละ 9.0 เทียบกับร้อยละ 11.1 ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2546 และร้อยละ 7.6 ใน ไตรมาสที่ 3 ของปี 2545 โดยสาขาอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวได้ดีในไตรมาสที่ 3 ของปี 2546 ได้แก่อุตสาหกรรมเครื่องจักร เครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้าและยานยนต์ นอกจากนั้นอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยังคงยืนยันประมาณการการเติบโตของ GDP ปี 2547 ไว้ที่ระดับร้อยละ 7-8 คือ กรณีฐานร้อยละ 7 และกรณีเป้าหมายร้อยละ 8 แม้ว่า GDP ในไตรมาสแรกของปี 2547 จะได้รับผลกระทบบ้างจากไข้หวัดนก
สำหรับตัวเลขชี้วัดทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับ ไตรมาสเดียวกันของปี 2545 โดยจะเห็นว่าตัวเลขอัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ประมาณร้อยละ 10.1 โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการแปรรูปผลไม้และผัก และเมื่อพิจารณาตัวเลขการส่งออก มูลค่าการส่งออกได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 19.4 โดยมีสินค้าที่ติดอันดับต้นๆ ได้แก่ คอมพิวเตอร์และ ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์
ในส่วนของการลงทุนภาคเอกชนก็มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ทั้งยอดการขายซีเมนต์ในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศ และยอดการนำเข้าสินค้าทุน ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค พบว่า เครื่องชี้วัดที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน ภาษีมูลค่าเพิ่ม การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค และยอดการจำหน่ายรถยนต์และรถจักรยานยนต์
ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม
จากรายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) ที่จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 50 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา และไตรมาสเดียวกันของปี 2545 ร้อยละ 5.3 และร้อยละ 9.5 ตามลำดับ โดยมีอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ และอุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ เป็นอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่าเพิ่มขึ้น
เมื่อเทียบปี 2546 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 125.11 และในปี 2545 มีค่า 114.53 จะเห็นว่าในปี 2546 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 9.2 โดยเป็นการขยายตัวจากอุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศ
ดัชนีการส่งสินค้า
ดัชนีการส่งสินค้า (Shipment Index) แสดงทิศทางของระดับการขนส่งสินค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) โดยครอบคลุมอุตสาหกรรม 50 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2545 ร้อยละ 6.0 และร้อยละ 10.1 ตามลำดับ โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ และอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2545 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ และอุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน
เมื่อเทียบปี 2546 ดัชนีการส่งสินค้ามีค่า 123.80 และในปี 2545 มีค่า 114.21 จะเห็นว่าในปี 2546 ดัชนีการส่งสินค้า เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 8.4
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง (Finished Goods Inventory Index) แสดงทิศทางหรือระดับการเพิ่มขึ้นหรือลดลง ของการสำรองสินค้าเพื่อไม่ให้สินค้าขาดตลาด ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) โดยครอบคลุมอุตสาหกรรม 50 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มจาก ไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2545 ร้อยละ 3.4 และร้อยละ 11.8 ตามลำดับ โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น จากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุและสินค้าที่เกี่ยวข้อง และอุตสาหกรรมการแปรรูปผลไม้และผัก สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2545 ได้แก่ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุและสินค้าที่เกี่ยวข้อง และอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์
เมื่อเทียบปี 2546 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง มีค่า 126.47 และปี 2545 มีค่า 114.27 จะเห็นว่าในปี 2546 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 10.7
อัตราการใช้กำลังการผลิต
อัตราการใช้กำลังการผลิต เป็นตัวบ่งชี้สภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม โดยเปรียบเทียบระดับการผลิตที่เกิดขึ้นจริงกับระดับการผลิตที่ใช้กำลังการผลิตเต็มที่ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 50 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มสูงขึ้น จากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2545 ร้อยละ 7.6 และร้อยละ 10.1 ตามลำดับ โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น จากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการแปรรูปผลไม้และผัก อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ และอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2545 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการแปรรูปผลไม้และผัก และอุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์
