ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ชมรมบัตรเครดิตหารือ ธปท.เพื่อขอความชัดเจนเกี่ยวกับการกำกับธุรกิจบัตรเครดิต ผู้อำนวย
การฝ่ายบัตรเครดิต ธ.กสิกรไทย เปิดเผยว่า วันนี้ (26 ก.พ.47) คณะกรรมการชมรมธุรกิจบัตรเครดิตจะ
เข้าพบ นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อขอความชัดเจนและแลก
เปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทางการกำกับธุรกิจบัตรเครดิต หลังจากที่ ธปท.เป็นห่วงการดำเนินธุรกิจบัตร
เครดิตและหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) รวมถึงการก่อหนี้ภาคเอกชนที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
โดยรวมของประเทศ ในการเข้าพบครั้งนี้ทางชมรมจะหารือใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1) ทิศทางการกำกับธุรกิจ
บัตรเครดิตที่ต้องการให้เป็นไปในทิศทางเดียว 2) หากจะเปลี่ยนแปลงทิศทางกำกับดูแลควรจะดำเนินการใน
ช่วงปลายปี เนื่องจากอยู่ระหว่างการพิจารณากำหนดนโยบายธุรกิจในปีถัดไป และ 3) ทางการควรกำหนด
ระยะเวลาที่เหมาะสมเพื่อการปรับตัวตามกฎเกณฑ์ใหม่ (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
2. สศค.ปรับเพิ่มอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นร้อยละ 7.7-8.1 ต่อปี รองผู้อำนวยการ
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษก สศค. เปิดเผยว่า สศค.ได้ประเมินสถานการณ์
เศรษฐกิจปี 47 และปรับเพิ่มอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.5-8.3 เป็นร้อยละ
7.7-8.1 ต่อปี โดยมีการบริโภคและการลงทุนเป็นปัจจัยสำคัญ อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ
2.4 ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุลร้อยละ 1.7 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ลดลงจากปี 46 เนื่องจาก
การนำเข้าเพิ่มขึ้นตามอุปสงค์ภายในประเทศ ส่วนทุนสำรอง ณ สิ้นปี มีจำนวน 40 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.
ตามนโยบายชำระหนี้ต่างประเทศของรัฐบาล (ข่าวสด, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
3. รัฐบาลเตรียมขอกู้เงินเพิ่มเติมจาก ธ.นครหลวงไทย และ ธ.กรุงไทยรวม 8,000 ล้านบาท
เพื่อตรึงราคาน้ำมัน รมว.ก.พลังงาน เปิดเผยว่า หลังจากที่รัฐบาลมีนโยบายตรึงราคาน้ำมันโดยนำเงินกอง
ทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าชดเชยในส่วนที่เกินเพดานราคาที่รัฐกำหนดไว้ ขณะนี้ได้ใช้เงินจากกองทุนไปแล้วกว่า
2,400 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ราคาน้ำมันขณะนี้ถือว่ายังอยู่ในอัตราที่ค่อนข้างสูง ดังนั้น รัฐบาลก็
ยังคงมีนโยบายในการตรึงราคาต่อไป ส่วนเงินที่นำมาชดเชยนั้นทางรัฐบาลได้มีการเจรจากู้เพิ่มเติมจาก ธ.
