แนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษในแม่น้ำท่าจีน

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday February 19, 2004 13:47 —สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ความเห็นและข้อเสนอแนะ
เกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษในแม่น้ำท่าจีน
ความเป็นมา
สืบเนื่องจากสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้จัดทำความเห็นและข้อเสนอแนะ
เกี่ยวกับ”โครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำแม่น้ำท่าจีน ณ จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครปฐม” ซึ่งมี
มูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาทเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2545โดยให้ความเห็นว่ารัฐบาลควรระงับโครงการนี้
ไว้ก่อนเนื่องจากแม่น้ำท่าจีนเป็นหนึ่งใน25แม่น้ำสำคัญของประเทศอยู่ในสภาพมลพิษเสื่อมโทรมที่สุดโดยยัง
ไม่ได้รับการแก้ไขจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรจะได้ร่วมมือกัน
เร่งรัดแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ในขณะนี้ให้เกิดผลสำเร็จและเป็นที่ยอมรับได้ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งระงับ
การก่อสร้างไว้ก่อน ต่อมาสภาที่ปรึกษาฯได้นำเสนอความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการ
บริหารจัดการภัยน้ำหลาก ภัยน้ำเสีย และภัยน้ำขาดแคลนในพื้นที่ราบลุ่มภาคกลางแบบบูรณาการต่อ
นายกรัฐมนตรีไปแล้วเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2546 วันที่ 23 กันยายน 2546 และวันที่ 30 กันยายน
2546 ตามลำดับ
สภาที่ปรึกษาฯเห็นว่าแม่น้ำท่าจีนเป็นหนึ่งใน 25 แม่น้ำสำคัญของประเทศมีคุณภาพน้ำอยู่ใน
ภาวะวิกฤติและมีปัญหามลพิษร้ายแรงที่สุดจึงเห็นสมควรที่จะศึกษาในสาระสำคัญเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไข
ปัญหามลพิษในแม่น้ำท่าจีนอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อจัดทำความเห็นและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้
เป็นการดำเนินการตามภารกิจของสภาที่ปรึกษาฯภายใต้มาตรา 89 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทย พ.ศ. 2540
การดำเนินการของสภาที่ปรึกษาฯ
สภาที่ปรึกษาฯได้มอบหมายให้คณะทำงานศึกษาและอนุรักษ์แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน
แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกงได้ทำการศึกษาสาระสำคัญและแนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษในแม่น้ำ
ท่าจีนโดย (1) รวบรวมเอกสารและข้อมูลจากแหล่งต่างๆ(2) จัดเสวนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นจาก
ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และ (3) การจัดประชุมกลุ่มย่อยโดยเชิญนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรที่
เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งผู้แทนจากภาคประชาชนมาร่วมให้ความคิดเห็น
ข้อเท็จจริง
จากการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำในแม่น้ำท่าจีนที่เป็นแม่น้ำสายหลักในลุ่มน้ำท่าจีนพบว่า
คุณภาพน้ำอยู่ในภาวะวิกฤติและเป็นแม่น้ำที่มีปัญหาเสื่อมโทรมมากที่สุดในประเทศโดยเฉพาะในบริเวณ
ลุ่มน้ำท่าจีนตอนล่าง จากอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ลงไปจนถึงปากแม่น้ำ อำเภอเมือง
จังหวัดสมุทรสาครเป็นระยะความยาวของแม่น้ำกว่า 80 กิโลเมตรโดยมีค่าออกซิเจนละลายต่ำกว่า
1 มิลลิกรัมต่อลิตรหรือต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดให้มีค่าไม่ต่ำกว่า 2 มิลลิกรัมต่อลิตรและการปนเปื้อน
