ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เตรียมนำเกณฑ์การกันสำรองหนี้ใหม่ของเอ็นพีแอลออกใช้ในงวดบัญชีครึ่งหลังของปี 47
นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.เตรียมนำเกณฑ์การ
กันสำรองหนี้ใหม่ของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ออกมาใช้ในงวดบัญชีครึ่งหลังของปี 47 เพื่อเร่ง
รัดการปรับโครงสร้างหนี้ในการแก้ไขปัญหาเอ็นพีแอลที่ยังค้างอยู่ในระบบธนาคารพาณิชย์ โดยตัวเลขล่าสุด ณ
สิ้นปี 46 อยู่ที่ระดับร้อยละ 12 ของสินเชื่อรวม จากเป้าหมายที่ ธปท.ต้องการให้เอ็นพีแอลลดต่ำอยู่ที่ระดับ
ร้อยละ 5 ในปี 49 ทั้งนี้ เพื่อจะเร่งให้ ธพ.ปรับโครงสร้างหนี้ให้เร็วขึ้น โดยพิจารณาจากอายุของเอ็นพีแอลที่
ธพ.ยังไม่ดำเนินการแก้ไข หากทิ้งไว้นานจนถึงเวลาหนึ่งที่ ธปท.คิดว่านานเกินไปอาจจะมีการสั่งให้กันสำรอง
หนี้ในส่วนนั้นเพิ่มขึ้น (โลกวันนี้)
2. บง.เกียรตินาคินหารือ ธปท.ขอยกระดับเป็น ธพ. นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า บง.เกียรตินาคิน ได้เข้ามาหารือ ธปท.เพื่อขอยกระดับเป็น
ธพ.แล้ว ซึ่งเป็นไปตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินในเรื่องการควบรวมสถาบันการเงิน โดยก่อนหน้านี้
บง.เกียรตินาคินได้ควบรวมกิจการกับบง.รัตนทุน และถือหุ้นใน บง.รัตนทุนทั้งหมดร้อยละ 100 อย่างไรก็ตาม
ธปท.ไม่มีนโยบายที่จะกำหนดจำนวน บง.ว่าจะต้องเหลือกี่แห่ง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับกลไกตลาดและคุณสมบัติของ
บง.แต่ละแห่งว่าใครจะผ่านเกณฑ์การขอยกระดับขึ้นเป็น ธพ..ซึ่ง ธปท.ให้เวลา บง.6 เดือนในการตัดสินใจ
และต้องมีความชัดเจนว่าจะเลือกสถานะใด หลังจากนั้นภายใน 1 ปี จะต้องดำเนินการควบรวมกิจการให้แล้ว
เสร็จ (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
3. ก.คลังจะประกาศประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 47 อยู่ระหว่างร้อยละ
7.5-8.3 ที่ปรึกษา รมว.ก.คลัง (นายรุ่งเรือง พิทยศิริ) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการติดตาม
และประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจว่า ที่ประชุมได้ประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจปี 47 จากตัวเลขเศรษฐกิจ
ต่าง ๆ ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 47 แล้วเห็นตรงกันว่า ก.คลังจะประกาศประมาณการอัตราการขยายตัว
ทางเศรษฐกิจในปี 47 อยู่ระหว่างร้อยละ 7.5-8.3 โดยมีปัจจัยสนับสนุน คือ การส่งออก และการลงทุน
อย่างไรก็ตาม หากประเมินความเป็นไปได้สูงสุดคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวในระดับร้อยละ 7.6-7.7 โดย
ก.คลังจะประกาศตัวเลขอย่างเป็นทางการในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งเป็นตัวเลขที่สอดคล้องกับประมาณการของหน่วย
งานอื่น ๆ เช่น สำนักงานเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศค.) เป็นต้น (ผู้จัดการรายวัน)
4. อีไอยูคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 47 เติบโตร้อยละ 8.2 กลุ่มอีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต
(อีไอยู) ซึ่งมีฐานในกรุงลอนดอน เปิดเผยว่า ได้ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจระหว่างปี
47-51 ของเอเชียมาอยู่ที่ร้อยละ 5.9 จากร้อยละ 5.8 โดยเป็นผลจากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มองค์การเพื่อ
ความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ (โออีซีดี) และยอดขายที่แข็งแกร่งในตลาดเกิดใหม่โดยเฉพาะจีนรวมถึงการ
เติบโตอย่างรวดเร็วของอุปสงค์ภายในภูมิภาค ขณะเดียวกัน อีไอยูยังคาดการณ์การเติบโตของ 10 ชาติ
สมาชิกสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ว่าจะขยายตัวเฉลี่ยราวร้อยละ 5.7 ในปี 47
เพิ่มจากระดับร้อยละ 4.4 ในปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ หากแยกเป็นรายประเทศอีไอยูคาดว่าในปีนี้ไทยจะเติบโตร้อยละ
8.2 อินโดนีเซียขยายตัวร้อยละ 4.5 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการใช้จ่ายช่วงเลือกตั้ง และความต้องการ
สินค้าจากชาติอุตสาหกรรม ขณะที่ฟิลิปปินส์ได้รับการคาดหมายว่าจะเติบโตร้อยละ 4.5 จากการใช้จ่ายด้าน
การเลือกตั้งประธานาธิบดีเช่นเดียวกัน (กรุงเทพธุรกิจ)
5. สินเชื่อคงค้างในระบบ ธพ.ไทยในเดือน ม.ค.47 ลดลงร้อยละ 0.08 เทียบต่อเดือน แต่เพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 5.93 เมื่อเทียบต่อปี บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานยอดคงค้างสินเชื่อในระบบ ธพ.ไทยในเดือน
ม.ค.47 มีจำนวน 3,900,542 ล้านบาท ลดลงจากเดือนที่แล้ว 3,280 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราลดลงร้อย
ละ 0.08 แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.93 โดยกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ 4 แห่ง
ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 2,295 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 0.09 ส่วนกลุ่มธนาคารขนาดกลาง 3 แห่ง ลดลง
1,324 ล้านบาท สำหรับเงินฝากในระบบ ธพ.ไทยในเดือน ม.ค.47 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 5,158,002 ล้าน
บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 43,679 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.85 และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ
ระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.75 โดยกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ 4 แห่ง เพิ่มขึ้นจำนวน 36,671 ล้านบาท
ส่วนกลุ่มธนาคารขนาดกลาง 3 แห่ง ลดลงจำนวน 2,875 ล้านบาท สำหรับสินทรัพย์รวมในระบบ ธพ.ไทย ณ
31 ม.ค.47 มีจำนวน 6,122,803 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อยจำนวน 681 ล้านบาท หรือคิด
เป็นร้อยละ 0.01 (กรุงเทพธุรกิจ)
6. ก.ล.ต.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกำหนดเกณฑ์ห้ามมาร์จิน-เน็ตเซทเทิลเมนท์เฉพาะหุ้น
เทิร์นโอเวอร์ 100% เลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า ผล
การหารือร่วมกันระหว่าง ก.ล.ต. และสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีข้อสรุปร่วมกันกำหนดให้
หลักทรัพย์ที่เข้าข่ายห้ามซื้อขายด้วยสินเชื่อเพื่อซื้อหุ้น (มาร์จิน) รวมทั้งห้ามซื้อขายแบบหักกลบราคาหุ้นตัวเดียว
กันในวันเดียว (เน็ตเซทเทิลเมนท์) จะต้องมีสัดส่วนปริมาณการซื้อขายหมุนเวียนเมื่อเทียบกับจำนวนหุ้นที่อยู่ใน
มือประชาชน (เทิร์นโอเวอร์ลิสต์) ตั้งแต่ 100% ขึ้นไปต่อสัปดาห์ มีราคาปิดต่อกำไรต่อหุ้น (พี/อีเรโช) สูง
กว่า 100 เท่า หรือมีผลการดำเนินงานขาดทุน ทั้งนี้ การห้ามมาร์จินและเน็ตเซทเทิลเมนท์ดังกล่าวมีผลเพียง
ชั่วคราวในแต่ละสัปดาห์ โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 8 มี.ค.47 เป็นต้นไป (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน,
โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. การว่างงานของสรอ. ที่ระดับร้อยละ 5.6 อยู่ในระดับที่เหมาะสม รายงานจากวอชิงตัน
เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 47 ปธน.บุชกล่าวในระหว่างการประชุมระดับผู้ว่าการมลรัฐที่ทำเนียบขาวว่า อัตราการ