เมื่อเทียบปี 2546 อัตราการใช้กำลังการผลิต มีค่า 58.49 และในปี 2545 มีค่า 53.84 จะเห็นว่าในปี 2546 อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 8.6
ดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจและผู้บริโภค
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค จัดทำโดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แบ่งออกเป็น 3 ดัชนี ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนีเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ และดัชนีเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต (ตารางที่ 2) พบว่า ไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ทั้ง 3 ดัชนี มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น จากไตรมาสที่ผ่านมา และไตรมาสเดียวกันของปี 2545 สำหรับปัจจัยที่ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกรายการในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ได้แก่ การส่งออกของไทยเริ่มปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และรัฐบาลยังคงดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 มีค่า 104.8, 108.3 และ 110.9 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ค่าดัชนีมีค่าสูงกว่า 100 แสดงว่า ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นมากขึ้นเป็นลำดับว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของไทยปรับตัวดีขึ้นสู่ระดับปกติแล้วหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม มีค่าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา และไตรมาสเดียวกันของปี 2545
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ ไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 มีค่า 96.1 , 100.2 และ 102.9 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ค่าดัชนีเริ่มปรับตัวเข้าสู่ 100 แสดงว่า ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นว่าภาวะการจ้างงานโดยรวมของไทยปรับตัวดีขึ้นสู่ระดับปกติแล้วหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจ ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับโอกาสหางานทำเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2545
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต ไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 มีค่า 120.6, 122.0 และ 123.3 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ค่าดัชนีมีค่าสูงกว่า 100 แสดงว่า ผู้บริโภคยังมีความมั่นใจในรายได้ในอนาคตของตนว่าจะปรับตัวดีขึ้นและมีโอกาสน้อยที่จะปรับตัวลดลง ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2545
จากการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ซึ่งจัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ตารางที่ 3) พบว่า ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ดัชนีปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2545 การที่ดัชนีโดยรวมมีค่าสูงกว่าระดับ 50 แสดงว่าความเชื่อมั่นทางธุรกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี ผู้ประกอบการมองว่าภาวะการณ์ด้านธุรกิจในอนาคตเริ่มมีแนวโน้มดีขึ้น สำหรับดัชนีที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น คือ ผลประกอบการของบริษัท อำนาจซื้อของประชาชน การลงทุนของบริษัท และการผลิตของบริษัท
เมื่อเทียบปี 2546 ดัชนีส่วนใหญ่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2545 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคและผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นที่ดีต่อภาวะเศรษฐกิจมากขึ้น
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (Thai Industries Sentiment Index : TISI)
จัดทำโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอ การค้าไทย (ตารางที่ 4) พบว่า ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ดัชนีลดลงเล็กน้อย จากไตรมาสที่ผ่านมาแต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสเดียวกันของปี 2545 อย่างไรก็ตามค่าดัชนียังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่า 100 แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นในสภาวะอุตสาหกรรมโดยรวมอยู่ในระดับที่ดี จะมีเพียงค่าดัชนีความเชื่อมั่นในด้านต้นทุนการประกอบการเท่านั้นที่มีค่าดัชนีต่ำกว่า 100 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่มองว่าต้นทุนการประกอบการอยู่ในระดับที่สูงอยู่ สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นในแต่ละปัจจัยของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมที่อยู่ในระดับเกินกว่า 100 ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นในยอดขายโดยรวมในปัจจุบัน ดัชนีความเชื่อมั่นในยอดคำสั่งซื้อโดยรวมในปัจจุบัน ดัชนีความเชื่อมั่นด้านปริมาณการผลิตในอนาคต และดัชนีความเชื่อมั่นด้านกำไรสุทธิในปัจจุบัน
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ (Leading Economic Index : LEI) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็น เครื่องมือในการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจ ในอีก 3-4 เดือนข้างหน้า ปรากฏว่าดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในเดือนธันวาคม 2546 อยู่ที่ระดับ 134.0 ซึ่งปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน ร้อยละ 0.1 ตามการเพิ่มขึ้นของเครื่องชี้ ได้แก่ ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ และจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ
สำหรับดัชนีในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 มีค่า 133.5 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาที่มีค่า 130.7 และดัชนีเฉลี่ยทั้งปี 2546 มีค่าอยู่ที่ระดับ 128.4
ดัชนีพ้องเศรษฐกิจ
ค่าประมาณการเบื้องต้นของดัชนีพ้องเศรษฐกิจ (Coincident Economic Index : CEI) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ในเดือนธันวาคม 2546 อยู่ที่ระดับ 122.4 เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายนร้อยละ 1.8 ตามการเพิ่มขึ้นของเครื่องชี้ ได้แก่ ยอดภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ปริมาณจำหน่ายรถยนต์รวม ดัชนีผลผลิต อุตสาหกรรม และยอดการนำเข้าสินค้า ณ ราคาคงที่
สำหรับดัชนีในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 มีค่า 121.9 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาที่มีค่า 120.6 และดัชนีเฉลี่ยทั้งปี 2546 มีค่าอยู่ที่ระดับ 120.4
การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภค
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (Expenditure on private consumption) ในไตรมาสที่ 4 ของ ปี 2546 มีการปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2545 (ตารางที่ 5)
ทั้งนี้ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัวในเกณฑ์ดี ซึ่งเครื่องชี้สำคัญที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2545 คือ ปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน ภาษีมูลค่าเพิ่ม การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ยอดการจำหน่ายรถยนต์และรถจักรยานยนต์
เมื่อเทียบปี 2546 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เพิ่มขึ้นจากปี 2545 เนื่องจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ตลอดจนอัตราดอกเบี้ยต่ำ ทำให้ภาคเอกชนหันมาใช้จ่ายมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนภาคเอกชนโดยรวม (ตารางที่ 6) ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 พิจารณาจากปัจจัยหลัก 3 ประการ ได้แก่ ยอดการขายซีเมนต์ในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศ และยอดการนำเข้าสินค้าทุน พบว่า การลงทุนภาคเอกชน ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2545
หากแยกตามรายการสินค้าพบว่า ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 เพิ่มขึ้นทั้งจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2545
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 เพิ่มขึ้นทั้งจากไตรมาสที่ผ่านมา และไตรมาสเดียวกันของปี 2545
ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุน ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 เพิ่มขึ้นทั้งจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2545
เมื่อเทียบปี 2546 การลงทุนภาคเอกชนมีการขยายตัวจากปี 2545 เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำเป็นปัจจัยสนับสนุนการลงทุน
ภาวะราคาสินค้า
จากการสำรวจดัชนีราคาผู้บริโภค (ตารางที่ 7) และดัชนีราคาผู้ผลิต (ตารางที่ 8) โดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ พบว่า ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ดัชนีราคาผู้บริโภคปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2545 ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ตามราคาผักและผลไม้
ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิต ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2545 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดผลผลิตเกษตรกรรมและผลิตภัณฑ์จากเหมือง สำหรับราคาหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมทรงตัวจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่ปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2545
เมื่อเทียบปี 2546 ดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาผู้ผลิต เพิ่มขึ้นจากปี 2545
แรงงานในภาคอุตสาหกรรม
จากการสำรวจภาวะการทำงานของประชาชนในไตรมาสที่ 4 (ตัวเลขเดือนพฤศจิกายน)ของปี 2546 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่ามีผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน 35.28 ล้านคน เป็นผู้ที่มีงานทำ 34.5 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 97.8 ของกำลังแรงงานทั้งหมด และมีผู้ว่างงาน 0.54 ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ 1.50) ลดลงจากช่วงไตรมาสที่ 3 เล็กน้อยที่มีผู้ว่างงาน 0.55 ล้านคน
สำหรับการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 มีจำนวน 5.49 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 15.91 ของผู้มีงานทำทั้งหมด และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงไตรมาสที่ 3 พบว่าอุตสาหกรรมการผลิตมีจำนวนผู้มีงานทำเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จาก 5.39 ล้านคนเป็น 5.49 ล้านคน เพิ่มขึ้นประมาณ 100,000 คน หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 1.9
