ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เห็นว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในขณะนี้ไม่เป็นห่วงเท่ากับแรงกดดันด้านเงิน
เฟ้อ นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธปท.ให้ความสำคัญกับ
การดูแลเงินเฟ้อ มากกว่าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยยึดนโยบายรักษาอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับ
0-3.5% ต่อปี ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ดังนั้นอัตราดอกเบี้ยจึงเป็นช่วงขาขึ้น ซึ่งสังเกตได้จากการที่ ธปท.ปรับขึ้น
อัตราดอกเบี้ยนโยบายมาตลอด 7 ครั้งตั้งแต่ต้นปี เนื่องจากนโยบายการเงินต้องใช้เวลาส่งผ่านไปยังระบบ
เศรษฐกิจประมาณ 1-2 ปี พร้อมทั้งยืนยันว่าจะไม่มีการปรับเปลี่ยนเป้าหมายการดูแลเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นแนวทางที่ทุก
ประเทศใช้ในปัจจุบันนี้ นอกจากนี้ ธปท.พอใจกับตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยที่ขยายตัวระดับ 3.5-
4.5% แม้ว่าจะชะลอตัวลงจากเดิม แต่จากการที่ภาวะเศรษฐกิจอยู่ภายใต้แรงกดดันจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น
ถือว่าเป็นระดับที่ดี และเมื่อเทียบกับอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก จะเห็นว่าการขยายตัวในระดับดังกล่าวไม่
น่ากังวล โดยแรงกดดันด้านเงินเฟ้อน่าเป็นห่วงกว่า (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
2. ธปท.เห็นว่าการคุมสินเชื่อหลายประเภทอาจก่อให้เกิดปัญหา นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่า
การธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงการที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) จะเข้า
หารือกับ ธปท.เกี่ยวกับการเข้าไปควบคุมการให้สินเชื่อส่วนบุคคลเพื่อการศึกษาต่อ และการกู้ยืมเพื่อการรักษา
พยาบาล ซึ่งเป็นสินเชื่อส่วนบุคคลประเภทที่ ธปท.ไม่ได้กำหนดอัตราเพดานดอกเบี้ยว่า หากสินเชื่อดังกล่าวมีปัญหา
การหารือร่วมกันก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ ธปท.จะต้องขอดูข้อมูลก่อน เพราะสินเชื่อมีหลายประเภทมาก ถ้ามีการควบคุมทุก
ประเภทก็จะมีปัญหาค่อนข้างมาก และการที่ก่อนหน้านี้ ธปท.เข้าไปดูแลสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อบัตรเครดิต
เนื่องจากพิจารณาแล้วเห็นว่าจำเป็นและมีประชาชนเรียกร้องเข้ามาเป็นจำนวนมาก (กรุงเทพธุรกิจ)
3. การซื้อขายตราสารหนี้ยังคงชะลอตัวเนื่องจากนักลงทุนกังวลต่อภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น ผู้จัดการ
ตลาดตราสารหนี้ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การซื้อขายผ่านตลาดตราสารหนี้ยังคงมีมูลค่าการซื้อ
ขายเบาบาง เนื่องจากนักลงทุนกังวลต่อภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่งจะมีผลให้อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ลดลง
ประกอบกับตลาดตราสารหนี้ยังไม่มีการนำ พธบ.รัฐบาลทุกประเภทเข้ามาทำการซื้อขาย เพราะต้องมีการพัฒนา
ระบบส่งมอบชำระราคาให้มีความพร้อมก่อน ซึ่งคาดว่าในปี 49 ระบบชำระราคาจะมีความพร้อม สำหรับผลการ
ดำเนินงานของตลาดตราสารหนี้ล่าสุดวันที่ 21 ก.ย.48 มีการซื้อขาย พธบ.ทั้งสิ้น 73 รายการ มูลค่า 670,831
ล.บาท ทั้งนี้คาดว่าในปี 49 จะมีนักลงทุนสถาบันเข้ามาซื้อขายมากขึ้น หลังจากที่ตลาดตราสารหนี้ดำเนินงานร่วมกับ
ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ซึ่งจะช่วยให้มูลค่าการซื้อขายในตลาดตราสารหนี้จะขยายตัว 30-50% (โลกวันนี้)
4. การผลิตและส่งออกรถยนต์และรถจักรยานยนต์เดือน ม.ค.-ส.ค.48 ขยายตัว 45%
โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงการผลิตและส่งออกรถ
ยนต์และรถจักรยานยนต์ในเดือน ม.ค.-ส.ค.48 ว่า ยอดการผลิตรถยนต์มีจำนวนทั้งสิ้น 710,889 คัน เพิ่มขึ้น
21.64% ส่วนยอดการผลิตรถจักรยานยนต์มีจำนวน 2,308,617 คัน เพิ่มขึ้น 22.09% สำหรับมูลค่ารวมการส่ง
ออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วนและอะไหล่รถจักรยานยนต์ มี
จำนวนทั้งสิ้น 207,261.58 ล.บาท เพิ่มขึ้น 44.91% (โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราเงินเฟ้อรายปีของเยอรมนีในเดือน ก.ย.48 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี รายงาน
จากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 26 ก.ย.48 สนง.สถิติกลางของเยอรมนี เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้
บริโภค (CPI) รายปีของเยอรมนีในเดือน ก.ย.48 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.5 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า
4 ปี นับตั้งแต่เดือน มิ.ย.44 ซึ่งถ้าเทียบกับเดือน ส.ค.48 CPI เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 สาเหตุจากราคาน้ำมันที่ปรับ
ตัวสูงขึ้น การขึ้นภาษียาสูบ และราคาอาหารที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อรายปีของเยอรมนีเป็น
ไปในทิศทางเดียวกันกับของ European Union standards (HICP) ที่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.7 สูงสุดนับ
ตั้งแต่เดือน พ.ค.44 และเงินเฟ้อรายเดือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เช่นกัน ในขณะที่ผลสำรวจความคิดเห็นนัก
เศรษฐศาสตร์ของสำนักงานข่าวรอยเตอร์ในสัปดาห์ก่อนคาดว่า CPI ของเยอรมนีจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 และของ
HICP จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ทั้งนี้ ตัวเลขของทางการที่ประกาศในครั้งนี้อาจจะมีความหมายว่า อัตราเงินเฟ้อราย
ปีของเขตยูโรในเดือน ก.ย.48 อาจจะสูงกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้เบื้องต้นที่ระดับร้อยละ 2.2 โดยอย่างน้อย
จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.4 หรืออาจจะสูงถึงร้อยละ 2.5 อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์ให้ความเห็นว่า อัตรา
เงินเฟ้อหลักไม่ได้เคลื่อนไหวมากนัก ยกเว้นต้นทุนราคาน้ำมันและราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น (รอยเตอร์)
2. GDP gap ของญี่ปุ่นในไตรมาส 2 ปี 48 ปรับตัวดีขึ้นอยู่ที่ร้อยละ —0.2 รายงานจากโตเกียว
เมื่อ 26 ก.ย.48 รัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยว่า GDP gap ของญี่ปุ่น (ซึ่งแสดงถึงผลแตกต่างระหว่างกิจกรรมทาง
เศรษฐกิจจริง และระดับศักยภาพ ที่เป็นไปได้ทางเศรษฐกิจ) ในไตรมาส 2 ปี 48 ปรับตัวดีขึ้นอยู่ที่ร้อยละ —0.2
หลังจากที่อยู่ในระดับต่ำสุดที่ร้อยละ —4.6 เมื่อไตรมาสแรกปี 45 ทั้งนี้ GDP gap เคยอยู่ในระดับสูงสุดเมื่อไตร
มาส 1 ปี 40 ที่ร้อยละ +0.6 ก่อนที่จะลดลงต่อเนื่องตลอด 8 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์
