ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เชื่อมั่นสินเชื่อ ธพ.ปี 49 มีทิศทางการขยายตัวต่อเนื่อง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศ
ไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงทิศทางการขยายตัวของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ในปี 49 โดยเชื่อว่า สินเชื่อในปีหน้ายังจะ
ขยายตัวต่อเนื่องและมากกว่าปีนี้ เพราะขณะนี้ภาคอุตสาหกรรมใช้อัตรากำลังการผลิตใกล้จะเต็มที่แล้ว โดยใน
เดือน ต.ค.ที่ผ่านมา อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับ 72% ซึ่งความต้องการใช้กำลังการผลิตยังคงมีอยู่จึงมี
ความต้องการสินเชื่อจากภาคการผลิตต่อไป ด้านนางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าว
ว่า การขยายตัวของสินเชื่อในปีหน้าจะเติบโตสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ และอยู่ที่ว่าภาคเอกชนจะมีการระดมทุน
ในตราสารทุนมากน้อยแค่ไหน สำหรับการปล่อยสินเชื่อในปี 48 จะเห็นว่าสินเชื่อมีการขยายตัวมากกว่าเศรษฐกิจ
(ผู้จัดการรายวัน, มติชน)
2. ธปท.ส่งสัญญาณอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยไม่ควรสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาดโลก ผู้ว่า
การธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวบรรยายในหัวข้อ “ภาพรวมภาวะเศรษฐกิจไทยและแนวโน้มปี 49”
จัดโดยนักศึกษาปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ ม.เกษตรศาสตร์ ว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ไม่ควรสูงกว่า
อัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกที่ใช้อ้างอิงในตลาดการเงิน คือ อัตราดอกเบี้ยในตลาดลอนดอนหรือไลบอร์ โดยส่วนต่าง
ของดอกเบี้ยไทยควรจะอยู่ต่ำกว่าไม่เกิน 2% เพื่อป้องกันปัญหาเงินทุนไหลออก ทั้งนี้ คาดว่าสิ้นปี 48 เงินลงทุน
โดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) น่าจะเข้ามาในไทยทั้งสิ้น 2,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. จากช่วง 10 เดือนที่ผ่าน
มามี FDI ไหลเข้ามาในไทยประมาณ 1,800 ล.ดอลลาร์ สรอ. จากปี 47 ทั้งปีที่มีเงินทุนไหลเข้าเพียง 800 ล.
ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งการที่เม็ดเงินไหลเข้าจะช่วยชดเชยการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดได้ โดยที่ ธปท.ไม่ต้องดึงเงินทุน
สำรองระหว่างประเทศมาใช้ อย่างไรก็ตาม เงินทุนสำรองฯ ของไทยขณะนี้ซึ่งอยู่ที่ระดับ 4.9 หมื่น ล.ดอลลาร์
สรอ. ถือว่าแข็งแกร่งมาก สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดของไทย เชื่อว่าไม่เกิน 3 ปี จะกลับมาเป็นบวกได้ สาเหตุจาก
การที่ราคาน้ำมันโลกเริ่มลดลงส่งผลให้เงินเฟ้อลดลง ประกอบกับการใช้นโยบายดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นการออม รวม
ถึงเงินลงทุนจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น (ผู้จัดการรายวัน)
3. สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของระบบ ธพ.ไทยในไตรมาส 3 ปี 48 ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รายงาน
ข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของระบบ ธพ.ในไตรมาสที่ 3 ปี
48 ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพราะประชาชนส่วนใหญ่ยังต้องการที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยเพิ่มขึ้นในอัตรา
40,000-50,000 ล้านบาทต่อไตรมาสมาตลอดตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปี 47 ซึ่งยอดคงค้างสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ของปีนี้มีทั้งสิ้น 1,177,926 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน 177,806 ล.บาท
หรือ 17.78% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่เพิ่มขึ้น 56,356 ล.บาท หรือ 5.02% ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสิน
เชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นมากที่สุด เนื่องจาก ธพ.หลายแห่งมีนโยบายที่จะเจาะตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น
แต่ตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยรายใหญ่ยังเป็นธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) (ผู้จัดการรายวัน)
4. คาดว่า ก.พาณิชย์อาจปรับลดประมาณการการขยายตัวของการส่งออกปี 48 แหล่งข่าวจาก ก.
