ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. การสัมมนาคณะอนุกรรมการ ศปร.3 มีความเห็นในประเด็นการแยกอำนาจตรวจสอบออกจาก ธปท. คณะกรรมการศึกษาและเสนอแนะ
มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบการเงินของประเทศเพื่อเป็นการป้องกันการเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ (ศศปป.) หรือ ศปร.3 จัด
สัมมนาแสดงความคิดเห็นร่วมกันระหว่างคณะอนุกรรมการ ซึ่งนายสุชาติ ธาดาธำรงเวชช อนุกรรมการจัดทำรายงานสรุปผลการศึกษา เปิดเผยว่า กรอบ
รายงานดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า สาเหตุของวิกฤติเศรษฐกิจปี 40 เกิดจากนโยบายการกำหนดค่าเงิน และการดูแลการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินไม่ถูก
ต้อง ประกอบกับการโจมตีค่าเงินบาทของต่างชาติ ซึ่งมาตรการที่ออกมาแก้ไขในขณะนั้น อาทิ การตั้งสำนักงานปฏิรูประบบสถาบันการเงิน มาตรการ 14
สิงหา เป็นต้น เป็นการแก้ไขปัญหาแบบแยกส่วนและเป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุ นอกจากนี้ ในการสัมมนามีความเห็นในประเด็นการแยกอำนาจตรวจ
สอบออกจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยมี 2 แนวคิดหลัก ได้แก่ แนวคิดแรก การแยกอำนาจ ธปท.ออกเป็น 3 หน่วยงานที่อิสระต่อกันอย่าง
ชัดเจน คือ ส่วนแรกดูแลเศรษฐกิจมหภาค นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน อัตราเงินเฟ้อ ปริมาณเงินในระบบ ส่วนที่ 2 ดูแลสถาบันการเงินและกำกับตรวจ
สอบสถาบันการเงิน และส่วนที่ 3 การยุบเลิกกองทุนฟื้นฟูและตั้งเป็นสถาบันประกันเงินฝาก ขณะที่อีกแนวคิดหนึ่ง คือ แยกเฉพาะฝ่ายตรวจสอบออกจาก
สถาบันการเงินโดยคงการกำกับดูแล ธพ.ไว้ ซึ่งในประเด็นดังกล่าว ได้ข้อสรุปว่า คณะอนุกรรมการจะนำกลับไปพิจารณาเพิ่มเติม (ผู้จัดการรายวัน)
2. ธ.เอบีเอ็นแอมโรและ ธ.เอเชีย หารือ ธปท.เกี่ยวกับแนวทางตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 19 ก.พ.47 ผู้บริหาร ธ.เอบีเอ็น แอมโร และ ธ.เอเชีย ได้เข้าพบเพื่อหารือและขอคำชี้แจงที่ชัดเจนเกี่ยวกับราย
ละเอียดของแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน รวมถึงขอคำยืนยันในกรณีที่ ธ.ต่างประเทศต้องปรับตัวให้เหลือเพียง 1 สถานะ โดย ธปท.ได้ยืนยันแนวทาง
ดังกล่าว ซึ่งคณะกรรมการ ธ.เอเชียรายหนึ่งได้เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า คณะกรรมการได้ข้อสรุปเรื่องอนาคตของ ธ.เอเชียแล้ว โดยจะชี้แจง
ข่าวอย่างเป็นทางการในวันนี้ (20 ก.พ.47) อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวรายหนึ่งกล่าวว่ามีความเป็นไปได้ที่ ธ.เอบีเอ็น แอมโร จะขอยืดระยะเวลาใน
การคงสถานะของสาขาและบริษัทลูก เนื่องจากไม่สามารถตกลงเรื่องราคาซื้อขายหุ้นกับกลุ่มผู้ลงทุนรายใหม่ได้ (กรุงเทพธุรกิจ)
3. ช่วง 11 เดือนของปี 46 ธ.เฉพาะกิจของรัฐมีกำไรจากการดำเนินงานสูงถึง 20,266 ล.บาท รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจ
การคลัง (สศค.) เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานของ ธ.เฉพาะกิจของรัฐในช่วง 11 เดือนของปี 46 (ม.ค.-พ.ย.) ว่า มีกำไรจากการดำเนินงานสูง
ถึง 20,266 ล.บาท โดยสามารถปล่อยสินเชื่อได้จำนวน 395,826 ล.บาท สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ถึง 30.79% และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน
39.48% ขณะที่ยอดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 10.91% ลดลงจาก 11.85% โดย ธ.ออมสินเป็น ธ.เฉพาะกิจที่มี
ผลกำไรมากที่สุด ทั้งนี้ ภาพรวมของสถานะทางการเงินของ ธ.เฉพาะกิจปรับเพิ่มสูงขึ้นทุกด้าน (ข่าวสด)