ของ Dai-ichi Life Research Institute เปิดเผยว่า การที่ GDP gap ที่ปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากเศรษฐกิจ
ญี่ปุ่นเริ่มฟื้นตัวรวมทั้งความต้องการทั้งในประเทศและต่างประเทศก็เพิ่มขึ้นด้วย อนึ่ง GDP gap เป็นเครื่องชี้วัดที่
สำคัญของ ธ.กลางญี่ปุ่นในการเฝ้าติดตามสถานการณ์ด้านราคา ซึ่งตกต่ำมามากกว่า 7 ปี นอกจากนี้ รายงานดัง
กล่าวยังเปิดเผยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลดลงของ GDP deflator (ซึ่งเป็นการนำอัตราเงินเฟ้อมาปรับลดจาก
nominal GDP ให้เป็น real GDP) ว่า ชะลอตัวลงใน 2-3 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม อัตราการเติบโตทาง
เศรษฐกิจของญี่ปุ่นในไตรมาส 2 ปี 48 ขยายตัวร้อยละ 0.8 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และหากเทียบต่อปีขยายตัว
ร้อยละ 3.3 ซึ่งเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 เนื่องจากการใช้จ่ายด้านเงินทุน การบริโภคส่วนบุคคล
และภาวะการส่งออกเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคจะเริ่มสูงขึ้นในเดือนถัดไป
อันเป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นอาจสิ้นสุดกับภาวะเงินฝืดที่เผชิญมาเป็นระยะเวลายาวนาน (รอยเตอร์)
3. ธ.กลางจีนมีเป้าหมายที่จะให้เงินหยวนมีค่ายืดหยุ่นมากขึ้นตามทิศทางตลาด รายงานจากปักกิ่ง
เมื่อวันที่ 27 ก.ย. 48 Hu Xiaolian รอง ผว.ธ.กลางจีนเปิดเผยว่า ธ.กลางจีนประสงค์จะให้เงินหยวนมีค่า
ยืดหยุ่นมากขึ้นตามกลไกของตลาด แต่จะมีการปฎิรูปเงินหยวนอย่างค่อยเป็นค่อยไปและยังคงมีการควบคุมดูแลอยู่
และกล่าวย้ำว่าเงินหยวนหรือที่รู้จักกันในนามเงินเรนมินบิควรจะมีค่าในระดับที่เหมาะสม ทั้งนี้ผู้ส่งออกและนำเข้าได้
เริ่มดำเนินการปรับตัวให้สอดรับกับผลกระทบในการปรับค่าเงินหยวนให้แข็งค่าขึ้นร้อยละ 2.1 อยู่ที่ระดับ 8.11
หยวนต่อ 1 ดอลลาร์ สรอ. เมื่อ 21 ก.ค. ที่ผ่านมาเนื่องจากเงินหยวนซึ่งเคยผูกค่าไว้กับเงินดอลลาร์ สรอ.ได้
ถูกกำหนดค่าโดยอ้างอิงกับค่าเงินสกุลสำคัญในตะกร้าเงิน และเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาเงินหยวนมีค่า 8.091 หยวน
ต่อ 1 ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งในการซื้อ-ขายแต่ละวันในทางทฤษฎีค่าเงินหยวนเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. ปรับ
เพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ร้อยละ 0.3 (รอยเตอร์)
4. ธ.กลางเกาหลีใต้ส่งสัญญาณว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมในเดือนหน้า รายงาน
จากโซล เมื่อ 26 ก.ย.48 ผู้ว่าการ ธ.กลางเกาหลีใต้ให้สัมภาษณ์นักข่าวเกาหลีใต้ที่วอชิงตันว่าตลาดการเงินจะ
ไม่ตกใจหากอัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มสูงขึ้น โดยก่อนหน้านี้หลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อวันที่
8 ก.ย.48 ผู้ว่าการ ธ.กลางเกาหลีใต้ก็กล่าวเช่นเดียวกันว่าอาจมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมใน
เดือน ต.ค.48 นี้ โดยคณะกรรมการนโยบายการเงินของเกาหลีใต้ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 7 คนลงมติคงอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ 3.25 ต่อปีเมื่อวันที่ 8 ก.ย.48 ที่ผ่านมาเป็นเดือนที่
