= ประธานรัฐสภาเลี้ยงรับรองฯ
วันอังคารที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ เวลา ๑๗.๐๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธาน
รัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่นายลั๋ว เหา ฉาย (H.E.Mr.Lou Haocia)
รองประธานคณะกรรมการแห่งชาติสภาที่ปรึกษาทางการเมืองสาธารณรัฐประชาชนจีนและคณะ ณ ไร่ธนพรรณ การ์เด้น
ตำบลคลองพลู อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี
= ประชุมกรรมการมูลนิธิฯ
วันพุธที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธาน
รัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในการประชุมกรรมการมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ
หมายเลข ๒๐๗ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๒
= การเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสภาไทย-มองโกเลีย
วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ เวลา ๑๑.๐๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา
และประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้การรับรองนายบาเรนบาราล เอร์เดนบิเลก ประธานกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภา
มองโกเลีย-ไทย ในโอกาสนำคณะเดินทางมาเยือนประเทศไทยในฐานะแขกของกลุ่มมิตรภาพสมาชิก รัฐสภาไทย-มองโกเลีย
ณ ห้องรับรอง ๑ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๑
ประธานรัฐสภากล่าวต้อนรับ พร้อมกล่าวแนะนำให้คณะเดินทางไปศึกษาดูงานฟาร์มเลี้ยงไก่
ซึ่งเป็นสัตว์บริโภคที่ใช้เวลาเลี้ยงสั้นมาก แต่สามารถเลี้ยงได้ปริมาณมากเพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศมองโกเลีย
เพราะประเทศมองโกเลียจะมีปัญหาในเรื่องของภัยธรรมชาติ ทำให้ขาดแคลนเนื้อสัตว์ ไก่ ไข่ ในการบริโภคเป็นอย่างมาก
ประธานกลุ่มมิตรภาพฯ กล่าวขอบคุณประธานรัฐสภาที่ให้การเข้าพบ พร้อมทั้งกล่าวถึงการที่ได้เดินทาง
ไปเยือนประเทศมองโกเลียของประธานสภาผู้แทนราษฎรในครั้งที่ผ่านมานั้น เป็นสิ่งสำคัญมากในการเสริมสร้างความสัมพันธ์
ระหว่างรัฐสภาไทยและรัฐสภามองโกเลีย ซึ่งในขณะนี้ก็ได้กำลัง ดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ เพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลง
ของกลุ่มมิตรภาพทั้งสองสภา พร้อมกันนี้ได้นำความปรารถนาดีจากประธานสภาผู้แทนราษฎรมองโกเลียมายังประธานรัฐสภาไทยในครั้งนี้ด้วย
= บรรยายพิเศษเรื่อง "การมีส่วนร่วมของเยาวชนในระบอบประชาธิปไตย"
วันพุธที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นวิทยากรบรรยาย "การมีส่วนร่วมของเยาวชนในระบอบประชาธิปไตย"
แก่นักเรียนโรงเรียนในพื้นที่เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร จำนวน ๑๒๐ คน ณ ห้องสารนิเทศ อาคารรัฐสภา ๑
= รับรองจีน
วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ เวลา ๑๑.๐๐ นาฬิกา นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง
ให้การรับรองนายลั๋ว เหา ฉาย (H.E.Mr. Lou Haocai) รองประธานคณะกรรมการแห่งชาติสภาที่ปรึกษาทางการเมือง สาธารณรัฐประชาชนจีน
และคณะ จำนวน ๑๒ คน ในโอกาสเดินทางมาเยือนประเทศไทย ณ ห้องรับรอง ๑ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๑
= ประธานคณะกรรมาธิการการพลังงานให้การรับรอง
วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ เวลา ๑๕.๐๐ นาฬิกา นายสุวิทย์ คนสมบูรณ์ ประธานคณะกรรมาธิการการพลังงาน
สภาผู้แทนราษฎร ให้การรับรองนาย David William Fall เอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย และคณะ ในการนี้
ได้มีการปรึกษาหารือและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้พลังงานทดแทน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของการใช้เชื้อเพลิงด้านอุตสาหกรรม
และในภาคเกษตรอย่างแพร่หลาย ณ ห้องรับรองหมายเลข ๑ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๑
= รัฐสภาจัดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถพระชนมพรรษา ๖ รอบ
เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จะทรงเจริญพระชนมพรรษา
๖ รอบ ในวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗ นี้ นับเป็นพระมหามงคลสมัยที่มีความสำคัญยิ่งต่อประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเป็นองค์กรหนึ่งที่ตระหนักและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่อย่างหาที่สุดมิได้
จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาส
พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ เพื่อแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณต่อ
สถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพสักการะของปวงชนชาวไทย รวมทั้งเพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจเกี่ยวกับ
กิจการของรัฐสภาไทยให้แพร่หลายยิ่งขึ้น
การจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ ประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้คือ
๑. กิจกรรม พิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ จำนวน ๗๓ รูป
๒. กิจกรรม จัดฉายวิดีทัศน์เกี่ยวกับพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ ตลอดจน
สารคดีเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ "โครงการอันเนื่องมาจาก
พระราชดำริ"
๓. กิจกรรม เผยแพร่ประชาสัมพันธ์พระราชประวัติของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ เรื่อง "คู่พระบารมีศรีแผ่นดิน" ทางเสียงตามสาย
๔. กิจกรรม จัดทำบทความเทิดพระเกียรติ เพื่อเผยแพร่ในรายการข่าวสารจากสำนักประชาสัมพันธ์, สาร ส.ส., อินเตอร์เน็ต, บอร์ดประชาสัมพันธ์
๕. กิจกรรม จัดทำหนังสือรัฐสภาสาร และเอกสารข่าวรัฐสภาฉบับพิเศษ
๖. กิจกรรม การเสวนาประชาธิปไตย
๗. กิจกรรม การประกวดเรียงความ ในหัวข้อ "๗๒ พรรษามหาราชินี พระแม่แบบวิถีประชาธิปไตย"
๘. กิจกรรม จัดพิมพ์แผ่นพับรัฐสภาไทย เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๖ รอบ
๙. กิจกรรม การออกร้านจำหน่ายหนังสือเฉลิมพระเกียรติ
๑๐. กิจกรรม การออกร้านจำหน่ายสินค้าศิลปหัตถกรรมจากศูนย์ศิลปาชีพต่าง ๆ สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ จากทุกภาคของทั่วประเทศ
๑๑. กิจกรรม จัดแสดงนิทรรศการเพื่อเทิดพระเกียติ "๗๒ พรรษามหาราชินี"
๑๒. กิจกรรม เดินเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
= ความคืบหน้า โครงการ "ทางเลือกใหม่ให้ชีวิต"
ตามที่คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ก.ร.) ได้มีมติเห็นชอบตามมติของคณะรัฐมนตรี
ในการนำมาตรการพัฒนาและบริหารกำลังคนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง หรือเรียกว่าโครงการ "ทางเลือกใหม่ให้ชีวิต"
เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๔๗ มาใช้กับส่วนราชการสังกัดรัฐสภาตามที่ได้เสนอข่าวไปแล้วนั้น ได้มีความคืบหน้าของการ
ดำเนินการตามโครงการดังกล่าว โดยผู้ที่ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการให้กรอกแบบหนังสือขอลาออกจากราชการตาม
มาตรการพัฒนาและบริหารกำลังคนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง และยื่นต่อกลุ่มงานทะเบียนประวัติและสถิติ อาคารทิปโก้
ชั้น ๑๖ เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ของโครงการดังกล่าว ภายในวันศุกร์ที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ ก่อนที่จะเสนอ
ผู้บังคับบัญชาของตน ตามลำดับชั้นจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาตการลาออก ทั้งนี้ ผู้ที่ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการฯ สามารถ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กลุ่มงานทะเบียนประวัติและสถิติ โทร. ๐ ๒๓๕๗ ๓๑๑๕ หรือ ๐ ๒๓๕๗ ๓๑๐๐ ต่อ ๓๑๑๓, ๓๑๑๖-๗
= ขอเชิญประกวดเรียงความเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
เนื่องในวโรกาสอันเป็นมหามิ่งมงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ในปีนี้ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ได้จัดประกวดเรียงความในหัวข้อ "๗๒ พรรษามหาราชินี พระแม่แบบวิถีประชาธิปไตย" ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเทิดพระเกียรติ
สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และเพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนทั่วประเทศได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
รวมทั้งเปิดโอกาสให้เยาวชนทั่วประเทศได้แสดงความจงรักภักดีต่อสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ โดยถ่ายทอดออกมาในรูปของเรียงความ
ซึ่งได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการส่งเรียงความเข้าประกวด ดังนี้
๑. เป็นเรียงความที่ผู้ส่งเข้าประกวดเขียนเอง โดยไม่คัดลอกผลงานจากแห่งอื่น หรือบุคคลอื่น
๒. ความยาวของเรียงความไม่ต่ำกว่า ๒ หน้ากระดาษ แต่ไม่เกิน ๔ หน้ากระดาษ A๔
ตัวหนังสือขนาด ๑๖ ตัวพิมพ์ หน้าละ ๓๓-๓๖ บรรทัด
๓. เรียงความที่ส่งเข้าประกวดจะต้องพิมพ์ด้วยตัวพิมพ์ให้ชัดเจน ถูกต้อง ลงในกระดาษ A๔ เท่านั้น
๔. ส่งได้ไม่เกินคนละ ๑ เรื่อง พร้อมสำเนา ๓ ชุด โดยระบุชื่อ นามสกุล สถานศึกษา
ชั้นปีที่ศึกษา ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ พร้อมทั้งหมายเลขโทรศัพท์ โทรสาร (ถ้ามี) อยู่ในกระดาษแผ่น เดียวกัน
๕. เรียงความที่ส่งเข้าประกวดต้องผ่านการรับรองจากสถานศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่
๖. กำหนดส่งภายในวันศุกร์ที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๔๗ โดยถือวันประทับตราไปรษณีย์เป็นสำคัญ
โดยผู้ที่ชนะเลิศจะได้รับโล่เกียรติยศและเกียรติบัตร พร้อมเงินรางวัล ๑๐,๐๐๐ บาท และรางวัลที่ ๒
จะได้รับโล่เกียรติยศและเกียติบัตร พร้อมเงินรางวัล ๗,๐๐๐ บาท สำหรับรางวัลชมเชยนั้น
มี ๒๐ รางวัล ๆ ละ ๓,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร
ผู้สนใจสามารถส่งเรียงความเข้าประกวดได้ทางไปรษณีย์ ลงทะเบียนถึงผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์
สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เลขที่ ๒ ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
โดยระบุหน้าซองด้านล่างว่า "การประกวดเรียงความ"
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กลุ่มงานเผยแพร่ประชาธิปไตยและกิจกรรม
สภาผู้แทนราษฎร สำนักประชาสัมพันธ์ โทร. ๐ ๒๓๕๗ ๓๑๐๐ ต่อ ๓๑๐๔-๓๑๐๖ โทรสาร ๐ ๒๓๕๗ ๓๑๓๗
= "รัฐสภา" เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬา "จตุสัมพันธ์สามัคคี ครั้งที่ ๕"
"กีฬา กีฬา คือ ยาวิเศษ" คำกล่าวอันทรงคุณค่า สะท้อนให้เห็นความสำคัญของ
การส่งเสริมการเล่นกีฬา เพื่อสร้างสุขภาพที่ดี และก่อให้เกิดความสามัคคีระหว่างผู้แข่งขันกีฬา จาก
คุณประโยชน์ดังกล่าว หน่วยงานที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องในกระบวนการนิติบัญญัติจึงมีแนวคิดร่วมกันจัดการแข่งขันกีฬาประเพณี
"จตุสัมพันธ์สามัคคี" ครั้งที่ ๕ ระหว่างรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักราชเลขาธิการ และสำนักงาน
คณะกรรมการกฤษฎีกา โดยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ซึ่งดำเนินติดต่อกันมา ๔ ปี แล้ว
สำหรับครั้งที่ ๕ นี้ รัฐสภาเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันระหว่างวันที่ ๑- ๔ มีนาคม ๒๕๔๗ ณ สนามกีฬา
กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี โดยมีประเภทกีฬา ดังนี้
๑. ฟุตบอลชาย (๑๑ คน)
๒. ฟุตบอลหญิง (๗ คน)
๓. ปิงปอง ประเภททีม
๔. แบดมินตัน ประเภททีม
๕. เปตอง ประเภททีม
๖. กอล์ฟผู้บริหาร
เพื่อให้การแข่งขันมีความสนุกสนาน สามัคคี และเป็นไปด้วยความเรียบร้อย นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ได้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการแข่งขัน ดังนี้
๑. นายพิทูร พุ่มหิรัญ ประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดการแข่งขัน
๒. นางพรพิมล ถิรคุณโกวิท กรรมการอำนวยการจัดการแข่งขัน
๓. นายวัชรินทร์ จอมพลาพล กรรมการอำนวยการจัดการแข่งขัน
๔. นายสมพล วณิคพันธุ์ กรรมการอำนวยการจัดการแข่งขัน
๕. นายคัมภีร์ ดิษฐากรณ์ กรรมการอำนวยการจัดการแข่งขัน
๖. นายสิทธิชัย พิมเสน ประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขัน
๗. นางวนิดา มาศะวิสุทธิ์ รองประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขัน
๘. นางศุภมาส น้อยจันทร์ รองประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขัน
๙. นายประวิช ตั้งใจมั่น กรรมการ
๑๐. นางสาวสุพัตรา กบิลคาม กรรมการ
๑๑. นางนงนุช เศรษฐบุตร กรรมการ
๑๒. นายวิทยา จิตต์บุญ กรรมการ
๑๓. นายสถิตย์พร ศรีกัน กรรมการ
๑๔. นายสัญห์ชัย สินธุวงศ์ กรรมการ
๑๕. นายณัฐพัฒน์ พัดทอง กรรมการ
๑๖. นางสาวจงเดือน สุทธิรัตน์ กรรมการ
๑๗. นายชัยวัฒน์ ชายเกตุ กรรมการ
๑๘. นางนวษร เทพหัสดิน ณ อยุธยา กรรมการ
๑๙. นางนุศรี ชัยสุวรรณ์ กรรมการ
๒๐. นางสาวสุรีย์ ขวัญบัว กรรมการ
๒๑. ว่าที่ ร.ต.หญิงชลธิชา ราศี กรรมการ
๒๒. นายอิศเรศ ปราโมช ณ อยุธยา กรรมการ
๒๓. นายสุเมธ มาโค กรรมการ
๒๔. นางสาวปฏิมา สารพัฒน์ กรรมการ
๒๕. นายสุทัศน์ ทองสถิตย์ กรรมการ
๒๖. นางสาวสุนันท์ เจสละ กรรมการ
๒๗. นางฑิฆัมพร กาญจโนภาส กรรมการ
๒๘. นายสมบัติ จันทร์ไพจิตร กรรมการ
๒๙. นายวันชัย วรรณสว่าง กรรมการและเลขานุการ
๓๐. นางสาวรุ่งนภา ขันธิโชติ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
๓๑. นางนนท์สภรณ์ ขุนทองจันทร์ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
๓๒. นายบุญยงค์ จันทร์แสง กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ได้กำหนดการฝึกซ้อมและเก็บตัวนักกีฬาฟุตบอลหญิง เปตอง และเชียร์ลีดเดอร์
ระหว่างวันที่ ๒๐-๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ ณ ค่ายภาณุรังสี ๒ (เขากรวด) จังหวัดราชบุรี
= ผลการประชุมคณะกรรมาธิการการกีฬา สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการกีฬา สภาผู้แทนราษฎร โดยนายวัฒนา เซ่งไพเราะ โฆษกคณะกรรมาธิการการกีฬา
เปิดเผยผลการประชุมประจำวันพฤหัสบดีที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ เรื่อง การติดตามผลการ
ดำเนินงานของคณะกรรมการกีฬามวยไทย สำนักงานกีฬาอาชีพ การกีฬาแห่งประเทศไทย ซึ่งได้รับการแต่งตั้ง
ตามพระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. ๒๕๔๒ ทั้งนี้ได้รับการจัดสรรเงินทุนเบื้องต้นจากรัฐบาลในปีงบประมาณ ๒๕๔๖
จำนวน ๒๐ ล้านบาท มีภาระหน้าที่ส่งเสริมกีฬามวยไทยสู่ระดับสากล คณะกรรมาธิการฯ เชิญ นายสันติภาพ เตชะวณิช
ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย (แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา) และนายนอง เสียงหล่อ
เลขานุการคณะกรรมการกีฬามวย เข้าชี้แจง และสรุปผลการดำเนินการด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านส่งเสริมและพัฒนากีฬามวย ประกอบด้วยโครงการผู้อบรมผู้ตัดสินกีฬามวย
ชาวต่างชาติ โครงการอนุรักษ์สืบสานศิลปะมวยไทย โครงการผู้ตัดสินกีฬามวยชาวไทย โครงการอบรม
ผู้ฝึกสถานกีฬามวยชาวไทย โครงการจัดตั้งศูนย์ฝึกตัดสินกีฬามวยชาวไทย
๒. ด้านการควบคุมกีฬามวย ประกอบด้วย การขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาตของบุคคลในวงการกีฬามวย
นักมวยส่วนกลาง ๑,๘๒๔ คน ส่วนภูมิภาค ๕,๐๐๗ คน และการอนุญาต จัดตั้งสมาคมมวยส่วนกลาง ๓ สมาคม ส่วนภูมิภาค ๑๗ สมาคม
๓. ด้านสวัสดิการ ประกอบด้วย การอนุมัติให้เงินช่วยเหลืออดีตนักมวยที่เสียชีวิต ๕ ราย รายละ ๕๐,๐๐๐ บาท
และค่ายังชีพอดีตนักมวย ๕ ราย
ภายหลังการรับทราบรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการกีฬามวย คณะกรรมาธิการฯ
มีความเห็นต่อแผนการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการกีฬามวยในปีงบประมาณ ๒๕๔๗ และ ๒๕๔๘ ควรปรับแผนงาน
ให้เป็นแผนเชิงรุก และให้เร่งแก้ปัญหาการขาดการประสานงานความร่วมมือในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ
๑. การจัดทำแผนยุทธศาสตร์เชิงรุก
๒. เร่งผลักดันกีฬามวยไปสู่ระดับสากล
๓. เร่งดำเนินการให้สภามวยไทยโลก สมาคมสมาพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ
และสหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ ร่วมมือกันมากขึ้น
๔. สร้างความรู้สึกจิตสำนึกคนไทยเห็นความสำคัญของกีฬามวยไทย
๕. ขอให้การใช้งบประมาณตามแผนยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้
๖. ขอให้แผนปฏิบัติการต้องมีความชัดเจนไม่ซ้ำซ้อนกัน
= โครงการฝึกอบรม หลักสูตร "การล่ามเบื้องต้น"
