อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
1. การผลิต
1.1 ปริมาณการผลิต
การผลิตปูนซีเมนต์ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2546 มีปริมาณการผลิตรวม 16.9 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน
ร้อยละ 5.63 เนื่องจากเศรษฐกิจการก่อสร้างขยายตัว อันเป็นผลมาจากนโยบาย รัฐบาลที่มุ่งฟื้นฟูภาคอสังหาริมทรัพย์ และอัตรา
ดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับที่ต่ำ โดยในส่วนของการผลิตปูนซีเมนต์ในไตรมาสนี้แบ่งเป็นการผลิตปูนเม็ด 8.11 ล้านตัน (เพิ่มขึ้นจาก
ไตรมาสก่อนร้อยละ 6.85 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวของปีก่อนลดลง ร้อยละ 15.87) และการผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด)
มีการผลิตรวม 8.79 ล้านตัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.52 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.67 เมื่อเทียบกับไตรมาส
เดียวกันของปีก่อน)
อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาในภาพรวมการผลิตในปี 2546 การผลิตปูนซีเมนต์ เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2545 ลดลง
ร้อยละ 5.26 โดยการผลิตปูนเม็ดซึ่งส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก ลดลงถึงร้อยละ 12.73 สำหรับปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด)
เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.22 เนื่องมาจากตลาดปูนซีเมนต์ในประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้น ตามภาวะเศรษฐกิจการก่อสร้างเริ่มฟื้นตัวขึ้น ประกอบ
กับมาตรการกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล ดังนั้นผู้ผลิตจึงให้ความสำคัญกับการผลิตเพื่อการใช้ภายในประเทศมากกว่า
ตาราง 1 : ปริมาณการผลิต หน่วย : ล้านตัน หน่วย : ร้อยละ
ผลิตภัณฑ์ Q4/45 ปี 2545 Q3/46 Q4/46 ปี 2546 เปรียบเทียบQ3/46 กับ Q4/46 เปรียบเทียบQ4/45 กับ Q4/46 เปรียบเทียบปี 2545 กับปี 2546
ปูนเม็ด 9.64 38.03 7.59 8.11 33.19 6.85 -15.87 -12.73
ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด 7.47 33.5 8.41 8.79 34.58 4.52 17.67 3.22
รวม 17.11 71.53 16 16.9 67.77 5.63 -1.23 -5.26
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในไตรมาสสุดท้าย ปี 2546 มีปริมาณ 6.66 ล้านตัน เมื่อเทียบกับ ไตรมาสก่อน
เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.54 โดยแบ่งออกเป็น การจำหน่ายปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ปริมาณ 6.6 ล้านตัน (เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3
ร้อยละ 9.82) ส่วนการจำหน่ายปูนเม็ด มีปริมาณ 0.06 ล้านตัน (ลดลงจาก ไตรมาส 3 ร้อยละ 14.29)
สำหรับปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศตลอดปี 2546 มีปริมาณการจำหน่าย 26.58 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน
ร้อยละ 5.52 โดยแบ่งออกเป็นการจำหน่ายปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 26.39 ล้านตัน (เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 6.28)
และการจำหน่ายปูนเม็ด 0.19 ล้านตัน (ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 47.22)
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศที่เพิ่มขึ้นนี้ เนื่องมาจากการขยายตัวของภาวะธุรกิจการก่อสร้าง โดยเฉพาะโครงการ
พัฒนาที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐทั้งมาตรการทางการเงิน ภาษี และการผ่อนคลายข้อ
กฏหมายต่าง ๆ รวมถึงความพยายามของสถาบันการเงิน ในการปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยในอัตราดอกเบี้ยต่ำ
ตาราง 2 : ปริมาณการจำหน่ายในประเทศ หน่วย : ล้านตัน หน่วย : ร้อยละ