4. การส่งออกข้าวไทยไปต่างประเทศปรัวตัวดีขึ้น นายกสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศเปิดเผยถึงสถานการณ์ส่งออกข้าวไปต่างประเทศว่า
ขณะนี้ราคาข้าวทุกประเภทที่ไทยส่งออกปรับตัวเพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากประเทศคู่แข่งลดปริมาณการส่งออก เช่น อินเดีย ลดยอดส่งออกลงถึง 60% หลังจาก
ที่รัฐบาลยกเลิกการอุดหนุนการส่งออก เวียดนามลดลง 50% เพราะขายข้าวล่วงหน้าในปริมาณที่มากจนทำให้ปริมาณข้าวมีไม่เพียงพอต่อการส่งมอบให้ลูกค้า
ขณะที่ สหรัฐฯ ก็ลดปริมาณการส่งออกข้าวถึง 30% นอกจากนี้ สถานการณ์ข้าวในตลาดโลกพบว่า ผลผลิตข้าวทั่วโลกมีปริมาณ 390 ล้านตันข้าวสาร ขณะที่
ความต้องการข้าวมีถึง 410 ล้านต้นข้าวสาร แสดงให้เห็นว่าปริมาณผลผลิตน้อยกว่าปริมาณการ จึงส่งผลให้ราคาข้าวทั่วโลกในปี 47 ปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้
คาดว่าการส่งออกข้าวไทยในปี 47 จะเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้คือ 8 ล้านตัน (ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. เขตเศรษฐกิจยุโรปเกินดุลการค้าในปี 46 ลดลงจากปีก่อนจำนวน 72.5 พัน ล.ยูโร รายงานจากกรุงบรัสเซลล์ เมื่อ 19 ก.พ.47
สำนักงานสถิติแห่งชาติยุโรป เปิดเผยว่า ในปี 46 เขตเศรษฐกิจยุโรปเกินดุลการค้าลดลงอย่างรวดเร็วจากปีก่อนอยู่ที่จำนวน 75.5 พัน ล.ยูโร จาก
จำนวน 98.9 พัน ล.ยูโรในปี 45 เนื่องจากยอดการส่งออกจากกลุ่มประเทศยุโรป 12 ประเทศลดลงร้อยละ 3 อยู่ที่จำนวน 1.05 ล้านล้านยูโร ขณะ
ที่การนำเข้าลดลงร้อยละ 1 อยู่ที่จำนวน 979 พัน ล.ยูโร ขณะที่ในเดือน ธ.ค.46 ดุลการค้ามียอดเกินดุลเพิ่มขึ้นจำนวน 5.7 พัน ล.ยูโร ซึ่งมากกว่าที่
ประมาณการไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นจำนวน 4.5 พัน ล.ยูโร และสูงกว่าในเดือน พ.ย.46 ที่อยู่ที่จำนวน 5.1 พัน ล.ยูโร แม้ว่าค่าเงินสกุลยูโรจะแข็งแกร่ง
อย่างมากโดยอยู่ในระดับสูงสุดในประวัติการณ์เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ที่ระดับ 1.2927 ดอลลาร์ สรอ.ต่อ 1 ยูโร อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีฝรั่งเศส
(Jacques Chirac) มีความกังวลอย่างมากในตลาดเงินตราที่อยู่ในภาวะแปรปรวนในขณะนี้ ขณะที่ รมว. ก. เศรษฐกิจของเยอรมนี (Wolfgang
Clement) เห็นว่า ตลาดเงินตราเป็นประเด็นความเสี่ยงอันหนึ่งที่จะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและเห็นว่ายุโรปควรจะจัดเตรียมมาตรการ
รองรับหากจำเป็น (รอยเตอร์)
2. ประสิทธิภาพการผลิตของยูโรโซนในเดือนม.ค.ยังคงขยายตัวทำสถิติสูงสุด รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 19 ก.พ. 47 ประสิทธิภาพ
การผลิตของยูโรโซนในเดือนม.ค. 47 ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องอยู่ในระดับสูงสุดหลังจากที่ในช่วงครึ่งหลังปี 46 ขยายในอัตราเร่ง ตามผลการ
สำรวจของบริษัท NTC for International consultancy Deloitte โดยประสิทธิภาพการผลิตของเยอรมนี และฝรั่งเศสยังคงขยายตัวทำสถิติสูง
สุด แม้ว่าดัชนีตามผลการสำรวจจะชี้ว่าในเดือนม.ค. 47 การขยายตัวดังกล่าวจะชะลอจากเดือนธ.ค. 46 ก็ตาม อย่างไรก็ตามการที่ผลผลิตต่อแรงงาน
เพิ่มขึ้นในภาคอุตสาหกรรมจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกก็ไม่ได้ส่งผลให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ โดยผลการ
สำรวจชี้ว่าประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้นแต่ก็ยังมีการลดการจ้างงานลง อาทิ ในประเทศเยอรมนี ส่วนตัวเลขประสิทธิภาพการผลิตอย่างเป็นทางการของยู