10 ติดต่อกันหลังจากลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 3.50 ต่อปีในเดือน พ.ย.47 ทั้งนี้ทั้ง ธ.กลาง
และ ก.คลังของเกาหลีใต้มีความเห็นพ้องกันว่าการบริโภคของภาคเอกชนได้เริ่มฟื้นตัวแล้วโดยจะขยายตัวร้อยละ
3.5 ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้หลังจากขยายตัวจากประมาณการเบื้องต้นร้อยละ 1.9 ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ และลด
ลงร้อยละ 0.5 ต่อปีเมื่อปีที่แล้ว อย่างไรก็ดีเศรษฐกิจในปีที่แล้วก็ยังคงขยายตัวถึงร้อยละ 4.6 โดยเป็นผลจากการ
ขยายตัวถึงร้อยละ 31 ของการส่งออก ทั้ง ธ.กลางและ ก.คลังของเกาหลีใต้คาดว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัว
เพียงร้อยละ 3.8 ชะลอตัวลงจากปีก่อน อันเป็นผลจากความต้องการในประเทศยังขยายตัวในอัตราที่ช้าเกินกว่าที่
จะชดเชยการส่งออกที่ชะลอตัวลงเหลือประมาณร้อยละ 10 ต่อปีได้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 27 ก.ย. 48 26 ก.ย. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.223 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.0174/41.3088 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.40736 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 721.28/ 16.49 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 9,050/9,150 9,000/9,100 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 57.44 55.29 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 27.74*/24.19* 27.74*/24.19 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 18 ก.ย. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.เห็นว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในขณะนี้ไม่เป็นห่วงเท่ากับแรงกดดันด้านเงิน
เฟ้อ นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธปท.ให้ความสำคัญกับ
การดูแลเงินเฟ้อ มากกว่าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยยึดนโยบายรักษาอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับ
0-3.5% ต่อปี ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ดังนั้นอัตราดอกเบี้ยจึงเป็นช่วงขาขึ้น ซึ่งสังเกตได้จากการที่ ธปท.ปรับขึ้น
อัตราดอกเบี้ยนโยบายมาตลอด 7 ครั้งตั้งแต่ต้นปี เนื่องจากนโยบายการเงินต้องใช้เวลาส่งผ่านไปยังระบบ
เศรษฐกิจประมาณ 1-2 ปี พร้อมทั้งยืนยันว่าจะไม่มีการปรับเปลี่ยนเป้าหมายการดูแลเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นแนวทางที่ทุก
ประเทศใช้ในปัจจุบันนี้ นอกจากนี้ ธปท.พอใจกับตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยที่ขยายตัวระดับ 3.5-
4.5% แม้ว่าจะชะลอตัวลงจากเดิม แต่จากการที่ภาวะเศรษฐกิจอยู่ภายใต้แรงกดดันจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น
ถือว่าเป็นระดับที่ดี และเมื่อเทียบกับอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก จะเห็นว่าการขยายตัวในระดับดังกล่าวไม่
น่ากังวล โดยแรงกดดันด้านเงินเฟ้อน่าเป็นห่วงกว่า (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
2. ธปท.เห็นว่าการคุมสินเชื่อหลายประเภทอาจก่อให้เกิดปัญหา นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่า
การธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงการที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) จะเข้า