พาณิชย์เปิดเผยว่า ในวันนี้ (19 ธ.ค.48) ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รอง นรม.และ รมว.พาณิชย์ จะแถลงตัวเลข
การส่งออกประจำเดือน พ.ย.48 และคาดการณ์ตัวเลขส่งออกเฉลี่ยทั้งปี โดยคาดว่าตัวเลขดุลการค้าจะขาดดุลต่อ
เนื่อง เนื่องจากช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี ยังมีการนำเข้ามูลค่าสูง โดยเฉพาะบริษัทการบินไทย จำกัด
(มหาชน) และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งนำเข้าเครื่องบินมูลค่า 272 ล.ดอลลาร์ สรอ. และท่อส่งก๊าซ
มูลค่า 191 ล.ดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ แม้ตัวเลขการส่งออกโดยรวมยังขยายตัวต่อเนื่องเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ
ปีก่อน แต่คาดว่า อาจมีการปรับลดเป้าหมายการขยายตัวของการส่งออกปี 48 ลงจากเดิม 20% เหลือ 15%
สาเหตุจากปัจจัย เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ราคาน้ำมัน ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาไข้หวัดนก และปัญหาความไม่สงบในภาค
ใต้ (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. สรอ. ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในไตรมาส 3 ลดลงเหลือ 195.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
รายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศ สรอ. เมื่อวันที่ 17 ธ.ค.48 ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า ดุลบัญชีเดินสะพัด
ของ สรอ. ในไตรมาส 3 ปรับตัวดีขึ้น โดยมียอดขาดดุล 195.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากไตรมาส 2 ที่
มียอดขาดดุล 197.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และน้อยกว่าที่วอลล์สตรีทคาดการณ์ไว้ที่ระดับ 204.8 พันล้าน
ดอลลาร์ สรอ. โดยมีปัจจัยบวกบางส่วนจากการเคลมประกันรายใหญ่และเงินบริจาคจากต่างประเทศจากเหตุภัย
พิบัติพายุเฮอริเคน Katrina พัดถล่มประเทศ ทั้งนี้ สรอ. ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดลดลงเหลือร้อยละ 6.2 ของจีดีพี
ในไตรมาส 3 เทียบกับที่ขาดดุลร้อยละ 6.4 ในไตรมาส 2 และร้อยละ 6.5 ในไตรมาสแรก อย่างไรก็ตาม แม้
ว่ายอดขาดดุลบัญชีจะปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 3 แต่ก็ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง ซึ่งนักวิเคราะห์กล่าวว่า
เป็นภาพสะท้อนการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้นและอัตราการออมที่ลดต่ำลง ในขณะที่นักวิเคราะห์หลายคนเชื่อ
ว่า การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูงจะทำให้เศรษฐกิจของ สรอ. ไม่มั่นคงจากการเปลี่ยนแปลงด้านการลงทุน
ของนักลงทุนต่างชาติ และอาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของเศรษฐกิจในระยะยาว (รอยเตอร์)
2. จีนจะใช้ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่มีความยืดหยุ่นในระดับที่เหมาะสม รายงาน
จากโตเกียว เมื่อ 19 ธ.ค.48 ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) เปิดเผยในรายงาน Asia