โรโซนยังไม่มีการปรับปรุงดังนั้นผลการสำรวจดังกล่าวจึงเป็นเพียงตัวเลขประมาณการเท่านั้น(รอยเตอร์)
3. ยอดค้าปลีกของอังกฤษในเดือน ม.ค.47 เพิ่มขึ้นทำให้มีแนวโน้มว่า ธ.กลางจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก รายงานจากลอนดอน เมื่อ 19
ก.พ.47 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษ รายงานยอดค้าปลีกของอังกฤษในเดือน ม.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 จากเดือนก่อน สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาด
ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 เพราะคนส่วนใหญ่ได้จับจ่ายซื้อของไปแล้วเมื่อตอนคริสต์มาส และเมื่อเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 นับเป็นการ
เพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.45 ตัวเลขยอดค้าปลีกที่เพิ่มขึ้นแสดงให้เห็นว่าการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธ.กลางอังกฤษในเดือน
พ.ย.46 ร้อยละ 0.25 เป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปีและเพิ่มอีกร้อยละ 0.25 เมื่อต้นเดือนนี้เพื่อลดความร้อนแรงของการใช้จ่ายของผู้บริโภคและตลาด
อสังหาริมทรัพย์และทำให้อัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 4.0 นั้น ส่งผลเพียงเล็กน้อยต่อการใช้จ่ายของชาวอังกฤษ นักวิเคราะห์จึงคาดว่า ธ.กลาง
อังกฤษอาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในเดือน เม.ย หรือ พ.ค. ปีนี้ (รอยเตอร์)
4. ฝรั่งเศสเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ธ.ค.46 เพิ่มขึ้นจำนวน 1.0 พัน ล.ยูโร เทียบต่อเดือน รายงานจากปารีส เมื่อ 19 ก.พ.47
ก.คลัง และ ธ.กลางฝรั่งเศส เปิดเผยว่า ในเดือน ธ.ค.46 ฝรั่งเศสเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นจำนวน 1.0 พัน ล.ยูโร เทียบต่อเดือน เพิ่มขึ้นเล็ก
น้อยจากเดือนก่อนที่เกินดุลจำนวน 0.9 พัน ล.ยูโร (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) และทั้งปี 46 ฝรั่งเศสเกินดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวน 10.1 พัน ล.ยูโร ลด
ลงจากจำนวน 24 พัน ล.ยูโรในปี 45 (รอยเตอร์)
5. เยอรมนีปรับลดตัวเลขขาดดุล งปม. ปี 2546 ลงเหลือ 3.9% รายงานจากเบอร์ลินเมื่อวันที่ 19 ก.พ.47 สำนักงานสถิติแห่งชาติของ
เยอรมนีได้ปรับลดตัวเลขการขาดดุล งปม. ปี 2546 ลงเหลือ 3.9% ของจีดีพี จากเดิมที่ประมาณการณ์ไว้ 4.0% คิดเป็นมูลค่ารวม 82.1 พันล้านยูโร
(104.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) โดยในปี 2545 เยอรมันขาดดุล งปม. 3.5% ของจีดีพี ทั้งนี้ เยอรมนีได้คาดการณ์ว่าการขาดดุล งปม. จะลดลง
เหลือ 3.25% ของจีดีพีในปี 2547 และ 2.5% ในปี 2548 โดยแผนการลดการขาดดุล งปม. ของเยอมนีจะทำควบคู่ไปกับมาตรการทางเศรษฐกิจที่จะมี
ความยืดหยุ่นมากขึ้น อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปได้เตือนว่าการที่เยอรมนีตั้งเป้าลดการขาดดุล งปม. ต่ำกว่าที่สหภาพยุโรปกำหนดไว้
คือ 3% เป็นเรื่องเสี่ยงมาก เพราะเป็นการมองภาพเศรษฐกิจของประเทศในด้านดีเกินไป ในขณะที่เยอรมนียังมีปัญหาในเรื่องการใช้จ่ายมากเกินไป
ของภาครัฐในการใช้เงินอุดหนุนกองทุนบำเหน็จบำนาญ การสาธารณสุข และสวัสดิการการว่างงาน ดังนั้น การตั้ง งปม.ขาดดุลของประเทศไว้ที่ระดับ 3%
ของจีดีพีในปี 48 น่าจะเป็นสิ่งที่เป็นไปได้มากกว่า อนึ่ง เยอรมนีและฝรั่งเศสได้ละเมิดข้อตกลงการขาดดุล งปม. ติดต่อกันถึง 2 ปี นับถึงปี 46 ใน