ของแบคทีเรียโคลิฟอร์มสูงมากทั้งนี้เนื่องจากการระบายน้ำทิ้งจากกิจกรรมต่างๆ ทั้งชุมชนทั้งหลาย
เกษตรกรรมบางประเภทและอุตสาหกรรมบางประเภทที่เกินศักยภาพการฟอกตัวของแม่น้ำและส่งผล
กระทบต่อการใช้ประโยชน์ของแหล่งน้ำของประชาชนรวมทั้งระบบนิเวศของแหล่งน้ำตลอดจนการ
ส่งผลกระทบต่อคุณภาพแหล่งน้ำและทรัพยากรชายฝั่งทะเลในบริเวณอ่าวไทยตอนใน การดำเนินการ
เกี่ยวกับลุ่มน้ำท่าจีนได้ดำเนินการเป็นภาพรวมทั้งพื้นที่จากต้นกำเนิดแม่น้ำและการผันน้ำจากแม่น้ำ
เจ้าพระยาเข้าสู่คูคลองต่างๆ การใช้ประโยชน์ การรักษาระบบนิเวศแหล่งน้ำ จนกระทั่งการไหล
ของน้ำออกสู่ชายฝั่งทะเล
แนวความคิดในการจัดการคุณภาพน้ำให้เป็นระบบลุ่มน้ำโดยยึดพื้นที่ตามลักษณะสันปันน้ำเป็น
ที่ตั้งจึงได้ถูกนำมาใช้โดยการนำวิกฤติความเน่าเสียและผลกระทบที่เกิดขึ้นในปี 2543 ที่ประชาชนได้รับ
ผลกระทบในวงกว้างมาเป็นโอกาสในการจัดการโดยนำปัญหาต่างๆมาแยกแยะและจัดลำดับความสำคัญ
ของการแก้ไขปัญหาตามสภาพโดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการวางแผนจัดการ
รวมทั้งการตั้งคณะอนุกรรมการประสานจัดการลุ่มน้ำท่าจีนขึ้น ภายใต้พรบ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพ
สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 2535 เพื่อทำหน้าที่ประสานงานในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษ
ในพื้นที่โดยมีองค์ประกอบทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้ว่าราชการจังหวัดต่าง ๆ ที่แม่น้ำท่าจีนสายหลักไหลผ่าน
รวมทั้งผู้แทนชุมชนในพื้นที่งานที่ได้ดำเนินการไปแล้วได้แก่ การกำหนดวิสัยทัศน์การจัดการร่วมกันโดย
กำหนดเป้าหมายใน 10 ปี การจัดทำแผนปฏิบัติการในการป้องกันและแก้ไขปัญหา การจัดทำแผนฉุกเฉิน
การแก้ไขปัญหาผักตบชวาให้ครบวงจรและการสร้างเครือข่ายชุมชนในการติดตามตรวจสอบคุณภาพแหล่งน้ำ
และน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษ รวมทั้งการเผยแพร่ข้อมูลสู่ประชาชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
สภาพพื้นที่
ลุ่มน้ำท่าจีนเป็นลุ่มน้ำสำคัญในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคกลางมีพื้นที่ประมาณ 13,700 ตารางกิโลเมตร
ประกอบด้วยพื้นที่ 6 จังหวัด มีแม่น้ำท่าจีนสายหลักเป็นแม่น้ำที่มีความสำคัญอันดับสองของประเทศรองจาก
แม่น้ำเจ้าพระยา แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาทมีความยาวทั้งหมด 320 กิโลเมตร
ไหลผ่าน 4 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท สุพรรณบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร
พื้นที่ลุ่มน้ำท่าจีนมีองค์ประกอบเป็นที่ราบสูง และภูเขา ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และพื้นที่
ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม ประชากรในพื้นที่ลุ่มน้ำมีจำนวนประมาณ 2.5 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2543 และมี
แนวโน้มจะเพิ่มเป็น 3.2 ล้านคนในปี พ.ศ. 2553ซึ่งมีการกระจายตัวส่วนใหญ่ตามริมแม่น้ำท่าจีนสายหลัก
และคูคลองสาขาโดยในจังหวัดนครปฐมและสุพรรณบุรีมีประชากรมากที่สุดประมาณร้อยละ74 ของประชากร
ทั้งหมดในพื้นที่ลุ่มน้ำ
แม่น้ำท่าจีนสายหลักได้เอื้อประโยชน์ในด้านต่างๆกับประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำได้แก่การเกษตร
การอุตสาหกรรม การประมงและการอนุรักษ์สัตว์น้ำ แหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคของประชาชนใน
พื้นที่และแหล่งน้ำดิบสำคัญของกรุงเทพมหานครรวมทั้งแหล่งรองรับน้ำเสียและของเสียจากกิจกรรมต่างๆ
ภายหลังการใช้ประโยชน์แล้วในด้านการเกษตร กรมชลประทานได้พัฒนาระบบชลประทานในรูปของคลอง