นครหลวงไทยและ ธ.กรุงไทยแห่งละ 4,000 ล้านบาท รวม 8,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.5
และยังมีส่วนของ ธ.ออมสินที่เคยเบิกวงเงินล่วงหน้า (โอดี) อีก 8,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.5
ซึ่งหากเงินกองทุนหมดจริง อาจเลือกพิจารณากู้เงินจาก ธ.นครหลวงไทยและ ธ.กรุงไทย เนื่องจากอัตรา
ดอกเบี้ยต่ำกว่า (โลกวันนี้, ข่าวสด)
4. ก.ล.ต.ตั้งคณะทำงานวินัยกรรมการเพื่อติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการ บจ. สำนักงาน
คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แต่งตั้ง “คณะทำงานวินัยกรรมการ”
(Director Responsibilities Steering Group) ซึ่งมีบทบาทสำคัญติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของ
กรรมการบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ให้มีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อบริษัทและผู้ถือหุ้นโดยรวมอย่างแท้
จริง ทั้งนี้คณะทำงานชุดนี้จะมีหน้าที่พิจารณาและเสนอแนะ ก.ล.ต.เพื่อดำเนินการกับกรรมการบริษัทจด
ทะเบียนที่ไม่ปฏิบัติหน้าที่ หรือมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม (ผู้จัดการรายวัน)
5. ไทยกำหนดยุทธศาสตร์การทำเอฟทีเอสำหรับสินค้า 4 หมวด รองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด
จาตุศรีพิทักษ์) เปิดเผยระหว่างการประชุมระดมความคิดด้านยุทธศาสตร์การจัดทำเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ)
ของไทยว่า ขณะนี้ไทยมีทางเลือกเกี่ยวกับการทำเอฟทีเอ 2 ทาง คือ 1) ต่อต้านและปิดประเทศ และ 2)
ใช้วิธีเชิงรุกแทนการตั้งรับ ซึ่งไทยเตรียมยื่นข้อเสนอกับประเทศอื่น ๆ ด้วยการเดินหน้าการทำเอฟทีเอกับ
ประเทศอื่น ๆ อย่างจริงจังมากขึ้น ทั้งนี้ ไทยได้กำหนดยุทธศาสตร์รายสาขาสำหรับสินค้า 4 หมวด คือ 1)
สินค้าเกษตร 2) สินค้าอุตสาหกรรม 3) การค้าบริการ และ 4) ด้านทรัพย์สินทางปัญญา (โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดขายบ้านสำเร็จรูปของ สรอ.ในเดือน ม.ค.47 ลดลงร้อยละ 5.2 เทียบต่อเดือน
รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 25 ก.พ.47 The National Association of Realtors เปิดเผยว่า ยอด
การขายบ้านสำเร็จรูปของ สรอ.ในเดือน ม.ค.47 มีจำนวน 6.04 ล้านหลัง ลดลงจาก 6.37 ล้านหลังใน
เดือน ธ.ค.46 หรือลดลงร้อยละ 5.2 ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะมีจำนวน 6.28 ล้านหลัง ซึ่งนัก
วิเคราะห์มองว่ายังคงสะท้อนภาพตลาดที่อยู่อาศัยที่แข็งแกร่ง ทั้งนี้ การลดลงของยอดขายบ้านสำเร็จรูป มี
สาเหตุจากการชะลอการออกสำรวจเพื่อหาบ้านของประชาชนในเขตตอนเหนือของประเทศเนื่องจากเป็นช่วง
ฤดูหนาว สำหรับยอดขายบ้านสำเร็จรูปเฉลี่ยทั้งปี 46 เพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุด 6.1 ล้านหลัง เป็นผลจากการที่
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองเคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำ ในส่วนของบ้านที่มีอยู่พร้อมขายในเดือน ม.ค.47 มีจำนวน
2.2 ล้านหลัง ลดลงร้อยละ 4.3 เทียบต่อเดือน (รอยเตอร์)
2. จีดีพีของอังกฤษปี 2546 มีอัตราการเติบโต 2.3% รายงานจากลอนดอนเมื่อวันที่ 25 ก.พ.47
สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษ เปิดเผยว่า ได้ปรับประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจของอังกฤษในปี 2546
ว่ามีอัตราการเติบโต 2.3% สูงกว่าที่ประมาณการไว้ครั้งแรก โดยไตรมาสสุดท้ายของปี 46 จีดีพีไม่เปลี่ยน
แปลงอยู่ที่ระดับ 0.9% เทียบต่อไตรมาส แต่หากเทียบต่อปีอยู่ที่ 2.8% ซึ่งเป็นระดับเทียบต่อปีที่สูงที่สุดนับตั้งแต่
ไตรมาส 4 ปี 2543 รวมทั้งสูงกว่าระดับ 2.5% ที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนก่อน ทั้งนี้ ได้มีการปรับตัวเลข