สำนักภาษาต่างประเทศ ร่วมกับ สำนักพัฒนาบุคลากร ได้จัดให้มีโครงการฝึกอบรมหลักสูตร การล่ามเบื้องต้น เนื่องจาก
ปัจจุบันการปฏิบัติหน้าที่ล่ามเป็นหน้าที่ที่สำคัญอย่างหนึ่งนอกเหนือจากการปฏิบัติหน้าที่ด้านพิธีการทูตของเจ้าหน้าที่ เนื่องจากมีการปฏิบัติหน้าที่ล่าม
ในวาระต่าง ๆ อาทิ การเข้าเยี่ยมคารวะของบุคคลสำคัญชาวต่างประเทศ ซึ่งเข้าเยี่ยมคารวะประธานรัฐสภา รองประธานสภา
ผู้แทนราษฎร เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ตลอดจนการรับรองคณะบุคคลสำคัญชาวต่างประเทศ งานเลี้ยงรับรอง การเดินทางไปเยือนและ
ประชุมต่างประเทศของคณะผู้แทนรัฐสภาไทย ซึ่งการจัดโครงการฝึกอบรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ข้าราชการจากสำนักภาษาต่างประเทศ
สำนักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและสำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ เพิ่มพูนทักษะความรู้ และทักษะด้านการล่ามพูดตาม และเพื่อให้
ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์ในการเป็นล่ามซึ่งกันและกัน การอบรมโครงการดังกล่าว
จะจัดขึ้นในระหว่างวันพุธที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ - วันศุกร์ที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๔๗ ณ ห้องฝึกอบรม ๒๐๑ ชั้น ๒๐ อาคารทิปโก้ทาวเวอร์
= การประชุมสภาผู้แทนราษฎร
สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
วันพุธที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
เวลา ๑๓.๐๐ นาฬิกา นายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง
เป็นประธานในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๕ (สมัยสามัญทั่วไป) ที่ประชุมได้มีมติ
ให้เลื่อนร่างพ.ร.บ. ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. .… ขึ้นพิจารณาก่อน โดยร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวมีเนื้อหา
สาระเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนโดยเน้นรูปแบบของเศรษฐกิจพอเพียง และพัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชนให้มี
ความเข้มแข็งพร้อมสำหรับการแข่งขันทางการค้าในอนาคต ตลอดจนพัฒนาวิสาหกิจชุมชนไปสู่การเป็นธุรกิจขนาดย่อม
และขนาดกลางต่อไป ในการประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมในวาระ ๒ และ ๓ เนื่องจากคณะกรรมาธิการวิสามัญ
โดยนายเนวิน ชิดชอบ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานคณะกรรมาธิการ ได้พิจารณาเสร็จแล้ว
ซึ่งในการแปรญัตติมีประเด็นที่ นายวัฒนา เซ่งไพเราะ สงวนคำแปรญัตติในเรื่อง คำนิยามของคำว่า "วิสาหกิจชุมชน"
โดยให้ความเห็นว่าร่างฯ ดังกล่าวกำหนดคำนิยามไว้ค่อนข้างแคบ ไม่ครอบคลุมและอาจทำให้การส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
ไม่ครอบคลุมถึงชุมชนหรือคนที่อยู่ในเมือง และนอกจากนี้นายสมศักดิ์ คุณเงิน นายยงยศ อดิเรกสาร และนายสุรชัย
เบ้าจรรยา ได้สงวนความเห็นในเรื่อง การกำหนดให้กรมส่งเสริมการเกษตรเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ
การจดทะเบียนผู้ขอรับการส่งเสริมนั้น เห็นว่าควรที่จะมอบให้เป็นหน้าที่ของกรมพัฒนาชุมชนมากกว่า เนื่องจากในปัจจุบัน
ชุมชนได้มีการพัฒนาเศรษฐกิจในหลาย ๆ รูปแบบด้วยกัน เช่น บางชุมชนอาจจะมีการรวมกันหล่อพระ ซึ่งอาจจะไม่ตรง
กับหน้าที่ของกรมส่งเสริมการเกษตร และบุคลากรของกรมส่งเสริมการเกษตรอาจมีไม่เพียงพอ ซึ่งในประเด็นดังกล่าวนี้มีสมาชิกฯ
ได้อภิปรายกันอย่างกว้างข้าง โดยคณะกรรมาธิการก็ได้ผลัดเปลี่ยนกันชี้แจงว่า ในกรณีของคำนิยามนั้น คณะกรรมาธิการเห็นว่า
คำนิยามนั้นมีความครอบคลุมดีแล้วรวมทั้งครอบคลุมถึงชุมชนในเมืองแน่นอน และสำหรับหน่วยงานที่รับ
จดทะเบียนผู้ขอรับการส่งเสริมนั้นควรเป็นกรมส่งเสริมการเกษตร เพราะเจตนารมย์ของกฎหมายมุ่งที่จะส่งเสริมให้มี
การแปรรูปสินค้าทางการเกษตรเป็นหลักและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก็ได้มีการจัดเตรียมบุคลากรไว้อย่างพร้อมแล้ว
และนอกจากนี้แล้วยังได้มีการแก้ไขร่างฯ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภาท้องถิ่นและ
ผู้บริหารท้องถิ่นได้มีโอกาสเข้ามาเป็นคณะกรรมาการวิสาหกิจชุมชนอีกด้วย
หลังจากที่ประชุมได้พิจารณาเรียงตามลำดับมาตรา ร่าง พ.ร.บ. ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. ….
เสร็จสิ้นลง ได้มีการลงมติด้วยคะแนนเสียง ๓๐๖ คะแนน งดออกเสียง ๑ คะแนน ให้ผ่านร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว
เพื่อส่งให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไป
ที่ประชุมได้พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่...) พ.ศ. ….
(บัตรและข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์) ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยได้มีการอภิปรายอย่างกว้างขวาง
ในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
๑. มาตรา ๒๖๙/๑ ได้บัญญัติว่า "ผู้ใดทำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่
ส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอนข้อความหรือแก้ไขด้วยประการใด ๆ ในบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่แท้จริง ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหาย
แก่ผู้อื่นหรือประชาชน ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ที่แท้จริงหรือเพื่อใช้ประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใด
ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมบัตรอิเล็กทรอนิกส์ต้องระวางโทษจำคุก"
โดยทางสภาผู้แทนราษฎรนั้นได้ระบุว่าต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ๑ - ๕ ปี และปรับตั้งแต่ ๒๐,๐๐๐ - ๑๐๐,๐๐๐ บาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งทางวุฒิสภาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมในส่วนนี้ โดยให้มีการระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๕ ปี หรือปรับไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
๒. มาตรา ๒๖๙/๒ ได้บัญญัติว่า "ผู้ใดทำเครื่องมือหรือวัตถุสำหรับปลอมหรือแปลงหรือ
สำหรับให้ได้ข้อมูลในการปลอมหรือแปลงสิ่งใด ซึ่งระบุไว้ในมาตรา ๒๖๙/๑ หรือมี เครื่องมือหรือวัตถุเช่นว่านั้น เพื่อใช้ให้ได้ข้อมูลในการปลอม
หรือแปลงจะต้องระวางโทษจำคุก โดยทางสภาผู้แทนราษฎรได้ระบุว่า จะต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ๑ - ๕ ปี และปรับตั้งแต่ ๒๐,๐๐๐ - ๑๐๐,๐๐๐ บาท
ซึ่งทางวุฒิสภาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม โดยให้มีการระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๕ ปี หรือปรับไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
๓. มาตรา ๒๖๙/๔ ที่ได้บัญญัติว่า "ผู้ใดใช้หรือมีไว้เพื่อใช้สิ่งใด ๆ ตามมาตรา ๒๖๙/๑
อันได้มาโดยรู้ว่าเป็นของที่ทำปลอมหรือแปลงขึ้นต้องระวางโทษจำคุก โดยทางสภาผู้แทนราษฎรได้ระบุว่า จะต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ๑ -๗ ปี
หรือปรับตั้งแต่ ๒๐,๐๐๐ - ๑๔๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งทางวุฒิสภาได้มีการแก้ไข โดยให้มีการระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๕ ปี หรือ
ปรับไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้มีการอภิปรายและลงมติไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา จึงได้ลงมติให้ที่ประชุม
ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาต่อไป
ต่อมาได้มีการพิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่…) พ.ศ. ….
(แก้ไขค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี)ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยทางวุฒิสภาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม
ในส่วนของมาตรา ๔, ๕, ๖, ๘ และ ๙ และตัดมาตรา ๑๐ ซึ่งเป็นการแก้ไขให้ลดค่าธรรมเนียมลง ทั้งนี้ทางสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ได้มีการอภิปรายและลงมติไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว และได้ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาต่อไป
สำหรับร่างพระราชบัญญัติสุดท้ายที่เข้าสู่วาระการประชุมคือ ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร (ฉบับที่ …) พ.ศ. ….