ส่งน้ำโดยปริมาณน้ำในแม่น้ำท่าจีนส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับการระบายน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาและประตูระบายน้ำ
ที่กั้นแม่น้ำอยู่ 4 แห่ง ได้แก่ ประตูระบายน้ำพลเทพ (กิโลเมตรที่ 318 จากปากแม่น้ำ) ที่อำเภอวัดสิงห์
จังหวัดชัยนาท ประตูระบายน้ำท่าโบสถ์ (กิโลเมตร ที่ 290 จากปากแม่น้ำ) ที่อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท
ประตูระบายน้ำสามชุก หรือ ชลมาร์ควิจารณ์(กิโลเมตรที่ 239 จากปากแม่น้ำ) ที่อำเภอสามชุก จังหวัด
สุพรรณบุรี และ ประตูระบายน้ำโพธิ์พระยา (กิโลเมตรที่ 202 จากปากแม่น้ำ) ที่อำเภอเมือง จังหวัด
สุพรรณบุรี ยังมีคลองหลายแห่งที่ใช้เป็นคลองชลประทานในพื้นที่ทั้งฝั่งขวา และฝั่งซ้ายเชื่อมต่อกับแม่น้ำ
เจ้าพระยา และ แม่น้ำแม่กลอง ตามลำดับ การระบายน้ำจากประตูระบายน้ำจะขึ้นอยู่กับฤดูกาล ปริมาณ
น้ำต้นทุน และความต้องการใช้น้ำเพื่อการเพาะปลูกกิจกรรมอื่นๆและการป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็มใน
แม่น้ำท่าจีนโดยควบคุมระดับความเค็มที่สะพานโพธิ์แก้ว อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐมให้อยู่ในระดับ
ไม่เกินกว่า 1 ส่วนในพันส่วน (ppt)
ในด้านปัญหามลพิษทางน้ำพบว่าแม่น้ำท่าจีนอยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรมมากที่สุดในประเทศทั้งนี้
เนื่องจากการระบายน้ำเสียจากแหล่งต่างๆ ดังกล่าวมาแล้วได้แก่ แหล่งชุมชน (อาคารบ้านเรือน ตลาดสด
โรงแรม สถานที่ราชการ อาคารสำนักงาน ร้านอาหารและภัตตาคาร) โรงงานอุตสาหกรรมบางประเภท
(โรงงานฟอกย้อม อาหาร กระดาษ น้ำตาล และเคมีภัณฑ์อื่นๆ) และเกษตรกรรมบางประเภท (ฟาร์มสุกร
ฟาร์มเป็ด บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและ การเพาะปลูกต่างๆ) สัดส่วนของน้ำเสียจากแหล่งต่างๆนั้นจะแตกต่าง
กันออกไปทั้งสภาวะปกติและสภาวะวิกฤติ
คุณภาพน้ำในแม่น้ำท่าจีน
แม่น้ำท่าจีนได้ถูกกำหนดประเภทแหล่งน้ำตั้งแต่ต้นของแม่น้ำที่ประตูระบายน้ำพลเทพ อำเภอ
วัดสิงห์ จังหวัดชัยนาทลงไปถึงปากแม่น้ำ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาครออกเป็น 3 ช่วง ดังต่อไปนี้
(1) แม่น้ำท่าจีนตอนบน ตั้งแต่ประตูระบายน้ำโพธิ์พระยา อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
ที่กิโลเมตร 202 จากปากแม่น้ำขึ้นไปทางตอนเหนือจนถึงที่ประตูระบายน้ำพลเทพ อำเภอวัดสิงห์ จังหวัด
ชัยนาทที่กิโลเมตร 320 จากปากแม่น้ำ เป็นช่วงที่ 3 กำหนดเป็นแหล่งน้ำประเภทที่ 2 เพื่อการอุปโภค
และบริโภค การประมง การอนุรักษ์สัตว์น้ำ และ การกีฬาทางน้ำอื่นๆ ต้องมีค่าออกซิเจนละลาย(DO)
มากกว่าหรือเท่ากับ 6.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าความสกปรกในรูปบีโอดี (BOD) ไม่เกินกว่า
1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร และค่าแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด (TCB)ไม่เกินกว่า 5,000 MPN
ต่อ 100 ml (หน่วย)และค่าแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม (FCB) ไม่เกินกว่า 1,000 หน่วย
จากการตรวจวัดคุณภาพน้ำในปี 2546 พบว่าคุณภาพน้ำที่สำคัญคือออกซิเจนละลาย (DO)
มีค่าเฉลี่ย 4.7 มก./ล. ความสกปรกในรูปบีโอดี (BOD) มีค่าเฉลี่ย 0.8 มก./ล. ค่าแบคทีเรียก
ลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด (TCB) มีค่าเฉลี่ย 9,500 MPN ต่อ 100 ml (หน่วย)และแบคทีเรียกลุ่ม
ฟีคอลโคลิฟอร์ม (FCB) ไม่เกินกว่า 1,500 หน่วย เปรียบเทียบกับมาตรฐานแหล่งน้ำประเภทที่ 2
พบว่าส่วนใหญ่ไม่ได้ตามมาตรฐานแต่คุณภาพน้ำท่าจีนตอนบนโดยรวมอยู่ในเกณฑ์พอใช้
(2) แม่น้ำท่าจีนตอนกลาง ตั้งแต่หน้าที่ว่าการอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐมที่
