นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยถึงผลการจัดสัมมนาเรื่อง “ เขตการค้าเสรี : ไทยจะปรับตัวอย่างไร ” ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ ณ โรงแรมเจริญศรีแกรนด์รอยัล จ. อุดรธานี ว่าการสัมมนาดังกล่าวเป็นการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นจากผู้แทนภาครัฐ เอกชน และนักวิชาการ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการกำหนดกลยุทธ์ในการจัดทำเขตการค้าเสรี (FTA) โดยผู้เข้าร่วมสัมมนาเห็นว่า การจัดทำเขตการค้าเสรีเป็นข้อตกลงที่ดี ซึ่งตั้งอยู่บนหลักการของการได้ประโยชน์ทั้งสองประเทศ แต่จะต้องมีการปรับตัวทั้งภาครัฐและเอกชน โดยภาครัฐต้องให้ความช่วยเหลือธุรกิจระดับรากหญ้า ต้องคำนึงถึงความสามารถในการปรับตัวของผู้ผลิตระดับไร่นา ที่สำคัญคือต้องพยายามเกลี่ยผลประโยชน์ให้ได้ทั่วถึงกัน ฝ่ายที่เสียประโยชน์ก็ควรให้ข้อมูลว่าต้องการความช่วยเหลืออะไรบ้าง เพื่อรัฐจะได้วางมาตรการช่วยเหลือภาคเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบได้ถูกต้อง
นางอภิรดี กล่าวด้วยว่า สำหรับอุตสาหกรรมท้องถิ่นนั้น ผลสรุปจากการสัมมนาเห็นว่า ผู้ประกอบธุรกิจต้องรู้สถานะของตนเองก่อน ต้องรู้ว่าคู่แข่งคือใคร สินค้าตัวไหนสู้ได้/ไม่ได้ และควรมุ่งไปในสินค้าที่แข่งได้ก่อน ต้องบริหารเชิงกลยุทธ์ให้ได้ ดำเนินธุรกิจอย่างมีทิศทาง และให้ความสำคัญกับการลงทุนพัฒนาบุคลากรให้มากขึ้น
นางอภิรดี กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า สำหรับการเตรียมความพร้อมของภาคเอกชนนั้น ควรจะต้องมีการติดตามสถานะการเจรจาอย่างใกล้ชิด แสวงหาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ กฎ กติกาการค้าในเขตการค้าเสรีที่ไทยไปเจรจา ให้ความร่วมมือต่อภาครัฐในการให้ข้อคิดเห็นและข้อมูลทั้งด้านภาษี เกณฑ์การกำหนดแหล่งกำเนิดสินค้า ปัญหาอุปสรรคทางการค้าต่างๆ เพื่อให้การเจรจาเป็นประโยชน์มากที่สุด นอกจากนี้ภาคเอกชนจะต้องปรับตัวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การจัดการและการดำเนินธุรกิจ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันโดยการปรับลดต้นทุน รวมทั้งพัฒนารูปแบบคุณภาพสินค้า สร้างความโปร่งใสในธุรกิจ ระบบบัญชีต้องชัดเจน สร้างความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจด้วยกัน เพิ่มบทบาทในการหาข้อมูล/ข่าวสาร รวมทั้งพัฒนาการเรียนภาษาต่างประเทศ หมั่นพัฒนาความรู้อย่างสม่ำเสมอเพื่อหลีกพ้นจากภาวะความเสียเปรียบ และป้องกันการเกิดวัฒนธรรมร้องขอจากภาครัฐ ประการสำคัญทั้งภาครัฐและเอกชนต้องผลักดันให้เกิดกระแสความรักชาติ เมื่อเปิดเสรีแล้วราคาสินค้าไทยอาจสูงกว่าสินค้านำเข้า โดยเฉพาะจากจีน อินเดีย ต้องปลุกกระแสรักชาติและนิยมสินค้าไทย และในฐานะผู้บริโภคต้องเรียกร้องในด้านมาตรฐานคุณภาพสินค้าด้วย
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (66) 2282-6171-9 แฟกซ์ (66) 2280-0775--จบ--
-พห-
นางอภิรดี กล่าวด้วยว่า สำหรับอุตสาหกรรมท้องถิ่นนั้น ผลสรุปจากการสัมมนาเห็นว่า ผู้ประกอบธุรกิจต้องรู้สถานะของตนเองก่อน ต้องรู้ว่าคู่แข่งคือใคร สินค้าตัวไหนสู้ได้/ไม่ได้ และควรมุ่งไปในสินค้าที่แข่งได้ก่อน ต้องบริหารเชิงกลยุทธ์ให้ได้ ดำเนินธุรกิจอย่างมีทิศทาง และให้ความสำคัญกับการลงทุนพัฒนาบุคลากรให้มากขึ้น
นางอภิรดี กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า สำหรับการเตรียมความพร้อมของภาคเอกชนนั้น ควรจะต้องมีการติดตามสถานะการเจรจาอย่างใกล้ชิด แสวงหาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ กฎ กติกาการค้าในเขตการค้าเสรีที่ไทยไปเจรจา ให้ความร่วมมือต่อภาครัฐในการให้ข้อคิดเห็นและข้อมูลทั้งด้านภาษี เกณฑ์การกำหนดแหล่งกำเนิดสินค้า ปัญหาอุปสรรคทางการค้าต่างๆ เพื่อให้การเจรจาเป็นประโยชน์มากที่สุด นอกจากนี้ภาคเอกชนจะต้องปรับตัวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การจัดการและการดำเนินธุรกิจ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันโดยการปรับลดต้นทุน รวมทั้งพัฒนารูปแบบคุณภาพสินค้า สร้างความโปร่งใสในธุรกิจ ระบบบัญชีต้องชัดเจน สร้างความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจด้วยกัน เพิ่มบทบาทในการหาข้อมูล/ข่าวสาร รวมทั้งพัฒนาการเรียนภาษาต่างประเทศ หมั่นพัฒนาความรู้อย่างสม่ำเสมอเพื่อหลีกพ้นจากภาวะความเสียเปรียบ และป้องกันการเกิดวัฒนธรรมร้องขอจากภาครัฐ ประการสำคัญทั้งภาครัฐและเอกชนต้องผลักดันให้เกิดกระแสความรักชาติ เมื่อเปิดเสรีแล้วราคาสินค้าไทยอาจสูงกว่าสินค้านำเข้า โดยเฉพาะจากจีน อินเดีย ต้องปลุกกระแสรักชาติและนิยมสินค้าไทย และในฐานะผู้บริโภคต้องเรียกร้องในด้านมาตรฐานคุณภาพสินค้าด้วย
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (66) 2282-6171-9 แฟกซ์ (66) 2280-0775--จบ--
-พห-