1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (4 - 14 ก.พ. 2547 ) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 2,271.57 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 1,039.13 ตัน สัตว์น้ำจืด 1,232.44 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 9.02 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 11.18 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 193.98 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 92.44 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 47.92 ตัน
การตลาด
กระทรวงพาณิชย์เร่งขยายตลาดใหม่ส่งออกกุ้ง
นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณีสหรัฐอเมริกา เปิดไต่สวนการทุ่มตลาดสินค้ากุ้งจากไทยว่า ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2547 กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ได้สุ่มตัวอย่างผู้ส่งออกไทยรายใหญ่ๆ จำนวนหนึ่งในการให้ข้อมูลตอบแบบสอบถาม ซึ่งจะเป็นข้อมูลต้นทุนและราคาของแต่ละบริษัท และผู้ส่งออกมีเวลา 37-45 วัน ที่จะส่งคืนคำตอบ ซึ่งกรมได้สนับสนุนด้านข้อมูลและวางแนวทางตอบแบบสอบถามให้กับภาคเอกชน แต่ผู้ส่งออกไทยยังสามารถส่งกุ้งไปสหรัฐฯได้ตามปกติ โดยไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า จนกว่าสหรัฐฯจะประกาศเรียกเก็บอากรตอบโต้การ ทุ่มตลาดอัตราเบื้องต้นราวกลางเดือนมิถุนายนนี้ ขณะนี้ได้ร่วมกับกรมส่งเสริมการส่งออก เพื่อขยายตลาดส่งออกกุ้งในตลาดที่มีศักยภาพและกำลังซื้อสูง และเป็นตลาดที่ยังนำเข้ากุ้งจากไทยไม่มากนัก ปัจจุบันไทยส่งออกไปญี่ปุ่น 23.2% แคนาดา 5.8% เกาหลีใต้ 3% สหภาพยุโรป(อียู) 1.6% ออสเตรเลีย 2.7% รวมทั้ง จะเพิ่มการส่งออกไปยังสิงคโปร์และไต้หวัน ขณะเดียวกันก็ขอความร่วมมือจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(ธสน.) รับประกันความเสียหายที่มีต่อกุ้งที่ส่งออกไปยังสหภายยุโรป(อียู)แล้ว หากถูกสั่งทำลาย เพื่อสร้างความมั่นใจในการส่งออกกุ้งไปสหภาพยุโรป(อียู)อีกทางหนึ่ง
สำหรับขั้นตอนพิจารณาหากเห็นว่ามีการทุ่มตลาดจริงก็จะเก็บภาษีทุ่มตลาด โดยจะประกาศอัตราในวันที่ 8 มิถุนายน 2547 และเรียกเก็บภาษีทันที จากนั้น กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯจะส่ง ทีมงานมาตรวจสอบข้อเท็จจริง และข้อมูลเป็นรายบริษัทประมาณเดือนกรกฎาคมหรือสิงหาคมนี้ เพื่อจะนำข้อมูลไปพิจารณาก่อนการประกาศผลการตัดสินขั้นสุดท้ายในวันที่ 22 สิงหาคม 2547 และจะเรียกเก็บภาษีอัตราใหม่แทนอัตราเบื้องต้น อย่างไรก็ดี แม้การเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดจะเริ่มต้น แต่กระบวนการ ไต่สวนความเสียหายยังคงดำเนินการต่อไป จนกว่าจะมีการประกาศผลขั้นสุดท้ายในราววันที่ 6 ตุลาคมนี้ ซึ่งหากผลพิสูจน์ออกมาเสียหายจริง สหรัฐฯจะใช้มาตรการนี้ต่อไปอีก 5 ปี แต่อัตราภาษีจะมีการทบทวน ทุกปี ในกรณีที่พิสูจน์แล้วไม่เสียหาย สหรัฐฯจะเลิกใช้มาตรการ และจะคืนเงินสด หรือ Custome bond ที่ผู้นำเข้ากุ้งได้มัดจำไว้ตั้งแต่ศุลกากรสหรัฐฯเริ่มเก็บภาษีตามอัตราเบื้องต้น
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.21 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.89 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.32 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.30 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 58.41 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.11 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.45 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 80.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.45 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 276.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 279.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร เฉลี่ยกิโลกรัมละ 323.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 311.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 12.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.03 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 21.85 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.18 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.82 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 45.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.39 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 86.36 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 90.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.64 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.15 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 16 | 20 ก.พ. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 16.10 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.90 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 7 ประจำวันที่ 16-22 กุมภาพันธุ์ 2547--จบ--
-พห-
