ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เปิดเผยถึงความคืบหน้าร่าง พ.ร.บ.ประกันเงินฝาก นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าร่าง พ.ร.บ.ประกันเงินฝาก ที่จะเสนอ ครม.
พิจารณาในเร็ว ๆ นี้ ว่า ช่วงแรกจะค้ำประกันเงินฝากในวงเงินที่สูงเป็นหลักร้อยล้านบาท เพื่อสร้างความคุ้น
เคยและให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ปรับตัว และจะทยอยลดวงเงินค้ำประกันจนถึงสิ้นปีที่ 4 หลังกฎหมายมีผลบังคับ
ใช้ ซึ่งจะทำให้การคุ้มครองเต็ม 100% เฉพาะวงเงินไม่เกิน 1 ล้านบาท ต่อบัญชีต่อธนาคาร ส่วนบัญชีเงิน
ฝากที่เกินกว่า 1 ล้านบาท ก็จะค้ำประกันเพียง 1 ล้านบาทเท่านั้น ขณะที่สถาบันการเงินต้องนำส่งเงินฝาก
สมทบต่อสถาบันประกันเงินฝากในอัตราเท่ากันทั้งหมด จากปัจจุบันที่กำหนดอัตราเงินฝากสมทบเข้ากองทุนเพื่อ
การฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินตามอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารแต่ละแห่ง (มติชน)
2. หนี้สูญของบัตรเครดิตทั้งระบบในปี 46 มีเล็กน้อยเพียงร้อยละ 1 กรรมการผู้จัดการบริษัทบัตร
เครดิตกรุงศรีจีอี ในฐานะประธานชมรมบัตรเครดิต เปิดเผยภายหลังการเข้าพบ นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้
ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า การเข้าพบครั้งนี้เป็นการมารายงานตัวเลขล่าสุดของยอดบัตร
เครดิต ณ สิ้นปี 46 โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณร้อยละ 10 ซึ่งเป็นตัวเลขที่ยืนยันว่าไม่ได้ร้อนแรง
จนเกินไป และมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าในปี 47 นี้จะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 46 ได้อีกร้อยละ
10 สำหรับยอดคงค้างของสินเชื่อบัตรเครดิตในสิ้นปี 46 ลดลงอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4.3 ของการใช้จ่ายผ่าน
บัตรทั้งหมด และยอดหนี้สูญอยู่ที่ร้อยละ 1 ของสินเชื่อรวมเท่านั้น ซึ่งน้อยมากเมื่อเทียบกับต่างประเทศ เช่น
ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย ไต้หวัน และลดลงจากช่วงก่อนหน้าประมาณ 3-4 ปีก่อนที่มีหนี้สูญที่ร้อยละ 4 (
สยามรัฐ, บ้านเมือง, โลกวันนี้)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมไทยในเดือน ม.ค.47 ลดต่ำกว่าระดับ 100 เป็นครั้งแรกใน
รอบ 7 เดือน รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่น
ของภาคอุตสาหกรรมไทยในเดือน ม.ค.47 ที่ได้จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 422 ตัวอย่าง ครอบคลุม
ทั้ง 30 กลุ่มอุตสาหกรรมของสภาอุตสาหกรรมฯ พบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงมาอยู่
ที่ระดับ 99.5 จากระดับ 110.2 ในเดือน ธ.ค.46 ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน ที่ดัชนีมีค่าต่ำกว่า 100
เนื่องจากค่าดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวมของยอดคำสั่งซื้อ ยอดขาย และปริมาณการผลิต ปรับตัวลดลงจาก 128.7
131.0 และ 136.2 ในเดือน ธ.ค.46 เป็น 125.9 126.7 และ 125.7 ในเดือน ม.ค.47 ขณะที่ค่า
ดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวมของต้นทุนการผลิตและกำไรสุทธิปรับตัวขึ้นเล็กน้อย จากระดับ 50.1 และ 103.5
ในเดือน ธ.ค.46 เป็น 53.9 และ 106.4 ในเดือน ม.ค.47 สำหรับสาเหตุที่ค่าดัชนีส่วนใหญ่ปรับลดลง
เนื่องจากในช่วงเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา มีสถานการณ์ต่าง ๆ เข้ามามีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