ซึ่งทางคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ โดยในส่วนของการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. ๒๕๒๑ มาตรา ๕ วรรค ๑ เพื่อปรับปรุง
องค์ประกอบคณะกรรมการข้าราชการทหารในเรื่องการกำหนดให้กรมราชองครักษ์เป็นส่วนราชการของกระทรวงกลาโหมและกำหนดให้มีผู้แทนของ
กรมราชองครักษ์เป็นกรรมการในคณะกรรมการข้าราชการทหารด้วย เพื่อให้การบริหารงานบุคคลและการปฏิบัติงานของกระทรวงกลาโหมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
สำหรับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้รับหลักการในวาระแรกและตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นพิจารณา โดยมีการกำหนดการ
แปรญัตติ ๗ วัน ตามข้อบังคับการประชุม
จากนั้น ประธานฯ ได้สั่งปิดประชุมในเวลา ๑๗.๑๕ นาฬิกา
สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๖ (สมัยสามัญทั่วไป) ได้เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา
โดยมีนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในการประชุม ก่อนที่จะมีการประชุมตามระเบียบวาระการประชุม
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้หารือในเรื่องต่าง ๆ ต่อ ที่ประชุม จากนั้นเมื่อครบองค์ประชุมแล้วประธานได้ ดำเนินการประชุม
ตามระเบียบวาระ โดยในวาระที่ ๒ ประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบถึงเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ รับทราบรายงานผลการตรวจสอบการ
ละเมิดสิทธิมนุษยชน กรณีความรุนแรงอันเนื่องมาจากโครงการท่อก๊าซ ไทย-มาเลเซีย ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ซึ่งอยู่ระหว่างรอการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
รับทราบรายงานประจำปี ๒๕๔๕ ของสถาบันพระปกเกล้า ที่ประชุมได้มีการนำเรื่องรายงานประจำปี ๒๕๔๕
ของสถาบันพระปกเกล้าขึ้นมาพิจารณาก่อน โดยตัวแทนจากสถาบันพระปกเกล้า ได้ชี้แจงให้ที่ประชุมรับทราบว่า เงินงบประมาณ
ได้นำมาใช้ในเรื่องของการจัดทำโครงการอบรม โครงการวิจัยต่าง ๆ หลายโครงการ ซึ่งเป็นการจัดฝึกอบรมให้ระดับท้องถิ่น
และระดับรากหญ้า รวมทั้งได้มีการจัดอบรมให้กับวิทยากรที่จะต้องทำหน้าที่เผยแพร่ประชาธิปไตยด้วย สำหรับงบประมาณที่ใช้ใน
โครงการต่าง ๆ รวมทั้งเงิน ที่เก็บเป็นค่าฝึกอบรมนั้นได้มีการตรวจสอบอย่างรัดกุม
จากนั้นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ตั้งข้อสังเกตว่า สถาบันพระปกเกล้าฯ ควรจัดโครงการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ
การเลือกตั้งแก่ประชาชนระดับรากหญ้า สำหรับการให้ความรู้แก่เยาวชนนั้น ควรที่จะร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ โดยจัดเผยแพร่
ความรู้ผ่านสื่อวิทยุและโทรทัศน์ รวมทั้งควรจัดให้มีโครงการพัฒนาคนให้หลากหลายรูปแบบมากขึ้น โดยใช้งบประมาณให้เป็นไปเพื่อ
ประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาการปกครองระบอบประชาธิปไตย
รับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕ ของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ตั้งข้อสังเกตในเรื่องของการป้องกันและปราบปรามการทุจริตควรมีการเชื่อมโยง
ระหว่างสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินรัฐสภาและฝ่ายบริหารโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการตรวจสอบการทุจริตในหน่วยงานต่าง ๆ
ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
จากนั้นประธานในที่ประชุมได้ให้ตัวแทนของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินตอบชี้แจง
ในข้อซักถามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเด็นต่าง ๆ ให้ที่ประชุมได้รับทราบ
ต่อจากนั้นได้มีการพิจารณาเรื่องของกระทู้ถามสด จำนวน ๓ เรื่อง
๑. กระทู้ถามของนายอลงกรณ์ พลบุตร เรื่อง การขึ้นค่าไฟฟ้า ถามรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงพลังงาน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริเดช) ตอบกระทู้ว่า ตามที่ได้มีการปรับขึ้น
ค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (FT) ในเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม ๒๕๔๗ จาก ๒.๕๑ บาท ต่อหน่วย เป็น ๒.๖๓ บาทต่อหน่วย
และมีผลตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ และส่งผลกระทบโดยตรง ต่อค่าครองชีพของประชาชน กระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
สังคม และการเมือง นั้น เนื่องจาก ค่าน้ำมันในตลาดโลกมีราคาสูงขึ้น ดังนั้นรัฐบาลจึงได้มีการปรับค่า FT เพิ่มขึ้น
ประมาณ ๑๒ สตางค์ ซึ่งจะทำให้ค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นประมาณ ๔.๘๔% ซึ่งรัฐบาลได้มีการพัฒนาอย่างรอบคอบและด้วยความระมัดระวัง
ในเรื่องดังกล่าวนี้เป็นพิเศษ เพราะเป็นเรื่องที่อาจทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนได้ ซึ่งการปรับเพิ่ม ค่า FT ในครั้งนี้อยู่ใน
เกณฑ์ที่เหมาะสมและประชาชนสามารถรับได้
๒. กระทู้ถามของนายสมควร โอบอ้อม เรื่อง เหล็กมีราคาสูงขึ้น ถามนายกรัฐมนตรี
ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายวัฒนา เมืองสุข) ตอบกระทู้ว่า การที่เหล็กทุกชนิดมีราคาสูงขึ้นมาก อุตสาหกรรมได้มีผู้ประกอบการ
ที่ผลิตเหล็กรายใหญ่อยู่ไม่กี่ราย และเหล็กเป็นสินค้าที่รัฐบาลควบคุมราคาซื้อขาย ถ้ามีการกำหนดราคาขายอยางไม่เป็นธรรม ทำให้ผู้ประกอบการ
และผู้บริโภคได้รับความ เดือดร้อนและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศนั้น เนื่องจากวัตถุดิบที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมนั้นต้อง
นำเข้าจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ขณะเดียวกันทั่วโลกได้มีการขยายตัวในเรื่องของการก่อสร้างอย่างมาก จึงมีความต้องการเหล็กเป็นจำนวนมาก
ทำให้ราคาเหล็กสูงขึ้น ซึ่งขณะนี้ทางกระทรวงพาณิชย์จะมีการพิจารณาให้นำเหล็กจากต่างประเทศเข้ามาเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาราคาเหล็กภายในประเทศให้อยู่
ในราคาที่เหมาะสม
๓. กระทู้ถามของนายบัญญัติ บรรทัดฐาน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ผู้นำฝ่ายค้าน
ในสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
(นายประมวล รุจนเสรี) ตอบกระทู้ว่า นับแต่รัฐบาลได้เข้ามาบริหารราชการนั้นประชาชนจำนวนมากถูกลอบฆ่าและถูกทำร้ายเสียชีวิตเป็นประจำ
และไม่สามารถหาผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกฎหมายได้นั้น เนื่องจากคดีทุกคดีที่เกิดขึ้นกระทรวงมหาดไทยได้เข้าไปดูแลอย่างใกล้ชิดและได้ให้
ความสำคัญกับทุกคดีที่เกิดขึ้น แต่กระทรวงฯ ก็ได้มอบนโยบายให้ตำรวจภูธรทุกแห่งดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดและหาผู้กระทำความผิดมาลงโทษให้ได้
สำหรับกรณีที่เกิดขึ้นในจังหวัดกำแพงเพชรนั้น จะมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเข้าไปดูแลด้วยตนเอง และจะนำผลการสอบสวนมารายงาน
ให้รับทราบเป็นระยะ ๆ ต่อไป
๒. กระทู้ถามทั่วไป จำนวน ๓ เรื่อง คือ
๑. กระทู้ถามของนายอำนวย คลังผา เรื่อง เงินกู้ ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งในเรื่องนี้ผู้ตั้งกระทู้ถามได้ขอถอนออกไป
๒. กระทู้ถามของนายสุขุมพงศ์ โง่นคำ เรื่อง ปัญหาการเดินทางกลับภูมิลำเนา
ของประชาชนช่วงวันหยุดเทศกาล ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายนิกร จำนง) ตอบกระทู้ว่า รัฐบาลได้ใช้
หลักพิจารณาการแก้ไขปัญหา โดยศึกษามาจากความต้องการของ ประชาชน ในการโดยสารรถชนิดต่าง ๆ ในทุกสภาพ เช่น รถไฟ
เครื่องบิน รถยนต์โดยสาร โดยจัดให้ เพียงพอต่อความต้องการ รวมทั้งได้มีการปรับปรุงในทุกรูปแบบเพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวก
จากการเดินทาง สำหรับกลุ่มมิจฉาชีพที่จำหน่ายตั๋วเกินราคานั้น ทางกระทรวงฯ ได้สั่งการให้กรมขนส่งทางบก
เพิ่มค่าปรับและดำเนินการกับผู้ที่กระทำผิดอย่างเต็มที่ รวมทั้งได้มีการกำหนดนโยบายค่าธรรมเนียมใหม่ เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการด้วย
อย่างไรก็ตามขณะนี้มีรัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณในการจัดซื้อเครื่องตรวจวัดแอลกอฮอล์แล้ว และจะบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดทั่วประเทศต่อไป
๓. กระทู้ถามของนายประสิทธิ ชัยวิรัตนะ เรื่อง ปัญหาการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน
ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายพิเชษฐ เกษมทองศรี) ตอบกระทู้ว่า โครงการรถไฟฟ้ามหานคร (รฟม.)