กิโลเมตร 82 จากปากแม่น้ำขึ้นไปทางตอนเหนือจนถึงประตูระบายน้ำโพธิ์พระยา อำเภอเมือง
จังหวัดสุพรรณบุรีที่กิโลเมตร 202 จากปากแม่น้ำ เป็นช่วงที่ 2 เป็นแหล่งน้ำประเภทที่ 3 เพื่อ
การเกษตร การอุปโภคและบริโภคต้องมีออกซิเจนละลาย (DO) มากกว่าหรือเท่ากับ
4 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าความสกปรกในรูปบีโอดี (BOD)ไม่เกินกว่า 2 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่า
แบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด (TCB)ไม่เกินกว่า 20,000 MPN ต่อ 100 ml (หน่วย)
และค่าแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม (FCB) ไม่เกินกว่า 4,000 หน่วย
จากการตรวจวัดคุณภาพน้ำในปี 2546 พบว่าคุณภาพน้ำที่สำคัญคือออกซิเจนละลาย
(DO) มีค่าเฉลี่ย 1.3 มก./ล. ความสกปรกในรูปบีโอดี (BOD) มีค่าเฉลี่ย 2.1 มก./ล. ค่า
แบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด (TCB) มีค่าเฉลี่ย 16,100 MPN ต่อ 100 ml (หน่วย)และ
แบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม (FCB) ไม่เกินกว่า 3,000 หน่วย เปรียบเทียบกับมาตรฐาน
แหล่งน้ำประเภทที่ 3 พบว่าส่วนใหญ่ไม่ได้ตามมาตรฐานแต่คุณภาพน้ำท่าจีนตอนกลางโดยรวมอยู่
ในเกณฑ์ต่ำเนื่องจากออกซิเจนละลายต่ำมาก
(3) แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง ตั้งแต่ปากแม่น้ำ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาครที่กิโลเมตร 0
จากปากแม่น้ำขึ้นไปทางตอนเหนือจนถึงหน้าที่ว่าการอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐมที่กิโลเมตร 82
จากปากแม่น้ำ เป็นช่วงที่ 1 เป็นแหล่งน้ำประเภทที่ 4 เพื่อการอุตสาหกรรมต้องมีค่าออกซิเจนละลาย
(DO) มากกว่าหรือเท่ากับ 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าความสกปรกในรูปบีโอดี (BOD) ไม่เกินกว่า
4.0 มิลลิกรัมต่อลิตร
จากการตรวจวัดคุณภาพน้ำในปี 2546 พบว่าคุณภาพน้ำที่สำคัญคือออกซิเจนละลาย (DO)
มีค่าเฉลี่ย 0.9 มก./ล. ความสกปรกในรูปบีโอดี (BOD) มีค่าเฉลี่ย 3.7 มก./ล. ค่าแบคทีเรีย
กลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด (TCB) มีค่าเฉลี่ย 96,000 MPN ต่อ 100 ml (หน่วย)และแบคทีเรียกลุ่ม
ฟีคอลโคลิฟอร์ม (FCB) ไม่เกินกว่า 28,000 หน่วย เปรียบเทียบกับมาตรฐานแหล่งน้ำประเภทที่
4 พบว่า ส่วนใหญ่ไม่ได้ตามมาตรฐานแต่คุณภาพน้ำท่าจีนตอนล่างโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ต่ำมาก เนื่องจาก
ออกซิเจนละลายต่ำมากและค่าแบคทีเรียสูงมาก เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าแม่น้ำท่าจีนมีข้อจำกัดด้านปริมาณ
น้ำเนื่องจากน้ำส่วนใหญ่รับมาจากแม่น้ำเจ้าพระยา ที่อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท และจากแม่น้ำ
แม่กลองผ่านทางคลองต่างๆลงสู่แม่น้ำท่าจีนไหลผ่านจังหวัดสุพรรณบุรี นครปฐม และออกสู่ทะเลที่
จังหวัดสมุทรสาคร ความยาวประมาณ 320 กิโลเมตร การใช้ประโยชน์ที่ดินส่วนใหญ่เป็นการใช้
เพื่อการเกษตรกรรมประมาณร้อยละ 76 และมีอุตสาหกรรมหนาแน่นในพื้นที่จังหวัดนครปฐม
และสมุทรสาคร ปริมาณของเสียในภาวะปกติมาจากแหล่งต่างๆทั้งชุมชนริมน้ำร้อยละ 30 อุตสาหกรรม
ร้อยละ 33 และภาคเกษตรกรรม (ฟาร์มสุกร บ่อเพาะเลี้ยง) ร้อยละ 47 แตกต่างกันไปตาม
กิจกรรมต่าง ๆโดยในช่วงจังหวัดนครปฐมปัญหาหลักมาจากของเสียจากฟาร์มสุกรในขณะที่จังหวัด
สมุทรสาครมีปัญหาหลักจากภาคอุตสาหกรรม คุณภาพน้ำในแม่น้ำท่าจีนมีแนวโน้มที่จะเสื่อมโทรมลง
อย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปี 2543 — 2546 แม่น้ำท่าจีนได้ถูกจัดลำดับเป็นแม่น้ำที่สกปรก
