1. เศรษฐกิจไทยในปี 2548 คาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 4.7 ในขณะที่ปี 2547 GDPไทยขยายตัวที่ประมาณร้อยละ 6.3 และปี 2549 คาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 4.7-5.7
2. ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกสำคัญอันดับที่ 23 ของโลก ในปี 2547 มีสัดส่วนการส่งออกประมาณร้อยละ 1.13 ของการส่งออกรวมในตลาดโลก ปี 2546 (ไทยอยู่อันดับที่ 23 สัดส่วนร้อยละ 1.16)
3. ประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าสำคัญอันดับที่ 23 ของโลก ของปี 2547 มีสัดส่วนการนำเข้าประมาณร้อยละ 1.66 ของการนำเข้าในตลาดโลก
4. การค้าของไทยในเดือน ม.ค.-พ.ย. 2548 มีมูลค่า 210,071.75 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.31 แยกเป็นการส่งออกมูลค่า 101,437.01 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.18 การนำเข้ามีมูลค่า 108,634.74 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.53 ไทยเสียเปรียบดุลการค้า เป็นมูลค่า 7,197.73 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
5. กระทรวงพาณิชย์ได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกในปี 2548 ที่มูลค่า 115,837 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 การส่งออกเดือน ม.ค.-พ.ย. 2548 มีมูลค่า 101,437.01 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.18 หรือคิดเป็นร้อยละ 87.56 ของเป้าหมายการ ส่งออก
6. สินค้าส่งออกสำคัญ 50 อันดับแรกซึ่งมีสัดส่วนรวมกันร้อยละ 83.67 ของมูลค่าการส่งออกเดือน ม.ค.-พ.ย. 2548 ในจำนวนนี้มีสินค้าซึ่งมีมูลค่าการส่งออกเปลี่ยนแปลงสูง ดังนี้
- ทองแดงและของทำด้วยทองแดง, รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ,เม็ดพลาสติก และไก่แปรรูป เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.10 ,43.80,35.22 และ 34.67 ตามลำดับ
7. ตลาดส่งออกสำคัญ 50 อันดับแรก สัดส่วนรวมกันร้อยละ 95.76 ของมูลค่าการส่งออก เดือน ม.ค.-พ.ย. 2548 ตลาดที่มีมูลค่าการส่งออกเปลี่ยนแปลงสูง มีดังนี้
- เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 100 มี 1 ตลาด ได้แก่ อาร์เจนตินา โดยมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 239.25
- เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 50 มี 5 ตลาด ได้แก่ อินเดีย ซาอุดิอาระเบีย ตุรกี นิวซีแลนด์ และสาธารณรัฐเช็ก โดยมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 62.98, 60.08,65.46,68.01 และ 66.50 ตามลำดับ
8. การนำเข้า
8.1 สินค้านำเข้ามีสัดส่วนโครงสร้างดังนี้
- สินค้าเชื้อเพลิง สัดส่วนร้อยละ 17.76 เพิ่มขึ้นร้อยละ 65.23
- สินค้าทุน สัดส่วนร้อยละ 28.41 เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.64
- สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สัดส่วนร้อยละ 42.56 เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.57
- สินค้าบริโภค สัดส่วนร้อยละ 6.63 เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.21
- สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง สัดส่วนร้อยละ 3.42 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.52
- สินค้าอื่นๆ สัดส่วนร้อยละ 1.22 เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.05
8.2 แหล่งนำเข้าสำคัญ 10 อันดับแรก
มีสัดส่วนรวมกันร้อยละ 68.28 ของมูลค่าการนำเข้าเดือน พ.ย. 2548 ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ซาอุดีอาระเบีย เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย สัดส่วนร้อยละ 22.04, 9.36, 7.30, 6.85, 4.87, 4.54, 3.80, 3.43, 3.29 และ 2.80 โดยมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 15.35, 36.32, 18.96, 44.66, 63.29, 27.51 11.45, 88.75, 7.31 และ 60.11 ตามลำดับ
9. ข้อคิดเห็น
9.1 ธนาคารโลกได้คาดการณ์และให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจของเอเซียว่าจะมีอัตราการเจริญเติบโตอย่างแข็งแกร่งโดยมีจีนและอินเดียเป็นกลไกขับเคลื่อนสำคัญ อาเซียนจะได้อานิสงส์จากการเติบโตอย่างรวดเร็วของจีน อาเซียนสามารถเพิ่มสัดส่วนการค้าภายในภูมิภาคได้มากขึ้นและจะเป็นทางเลือกสำคัญหากตลาดหลักโดยเฉพาะสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรปซบเซาลงไปและนอกจากนี้การลงทุนจากต่างประเทศกำลังไหลกลับเข้ามาอาเซียนมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากการลงทุนในจีนจึงทำให้เศรษฐกิจการค้าของอาเซียนโดยรวมมีภาวะสดใสทุกประเทศในปี 2549
