อุตสาหกรรมยานยนต์
ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2546 กระทรวงอุตสาหกรรมได้แต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ยานยนต์ ขึ้นเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2546 โดยมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดยุทธศาสตร์ ขอบเขต นโยบาย เป้าหมาย และแผนการดำเนินงานของการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ กำกับบดูแล ติดตาม และประเมินผล การดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆ ของการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการด้านยุทธศาสตร์การส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ของกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างมีทิศทางเดียวกันในระหว่างหน่วยงาน เพื่อก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศให้บรรลุเป้าหมายการเป็นฐานการผลิตยานยนต์ในเอเชีย (Detroit of Asia)
นอกจากนี้ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้กำหนดให้อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาทักษะ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (Skill, Technology & Innovation : STI) ทั้งนี้ ประเภทกิจการของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ตามหลักเกณฑ์การพัฒนาด้าน STI ประกอบด้วย กิจการผลิตเครื่องมือช่างและเครื่องมือวัด กิจการผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ กิจการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ กิจการผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ กิจการผลิตยานยนต์ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ กิจการผลิตเครื่องยนต์รถจักรยานยนต์ประเภท 4 จังหวะ กิจการผลิตเครื่องยนต์สำหรับรถยนต์ และกิจการผลิตเครื่องยนต์อเนกประสงค์ ซึ่งหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้สิทธิประโยชน์ประกอบด้วย 1. มีค่าใช้จ่ายด้านวิจัยและพัฒนาหรือออกแบบไม่น้อยกว่าร้อยละ 1-2 ของยอดขายต่อปีภายในสามปีแรก 2. มีการจ้างบุคลากรที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปด้านวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรมศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนาหรือออกแบบ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 1-5 ของจำนวนแรงงานทั้งหมด ภายในสามปีแรก 3. มีสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมบุคลากรไทยเทียบกับค่าใช้จ่ายเงินเดือนและค่าจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละ 1 ภายในสามปีแรก และ 4. มีค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 1 ของยอดขายต่อปี ภายในสามปีแรกทั้งนี้ กิจการใดที่มีคุณสมบัติใน 4 ข้อข้างต้น จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มกรณีละหนึ่งปี แต่รวมแล้วต้องไม่เกินแปดปี และให้ได้รับยกเว้นภาษีเครื่องจักรด้วย ซึ่งจะทำให้กิจการที่จะลงทุนในเขต 1 หรือเขต 2 สามารถได้รับสิทธิประโยชน์เท่ากับการลงทุนในเขต 3 แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติทั้ง 4 ข้อด้วย โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2546 เป็นต้นไป
อุตสาหกรรมรถยนต์
ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในปี 2546 มีจำนวน 750,512 คัน และ 533,176 คัน ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 28.30 และ 30.25 ตามลำดับ ซึ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.27 , 22.66 และ 63.81 ตามลำดับ ในส่วนการจำหน่าย ทั้งรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 41.67, 28.12 และ 7.94 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2546 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2545 ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.05 และ 27.18 ตามลำดับ และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสที่สามของปีเดียวกัน ทั้งปริมาณการผลิตและการจำหน่ายปรับตัวดีขึ้นร้อยละ 3.85 และ 15.81 ตามลำดับ จากการขยายตัวทั้งการผลิตและการจำหน่ายของอุตสาหกรรมรถยนต์เพิ่มขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาในทุกกลุ่มประเภทรถยนต์ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเติบโตด้านเศรษฐกิจของประเทศ สภาพคล่องทางการเงินที่เอื้ออำนวย การจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดของค่ายรถยนต์ นอกจากนี้ การส่งออกยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง สำหรับโครงสร้างตลาดของรถยนต์ในประเทศปี 2546 รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ยังคงมีส่วนแบ่งทางการตลาด (Market Share) มากที่สุดคือ ร้อยละ 57.98 รองลงมาเป็นรถยนต์นั่ง ร้อยละ 33.57 และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ร้อยละ 8.45 และหากเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา รถยนต์นั่งมีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถเพื่อการพาณิชย์อื่นๆ มีส่วนแบ่งทางการตลาดลดลงเล็กน้อย (โครงสร้างตลาดในปี 2545 ของรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน : รถยนต์นั่ง : รถเพื่อการพาณิชย์อื่นๆ คือ ร้อยละ 58.94 : 30.86 : 10.20)
ในด้านการส่งออกรถยนต์ของไทยในปี 2546 มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) จำนวน 235,022 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 29.51 คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 102,208.06 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.40 ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบเป็นสัดส่วนปริมาณการส่งออกต่อปริมาณการผลิตคิดเป็นร้อยละ 31.31 ทั้งนี้ ปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) ในไตรมาสที่สี่ของปี 2546 มีจำนวน 61,740 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 15.67 ซึ่งคิดเป็นมูลค่า 26,834.98 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.73