สายเฉลิมรัชมงคลนั้นอยู่ภายใต้โครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เป็นระบบรถไฟฟ้าใต้ดินตลอดสาย รถไฟฟ้ามหานครเป็นผู้ลงทุน
ในการก่อสร้างงานโยธา และบริษัทเอกชนเป็นผู้ลงทุนในระบบไฟฟ้า และการก่อสร้างได้แล้วเสร็จตามระยะเวลาการสัญญาจ้าง ส่วนการจัดหา
และติดตั้งระบบรถไฟฟ้า รวมทั้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องและการให้บริการรถไฟฟ้าเป็นสัญญาสัมปทานที่ให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน โดยมีระยะเวลา ๒๕ ปี
รถไฟฟ้ามหานครไม่ได้มีการต่อสัญญาการก่อสร้างให้กับผู้รับจ้าง แต่อย่างใด และไม่มีเหตุให้ผู้รับจ้างเรียกร้องค่าเสียหายจาก
รถไฟฟ้ามหานครได้
สำหรับนโยบายการก่อสร้างเพิ่มเติมให้การจราจรในกรุงเทพมหานครครบวงจรนั้น ขณะนี้รัฐบาลได้กำหนดนโยบายขยาย
โครงข่ายเส้นทางรถไฟฟ้าให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลอย่างสมบูรณ์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาจราจรต่อไป
เลิกประชุมเวลา ๑๖.๑๐ นาฬิกา
------------------------------------------------------------
วันอังคารที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ เวลา ๑๗.๐๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธาน
รัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่นายลั๋ว เหา ฉาย (H.E.Mr.Lou Haocia)
รองประธานคณะกรรมการแห่งชาติสภาที่ปรึกษาทางการเมืองสาธารณรัฐประชาชนจีนและคณะ ณ ไร่ธนพรรณ การ์เด้น
ตำบลคลองพลู อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี
= ประชุมกรรมการมูลนิธิฯ
วันพุธที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธาน
รัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในการประชุมกรรมการมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ
หมายเลข ๒๐๗ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๒
= การเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสภาไทย-มองโกเลีย
วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ เวลา ๑๑.๐๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา
และประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้การรับรองนายบาเรนบาราล เอร์เดนบิเลก ประธานกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภา
มองโกเลีย-ไทย ในโอกาสนำคณะเดินทางมาเยือนประเทศไทยในฐานะแขกของกลุ่มมิตรภาพสมาชิก รัฐสภาไทย-มองโกเลีย
ณ ห้องรับรอง ๑ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๑
ประธานรัฐสภากล่าวต้อนรับ พร้อมกล่าวแนะนำให้คณะเดินทางไปศึกษาดูงานฟาร์มเลี้ยงไก่
ซึ่งเป็นสัตว์บริโภคที่ใช้เวลาเลี้ยงสั้นมาก แต่สามารถเลี้ยงได้ปริมาณมากเพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศมองโกเลีย
เพราะประเทศมองโกเลียจะมีปัญหาในเรื่องของภัยธรรมชาติ ทำให้ขาดแคลนเนื้อสัตว์ ไก่ ไข่ ในการบริโภคเป็นอย่างมาก
ประธานกลุ่มมิตรภาพฯ กล่าวขอบคุณประธานรัฐสภาที่ให้การเข้าพบ พร้อมทั้งกล่าวถึงการที่ได้เดินทาง
ไปเยือนประเทศมองโกเลียของประธานสภาผู้แทนราษฎรในครั้งที่ผ่านมานั้น เป็นสิ่งสำคัญมากในการเสริมสร้างความสัมพันธ์
ระหว่างรัฐสภาไทยและรัฐสภามองโกเลีย ซึ่งในขณะนี้ก็ได้กำลัง ดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ เพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลง
ของกลุ่มมิตรภาพทั้งสองสภา พร้อมกันนี้ได้นำความปรารถนาดีจากประธานสภาผู้แทนราษฎรมองโกเลียมายังประธานรัฐสภาไทยในครั้งนี้ด้วย
= บรรยายพิเศษเรื่อง "การมีส่วนร่วมของเยาวชนในระบอบประชาธิปไตย"
วันพุธที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นวิทยากรบรรยาย "การมีส่วนร่วมของเยาวชนในระบอบประชาธิปไตย"
แก่นักเรียนโรงเรียนในพื้นที่เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร จำนวน ๑๒๐ คน ณ ห้องสารนิเทศ อาคารรัฐสภา ๑
= รับรองจีน
วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ เวลา ๑๑.๐๐ นาฬิกา นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง
ให้การรับรองนายลั๋ว เหา ฉาย (H.E.Mr. Lou Haocai) รองประธานคณะกรรมการแห่งชาติสภาที่ปรึกษาทางการเมือง สาธารณรัฐประชาชนจีน
และคณะ จำนวน ๑๒ คน ในโอกาสเดินทางมาเยือนประเทศไทย ณ ห้องรับรอง ๑ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๑
= ประธานคณะกรรมาธิการการพลังงานให้การรับรอง
วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ เวลา ๑๕.๐๐ นาฬิกา นายสุวิทย์ คนสมบูรณ์ ประธานคณะกรรมาธิการการพลังงาน
สภาผู้แทนราษฎร ให้การรับรองนาย David William Fall เอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย และคณะ ในการนี้
ได้มีการปรึกษาหารือและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้พลังงานทดแทน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของการใช้เชื้อเพลิงด้านอุตสาหกรรม
และในภาคเกษตรอย่างแพร่หลาย ณ ห้องรับรองหมายเลข ๑ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๑
= รัฐสภาจัดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถพระชนมพรรษา ๖ รอบ
เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จะทรงเจริญพระชนมพรรษา
๖ รอบ ในวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗ นี้ นับเป็นพระมหามงคลสมัยที่มีความสำคัญยิ่งต่อประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเป็นองค์กรหนึ่งที่ตระหนักและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่อย่างหาที่สุดมิได้
จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาส
พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ เพื่อแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณต่อ
สถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพสักการะของปวงชนชาวไทย รวมทั้งเพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจเกี่ยวกับ
กิจการของรัฐสภาไทยให้แพร่หลายยิ่งขึ้น
การจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ ประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้คือ
๑. กิจกรรม พิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ จำนวน ๗๓ รูป
๒. กิจกรรม จัดฉายวิดีทัศน์เกี่ยวกับพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ ตลอดจน
สารคดีเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ "โครงการอันเนื่องมาจาก
พระราชดำริ"
๓. กิจกรรม เผยแพร่ประชาสัมพันธ์พระราชประวัติของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ เรื่อง "คู่พระบารมีศรีแผ่นดิน" ทางเสียงตามสาย
๔. กิจกรรม จัดทำบทความเทิดพระเกียรติ เพื่อเผยแพร่ในรายการข่าวสารจากสำนักประชาสัมพันธ์, สาร ส.ส., อินเตอร์เน็ต, บอร์ดประชาสัมพันธ์
๕. กิจกรรม จัดทำหนังสือรัฐสภาสาร และเอกสารข่าวรัฐสภาฉบับพิเศษ
๖. กิจกรรม การเสวนาประชาธิปไตย
๗. กิจกรรม การประกวดเรียงความ ในหัวข้อ "๗๒ พรรษามหาราชินี พระแม่แบบวิถีประชาธิปไตย"
๘. กิจกรรม จัดพิมพ์แผ่นพับรัฐสภาไทย เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๖ รอบ
๙. กิจกรรม การออกร้านจำหน่ายหนังสือเฉลิมพระเกียรติ
๑๐. กิจกรรม การออกร้านจำหน่ายสินค้าศิลปหัตถกรรมจากศูนย์ศิลปาชีพต่าง ๆ สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ จากทุกภาคของทั่วประเทศ
๑๑. กิจกรรม จัดแสดงนิทรรศการเพื่อเทิดพระเกียติ "๗๒ พรรษามหาราชินี"
๑๒. กิจกรรม เดินเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
= ความคืบหน้า โครงการ "ทางเลือกใหม่ให้ชีวิต"
ตามที่คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ก.ร.) ได้มีมติเห็นชอบตามมติของคณะรัฐมนตรี
ในการนำมาตรการพัฒนาและบริหารกำลังคนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง หรือเรียกว่าโครงการ "ทางเลือกใหม่ให้ชีวิต"
เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๔๗ มาใช้กับส่วนราชการสังกัดรัฐสภาตามที่ได้เสนอข่าวไปแล้วนั้น ได้มีความคืบหน้าของการ
ดำเนินการตามโครงการดังกล่าว โดยผู้ที่ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการให้กรอกแบบหนังสือขอลาออกจากราชการตาม
มาตรการพัฒนาและบริหารกำลังคนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง และยื่นต่อกลุ่มงานทะเบียนประวัติและสถิติ อาคารทิปโก้
ชั้น ๑๖ เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ของโครงการดังกล่าว ภายในวันศุกร์ที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ ก่อนที่จะเสนอ
