นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยถึงกรณีที่ไทยเปิดเขตการค้าเสรี (FTA) กับจีน โดยเริ่มจากกลุ่มสินค้าผักและผลไม้ ว่า ภายหลังจากการเปิดเขตการค้าแล้ว ทำให้การค้าสินค้าผักและผลไม้กับจีนมีมูลค่าเพิ่มขึ้น โดยการค้าระหว่างไทย-จีนในสินค้าผักและผลไม้ ในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม หรือในไตรมาสสุดท้ายของปี 2546 มีมูลค่า 4,327 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 1,921 ล้านบาท ในระยะเดียวกับของปี 2545 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 127 โดยการส่งออกมีมูลค่า 2,350 ล้านบาท และนำเข้ามูลค่า 1,977 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 54 และ 46 ตามลำดับ ทั้งนี้ ไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้ากับจีนคิดเป็นมูลค่า 373 ล้านบาท
“อย่างไรก็ตาม แม้ว่าขณะนี้ไทยได้เปรียบดุลการค้าลดลง แต่ยังเร็วเกินไปที่จะสรุปว่าไทยเสียเปรียบจีนในการเปิดตลาด เนื่องจากการเปิดเสรีไทย-จีนเป็นช่วงปลายปี ซึ่งเป็นช่วงเทศกาล ทำให้ผู้บริโภคไทยมีความต้องการผักและผลไม้เมืองหนาวในปริมาณมาก โดยเฉพาะแอปเปิล สาลี่ ที่มีมูลค่าการนำเข้าถึงร้อยละ 77 ของมูลค่าการนำเข้าผักและผลไม้จากจีน รวมทั้งผลไม้ของไทยเองยังไม่อยู่ในช่วงฤดูการผลิต นอกจากนี้ผู้นำเข้าผักและผลไม้ก็มีจำนวนมากขึ้น เนื่องจากมีการกระจายด่านมากขึ้นจากการเปิดตลาด จนเกิดการแข่งขันและตัดราคาขายสินค้ากันเอง” นางอภิรดีกล่าว
นางอภิรดีกล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า สำหรับที่มีการเกรงกันว่าผลจากการเปิดเสรีดังกล่าว อาจส่งผลกระทบต่อเกษตรกรที่ปลูกผักและผลไม้เมืองหนาว นั้น เกษตรกรจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เนื่องจากผลไม้เมืองหนาวของไทยสามารถใช้ความได้เปรียบในเรื่องระยะเวลาการขนส่ง ทำให้มีความสดกว่าผักและผลไม้จากจีน นอกจากนี้รัฐบาลยังหันไปสนับสนุนให้เกษตรกรเน้นการปลูกผัก/ผลไม้ปลอดสารพิษ ผักสดอนามัย เพื่อให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้นอีกด้วย ส่วนสินค้าที่มีความอ่อนไหว เช่น หอมหัวใหญ่ พริกไทย เมล็ดถั่วเหลือง และกากถั่วเหลือง ไทยก็มีหน่วยงานกำกับดูแลการนำเข้าอยู่แล้ว สำหรับเกษตรกรที่ปลูกผักและผลไม้ทั่วไปก็จะได้รับประโยชน์เช่นกัน เนื่องจากจะมีจีนเป็นตลาดรองรับ ส่งผลให้ราคาผลไม้ไทยดีขึ้นและมีเสถียรภาพ โดยเฉพาะในช่วงฤดูกาล นอกจากนี้รัฐบาลก็จะมีการเจรจาเพื่อลดข้อจำกัดด้านมาตรการที่มิใช่ภาษีอื่นๆของจีน เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกทางการค้ามากขึ้น
นางอภิรดีกล่าวย้ำด้วยว่า การเปิดเขตการค้าเสรีกับจีน เป็นการสร้างตลาดให้กับสินค้าไทย จีนจะเป็นตลาดที่มีความสำคัญมากขึ้น โดยในปัจจุบันจีนเป็นตลาดส่งออกอันดับ 4 ของไทย และจะเป็นอันดับ 3 หากการค้ามีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การขาดดุลการค้าของไทยต่อจีนมีแนวโน้มลดลงและอาจเกินดุลการค้าในอนาคต
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (66) 2282-6171-9 แฟกซ์ (66) 2280-0775--จบ--
-พห-
“อย่างไรก็ตาม แม้ว่าขณะนี้ไทยได้เปรียบดุลการค้าลดลง แต่ยังเร็วเกินไปที่จะสรุปว่าไทยเสียเปรียบจีนในการเปิดตลาด เนื่องจากการเปิดเสรีไทย-จีนเป็นช่วงปลายปี ซึ่งเป็นช่วงเทศกาล ทำให้ผู้บริโภคไทยมีความต้องการผักและผลไม้เมืองหนาวในปริมาณมาก โดยเฉพาะแอปเปิล สาลี่ ที่มีมูลค่าการนำเข้าถึงร้อยละ 77 ของมูลค่าการนำเข้าผักและผลไม้จากจีน รวมทั้งผลไม้ของไทยเองยังไม่อยู่ในช่วงฤดูการผลิต นอกจากนี้ผู้นำเข้าผักและผลไม้ก็มีจำนวนมากขึ้น เนื่องจากมีการกระจายด่านมากขึ้นจากการเปิดตลาด จนเกิดการแข่งขันและตัดราคาขายสินค้ากันเอง” นางอภิรดีกล่าว
นางอภิรดีกล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า สำหรับที่มีการเกรงกันว่าผลจากการเปิดเสรีดังกล่าว อาจส่งผลกระทบต่อเกษตรกรที่ปลูกผักและผลไม้เมืองหนาว นั้น เกษตรกรจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เนื่องจากผลไม้เมืองหนาวของไทยสามารถใช้ความได้เปรียบในเรื่องระยะเวลาการขนส่ง ทำให้มีความสดกว่าผักและผลไม้จากจีน นอกจากนี้รัฐบาลยังหันไปสนับสนุนให้เกษตรกรเน้นการปลูกผัก/ผลไม้ปลอดสารพิษ ผักสดอนามัย เพื่อให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้นอีกด้วย ส่วนสินค้าที่มีความอ่อนไหว เช่น หอมหัวใหญ่ พริกไทย เมล็ดถั่วเหลือง และกากถั่วเหลือง ไทยก็มีหน่วยงานกำกับดูแลการนำเข้าอยู่แล้ว สำหรับเกษตรกรที่ปลูกผักและผลไม้ทั่วไปก็จะได้รับประโยชน์เช่นกัน เนื่องจากจะมีจีนเป็นตลาดรองรับ ส่งผลให้ราคาผลไม้ไทยดีขึ้นและมีเสถียรภาพ โดยเฉพาะในช่วงฤดูกาล นอกจากนี้รัฐบาลก็จะมีการเจรจาเพื่อลดข้อจำกัดด้านมาตรการที่มิใช่ภาษีอื่นๆของจีน เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกทางการค้ามากขึ้น
นางอภิรดีกล่าวย้ำด้วยว่า การเปิดเขตการค้าเสรีกับจีน เป็นการสร้างตลาดให้กับสินค้าไทย จีนจะเป็นตลาดที่มีความสำคัญมากขึ้น โดยในปัจจุบันจีนเป็นตลาดส่งออกอันดับ 4 ของไทย และจะเป็นอันดับ 3 หากการค้ามีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การขาดดุลการค้าของไทยต่อจีนมีแนวโน้มลดลงและอาจเกินดุลการค้าในอนาคต
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (66) 2282-6171-9 แฟกซ์ (66) 2280-0775--จบ--
-พห-