ขณะที่คณะกรรมการสหภาพยุโรปก็ไม่ได้ดำเนินการในเรื่องนี้แต่อย่างใด เพียงแต่ได้ส่งเรื่องดังกล่าวไปยังศาล ซึ่งนัดจะมีการพิจารณาเรื่องนี้ในอีก 2-3
เดือนข้างหน้า (รอยเตอร์)
6. ดัชนีวัดแนวโน้มภาคบริการของญี่ปุ่นในเดือน ธ.ค.46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ขณะที่ดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวมลดลงร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบต่อ
เดือน รายงานจากโตเกียว เมื่อ 20 ก.พ.47 รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ดัชนีวัดแนวโน้มภาคบริการของญี่ปุ่นในเดือน ธ.ค.46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบ
ต่อเดือน จากเดือน พ.ย.46 ที่ลดลงอย่างมากถึงร้อยละ 2.4 ส่วนดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวม ซึ่งเป็นการจัดอันดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นลดลง
ร้อยละ 0.4 ในเดือน ธ.ค.46 ก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์ได้ประมาณการไว้ว่า ดัชนีวัดแนวโน้มภาคบริการจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 และดัชนีอุตสาหกรรม
โดยรวมจะลดลงร้อยละ 0.1 ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญของการฟื้นตัวของดัชนีวัดแนวโน้มภาคบริการ คือ การเพิ่มขึ้นของยอดการค้าส่ง การค้าปลีก และ
กิจกรรมภาคบริการ เช่น ภัตตาคาร รวมถึงภาคอสังหาริมทรัพย์ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่วนการลดลงของดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวมมีสาเหตุสำคัญจากการ
ลดลงของผลผลิตอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 4 ปี 46 เติบโตร้อยละ 1.7 นับเป็นการขยาย
ตัวอย่างรวดเร็วที่สุดในรอบ 13 ปี ซึ่งสามารถสนับสนุนความคาดหวังของญี่ปุ่นที่จะฟื้นตัวจากทศวรรษแห่งภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ (รอยเตอร์)
7. เกาหลีใต้จะยังคงนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำต่อไปในช่วงครึ่งแรกปีนี้ รายงานจากโซล เมื่อวันที่ 20 ก.พ. 47 รมว. คลังเกาหลีใต้เปิด
เผยว่า เพื่อเป็นการรักษาเสถียรภาพทางและเอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เกาหลีใต้จะยังไม่เปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยจะคง
อัตราดอกเบี้ยนโยบายให้อยู่ในระดับต่ำต่อไปอีกจนถึงครึ่งแรกปี 47 เป็นอย่างน้อย ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยของเกาหลีใต้ทำสถิติต่ำสุดที่ร้อยละ 3.75 นับตั้ง
แต่ก.ค. ปีที่แล้วซึ่งเกาหลีใต้พ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยเนื่องจากเมื่อปีที่แล้วการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างมาก อย่างไรก็ตามการฟื้นตัวดังกล่าวยังคงมีความ
ไม่แน่นอนจากการใช้จ่ายบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ยังไม่แข็งแกร่ง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 20/2/47 19/2/47 31/12/46 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.109 39.622 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.8998/39.1893 39.4435/39.7378 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.8750 - 1.2800 1.2800 - 1.3000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 732.97/18.57 772.15/41.74 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,550/7,650 7,550/7,650 7,700/7,800 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 29.57 29.59 28.66 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 17.29*/14.39 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. การสัมมนาคณะอนุกรรมการ ศปร.3 มีความเห็นในประเด็นการแยกอำนาจตรวจสอบออกจาก ธปท. คณะกรรมการศึกษาและเสนอแนะ
มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบการเงินของประเทศเพื่อเป็นการป้องกันการเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ (ศศปป.) หรือ ศปร.3 จัด
สัมมนาแสดงความคิดเห็นร่วมกันระหว่างคณะอนุกรรมการ ซึ่งนายสุชาติ ธาดาธำรงเวชช อนุกรรมการจัดทำรายงานสรุปผลการศึกษา เปิดเผยว่า กรอบ
รายงานดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า สาเหตุของวิกฤติเศรษฐกิจปี 40 เกิดจากนโยบายการกำหนดค่าเงิน และการดูแลการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินไม่ถูก
ต้อง ประกอบกับการโจมตีค่าเงินบาทของต่างชาติ ซึ่งมาตรการที่ออกมาแก้ไขในขณะนั้น อาทิ การตั้งสำนักงานปฏิรูประบบสถาบันการเงิน มาตรการ 14
สิงหา เป็นต้น เป็นการแก้ไขปัญหาแบบแยกส่วนและเป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุ นอกจากนี้ ในการสัมมนามีความเห็นในประเด็นการแยกอำนาจตรวจ
สอบออกจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยมี 2 แนวคิดหลัก ได้แก่ แนวคิดแรก การแยกอำนาจ ธปท.ออกเป็น 3 หน่วยงานที่อิสระต่อกันอย่าง
ชัดเจน คือ ส่วนแรกดูแลเศรษฐกิจมหภาค นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน อัตราเงินเฟ้อ ปริมาณเงินในระบบ ส่วนที่ 2 ดูแลสถาบันการเงินและกำกับตรวจ
สอบสถาบันการเงิน และส่วนที่ 3 การยุบเลิกกองทุนฟื้นฟูและตั้งเป็นสถาบันประกันเงินฝาก ขณะที่อีกแนวคิดหนึ่ง คือ แยกเฉพาะฝ่ายตรวจสอบออกจาก
สถาบันการเงินโดยคงการกำกับดูแล ธพ.ไว้ ซึ่งในประเด็นดังกล่าว ได้ข้อสรุปว่า คณะอนุกรรมการจะนำกลับไปพิจารณาเพิ่มเติม (ผู้จัดการรายวัน)
2. ธ.เอบีเอ็นแอมโรและ ธ.เอเชีย หารือ ธปท.เกี่ยวกับแนวทางตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 19 ก.พ.47 ผู้บริหาร ธ.เอบีเอ็น แอมโร และ ธ.เอเชีย ได้เข้าพบเพื่อหารือและขอคำชี้แจงที่ชัดเจนเกี่ยวกับราย
ละเอียดของแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน รวมถึงขอคำยืนยันในกรณีที่ ธ.ต่างประเทศต้องปรับตัวให้เหลือเพียง 1 สถานะ โดย ธปท.ได้ยืนยันแนวทาง
ดังกล่าว ซึ่งคณะกรรมการ ธ.เอเชียรายหนึ่งได้เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า คณะกรรมการได้ข้อสรุปเรื่องอนาคตของ ธ.เอเชียแล้ว โดยจะชี้แจง
ข่าวอย่างเป็นทางการในวันนี้ (20 ก.พ.47) อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวรายหนึ่งกล่าวว่ามีความเป็นไปได้ที่ ธ.เอบีเอ็น แอมโร จะขอยืดระยะเวลาใน
การคงสถานะของสาขาและบริษัทลูก เนื่องจากไม่สามารถตกลงเรื่องราคาซื้อขายหุ้นกับกลุ่มผู้ลงทุนรายใหม่ได้ (กรุงเทพธุรกิจ)
3. ช่วง 11 เดือนของปี 46 ธ.เฉพาะกิจของรัฐมีกำไรจากการดำเนินงานสูงถึง 20,266 ล.บาท รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจ
การคลัง (สศค.) เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานของ ธ.เฉพาะกิจของรัฐในช่วง 11 เดือนของปี 46 (ม.ค.-พ.ย.) ว่า มีกำไรจากการดำเนินงานสูง
ถึง 20,266 ล.บาท โดยสามารถปล่อยสินเชื่อได้จำนวน 395,826 ล.บาท สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ถึง 30.79% และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน
39.48% ขณะที่ยอดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 10.91% ลดลงจาก 11.85% โดย ธ.ออมสินเป็น ธ.เฉพาะกิจที่มี
ผลกำไรมากที่สุด ทั้งนี้ ภาพรวมของสถานะทางการเงินของ ธ.เฉพาะกิจปรับเพิ่มสูงขึ้นทุกด้าน (ข่าวสด)