Economic Monitor เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา จีนต้องการให้ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมีความยืดหยุ่น
มากขึ้นเพื่อกำหนดค่าเงินหยวนที่เหมาะสมเมื่อเพื่อเทียบกับเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. นอกจากนี้ ในรายงานยังเปิด
เผยด้วยว่า การอนุญาตให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรามีลักษณะที่ยืดหยุ่นได้อย่างมากในประเทศแถบเอเชียตะวันออก
จะทำให้ความต้องการสะสมทุนสำรองตราระหว่างประเทศโดย ธ.กลางแต่ละประเทศลดน้อยลง และสนับสนุนให้
สามารถแก้ปัญหาความไม่สมดุลของดุลการชำระเงินโลกได้อีกด้วย อนึ่ง ADB คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจีนในปี 49 จะ
ขยายตัวร้อยละ 8.9 ตามการประมาณการเติบโตปี 48 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.3 (รอยเตอร์)
3. ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของเกาหลีใต้ ณ กลางเดือน ธ.ค.48 เพิ่มขึ้นจำนวน 1.77 พัน
ล.ดอลลาร์ สรอ. รายงานจากโซล เมื่อ 19 ธ.ค.48 ธ.กลางเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ทุนสำรองเงินตราต่าง
ประเทศของเกาหลีใต้ (ซึ่งอยู่ในระดับสูงสุดเป็นอันดับ 4 ของโลก) ณ กลางเดือน ธ.ค.48 อยู่ที่ระดับ 210.00
พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. จากระดับ 208.23 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา หรือเพิ่มขึ้นจำนวน
1.77 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ ข้อมูลทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศของเกาหลีใต้มีการติดตามอย่างใกล้ชิด
จากตลาดการเงิน เนื่องจากตัวเลขที่มีการเปลี่ยนอย่างรวดเร็วจะสามารถบ่งชี้ถึงการแทรกแซงตลาดเงินโดย
ธ.กลางได้ (รอยเตอร์)
4. เกาหลีใต้คาดว่ายอดส่งออกในปีหน้าจะขยายตัวร้อยละ 13.2 ต่อปีในขณะที่คาดว่าเศรษฐกิจในปี
หน้าจะขยายตัวร้อยละ 5.0 ต่อปี รายงานจากโซล เมื่อ 18 ธ.ค.48 สถาบันเพื่อการพัฒนาของเกาหลีใต้ หรือ
KDI ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยในสังกัด ก.คลังของเกาหลีใต้ คาดว่ายอดส่งออกของเกาหลีใต้ในปีหน้าจะเพิ่มขึ้นร้อย
ละ 13.2 ต่อปีเพิ่มขึ้นจากประมาณการครั้งก่อนเมื่อเดือน ต.ค.48 ที่ร้อยละ 10.6 ต่อปี จากการคาดว่าเศรษฐกิจ
โลกในปีหน้าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น ในขณะที่คาดว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้ในปีหน้าจะขยายตัวร้อยละ 5.0 ต่อปีเท่ากับ
ประมาณการครั้งก่อนเมื่อเดือน ต.ค.48 ทั้งนี้จากการคาดว่าทั้งการใช้จ่ายของผู้บริโภคและการส่งออกที่เริ่มฟื้นตัว
จะมีส่วนช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจในปีหน้าขยายตัวชดเชยกับการลงทุนและการก่อสร้างที่ชะลอตัวลง โดยคาดว่าการ
ใช้จ่ายของผู้บริโภคในปีหน้าจะขยายตัวร้อยละ 4.2 ต่อปี นอกจากนี้สถาบันดังกล่าวยังได้แสดงความเห็นว่า ธ.
