นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่าจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2546 โดยเฉพาะด้านการบริโภค ทำให้การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลยังคงอยู่ในระดับที่ดี และยังขยายตัวในอัตราที่สูง โดยได้แถลงสรุปผลการจัดเก็บรายได้รวมของรัฐบาลประจำเดือนมกราคม 2547 และในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 พร้อมทั้งสาเหตุและปัจจัยต่างๆ ที่สำคัญ ดังนี้
1. เดือนมกราคม 2547 รัฐบาลจัดเก็บรายได้รวม 96,183 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 16,858 ล้านบาท หรือร้อยละ 21.3 และสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 10,359 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 12.1 โดยเป็นรายได้สุทธิทั้งสิ้น 87,974 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 16,719 ล้านบาท หรือร้อยละ 23.5 และสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 9,867 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.6
ในเดือนนี้ ภาพรวมของการจัดเก็บรายได้ยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่ดีอย่างต่อเนื่อง รายได้ที่มีการขยายตัวในอัตราที่สูง นอกจากภาษีที่เก็บจากฐานการบริโภค และภาษีที่เก็บจากฐานรายได้แล้ว รายได้จากหน่วยงานอื่นยังนำส่งคลังเพิ่มสูงขึ้น ภาษีที่จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นนี้สะท้อนให้เห็นการปรับตัวที่ดีขึ้น ทั้งด้านการบริโภค การผลิต และการลงทุน โดยผลการจัดเก็บรายได้ตามฐานภาษีสรุปได้ ดังนี้
1.1 ภาษีที่จัดเก็บจากฐานการบริโภค
จัดเก็บได้ 52,078 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 9,303 ล้านบาท หรือร้อยละ 21.7 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 15.0) ประกอบด้วยภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ 27,267 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสาร งบประมาณ 4,958 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 22.2 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 16.3)ภาษีสรรพสามิตจัดเก็บได้ 24,811 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสาร งบประมาณ 4,345 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 21.2 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 13.6)
1.2 ภาษีที่เก็บจากฐานรายได้
จัดเก็บได้ 23,846 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 4,307 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.0 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 18.8) ประกอบด้วย
ภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้ 8,987 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 2,320 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 34.8 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 24.3)
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้ 14,740 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 1,868 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 14.5 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 14.8)
ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมจัดเก็บได้ 119 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 119 ล้านบาท (ในเดือนมกราคม 2547ตามเอกสารงบประมาณไม่ได้ตั้งประมาณการไว้)
1.3 รายได้จากหน่วยงานอื่น
จัดเก็บได้ 10,183 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 4,322 ล้านบาท หรือร้อยละ 73.7 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 7.1) ประกอบด้วย
ส่วนราชการอื่นนำส่งรายได้จำนวน 6,737 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 3,795 ล้านบาท หรือร้อยละ 129.0 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 57.8) เนื่องจากได้มีการเลื่อนการนำส่งค่าภาคหลวงปิโตรเลียมจำนวน 3,613 ล้านบาท (ปกติจะนำส่งในเดือนกุมภาพันธ์)
รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้ในเดือนนี้จำนวน 3,276 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 1,159 ล้านบาท หรือร้อยละ 54.7 (ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 29.0) เนื่องจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยนำส่งรายได้ก่อนกำหนด
รัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้ที่สำคัญ ได้แก่
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 1,000 ล้านบาท
- บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) 913.4 ล้านบาท
- สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 694.4 ล้านบาท
อย่างไรก็ดีเนื่องจากได้มีการปรับปรุงโครงสร้างภาษีศุลกากรเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมในประเทศ ประกอบกับการลดอัตราอากรขาเข้าจากการเปิดการค้าเสรี มีผลทำให้การจัดเก็บรายได้ของกรมศุลกากรลดลงในอัตราที่สูง ในเดือนนี้ภาษีที่เก็บจากฐานการค้าระหว่างประเทศจึงจัดเก็บได้ 7,580 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 2,015 ล้านบาท หรือร้อยละ 21.0 (ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 19.1)
2. ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม 2546 - มกราคม 2547)รัฐบาลจัดเก็บรายได้รวมทั้งสิ้น 377,213 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 88,735 ล้านบาท หรือร้อยละ 30.8 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 66,692 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 21.5 โดยเป็นรายได้สุทธิทั้งสิ้น 342,881 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 85,988 ล้านบาท หรือร้อยละ 33.5 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 62,168 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.1
ทั้งนี้ การจัดเก็บรายได้ดังกล่าวข้างต้นเป็นการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากรรวม 324,436 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 53,618 ล้านบาท หรือร้อยละ 19.8 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 16.3 โดยสรุปตามหน่วยงานจัดเก็บได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บรายได้รวม 194,851 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 40,768 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 26.5 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 21.5) เป็น ผลจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้สูงกว่าประมาณการ 19,433 11,883 และ 6,392 ล้านบาท หรือร้อยละ 23.8 40.3 และ 17.0 ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกัน ปีที่แล้วร้อยละ 19.0 27.8 และ 18.6 ตามลำดับ)
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 93,430 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 15,441 ล้านบาท หรือร้อยละ 19.8 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 15.2) ทั้งนี้ เนื่องจากภาษีที่สำคัญๆ ส่วนใหญ่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาษีรถยนต์ รองลงมาได้แก่ ภาษีเบียร์ ภาษีน้ำมันฯ ภาษีสุรา และภาษียาสูบ ซึ่งจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 5,066 3,756 2,369 1,496 1,402 ล้านบาท หรือร้อยละ 30.0 31.9 10.3 18.0 และ 13.6 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีรายได้จากฐานภาษีที่จัดเก็บที่ใน 4 เดือนแรกของปีที่แล้วยังไม่จัดเก็บ (ภาษีไนต์คลับและดิสโก้เธค ภาษีสถานอาบน้ำ อบตัวและนวด และภาษีโทรคมนาคม) อีกจำนวน 4,131 ล้านบาท
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 36,155 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 2,591 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.7 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 3.3) โดยอากรขาเข้าจัดเก็บได้ 35,088 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 2,817 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7.4 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกัน ปีที่แล้วร้อยละ 4.7)
2.4 หน่วยงานอื่น จัดเก็บได้รวม 52,777 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 35,117 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 198.9 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 67.1) ประกอบด้วย
ส่วนราชการอื่นมีรายได้นำส่งคลัง 43,903 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 31,192 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 245.4 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 174.7 (หากไม่รวมรายได้พิเศษจากการขายหุ้นให้กองทุนรวมวายุภักษ์จะสูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 6,117 ล้านบาท หรือร้อยละ 48.1 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 2,845 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.8) โดยมีรายได้ ที่สำคัญได้แก่
- รายได้พิเศษจากการขายหุ้นให้กองทุนรวมวายุภักษ์ 25,075 ล้านบาท
- ค่าภาคหลวงปิโตรเลียม จำนวน 8,083 ล้านบาท
- ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการค้า จำนวน 663 ล้านบาท
กรมธนารักษ์นำส่งรายได้ 1,093 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 392 ล้านบาท หรือร้อยละ 26.4 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 49.4 เนื่องจากปีที่แล้วมีรายได้พิเศษจากการโอนเงินเงินทุนหมุนเวียนการผลิตเหรียญกษาปณ์ และเงินทุนหมุนเวียนการทำของเข้าเป็นรายได้แผ่นดิน 1,200 ล้านบาท)
รัฐวิสาหกิจมีรายได้นำส่งคลัง 7,781 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 4,317 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 124.6 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 42.1) โดยรัฐวิสาหกิจที่นำส่งสูงกว่าประมาณการที่สำคัญๆ สรุปได้ ดังนี้
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำนวน 2,000 ล้านบาท โดยนำส่งรายได้เดือนธันวาคม 2546 และเดือนมกราคม 2547 เดือนละ 1,000 ล้านบาท ขณะที่ตามประมาณการคาดว่าจะนำส่งในเดือนกุมภาพันธ์ 2547 จำนวน 2,000 ล้านบาท
- บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 2,056 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 387 ล้านบาท
- สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จำนวน 2,888 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 1,096 ล้านบาทสาเหตุที่รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้ต่ำกว่าปีที่แล้ว เนื่องจากปีที่แล้ว บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) นำส่งรายได้แผ่นดินจำนวน 8,998 ล้านบาท โดยเป็นรายได้จากกำไรสุทธิก่อนแปรสภาพเป็นบริษัท (แปลงสภาพเป็นบริษัท เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2545) จำนวน 6,842 ล้านบาท ในขณะที่ปีนี้ ยังไม่ได้นำส่งรายได้
3. สาเหตุสำคัญที่ทำให้การจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 สูงกว่าประมาณการในอัตราที่สูง มีดังนี้
3.1 การจัดเก็บภาษีจากฐานการบริโภคที่ปรับตัวสูงขึ้นในอัตราที่สูงอย่างชัดเจน การบริโภคที่ปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ปี 2546 เป็นผลมาจากนโยบายภาครัฐที่สนับสนุนให้มีการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยการบริโภคของภาคเอกชนปีที่แล้วขยายตัวถึงร้อยละ 5.9 และคาดว่าปี 2547 จะขยายตัวสูงกว่าปีที่แล้วถึงร้อยละ 8.0
3.2 การจัดเก็บภาษีจากฐานรายได้ที่ดีขึ้น เนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัว และเติบโตอย่างมั่นคง ส่งผลให้การดำเนินงานของภาคเอกชนดีขึ้นซึ่งเห็นได้จากภาษีเงินได้นิติบุคคลที่มีอัตราการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 27.8
3.3 มีรายได้พิเศษจากการขายหุ้นให้กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง จำนวน 25,075 ล้านบาท นายสมชัยกล่าวว่า จากผลการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลที่ผ่านมา และหากแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ผนวกกับการจัดทำงบประมาณการรายจ่ายเพิ่มเติมปีงบประมาณ 2547 (135,500 ล้านบาท) กระทรวงการคลังมั่นใจว่าการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลจะจัดเก็บได้เกินเป้าหมาย (928,100 ล้านบาท) ในอัตราที่สูง และถึงแม้ว่าจะมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบในทางลบทั้ง การสูญเสียรายได้ของกรมศุลกากร และโรคไข้หวัดนกก็ตาม โดยคาดว่ารัฐบาลจะมีรายได้สุทธิหลังหักการจัดสรรจากภาษีมูลค่าเพิ่มให้ อปท. ตาม พรบ. กำหนดแผนฯ ตามเป้าหมายที่ได้คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2546 จำนวน 1,063,600 ล้านบาท
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 13/2547 26 กุมภาพันธ์ 2547--
-นท-
1. เดือนมกราคม 2547 รัฐบาลจัดเก็บรายได้รวม 96,183 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 16,858 ล้านบาท หรือร้อยละ 21.3 และสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 10,359 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 12.1 โดยเป็นรายได้สุทธิทั้งสิ้น 87,974 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 16,719 ล้านบาท หรือร้อยละ 23.5 และสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 9,867 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.6
ในเดือนนี้ ภาพรวมของการจัดเก็บรายได้ยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่ดีอย่างต่อเนื่อง รายได้ที่มีการขยายตัวในอัตราที่สูง นอกจากภาษีที่เก็บจากฐานการบริโภค และภาษีที่เก็บจากฐานรายได้แล้ว รายได้จากหน่วยงานอื่นยังนำส่งคลังเพิ่มสูงขึ้น ภาษีที่จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นนี้สะท้อนให้เห็นการปรับตัวที่ดีขึ้น ทั้งด้านการบริโภค การผลิต และการลงทุน โดยผลการจัดเก็บรายได้ตามฐานภาษีสรุปได้ ดังนี้
1.1 ภาษีที่จัดเก็บจากฐานการบริโภค
จัดเก็บได้ 52,078 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 9,303 ล้านบาท หรือร้อยละ 21.7 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 15.0) ประกอบด้วยภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ 27,267 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสาร งบประมาณ 4,958 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 22.2 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 16.3)ภาษีสรรพสามิตจัดเก็บได้ 24,811 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสาร งบประมาณ 4,345 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 21.2 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 13.6)
1.2 ภาษีที่เก็บจากฐานรายได้
จัดเก็บได้ 23,846 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 4,307 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.0 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 18.8) ประกอบด้วย
ภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้ 8,987 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 2,320 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 34.8 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 24.3)
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้ 14,740 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 1,868 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 14.5 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 14.8)
ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมจัดเก็บได้ 119 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 119 ล้านบาท (ในเดือนมกราคม 2547ตามเอกสารงบประมาณไม่ได้ตั้งประมาณการไว้)
1.3 รายได้จากหน่วยงานอื่น
จัดเก็บได้ 10,183 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 4,322 ล้านบาท หรือร้อยละ 73.7 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 7.1) ประกอบด้วย
ส่วนราชการอื่นนำส่งรายได้จำนวน 6,737 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 3,795 ล้านบาท หรือร้อยละ 129.0 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 57.8) เนื่องจากได้มีการเลื่อนการนำส่งค่าภาคหลวงปิโตรเลียมจำนวน 3,613 ล้านบาท (ปกติจะนำส่งในเดือนกุมภาพันธ์)
รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้ในเดือนนี้จำนวน 3,276 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 1,159 ล้านบาท หรือร้อยละ 54.7 (ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 29.0) เนื่องจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยนำส่งรายได้ก่อนกำหนด
รัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้ที่สำคัญ ได้แก่
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 1,000 ล้านบาท
- บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) 913.4 ล้านบาท
- สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 694.4 ล้านบาท
อย่างไรก็ดีเนื่องจากได้มีการปรับปรุงโครงสร้างภาษีศุลกากรเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมในประเทศ ประกอบกับการลดอัตราอากรขาเข้าจากการเปิดการค้าเสรี มีผลทำให้การจัดเก็บรายได้ของกรมศุลกากรลดลงในอัตราที่สูง ในเดือนนี้ภาษีที่เก็บจากฐานการค้าระหว่างประเทศจึงจัดเก็บได้ 7,580 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 2,015 ล้านบาท หรือร้อยละ 21.0 (ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 19.1)
2. ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม 2546 - มกราคม 2547)รัฐบาลจัดเก็บรายได้รวมทั้งสิ้น 377,213 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 88,735 ล้านบาท หรือร้อยละ 30.8 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 66,692 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 21.5 โดยเป็นรายได้สุทธิทั้งสิ้น 342,881 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 85,988 ล้านบาท หรือร้อยละ 33.5 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 62,168 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.1
ทั้งนี้ การจัดเก็บรายได้ดังกล่าวข้างต้นเป็นการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากรรวม 324,436 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 53,618 ล้านบาท หรือร้อยละ 19.8 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 16.3 โดยสรุปตามหน่วยงานจัดเก็บได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บรายได้รวม 194,851 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 40,768 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 26.5 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 21.5) เป็น ผลจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้สูงกว่าประมาณการ 19,433 11,883 และ 6,392 ล้านบาท หรือร้อยละ 23.8 40.3 และ 17.0 ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกัน ปีที่แล้วร้อยละ 19.0 27.8 และ 18.6 ตามลำดับ)
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 93,430 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 15,441 ล้านบาท หรือร้อยละ 19.8 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 15.2) ทั้งนี้ เนื่องจากภาษีที่สำคัญๆ ส่วนใหญ่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาษีรถยนต์ รองลงมาได้แก่ ภาษีเบียร์ ภาษีน้ำมันฯ ภาษีสุรา และภาษียาสูบ ซึ่งจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 5,066 3,756 2,369 1,496 1,402 ล้านบาท หรือร้อยละ 30.0 31.9 10.3 18.0 และ 13.6 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีรายได้จากฐานภาษีที่จัดเก็บที่ใน 4 เดือนแรกของปีที่แล้วยังไม่จัดเก็บ (ภาษีไนต์คลับและดิสโก้เธค ภาษีสถานอาบน้ำ อบตัวและนวด และภาษีโทรคมนาคม) อีกจำนวน 4,131 ล้านบาท