4. การส่งออกข้าวไทยไปต่างประเทศปรัวตัวดีขึ้น นายกสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศเปิดเผยถึงสถานการณ์ส่งออกข้าวไปต่างประเทศว่า
ขณะนี้ราคาข้าวทุกประเภทที่ไทยส่งออกปรับตัวเพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากประเทศคู่แข่งลดปริมาณการส่งออก เช่น อินเดีย ลดยอดส่งออกลงถึง 60% หลังจาก
ที่รัฐบาลยกเลิกการอุดหนุนการส่งออก เวียดนามลดลง 50% เพราะขายข้าวล่วงหน้าในปริมาณที่มากจนทำให้ปริมาณข้าวมีไม่เพียงพอต่อการส่งมอบให้ลูกค้า
ขณะที่ สหรัฐฯ ก็ลดปริมาณการส่งออกข้าวถึง 30% นอกจากนี้ สถานการณ์ข้าวในตลาดโลกพบว่า ผลผลิตข้าวทั่วโลกมีปริมาณ 390 ล้านตันข้าวสาร ขณะที่
ความต้องการข้าวมีถึง 410 ล้านต้นข้าวสาร แสดงให้เห็นว่าปริมาณผลผลิตน้อยกว่าปริมาณการ จึงส่งผลให้ราคาข้าวทั่วโลกในปี 47 ปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้
คาดว่าการส่งออกข้าวไทยในปี 47 จะเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้คือ 8 ล้านตัน (ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. เขตเศรษฐกิจยุโรปเกินดุลการค้าในปี 46 ลดลงจากปีก่อนจำนวน 72.5 พัน ล.ยูโร รายงานจากกรุงบรัสเซลล์ เมื่อ 19 ก.พ.47
สำนักงานสถิติแห่งชาติยุโรป เปิดเผยว่า ในปี 46 เขตเศรษฐกิจยุโรปเกินดุลการค้าลดลงอย่างรวดเร็วจากปีก่อนอยู่ที่จำนวน 75.5 พัน ล.ยูโร จาก
จำนวน 98.9 พัน ล.ยูโรในปี 45 เนื่องจากยอดการส่งออกจากกลุ่มประเทศยุโรป 12 ประเทศลดลงร้อยละ 3 อยู่ที่จำนวน 1.05 ล้านล้านยูโร ขณะ
ที่การนำเข้าลดลงร้อยละ 1 อยู่ที่จำนวน 979 พัน ล.ยูโร ขณะที่ในเดือน ธ.ค.46 ดุลการค้ามียอดเกินดุลเพิ่มขึ้นจำนวน 5.7 พัน ล.ยูโร ซึ่งมากกว่าที่
ประมาณการไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นจำนวน 4.5 พัน ล.ยูโร และสูงกว่าในเดือน พ.ย.46 ที่อยู่ที่จำนวน 5.1 พัน ล.ยูโร แม้ว่าค่าเงินสกุลยูโรจะแข็งแกร่ง
อย่างมากโดยอยู่ในระดับสูงสุดในประวัติการณ์เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ที่ระดับ 1.2927 ดอลลาร์ สรอ.ต่อ 1 ยูโร อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีฝรั่งเศส
(Jacques Chirac) มีความกังวลอย่างมากในตลาดเงินตราที่อยู่ในภาวะแปรปรวนในขณะนี้ ขณะที่ รมว. ก. เศรษฐกิจของเยอรมนี (Wolfgang
Clement) เห็นว่า ตลาดเงินตราเป็นประเด็นความเสี่ยงอันหนึ่งที่จะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและเห็นว่ายุโรปควรจะจัดเตรียมมาตรการ
รองรับหากจำเป็น (รอยเตอร์)
2. ประสิทธิภาพการผลิตของยูโรโซนในเดือนม.ค.ยังคงขยายตัวทำสถิติสูงสุด รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 19 ก.พ. 47 ประสิทธิภาพ
การผลิตของยูโรโซนในเดือนม.ค. 47 ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องอยู่ในระดับสูงสุดหลังจากที่ในช่วงครึ่งหลังปี 46 ขยายในอัตราเร่ง ตามผลการ
สำรวจของบริษัท NTC for International consultancy Deloitte โดยประสิทธิภาพการผลิตของเยอรมนี และฝรั่งเศสยังคงขยายตัวทำสถิติสูง
สุด แม้ว่าดัชนีตามผลการสำรวจจะชี้ว่าในเดือนม.ค. 47 การขยายตัวดังกล่าวจะชะลอจากเดือนธ.ค. 46 ก็ตาม อย่างไรก็ตามการที่ผลผลิตต่อแรงงาน
เพิ่มขึ้นในภาคอุตสาหกรรมจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกก็ไม่ได้ส่งผลให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ โดยผลการ
สำรวจชี้ว่าประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้นแต่ก็ยังมีการลดการจ้างงานลง อาทิ ในประเทศเยอรมนี ส่วนตัวเลขประสิทธิภาพการผลิตอย่างเป็นทางการของยู