กลางเกาหลีใต้ควรพิจารณาช่วงเวลาที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งอย่างรอบคอบเพื่อไม่ให้กระทบต่อตลาด
แรงงานที่การฟื้นตัวยังช้าอยู่ หลังจากที่ ธ.กลางเกาหลีใต้ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างไม่คาดมาก่อนเป็นครั้งที่
2 ในรอบ 3 เดือน เมื่อวันที่ 8 ธ.ค.48 ที่ผ่านมาเพื่อลดแรงกดดันเงินเฟ้อในช่วงที่เศรษฐกิจเริ่มขยายตัว (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 19 ธ.ค. 48 16 ธ.ค.48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.94 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.7440/41.0393 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.06719 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 691.17/ 12.02 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 9,700/9,800 9,650/9,750 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 52.42 54.4 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 25.64*/23.09** 25.64*/23.09** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 15 ธ.ค. 48
** ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 15 ธ.ค. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.เชื่อมั่นสินเชื่อ ธพ.ปี 49 มีทิศทางการขยายตัวต่อเนื่อง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศ
ไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงทิศทางการขยายตัวของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ในปี 49 โดยเชื่อว่า สินเชื่อในปีหน้ายังจะ
ขยายตัวต่อเนื่องและมากกว่าปีนี้ เพราะขณะนี้ภาคอุตสาหกรรมใช้อัตรากำลังการผลิตใกล้จะเต็มที่แล้ว โดยใน
เดือน ต.ค.ที่ผ่านมา อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับ 72% ซึ่งความต้องการใช้กำลังการผลิตยังคงมีอยู่จึงมี
ความต้องการสินเชื่อจากภาคการผลิตต่อไป ด้านนางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าว
ว่า การขยายตัวของสินเชื่อในปีหน้าจะเติบโตสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ และอยู่ที่ว่าภาคเอกชนจะมีการระดมทุน
ในตราสารทุนมากน้อยแค่ไหน สำหรับการปล่อยสินเชื่อในปี 48 จะเห็นว่าสินเชื่อมีการขยายตัวมากกว่าเศรษฐกิจ
(ผู้จัดการรายวัน, มติชน)
2. ธปท.ส่งสัญญาณอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยไม่ควรสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาดโลก ผู้ว่า
การธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวบรรยายในหัวข้อ “ภาพรวมภาวะเศรษฐกิจไทยและแนวโน้มปี 49”
จัดโดยนักศึกษาปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ ม.เกษตรศาสตร์ ว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ไม่ควรสูงกว่า
อัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกที่ใช้อ้างอิงในตลาดการเงิน คือ อัตราดอกเบี้ยในตลาดลอนดอนหรือไลบอร์ โดยส่วนต่าง
ของดอกเบี้ยไทยควรจะอยู่ต่ำกว่าไม่เกิน 2% เพื่อป้องกันปัญหาเงินทุนไหลออก ทั้งนี้ คาดว่าสิ้นปี 48 เงินลงทุน
โดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) น่าจะเข้ามาในไทยทั้งสิ้น 2,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. จากช่วง 10 เดือนที่ผ่าน
มามี FDI ไหลเข้ามาในไทยประมาณ 1,800 ล.ดอลลาร์ สรอ. จากปี 47 ทั้งปีที่มีเงินทุนไหลเข้าเพียง 800 ล.
ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งการที่เม็ดเงินไหลเข้าจะช่วยชดเชยการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดได้ โดยที่ ธปท.ไม่ต้องดึงเงินทุน
สำรองระหว่างประเทศมาใช้ อย่างไรก็ตาม เงินทุนสำรองฯ ของไทยขณะนี้ซึ่งอยู่ที่ระดับ 4.9 หมื่น ล.ดอลลาร์
สรอ. ถือว่าแข็งแกร่งมาก สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดของไทย เชื่อว่าไม่เกิน 3 ปี จะกลับมาเป็นบวกได้ สาเหตุจาก
การที่ราคาน้ำมันโลกเริ่มลดลงส่งผลให้เงินเฟ้อลดลง ประกอบกับการใช้นโยบายดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นการออม รวม
ถึงเงินลงทุนจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น (ผู้จัดการรายวัน)
3. สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของระบบ ธพ.ไทยในไตรมาส 3 ปี 48 ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รายงาน
ข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของระบบ ธพ.ในไตรมาสที่ 3 ปี
48 ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพราะประชาชนส่วนใหญ่ยังต้องการที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยเพิ่มขึ้นในอัตรา
40,000-50,000 ล้านบาทต่อไตรมาสมาตลอดตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปี 47 ซึ่งยอดคงค้างสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ของปีนี้มีทั้งสิ้น 1,177,926 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน 177,806 ล.บาท
หรือ 17.78% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่เพิ่มขึ้น 56,356 ล.บาท หรือ 5.02% ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสิน
เชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นมากที่สุด เนื่องจาก ธพ.หลายแห่งมีนโยบายที่จะเจาะตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น
แต่ตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยรายใหญ่ยังเป็นธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) (ผู้จัดการรายวัน)
4. คาดว่า ก.พาณิชย์อาจปรับลดประมาณการการขยายตัวของการส่งออกปี 48 แหล่งข่าวจาก ก.