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 36,155 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 2,591 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.7 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 3.3) โดยอากรขาเข้าจัดเก็บได้ 35,088 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 2,817 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7.4 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกัน ปีที่แล้วร้อยละ 4.7)
2.4 หน่วยงานอื่น จัดเก็บได้รวม 52,777 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 35,117 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 198.9 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 67.1) ประกอบด้วย
ส่วนราชการอื่นมีรายได้นำส่งคลัง 43,903 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 31,192 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 245.4 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 174.7 (หากไม่รวมรายได้พิเศษจากการขายหุ้นให้กองทุนรวมวายุภักษ์จะสูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 6,117 ล้านบาท หรือร้อยละ 48.1 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 2,845 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.8) โดยมีรายได้ ที่สำคัญได้แก่
- รายได้พิเศษจากการขายหุ้นให้กองทุนรวมวายุภักษ์ 25,075 ล้านบาท
- ค่าภาคหลวงปิโตรเลียม จำนวน 8,083 ล้านบาท
- ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการค้า จำนวน 663 ล้านบาท
กรมธนารักษ์นำส่งรายได้ 1,093 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 392 ล้านบาท หรือร้อยละ 26.4 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 49.4 เนื่องจากปีที่แล้วมีรายได้พิเศษจากการโอนเงินเงินทุนหมุนเวียนการผลิตเหรียญกษาปณ์ และเงินทุนหมุนเวียนการทำของเข้าเป็นรายได้แผ่นดิน 1,200 ล้านบาท)
รัฐวิสาหกิจมีรายได้นำส่งคลัง 7,781 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 4,317 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 124.6 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 42.1) โดยรัฐวิสาหกิจที่นำส่งสูงกว่าประมาณการที่สำคัญๆ สรุปได้ ดังนี้
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำนวน 2,000 ล้านบาท โดยนำส่งรายได้เดือนธันวาคม 2546 และเดือนมกราคม 2547 เดือนละ 1,000 ล้านบาท ขณะที่ตามประมาณการคาดว่าจะนำส่งในเดือนกุมภาพันธ์ 2547 จำนวน 2,000 ล้านบาท
- บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 2,056 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 387 ล้านบาท
- สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จำนวน 2,888 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 1,096 ล้านบาทสาเหตุที่รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้ต่ำกว่าปีที่แล้ว เนื่องจากปีที่แล้ว บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) นำส่งรายได้แผ่นดินจำนวน 8,998 ล้านบาท โดยเป็นรายได้จากกำไรสุทธิก่อนแปรสภาพเป็นบริษัท (แปลงสภาพเป็นบริษัท เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2545) จำนวน 6,842 ล้านบาท ในขณะที่ปีนี้ ยังไม่ได้นำส่งรายได้
3. สาเหตุสำคัญที่ทำให้การจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 สูงกว่าประมาณการในอัตราที่สูง มีดังนี้
3.1 การจัดเก็บภาษีจากฐานการบริโภคที่ปรับตัวสูงขึ้นในอัตราที่สูงอย่างชัดเจน การบริโภคที่ปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ปี 2546 เป็นผลมาจากนโยบายภาครัฐที่สนับสนุนให้มีการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยการบริโภคของภาคเอกชนปีที่แล้วขยายตัวถึงร้อยละ 5.9 และคาดว่าปี 2547 จะขยายตัวสูงกว่าปีที่แล้วถึงร้อยละ 8.0
3.2 การจัดเก็บภาษีจากฐานรายได้ที่ดีขึ้น เนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัว และเติบโตอย่างมั่นคง ส่งผลให้การดำเนินงานของภาคเอกชนดีขึ้นซึ่งเห็นได้จากภาษีเงินได้นิติบุคคลที่มีอัตราการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 27.8
3.3 มีรายได้พิเศษจากการขายหุ้นให้กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง จำนวน 25,075 ล้านบาท นายสมชัยกล่าวว่า จากผลการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลที่ผ่านมา และหากแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ผนวกกับการจัดทำงบประมาณการรายจ่ายเพิ่มเติมปีงบประมาณ 2547 (135,500 ล้านบาท) กระทรวงการคลังมั่นใจว่าการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลจะจัดเก็บได้เกินเป้าหมาย (928,100 ล้านบาท) ในอัตราที่สูง และถึงแม้ว่าจะมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบในทางลบทั้ง การสูญเสียรายได้ของกรมศุลกากร และโรคไข้หวัดนกก็ตาม โดยคาดว่ารัฐบาลจะมีรายได้สุทธิหลังหักการจัดสรรจากภาษีมูลค่าเพิ่มให้ อปท. ตาม พรบ. กำหนดแผนฯ ตามเป้าหมายที่ได้คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2546 จำนวน 1,063,600 ล้านบาท
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 13/2547 26 กุมภาพันธ์ 2547--
-นท-