ทางด้านจำนวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ณ สิ้นไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 มีจำนวนผู้ประกันตนทั้งสิ้น 7,434,237 คน เพิ่มขึ้นจากช่วงไตรมาสที่ 3 82,916 คน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.12) กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้รับแจ้งจำนวนลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างในระยะเวลา 12 เดือนของปี 2546 มีจำนวน 176,793 คน โดยเป็นการเลิกจ้างในอุตสาหกรรมการผลิตจำนวน 69,502 คน อุตสาหกรรมที่มีการเลิกจ้างมากที่สุด 4 อันดับแรกได้แก่อุตสาหกรรมการผลิตอาหาร มีจำนวน 9,299 คน รองลงมาคืออุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปและเครื่องแต่งกายจำนวน 8,308 คน อุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอและสิ่งถัก จำนวน 6,490 คน และอุตสาหกรรมการผลิตยางและพลาสติก จำนวน 6,076 คน
ส่วนสถานประกอบการที่เลิกกิจการมีจำนวน 17,487 แห่ง ซึ่งอุตสาหกรรมที่มีการเลิกกิจการ มากที่สุดคือ อุตสาหกรรมการผลิต ประกอบ ซ่อมยานพาหนะและอุปกรณ์ 826 แห่ง รองลงมาคืออุตสาหกรรมการผลิตโลหะขั้นมูลฐาน จำนวน 642 แห่ง และอุตสาหกรรมอาหารเครื่องดื่มและยาสูบ 575 แห่ง
การค้าต่างประเทศ
สถานการณ์การค้าในช่วงไตรมาสสี่ของปี 2546 มีทิศทางเพิ่มสูงขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ของ ปี 2546 โดยในไตรมาสที่ 4 นี้การค้าต่างประเทศของไทยมีมูลค่าทั้งสิ้น 42,828.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 21,909.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 20,918.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.93 และการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.56 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่ามูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 19.39 และมูลค่าการ นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.16 ส่งผลให้การเกินดุลการค้าในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 มีมูลค่า 990.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งลดลงจากไตรมาส 3 ร้อยละ 2.81 และลดลงร้อยละ 39.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว
เมื่อพิจารณาสถานการณ์การค้าตลอดทั้งปี 2546 พบว่า การส่งออกมีมูลค่าสูงถึง 80,238.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.6 เมื่อเทียบกับปี 2545 ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 75,018.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 ส่งผลให้มีการเกินดุลการค้า 5,219.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3
เป็นที่น่าสังเกตว่าการส่งออกตลอดทั้งปี 2546 เมื่อพิจารณาเป็นรายเดือน พบว่ามีมูลค่าการส่งออกเกินกว่า 6,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯทุกเดือน โดยเฉพาะตั้งแต่เดือนกันยายนถึงธันวาคม มีมูลค่าการส่งออกสูงเกินกว่า 7,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
โครงสร้างการส่งออก
การส่งออกในปี 2546 ประกอบด้วย สินค้าอุตสาหกรรม 61,364.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 76.5) สินค้าเกษตรกรรม 8,860.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 11.0) สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร 5,954.2ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 7.4) สินค้าแร่ธาตุและเชื้อเพลิง 2,302.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 2.9) และสินค้าอื่นๆ 1,756.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 2.2)
เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการส่งออกของสินค้าเกือบทุกตัวมีอัตราการขยายตัวที่เพิ่มขึ้น โดยสินค้าเกษตรกรรมส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.5 สินค้าอุตสาหกรรมเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 สินค้าอุตสาหกรรม ส่งออกเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 16.8 สินค้าแร่ธาตุและเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.0 และสินค้าอื่นลดลงร้อยละ 13.9สินค้าส่งออกที่สำคัญ 10 รายการหลักในปี 2546 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบซึ่งมีมูลค่าการส่งออกสูงสุดคือ 8,192.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือ แผงวงจรไฟฟ้า 4,626.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 3,957.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ยางพารา 2,788.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เสื้อผ้าสำเร็จรูป 2,764.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัญมณีและเครื่องประดับ 1,829.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ 2,502.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เม็ดพลาสติก 2,149.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 2,137.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และข้าว 1,855.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มูลค่าการส่งออก 10 รายการหลักรวมกันเท่ากับ 33,506.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 42.49 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด
ตลาดส่งออก
ในปี 2546 การส่งออกไปยังตลาดหลัก ซึ่งได้แก่ อาเซียน สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และจีน มีสัดส่วนการส่งออกรวมคิดเป็นร้อยละ 73.54 ของการส่งออกของไทยไปยังทั่วโลก โดยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนพบว่า การส่งออกของประเทศไทยเพิ่มขึ้นในทุกตลาดหลัก โดยในตลาดอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.9 ตลาดญี่ปุ่นร้อยละ 14.5 ตลาดสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ตลาดสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1 ตลาดจีนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 60.1 และตลาดอื่นๆร้อยละ 17.8