ว่างงานร้อยละ 5.6 นับว่าเป็นตัวเลขที่ดีนับตั้งแต่การเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย การทุจริตในองค์กรและ
ภาวะสงคราม ทั้งนี้ในปีนี้การว่างงานนับเป็นประเด็นสำคัญในการหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดี โดยโรงงาน
งานลดการจ้างงานลงเกือบ 2.8 ล้านตำแหน่ง นับตั้งแต่เดือน ม.ค.44 ที่ปธน.บุชบริหารประเทศ มี
ประชาชนจำนวนมากประสบปัญหาการว่างงาน สมาชิกพรรคเดโมแครทคนหนึ่งกล่าวด้วยความผิดหวัง ทั้งนี้ทำ
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วประเด็นการว่างงานได้ถูกพรรคเดโมแครตวิพากษ์วิจารณ์และเรียกร้องให้มีการสร้างงานขึ้น
มากกว่าเดือนละ 300,000 ตำแหน่งต่อเดือนในปีนี้ (รอยเตอร์)
2. คาดว่าอุตสาหกรรมการผลิตของสรอ.จะขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในไตรมาสที่ 4 ปีนี้ รายงาน
จากชิคาโก เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 47 สมาคมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแห่งชาติคาดการณ์แนวโน้มที่ดีในภาค
อุตสาหกรรมการผลิตและภาวะเศรษฐกิจของสรอ. โดยคาดว่าจะขยายตัวมากกว่าร้อยละ 6 ขณะที่เศรษฐกิจ
สรอ.จะขยายตัวร้อยละ 4.1 ซึ่งเป็นการขยายตัวมากกว่า 2 - 3 ปีที่ผ่านมา และเติบโตเร็วที่สุดนับตั้งแต่ปี
42 ทั้งนี้จากผลการสำรวจสมาชิกผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 คาดว่าเศรษฐกิจ
สรอ. ในปีนี้จะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 2 - 3 จากปี 46 นอกจากนั้นเห็นว่ากิจการจะมีการจ้างงาน
ใหม่โดยจะจ้างคนงานที่มีระดับการศึกษาสูงและผู้ชำนาญงาน และต้นทุนธุรกิจจะสูงขึ้นส่งผลให้ธุรกิจมีกำไรลดลง
(รอยเตอร์)
3. จีนคาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปี 47 จะอยู่ที่ระดับ 3.0% รายงานจากกรุงปักกิ่งเมื่อวันที่ 23
ก.พ.47 Yao Jingyuan หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปี
47 จะอยู่ที่ระดับ 3.0% ซึ่งเป็นระดับที่มีเสถียรภาพ และจะไม่สูงถึงระดับ 5.0% เหมือนที่นักวิเคราะห์ต่าง
ชาติบางคนได้คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อของจีนจะไม่สูงขึ้นไปมากนัก เนื่องจากระบบ
เศรษฐกิจของจีนยังต้องเชื่อมโยงกับการที่เศรษฐกิจโลกที่ยังคงมีปัญหาจากภาวะเงินฝืดอยู่ ทั้งนี้ ดัชนีราคาผู้
บริโภคเพิ่มขึ้น 3.2% ในช่วง 12 เดือนนับถึงเดือน ม.ค. สาเหตุจากราคาอาหารและความต้องการวัตถุดิบที่
เพิ่มสูงขึ้น โดยดัชนีราคาผู้บริโภคในปี 46 เพิ่มขึ้น 1.2% จากปีก่อน อนึ่ง นายกรัฐมนตรีของจีน นาย Wen
Jiabao ได้ออกคำสั่งเมื่อเดือน ก.พ.นี้ให้ดูแลการปล่อยสินเชื่อให้ธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง และธนาคารกลาง
จีนก็ต้องการให้ตัดลดการให้สินเชื่อรายใหม่ในปีนี้ลง 13% โดยมีดัชนีหลายอย่างชี้ให้เห็นว่าอาจจะมีการลงทุน
มากเกินไปในธุรกิจบางอย่างที่อาจทำให้เกิดภาวะฟองสบู่ เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก และอสังหาริมทรัพย์ นัก
เศรษฐศาสตร์หลายรายกล่าวว่าธนาคารกลางจีนอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้หยวนเพื่อชะลอการเติบโตทาง
เศรษฐกิจถ้าอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง แต่บางคนเป็นห่วงว่าถ้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะทำให้มีเงิน
ทุนไหลเข้าเพิ่มขึ้นและสร้างแรงกดดันต่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวน (รอยเตอร์)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคของสิงคโปร์ในเดือน ม.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เทียบต่อเดือน
รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ 23 ก.พ.47 สำนักงานสถิติ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของสิงคโปร์ในเดือน
ม.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค.46 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาผู้บริโภค
มีสาเหตุจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชีย รวมถึงผลจากการปรับเพิ่มภาษีสินค้าและบริการ (GST)
เป็นร้อยละ 5 ของรัฐบาล อนึ่ง ธ.กลางสิงคโปร์ เปิดเผยว่า จากการที่ภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัว อาจส่งผลให้
อัตราเงินเฟ้อของประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ระดับร้อยละ 1.2 ในปี 47 ซึ่งรัฐบาลก็ได้คาดการณ์การเติบโตของ
ภาวะเศรษฐกิจในปี 47 ที่ระดับร้อยละ 3-5 ปรับเพิ่มขึ้นจากการคาดการณ์ในปี 46 ที่ระดับร้อยละ 0.8 (รอยเตอร์)
5. ไตรมาสที่ 4 ปี 46 ดัชนีการขายส่งในประเทศของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 เทียบต่อไตร
มาส รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ 23 ก.พ.47 สำนักงานสถิติ เปิดเผยว่า ดัชนีการขายส่งในประเทศของ
สิงคโปร์ในไตรมาสที่ 4 ปี 46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจปรับ
ตัวดีขึ้นหลังจากประสบภาวะซบเซาจากการแพร่ระบาดของโรคซาร์ส รวมถึงเป็นช่วงวันหยุดคริสมาสต์ แต่
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ดัชนีการขายส่งในประเทศกลับลดลงร้อยละ 3.4 ลดลงต่อเนื่องเป็นไตร
มาสที่ 2 เนื่องจากยอดขายปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมลดลง สำหรับดัชนีการขายส่งในประเทศทั้งปี 46
เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 จากปีก่อน ในส่วนของดัชนีการขายส่งต่างประเทศในช่วงเวลาเดียวกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1
จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากดัชนีที่เป็นส่วน
ประกอบเกือบทุกประเภทปรับตัวเพิ่มขึ้น (รอยเตอร์)
6. สิงคโปร์ตั้งเป้าเศรษฐกิจปี 47 เติบโตสูงสุดในรอบ 4 ปี รายงานจากสิงคโปร์เมื่อวันที่ 23
ก.พ.47 รัฐบาลสิงคโปร์ตั้งเป้าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 47 สูงสุดในรอบ 4 ปี ทั้งนี้ เนื่องจาก
มีตัวเลขการเพิ่มขึ้นของผลผลิตหลายอย่างที่ช่วยสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายของปี 46
เช่น วงจรคอมพิวเตอร์ เครื่องอ่านแผ่นจานแม่เหล็ก และเวชภัณฑ์ยา เป็นต้น โดยรัฐบาลได้ประมาณการ
เบื้องต้นว่าจีดีพีในไตรมาส 4 ของปี 46 จะอยู่ที่ระดับ 7.9% แต่นักเศรษฐศาสตร์หลายคนคาดว่าอัตราการ
เติบโตจะชะลอตัวลงอยู่ที่ระดับ 2.5 — 3.0% ในไตรมาสแรกของปี 47 และคาดว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์ของทั้งปี
47 จะเติบโตประมาณ 5.0% สูงกว่าที่ประมาณการไว้ในปีก่อนที่ระดับ 0.8% (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 24/2/47 23/2/47 31/12/46 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.278 39.622 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.0892/39.3693 39.4435/39.7378 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.8750 - 1.2800 1.2800 - 1.3000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 724.86/13.41 772.15/41.74 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,400/7,500 7,400/7,500 7,700/7,800 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 29.65 29.14 28.66 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 17.29*/14.39 ปตท.
* ปรับเลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.เตรียมนำเกณฑ์การกันสำรองหนี้ใหม่ของเอ็นพีแอลออกใช้ในงวดบัญชีครึ่งหลังของปี 47
นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.เตรียมนำเกณฑ์การ
กันสำรองหนี้ใหม่ของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ออกมาใช้ในงวดบัญชีครึ่งหลังของปี 47 เพื่อเร่ง
รัดการปรับโครงสร้างหนี้ในการแก้ไขปัญหาเอ็นพีแอลที่ยังค้างอยู่ในระบบธนาคารพาณิชย์ โดยตัวเลขล่าสุด ณ
สิ้นปี 46 อยู่ที่ระดับร้อยละ 12 ของสินเชื่อรวม จากเป้าหมายที่ ธปท.ต้องการให้เอ็นพีแอลลดต่ำอยู่ที่ระดับ
ร้อยละ 5 ในปี 49 ทั้งนี้ เพื่อจะเร่งให้ ธพ.ปรับโครงสร้างหนี้ให้เร็วขึ้น โดยพิจารณาจากอายุของเอ็นพีแอลที่
ธพ.ยังไม่ดำเนินการแก้ไข หากทิ้งไว้นานจนถึงเวลาหนึ่งที่ ธปท.คิดว่านานเกินไปอาจจะมีการสั่งให้กันสำรอง
หนี้ในส่วนนั้นเพิ่มขึ้น (โลกวันนี้)
2. บง.เกียรตินาคินหารือ ธปท.ขอยกระดับเป็น ธพ. นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า บง.เกียรตินาคิน ได้เข้ามาหารือ ธปท.เพื่อขอยกระดับเป็น
ธพ.แล้ว ซึ่งเป็นไปตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินในเรื่องการควบรวมสถาบันการเงิน โดยก่อนหน้านี้
บง.เกียรตินาคินได้ควบรวมกิจการกับบง.รัตนทุน และถือหุ้นใน บง.รัตนทุนทั้งหมดร้อยละ 100 อย่างไรก็ตาม
ธปท.ไม่มีนโยบายที่จะกำหนดจำนวน บง.ว่าจะต้องเหลือกี่แห่ง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับกลไกตลาดและคุณสมบัติของ
บง.แต่ละแห่งว่าใครจะผ่านเกณฑ์การขอยกระดับขึ้นเป็น ธพ..ซึ่ง ธปท.ให้เวลา บง.6 เดือนในการตัดสินใจ
และต้องมีความชัดเจนว่าจะเลือกสถานะใด หลังจากนั้นภายใน 1 ปี จะต้องดำเนินการควบรวมกิจการให้แล้ว
เสร็จ (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
3. ก.คลังจะประกาศประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 47 อยู่ระหว่างร้อยละ
7.5-8.3 ที่ปรึกษา รมว.ก.คลัง (นายรุ่งเรือง พิทยศิริ) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการติดตาม
และประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจว่า ที่ประชุมได้ประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจปี 47 จากตัวเลขเศรษฐกิจ
ต่าง ๆ ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 47 แล้วเห็นตรงกันว่า ก.คลังจะประกาศประมาณการอัตราการขยายตัว
ทางเศรษฐกิจในปี 47 อยู่ระหว่างร้อยละ 7.5-8.3 โดยมีปัจจัยสนับสนุน คือ การส่งออก และการลงทุน
อย่างไรก็ตาม หากประเมินความเป็นไปได้สูงสุดคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวในระดับร้อยละ 7.6-7.7 โดย
ก.คลังจะประกาศตัวเลขอย่างเป็นทางการในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งเป็นตัวเลขที่สอดคล้องกับประมาณการของหน่วย
งานอื่น ๆ เช่น สำนักงานเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศค.) เป็นต้น (ผู้จัดการรายวัน)
4. อีไอยูคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 47 เติบโตร้อยละ 8.2 กลุ่มอีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต
(อีไอยู) ซึ่งมีฐานในกรุงลอนดอน เปิดเผยว่า ได้ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจระหว่างปี
47-51 ของเอเชียมาอยู่ที่ร้อยละ 5.9 จากร้อยละ 5.8 โดยเป็นผลจากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มองค์การเพื่อ
ความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ (โออีซีดี) และยอดขายที่แข็งแกร่งในตลาดเกิดใหม่โดยเฉพาะจีนรวมถึงการ
เติบโตอย่างรวดเร็วของอุปสงค์ภายในภูมิภาค ขณะเดียวกัน อีไอยูยังคาดการณ์การเติบโตของ 10 ชาติ
สมาชิกสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ว่าจะขยายตัวเฉลี่ยราวร้อยละ 5.7 ในปี 47
เพิ่มจากระดับร้อยละ 4.4 ในปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ หากแยกเป็นรายประเทศอีไอยูคาดว่าในปีนี้ไทยจะเติบโตร้อยละ
8.2 อินโดนีเซียขยายตัวร้อยละ 4.5 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการใช้จ่ายช่วงเลือกตั้ง และความต้องการ
สินค้าจากชาติอุตสาหกรรม ขณะที่ฟิลิปปินส์ได้รับการคาดหมายว่าจะเติบโตร้อยละ 4.5 จากการใช้จ่ายด้าน
การเลือกตั้งประธานาธิบดีเช่นเดียวกัน (กรุงเทพธุรกิจ)
5. สินเชื่อคงค้างในระบบ ธพ.ไทยในเดือน ม.ค.47 ลดลงร้อยละ 0.08 เทียบต่อเดือน แต่เพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 5.93 เมื่อเทียบต่อปี บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานยอดคงค้างสินเชื่อในระบบ ธพ.ไทยในเดือน
ม.ค.47 มีจำนวน 3,900,542 ล้านบาท ลดลงจากเดือนที่แล้ว 3,280 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราลดลงร้อย
ละ 0.08 แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.93 โดยกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ 4 แห่ง
ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 2,295 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 0.09 ส่วนกลุ่มธนาคารขนาดกลาง 3 แห่ง ลดลง
1,324 ล้านบาท สำหรับเงินฝากในระบบ ธพ.ไทยในเดือน ม.ค.47 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 5,158,002 ล้าน
บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 43,679 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.85 และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ
ระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.75 โดยกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ 4 แห่ง เพิ่มขึ้นจำนวน 36,671 ล้านบาท
ส่วนกลุ่มธนาคารขนาดกลาง 3 แห่ง ลดลงจำนวน 2,875 ล้านบาท สำหรับสินทรัพย์รวมในระบบ ธพ.ไทย ณ
31 ม.ค.47 มีจำนวน 6,122,803 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อยจำนวน 681 ล้านบาท หรือคิด
เป็นร้อยละ 0.01 (กรุงเทพธุรกิจ)
6. ก.ล.ต.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกำหนดเกณฑ์ห้ามมาร์จิน-เน็ตเซทเทิลเมนท์เฉพาะหุ้น
เทิร์นโอเวอร์ 100% เลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า ผล
การหารือร่วมกันระหว่าง ก.ล.ต. และสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีข้อสรุปร่วมกันกำหนดให้
หลักทรัพย์ที่เข้าข่ายห้ามซื้อขายด้วยสินเชื่อเพื่อซื้อหุ้น (มาร์จิน) รวมทั้งห้ามซื้อขายแบบหักกลบราคาหุ้นตัวเดียว
กันในวันเดียว (เน็ตเซทเทิลเมนท์) จะต้องมีสัดส่วนปริมาณการซื้อขายหมุนเวียนเมื่อเทียบกับจำนวนหุ้นที่อยู่ใน
มือประชาชน (เทิร์นโอเวอร์ลิสต์) ตั้งแต่ 100% ขึ้นไปต่อสัปดาห์ มีราคาปิดต่อกำไรต่อหุ้น (พี/อีเรโช) สูง
กว่า 100 เท่า หรือมีผลการดำเนินงานขาดทุน ทั้งนี้ การห้ามมาร์จินและเน็ตเซทเทิลเมนท์ดังกล่าวมีผลเพียง
ชั่วคราวในแต่ละสัปดาห์ โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 8 มี.ค.47 เป็นต้นไป (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน,
โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. การว่างงานของสรอ. ที่ระดับร้อยละ 5.6 อยู่ในระดับที่เหมาะสม รายงานจากวอชิงตัน
เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 47 ปธน.บุชกล่าวในระหว่างการประชุมระดับผู้ว่าการมลรัฐที่ทำเนียบขาวว่า อัตราการ
