บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔
ครั้งที่ ๕ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพุธที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๕๕ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง
ขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม จากนั้น ได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. ผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๖ ของสภา
ผู้แทนราษฎร
๒. เรื่องนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไว้
พิจารณาให้คำรับรอง คือ ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากร
ทางการศึกษา พ.ศ. …. ซึ่ง ศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน กับคณะ เป็นผู้เสนอ
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำระเบียบวาระที่ ๔.๓ ระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๕, ๑๖ และ ๑๗ ขึ้นมาพิจารณาก่อน
ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๓)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ในวาระที่ ๒ โดยเริ่มต้น
ด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบ
ในวาระที่ ๓ เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ โดยในระหว่างการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งได้ปฏิบัติ
หน้าที่แทน
๒. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(บัตรและข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์) ตาม
มาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๕)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบ
ด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็น
กรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน และ
ตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๑. นายปิติพงศ์ เต็มเจริญ ๒. นายอุดม ไกรวัตนุสสรณ์
๓. นายประแสง มงคลศิริ ๔. นายวิรัตน์ ตยางคนนท์
๕. นายเจริญ จรรย์โกมล ๖. นายวิสันต์ เดชเสน
๗. นายสงกรานต์ คำพิไสย์ ๘. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
๙. นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ๑๐. นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์
๑๑. นายปิลันธน์ จิตต์ธรรม ๑๒. นายเทวัญ ลิปตพัลลภ
๓. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(แก้ไขค่าธรรมเนียม
เจ้าพนักงานบังคับคดี) ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๖)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบ
ด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็น
กรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน และ
ตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๑. พันตำรวจโท ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ ๒. นายวิทยา ภูมิเหล่าแจ้ง
๓. นายภิมุข สิมะโรจน์ ๔. นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์
๕. นายประชา ประสพดี ๖. นายสุรชัย พันธุมาศ
๗. นายสิทธิรัตน์ รัตนวิจารณ์ ๘. นายสาธิต ปิตุเตชะ
๙. นายนคร มาฉิม ๑๐. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
๑๑. นายเกษม สรศักดิ์เกษม ๑๒. นายวิสิทธิ์ พิทยาภรณ์
๔. ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๗)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้แถลงหลักการและเหตุผล มีสมาชิกฯ อภิปรายจนได้เวลาพอสมควรแล้ว
ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้ส่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวให้คณะกรรมาธิการ
การทหารเป็นผู้พิจารณา กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
เลิกประชุมเวลา ๑๗.๑๕ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. ….
ตั้งกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม ตามมาตรา ๑๗๕ (๓)
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(บัตรและข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์)
๒. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. (แก้ไขค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี)
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
***********************************
ครั้งที่ ๕ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพุธที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๕๕ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง
ขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม จากนั้น ได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. ผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๖ ของสภา
ผู้แทนราษฎร
๒. เรื่องนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไว้
พิจารณาให้คำรับรอง คือ ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากร
ทางการศึกษา พ.ศ. …. ซึ่ง ศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน กับคณะ เป็นผู้เสนอ
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำระเบียบวาระที่ ๔.๓ ระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๕, ๑๖ และ ๑๗ ขึ้นมาพิจารณาก่อน
ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๓)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ในวาระที่ ๒ โดยเริ่มต้น
ด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบ
ในวาระที่ ๓ เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ โดยในระหว่างการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งได้ปฏิบัติ
หน้าที่แทน
๒. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(บัตรและข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์) ตาม
มาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๕)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบ
ด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็น
กรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน และ
ตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๑. นายปิติพงศ์ เต็มเจริญ ๒. นายอุดม ไกรวัตนุสสรณ์
๓. นายประแสง มงคลศิริ ๔. นายวิรัตน์ ตยางคนนท์
๕. นายเจริญ จรรย์โกมล ๖. นายวิสันต์ เดชเสน
๗. นายสงกรานต์ คำพิไสย์ ๘. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
๙. นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ๑๐. นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์
๑๑. นายปิลันธน์ จิตต์ธรรม ๑๒. นายเทวัญ ลิปตพัลลภ
๓. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(แก้ไขค่าธรรมเนียม
เจ้าพนักงานบังคับคดี) ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๖)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบ
ด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็น
กรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน และ
ตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๑. พันตำรวจโท ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ ๒. นายวิทยา ภูมิเหล่าแจ้ง
๓. นายภิมุข สิมะโรจน์ ๔. นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์
๕. นายประชา ประสพดี ๖. นายสุรชัย พันธุมาศ
๗. นายสิทธิรัตน์ รัตนวิจารณ์ ๘. นายสาธิต ปิตุเตชะ
๙. นายนคร มาฉิม ๑๐. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
๑๑. นายเกษม สรศักดิ์เกษม ๑๒. นายวิสิทธิ์ พิทยาภรณ์
๔. ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๗)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้แถลงหลักการและเหตุผล มีสมาชิกฯ อภิปรายจนได้เวลาพอสมควรแล้ว
ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้ส่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวให้คณะกรรมาธิการ
การทหารเป็นผู้พิจารณา กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
เลิกประชุมเวลา ๑๗.๑๕ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. ….
ตั้งกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม ตามมาตรา ๑๗๕ (๓)
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(บัตรและข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์)
๒. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. (แก้ไขค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี)
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
***********************************