โรโซนยังไม่มีการปรับปรุงดังนั้นผลการสำรวจดังกล่าวจึงเป็นเพียงตัวเลขประมาณการเท่านั้น(รอยเตอร์)
3. ยอดค้าปลีกของอังกฤษในเดือน ม.ค.47 เพิ่มขึ้นทำให้มีแนวโน้มว่า ธ.กลางจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก รายงานจากลอนดอน เมื่อ 19
ก.พ.47 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษ รายงานยอดค้าปลีกของอังกฤษในเดือน ม.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 จากเดือนก่อน สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาด
ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 เพราะคนส่วนใหญ่ได้จับจ่ายซื้อของไปแล้วเมื่อตอนคริสต์มาส และเมื่อเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 นับเป็นการ
เพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.45 ตัวเลขยอดค้าปลีกที่เพิ่มขึ้นแสดงให้เห็นว่าการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธ.กลางอังกฤษในเดือน
พ.ย.46 ร้อยละ 0.25 เป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปีและเพิ่มอีกร้อยละ 0.25 เมื่อต้นเดือนนี้เพื่อลดความร้อนแรงของการใช้จ่ายของผู้บริโภคและตลาด
อสังหาริมทรัพย์และทำให้อัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 4.0 นั้น ส่งผลเพียงเล็กน้อยต่อการใช้จ่ายของชาวอังกฤษ นักวิเคราะห์จึงคาดว่า ธ.กลาง
อังกฤษอาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในเดือน เม.ย หรือ พ.ค. ปีนี้ (รอยเตอร์)
4. ฝรั่งเศสเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ธ.ค.46 เพิ่มขึ้นจำนวน 1.0 พัน ล.ยูโร เทียบต่อเดือน รายงานจากปารีส เมื่อ 19 ก.พ.47
ก.คลัง และ ธ.กลางฝรั่งเศส เปิดเผยว่า ในเดือน ธ.ค.46 ฝรั่งเศสเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นจำนวน 1.0 พัน ล.ยูโร เทียบต่อเดือน เพิ่มขึ้นเล็ก
น้อยจากเดือนก่อนที่เกินดุลจำนวน 0.9 พัน ล.ยูโร (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) และทั้งปี 46 ฝรั่งเศสเกินดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวน 10.1 พัน ล.ยูโร ลด
ลงจากจำนวน 24 พัน ล.ยูโรในปี 45 (รอยเตอร์)
5. เยอรมนีปรับลดตัวเลขขาดดุล งปม. ปี 2546 ลงเหลือ 3.9% รายงานจากเบอร์ลินเมื่อวันที่ 19 ก.พ.47 สำนักงานสถิติแห่งชาติของ
เยอรมนีได้ปรับลดตัวเลขการขาดดุล งปม. ปี 2546 ลงเหลือ 3.9% ของจีดีพี จากเดิมที่ประมาณการณ์ไว้ 4.0% คิดเป็นมูลค่ารวม 82.1 พันล้านยูโร
(104.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) โดยในปี 2545 เยอรมันขาดดุล งปม. 3.5% ของจีดีพี ทั้งนี้ เยอรมนีได้คาดการณ์ว่าการขาดดุล งปม. จะลดลง
เหลือ 3.25% ของจีดีพีในปี 2547 และ 2.5% ในปี 2548 โดยแผนการลดการขาดดุล งปม. ของเยอมนีจะทำควบคู่ไปกับมาตรการทางเศรษฐกิจที่จะมี
ความยืดหยุ่นมากขึ้น อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปได้เตือนว่าการที่เยอรมนีตั้งเป้าลดการขาดดุล งปม. ต่ำกว่าที่สหภาพยุโรปกำหนดไว้
คือ 3% เป็นเรื่องเสี่ยงมาก เพราะเป็นการมองภาพเศรษฐกิจของประเทศในด้านดีเกินไป ในขณะที่เยอรมนียังมีปัญหาในเรื่องการใช้จ่ายมากเกินไป
ของภาครัฐในการใช้เงินอุดหนุนกองทุนบำเหน็จบำนาญ การสาธารณสุข และสวัสดิการการว่างงาน ดังนั้น การตั้ง งปม.ขาดดุลของประเทศไว้ที่ระดับ 3%
ของจีดีพีในปี 48 น่าจะเป็นสิ่งที่เป็นไปได้มากกว่า อนึ่ง เยอรมนีและฝรั่งเศสได้ละเมิดข้อตกลงการขาดดุล งปม. ติดต่อกันถึง 2 ปี นับถึงปี 46 ใน
ขณะที่คณะกรรมการสหภาพยุโรปก็ไม่ได้ดำเนินการในเรื่องนี้แต่อย่างใด เพียงแต่ได้ส่งเรื่องดังกล่าวไปยังศาล ซึ่งนัดจะมีการพิจารณาเรื่องนี้ในอีก 2-3