พาณิชย์เปิดเผยว่า ในวันนี้ (19 ธ.ค.48) ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รอง นรม.และ รมว.พาณิชย์ จะแถลงตัวเลข
การส่งออกประจำเดือน พ.ย.48 และคาดการณ์ตัวเลขส่งออกเฉลี่ยทั้งปี โดยคาดว่าตัวเลขดุลการค้าจะขาดดุลต่อ
เนื่อง เนื่องจากช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี ยังมีการนำเข้ามูลค่าสูง โดยเฉพาะบริษัทการบินไทย จำกัด
(มหาชน) และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งนำเข้าเครื่องบินมูลค่า 272 ล.ดอลลาร์ สรอ. และท่อส่งก๊าซ
มูลค่า 191 ล.ดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ แม้ตัวเลขการส่งออกโดยรวมยังขยายตัวต่อเนื่องเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ
ปีก่อน แต่คาดว่า อาจมีการปรับลดเป้าหมายการขยายตัวของการส่งออกปี 48 ลงจากเดิม 20% เหลือ 15%
สาเหตุจากปัจจัย เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ราคาน้ำมัน ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาไข้หวัดนก และปัญหาความไม่สงบในภาค
ใต้ (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. สรอ. ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในไตรมาส 3 ลดลงเหลือ 195.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
รายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศ สรอ. เมื่อวันที่ 17 ธ.ค.48 ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า ดุลบัญชีเดินสะพัด
ของ สรอ. ในไตรมาส 3 ปรับตัวดีขึ้น โดยมียอดขาดดุล 195.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากไตรมาส 2 ที่
มียอดขาดดุล 197.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และน้อยกว่าที่วอลล์สตรีทคาดการณ์ไว้ที่ระดับ 204.8 พันล้าน
ดอลลาร์ สรอ. โดยมีปัจจัยบวกบางส่วนจากการเคลมประกันรายใหญ่และเงินบริจาคจากต่างประเทศจากเหตุภัย
พิบัติพายุเฮอริเคน Katrina พัดถล่มประเทศ ทั้งนี้ สรอ. ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดลดลงเหลือร้อยละ 6.2 ของจีดีพี
ในไตรมาส 3 เทียบกับที่ขาดดุลร้อยละ 6.4 ในไตรมาส 2 และร้อยละ 6.5 ในไตรมาสแรก อย่างไรก็ตาม แม้
ว่ายอดขาดดุลบัญชีจะปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 3 แต่ก็ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง ซึ่งนักวิเคราะห์กล่าวว่า
เป็นภาพสะท้อนการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้นและอัตราการออมที่ลดต่ำลง ในขณะที่นักวิเคราะห์หลายคนเชื่อ
ว่า การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูงจะทำให้เศรษฐกิจของ สรอ. ไม่มั่นคงจากการเปลี่ยนแปลงด้านการลงทุน
ของนักลงทุนต่างชาติ และอาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของเศรษฐกิจในระยะยาว (รอยเตอร์)
2. จีนจะใช้ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่มีความยืดหยุ่นในระดับที่เหมาะสม รายงาน
จากโตเกียว เมื่อ 19 ธ.ค.48 ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) เปิดเผยในรายงาน Asia
Economic Monitor เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา จีนต้องการให้ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมีความยืดหยุ่น
มากขึ้นเพื่อกำหนดค่าเงินหยวนที่เหมาะสมเมื่อเพื่อเทียบกับเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. นอกจากนี้ ในรายงานยังเปิด
เผยด้วยว่า การอนุญาตให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรามีลักษณะที่ยืดหยุ่นได้อย่างมากในประเทศแถบเอเชียตะวันออก
จะทำให้ความต้องการสะสมทุนสำรองตราระหว่างประเทศโดย ธ.กลางแต่ละประเทศลดน้อยลง และสนับสนุนให้