โครงสร้างการนำเข้า
การนำเข้าในปี 2546 ประกอบด้วยสินค้าทุน มีมูลค่าสูงที่สุด 33,639.5ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 44.8) รองลงมาเป็นการนำเข้าวัตถุดิบ 22,278.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 29.7) น้ำมันเชื้อเพลิง 8,895.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 11.9) สินค้าอุปโภคบริโภค 6,288.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 8.4) สินค้าหมวดยานพาหนะ 3,081.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 4.1) และ สินค้าอื่นๆ 835.6 (คิดเป็นร้อยละ 1.1)
เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่าสินค้าทุกหมวดมีมูลค่าการนำเข้าขยายตัว โดยสินค้าทุนนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.0 น้ำมันเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.1 สินค้าวัตถุดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.6 สินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.2 และสินค้าหมวดยานพาหนะเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.9 สินค้าหมวดอื่นๆเพิ่มขึ้นร้อยละ 52.2
แหล่งนำเข้า
การนำเข้าจากแหล่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น, อาเซียน, สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และจีน โดยในปี 2546 มีสัดส่วนนำเข้ารวมร้อยละ 68.21 และเมื่อเทียบกับปี 2545 พบว่าการนำเข้าจากกลุ่มประเทศอาเซียน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 ,สหภาพยุโรป ร้อยละ 6.6 ,ญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.1 ,สหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5, จีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.6 และจากแหล่งอื่นๆลดลงร้อยละ 6.3
แนวโน้มการส่งออก
สถานการณ์การค้าในปี 2547 ยังคงมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น แม้ว่าจะมีปัญหาเรื่องของการระบาดของไข้หวัดนก ที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์ไก่โดยตรงของไทย จากการศึกษาของศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบว่าหากประเทศคู่ค้าระงับการนำเข้าไก่จากไทย 1 เดือน การส่งออกไก่จะลดลงร้อยละ 4.35 แต่จะมีผลต่อการส่งออกโดยรวมเพียงร้อยละ 0.1 ซึ่งไม่กระทบต่อการส่งออกโดยรวมมากนัก
กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์แนวโน้มการส่งออกในทิศทางที่ดี โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกรวมทั้งปี 2547 น่าจะขยายตัวได้ในระหว่างร้อยละ 10 -13 แต่อย่างไรก็ตามยังต้องพิจารณาปัจจัยหลายๆด้านประกอบกันด้วย โดยเฉพาะในเรื่องของการเปิดเสรีการค้า รวมทั้งราคาวัตถุดิบ และราคาสินค้าเกษตรบางชนิดเช่น ข้าวหอมมะลิที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นมาก
การลงทุนจากต่างประเทศ
การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 จากข้อมูลเบื้องต้นของธนาคารแห่งประเทศไทย การลงทุนสุทธิในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน มีมูลค่ารวม - 2,028 ล้านบาท โดยในเดือนตุลาคมมีมูลค่าการลงทุนสุทธิ -3,118 ล้านบาท และเดือนพฤศจิกายน 1,090 ล้านบาท
ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่สี่ของปี 2546 สาขาอุตสาหกรรมเป็นสาขาที่มีการลงทุนสุทธิมากที่สุด คือ 5,755 ล้านบาท โดยในสาขาอุตสาหกรรมมีการลงทุนสุทธิในหมวดอาหารมากที่สุด เป็นเงินลงทุนสุทธิ 3,019 ล้านบาท รองลงมาคือหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง 656 ล้านบาท และสาขาเหมืองแร่ 655 ล้านบาท
ประเทศที่เข้ามาลงทุนสุทธิในประเทศไทยมากที่สุดในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน คือ ประเทศญี่ปุ่น มีเงินลงทุนสุทธิถึง 2,402 ล้านบาท รองลงมาคือ ประเทศสิงคโปร์ ,ไต้หวัน และมาเลเซียมีเงินลงทุนสุทธิ 2,214 ล้านบาท , 1,142 ล้านบาท และ 993 ล้านบาท ตามลำดับ
สำหรับการลงทุนจากต่างประเทศที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พบว่า ในปี 2546 การลงทุนจากต่างประเทศที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI มีจำนวนทั้งสิ้น 591 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 220,100 ล้านบาท โดยเป็นโครงการที่ลงทุนจากต่างประเทศ 100 % จำนวน 305 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 104,500 ล้านบาท เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างไทยและต่างประเทศ 286 โครงการ เป็นเงินลงทุน 115,600 ล้านบาท
เมื่อพิจารณาในหมวดของการเข้ามาลงทุน พบว่า ในปี 2546 ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุด คือ หมวดผลิตโลหะและอุปกรณ์ มีเงินลงทุน 69,500 ล้านบาท รองลงมาคือ หมวดเคมี กระดาษ และพลาสติก มีเงินลงทุน 51,100 ล้านบาท หมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 44,300 ล้านบาท
สำหรับแหล่งลงทุนในปี 2546 พบว่านักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นมีการลงทุนมากที่สุดโดยได้รับการส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 260 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 97,957 ล้านบาท รองลงมาคือ ประเทศ สหรัฐอเมริกาจำนวน 40 โครงการ 24,574 ล้านบาท สหราชอาณาจักร 14 โครงการ เป็นเงินลงทุน 20,513 ล้านบาท ,ไต้หวัน จำนวน 57 โครงการ เป็นเงินลงทุน 13,553 ล้านบาท
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-