เดือนข้างหน้า (รอยเตอร์)
6. ดัชนีวัดแนวโน้มภาคบริการของญี่ปุ่นในเดือน ธ.ค.46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ขณะที่ดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวมลดลงร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบต่อ
เดือน รายงานจากโตเกียว เมื่อ 20 ก.พ.47 รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ดัชนีวัดแนวโน้มภาคบริการของญี่ปุ่นในเดือน ธ.ค.46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบ
ต่อเดือน จากเดือน พ.ย.46 ที่ลดลงอย่างมากถึงร้อยละ 2.4 ส่วนดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวม ซึ่งเป็นการจัดอันดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นลดลง
ร้อยละ 0.4 ในเดือน ธ.ค.46 ก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์ได้ประมาณการไว้ว่า ดัชนีวัดแนวโน้มภาคบริการจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 และดัชนีอุตสาหกรรม
โดยรวมจะลดลงร้อยละ 0.1 ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญของการฟื้นตัวของดัชนีวัดแนวโน้มภาคบริการ คือ การเพิ่มขึ้นของยอดการค้าส่ง การค้าปลีก และ
กิจกรรมภาคบริการ เช่น ภัตตาคาร รวมถึงภาคอสังหาริมทรัพย์ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่วนการลดลงของดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวมมีสาเหตุสำคัญจากการ
ลดลงของผลผลิตอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 4 ปี 46 เติบโตร้อยละ 1.7 นับเป็นการขยาย
ตัวอย่างรวดเร็วที่สุดในรอบ 13 ปี ซึ่งสามารถสนับสนุนความคาดหวังของญี่ปุ่นที่จะฟื้นตัวจากทศวรรษแห่งภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ (รอยเตอร์)
7. เกาหลีใต้จะยังคงนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำต่อไปในช่วงครึ่งแรกปีนี้ รายงานจากโซล เมื่อวันที่ 20 ก.พ. 47 รมว. คลังเกาหลีใต้เปิด
เผยว่า เพื่อเป็นการรักษาเสถียรภาพทางและเอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เกาหลีใต้จะยังไม่เปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยจะคง
อัตราดอกเบี้ยนโยบายให้อยู่ในระดับต่ำต่อไปอีกจนถึงครึ่งแรกปี 47 เป็นอย่างน้อย ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยของเกาหลีใต้ทำสถิติต่ำสุดที่ร้อยละ 3.75 นับตั้ง
แต่ก.ค. ปีที่แล้วซึ่งเกาหลีใต้พ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยเนื่องจากเมื่อปีที่แล้วการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างมาก อย่างไรก็ตามการฟื้นตัวดังกล่าวยังคงมีความ
ไม่แน่นอนจากการใช้จ่ายบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ยังไม่แข็งแกร่ง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 20/2/47 19/2/47 31/12/46 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.109 39.622 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.8998/39.1893 39.4435/39.7378 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.8750 - 1.2800 1.2800 - 1.3000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 732.97/18.57 772.15/41.74 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,550/7,650 7,550/7,650 7,700/7,800 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 29.57 29.59 28.66 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 17.29*/14.39 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-