ว่างงานร้อยละ 5.6 นับว่าเป็นตัวเลขที่ดีนับตั้งแต่การเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย การทุจริตในองค์กรและ
ภาวะสงคราม ทั้งนี้ในปีนี้การว่างงานนับเป็นประเด็นสำคัญในการหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดี โดยโรงงาน
งานลดการจ้างงานลงเกือบ 2.8 ล้านตำแหน่ง นับตั้งแต่เดือน ม.ค.44 ที่ปธน.บุชบริหารประเทศ มี
ประชาชนจำนวนมากประสบปัญหาการว่างงาน สมาชิกพรรคเดโมแครทคนหนึ่งกล่าวด้วยความผิดหวัง ทั้งนี้ทำ
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วประเด็นการว่างงานได้ถูกพรรคเดโมแครตวิพากษ์วิจารณ์และเรียกร้องให้มีการสร้างงานขึ้น
มากกว่าเดือนละ 300,000 ตำแหน่งต่อเดือนในปีนี้ (รอยเตอร์)
2. คาดว่าอุตสาหกรรมการผลิตของสรอ.จะขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในไตรมาสที่ 4 ปีนี้ รายงาน
จากชิคาโก เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 47 สมาคมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแห่งชาติคาดการณ์แนวโน้มที่ดีในภาค
อุตสาหกรรมการผลิตและภาวะเศรษฐกิจของสรอ. โดยคาดว่าจะขยายตัวมากกว่าร้อยละ 6 ขณะที่เศรษฐกิจ
สรอ.จะขยายตัวร้อยละ 4.1 ซึ่งเป็นการขยายตัวมากกว่า 2 - 3 ปีที่ผ่านมา และเติบโตเร็วที่สุดนับตั้งแต่ปี
42 ทั้งนี้จากผลการสำรวจสมาชิกผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 คาดว่าเศรษฐกิจ
สรอ. ในปีนี้จะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 2 - 3 จากปี 46 นอกจากนั้นเห็นว่ากิจการจะมีการจ้างงาน
ใหม่โดยจะจ้างคนงานที่มีระดับการศึกษาสูงและผู้ชำนาญงาน และต้นทุนธุรกิจจะสูงขึ้นส่งผลให้ธุรกิจมีกำไรลดลง
(รอยเตอร์)
3. จีนคาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปี 47 จะอยู่ที่ระดับ 3.0% รายงานจากกรุงปักกิ่งเมื่อวันที่ 23
ก.พ.47 Yao Jingyuan หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปี
47 จะอยู่ที่ระดับ 3.0% ซึ่งเป็นระดับที่มีเสถียรภาพ และจะไม่สูงถึงระดับ 5.0% เหมือนที่นักวิเคราะห์ต่าง
ชาติบางคนได้คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อของจีนจะไม่สูงขึ้นไปมากนัก เนื่องจากระบบ
เศรษฐกิจของจีนยังต้องเชื่อมโยงกับการที่เศรษฐกิจโลกที่ยังคงมีปัญหาจากภาวะเงินฝืดอยู่ ทั้งนี้ ดัชนีราคาผู้
บริโภคเพิ่มขึ้น 3.2% ในช่วง 12 เดือนนับถึงเดือน ม.ค. สาเหตุจากราคาอาหารและความต้องการวัตถุดิบที่
เพิ่มสูงขึ้น โดยดัชนีราคาผู้บริโภคในปี 46 เพิ่มขึ้น 1.2% จากปีก่อน อนึ่ง นายกรัฐมนตรีของจีน นาย Wen
Jiabao ได้ออกคำสั่งเมื่อเดือน ก.พ.นี้ให้ดูแลการปล่อยสินเชื่อให้ธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง และธนาคารกลาง
จีนก็ต้องการให้ตัดลดการให้สินเชื่อรายใหม่ในปีนี้ลง 13% โดยมีดัชนีหลายอย่างชี้ให้เห็นว่าอาจจะมีการลงทุน
มากเกินไปในธุรกิจบางอย่างที่อาจทำให้เกิดภาวะฟองสบู่ เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก และอสังหาริมทรัพย์ นัก
เศรษฐศาสตร์หลายรายกล่าวว่าธนาคารกลางจีนอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้หยวนเพื่อชะลอการเติบโตทาง
เศรษฐกิจถ้าอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง แต่บางคนเป็นห่วงว่าถ้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะทำให้มีเงิน
ทุนไหลเข้าเพิ่มขึ้นและสร้างแรงกดดันต่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวน (รอยเตอร์)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคของสิงคโปร์ในเดือน ม.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เทียบต่อเดือน
รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ 23 ก.พ.47 สำนักงานสถิติ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของสิงคโปร์ในเดือน
ม.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค.46 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาผู้บริโภค
มีสาเหตุจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชีย รวมถึงผลจากการปรับเพิ่มภาษีสินค้าและบริการ (GST)
เป็นร้อยละ 5 ของรัฐบาล อนึ่ง ธ.กลางสิงคโปร์ เปิดเผยว่า จากการที่ภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัว อาจส่งผลให้
อัตราเงินเฟ้อของประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ระดับร้อยละ 1.2 ในปี 47 ซึ่งรัฐบาลก็ได้คาดการณ์การเติบโตของ
ภาวะเศรษฐกิจในปี 47 ที่ระดับร้อยละ 3-5 ปรับเพิ่มขึ้นจากการคาดการณ์ในปี 46 ที่ระดับร้อยละ 0.8 (รอยเตอร์)
5. ไตรมาสที่ 4 ปี 46 ดัชนีการขายส่งในประเทศของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 เทียบต่อไตร
มาส รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ 23 ก.พ.47 สำนักงานสถิติ เปิดเผยว่า ดัชนีการขายส่งในประเทศของ
สิงคโปร์ในไตรมาสที่ 4 ปี 46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจปรับ
ตัวดีขึ้นหลังจากประสบภาวะซบเซาจากการแพร่ระบาดของโรคซาร์ส รวมถึงเป็นช่วงวันหยุดคริสมาสต์ แต่
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ดัชนีการขายส่งในประเทศกลับลดลงร้อยละ 3.4 ลดลงต่อเนื่องเป็นไตร
มาสที่ 2 เนื่องจากยอดขายปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมลดลง สำหรับดัชนีการขายส่งในประเทศทั้งปี 46
เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 จากปีก่อน ในส่วนของดัชนีการขายส่งต่างประเทศในช่วงเวลาเดียวกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1
จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากดัชนีที่เป็นส่วน
ประกอบเกือบทุกประเภทปรับตัวเพิ่มขึ้น (รอยเตอร์)
6. สิงคโปร์ตั้งเป้าเศรษฐกิจปี 47 เติบโตสูงสุดในรอบ 4 ปี รายงานจากสิงคโปร์เมื่อวันที่ 23
ก.พ.47 รัฐบาลสิงคโปร์ตั้งเป้าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 47 สูงสุดในรอบ 4 ปี ทั้งนี้ เนื่องจาก
มีตัวเลขการเพิ่มขึ้นของผลผลิตหลายอย่างที่ช่วยสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายของปี 46
เช่น วงจรคอมพิวเตอร์ เครื่องอ่านแผ่นจานแม่เหล็ก และเวชภัณฑ์ยา เป็นต้น โดยรัฐบาลได้ประมาณการ
เบื้องต้นว่าจีดีพีในไตรมาส 4 ของปี 46 จะอยู่ที่ระดับ 7.9% แต่นักเศรษฐศาสตร์หลายคนคาดว่าอัตราการ
เติบโตจะชะลอตัวลงอยู่ที่ระดับ 2.5 — 3.0% ในไตรมาสแรกของปี 47 และคาดว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์ของทั้งปี
47 จะเติบโตประมาณ 5.0% สูงกว่าที่ประมาณการไว้ในปีก่อนที่ระดับ 0.8% (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 24/2/47 23/2/47 31/12/46 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.278 39.622 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.0892/39.3693 39.4435/39.7378 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.8750 - 1.2800 1.2800 - 1.3000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 724.86/13.41 772.15/41.74 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,400/7,500 7,400/7,500 7,700/7,800 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 29.65 29.14 28.66 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 17.29*/14.39 ปตท.
* ปรับเลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-