หารือกับ ธปท.เกี่ยวกับการเข้าไปควบคุมการให้สินเชื่อส่วนบุคคลเพื่อการศึกษาต่อ และการกู้ยืมเพื่อการรักษา
พยาบาล ซึ่งเป็นสินเชื่อส่วนบุคคลประเภทที่ ธปท.ไม่ได้กำหนดอัตราเพดานดอกเบี้ยว่า หากสินเชื่อดังกล่าวมีปัญหา
การหารือร่วมกันก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ ธปท.จะต้องขอดูข้อมูลก่อน เพราะสินเชื่อมีหลายประเภทมาก ถ้ามีการควบคุมทุก
ประเภทก็จะมีปัญหาค่อนข้างมาก และการที่ก่อนหน้านี้ ธปท.เข้าไปดูแลสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อบัตรเครดิต
เนื่องจากพิจารณาแล้วเห็นว่าจำเป็นและมีประชาชนเรียกร้องเข้ามาเป็นจำนวนมาก (กรุงเทพธุรกิจ)
3. การซื้อขายตราสารหนี้ยังคงชะลอตัวเนื่องจากนักลงทุนกังวลต่อภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น ผู้จัดการ
ตลาดตราสารหนี้ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การซื้อขายผ่านตลาดตราสารหนี้ยังคงมีมูลค่าการซื้อ
ขายเบาบาง เนื่องจากนักลงทุนกังวลต่อภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่งจะมีผลให้อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ลดลง
ประกอบกับตลาดตราสารหนี้ยังไม่มีการนำ พธบ.รัฐบาลทุกประเภทเข้ามาทำการซื้อขาย เพราะต้องมีการพัฒนา
ระบบส่งมอบชำระราคาให้มีความพร้อมก่อน ซึ่งคาดว่าในปี 49 ระบบชำระราคาจะมีความพร้อม สำหรับผลการ
ดำเนินงานของตลาดตราสารหนี้ล่าสุดวันที่ 21 ก.ย.48 มีการซื้อขาย พธบ.ทั้งสิ้น 73 รายการ มูลค่า 670,831
ล.บาท ทั้งนี้คาดว่าในปี 49 จะมีนักลงทุนสถาบันเข้ามาซื้อขายมากขึ้น หลังจากที่ตลาดตราสารหนี้ดำเนินงานร่วมกับ
ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ซึ่งจะช่วยให้มูลค่าการซื้อขายในตลาดตราสารหนี้จะขยายตัว 30-50% (โลกวันนี้)
4. การผลิตและส่งออกรถยนต์และรถจักรยานยนต์เดือน ม.ค.-ส.ค.48 ขยายตัว 45%
โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงการผลิตและส่งออกรถ
ยนต์และรถจักรยานยนต์ในเดือน ม.ค.-ส.ค.48 ว่า ยอดการผลิตรถยนต์มีจำนวนทั้งสิ้น 710,889 คัน เพิ่มขึ้น
21.64% ส่วนยอดการผลิตรถจักรยานยนต์มีจำนวน 2,308,617 คัน เพิ่มขึ้น 22.09% สำหรับมูลค่ารวมการส่ง
ออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วนและอะไหล่รถจักรยานยนต์ มี
จำนวนทั้งสิ้น 207,261.58 ล.บาท เพิ่มขึ้น 44.91% (โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราเงินเฟ้อรายปีของเยอรมนีในเดือน ก.ย.48 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี รายงาน
จากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 26 ก.ย.48 สนง.สถิติกลางของเยอรมนี เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้
บริโภค (CPI) รายปีของเยอรมนีในเดือน ก.ย.48 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.5 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า
4 ปี นับตั้งแต่เดือน มิ.ย.44 ซึ่งถ้าเทียบกับเดือน ส.ค.48 CPI เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 สาเหตุจากราคาน้ำมันที่ปรับ
ตัวสูงขึ้น การขึ้นภาษียาสูบ และราคาอาหารที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อรายปีของเยอรมนีเป็น
ไปในทิศทางเดียวกันกับของ European Union standards (HICP) ที่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.7 สูงสุดนับ