และความเชื่อมั่นในการดำเนินกิจการของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม โดยเฉพาะปัญหาการระบาดของโรคไข้
หวัดนก และสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ ขณะที่ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นปัจจัยลบที่ส่งผลต่อกิจการ
อย่างชัดเจน (บ้านเมือง)
4. ในเดือน ม.ค.47 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สูงกว่าประมาณการร้อยละ 21.3 รองผู้อำนวยการ
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษก ก.คลัง เปิดเผยว่า ในช่วงเดือน ม.ค.47 รัฐบาลสามารถจัด
เก็บรายได้รวม 96,183 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 16,858 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 21.3 และสูง
กว่าเดือนเดียวกันของปีก่อน 10,359 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 12.1 โดยเป็นรายได้สุทธิทั้งสิ้น 87,974
ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 16,719 ล้านบาท หรือร้อยละ 23.5 และสูงกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อน
9,867 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.6 ขณะที่ 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 47 (ต.ค.46-ม.ค.47) รัฐบาล
จัดเก็บรายได้รวมทั้งสิ้น 377,213 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 88,735 ล้านบาท หรือร้อยละ 30.8 และ
สูงกว่างวดเดียวกันของปีก่อน 66,692 ล้านบาท หรือร้อยละ 21.5 คิดเป็นรายได้สุทธิรวม 342,881 ล้าน
บาท สูงกว่าประมาณการ 85,988 ล้านบาท หรือร้อยละ 33.5 และสูงกว่าปีก่อน 62,168 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 22.1 (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
5. ก.คลังเตรียมเสนอ ครม.จัดตั้งศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติด้วยงบประมาณ 200 ล้านบาท
ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการ ก.คลัง เปิดเผยว่า ในขณะนี้ ก.คลังอยู่ระหว่างการเตรียมเสนอร่างพระราช
กฤษฎีกาจัดตั้งศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติต่อ ครม. ภายในเดือน มี.ค.47 และคาดว่าจะสามารถจัดตั้ง
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติเป็นองค์การมหาชนได้ภายในกลางปีนี้ โดยใช้งบประมาณ 200 ล้านบาท ทั้งนี้
ศูนย์ข้อมูลดังกล่าวจะให้ข้อมูลที่สำคัญเป็น 2 ส่วน คือ 1) ข้อมูลระดับมหภาค (Macro Information) เช่น
ดัชนีราคาขาย ดัชนีราคาให้เช่า เป็นต้น และ 2) ข้อมูลระดับจุลภาค (Micro Information) ที่จะเป็น
ปัจจัยที่ใช้ในการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ (กรุงเทพธุรกิจ, บ้านเมือง, โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดขายบ้านใหม่ของ สรอ.ในเดือน ม.ค.47 ลดลงร้อยละ 1.7 เทียบต่อเดือน รายงาน
จากวอชิงตันเมื่อ 26 ก.พ.47 ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า ยอดขายบ้านเดี่ยวใหม่ของ สรอ. ในเดือน
ม.ค.47 ลดลงร้อยละ 1.7 เป็นจำนวน 1.106 ล้านหลัง เทียบกับตัวเลขที่ปรับปรุงแล้วจำนวน 1.125 ล้าน
หลังในเดือน ธ.ค.46 ซึ่งแตกต่างจากการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะมีจำนวน 1.065 ล้านหลัง
และเป็นการลดลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค.46 เนื่องจากตลาดที่อยู่อาศัยมีสัญญาณที่ซบเซาลง สำหรับ
ราคาเฉลี่ยของบ้านใหม่อยู่ที่ระดับ 197,000 ดอลลาร์ สรอ. ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 จาก 181,700 ล.