ประมาณการเพิ่มขึ้นในการส่งออกภาคบริการ โทรคมนาคม ประกันภัยและธุรกิจบริการอื่น และการใช้จ่ายใน
ครัวเรือน (รอยเตอร์)
3. ยอดขายปลีกของญี่ปุ่นในเดือน ม.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เทียบต่อปี รายงานจาก
โตเกียวเมื่อ 26 ก.พ.47 ก.เศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (METI) ของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ยอดขาย
ปลีกของญี่ปุ่นในเดือน ม.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เทียบต่อปี และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 เทียบต่อเดือน แตก
ต่างจากการที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจะลดลงร้อยละ 0.9 เทียบต่อปี ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของยอดขายปลีก เป็น
ผลจากยอดขายรถยนต์และเสื้อผ้าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 และ 2.5 เทียบต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ ยอดขาย
ปลีกที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว สะท้อนว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้กระจายไปสู่การบริโภคส่วนบุคคล ซึ่งเป็นปัจจัย
สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจในสัดส่วนเกินกว่าครึ่ง สำหรับยอดขายของร้านค้าขนาดใหญ่ และห้าง
สรรพสินค้า (ไม่รวมร้านเปิดใหม่) ในเดือน ม.ค.47 ลดลงร้อยละ 2.1 และ 0.3 ตามลำดับ ขณะที่ยอด
ขายส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นในสินค้าประเภทเคมีภัณฑ์ เครื่องจักร และ
อาหารและเครื่องดื่ม (รอยเตอร์)
4. เศรษฐกิจมาเลเซียในไตรมาสที่ 4 ปี 46 ขยายตัวเร็วที่สุดในรอบ 3 ปี รายงานจากกัวลา
ลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 25 ก.พ. 47 ธ.กลางมาเลเซียเปิดเผยว่าในไตรมาสที่ 4 ปี 46 เศรษฐกิจมาเลเซีย
เติบโตร้อยละ 6.4 จากช่วงเดียวกันปี 45 สูงกว่าประเทศสิงคโปร์และฟิลิปปินส์ที่เศรษฐกิจเติบโตเพียงร้อยละ
3.7 และร้อยละ 4.5 ตามลำดับ และสูงกว่าผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ของรอยเตอร์ที่คาดว่าจะขยายตัว
ร้อยละ 5.7 นับเป็นการเติบโตเร็วที่สุดในรอบ 3 ปีและเป็นไตรมาสที่เศรษฐกิจขยายตัวสูงสุดนับตั้งแต่ไตร
มาสที่ 4 ปี43 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.7 จากระยะเดียวกันปี 42 โดยมีอุปสงค์จากทั่วโลกและการใช้จ่ายภาค
เอกชนเป็นส่วนช่วยสนับสนุน รวมทั้งการส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง นอกจากนั้นภาคอุตสาหกรรมการผลิต
ซึ่งมีสัดส่วนถึง 1 ใน 3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในไตรมาสที่ 4 ปี 46 เติบโตถึงร้อยละ 12.0 จาก
ช่วงเดียวกันปี 45 ทั้งนี้เศรษฐกิจทั้งปี 46 ของมาเลเซียขยายตัวร้อยละ 5.2 จากที่ขยายตัวร้อยละ 4.2 ในปี
45 (รอยเตอร์)
5. แนวโน้มเศรษฐกิจสิงคโปร์สดใสหลังจากขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในไตรมาสที่ 4 ปี 46
รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 26 ก.พ. 47 รัฐบาลสิงคโปร์เปิดเผยว่าในช่วงไตรมาสที่ 4 ปีที่แล้ว
เศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัวร้อยละ 16.1 ชะลอลงจากไตรมาสที่ 3 และเป็นการขยายตัวอย่างรวดเร็วนับ
ตั้งแต่ปี 40 ที่สิงคโปร์ฟื้นตัวจากปัญหาโรค SARS ที่ทำความสูญเสียถึง 90 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. และทั้งปี
46 เศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัวร้อยละ 1.1 ดีกว่าที่คาดไว้ว่าจะเติบโตเพียงร้อยละ 0.8 แต่เป็นอัตราการ
ขยายตัวต่ำสุดในบรรดาประเทศเพื่อนบ้านแถบเอเซีย อย่างไรก็ตามรัฐบาลสิงคโปร์ตั้งเป้าหมายว่าปี 47
เศรษฐกิจจะเติบโตอย่างแข็งแกร่งที่สุดในรอบ 4 ปีโดยภาคอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์และยาที่
