สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 4(ตค.-ธค.)พ.ศ.2546(อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์)

ข่าวเศรษฐกิจ Friday February 20, 2004 14:59 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

        อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ไตรมาสที่ 4 ปี 2546
1. ภาวะทั่วไปของอุตสาหกรรม
ภาวะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2546 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส
เดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ขยายตัว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 17.6 และดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
อิเล็กทรอนิกส์ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.3 และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกพบว่าในไตรมาสที่ 4 การส่งออกสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอ
นิกส์ของไทยมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 7,763.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
โดยเป็นการเพิ่มขึ้นจากสินค้าไฟฟ้าร้อยละ 28.4 และจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ร้อยละ 16.4 ส่วนการนำเข้าสินค้าในกลุ่มไฟฟ้า
และอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 มีมูลค่า 5,863.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของ
ปีก่อน เป็นการเพิ่มขึ้นจากสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าร้อยละ 18.5 และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ร้อยละ 20.7 เมื่อพิจารณากำลังการผลิต
ของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนพบว่าอยู่ในระดับร้อยละ 56.2 เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 19.9 โดยอุตสาหกรรมไฟฟ้ามีกำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 51.3 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
มีกำลังการผลิตที่ระดับร้อยละ 71.0 เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.7
2. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
2.1 การผลิต
ภาวะการผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยปรับตัวดีขึ้นมาก จากรายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของสำนักงาน
เศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่า ในไตรมาสที่ 4 ปี 2546 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ
13.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยแยกเป็นดัชนีผลิตของแต่
ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ดังนี้
ดัชนีผลผลิตในกลุ่มเครื่องปรับอากาศ และคอมเพรสเซอร์ (ISIC 2919) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 26.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
และเพิ่มขึ้น ร้อยละ 23.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ดัชนีผลผลิตในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน (ISIC 2930) ซึ่งประกอบด้วย พัดลม ตู้เย็น กระติกน้ำร้อน และ
หม้อหุงข้าว เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ดัชนีผลผลิตกลุ่มเครื่องรับโทรทัศน์ วิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง (ISIC 3230) เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนดัชนีผลผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.5
2.2 การตลาด
ดัชนีส่งสินค้าในกลุ่มเครื่องรับโทรทัศน์ วิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง (ISIC 3230) ไตรมาสที่ 4 ปี 2546
ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยแยก
เป็นดัชนีการส่งสินค้าของแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ดังนี้
ดัชนีส่งสินค้าในกลุ่มเครื่องปรับอากาศ และคอมเพรสเซอร์ (ISIC 2919) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.0 เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ดัชนีส่งสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน (ISIC 2930) ซึ่งประกอบด้วย พัดลม ตู้เย็น กระติกน้ำร้อน
และหม้อหุงข้าว ลดลงเล็กน้อย ร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน
ดัชนีส่งสินค้ากลุ่มเครื่องรับโทรทัศน์ วิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง (ISIC 3230) เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4 เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนดัชนีผลผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.7
ตลาดส่งออก
การส่งออกสินค้าไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2546 มีมูลค่า 2,678.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ
13.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.3 สินค้าที่มีมูลค่าส่งออกมาก
ที่สุดยังคงเป็น เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ และส่วนประกอบ ด้วยมูลค่า 704.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด
5 อันดับแรกแสดงในตารางที่ 1.
ตารางที่ 1 มูลค่าสินค้าไฟฟ้าที่มีการส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรกของไทยไตรมาสที่ 4 ปี 2546
รายการสินค้า มูลค่าการส่งออก การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง ตลาดส่งออกหลัก
(ล้านเหรียญสหรัฐฯ) เทียบกับไตรมาส เทียบกับไตรมาส
ที่ 4/2546 (ร้อยละ) ที่ 3/2545 (ร้อยละ)
1. เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ สหรัฐอเมริกา
และส่วนประกอบ 704.7 -3.7 35.7 ญี่ปุ่น สิงคโปร์
2. เครื่องปรับอากาศและ อิตาลี
ส่วนประกอบ 288.9 -4.2 38.3 ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น
3. วีดีโอ เครื่องเสียง สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น
อุปกรณ์และส่วนประกอบ 276.7 1.8 -0.9 มาเลเซีย
4. แผงสวิทซ์และแผงควบคุม สหรัฐอเมริกา
กระแสไฟฟ้า 181.8 11.8 54.9 ไอร์แลนด์ แคนาดา
5. ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง ญี่ปุ่น มาเลเซีย
และส่วนประกอบ 139.2 5.2 0.9 อินโดนีเซีย
5. ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง และส่วนประกอบ 139.2 5.2 0.9 ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย
ที่มา: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าสินค้าไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2546 มีมูลค่า 2,300.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนการนำเข้ามีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.5 โดยส่วนใหญ่ยังคง
เป็นการนำเข้าเครื่องจักรเพื่อทำการผลิตสินค้า โดยมีมูลค่า 507.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้าสูงสุด 5 อันดับ