แต่เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่สามของปีเดียวกัน มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ลดลงร้อยละ 6.97 คิดเป็นมูลค่าลดลงร้อยละ 7.49 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถยนต์จากประเทศไทยในปี 2546 ได้แก่ ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักรฯ อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น
สำหรับการนำเข้ารถยนต์ของไทยในปี 2546 มีการนำเข้ารถยนต์นั่งคิดเป็นมูลค่า 16,226.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 106.32 แต่มีการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกคิดเป็นมูลค่า 5,145.2 ล้านบาท ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 17.50 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2546 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มีการนำเข้ารถยนต์นั่งเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 65.67 แต่มีการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกลดลงร้อยละ 22.95 และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่สามของปีเดียวกัน มีมูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.78 มูลค่าการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.58 ซึ่งแหล่งนำเข้ารถยนต์ของไทยที่สำคัญในปี 2546 ได้แก่ ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น เยอรมนี และอินโดนีเซีย
คาดการณ์ว่าในปี 2547 อุตสาหกรรมรถยนต์จะยังคงมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีปริมาณการผลิต 900,000 คัน จำหน่ายในประเทศ 600,000 คัน และส่งออก 300,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2546 ประมาณร้อยละ 19.92 , 12.53 และ 27.65 ตามลำดับ โดยมีปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2547 ซึ่งคาดว่าจะขยายตัวถึงร้อยละ 7-8 ซึ่งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค การดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำอย่างต่อเนื่อง ทำให้ง่ายต่อการตัดสินใจซื้อ และการแข่งขันในการส่งเสริมการจำหน่ายของค่ายรถยนต์ต่างๆ ตลอดจนมีหลายบริษัทที่มีการส่งออกรถยนต์จากฐานการผลิตในประเทศไทยไปยังตลาดทั่วโลก
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์
ในปี 2546 ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ของไทย มีจำนวน 2,424,676 คัน และ 1,755,297 คัน ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 22.64 และ 31.71 ตามลำดับ ซึ่งเป็นการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.43 แบบสปอร์ตลดลงร้อยละ 23.61 มีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.33 แบบสปอร์ตลดลงร้อยละ 36.22 ทั้งนี้ รถจักรยานยนต์แบบครอบครัวยังคงมีส่วนแบ่งการตลาดสูงถึงร้อยละ 98.87 คิดเป็นสัดส่วนที่มากกว่าปีที่ผ่านมาซึ่งมีส่วนแบ่งร้อยละ 97.66 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2546 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.42 และ 11.40 ตามลำดับ ซึ่งเป็นการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสปอร์ตเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.90 และ 11.02 ตามลำดับ ในส่วนการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.10 แต่แบบสปอร์ตลดลงร้อยละ 35.61 และเมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2546 มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.47
ซึ่งเป็นการผลิตเพิ่มขึ้นทั้งแบบครอบครัวและแบบสปอร์ต สำหรับการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.45 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในแบบครอบครัว แต่แบบสปอร์ตจำหน่ายลดลง จากการขยายตัวของอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในปี 2546 นี้ เป็นผลมาจากสภาพเศรษฐกิจในภาคท้องถิ่นมีความคล่องตัว ราคาพืชผลทางการเกษตรมีการปรับตัวดีขึ้น จึงส่งผลให้กำลังซื้อในตลาดมีมาก ประกอบกับมีแรงผลักดันจากการจัด
กิจกรรมด้านส่งเสริมการจำหน่ายของค่ายรถจักรยานยนต์ ตลอดจนมีการขยายตลาดไปยังประเทศแถบยุโรป ซึ่งทำให้มีการส่งออกในช่วงปลายปีสูง
ด้านการส่งออกรถจักรยานยนต์ของไทยในปี 2546 มีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) จำนวน 604,995 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 3.36 ซึ่งคิดเป็นมูลค่า 8,732.62 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.98 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2546 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.49 แต่คิดเป็นมูลค่าลดลงร้อยละ 4.53 และหากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปีเดียวกัน ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.78 ซึ่งคิดเป็นมูลค่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.57 สำหรับประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถจักรยานยนต์จากประเทศไทยในปี 2546 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และกรีซ