เพิ่มขึ้นอย่างมาก นอกจากนั้นยังได้ปรับเพิ่มประมาณการณ์เติบโตทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในปี 47 อยู่ในช่วง
ระหว่างร้อยละ 3.5 — 5.5 จากเดิมระหว่างร้อยละ 3.0 — 5.0 แต่คาดว่าการระบาดของโรคไข้หวัดนกมี
ส่วนทำให้การท่องเที่ยวและการลงทุนในภูมิภาคเอเชียลดลง (รอยเตอร์)
6. ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้เดือน ม.ค.47 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย รายงาน
จากกรุงโซลเมื่อวันที่ 25 ก.พ.47 จากการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ จำนวน 10 คน ของรอยเตอร์คาดว่า
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ในเดือน ม.ค. มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ระดับร้อยละ 0.5
เทียบกับที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 2.7 ในเดือน ธ.ค.46 สาเหตุจากความอ่อนแอในภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ แต่ก็
ถูกชดเชยด้วยความต้องการจากต่างประเทศในสินค้าอุตสาหกรรมประเภทชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่าง ๆ โดย
เฉพาะอย่างยิ่งจากจีน อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์มีความเห็นว่าการชะลอตัวของตัวเลขดังกล่าวไม่ได้ส่งผล
กระทบร้ายแรงต่อแนวโน้มเศรษฐกิจขาขึ้นของเกาหลีใต้ ทั้งนี้ เพราะการฟื้นตัวของการบริโภคภายในประเทศ
ยังเป็นไปด้วยดี รวมทั้งการส่งออกและภาคบริการก็ค่อย ๆ ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน อนึ่ง สำนักงาน
สถิติแห่งชาติของเกาหลีใต้จะประกาศตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมอย่างเป็นทางการในวันศุกร์นี้ (27 ก.พ.)
(รอยเตอร์)
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ชมรมบัตรเครดิตหารือ ธปท.เพื่อขอความชัดเจนเกี่ยวกับการกำกับธุรกิจบัตรเครดิต ผู้อำนวย
การฝ่ายบัตรเครดิต ธ.กสิกรไทย เปิดเผยว่า วันนี้ (26 ก.พ.47) คณะกรรมการชมรมธุรกิจบัตรเครดิตจะ
เข้าพบ นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อขอความชัดเจนและแลก
เปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทางการกำกับธุรกิจบัตรเครดิต หลังจากที่ ธปท.เป็นห่วงการดำเนินธุรกิจบัตร
เครดิตและหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) รวมถึงการก่อหนี้ภาคเอกชนที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
โดยรวมของประเทศ ในการเข้าพบครั้งนี้ทางชมรมจะหารือใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1) ทิศทางการกำกับธุรกิจ
บัตรเครดิตที่ต้องการให้เป็นไปในทิศทางเดียว 2) หากจะเปลี่ยนแปลงทิศทางกำกับดูแลควรจะดำเนินการใน
ช่วงปลายปี เนื่องจากอยู่ระหว่างการพิจารณากำหนดนโยบายธุรกิจในปีถัดไป และ 3) ทางการควรกำหนด
ระยะเวลาที่เหมาะสมเพื่อการปรับตัวตามกฎเกณฑ์ใหม่ (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
2. สศค.ปรับเพิ่มอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นร้อยละ 7.7-8.1 ต่อปี รองผู้อำนวยการ
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษก สศค. เปิดเผยว่า สศค.ได้ประเมินสถานการณ์
เศรษฐกิจปี 47 และปรับเพิ่มอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.5-8.3 เป็นร้อยละ
7.7-8.1 ต่อปี โดยมีการบริโภคและการลงทุนเป็นปัจจัยสำคัญ อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ
2.4 ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุลร้อยละ 1.7 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ลดลงจากปี 46 เนื่องจาก
การนำเข้าเพิ่มขึ้นตามอุปสงค์ภายในประเทศ ส่วนทุนสำรอง ณ สิ้นปี มีจำนวน 40 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.