สามารถแก้ปัญหาความไม่สมดุลของดุลการชำระเงินโลกได้อีกด้วย อนึ่ง ADB คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจีนในปี 49 จะ
ขยายตัวร้อยละ 8.9 ตามการประมาณการเติบโตปี 48 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.3 (รอยเตอร์)
3. ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของเกาหลีใต้ ณ กลางเดือน ธ.ค.48 เพิ่มขึ้นจำนวน 1.77 พัน
ล.ดอลลาร์ สรอ. รายงานจากโซล เมื่อ 19 ธ.ค.48 ธ.กลางเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ทุนสำรองเงินตราต่าง
ประเทศของเกาหลีใต้ (ซึ่งอยู่ในระดับสูงสุดเป็นอันดับ 4 ของโลก) ณ กลางเดือน ธ.ค.48 อยู่ที่ระดับ 210.00
พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. จากระดับ 208.23 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา หรือเพิ่มขึ้นจำนวน
1.77 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ ข้อมูลทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศของเกาหลีใต้มีการติดตามอย่างใกล้ชิด
จากตลาดการเงิน เนื่องจากตัวเลขที่มีการเปลี่ยนอย่างรวดเร็วจะสามารถบ่งชี้ถึงการแทรกแซงตลาดเงินโดย
ธ.กลางได้ (รอยเตอร์)
4. เกาหลีใต้คาดว่ายอดส่งออกในปีหน้าจะขยายตัวร้อยละ 13.2 ต่อปีในขณะที่คาดว่าเศรษฐกิจในปี
หน้าจะขยายตัวร้อยละ 5.0 ต่อปี รายงานจากโซล เมื่อ 18 ธ.ค.48 สถาบันเพื่อการพัฒนาของเกาหลีใต้ หรือ
KDI ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยในสังกัด ก.คลังของเกาหลีใต้ คาดว่ายอดส่งออกของเกาหลีใต้ในปีหน้าจะเพิ่มขึ้นร้อย
ละ 13.2 ต่อปีเพิ่มขึ้นจากประมาณการครั้งก่อนเมื่อเดือน ต.ค.48 ที่ร้อยละ 10.6 ต่อปี จากการคาดว่าเศรษฐกิจ
โลกในปีหน้าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น ในขณะที่คาดว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้ในปีหน้าจะขยายตัวร้อยละ 5.0 ต่อปีเท่ากับ
ประมาณการครั้งก่อนเมื่อเดือน ต.ค.48 ทั้งนี้จากการคาดว่าทั้งการใช้จ่ายของผู้บริโภคและการส่งออกที่เริ่มฟื้นตัว
จะมีส่วนช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจในปีหน้าขยายตัวชดเชยกับการลงทุนและการก่อสร้างที่ชะลอตัวลง โดยคาดว่าการ
ใช้จ่ายของผู้บริโภคในปีหน้าจะขยายตัวร้อยละ 4.2 ต่อปี นอกจากนี้สถาบันดังกล่าวยังได้แสดงความเห็นว่า ธ.
กลางเกาหลีใต้ควรพิจารณาช่วงเวลาที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งอย่างรอบคอบเพื่อไม่ให้กระทบต่อตลาด
แรงงานที่การฟื้นตัวยังช้าอยู่ หลังจากที่ ธ.กลางเกาหลีใต้ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างไม่คาดมาก่อนเป็นครั้งที่
2 ในรอบ 3 เดือน เมื่อวันที่ 8 ธ.ค.48 ที่ผ่านมาเพื่อลดแรงกดดันเงินเฟ้อในช่วงที่เศรษฐกิจเริ่มขยายตัว (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 19 ธ.ค. 48 16 ธ.ค.48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.94 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.7440/41.0393 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.06719 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 691.17/ 12.02 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 9,700/9,800 9,650/9,750 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 52.42 54.4 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 25.64*/23.09** 25.64*/23.09** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 15 ธ.ค. 48
** ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 15 ธ.ค. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--