ผู้บังคับบัญชาของตน ตามลำดับชั้นจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาตการลาออก ทั้งนี้ ผู้ที่ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการฯ สามารถ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กลุ่มงานทะเบียนประวัติและสถิติ โทร. ๐ ๒๓๕๗ ๓๑๑๕ หรือ ๐ ๒๓๕๗ ๓๑๐๐ ต่อ ๓๑๑๓, ๓๑๑๖-๗
= ขอเชิญประกวดเรียงความเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
เนื่องในวโรกาสอันเป็นมหามิ่งมงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ในปีนี้ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ได้จัดประกวดเรียงความในหัวข้อ "๗๒ พรรษามหาราชินี พระแม่แบบวิถีประชาธิปไตย" ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเทิดพระเกียรติ
สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และเพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนทั่วประเทศได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
รวมทั้งเปิดโอกาสให้เยาวชนทั่วประเทศได้แสดงความจงรักภักดีต่อสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ โดยถ่ายทอดออกมาในรูปของเรียงความ
ซึ่งได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการส่งเรียงความเข้าประกวด ดังนี้
๑. เป็นเรียงความที่ผู้ส่งเข้าประกวดเขียนเอง โดยไม่คัดลอกผลงานจากแห่งอื่น หรือบุคคลอื่น
๒. ความยาวของเรียงความไม่ต่ำกว่า ๒ หน้ากระดาษ แต่ไม่เกิน ๔ หน้ากระดาษ A๔
ตัวหนังสือขนาด ๑๖ ตัวพิมพ์ หน้าละ ๓๓-๓๖ บรรทัด
๓. เรียงความที่ส่งเข้าประกวดจะต้องพิมพ์ด้วยตัวพิมพ์ให้ชัดเจน ถูกต้อง ลงในกระดาษ A๔ เท่านั้น
๔. ส่งได้ไม่เกินคนละ ๑ เรื่อง พร้อมสำเนา ๓ ชุด โดยระบุชื่อ นามสกุล สถานศึกษา
ชั้นปีที่ศึกษา ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ พร้อมทั้งหมายเลขโทรศัพท์ โทรสาร (ถ้ามี) อยู่ในกระดาษแผ่น เดียวกัน
๕. เรียงความที่ส่งเข้าประกวดต้องผ่านการรับรองจากสถานศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่
๖. กำหนดส่งภายในวันศุกร์ที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๔๗ โดยถือวันประทับตราไปรษณีย์เป็นสำคัญ
โดยผู้ที่ชนะเลิศจะได้รับโล่เกียรติยศและเกียรติบัตร พร้อมเงินรางวัล ๑๐,๐๐๐ บาท และรางวัลที่ ๒
จะได้รับโล่เกียรติยศและเกียติบัตร พร้อมเงินรางวัล ๗,๐๐๐ บาท สำหรับรางวัลชมเชยนั้น
มี ๒๐ รางวัล ๆ ละ ๓,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร
ผู้สนใจสามารถส่งเรียงความเข้าประกวดได้ทางไปรษณีย์ ลงทะเบียนถึงผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์
สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เลขที่ ๒ ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
โดยระบุหน้าซองด้านล่างว่า "การประกวดเรียงความ"
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กลุ่มงานเผยแพร่ประชาธิปไตยและกิจกรรม
สภาผู้แทนราษฎร สำนักประชาสัมพันธ์ โทร. ๐ ๒๓๕๗ ๓๑๐๐ ต่อ ๓๑๐๔-๓๑๐๖ โทรสาร ๐ ๒๓๕๗ ๓๑๓๗
= "รัฐสภา" เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬา "จตุสัมพันธ์สามัคคี ครั้งที่ ๕"
"กีฬา กีฬา คือ ยาวิเศษ" คำกล่าวอันทรงคุณค่า สะท้อนให้เห็นความสำคัญของ
การส่งเสริมการเล่นกีฬา เพื่อสร้างสุขภาพที่ดี และก่อให้เกิดความสามัคคีระหว่างผู้แข่งขันกีฬา จาก
คุณประโยชน์ดังกล่าว หน่วยงานที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องในกระบวนการนิติบัญญัติจึงมีแนวคิดร่วมกันจัดการแข่งขันกีฬาประเพณี
"จตุสัมพันธ์สามัคคี" ครั้งที่ ๕ ระหว่างรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักราชเลขาธิการ และสำนักงาน
คณะกรรมการกฤษฎีกา โดยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ซึ่งดำเนินติดต่อกันมา ๔ ปี แล้ว
สำหรับครั้งที่ ๕ นี้ รัฐสภาเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันระหว่างวันที่ ๑- ๔ มีนาคม ๒๕๔๗ ณ สนามกีฬา
กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี โดยมีประเภทกีฬา ดังนี้
๑. ฟุตบอลชาย (๑๑ คน)
๒. ฟุตบอลหญิง (๗ คน)
๓. ปิงปอง ประเภททีม
๔. แบดมินตัน ประเภททีม
๕. เปตอง ประเภททีม
๖. กอล์ฟผู้บริหาร
เพื่อให้การแข่งขันมีความสนุกสนาน สามัคคี และเป็นไปด้วยความเรียบร้อย นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ได้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการแข่งขัน ดังนี้
๑. นายพิทูร พุ่มหิรัญ ประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดการแข่งขัน
๒. นางพรพิมล ถิรคุณโกวิท กรรมการอำนวยการจัดการแข่งขัน
๓. นายวัชรินทร์ จอมพลาพล กรรมการอำนวยการจัดการแข่งขัน
๔. นายสมพล วณิคพันธุ์ กรรมการอำนวยการจัดการแข่งขัน
๕. นายคัมภีร์ ดิษฐากรณ์ กรรมการอำนวยการจัดการแข่งขัน
๖. นายสิทธิชัย พิมเสน ประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขัน
๗. นางวนิดา มาศะวิสุทธิ์ รองประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขัน
๘. นางศุภมาส น้อยจันทร์ รองประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขัน
๙. นายประวิช ตั้งใจมั่น กรรมการ
๑๐. นางสาวสุพัตรา กบิลคาม กรรมการ
๑๑. นางนงนุช เศรษฐบุตร กรรมการ
๑๒. นายวิทยา จิตต์บุญ กรรมการ
๑๓. นายสถิตย์พร ศรีกัน กรรมการ
๑๔. นายสัญห์ชัย สินธุวงศ์ กรรมการ
๑๕. นายณัฐพัฒน์ พัดทอง กรรมการ
๑๖. นางสาวจงเดือน สุทธิรัตน์ กรรมการ
๑๗. นายชัยวัฒน์ ชายเกตุ กรรมการ
๑๘. นางนวษร เทพหัสดิน ณ อยุธยา กรรมการ
๑๙. นางนุศรี ชัยสุวรรณ์ กรรมการ
๒๐. นางสาวสุรีย์ ขวัญบัว กรรมการ
๒๑. ว่าที่ ร.ต.หญิงชลธิชา ราศี กรรมการ
๒๒. นายอิศเรศ ปราโมช ณ อยุธยา กรรมการ
๒๓. นายสุเมธ มาโค กรรมการ
๒๔. นางสาวปฏิมา สารพัฒน์ กรรมการ
๒๕. นายสุทัศน์ ทองสถิตย์ กรรมการ
๒๖. นางสาวสุนันท์ เจสละ กรรมการ
๒๗. นางฑิฆัมพร กาญจโนภาส กรรมการ
๒๘. นายสมบัติ จันทร์ไพจิตร กรรมการ
๒๙. นายวันชัย วรรณสว่าง กรรมการและเลขานุการ
๓๐. นางสาวรุ่งนภา ขันธิโชติ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
๓๑. นางนนท์สภรณ์ ขุนทองจันทร์ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
๓๒. นายบุญยงค์ จันทร์แสง กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ได้กำหนดการฝึกซ้อมและเก็บตัวนักกีฬาฟุตบอลหญิง เปตอง และเชียร์ลีดเดอร์
ระหว่างวันที่ ๒๐-๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ ณ ค่ายภาณุรังสี ๒ (เขากรวด) จังหวัดราชบุรี
= ผลการประชุมคณะกรรมาธิการการกีฬา สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการกีฬา สภาผู้แทนราษฎร โดยนายวัฒนา เซ่งไพเราะ โฆษกคณะกรรมาธิการการกีฬา
เปิดเผยผลการประชุมประจำวันพฤหัสบดีที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ เรื่อง การติดตามผลการ
ดำเนินงานของคณะกรรมการกีฬามวยไทย สำนักงานกีฬาอาชีพ การกีฬาแห่งประเทศไทย ซึ่งได้รับการแต่งตั้ง
ตามพระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. ๒๕๔๒ ทั้งนี้ได้รับการจัดสรรเงินทุนเบื้องต้นจากรัฐบาลในปีงบประมาณ ๒๕๔๖
จำนวน ๒๐ ล้านบาท มีภาระหน้าที่ส่งเสริมกีฬามวยไทยสู่ระดับสากล คณะกรรมาธิการฯ เชิญ นายสันติภาพ เตชะวณิช
ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย (แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา) และนายนอง เสียงหล่อ
เลขานุการคณะกรรมการกีฬามวย เข้าชี้แจง และสรุปผลการดำเนินการด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านส่งเสริมและพัฒนากีฬามวย ประกอบด้วยโครงการผู้อบรมผู้ตัดสินกีฬามวย
ชาวต่างชาติ โครงการอนุรักษ์สืบสานศิลปะมวยไทย โครงการผู้ตัดสินกีฬามวยชาวไทย โครงการอบรม
ผู้ฝึกสถานกีฬามวยชาวไทย โครงการจัดตั้งศูนย์ฝึกตัดสินกีฬามวยชาวไทย
๒. ด้านการควบคุมกีฬามวย ประกอบด้วย การขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาตของบุคคลในวงการกีฬามวย
นักมวยส่วนกลาง ๑,๘๒๔ คน ส่วนภูมิภาค ๕,๐๐๗ คน และการอนุญาต จัดตั้งสมาคมมวยส่วนกลาง ๓ สมาคม ส่วนภูมิภาค ๑๗ สมาคม
๓. ด้านสวัสดิการ ประกอบด้วย การอนุมัติให้เงินช่วยเหลืออดีตนักมวยที่เสียชีวิต ๕ ราย รายละ ๕๐,๐๐๐ บาท
และค่ายังชีพอดีตนักมวย ๕ ราย
ภายหลังการรับทราบรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการกีฬามวย คณะกรรมาธิการฯ
มีความเห็นต่อแผนการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการกีฬามวยในปีงบประมาณ ๒๕๔๗ และ ๒๕๔๘ ควรปรับแผนงาน
ให้เป็นแผนเชิงรุก และให้เร่งแก้ปัญหาการขาดการประสานงานความร่วมมือในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ
๑. การจัดทำแผนยุทธศาสตร์เชิงรุก
๒. เร่งผลักดันกีฬามวยไปสู่ระดับสากล
๓. เร่งดำเนินการให้สภามวยไทยโลก สมาคมสมาพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ
และสหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ ร่วมมือกันมากขึ้น
๔. สร้างความรู้สึกจิตสำนึกคนไทยเห็นความสำคัญของกีฬามวยไทย
๕. ขอให้การใช้งบประมาณตามแผนยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้
๖. ขอให้แผนปฏิบัติการต้องมีความชัดเจนไม่ซ้ำซ้อนกัน
= โครงการฝึกอบรม หลักสูตร "การล่ามเบื้องต้น"
สำนักภาษาต่างประเทศ ร่วมกับ สำนักพัฒนาบุคลากร ได้จัดให้มีโครงการฝึกอบรมหลักสูตร การล่ามเบื้องต้น เนื่องจาก
ปัจจุบันการปฏิบัติหน้าที่ล่ามเป็นหน้าที่ที่สำคัญอย่างหนึ่งนอกเหนือจากการปฏิบัติหน้าที่ด้านพิธีการทูตของเจ้าหน้าที่ เนื่องจากมีการปฏิบัติหน้าที่ล่าม
ในวาระต่าง ๆ อาทิ การเข้าเยี่ยมคารวะของบุคคลสำคัญชาวต่างประเทศ ซึ่งเข้าเยี่ยมคารวะประธานรัฐสภา รองประธานสภา
ผู้แทนราษฎร เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ตลอดจนการรับรองคณะบุคคลสำคัญชาวต่างประเทศ งานเลี้ยงรับรอง การเดินทางไปเยือนและ
ประชุมต่างประเทศของคณะผู้แทนรัฐสภาไทย ซึ่งการจัดโครงการฝึกอบรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ข้าราชการจากสำนักภาษาต่างประเทศ
สำนักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและสำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ เพิ่มพูนทักษะความรู้ และทักษะด้านการล่ามพูดตาม และเพื่อให้
ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์ในการเป็นล่ามซึ่งกันและกัน การอบรมโครงการดังกล่าว
จะจัดขึ้นในระหว่างวันพุธที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ - วันศุกร์ที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๔๗ ณ ห้องฝึกอบรม ๒๐๑ ชั้น ๒๐ อาคารทิปโก้ทาวเวอร์
= การประชุมสภาผู้แทนราษฎร
สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
วันพุธที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
เวลา ๑๓.๐๐ นาฬิกา นายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง
เป็นประธานในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๕ (สมัยสามัญทั่วไป) ที่ประชุมได้มีมติ
ให้เลื่อนร่างพ.ร.บ. ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. .… ขึ้นพิจารณาก่อน โดยร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวมีเนื้อหา
สาระเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนโดยเน้นรูปแบบของเศรษฐกิจพอเพียง และพัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชนให้มี
ความเข้มแข็งพร้อมสำหรับการแข่งขันทางการค้าในอนาคต ตลอดจนพัฒนาวิสาหกิจชุมชนไปสู่การเป็นธุรกิจขนาดย่อม
และขนาดกลางต่อไป ในการประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมในวาระ ๒ และ ๓ เนื่องจากคณะกรรมาธิการวิสามัญ
โดยนายเนวิน ชิดชอบ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานคณะกรรมาธิการ ได้พิจารณาเสร็จแล้ว
ซึ่งในการแปรญัตติมีประเด็นที่ นายวัฒนา เซ่งไพเราะ สงวนคำแปรญัตติในเรื่อง คำนิยามของคำว่า "วิสาหกิจชุมชน"
โดยให้ความเห็นว่าร่างฯ ดังกล่าวกำหนดคำนิยามไว้ค่อนข้างแคบ ไม่ครอบคลุมและอาจทำให้การส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
ไม่ครอบคลุมถึงชุมชนหรือคนที่อยู่ในเมือง และนอกจากนี้นายสมศักดิ์ คุณเงิน นายยงยศ อดิเรกสาร และนายสุรชัย
เบ้าจรรยา ได้สงวนความเห็นในเรื่อง การกำหนดให้กรมส่งเสริมการเกษตรเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ
การจดทะเบียนผู้ขอรับการส่งเสริมนั้น เห็นว่าควรที่จะมอบให้เป็นหน้าที่ของกรมพัฒนาชุมชนมากกว่า เนื่องจากในปัจจุบัน
ชุมชนได้มีการพัฒนาเศรษฐกิจในหลาย ๆ รูปแบบด้วยกัน เช่น บางชุมชนอาจจะมีการรวมกันหล่อพระ ซึ่งอาจจะไม่ตรง
กับหน้าที่ของกรมส่งเสริมการเกษตร และบุคลากรของกรมส่งเสริมการเกษตรอาจมีไม่เพียงพอ ซึ่งในประเด็นดังกล่าวนี้มีสมาชิกฯ
ได้อภิปรายกันอย่างกว้างข้าง โดยคณะกรรมาธิการก็ได้ผลัดเปลี่ยนกันชี้แจงว่า ในกรณีของคำนิยามนั้น คณะกรรมาธิการเห็นว่า
คำนิยามนั้นมีความครอบคลุมดีแล้วรวมทั้งครอบคลุมถึงชุมชนในเมืองแน่นอน และสำหรับหน่วยงานที่รับ
จดทะเบียนผู้ขอรับการส่งเสริมนั้นควรเป็นกรมส่งเสริมการเกษตร เพราะเจตนารมย์ของกฎหมายมุ่งที่จะส่งเสริมให้มี
การแปรรูปสินค้าทางการเกษตรเป็นหลักและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก็ได้มีการจัดเตรียมบุคลากรไว้อย่างพร้อมแล้ว
และนอกจากนี้แล้วยังได้มีการแก้ไขร่างฯ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภาท้องถิ่นและ
ผู้บริหารท้องถิ่นได้มีโอกาสเข้ามาเป็นคณะกรรมาการวิสาหกิจชุมชนอีกด้วย
หลังจากที่ประชุมได้พิจารณาเรียงตามลำดับมาตรา ร่าง พ.ร.บ. ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. ….
เสร็จสิ้นลง ได้มีการลงมติด้วยคะแนนเสียง ๓๐๖ คะแนน งดออกเสียง ๑ คะแนน ให้ผ่านร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว
เพื่อส่งให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไป
ที่ประชุมได้พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่...) พ.ศ. ….
(บัตรและข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์) ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยได้มีการอภิปรายอย่างกว้างขวาง
ในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
๑. มาตรา ๒๖๙/๑ ได้บัญญัติว่า "ผู้ใดทำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่
ส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอนข้อความหรือแก้ไขด้วยประการใด ๆ ในบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่แท้จริง ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหาย
แก่ผู้อื่นหรือประชาชน ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ที่แท้จริงหรือเพื่อใช้ประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใด
ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมบัตรอิเล็กทรอนิกส์ต้องระวางโทษจำคุก"
โดยทางสภาผู้แทนราษฎรนั้นได้ระบุว่าต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ๑ - ๕ ปี และปรับตั้งแต่ ๒๐,๐๐๐ - ๑๐๐,๐๐๐ บาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งทางวุฒิสภาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมในส่วนนี้ โดยให้มีการระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๕ ปี หรือปรับไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
๒. มาตรา ๒๖๙/๒ ได้บัญญัติว่า "ผู้ใดทำเครื่องมือหรือวัตถุสำหรับปลอมหรือแปลงหรือ
สำหรับให้ได้ข้อมูลในการปลอมหรือแปลงสิ่งใด ซึ่งระบุไว้ในมาตรา ๒๖๙/๑ หรือมี เครื่องมือหรือวัตถุเช่นว่านั้น เพื่อใช้ให้ได้ข้อมูลในการปลอม
หรือแปลงจะต้องระวางโทษจำคุก โดยทางสภาผู้แทนราษฎรได้ระบุว่า จะต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ๑ - ๕ ปี และปรับตั้งแต่ ๒๐,๐๐๐ - ๑๐๐,๐๐๐ บาท
ซึ่งทางวุฒิสภาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม โดยให้มีการระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๕ ปี หรือปรับไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
๓. มาตรา ๒๖๙/๔ ที่ได้บัญญัติว่า "ผู้ใดใช้หรือมีไว้เพื่อใช้สิ่งใด ๆ ตามมาตรา ๒๖๙/๑
อันได้มาโดยรู้ว่าเป็นของที่ทำปลอมหรือแปลงขึ้นต้องระวางโทษจำคุก โดยทางสภาผู้แทนราษฎรได้ระบุว่า จะต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ๑ -๗ ปี
หรือปรับตั้งแต่ ๒๐,๐๐๐ - ๑๔๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งทางวุฒิสภาได้มีการแก้ไข โดยให้มีการระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๕ ปี หรือ
ปรับไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้มีการอภิปรายและลงมติไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา จึงได้ลงมติให้ที่ประชุม
ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาต่อไป
ต่อมาได้มีการพิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่…) พ.ศ. ….
(แก้ไขค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี)ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยทางวุฒิสภาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม
ในส่วนของมาตรา ๔, ๕, ๖, ๘ และ ๙ และตัดมาตรา ๑๐ ซึ่งเป็นการแก้ไขให้ลดค่าธรรมเนียมลง ทั้งนี้ทางสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ได้มีการอภิปรายและลงมติไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว และได้ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาต่อไป
สำหรับร่างพระราชบัญญัติสุดท้ายที่เข้าสู่วาระการประชุมคือ ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร (ฉบับที่ …) พ.ศ. ….