ดอลลาร์ สรอ.ในเดือนเดียวกันของปีก่อน (รอยเตอร์)
2. คำสั่งซื้อสินค้าคงทนของ สรอ.ในเดือน ม.ค.47 ลดลงต่ำกว่าการคาดหมาย รายงานจาก
วอชิงตันเมื่อ 26 ก.พ.47 ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า คำสั่งซื้อสินค้าคงทนของ สรอ.ในเดือน ม.ค.47
ลดลงร้อยละ 1.8 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ในเดือน ธ.ค.46 ซึ่งแตกต่างจากที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า
จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ทั้งนี้ การลดลงต่ำกว่าความคาดหมายของคำสั่งซื้อดังกล่าว เป็นผลจากความต้องการ
สินค้าประเภทเครื่องบินและรถยนต์ลดลง โดยคำสั่งซื้อรถยนต์ลดลงร้อยละ 5.1 ขณะที่คำสั่งซื้อเครื่องบิน
พลเรือนและเครื่องบินทหารลดลงร้อยละ 27.9 และ 34 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ยังมีสัญญาณที่ดีจากตัวเลข
การใช้จ่ายเพื่อการลงทุน โดยคำสั่งซื้อสินค้าทุนที่ไม่รวมเครื่องบิน ซึ่งเป็นปัจจัยในการพิจารณาแนวโน้มการใช้
จ่ายของธุรกิจในอนาคต ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 ในเดือน ธ.ค.46 หลัง
จากที่ลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงปี 44-45 ซึ่งเป็นช่วงที่ สรอ.ประสบภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ และได้เริ่มปรับตัว
เพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 46 ได้ช่วยสนับสนุนความหวังว่าการลงทุนของธุรกิจจะฟื้นตัวขึ้น (รอยเตอร์)
3. ความเชื่อมั่นผู้บริโภคของอังกฤษลดลงภายหลังนโยบายปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของธ.กลาง
รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 26 ก.พ. 47 บริษัทวิจัย Martin Hamblin Gfk กล่าวว่า ความเชื่อมั่นผู้
บริโภคของอังกฤษในเดือนก.พ. 47 อยู่ที่ระดับ -2 ลดลงจากระดับ 0 ในเดือนม.ค. มากกว่าที่นักวิเคราะห์
คาดไว้ว่าจะลดลงอยู่ที่ระดับ —1 เนื่องจากการปรับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของธ.กลางอังกฤษเพิ่มขึ้นร้อยละ
0.25 เมื่อเดือนก่อนเป็นร้อยละ 4.0 เพื่อควบคุมหนี้สินผู้บริโภค และลดความร้อนแรงในตลาดบ้าน แม้ว่า
ความเชื่อมั่นผู้บริโภคจะลดลงแต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วที่อยู่ที่ระดับร้อยละ —9 แล้วนับว่ายังคงอยู่ใน
ระดับสูง (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ในเดือนม.ค. 47 ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง รายงานจาก
โซล เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 47 รัฐบาลสิงคโปร์เปิดเผยว่า ในเดือนม.ค. 47 ผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลี
ใต้เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งมากกว่าที่คาดไว้เนื่องจากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในภาคการส่งออก และการ
บริโภคภาคเอกชนเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ทั้งนี้ผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนม.ค.ขยายตัวร้อยละ 1.1 จากเดือน
ธ.ค. 46 สูงกว่าผลการสำรวจของรอยเตอร์ที่คาดว่าจะขยายตัวเพียงร้อยละ 0.5 และเมื่อเทียบกับช่วง
เดียวกันปีก่อนผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ขยายตัวร้อยละ 4.8 (ตัวเลขก่อนปรับฤดูกาล) จากที่ขยายตัว
ร้อยละ 10.9 เมื่อเดือน ธ.ค. 46 (ตัวเลขที่ปรับแล้ว) และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 จากเดือนม.ค. 46 (รอยเตอร์)
5 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเดือน ม.ค. เพิ่มขึ้น 3.4% รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่
26 ก.พ.47 กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (METI) ของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ผลผลิตภาค
อุตสาหกรรมในเดือน ม.ค. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 3.4% มากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ของรอยเตอร์คาดการณ์
ไว้ที่ 2.8% ทั้งนี้ เป็นผลจากการส่งออกสินค้าประเภทเครื่องจักรและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความต้องการสูง
ขึ้นทั้งในจีนและ สรอ. การเพิ่มขึ้นอย่างมากของตัวเลขดังกล่าวเป็นสัญญานแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลัง
ฟื้นตัวหลังจากหยุดนิ่งมานานกว่าทศวรรษ โดยเศรษฐกิจในช่วงเดือน ต.ค.-ธ.ค. ปีก่อนมีอัตราการเติบโตสูง
ถึง 7.0% สูงสุดในรอบ 13 ปี อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของผลผลิตอย่างต่อเนื่องส่วนใหญ่เป็นผลมาจาก
การส่งออก ดังนั้น จึงยังเห็นสัญญานของแรงกดดันด้านเงินฝืดว่ายังคงมีอยู่ โดยตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค
(CPI) ที่ไม่รวมราคาอาหารสดในเดือน ม.ค.47 ลดลงร้อยละ 0.1 เทียบต่อปี และลดลงร้อยละ 0.7
เทียบต่อเดือน อีกทั้งการที่ตัวเลขการว่างงานในเดือน ม.ค.47 ที่เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 5.0% จากระดับ 4.9% ใน
เดือนก่อน สะท้อนให้เห็นถึงว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นยังไม่ได้ฟื้นตัวในทุก ๆ ด้านเท่าที่ควร (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 27/2/47 26/2/47 31/12/46 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.303 39.622 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.0740/39.3652 39.4435/39.7378 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.8750 - 1.2800 1.2800 - 1.3000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 697.92/25.62 772.15/41.74 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,350/7,450 7,350/7,450 7,700/7,800 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 29.92 30.27 28.66 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 17.29*/14.39 ปตท.
* ปรับเลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.เปิดเผยถึงความคืบหน้าร่าง พ.ร.บ.ประกันเงินฝาก นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าร่าง พ.ร.บ.ประกันเงินฝาก ที่จะเสนอ ครม.
พิจารณาในเร็ว ๆ นี้ ว่า ช่วงแรกจะค้ำประกันเงินฝากในวงเงินที่สูงเป็นหลักร้อยล้านบาท เพื่อสร้างความคุ้น
เคยและให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ปรับตัว และจะทยอยลดวงเงินค้ำประกันจนถึงสิ้นปีที่ 4 หลังกฎหมายมีผลบังคับ
ใช้ ซึ่งจะทำให้การคุ้มครองเต็ม 100% เฉพาะวงเงินไม่เกิน 1 ล้านบาท ต่อบัญชีต่อธนาคาร ส่วนบัญชีเงิน
ฝากที่เกินกว่า 1 ล้านบาท ก็จะค้ำประกันเพียง 1 ล้านบาทเท่านั้น ขณะที่สถาบันการเงินต้องนำส่งเงินฝาก
สมทบต่อสถาบันประกันเงินฝากในอัตราเท่ากันทั้งหมด จากปัจจุบันที่กำหนดอัตราเงินฝากสมทบเข้ากองทุนเพื่อ
การฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินตามอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารแต่ละแห่ง (มติชน)
2. หนี้สูญของบัตรเครดิตทั้งระบบในปี 46 มีเล็กน้อยเพียงร้อยละ 1 กรรมการผู้จัดการบริษัทบัตร
เครดิตกรุงศรีจีอี ในฐานะประธานชมรมบัตรเครดิต เปิดเผยภายหลังการเข้าพบ นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้
ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า การเข้าพบครั้งนี้เป็นการมารายงานตัวเลขล่าสุดของยอดบัตร
เครดิต ณ สิ้นปี 46 โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณร้อยละ 10 ซึ่งเป็นตัวเลขที่ยืนยันว่าไม่ได้ร้อนแรง
จนเกินไป และมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าในปี 47 นี้จะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 46 ได้อีกร้อยละ
10 สำหรับยอดคงค้างของสินเชื่อบัตรเครดิตในสิ้นปี 46 ลดลงอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4.3 ของการใช้จ่ายผ่าน
บัตรทั้งหมด และยอดหนี้สูญอยู่ที่ร้อยละ 1 ของสินเชื่อรวมเท่านั้น ซึ่งน้อยมากเมื่อเทียบกับต่างประเทศ เช่น
ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย ไต้หวัน และลดลงจากช่วงก่อนหน้าประมาณ 3-4 ปีก่อนที่มีหนี้สูญที่ร้อยละ 4 (
สยามรัฐ, บ้านเมือง, โลกวันนี้)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมไทยในเดือน ม.ค.47 ลดต่ำกว่าระดับ 100 เป็นครั้งแรกใน
รอบ 7 เดือน รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่น
ของภาคอุตสาหกรรมไทยในเดือน ม.ค.47 ที่ได้จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 422 ตัวอย่าง ครอบคลุม
ทั้ง 30 กลุ่มอุตสาหกรรมของสภาอุตสาหกรรมฯ พบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงมาอยู่
ที่ระดับ 99.5 จากระดับ 110.2 ในเดือน ธ.ค.46 ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน ที่ดัชนีมีค่าต่ำกว่า 100
เนื่องจากค่าดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวมของยอดคำสั่งซื้อ ยอดขาย และปริมาณการผลิต ปรับตัวลดลงจาก 128.7
131.0 และ 136.2 ในเดือน ธ.ค.46 เป็น 125.9 126.7 และ 125.7 ในเดือน ม.ค.47 ขณะที่ค่า
ดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวมของต้นทุนการผลิตและกำไรสุทธิปรับตัวขึ้นเล็กน้อย จากระดับ 50.1 และ 103.5