ที่สุดในประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงตอนล่างจากปากคลองเจดีย์บูชา อำเภอนครชัยศรี
จังหวัดนครปฐม (กิโลเมตรที่ 82) ซึ่งรองรับน้ำทิ้งจากชุมชนและฟาร์มสุกร ลงไปทางด้านใต้
ปากแม่น้ำอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ปริมาณออกซิเจนละลายมีค่าต่ำกว่าค่ามาตรฐาน
2.0 มิลลิกรัม/ลิตร บางช่วงมีค่าต่ำกว่า 1 มิลลิกรัม/ลิตร คลองสาขาหลายคลองกลายเป็นแหล่ง
รองรับน้ำทิ้งโดยมีความสกปรกสะสมสูงมาก นอกจากนี้แม่น้ำท่าจีนก็ยังมีปัญหาเกี่ยวกับการแพร่กระจาย
ของผักตบชวาในอัตราที่สูง คุณภาพน้ำในแม่น้ำท่าจีนอยู่ในสภาพเสื่อมโทรมและมีแนวโน้มที่จะ
เสื่อมโทรมลงเรื่อยๆทั้งการลดลงของออกซิเจน การเพิ่มขึ้นของปริมาณอินทรีย์สาร (บีโอดี)
และปริมาณแบคทีเรียโคลิฟอร์ม การดำเนินงานในการแก้ไขปัญหาน้ำเสียจากภาคต่างๆเป็นไปได้
อย่างช้าๆ เมื่อเปรียบเทียบกับแม่น้ำเจ้าพระยา
นอกจากนี้ในช่วงเดือนเมษายน — พฤษภาคม 2543 ก็ได้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดและ
ไม่มีที่ใดในประเทศที่เกิดสภาพน้ำท่วมพื้นที่นาข้าวในขณะที่ข้าวออกรวงในพื้นที่กว่า1 แสนไร่ ปริมาณ
น้ำเสียสะสมกว่า 100 ล้านลูกบาศก์เมตร ถูกผลักดันลงสู่แม่น้ำท่าจีนทำให้แม่น้ำท่าจีนเน่าเสียรุนแรง
เป็นระยะทางกว่า 150 กิโลเมตรโดยประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้นในแม่น้ำและชายฝั่งทะเลหลาย
ร้อยล้านบาททั้งนี้ไม่รวมความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับระบบนิเวศแหล่งน้ำตามธรรมชาติ
อย่างไรก็ตามเหตุวิกฤติในปี2543 ได้นำมาเป็นโอกาสในการแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำ
ร่วมกันระหว่างหน่วยงานในพื้นที่ทั้ง 4 จังหวัด (ชัยนาท สุพรรณบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร) ที่แม่น้ำ
ท่าจีนไหลผ่าน กรมควบคุมมลพิษและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะองค์กรประชาชนที่เกิดขึ้นใน
จังหวัดนครปฐม และได้มีการขยายเครือข่ายในระดับอำเภอ คูคลอง และเป็นเครือข่ายทั้งสี่จังหวัด
โดยมีวิสัยทัศน์ร่วมกันว่าจะดำเนินการฟื้นฟูคุณภาพน้ำในแม่น้ำท่าจีนให้อยู่ในระดับมาตรฐานคุณภาพน้ำ
เพื่อการใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ภายใน 10 ปี
ในช่วงปี 2545 ได้มีการนำเสนอโครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำท่าจีน 2 แห่งที่
อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม และอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร แต่ก็ได้มีการคัดค้านของ
ประชาชนในพื้นที่โดยชมรมจากภาคเอกชนที่มีความเข้าใจและคลุกคลีในปัญหาจากการประชาพิจารณ์
ในวันที่ 15 กรกฎาคม 2545จึงได้มีมติให้เลื่อนการดำเนินโครงการออกไปถ้าจะดำเนินโครงการ
จะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมโดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อมและให้มีการดำเนินการแก้ไขปัญหาเขื่อนทด
น้ำบางปะกงให้เป็นรูปธรรมรวมทั้งการดำเนินโครงการที่ให้ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามี
บทบาทพร้อมทั้งพิจารณาทางเลือกอื่นให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ต่อไป
ประเด็นปัญหา
ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับปัญหามลพิษในลุ่มน้ำท่าจีนพอสรุปได้ดังตารางที่ 1
ซึ่งปัญหาหลักสำคัญของพื้นที่ลุ่มน้ำคือ 1) ฟาร์มเลี้ยงสุกรบางแห่งและเกษตรกรรมบาง
ประเภทปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำท่าจีนโดยไม่มีการบำบัดก่อน 2) โรงงานอุตสาหกรรมบางประเภท
เนื่องจากในจังหวัดนครปฐมมีโรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่ริมน้ำเป็นจำนวนมากซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่มีระบบ