ผลิตภัณฑ์ Q4/45 ปี 2545 Q3/46 Q4/46 ปี 2546 เปรียบเทียบQ3/46 กับ Q4/46 เปรียบเทียบQ4/45 กับ Q4/46 เปรียบเทียบปี 2545 กับปี 2546
ปูนเม็ด 0.05 0.36 0.07 0.06 0.19 -14.29 20 -47.22
ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด 5.79 24.83 6.01 6.6 26.39 9.82 13.99 6.28
รวม 5.84 25.19 6.08 6.66 26.58 9.54 14.04 5.52
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
2.2 การส่งออก
การส่งออกปูนซีเมนต์ไตรมาสสุดท้ายปี 2546 มีปริมาณ 2.91 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 2,937 ล้านบาท เมื่อ
เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.34 มูลค่าลดลงร้อยละ 3.77
สำหรับการส่งออกปูนซีเมนต์ตลอดทั้งปี 2546 มีปริมาณ 12.21 ล้านตัน มูลค่า 12,586 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2545
ปริมาณการส่งออกลดลงคิดเป็นร้อยละ 11.01 และมูลค่าลดลงร้อยละ20.04 โดยในปี 2546 การส่งออกปูนเม็ดมีปริมาณ 7.22
ล้านตัน มูลค่า 6,127 และปูนซีเมนต์ผสม,ปูนปอร์ตแลนด์และปูนซีเมนต์ชนิดอื่น ๆ มีปริมาณรวม 4.99 ล้านตัน มูลค่า 6,459 ล้านบาท
ทั้งนี้การส่งออก ที่ลดลง เนื่องมาจากปูนซีเมนต์เป็นสินค้าที่มีน้ำหนักมากค่าขนส่งสูง ทำให้การส่งออกมีกำไรต่ำ ประกอบกับความ
ต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศขยายตัว ผู้ประกอบการจึงหันมาเน้นการขยายตลาดในประเทศมากขึ้น ตลาดส่งออกที่สำคัญคือ
สหรัฐอเมริกา คิดเป็นร้อยละ 27 ของมูลค่าการส่งออก รองลงมาคือ เวียดนาม กัมพูชา และบังคลาเทศ
ตาราง 3 : การส่งออก หน่วย : ร้อยละ
ผลิตภัณฑ์ Q4/45 ปี 2545 Q3/46 Q4/46 ปี 2546 เปรียบเทียบQ3/46กับ Q4/46 เปรียบเทียบQ4/45กับ Q4/46 เปรียบเทียบปี 2545 กับปี 2546
ปูนเม็ด 2.11 9.27 1.64 1.59 7.22 -3.05 -24.64 -22.11
ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด 1.16 6.96 1.26 1.32 4.99 4.76 13.79 -28.3
รวม (ล้านตัน) 3.27 16.23 2.9 2.91 12.21 0.34 -11.01 -24.77
ปูนเม็ด 2,358 7,005 1,368 1,333 6,127 -2.56 -43.47 -12.53
ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด 1,315 7,736 1,684 1,604 6,459 -4.75 21.98 -16.51
รวม(ล้านบาท) 3,673 14,741 3,052 2,937 12,586 -3.77 -20.04 -14.62
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
3. ปัญหา
3.1 ปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากค่าพลังงานเชื้อเพลิง โดยเฉพาะต้นทุนอัตราค่าไฟฟ้าผันแปร ( FT )
มีราคาสูง
3.2 การแข่งขันด้านราคาสินค้าปูนซีเมนต์ตลาดในประเทศ มีการแข่งขันค่อนข้างสูง
4. นโยบายและมาตรการของรัฐที่เกี่ยวข้อง
ในปี 2546 ไม่มีมาตรการหรือนโยบายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ แต่มีนโยบายทางอ้อมในเรื่องของการ
แก้ไขปัญหาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยประกอบด้วยมาตรการภาษี กรณีปรับปรุงโครงสร้างหนี้ มาตรการภาษีปรับปรุงโครงสร้างองค์กร
มาตรการลดภาษีธุรกิจเฉพาะที่เรียกเก็บจากการขายอสังหาริมทรัพย์ในอัตราร้อยละ 3.3 ลงเหลือร้อยละ 0.11 เพื่อสนับสนุน
ารซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ และยกเว้นภาษีที่ให้กับประชาชนที่ขายบ้านหลังเก่าซื้อบ้านหลังใหม่ ซึ่ง มาตรการลดภาษีธุรกิจเฉพาะจะสิ้นสุด
ในวันที่ 31 ธันวาคม 2546 ในส่วนของค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิ นิติกรรม และ ค่าธรรมเนียมจดจำนอง รัฐบาลได้ขยายระยะ
เวลาเฉพาะรายที่เกิดจากการปรับโครงสร้างหนี้ ออกไปอีก 1 ปี มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 จนถึงวันที่ 31
ธันวาคม 2547
5. สรุปภาวะอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 4 ปี 2546 และแนวโน้มไตรมาสที่ 1 ปี 2547
เนื่องจากในปี 2546 รัฐบาลได้มีนโยบายกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยกำหนดให้มีมาตรการต่างๆ
