อุตสาหกรรมเซรามิก
อุตสาหกรรมเซรามิก เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นส่วนใหญ่ การผลิตจะ ใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก
เป็นอุตสาหกรรมที่สนองนโยบายของรัฐในการสร้างงานและกระจายรายได้ไปสู่ภูมิภาค จึงนับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญ
อุตสาหกรรมหนึ่ง
1. การผลิต
การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 4 ปี 2546 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 35.43 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.59 และ 45.04 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์
มีปริมาณ 1.78 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 6.51 และเทียบกับระยะเดียวกันของ
ปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.63 (ดังตารางที่ 1 และ 2)
การผลิตเซรามิก ในปี 2546 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 120.19 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ
7.31 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับปี 2545 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 21.18 และ 19.76 ตามลำดับ การผลิตเซรามิกมีการ
ขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากการเร่งขยายกำลังการ ผลิตของแต่ละโรงงานเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดในประเทศ ซึ่งเกิด
จากการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายเซรามิก ไตรมาสที่ 4 ปี 2546 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 37.81 ล้านตารางเมตร
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.74 และ 32.02 ตามลำดับ
สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 0.95 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัว
เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.44 และ 22.91 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1 และ 2)
การจำหน่ายเซรามิก ในปี 2546 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 139.47 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ
3.61 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับปี 2545 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 22.99และ 18.18 ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลจากการที่ผู้ซื้อ
และผู้สร้างบ้านจัดสรรต้องเร่งสร้าง และโอนกรรมสิทธิ์ ให้ทันก่อนที่มาตรการลดค่าธรรมเนียมสำหรับการโอนและจดจำนอง
อสังหาริมทรัพย์จะสิ้นสุดในปี 2546
สำหรับตลาดกระเบื้องปูพื้น บุผนัง ในประเทศมีการแข่งขันที่รุนแรงมาก จากการขยายกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นของแต่ละ
โรงงาน และมีการนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งหลายโรงงานนำเข้าสินค้า บางส่วนจาก จีน อินโดนีเซีย อิตาลี และสเปน เพื่อให้
มีสินค้าที่หลากหลาย สามารถสนองตอบความต้องการของลูกค้าเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการแข่งขันด้านราคาเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการ
หลายรายมีนโยบายด้านตลาดเชิงรุก เน้นตลาดระดับกลางถึงบนมากขึ้น เพื่อยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าของตน พร้อมทั้ง
พัฒนาสินค้าใหม่ โดยเน้นให้ความสำคัญกับการออกแบบลวดลาย การใช้เทคโนโลยี และการพัฒนาเครื่องจักร เพื่อให้การลอกเลียนแบบ
ทำได้ยาก
2.2 การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 4 ปี 2546 มีมูลค่ารวม 130.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 1.74 โดยเกือบทุกผลิตภัณฑ์มีอัตราการขยายตัวลดลง ยกเว้นกระเบื้องปูพื้น บุผนัง ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น
เพียงเล็กน้อย ร้อยละ 3.61 และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ
1.32 โดยผลิตภัณฑ์ที่ ขยายตัวเพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร เครื่องสุขภัณฑ์ และลูกถ้วยไฟฟ้า ขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตรา
ร้อยละ 4.38 , 5.97 และ 33.33 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 3)
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ในปี 2546 มีมูลค่ารวม 525.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปี 2545 มีอัตราการขยายตัว
เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.91 ผลิตภัณฑ์ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ลูกถ้วยไฟฟ้า เครื่องสุขภัณฑ์ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร และของชำร่วย
เครื่องประดับ ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 58.47, 31.54, 12.28 และ 2.29 ตามลำดับ การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกจะส่งไปยัง
ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย แคนาดา ฮ่องกง ไต้หวัน เยอรมนี และประเทศในกลุ่มอาเซียน
โดยกระเบื้องปูพื้น บุผนัง ขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดสหภาพยุโรป ร้อยละ 20.37 เครื่องสุขภัณฑ์ และลูกถ้วยไฟฟ้า ขยายตัว
เพิ่มขึ้นในตลาดญี่ปุ่น 2.5 เท่า และ 1.6 เท่า ตามลำดับ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดญี่ปุ่น ร้อยละ 95.16
และของชำร่วยเครื่องประดับ ขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดอาเซียนถึงร้อยละ 50.00
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 4 ปี 2546 มีมูลค่า 47.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 22.42 และ 47.98 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 4) สำหรับ