บำบัดน้ำเสียหรือที่มีระบบบำบัดน้ำเสียแต่มิได้ปฏิบัติตามมาตรฐานและข้อกำหนดของทางราชการ
3) ชุมชนขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็กซึ่งยังไม่มีระบบบำบัดน้ำเสียหรือมีการก่อสร้างระบบ
บำบัดน้ำเสียแล้วแต่ไม่ได้ใช้ และ4) การใช้สารเคมีในการปราบศัตรูพืชและวัชพืช
ตารางที่ 1 สภาพปัญหาในพื้นที่ลุ่มน้ำท่าจีน
พื้นที่ กิจกรรมหลัก ปัญหามลพิษที่เกี่ยวข้อง
ลุ่มน้ำท่าจีนตอนล่าง - โรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลาง - ค่าออกซิเจนละลายต่ำ
และเล็กยังไม่มีการบำบัดน้ำเสีย - บีโอดีสูง
และขนาดใหญ่บำบัดน้ำเสียไม่ได้ - แบคทีเรียสูง
มาตรฐาน - แอมโมเนียสูง
- แหล่งชุมชนยังไม่มีระบบรวบรวม - การปนเปื้อนของสารพิษ
และบำบัดน้ำเสีย บางประเภท
- ฟาร์มสุกรยังไม่มีการบำบัดน้ำเสีย - การรุกล้ำของน้ำเค็มในฤดูน้ำน้อย
- การเพาะปลูกประเภทพืชสวนและ - การย่อยสลายผักตบชวาในพื้นที่
ไม้ประดับ ที่มีการใช้ปุ๋ยและ ปากน้ำทำให้เกิดการเน่าเสีย
ยาฆ่าแมลงจำนวนมาก
ลุ่มน้ำท่าจีนตอนกลาง - ฟาร์มสุกรที่หนาแน่นในพื้นที่จังหวัด - ค่าออกซิเจนละลายต่ำ
นครปฐมและไม่ครอบคลุมพื้นที่ - บีโอดีสูง
- แหล่งชุมชนส่วนใหญ่ยังไม่มีระบบ - แบคทีเรียสูง
รวบรวมและบำบัดน้ำเสีย - แอมโมเนียสูง
- การเพาะปลูกโดยเฉพาะพื้นที่ - ผักตบชวาหนาแน่น
นาข้าวที่ถูกน้ำท่วมในฤดูเก็บเกี่ยว
- การเลี้ยงกุ้งกุลาดำในพื้นที่น้ำจืด
ลุ่มน้ำท่าจีนตอนบน - แหล่งชุมชนยังไม่มีระบบรวบรวม - ค่าออกซิเจนละลายต่ำกว่า
และบำบัดน้ำเสีย มาตรฐานบางฤดูกาล
- การเพาะปลูกที่มีการใช้ปุ๋ย - แบคทีเรียสูง
และยาฆ่าแมลง - ผักตบชวาหนาแน่น
- บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ไม่มีการ - ปลาหน้าวัดได้รับผลกระทบใน
บำบัดน้ำเสีย ช่วงฤดูน้ำน้อยและช่วงฝนแรก
- การเลี้ยงกุ้งกุลาดำในพื้นที่น้ำจืด
การจัดการคุณภาพน้ำในลุ่มน้ำท่าจีน
ปัญหามลพิษที่เกิดขึ้นในช่วงเมษายน-พฤษภาคม 2543 ที่ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างกว้างขวาง
ดังกล่าวมาแล้ว เป็นจุดเริ่มต้นของการจัดการคุณภาพน้ำให้เป็นระบบทั้งพื้นที่ลุ่มน้ำโดยเป็นการนำวิกฤติที่
เป็นความสนใจของคนทั่วไปและประชาชนที่ได้รับผลกระทบมาเป็นใช้เป็นโอกาสในการดำเนินการแก้ไข
ปัญหาในพื้นที่โดยมีแนวทางการดำเนินการร่วมกันทั้งภาครัฐ เอกชนและประชาชนในพื้นที่เป็นแบบลักษณะ
ลุ่มน้ำโดยมีคณะกรรมการบริหารลุ่มน้ำ ประกอบด้วยผู้แทนภาครัฐ เอกชน และประชาชนในพื้นที่ทั้ง
4 จังหวัด (ชัยนาท สุพรรณบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร) ที่แม่น้ำท่าจีนไหลผ่านเนื่องจากการจัดการ
คุณภาพน้ำในแม่น้ำท่าจีนเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงานที่มีความรับผิดชอบแตกต่างกันและจะต้องพิจารณา
ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพซี่งมีความเกี่ยวข้องกันมากในการแก้ไขปัญหามลพิษในลุ่มน้ำท่าจีน รวมทั้ง
การพิจารณาถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อสามารถให้ดำเนินการอย่างเร่งด่วนได้ตามขอบเขตกฏหมาย
ในขณะนั้น คณะอนุกรรมการประสานจัดการลุ่มน้ำท่าจีนจึงได้ถูกแต่งตั้งขึ้นภายใต้คณะกรรมการควบคุม
มลพิษโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
แห่งชาติ พ.ศ. 2535 เพื่อให้การป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำของแม่น้ำท่าจีนเป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพควบคู่กับการพัฒนาประเทศโดยอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ ได้แก่ การกำกับและติดตามการ
ดำเนินงานตามแผนงานและโครงการป้องกันแก้ไข และฟื้นฟูคุณภาพน้ำในแม่น้ำท่าจีนต่อคณะกรรมการ