เช่นมาตรการทางด้านภาษีของภาครัฐเพื่อให้เป็นแรงจูงใจให้กับประชาชนในการเข้าซื้อบ้านและที่อยู่อาศัย รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยที่มีการ
ปรับลดให้ต่ำลงและธนาคารพาณิชย์ก็แข่งขันกันปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย ทำให้ปริมาณความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ขยายตัวตามไปด้วย
สำหรับปี 2547 ภาวะอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์มีแนวโน้มขยายตัวต่อไปตามภาวะธุรกิจ ก่อสร้างโดยเฉพาะโครงการก่อ
สร้างภาครัฐ เช่น สนามบินสุวรรณภูมิ และระบบคมนาคมขนส่ง นอกจากนี้โครงการก่อสร้างของภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวเช่นกัน
โดยเฉพาะในส่วนของโครงการที่พักอาศัย สำหรับ ในส่วนของมาตรการกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แม้รัฐบาลในปี 2547 จะไม่มี
การต่ออายุในส่วนของ ภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่ในส่วนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิ นิติกรรม และค่าธรรมเนียมจดจำนอง
ได้มีการขยายระยะเวลาออกไปอีกเป็นเวลา 1 ปี มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 จนถึง 31 ธันวาคม 2547
อย่างไรก็ตามภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างยังคงได้รับปัจจัยหนุนจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ,อัตราดอกเบี้ย
ที่ยังอยู่ในระดับต่ำ และความต้องการที่อยู่อาศัย ซึ่งจะเป็น แรงผลักให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวต่อไป สำหรับตลาดต่างประเทศ
การส่งออกปูนซีเมนต์อาจจะมีแนวโน้มลดลงต่อไป เนื่องมาจากปูนซีเมนต์เป็นสินค้าที่มีน้ำหนักมากทำให้ค่าขนส่งสูง การส่งออกมีกำไรต่ำ
ประกอบความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศขยายตัวผู้ประกอบการจึงหันมาเน้นการขยายตลาดในประเทศมากขึ้น
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-
1. การผลิต
1.1 ปริมาณการผลิต
การผลิตปูนซีเมนต์ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2546 มีปริมาณการผลิตรวม 16.9 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน
ร้อยละ 5.63 เนื่องจากเศรษฐกิจการก่อสร้างขยายตัว อันเป็นผลมาจากนโยบาย รัฐบาลที่มุ่งฟื้นฟูภาคอสังหาริมทรัพย์ และอัตรา
ดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับที่ต่ำ โดยในส่วนของการผลิตปูนซีเมนต์ในไตรมาสนี้แบ่งเป็นการผลิตปูนเม็ด 8.11 ล้านตัน (เพิ่มขึ้นจาก
ไตรมาสก่อนร้อยละ 6.85 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวของปีก่อนลดลง ร้อยละ 15.87) และการผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด)
มีการผลิตรวม 8.79 ล้านตัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.52 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.67 เมื่อเทียบกับไตรมาส
เดียวกันของปีก่อน)
อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาในภาพรวมการผลิตในปี 2546 การผลิตปูนซีเมนต์ เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2545 ลดลง
ร้อยละ 5.26 โดยการผลิตปูนเม็ดซึ่งส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก ลดลงถึงร้อยละ 12.73 สำหรับปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด)
เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.22 เนื่องมาจากตลาดปูนซีเมนต์ในประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้น ตามภาวะเศรษฐกิจการก่อสร้างเริ่มฟื้นตัวขึ้น ประกอบ
กับมาตรการกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล ดังนั้นผู้ผลิตจึงให้ความสำคัญกับการผลิตเพื่อการใช้ภายในประเทศมากกว่า
ตาราง 1 : ปริมาณการผลิต หน่วย : ล้านตัน หน่วย : ร้อยละ
ผลิตภัณฑ์ Q4/45 ปี 2545 Q3/46 Q4/46 ปี 2546 เปรียบเทียบQ3/46 กับ Q4/46 เปรียบเทียบQ4/45 กับ Q4/46 เปรียบเทียบปี 2545 กับปี 2546