ตามนโยบายชำระหนี้ต่างประเทศของรัฐบาล (ข่าวสด, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
3. รัฐบาลเตรียมขอกู้เงินเพิ่มเติมจาก ธ.นครหลวงไทย และ ธ.กรุงไทยรวม 8,000 ล้านบาท
เพื่อตรึงราคาน้ำมัน รมว.ก.พลังงาน เปิดเผยว่า หลังจากที่รัฐบาลมีนโยบายตรึงราคาน้ำมันโดยนำเงินกอง
ทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าชดเชยในส่วนที่เกินเพดานราคาที่รัฐกำหนดไว้ ขณะนี้ได้ใช้เงินจากกองทุนไปแล้วกว่า
2,400 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ราคาน้ำมันขณะนี้ถือว่ายังอยู่ในอัตราที่ค่อนข้างสูง ดังนั้น รัฐบาลก็
ยังคงมีนโยบายในการตรึงราคาต่อไป ส่วนเงินที่นำมาชดเชยนั้นทางรัฐบาลได้มีการเจรจากู้เพิ่มเติมจาก ธ.
นครหลวงไทยและ ธ.กรุงไทยแห่งละ 4,000 ล้านบาท รวม 8,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.5
และยังมีส่วนของ ธ.ออมสินที่เคยเบิกวงเงินล่วงหน้า (โอดี) อีก 8,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.5
ซึ่งหากเงินกองทุนหมดจริง อาจเลือกพิจารณากู้เงินจาก ธ.นครหลวงไทยและ ธ.กรุงไทย เนื่องจากอัตรา
ดอกเบี้ยต่ำกว่า (โลกวันนี้, ข่าวสด)
4. ก.ล.ต.ตั้งคณะทำงานวินัยกรรมการเพื่อติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการ บจ. สำนักงาน
คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แต่งตั้ง “คณะทำงานวินัยกรรมการ”
(Director Responsibilities Steering Group) ซึ่งมีบทบาทสำคัญติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของ
กรรมการบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ให้มีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อบริษัทและผู้ถือหุ้นโดยรวมอย่างแท้
จริง ทั้งนี้คณะทำงานชุดนี้จะมีหน้าที่พิจารณาและเสนอแนะ ก.ล.ต.เพื่อดำเนินการกับกรรมการบริษัทจด
ทะเบียนที่ไม่ปฏิบัติหน้าที่ หรือมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม (ผู้จัดการรายวัน)
5. ไทยกำหนดยุทธศาสตร์การทำเอฟทีเอสำหรับสินค้า 4 หมวด รองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด
จาตุศรีพิทักษ์) เปิดเผยระหว่างการประชุมระดมความคิดด้านยุทธศาสตร์การจัดทำเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ)
ของไทยว่า ขณะนี้ไทยมีทางเลือกเกี่ยวกับการทำเอฟทีเอ 2 ทาง คือ 1) ต่อต้านและปิดประเทศ และ 2)
ใช้วิธีเชิงรุกแทนการตั้งรับ ซึ่งไทยเตรียมยื่นข้อเสนอกับประเทศอื่น ๆ ด้วยการเดินหน้าการทำเอฟทีเอกับ
ประเทศอื่น ๆ อย่างจริงจังมากขึ้น ทั้งนี้ ไทยได้กำหนดยุทธศาสตร์รายสาขาสำหรับสินค้า 4 หมวด คือ 1)
สินค้าเกษตร 2) สินค้าอุตสาหกรรม 3) การค้าบริการ และ 4) ด้านทรัพย์สินทางปัญญา (โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดขายบ้านสำเร็จรูปของ สรอ.ในเดือน ม.ค.47 ลดลงร้อยละ 5.2 เทียบต่อเดือน
รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 25 ก.พ.47 The National Association of Realtors เปิดเผยว่า ยอด
การขายบ้านสำเร็จรูปของ สรอ.ในเดือน ม.ค.47 มีจำนวน 6.04 ล้านหลัง ลดลงจาก 6.37 ล้านหลังใน
เดือน ธ.ค.46 หรือลดลงร้อยละ 5.2 ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะมีจำนวน 6.28 ล้านหลัง ซึ่งนัก
วิเคราะห์มองว่ายังคงสะท้อนภาพตลาดที่อยู่อาศัยที่แข็งแกร่ง ทั้งนี้ การลดลงของยอดขายบ้านสำเร็จรูป มี