9.2 การส่งออกของไทยในช่วงไตรมาส 4 ปี 2548 มีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่องโดยเฉพาะการส่งออกสินค้าในกลุ่มอาหาร อิเล็กทรอนิคส์ ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ยางและอื่นๆ เป็นต้น ในปี 2549 คาดว่าเศรษฐกิจของญี่ปุ่นและสหภาพยุโรปมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นรวมทั้งเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ยังสามารถขยายตัวในระดับแข็งแกร่งแม้จะได้รับผลกระทบจากพายุเฮอร์ริเคน จึงช่วยให้การส่งออกสินค้าจากเอเซียรวมทั้งประเทศไทยมีความสดใสต่อไปเพราะทั้งสามเป็นตลาดส่งออกหลักของภูมิภาค
9.3 ภาวะการส่งออกสินค้าไทยไปยังภูมิภาค (Regional) ต่างๆ ในช่วง ม.ค.-พ.ย. 2548 ที่เป็นตลาดเป้าหมายสำคัญขยายตัวต่อเนื่อง
- สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 15.44 มูลค่า 15,657.84 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.40 สินค้าส่งออกไปสหรัฐ เพิ่มขึ้นในอัตราสูงมีหลายรายการ เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์ยาง กุ้ง ผลิตภัณฑ์พลาสติก เม็ดพลาสติก เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล ปูนซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์เซรามิกและเคมีภัณฑ์ เป็นต้น
ในด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของสหรัฐฯ ในช่วง ม.ค.-ต.ค. 2548 มีมูลค่า 1,377.760.22 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.10 ในขณะที่นำเข้าจากมาเลเซียอันดับที่ 11 สัดส่วนร้อยละ 2.01 มูลค่า 27,706.50 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.90
-สหภาพยุโรป เป็นตลาดส่งออกสำคัญที่มีสัดส่วนร้อยละ 12.89 มูลค่า 13,073.63 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 3.99 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ขยายตัวเพียงร้อยละ 1.4 ในปี 2548 และประกอบกับสินค้าไทยส่งออกไปสหภาพยุโรปบางรายการลดลงในอัตราสูงเช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ลดลงร้อยละ 12.42 และ 73.01 ตามลำดับ ส่วนสินค้าอื่นที่มีอัตราการขยายตัวลดลงเนื่องจากประสบภาวะการแข่งขันสูงกับประเทศคู่แข่งขันมีหลายรายการเช่น อัญมณีและเครื่องประดับ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและชิ้นส่วน เป็นต้น
ในปี 2549 คาดว่าจะสามารถขยายการส่งออกไปตลาดนี้ได้เพิ่มขี้นเพราะภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้กำลังจะฟื้นตัวดีขึ้น ซึ่งคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.4 ในปี 2549 จากร้อยละ 1.1 ของประมาณการปี 2548
- จีน เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 3 สัดส่วนร้อยละ 8.17 หรือมูลค่า 8,284.86 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.61 (เป็นตลาดที่มีข้อตกลงเขตการค้าเสรี) สินค้าสำคัญส่งออกไปจีนซึ่งมีมูลค่าเพิ่มขึ้นในอัตราสูงได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก น้ำมันดิบ แผงวงจรไฟฟ้า เหล็ก เหล็กกว้างและผลิตภัณฑ์ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เป็นต้น
สำหรับสินค้าผักผลไม้ ซึ่งเป็นสินค้าภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีสามารถส่งออกไปจีนได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยในช่วง ม.ค.-พ.ย. 2548 มีมูลค่าส่งออกไป 92.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.04 ผลไม้ส่งออกไปจีนส่วนใหญ่ได้แก่ ลำไยสดและแห้ง ทุเรียน มังคุดและอื่นๆ สังเกตได้จากสถิติดังแนบ
แนวโน้มการส่งออกสินค้าไทยไปจีนในปี 2549 คาดว่าจะสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ในด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของจีนในช่วง ม.ค.-ต.ค. มีมูลค่า 534,138.52 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.86 นำเข้าจากไทยอันดับที่ 11 มูลค่า 11,276. 79 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.70 ขณะที่นำเข้าจากสิงคโปร์และมาเลเซียอันดับที่ 7 และ 8 ด้วยสัดส่วนร้อยละ 3.02 และ 2.51 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.41 และ 19.15 ตามลำดับ
- ญี่ปุ่น เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 2 มีสัดส่วนร้อยละ 13.77 มูลค่า 13,965.30 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.21 สินค้าสำคัญส่งออกไปญี่ปุ่นที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นในอัตราสูงได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า ไก่แปรรูป เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก เครื่องตัดต่อและป้องกันวงจรไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูปและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์เซรามิก เครื่องสำอาง และเนื้อสัตว์แปรรูปเป็นต้น
การส่งออกไปตลาดญี่ปุ่นในปี 2549 คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเพราะภาวะเศรษฐกิจของประเทศนี้อยู่ในภาวะฟื้นตัวดีขึ้น
ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของญี่ปุ่นในช่วง ม.ค.-ต.ค. มีมูลค่า 424,833.86 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.49 นำเข้าจากไทยอันดับที่ 10 สัดส่วนร้อยละ 3.05 มูลค่า 12,975.17 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.56 ในขณะที่นำเข้าจากอินโดนีเซียอันดับที่ 7 สัดส่วนร้อยละ 4.07 มูลค่า 17,285.43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.46
- อินเดีย เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 16 มีสัดส่วนการส่งออกไปตลาดนี้ร้อยละ 1.33 มูลค่า 1,350.73 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 62.98 สินค้าสำคัญส่งออกไปอินเดียที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นในอัตราสูงได้แก่ เม็ดพลาสติก เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูปและส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ หลอดภาพโทรทัศน์สี เป็นต้น
การส่งออกไปตลาดนี้ในปี 2549 คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะสินค้าไทยเป็นที่ยอมรับในตลาดผู้บริโภค
ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของอินเดียในช่วง ม.ค.-ก.ค. 2548 มีมูลค่า 73,551.488 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.09 นำเข้าจากไทยอันดับที่ 23 สัดส่วนร้อยละ 0.81 มูลค่า 593.474 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.36 ในขณะที่การนำเข้าจากสิงคโปร์ อินโดนีเซียและมาเลเซีย อยู่ในอันดับที่ 12, 14 และ 15 สัดส่วนร้อยละ 2.22,1.91 และ 1.70 ตามลำดับ และมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 25.75,0.65 และ 4.94 ตามลำดับ
- อาเซียน (10) เป็นตลาดส่งออกสำคัญที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องโดยมีสัดส่วนการส่งออกไปตลาดนี้ร้อยละ 20.87 มูลค่า 22,179.68 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.33 สินค้าสำคัญส่งออกไปอาเซียนที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นในอัตราสูงได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ปูนซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ เป็นต้น
การส่งออกสินค้าไทยไปอาเซียนในปี 2549 คาดว่าจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
- ออสเตรเลีย เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 8 (เป็นตลาดที่มีข้อตกลงเขตการค้าเสรี) มีสัดส่วนร้อยละ 2.90 มูลค่า 2.942.02 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.95 สินค้าไทยสำคัญส่งออกไปออสเตรเลียที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นสูงได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล้ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ กระดาษ เครื่องสำอาง เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ ข้าว อาหารสัตว์เลี้ยง เคมีภัณฑ์ เครืองซักผ้า หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ เป็นต้น
แนวโน้มการส่งออกสินค้าไทยไปออสเตรเลียปี 2549 คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของออสเตรเลียในช่วง ม.ค.-ต.ค. 2548 มีมูลค่า 97,420.26 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.10 นำเข้าจากไทยอันดับที่ 10 สัดส่วนร้อยละ 3.08 มูลค่า 3,001.01 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.71 ในขณะที่นำเข้าจากสิงคโปร์ มาเลเซีย อยู่ในอันดับที่ 5 และ 7 สัดส่วนร้อยละ 5.30 และ 4.02 เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.51 และ 17.90 ตามลำดับ
- นิวซีแลนด์ เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 32 สัดส่วนร้อยละ 0.47 มูลค่า 479.12 เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.01 สินค้าส่งออกไปนิวซีแลนด์ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นในอัตราสูงได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องสำอาง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ กระดาษ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารสัตว์เลี้ยง เป็นต้น
แนวโน้มการส่งออกสินค้าไทยไปนิวซีแลนด์ในปี 2549 คาดว่าจะขยายตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง
ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกในช่วง ม.ค.-ต.ค. 2548 มีมูลค่า 21,550.67 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.36 นำเข้าจากไทยอันดับที่ 12 สัดส่วนร้อยละ 2.49 มูลค่า 535.71 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.54 ขณะที่การนำเข้าจากสิงคโปร์ และมาเลเซีย อยู่อันดับที่ 6 และ 10 สัดส่วนร้อยละ 3.30 และ 2.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.52 และ 17.96 ตามลำดับ
ที่มา: http://www.depthai.go.th