ปูนเม็ด 9.64 38.03 7.59 8.11 33.19 6.85 -15.87 -12.73
ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด 7.47 33.5 8.41 8.79 34.58 4.52 17.67 3.22
รวม 17.11 71.53 16 16.9 67.77 5.63 -1.23 -5.26
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในไตรมาสสุดท้าย ปี 2546 มีปริมาณ 6.66 ล้านตัน เมื่อเทียบกับ ไตรมาสก่อน
เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.54 โดยแบ่งออกเป็น การจำหน่ายปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ปริมาณ 6.6 ล้านตัน (เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3
ร้อยละ 9.82) ส่วนการจำหน่ายปูนเม็ด มีปริมาณ 0.06 ล้านตัน (ลดลงจาก ไตรมาส 3 ร้อยละ 14.29)
สำหรับปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศตลอดปี 2546 มีปริมาณการจำหน่าย 26.58 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน
ร้อยละ 5.52 โดยแบ่งออกเป็นการจำหน่ายปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 26.39 ล้านตัน (เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 6.28)
และการจำหน่ายปูนเม็ด 0.19 ล้านตัน (ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 47.22)
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศที่เพิ่มขึ้นนี้ เนื่องมาจากการขยายตัวของภาวะธุรกิจการก่อสร้าง โดยเฉพาะโครงการ
พัฒนาที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐทั้งมาตรการทางการเงิน ภาษี และการผ่อนคลายข้อ
กฏหมายต่าง ๆ รวมถึงความพยายามของสถาบันการเงิน ในการปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยในอัตราดอกเบี้ยต่ำ
ตาราง 2 : ปริมาณการจำหน่ายในประเทศ หน่วย : ล้านตัน หน่วย : ร้อยละ
ผลิตภัณฑ์ Q4/45 ปี 2545 Q3/46 Q4/46 ปี 2546 เปรียบเทียบQ3/46 กับ Q4/46 เปรียบเทียบQ4/45 กับ Q4/46 เปรียบเทียบปี 2545 กับปี 2546
ปูนเม็ด 0.05 0.36 0.07 0.06 0.19 -14.29 20 -47.22
ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด 5.79 24.83 6.01 6.6 26.39 9.82 13.99 6.28
รวม 5.84 25.19 6.08 6.66 26.58 9.54 14.04 5.52
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
2.2 การส่งออก
การส่งออกปูนซีเมนต์ไตรมาสสุดท้ายปี 2546 มีปริมาณ 2.91 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 2,937 ล้านบาท เมื่อ
เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.34 มูลค่าลดลงร้อยละ 3.77
สำหรับการส่งออกปูนซีเมนต์ตลอดทั้งปี 2546 มีปริมาณ 12.21 ล้านตัน มูลค่า 12,586 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2545
ปริมาณการส่งออกลดลงคิดเป็นร้อยละ 11.01 และมูลค่าลดลงร้อยละ20.04 โดยในปี 2546 การส่งออกปูนเม็ดมีปริมาณ 7.22
ล้านตัน มูลค่า 6,127 และปูนซีเมนต์ผสม,ปูนปอร์ตแลนด์และปูนซีเมนต์ชนิดอื่น ๆ มีปริมาณรวม 4.99 ล้านตัน มูลค่า 6,459 ล้านบาท
ทั้งนี้การส่งออก ที่ลดลง เนื่องมาจากปูนซีเมนต์เป็นสินค้าที่มีน้ำหนักมากค่าขนส่งสูง ทำให้การส่งออกมีกำไรต่ำ ประกอบกับความ
ต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศขยายตัว ผู้ประกอบการจึงหันมาเน้นการขยายตลาดในประเทศมากขึ้น ตลาดส่งออกที่สำคัญคือ
สหรัฐอเมริกา คิดเป็นร้อยละ 27 ของมูลค่าการส่งออก รองลงมาคือ เวียดนาม กัมพูชา และบังคลาเทศ
ตาราง 3 : การส่งออก หน่วย : ร้อยละ
ผลิตภัณฑ์ Q4/45 ปี 2545 Q3/46 Q4/46 ปี 2546 เปรียบเทียบQ3/46กับ Q4/46 เปรียบเทียบQ4/45กับ Q4/46 เปรียบเทียบปี 2545 กับปี 2546
ปูนเม็ด 2.11 9.27 1.64 1.59 7.22 -3.05 -24.64 -22.11
ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด 1.16 6.96 1.26 1.32 4.99 4.76 13.79 -28.3
รวม (ล้านตัน) 3.27 16.23 2.9 2.91 12.21 0.34 -11.01 -24.77