สาเหตุจากการชะลอการออกสำรวจเพื่อหาบ้านของประชาชนในเขตตอนเหนือของประเทศเนื่องจากเป็นช่วง
ฤดูหนาว สำหรับยอดขายบ้านสำเร็จรูปเฉลี่ยทั้งปี 46 เพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุด 6.1 ล้านหลัง เป็นผลจากการที่
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองเคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำ ในส่วนของบ้านที่มีอยู่พร้อมขายในเดือน ม.ค.47 มีจำนวน
2.2 ล้านหลัง ลดลงร้อยละ 4.3 เทียบต่อเดือน (รอยเตอร์)
2. จีดีพีของอังกฤษปี 2546 มีอัตราการเติบโต 2.3% รายงานจากลอนดอนเมื่อวันที่ 25 ก.พ.47
สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษ เปิดเผยว่า ได้ปรับประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจของอังกฤษในปี 2546
ว่ามีอัตราการเติบโต 2.3% สูงกว่าที่ประมาณการไว้ครั้งแรก โดยไตรมาสสุดท้ายของปี 46 จีดีพีไม่เปลี่ยน
แปลงอยู่ที่ระดับ 0.9% เทียบต่อไตรมาส แต่หากเทียบต่อปีอยู่ที่ 2.8% ซึ่งเป็นระดับเทียบต่อปีที่สูงที่สุดนับตั้งแต่
ไตรมาส 4 ปี 2543 รวมทั้งสูงกว่าระดับ 2.5% ที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนก่อน ทั้งนี้ ได้มีการปรับตัวเลข
ประมาณการเพิ่มขึ้นในการส่งออกภาคบริการ โทรคมนาคม ประกันภัยและธุรกิจบริการอื่น และการใช้จ่ายใน
ครัวเรือน (รอยเตอร์)
3. ยอดขายปลีกของญี่ปุ่นในเดือน ม.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เทียบต่อปี รายงานจาก
โตเกียวเมื่อ 26 ก.พ.47 ก.เศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (METI) ของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ยอดขาย
ปลีกของญี่ปุ่นในเดือน ม.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เทียบต่อปี และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 เทียบต่อเดือน แตก
ต่างจากการที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจะลดลงร้อยละ 0.9 เทียบต่อปี ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของยอดขายปลีก เป็น
ผลจากยอดขายรถยนต์และเสื้อผ้าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 และ 2.5 เทียบต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ ยอดขาย
ปลีกที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว สะท้อนว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้กระจายไปสู่การบริโภคส่วนบุคคล ซึ่งเป็นปัจจัย
สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจในสัดส่วนเกินกว่าครึ่ง สำหรับยอดขายของร้านค้าขนาดใหญ่ และห้าง
สรรพสินค้า (ไม่รวมร้านเปิดใหม่) ในเดือน ม.ค.47 ลดลงร้อยละ 2.1 และ 0.3 ตามลำดับ ขณะที่ยอด
ขายส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นในสินค้าประเภทเคมีภัณฑ์ เครื่องจักร และ
อาหารและเครื่องดื่ม (รอยเตอร์)
4. เศรษฐกิจมาเลเซียในไตรมาสที่ 4 ปี 46 ขยายตัวเร็วที่สุดในรอบ 3 ปี รายงานจากกัวลา
ลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 25 ก.พ. 47 ธ.กลางมาเลเซียเปิดเผยว่าในไตรมาสที่ 4 ปี 46 เศรษฐกิจมาเลเซีย
เติบโตร้อยละ 6.4 จากช่วงเดียวกันปี 45 สูงกว่าประเทศสิงคโปร์และฟิลิปปินส์ที่เศรษฐกิจเติบโตเพียงร้อยละ
3.7 และร้อยละ 4.5 ตามลำดับ และสูงกว่าผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ของรอยเตอร์ที่คาดว่าจะขยายตัว
ร้อยละ 5.7 นับเป็นการเติบโตเร็วที่สุดในรอบ 3 ปีและเป็นไตรมาสที่เศรษฐกิจขยายตัวสูงสุดนับตั้งแต่ไตร