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ในปี 2546 มีมูลค่ารวม 155.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปี 2545 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 28.08 โดยส่วนใหญ่จะนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น จีน เยอรมนี มาเลเซีย อินโดนีเซีย อิตาลี สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ สเปน
และฝรั่งเศส เป็นต้นผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าส่วนใหญ่จะมีคุณภาพดี ราคาสูง ซึ่งไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ ได้แก่ เซรามิกทนไฟ เซรามิก
ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ และนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีต้นทุนต่ำกว่าการผลิตในประเทศจากจีน
3. สรุป
การผลิตและจำหน่ายเซรามิกที่ใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง ซึ่งได้แก่ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ยังคงขยายตัวอย่าง
ต่อเนื่อง จากความต้องการของตลาดในประเทศ และผลจากปัจจัย ต่าง ๆ ได้แก่ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยที่อยู่ในระดับต่ำ
และการที่ทุกฝ่ายต้องเร่งสร้างและโอนกรรมสิทธิ์ให้ทันก่อนที่มาตรการลดค่าธรรมเนียมสำหรับการโอนและจดจำนองอสังหาริมทรัพย์
จะสิ้นสุด
ในปี 2546 สำหรับแนวโน้มการขยายตัวของอสังหาริมทรัพย์ เมื่อเทียบกับปี 2546 ที่มีการขยายตัวสูงมาก และการสิ้นสุด
มาตรการลดค่าธรรมเนียมสำหรับการโอนและจดจำนองอสังหาริมทรัพย์ ที่เหลือเพียงเฉพาะรายที่เกิดจากการปรับโครงสร้างหนี้เท่านั้น
อาจทำให้การขยายตัวของอสังหาริมทรัพย์ลดลง และส่งผลให้การผลิตและจำหน่ายเซรามิกขยายตัวลดลงตามไปด้วย ด้านการส่งออก
ผลิตภัณฑ์เซรามิกยังคงมีอัตราขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มที่ดี อย่างไรก็ตาม แนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน อาจส่ง
ผลกระทบกับการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกได้
ตารางที่ 1 การผลิต และจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง
ปริมาณ (ตารางเมตร) ไตรมาส ปี 2545 ปี 2546
4/1/2545 3/1/2546 4/1/2546
การผลิต 24,428,088 30,920,970 35,430,876 99,183,308 120193952
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 14.59
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 45.04 21.18
การจำหน่ายในประเทศ 28,640,328 34,453,576 37,810,797 113403682 139471829
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 9.74
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 32.02 22.99
ที่มา: ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานกระเบื้องปูพื้น บุผนัง จำนวน 13 โรงงาน
ตารางที่ 2 การผลิต และจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์
ปริมาณ (ชิ้น) ไตรมาส ปี 2545 ปี 2546
4/1/2545 3/1/2546 4/1/2546
การผลิต 1,549,916 1,900,521 1,776,730 6,101,861 7,307,788
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -6.51
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 14.63 19.76
การจำหน่ายในประเทศ 773,581 910,367 950,823 3,054,458 3,609,788
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 4.44
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 22.91 18.18
ที่มา: ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานเครื่องสุขภัณฑ์ จำนวน 6 โรงงาน
ตารางที่ 3 แสดงมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก
มูลค่า:ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ช่วงเวลา ไตรมาส ปี 2545 ปี 2546
ผลิตภัณฑ์ 4/1/2545 3/1/2546 4/1/2546
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง 18 16.6 17.2 69.7 69.7
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 3.61
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -4.44 0
เครื่องสุขภัณฑ์ 20.1 22.8 21.3 76.4 100.5
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -6.58
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 5.97 31.54
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร 48 51.9 50.1 168.5 189.2
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -3.47
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 4.38 12.28
ของชำร่วยเครื่องประดับ 8.4 11.6 6.8 34.9 35.7
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -41.38
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -19.05 2.29
ลูกถ้วยไฟฟ้า 2.7 4.8 3.6 11.8 18.7
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -25
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 33.33 58.47
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ 31.2 24.7 31.1 125.3 111.3
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 25.91
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -0.32 -11.17
รวมผลิตภัณฑ์เซรามิก 128.4 132.4 130.1 486.6 525.1
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -1.74
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.32 7.91
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 4 แสดงมูลค่านำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ช่วงเวลา ไตรมาส ปี 2545 ปี 2546
ผลิตภัณฑ์ 4/1/2545 3/1/2546 4/1/2546
ผลิตภัณฑ์เซรามิก 32.1 38.8 47.5 121.1 155.1
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 22.42
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 47.98 28.08
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-