ซึ่งทางคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ โดยในส่วนของการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. ๒๕๒๑ มาตรา ๕ วรรค ๑ เพื่อปรับปรุง
องค์ประกอบคณะกรรมการข้าราชการทหารในเรื่องการกำหนดให้กรมราชองครักษ์เป็นส่วนราชการของกระทรวงกลาโหมและกำหนดให้มีผู้แทนของ
กรมราชองครักษ์เป็นกรรมการในคณะกรรมการข้าราชการทหารด้วย เพื่อให้การบริหารงานบุคคลและการปฏิบัติงานของกระทรวงกลาโหมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
สำหรับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้รับหลักการในวาระแรกและตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นพิจารณา โดยมีการกำหนดการ
แปรญัตติ ๗ วัน ตามข้อบังคับการประชุม
จากนั้น ประธานฯ ได้สั่งปิดประชุมในเวลา ๑๗.๑๕ นาฬิกา
สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๖ (สมัยสามัญทั่วไป) ได้เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา
โดยมีนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในการประชุม ก่อนที่จะมีการประชุมตามระเบียบวาระการประชุม
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้หารือในเรื่องต่าง ๆ ต่อ ที่ประชุม จากนั้นเมื่อครบองค์ประชุมแล้วประธานได้ ดำเนินการประชุม
ตามระเบียบวาระ โดยในวาระที่ ๒ ประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบถึงเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ รับทราบรายงานผลการตรวจสอบการ
ละเมิดสิทธิมนุษยชน กรณีความรุนแรงอันเนื่องมาจากโครงการท่อก๊าซ ไทย-มาเลเซีย ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ซึ่งอยู่ระหว่างรอการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
รับทราบรายงานประจำปี ๒๕๔๕ ของสถาบันพระปกเกล้า ที่ประชุมได้มีการนำเรื่องรายงานประจำปี ๒๕๔๕
ของสถาบันพระปกเกล้าขึ้นมาพิจารณาก่อน โดยตัวแทนจากสถาบันพระปกเกล้า ได้ชี้แจงให้ที่ประชุมรับทราบว่า เงินงบประมาณ
ได้นำมาใช้ในเรื่องของการจัดทำโครงการอบรม โครงการวิจัยต่าง ๆ หลายโครงการ ซึ่งเป็นการจัดฝึกอบรมให้ระดับท้องถิ่น
และระดับรากหญ้า รวมทั้งได้มีการจัดอบรมให้กับวิทยากรที่จะต้องทำหน้าที่เผยแพร่ประชาธิปไตยด้วย สำหรับงบประมาณที่ใช้ใน
โครงการต่าง ๆ รวมทั้งเงิน ที่เก็บเป็นค่าฝึกอบรมนั้นได้มีการตรวจสอบอย่างรัดกุม
จากนั้นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ตั้งข้อสังเกตว่า สถาบันพระปกเกล้าฯ ควรจัดโครงการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ
การเลือกตั้งแก่ประชาชนระดับรากหญ้า สำหรับการให้ความรู้แก่เยาวชนนั้น ควรที่จะร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ โดยจัดเผยแพร่
ความรู้ผ่านสื่อวิทยุและโทรทัศน์ รวมทั้งควรจัดให้มีโครงการพัฒนาคนให้หลากหลายรูปแบบมากขึ้น โดยใช้งบประมาณให้เป็นไปเพื่อ
ประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาการปกครองระบอบประชาธิปไตย
รับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕ ของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ตั้งข้อสังเกตในเรื่องของการป้องกันและปราบปรามการทุจริตควรมีการเชื่อมโยง
ระหว่างสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินรัฐสภาและฝ่ายบริหารโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการตรวจสอบการทุจริตในหน่วยงานต่าง ๆ
ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
จากนั้นประธานในที่ประชุมได้ให้ตัวแทนของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินตอบชี้แจง
ในข้อซักถามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเด็นต่าง ๆ ให้ที่ประชุมได้รับทราบ
ต่อจากนั้นได้มีการพิจารณาเรื่องของกระทู้ถามสด จำนวน ๓ เรื่อง
๑. กระทู้ถามของนายอลงกรณ์ พลบุตร เรื่อง การขึ้นค่าไฟฟ้า ถามรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงพลังงาน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริเดช) ตอบกระทู้ว่า ตามที่ได้มีการปรับขึ้น
ค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (FT) ในเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม ๒๕๔๗ จาก ๒.๕๑ บาท ต่อหน่วย เป็น ๒.๖๓ บาทต่อหน่วย
และมีผลตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ และส่งผลกระทบโดยตรง ต่อค่าครองชีพของประชาชน กระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
สังคม และการเมือง นั้น เนื่องจาก ค่าน้ำมันในตลาดโลกมีราคาสูงขึ้น ดังนั้นรัฐบาลจึงได้มีการปรับค่า FT เพิ่มขึ้น
ประมาณ ๑๒ สตางค์ ซึ่งจะทำให้ค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นประมาณ ๔.๘๔% ซึ่งรัฐบาลได้มีการพัฒนาอย่างรอบคอบและด้วยความระมัดระวัง
ในเรื่องดังกล่าวนี้เป็นพิเศษ เพราะเป็นเรื่องที่อาจทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนได้ ซึ่งการปรับเพิ่ม ค่า FT ในครั้งนี้อยู่ใน
เกณฑ์ที่เหมาะสมและประชาชนสามารถรับได้
๒. กระทู้ถามของนายสมควร โอบอ้อม เรื่อง เหล็กมีราคาสูงขึ้น ถามนายกรัฐมนตรี
ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายวัฒนา เมืองสุข) ตอบกระทู้ว่า การที่เหล็กทุกชนิดมีราคาสูงขึ้นมาก อุตสาหกรรมได้มีผู้ประกอบการ
ที่ผลิตเหล็กรายใหญ่อยู่ไม่กี่ราย และเหล็กเป็นสินค้าที่รัฐบาลควบคุมราคาซื้อขาย ถ้ามีการกำหนดราคาขายอยางไม่เป็นธรรม ทำให้ผู้ประกอบการ
และผู้บริโภคได้รับความ เดือดร้อนและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศนั้น เนื่องจากวัตถุดิบที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมนั้นต้อง
นำเข้าจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ขณะเดียวกันทั่วโลกได้มีการขยายตัวในเรื่องของการก่อสร้างอย่างมาก จึงมีความต้องการเหล็กเป็นจำนวนมาก
ทำให้ราคาเหล็กสูงขึ้น ซึ่งขณะนี้ทางกระทรวงพาณิชย์จะมีการพิจารณาให้นำเหล็กจากต่างประเทศเข้ามาเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาราคาเหล็กภายในประเทศให้อยู่
ในราคาที่เหมาะสม
๓. กระทู้ถามของนายบัญญัติ บรรทัดฐาน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ผู้นำฝ่ายค้าน
ในสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
(นายประมวล รุจนเสรี) ตอบกระทู้ว่า นับแต่รัฐบาลได้เข้ามาบริหารราชการนั้นประชาชนจำนวนมากถูกลอบฆ่าและถูกทำร้ายเสียชีวิตเป็นประจำ
และไม่สามารถหาผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกฎหมายได้นั้น เนื่องจากคดีทุกคดีที่เกิดขึ้นกระทรวงมหาดไทยได้เข้าไปดูแลอย่างใกล้ชิดและได้ให้
ความสำคัญกับทุกคดีที่เกิดขึ้น แต่กระทรวงฯ ก็ได้มอบนโยบายให้ตำรวจภูธรทุกแห่งดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดและหาผู้กระทำความผิดมาลงโทษให้ได้
สำหรับกรณีที่เกิดขึ้นในจังหวัดกำแพงเพชรนั้น จะมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเข้าไปดูแลด้วยตนเอง และจะนำผลการสอบสวนมารายงาน
ให้รับทราบเป็นระยะ ๆ ต่อไป
๒. กระทู้ถามทั่วไป จำนวน ๓ เรื่อง คือ
๑. กระทู้ถามของนายอำนวย คลังผา เรื่อง เงินกู้ ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งในเรื่องนี้ผู้ตั้งกระทู้ถามได้ขอถอนออกไป
๒. กระทู้ถามของนายสุขุมพงศ์ โง่นคำ เรื่อง ปัญหาการเดินทางกลับภูมิลำเนา
ของประชาชนช่วงวันหยุดเทศกาล ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายนิกร จำนง) ตอบกระทู้ว่า รัฐบาลได้ใช้
หลักพิจารณาการแก้ไขปัญหา โดยศึกษามาจากความต้องการของ ประชาชน ในการโดยสารรถชนิดต่าง ๆ ในทุกสภาพ เช่น รถไฟ
เครื่องบิน รถยนต์โดยสาร โดยจัดให้ เพียงพอต่อความต้องการ รวมทั้งได้มีการปรับปรุงในทุกรูปแบบเพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวก
จากการเดินทาง สำหรับกลุ่มมิจฉาชีพที่จำหน่ายตั๋วเกินราคานั้น ทางกระทรวงฯ ได้สั่งการให้กรมขนส่งทางบก
เพิ่มค่าปรับและดำเนินการกับผู้ที่กระทำผิดอย่างเต็มที่ รวมทั้งได้มีการกำหนดนโยบายค่าธรรมเนียมใหม่ เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการด้วย
อย่างไรก็ตามขณะนี้มีรัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณในการจัดซื้อเครื่องตรวจวัดแอลกอฮอล์แล้ว และจะบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดทั่วประเทศต่อไป
๓. กระทู้ถามของนายประสิทธิ ชัยวิรัตนะ เรื่อง ปัญหาการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน
ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายพิเชษฐ เกษมทองศรี) ตอบกระทู้ว่า โครงการรถไฟฟ้ามหานคร (รฟม.)
สายเฉลิมรัชมงคลนั้นอยู่ภายใต้โครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เป็นระบบรถไฟฟ้าใต้ดินตลอดสาย รถไฟฟ้ามหานครเป็นผู้ลงทุน
ในการก่อสร้างงานโยธา และบริษัทเอกชนเป็นผู้ลงทุนในระบบไฟฟ้า และการก่อสร้างได้แล้วเสร็จตามระยะเวลาการสัญญาจ้าง ส่วนการจัดหา
และติดตั้งระบบรถไฟฟ้า รวมทั้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องและการให้บริการรถไฟฟ้าเป็นสัญญาสัมปทานที่ให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน โดยมีระยะเวลา ๒๕ ปี
รถไฟฟ้ามหานครไม่ได้มีการต่อสัญญาการก่อสร้างให้กับผู้รับจ้าง แต่อย่างใด และไม่มีเหตุให้ผู้รับจ้างเรียกร้องค่าเสียหายจาก
รถไฟฟ้ามหานครได้
สำหรับนโยบายการก่อสร้างเพิ่มเติมให้การจราจรในกรุงเทพมหานครครบวงจรนั้น ขณะนี้รัฐบาลได้กำหนดนโยบายขยาย
โครงข่ายเส้นทางรถไฟฟ้าให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลอย่างสมบูรณ์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาจราจรต่อไป
เลิกประชุมเวลา ๑๖.๑๐ นาฬิกา
------------------------------------------------------------