ปูนเม็ด 2,358 7,005 1,368 1,333 6,127 -2.56 -43.47 -12.53
ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด 1,315 7,736 1,684 1,604 6,459 -4.75 21.98 -16.51
รวม(ล้านบาท) 3,673 14,741 3,052 2,937 12,586 -3.77 -20.04 -14.62
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
3. ปัญหา
3.1 ปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากค่าพลังงานเชื้อเพลิง โดยเฉพาะต้นทุนอัตราค่าไฟฟ้าผันแปร ( FT )
มีราคาสูง
3.2 การแข่งขันด้านราคาสินค้าปูนซีเมนต์ตลาดในประเทศ มีการแข่งขันค่อนข้างสูง
4. นโยบายและมาตรการของรัฐที่เกี่ยวข้อง
ในปี 2546 ไม่มีมาตรการหรือนโยบายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ แต่มีนโยบายทางอ้อมในเรื่องของการ
แก้ไขปัญหาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยประกอบด้วยมาตรการภาษี กรณีปรับปรุงโครงสร้างหนี้ มาตรการภาษีปรับปรุงโครงสร้างองค์กร
มาตรการลดภาษีธุรกิจเฉพาะที่เรียกเก็บจากการขายอสังหาริมทรัพย์ในอัตราร้อยละ 3.3 ลงเหลือร้อยละ 0.11 เพื่อสนับสนุน
ารซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ และยกเว้นภาษีที่ให้กับประชาชนที่ขายบ้านหลังเก่าซื้อบ้านหลังใหม่ ซึ่ง มาตรการลดภาษีธุรกิจเฉพาะจะสิ้นสุด
ในวันที่ 31 ธันวาคม 2546 ในส่วนของค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิ นิติกรรม และ ค่าธรรมเนียมจดจำนอง รัฐบาลได้ขยายระยะ
เวลาเฉพาะรายที่เกิดจากการปรับโครงสร้างหนี้ ออกไปอีก 1 ปี มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 จนถึงวันที่ 31
ธันวาคม 2547
5. สรุปภาวะอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 4 ปี 2546 และแนวโน้มไตรมาสที่ 1 ปี 2547
เนื่องจากในปี 2546 รัฐบาลได้มีนโยบายกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยกำหนดให้มีมาตรการต่างๆ
เช่นมาตรการทางด้านภาษีของภาครัฐเพื่อให้เป็นแรงจูงใจให้กับประชาชนในการเข้าซื้อบ้านและที่อยู่อาศัย รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยที่มีการ
ปรับลดให้ต่ำลงและธนาคารพาณิชย์ก็แข่งขันกันปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย ทำให้ปริมาณความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ขยายตัวตามไปด้วย
สำหรับปี 2547 ภาวะอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์มีแนวโน้มขยายตัวต่อไปตามภาวะธุรกิจ ก่อสร้างโดยเฉพาะโครงการก่อ
สร้างภาครัฐ เช่น สนามบินสุวรรณภูมิ และระบบคมนาคมขนส่ง นอกจากนี้โครงการก่อสร้างของภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวเช่นกัน
โดยเฉพาะในส่วนของโครงการที่พักอาศัย สำหรับ ในส่วนของมาตรการกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แม้รัฐบาลในปี 2547 จะไม่มี
การต่ออายุในส่วนของ ภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่ในส่วนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิ นิติกรรม และค่าธรรมเนียมจดจำนอง
ได้มีการขยายระยะเวลาออกไปอีกเป็นเวลา 1 ปี มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 จนถึง 31 ธันวาคม 2547
อย่างไรก็ตามภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างยังคงได้รับปัจจัยหนุนจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ,อัตราดอกเบี้ย
ที่ยังอยู่ในระดับต่ำ และความต้องการที่อยู่อาศัย ซึ่งจะเป็น แรงผลักให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวต่อไป สำหรับตลาดต่างประเทศ
การส่งออกปูนซีเมนต์อาจจะมีแนวโน้มลดลงต่อไป เนื่องมาจากปูนซีเมนต์เป็นสินค้าที่มีน้ำหนักมากทำให้ค่าขนส่งสูง การส่งออกมีกำไรต่ำ
ประกอบความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศขยายตัวผู้ประกอบการจึงหันมาเน้นการขยายตลาดในประเทศมากขึ้น
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-