ตั้งแต่เดือน พ.ค.44 และเงินเฟ้อรายเดือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เช่นกัน ในขณะที่ผลสำรวจความคิดเห็นนัก
เศรษฐศาสตร์ของสำนักงานข่าวรอยเตอร์ในสัปดาห์ก่อนคาดว่า CPI ของเยอรมนีจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 และของ
HICP จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ทั้งนี้ ตัวเลขของทางการที่ประกาศในครั้งนี้อาจจะมีความหมายว่า อัตราเงินเฟ้อราย
ปีของเขตยูโรในเดือน ก.ย.48 อาจจะสูงกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้เบื้องต้นที่ระดับร้อยละ 2.2 โดยอย่างน้อย
จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.4 หรืออาจจะสูงถึงร้อยละ 2.5 อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์ให้ความเห็นว่า อัตรา
เงินเฟ้อหลักไม่ได้เคลื่อนไหวมากนัก ยกเว้นต้นทุนราคาน้ำมันและราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น (รอยเตอร์)
2. GDP gap ของญี่ปุ่นในไตรมาส 2 ปี 48 ปรับตัวดีขึ้นอยู่ที่ร้อยละ —0.2 รายงานจากโตเกียว
เมื่อ 26 ก.ย.48 รัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยว่า GDP gap ของญี่ปุ่น (ซึ่งแสดงถึงผลแตกต่างระหว่างกิจกรรมทาง
เศรษฐกิจจริง และระดับศักยภาพ ที่เป็นไปได้ทางเศรษฐกิจ) ในไตรมาส 2 ปี 48 ปรับตัวดีขึ้นอยู่ที่ร้อยละ —0.2
หลังจากที่อยู่ในระดับต่ำสุดที่ร้อยละ —4.6 เมื่อไตรมาสแรกปี 45 ทั้งนี้ GDP gap เคยอยู่ในระดับสูงสุดเมื่อไตร
มาส 1 ปี 40 ที่ร้อยละ +0.6 ก่อนที่จะลดลงต่อเนื่องตลอด 8 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์
ของ Dai-ichi Life Research Institute เปิดเผยว่า การที่ GDP gap ที่ปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากเศรษฐกิจ
ญี่ปุ่นเริ่มฟื้นตัวรวมทั้งความต้องการทั้งในประเทศและต่างประเทศก็เพิ่มขึ้นด้วย อนึ่ง GDP gap เป็นเครื่องชี้วัดที่
สำคัญของ ธ.กลางญี่ปุ่นในการเฝ้าติดตามสถานการณ์ด้านราคา ซึ่งตกต่ำมามากกว่า 7 ปี นอกจากนี้ รายงานดัง
กล่าวยังเปิดเผยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลดลงของ GDP deflator (ซึ่งเป็นการนำอัตราเงินเฟ้อมาปรับลดจาก
nominal GDP ให้เป็น real GDP) ว่า ชะลอตัวลงใน 2-3 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม อัตราการเติบโตทาง
เศรษฐกิจของญี่ปุ่นในไตรมาส 2 ปี 48 ขยายตัวร้อยละ 0.8 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และหากเทียบต่อปีขยายตัว
ร้อยละ 3.3 ซึ่งเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 เนื่องจากการใช้จ่ายด้านเงินทุน การบริโภคส่วนบุคคล
และภาวะการส่งออกเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคจะเริ่มสูงขึ้นในเดือนถัดไป
อันเป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นอาจสิ้นสุดกับภาวะเงินฝืดที่เผชิญมาเป็นระยะเวลายาวนาน (รอยเตอร์)
3. ธ.กลางจีนมีเป้าหมายที่จะให้เงินหยวนมีค่ายืดหยุ่นมากขึ้นตามทิศทางตลาด รายงานจากปักกิ่ง
เมื่อวันที่ 27 ก.ย. 48 Hu Xiaolian รอง ผว.ธ.กลางจีนเปิดเผยว่า ธ.กลางจีนประสงค์จะให้เงินหยวนมีค่า
ยืดหยุ่นมากขึ้นตามกลไกของตลาด แต่จะมีการปฎิรูปเงินหยวนอย่างค่อยเป็นค่อยไปและยังคงมีการควบคุมดูแลอยู่