ควบคุมมลพิษ การพิจารณากำหนดแนวทางในการบริหารและจัดการคุณภาพน้ำในแม่น้ำท่าจีนโดยให้
ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วม และการพิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงาน การประสานงาน
ของหน่วยงานราชการและเอกชนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการคุณภาพน้ำในลุ่มน้ำท่าจีน อย่างไรก็ตาม
คณะอนุกรรมการฯที่ถูกจัดตั้งขึ้นก็มีข้อจำกัดจึงยังไม่สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาได้ตามเป้าหมาย
ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหามลพิษในแม่น้ำท่าจีน
8.1 ควบคุมการระบายน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม และผลักดันให้เกิดการก่อสร้าง
ระบบบำบัดน้ำเสีย โดยมีโครงการติดตามตรวจสอบและควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม
ริมแม่น้ำท่าจีน ศึกษาแนวทางการนำน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ ส่งเสริมและ
สนับสนุนให้โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กมีการจัดการน้ำเสียที่ถูกต้อง ส่งเสริมและสนับสนุนให้โรงงาน
อุตสาหกรรมใช้เทคโนโลยีสะอาดหรือมาตรการป้องกันมลพิษ พัฒนาไปสู่ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมสากล
รวมทั้งปรับปรุงมาตรฐานน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับความสามารถในการรองรับของเสีย
ของแหล่งน้ำ
8.2 ควบคุมการระบายน้ำเสียจากฟาร์มสุกรให้เป็นไปตามมาตรฐานน้ำทิ้งที่กำหนด
ผลักดันให้เกิดการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียทั้งระบบย่อยและระบบรวม และออกข้อกำหนดท้องถิ่นเพื่อ
ให้เจ้าของฟาร์มสุกรปฏิบัติตามกฎหมายท้องถิ่น ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการฟาร์มสุกรที่ถูกต้องโดย
การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการจัดการสิ่งแวดล้อมฟาร์มสุกร เผยแพร่ความรู้และเทคโนโลยี
การจัดการของเสียและน้ำเสียแก่เจ้าของฟาร์มสุกร รวมทั้งส่งเสริมฟาร์มสุกรที่มีการจัดการสิ่งแวดล้อม
ที่ดีเป็นฟาร์มสุกรมาตรฐาน
8.3 เร่งรัดการดำเนินโครงการก่อสร้างระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียส่วนกลาง
โดยเฉพาะชุมชนที่อยู่ริมน้ำโดยการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียตามลำดับความสำคัญของปัญหาในพื้นที่
ต่างๆและคำนึงถึงมาตรฐานการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียรวมทั้งความสามารถในการรองรับของเสีย
ของแหล่งน้ำนั้นๆโดยให้ความสำคัญกับโครงการในพื้นที่ลุ่มน้ำท่าจีนตอนล่าง
8.4 ควบคุมการใช้สารพิษโดยการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานทางการเกษตร
ส่งเสริมและสนับสนุนการทำเกษตรอย่างถูกวิธีและการทำเกษตรอินทรีย์
8.5 ควบคุมวัชพืชบางประเภท เช่น ผักตบชวา ควรมีการจัดการแก้ไขปัญหาผักตบชวา
ในลุ่มน้ำอย่างเป็นระบบ เป็นเอกภาพ เพื่อจำกัดการเจริญเติบโตของผักตบชวาอย่างถาวร ควรมีการ
รณรงค์เพื่อเก็บและกำจัดผักตบชวาในแหล่งน้ำในเขต อบต. หรือเทศบาลของตนเองโดยการจัดตั้งจุด
สกัดตามริมฝั่งน้ำเป็นช่วงๆ จะสามารถกำจัดผักตบชวาได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งการนำผักตบชวา
มาใช้ประโยชน์ ได้แก่ การทำปุ๋ยหมัก เป็นต้น
8.6 บริหารจัดการปริมาณน้ำเข้าสู่แม่น้ำท่าจีนจากแหล่งต่างๆเพื่อรักษาระบบนิเวศให้
เหมาะสม เนื่องจากแม่น้ำท่าจีนไม่มีลำน้ำสาขาขนาดใหญ่ ปริมาณน้ำต้นทุนได้รับจากลุ่มน้ำสาขาใน
ภาคเหนือแต่ลุ่มน้ำเหล่านี้ก็มีความต้องการน้ำในตัวเองมากขึ้นตามการพัฒนาโครงการแหล่งน้ำที่เพิ่มขึ้น
ปริมาณน้ำที่เหลือลงมาใช้ในแม่น้ำท่าจีนจึงลดลงตามลำดับ และโดยที่แม่น้ำท่าจีนเป็นแม่น้ำที่แยกจาก