อุตสาหกรรมเซรามิก เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นส่วนใหญ่ การผลิตจะ ใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก
เป็นอุตสาหกรรมที่สนองนโยบายของรัฐในการสร้างงานและกระจายรายได้ไปสู่ภูมิภาค จึงนับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญ
อุตสาหกรรมหนึ่ง
1. การผลิต
การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 4 ปี 2546 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 35.43 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.59 และ 45.04 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์
มีปริมาณ 1.78 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 6.51 และเทียบกับระยะเดียวกันของ
ปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.63 (ดังตารางที่ 1 และ 2)
การผลิตเซรามิก ในปี 2546 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 120.19 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ
7.31 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับปี 2545 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 21.18 และ 19.76 ตามลำดับ การผลิตเซรามิกมีการ
ขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากการเร่งขยายกำลังการ ผลิตของแต่ละโรงงานเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดในประเทศ ซึ่งเกิด
จากการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายเซรามิก ไตรมาสที่ 4 ปี 2546 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 37.81 ล้านตารางเมตร
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.74 และ 32.02 ตามลำดับ
สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 0.95 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัว
เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.44 และ 22.91 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1 และ 2)
การจำหน่ายเซรามิก ในปี 2546 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 139.47 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ
3.61 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับปี 2545 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 22.99และ 18.18 ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลจากการที่ผู้ซื้อ
และผู้สร้างบ้านจัดสรรต้องเร่งสร้าง และโอนกรรมสิทธิ์ ให้ทันก่อนที่มาตรการลดค่าธรรมเนียมสำหรับการโอนและจดจำนอง
อสังหาริมทรัพย์จะสิ้นสุดในปี 2546
สำหรับตลาดกระเบื้องปูพื้น บุผนัง ในประเทศมีการแข่งขันที่รุนแรงมาก จากการขยายกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นของแต่ละ
โรงงาน และมีการนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งหลายโรงงานนำเข้าสินค้า บางส่วนจาก จีน อินโดนีเซีย อิตาลี และสเปน เพื่อให้
มีสินค้าที่หลากหลาย สามารถสนองตอบความต้องการของลูกค้าเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการแข่งขันด้านราคาเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการ
หลายรายมีนโยบายด้านตลาดเชิงรุก เน้นตลาดระดับกลางถึงบนมากขึ้น เพื่อยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าของตน พร้อมทั้ง
พัฒนาสินค้าใหม่ โดยเน้นให้ความสำคัญกับการออกแบบลวดลาย การใช้เทคโนโลยี และการพัฒนาเครื่องจักร เพื่อให้การลอกเลียนแบบ
ทำได้ยาก
2.2 การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 4 ปี 2546 มีมูลค่ารวม 130.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 1.74 โดยเกือบทุกผลิตภัณฑ์มีอัตราการขยายตัวลดลง ยกเว้นกระเบื้องปูพื้น บุผนัง ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น
เพียงเล็กน้อย ร้อยละ 3.61 และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ
1.32 โดยผลิตภัณฑ์ที่ ขยายตัวเพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร เครื่องสุขภัณฑ์ และลูกถ้วยไฟฟ้า ขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตรา
ร้อยละ 4.38 , 5.97 และ 33.33 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 3)
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ในปี 2546 มีมูลค่ารวม 525.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปี 2545 มีอัตราการขยายตัว
เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.91 ผลิตภัณฑ์ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ลูกถ้วยไฟฟ้า เครื่องสุขภัณฑ์ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร และของชำร่วย
เครื่องประดับ ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 58.47, 31.54, 12.28 และ 2.29 ตามลำดับ การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกจะส่งไปยัง
ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย แคนาดา ฮ่องกง ไต้หวัน เยอรมนี และประเทศในกลุ่มอาเซียน
โดยกระเบื้องปูพื้น บุผนัง ขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดสหภาพยุโรป ร้อยละ 20.37 เครื่องสุขภัณฑ์ และลูกถ้วยไฟฟ้า ขยายตัว
เพิ่มขึ้นในตลาดญี่ปุ่น 2.5 เท่า และ 1.6 เท่า ตามลำดับ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดญี่ปุ่น ร้อยละ 95.16
และของชำร่วยเครื่องประดับ ขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดอาเซียนถึงร้อยละ 50.00
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 4 ปี 2546 มีมูลค่า 47.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 22.42 และ 47.98 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 4) สำหรับ