มาสที่ 4 ปี43 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.7 จากระยะเดียวกันปี 42 โดยมีอุปสงค์จากทั่วโลกและการใช้จ่ายภาค
เอกชนเป็นส่วนช่วยสนับสนุน รวมทั้งการส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง นอกจากนั้นภาคอุตสาหกรรมการผลิต
ซึ่งมีสัดส่วนถึง 1 ใน 3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในไตรมาสที่ 4 ปี 46 เติบโตถึงร้อยละ 12.0 จาก
ช่วงเดียวกันปี 45 ทั้งนี้เศรษฐกิจทั้งปี 46 ของมาเลเซียขยายตัวร้อยละ 5.2 จากที่ขยายตัวร้อยละ 4.2 ในปี
45 (รอยเตอร์)
5. แนวโน้มเศรษฐกิจสิงคโปร์สดใสหลังจากขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในไตรมาสที่ 4 ปี 46
รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 26 ก.พ. 47 รัฐบาลสิงคโปร์เปิดเผยว่าในช่วงไตรมาสที่ 4 ปีที่แล้ว
เศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัวร้อยละ 16.1 ชะลอลงจากไตรมาสที่ 3 และเป็นการขยายตัวอย่างรวดเร็วนับ
ตั้งแต่ปี 40 ที่สิงคโปร์ฟื้นตัวจากปัญหาโรค SARS ที่ทำความสูญเสียถึง 90 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. และทั้งปี
46 เศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัวร้อยละ 1.1 ดีกว่าที่คาดไว้ว่าจะเติบโตเพียงร้อยละ 0.8 แต่เป็นอัตราการ
ขยายตัวต่ำสุดในบรรดาประเทศเพื่อนบ้านแถบเอเซีย อย่างไรก็ตามรัฐบาลสิงคโปร์ตั้งเป้าหมายว่าปี 47
เศรษฐกิจจะเติบโตอย่างแข็งแกร่งที่สุดในรอบ 4 ปีโดยภาคอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์และยาที่
เพิ่มขึ้นอย่างมาก นอกจากนั้นยังได้ปรับเพิ่มประมาณการณ์เติบโตทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในปี 47 อยู่ในช่วง
ระหว่างร้อยละ 3.5 — 5.5 จากเดิมระหว่างร้อยละ 3.0 — 5.0 แต่คาดว่าการระบาดของโรคไข้หวัดนกมี
ส่วนทำให้การท่องเที่ยวและการลงทุนในภูมิภาคเอเชียลดลง (รอยเตอร์)
6. ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้เดือน ม.ค.47 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย รายงาน
จากกรุงโซลเมื่อวันที่ 25 ก.พ.47 จากการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ จำนวน 10 คน ของรอยเตอร์คาดว่า
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ในเดือน ม.ค. มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ระดับร้อยละ 0.5
เทียบกับที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 2.7 ในเดือน ธ.ค.46 สาเหตุจากความอ่อนแอในภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ แต่ก็
ถูกชดเชยด้วยความต้องการจากต่างประเทศในสินค้าอุตสาหกรรมประเภทชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่าง ๆ โดย
เฉพาะอย่างยิ่งจากจีน อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์มีความเห็นว่าการชะลอตัวของตัวเลขดังกล่าวไม่ได้ส่งผล
กระทบร้ายแรงต่อแนวโน้มเศรษฐกิจขาขึ้นของเกาหลีใต้ ทั้งนี้ เพราะการฟื้นตัวของการบริโภคภายในประเทศ
ยังเป็นไปด้วยดี รวมทั้งการส่งออกและภาคบริการก็ค่อย ๆ ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน อนึ่ง สำนักงาน
สถิติแห่งชาติของเกาหลีใต้จะประกาศตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมอย่างเป็นทางการในวันศุกร์นี้ (27 ก.พ.)
(รอยเตอร์)
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-