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (4 - 14 ก.พ. 2547 ) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 2,271.57 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 1,039.13 ตัน สัตว์น้ำจืด 1,232.44 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 9.02 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 11.18 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 193.98 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 92.44 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 47.92 ตัน
การตลาด
กระทรวงพาณิชย์เร่งขยายตลาดใหม่ส่งออกกุ้ง
นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณีสหรัฐอเมริกา เปิดไต่สวนการทุ่มตลาดสินค้ากุ้งจากไทยว่า ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2547 กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ได้สุ่มตัวอย่างผู้ส่งออกไทยรายใหญ่ๆ จำนวนหนึ่งในการให้ข้อมูลตอบแบบสอบถาม ซึ่งจะเป็นข้อมูลต้นทุนและราคาของแต่ละบริษัท และผู้ส่งออกมีเวลา 37-45 วัน ที่จะส่งคืนคำตอบ ซึ่งกรมได้สนับสนุนด้านข้อมูลและวางแนวทางตอบแบบสอบถามให้กับภาคเอกชน แต่ผู้ส่งออกไทยยังสามารถส่งกุ้งไปสหรัฐฯได้ตามปกติ โดยไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า จนกว่าสหรัฐฯจะประกาศเรียกเก็บอากรตอบโต้การ ทุ่มตลาดอัตราเบื้องต้นราวกลางเดือนมิถุนายนนี้ ขณะนี้ได้ร่วมกับกรมส่งเสริมการส่งออก เพื่อขยายตลาดส่งออกกุ้งในตลาดที่มีศักยภาพและกำลังซื้อสูง และเป็นตลาดที่ยังนำเข้ากุ้งจากไทยไม่มากนัก ปัจจุบันไทยส่งออกไปญี่ปุ่น 23.2% แคนาดา 5.8% เกาหลีใต้ 3% สหภาพยุโรป(อียู) 1.6% ออสเตรเลีย 2.7% รวมทั้ง จะเพิ่มการส่งออกไปยังสิงคโปร์และไต้หวัน ขณะเดียวกันก็ขอความร่วมมือจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(ธสน.) รับประกันความเสียหายที่มีต่อกุ้งที่ส่งออกไปยังสหภายยุโรป(อียู)แล้ว หากถูกสั่งทำลาย เพื่อสร้างความมั่นใจในการส่งออกกุ้งไปสหภาพยุโรป(อียู)อีกทางหนึ่ง
สำหรับขั้นตอนพิจารณาหากเห็นว่ามีการทุ่มตลาดจริงก็จะเก็บภาษีทุ่มตลาด โดยจะประกาศอัตราในวันที่ 8 มิถุนายน 2547 และเรียกเก็บภาษีทันที จากนั้น กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯจะส่ง ทีมงานมาตรวจสอบข้อเท็จจริง และข้อมูลเป็นรายบริษัทประมาณเดือนกรกฎาคมหรือสิงหาคมนี้ เพื่อจะนำข้อมูลไปพิจารณาก่อนการประกาศผลการตัดสินขั้นสุดท้ายในวันที่ 22 สิงหาคม 2547 และจะเรียกเก็บภาษีอัตราใหม่แทนอัตราเบื้องต้น อย่างไรก็ดี แม้การเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดจะเริ่มต้น แต่กระบวนการ ไต่สวนความเสียหายยังคงดำเนินการต่อไป จนกว่าจะมีการประกาศผลขั้นสุดท้ายในราววันที่ 6 ตุลาคมนี้ ซึ่งหากผลพิสูจน์ออกมาเสียหายจริง สหรัฐฯจะใช้มาตรการนี้ต่อไปอีก 5 ปี แต่อัตราภาษีจะมีการทบทวน ทุกปี ในกรณีที่พิสูจน์แล้วไม่เสียหาย สหรัฐฯจะเลิกใช้มาตรการ และจะคืนเงินสด หรือ Custome bond ที่ผู้นำเข้ากุ้งได้มัดจำไว้ตั้งแต่ศุลกากรสหรัฐฯเริ่มเก็บภาษีตามอัตราเบื้องต้น
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.21 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.89 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.32 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.30 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 58.41 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.11 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.45 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 80.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.45 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 276.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 279.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร เฉลี่ยกิโลกรัมละ 323.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 311.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 12.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.03 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 21.85 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.18 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.82 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 45.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.39 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 86.36 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 90.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.64 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.15 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 16 | 20 ก.พ. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 16.10 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.90 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 7 ประจำวันที่ 16-22 กุมภาพันธุ์ 2547--จบ--
-พห-