แรกแสดงในตารางที่ 2
ตารางที่ 2 มูลค่าสินค้าไฟฟ้าที่มีการนำเข้าสูงสุด 5 อันดับแรกของไทยไตรมาสที่ 4 ปี 2546
รายการสินค้า มูลค่าการนำเข้า การเปลี่ยนแปลงเทียบกับ การเปลี่ยนแปลงเทียบกับ ตลาดนำเข้าหลัก
(ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ไตรมาสที่ 3/2546(ร้อยละ) ไตรมาสที่ 4/ 2545 (ร้อยละ)
1. เครื่องจักรไฟฟ้าอื่นๆและส่วนประกอบ 507.6 9.23 47.52 ญี่ปุ่น มาเลเซีย จีน
2. เครื่องส่งสัญญาณภาพและเสียง 419.2 14.19 9.88 เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ใต้หวัน
3. เครื่องตัดต่อ หรือป้องกันวงจรไฟฟ้ารวมถึงแป้นและแผงควบคุม 347.7 6.17 8.83 ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์
4. หลอดภาพโทรทัศน์ 237.6 -8.23 8.39 มาเลเซีย เกาหลีใต้ จีน
5. สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล 140.1 -2.98 -12.49 ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา จีน
ที่มา: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
3. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
3.1 การผลิต
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อน
โดยจากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็ก
ทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 19.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 39.3 โดยเฉพาะในกลุ่ม Monolithic Integrated circuit และ Other Integrated circuit
เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.0 และ 43.7 ตามลำดับ แต่หลอดภาพคอมพิวเตอร์ลดลงร้อยละ 75.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศญี่ปุ่นในไตรมาส 4 ของปี 2546 พบว่าภาวะการผลิตของ
ประเทศญี่ปุ่นดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเช่นกัน โดย Ministry of Economic Trade and Industry (METI)
รายงานว่าดัชนีผลผลิตในกลุ่มของ Electronic computer เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 และในกลุ่มของ Electronic parts
and devices เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน กลุ่ม
Electronic parts and devices เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 21.2 แต่ในกลุ่ม Electronic computer ลดลงเพียงร้อยละ 0.1
3.2 การตลาด
ภาวะตลาดอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 อยู่ในภาวะปรับตัวดีขึ้น โดยจากรายงานของสำนักงาน
เศรษฐกิจอุตสาหกรรม พบว่าดัชนีการส่งสินค้าอุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4
ของปี 2546 เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นถึงร้อย 40.7
โดยเฉพาะกลุ่ม Monolithic Integrated circuit และ Other Integrated circuit เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.7 และ
46.0 ตามลำดับ แต่หลอดภาพคอมพิวเตอร์ลดลงร้อยละ 86.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศญี่ปุ่นในไตรมาส 4 ของปี 2546 พบว่าภาวะ
การส่งสินค้าของประเทศญี่ปุ่นดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดย METI รายงานว่าดัชนีการส่งสินค้าในกลุ่ม Electronic
computer เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 และในกลุ่มของ Electronic parts and devices เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับ ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน กลุ่ม Electronic parts and devices เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 25.7 แต่ในกลุ่ม Electronic computer ลดลงร้อยละ 0.3
นอกจากนี้ Semiconductor Industry Association (SIA) ได้รายงานการจำหน่าย Semiconductor ของตลาด
โลกในไตรมาสที่ 4 ปี 2546 ซึ่งสอดคล้องกับภาวะตลาดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (IC) ของไทยที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน
โดยมีมูลค่าจำหน่าย 43.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาส
เดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.7 ซึ่ง SIA กล่าวว่าเป็นเพราะตลาด Computation , Communications
and Consumer Sector (DVD player และ Digital Cameras) เติบโตอย่างมากจึงทำให้มีความต้องการชิ้นส่วน
อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยในไตรมาสนี้ทุกภูมิภาค คือ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่นและเอเชียแปซิฟิก
มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.5 8.3 19.6 และ 21.2 ตามลำดับ
ตลาดส่งออก
การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 อยู่ในภาวะฟื้นตัวดีขึ้น มีมูลค่า 5,085.4 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปี 2546 โดยสินค้าสำคัญที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก
คือแผงวงจรไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.0 และสินค้าส่งออกที่มีการปรับตัวลดลง คือ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด
ลดลง ร้อยละ 9.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.4 โดยสินค้า
สำคัญที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น คือ แผงวงจรไฟฟ้า เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 53.3 แต่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์สำคัญที่ลดลงค่อนข้างมาก
คือ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด ลดลงถึงร้อยละ 25.5 (รายละเอียดแสดงในตารางที่ 3 )
ตารางที่ 3 มูลค่าส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าสูงสุด 5 อันดับแรกของไทย ไตรมาสที่ 4 ปี 2546
รายการสินค้า มูลค่าการส่งออก การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง ตลาดส่งออกหลัก
ไตรมาส 4/2546 เมื่อเทียบกับ เมื่อเทียบกับ
(ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ไตรมาส 3/ 2546 ไตรมาส 4/ 2545
(ร้อยละ) (ร้อยละ)
1. เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ และส่วนประกอบ 2,352.40 13.6 16.5 สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา จีน
2. แผงวงจรไฟฟ้า 1,505.00 44 53.3 ไต้หวัน เนเธอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา
3. อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์และไดโอด 275.9 -9.7 -25.5 ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฮ่องกง
4. เครื่องโทรสาร โทรพิมพ์ โทรศัพท์อุปกรณ์และส่วนประกอบ 281 10.2 22.6 ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย
5. วงจรพิมพ์ 222.2 11.9 -3.1 สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ฮ่องกง
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
(ยังมีต่อ).../การนำเข้า..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