และกล่าวย้ำว่าเงินหยวนหรือที่รู้จักกันในนามเงินเรนมินบิควรจะมีค่าในระดับที่เหมาะสม ทั้งนี้ผู้ส่งออกและนำเข้าได้
เริ่มดำเนินการปรับตัวให้สอดรับกับผลกระทบในการปรับค่าเงินหยวนให้แข็งค่าขึ้นร้อยละ 2.1 อยู่ที่ระดับ 8.11
หยวนต่อ 1 ดอลลาร์ สรอ. เมื่อ 21 ก.ค. ที่ผ่านมาเนื่องจากเงินหยวนซึ่งเคยผูกค่าไว้กับเงินดอลลาร์ สรอ.ได้
ถูกกำหนดค่าโดยอ้างอิงกับค่าเงินสกุลสำคัญในตะกร้าเงิน และเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาเงินหยวนมีค่า 8.091 หยวน
ต่อ 1 ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งในการซื้อ-ขายแต่ละวันในทางทฤษฎีค่าเงินหยวนเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. ปรับ
เพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ร้อยละ 0.3 (รอยเตอร์)
4. ธ.กลางเกาหลีใต้ส่งสัญญาณว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมในเดือนหน้า รายงาน
จากโซล เมื่อ 26 ก.ย.48 ผู้ว่าการ ธ.กลางเกาหลีใต้ให้สัมภาษณ์นักข่าวเกาหลีใต้ที่วอชิงตันว่าตลาดการเงินจะ
ไม่ตกใจหากอัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มสูงขึ้น โดยก่อนหน้านี้หลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อวันที่
8 ก.ย.48 ผู้ว่าการ ธ.กลางเกาหลีใต้ก็กล่าวเช่นเดียวกันว่าอาจมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมใน
เดือน ต.ค.48 นี้ โดยคณะกรรมการนโยบายการเงินของเกาหลีใต้ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 7 คนลงมติคงอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ 3.25 ต่อปีเมื่อวันที่ 8 ก.ย.48 ที่ผ่านมาเป็นเดือนที่
10 ติดต่อกันหลังจากลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 3.50 ต่อปีในเดือน พ.ย.47 ทั้งนี้ทั้ง ธ.กลาง
และ ก.คลังของเกาหลีใต้มีความเห็นพ้องกันว่าการบริโภคของภาคเอกชนได้เริ่มฟื้นตัวแล้วโดยจะขยายตัวร้อยละ
3.5 ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้หลังจากขยายตัวจากประมาณการเบื้องต้นร้อยละ 1.9 ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ และลด
ลงร้อยละ 0.5 ต่อปีเมื่อปีที่แล้ว อย่างไรก็ดีเศรษฐกิจในปีที่แล้วก็ยังคงขยายตัวถึงร้อยละ 4.6 โดยเป็นผลจากการ
ขยายตัวถึงร้อยละ 31 ของการส่งออก ทั้ง ธ.กลางและ ก.คลังของเกาหลีใต้คาดว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัว
เพียงร้อยละ 3.8 ชะลอตัวลงจากปีก่อน อันเป็นผลจากความต้องการในประเทศยังขยายตัวในอัตราที่ช้าเกินกว่าที่
จะชดเชยการส่งออกที่ชะลอตัวลงเหลือประมาณร้อยละ 10 ต่อปีได้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 27 ก.ย. 48 26 ก.ย. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.223 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.0174/41.3088 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.40736 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 721.28/ 16.49 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 9,050/9,150 9,000/9,100 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 57.44 55.29 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 27.74*/24.19* 27.74*/24.19 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 18 ก.ย. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--