แม่น้ำเจ้าพระยา การจัดสรรน้ำให้กับแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีนจึงมีผลกระทบกับแม่น้ำท่าจีนใน
เรื่องปริมาณที่ได้รับการจัดสรร จึงควรมีการจัดการวางแผนการใช้น้ำต้นทุนที่ควบคุมได้ในอ่างเก็บน้ำ
ทั้งหมดให้สอดคล้องกับความต้องการใช้น้ำในกิจกรรมต่างๆ และพัฒนาโครงการขนาดกลางและขนาดเล็ก
ในพื้นที่ตอนบนของลำน้ำสาขาที่สำคัญตลอดจนการจัดสรรน้ำให้ทุกภาคส่วนอย่างเป็นธรรม
8.7 ควรมีการฟื้นฟูหรือขุดลอกคลองหรือแหล่งน้ำธรรมชาติในพื้นที่ลุ่มน้ำท่าจีนให้ครอบคลุม
ทั่วทุกแห่งเพื่อเพิ่มพื้นที่เก็บกักน้ำซึ่งเป็นการบรรเทาปัญหาน้ำน้อยและน้ำท่วมได้ (พื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร
และนครปฐมมีคูคลองหลายแห่งเป็นเครือข่ายประมาณ 30 คลอง)
8.8 เร่งรัดการแก้ไขปัญหาน้ำเสียแบบบูรณาการเชิงรุกโดยทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เข้ามามีส่วนร่วมเพื่อฟื้นฟูคุณภาพน้ำให้อยู่ในระดับมาตรฐานที่กำหนดไว้โดยมีคุณภาพน้ำประเภทที่ 4
(เพื่อการอุตสาหกรรม) สำหรับแม่น้ำท่าจีนตอนล่างจากอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐมถึงปากแม่น้ำ
อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาครซึ่งควรมีค่าออกซิเจนละลายไม่น้อยกว่า 2 มิลลิกรัมต่อลิตร และคุณภาพน้ำ
ประเภทที่ 3 (เพื่อการเกษตร) สำหรับแม่น้ำท่าจีนตอนกลาง จากประตูระบายน้ำโพธิ์พระยา อำเภอเมือง
จังหวัดสุพรรณบุรี ถึงอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐมซึ่งควรจะมีค่าออกซิเจนละลายไม่น้อยกว่า
4 มิลลิกรัมต่อลิตร และคุณภาพน้ำประเภทที่ 2 (เพื่อการอุปโภคบริโภค) สำหรับแม่น้ำท่าจีนตอนบน
จากประตูระบายน้ำพลเทพ อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาทถึงอำเภอเมืองจังหวัดสุพรรณบุรีซึ่งควรจะมี
ค่าออกซิเจนละลายไม่ต่ำกว่า 6 มิลลิกรัมต่อลิตร
8.9 เร่งรัดมาตรการทางกฎหมายและการบังคับใช้ โดยจัดตั้งองค์กร และเพิ่ม
ประสิทธิภาพการใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ควรนำมาตรการทางกฎหมายที่มี
อยู่มาใช้อย่างจริงจังในการดำเนินการกับผู้ก่อมลพิษต่อแม่น้ำท่าจีนเพื่อให้เกิดความหลาบจำและหยุด
การระบายน้ำเสียลงแม่น้ำท่าจีน กรณีที่ตรวจจับมิได้หรืออยู่นอกเหนืออำนาจก็ควรประสานงานกับทุก
หน่วยงานเข้าแก้ไขปัญหา หรือส่งเสริมให้เกิดการแก้ปัญหาโดยให้เงินทุนสนับสนุนหรือมาตรการจูงใจ
แก่ผู้ก่อมลพิษในการบำบัดหรือจัดการของเสียจากแหล่งกำเนิด
8.10 ส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนโดยให้ความสำคัญและส่งเสริม
ให้ภาคประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการใช้น้ำ มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาแหล่งน้ำอย่างจริงใจและ
จริงจัง ทั้งทางด้านการกำหนดนโยบาย การให้ความเห็นชอบต่อแผนและโครงการต่างๆในลุ่มน้ำ
การบริหารโครงการ และการใช้กฎหมาย เป็นต้น เพราะเป็นผู้รับผลกระทบจากปัญหาของแม่น้ำ
โดยตรงรวมทั้งการสนับสนุนงบประมาณกับภาคประชาชน
8.11 การให้การศึกษากับเยาวชน และภาคประชาชนในการสร้างจิตสำนึกของการมี
ส่วนร่วมในการป้องกันมลพิษ และละเลิกการปฏิบัติซึ่งจะก่อให้เกิดมลพิษ
8.12 ควรจัดให้มีแผนพัฒนาจังหวัดที่ยั่งยืนโดยคำนึงถึงระบบเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดำเนินไปพร้อมกันอย่างสมดุลเพื่อทำให้เกิดความเจริญที่ยั่งยืนของ 4 จังหวัด
(ชัยนาท สุพรรณบุรี นครปฐมและสมุทรสาคร)
8.13 เร่งรัดการดำเนินงานของแผนปฏิบัติการป้องกันแก้ไขและฟื้นฟูคุณภาพน้ำในลุ่มน้ำ
ท่าจีนโดยคณะอนุกรรมการประสานจัดการลุ่มน้ำท่าจีนซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