สำหรับการนำเข้ารถจักรยานยนต์ของไทยในปี 2546 เปรียบเทียบกับปี 2545 มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.87 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2546 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 52.02 และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่สามของปีเดียวกันแล้ว มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.86 ซึ่งแหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ของไทยที่สำคัญในปี 2546 ได้แก่ ญี่ปุ่น เยอรมนี อินโดนีเซีย และจีน
แนวโน้มของอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในปี 2547 คาดว่ามีการขยายตัวทั้งด้านการผลิตและจำหน่ายในอัตราที่น้อยกว่าปีที่ผ่านมา โดยจะมีการผลิตประมาณ 2.6 ล้านคัน จำหน่ายในประเทศประมาณ 1.8 ล้านคัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.23 และ 2.55 ตามลำดับ เนื่องจาก ตลอดช่วงสองปีที่ผ่านมา ตลาดมีอัตราการเติบโตที่สูง ซึ่งเป็นผลมาจากการเปิดตัวรถจักรยานยนต์ราคาประหยัด และการกระตุ้น
การใช้จ่ายจากภาครัฐลงท้องถิ่นผ่านโครงการต่างๆ ทำให้ตลาดมีการเติบโตอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ในปีนี้การแข่งขันด้านส่งเสริมการตลาดของค่ายรถจักรยานยนต์ต่างๆ จะมีความรุนแรงมากขึ้น
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์
ในปี 2546 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) มีมูลค่า 23,499.89 ล้านบาท และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์มีมูลค่า 2,182.00 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 65.54 และ 21.93 ตามลำดับ สำหรับการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) มีมูลค่า 6,634.37 ล้านบาทและชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่า 2,221.19 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว ร้อยละ 55.38 และ 55.84 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2546 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) เพิ่มขึ้นร้อยละ 67.46 และส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์เป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.91 สำหรับมูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว ร้อยละ 70.37 แต่ส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์เป็นมูลค่าลดลงร้อยละ 37.84 และหากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2546 มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์(OEM) เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.89 แต่ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์มีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 4.63 สำหรับมูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์(OEM) เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.06 แต่ชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 74.59 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากประเทศไทยในปี 2546 ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
ส่วนประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม ญี่ปุ่นกัมพูชา และฟิลิปปินส์ ด้านการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบรถยนต์รวมทั้งโครงรถและตัวถังในปี 2546 มี มูลค่า 100,187.6 และยางรถยนต์มีมูลค่า 2,585.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 29.58 และ 13.29 ตามลำดับ สำหรับการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ มีมูลค่า 3,227.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.29 และหากพิจารณาไตรมาสที่สี่ของปี 2546 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบรถยนต์รวมทั้งโครงรถและตัวถัง เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.20 แต่ยางรถยนต์ ลดลงร้อยละ 0.02 การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ลดลงร้อยละ 21.50 และเมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2546 มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบรถยนต์รวมทั้งโครงรถและตัวถัง เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.34 และมูลค่าการนำเข้ายางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.22 ส่วนการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.31 ซึ่งแหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบรถยนต์รวมทั้งโครงรถและตัวถังรถยนต์ของไทยที่สำคัญในปี 2546 ได้แก่ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ เยอรมนี มาเลเซีย และอินโดนีเซีย แหล่งนำเข้ายางรถยนต์ที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเชีย จีน และไต้หวัน
จากการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ การย้ายฐานการผลิต และการขยายการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ของต่างชาติ ตลอดจน การขยายตัวของการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ รวมทั้งชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ในปี 2546 แสดงให้เห็นได้ว่าอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์มีแนวโน้มการขยายตัวไปในทิศทางที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในตลาดส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ที่สำคัญของไทย ซึ่งมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และประเทศในอาเซียน สำหรับตลาดส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ที่สำคัญที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ญี่ปุ่น ประเทศในแถบอาเซียน และประเทศในแถบยุโรป จึงคาดได้ว่าในปี 2547 อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยจะขยายตัวเพิ่มขึ้น
(ยังมีต่อ).../ตารางการจำหน่าย..