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ในปี 2546 มีมูลค่ารวม 155.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปี 2545 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 28.08 โดยส่วนใหญ่จะนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น จีน เยอรมนี มาเลเซีย อินโดนีเซีย อิตาลี สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ สเปน
และฝรั่งเศส เป็นต้นผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าส่วนใหญ่จะมีคุณภาพดี ราคาสูง ซึ่งไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ ได้แก่ เซรามิกทนไฟ เซรามิก
ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ และนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีต้นทุนต่ำกว่าการผลิตในประเทศจากจีน
3. สรุป
การผลิตและจำหน่ายเซรามิกที่ใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง ซึ่งได้แก่ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ยังคงขยายตัวอย่าง
ต่อเนื่อง จากความต้องการของตลาดในประเทศ และผลจากปัจจัย ต่าง ๆ ได้แก่ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยที่อยู่ในระดับต่ำ
และการที่ทุกฝ่ายต้องเร่งสร้างและโอนกรรมสิทธิ์ให้ทันก่อนที่มาตรการลดค่าธรรมเนียมสำหรับการโอนและจดจำนองอสังหาริมทรัพย์
จะสิ้นสุด
ในปี 2546 สำหรับแนวโน้มการขยายตัวของอสังหาริมทรัพย์ เมื่อเทียบกับปี 2546 ที่มีการขยายตัวสูงมาก และการสิ้นสุด
มาตรการลดค่าธรรมเนียมสำหรับการโอนและจดจำนองอสังหาริมทรัพย์ ที่เหลือเพียงเฉพาะรายที่เกิดจากการปรับโครงสร้างหนี้เท่านั้น
อาจทำให้การขยายตัวของอสังหาริมทรัพย์ลดลง และส่งผลให้การผลิตและจำหน่ายเซรามิกขยายตัวลดลงตามไปด้วย ด้านการส่งออก
ผลิตภัณฑ์เซรามิกยังคงมีอัตราขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มที่ดี อย่างไรก็ตาม แนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน อาจส่ง
ผลกระทบกับการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกได้
ตารางที่ 1 การผลิต และจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง
ปริมาณ (ตารางเมตร) ไตรมาส ปี 2545 ปี 2546
4/1/2545 3/1/2546 4/1/2546
การผลิต 24,428,088 30,920,970 35,430,876 99,183,308 120193952
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 14.59
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 45.04 21.18
การจำหน่ายในประเทศ 28,640,328 34,453,576 37,810,797 113403682 139471829
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 9.74
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 32.02 22.99
ที่มา: ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานกระเบื้องปูพื้น บุผนัง จำนวน 13 โรงงาน
ตารางที่ 2 การผลิต และจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์
ปริมาณ (ชิ้น) ไตรมาส ปี 2545 ปี 2546
4/1/2545 3/1/2546 4/1/2546
การผลิต 1,549,916 1,900,521 1,776,730 6,101,861 7,307,788
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -6.51
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 14.63 19.76
การจำหน่ายในประเทศ 773,581 910,367 950,823 3,054,458 3,609,788
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 4.44
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 22.91 18.18
ที่มา: ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานเครื่องสุขภัณฑ์ จำนวน 6 โรงงาน
ตารางที่ 3 แสดงมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก
มูลค่า:ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ช่วงเวลา ไตรมาส ปี 2545 ปี 2546
ผลิตภัณฑ์ 4/1/2545 3/1/2546 4/1/2546
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง 18 16.6 17.2 69.7 69.7
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 3.61
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -4.44 0
เครื่องสุขภัณฑ์ 20.1 22.8 21.3 76.4 100.5
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -6.58
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 5.97 31.54
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร 48 51.9 50.1 168.5 189.2
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -3.47
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 4.38 12.28
ของชำร่วยเครื่องประดับ 8.4 11.6 6.8 34.9 35.7
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -41.38
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -19.05 2.29
ลูกถ้วยไฟฟ้า 2.7 4.8 3.6 11.8 18.7
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -25
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 33.33 58.47
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ 31.2 24.7 31.1 125.3 111.3
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 25.91
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -0.32 -11.17
รวมผลิตภัณฑ์เซรามิก 128.4 132.4 130.1 486.6 525.1
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -1.74
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.32 7.91
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 4 แสดงมูลค่านำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ช่วงเวลา ไตรมาส ปี 2545 ปี 2546
ผลิตภัณฑ์ 4/1/2545 3/1/2546 4/1/2546
ผลิตภัณฑ์เซรามิก 32.1 38.8 47.5 121.1 155.1
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 22.42
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 47.98 28.08
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-