ในเดือน ธ.ค.46 เป็น 53.9 และ 106.4 ในเดือน ม.ค.47 สำหรับสาเหตุที่ค่าดัชนีส่วนใหญ่ปรับลดลง
เนื่องจากในช่วงเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา มีสถานการณ์ต่าง ๆ เข้ามามีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
และความเชื่อมั่นในการดำเนินกิจการของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม โดยเฉพาะปัญหาการระบาดของโรคไข้
หวัดนก และสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ ขณะที่ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นปัจจัยลบที่ส่งผลต่อกิจการ
อย่างชัดเจน (บ้านเมือง)
4. ในเดือน ม.ค.47 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สูงกว่าประมาณการร้อยละ 21.3 รองผู้อำนวยการ
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษก ก.คลัง เปิดเผยว่า ในช่วงเดือน ม.ค.47 รัฐบาลสามารถจัด
เก็บรายได้รวม 96,183 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 16,858 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 21.3 และสูง
กว่าเดือนเดียวกันของปีก่อน 10,359 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 12.1 โดยเป็นรายได้สุทธิทั้งสิ้น 87,974
ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 16,719 ล้านบาท หรือร้อยละ 23.5 และสูงกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อน
9,867 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.6 ขณะที่ 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 47 (ต.ค.46-ม.ค.47) รัฐบาล
จัดเก็บรายได้รวมทั้งสิ้น 377,213 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 88,735 ล้านบาท หรือร้อยละ 30.8 และ
สูงกว่างวดเดียวกันของปีก่อน 66,692 ล้านบาท หรือร้อยละ 21.5 คิดเป็นรายได้สุทธิรวม 342,881 ล้าน
บาท สูงกว่าประมาณการ 85,988 ล้านบาท หรือร้อยละ 33.5 และสูงกว่าปีก่อน 62,168 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 22.1 (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
5. ก.คลังเตรียมเสนอ ครม.จัดตั้งศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติด้วยงบประมาณ 200 ล้านบาท
ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการ ก.คลัง เปิดเผยว่า ในขณะนี้ ก.คลังอยู่ระหว่างการเตรียมเสนอร่างพระราช
กฤษฎีกาจัดตั้งศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติต่อ ครม. ภายในเดือน มี.ค.47 และคาดว่าจะสามารถจัดตั้ง
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติเป็นองค์การมหาชนได้ภายในกลางปีนี้ โดยใช้งบประมาณ 200 ล้านบาท ทั้งนี้
ศูนย์ข้อมูลดังกล่าวจะให้ข้อมูลที่สำคัญเป็น 2 ส่วน คือ 1) ข้อมูลระดับมหภาค (Macro Information) เช่น
ดัชนีราคาขาย ดัชนีราคาให้เช่า เป็นต้น และ 2) ข้อมูลระดับจุลภาค (Micro Information) ที่จะเป็น
ปัจจัยที่ใช้ในการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ (กรุงเทพธุรกิจ, บ้านเมือง, โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดขายบ้านใหม่ของ สรอ.ในเดือน ม.ค.47 ลดลงร้อยละ 1.7 เทียบต่อเดือน รายงาน
จากวอชิงตันเมื่อ 26 ก.พ.47 ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า ยอดขายบ้านเดี่ยวใหม่ของ สรอ. ในเดือน
ม.ค.47 ลดลงร้อยละ 1.7 เป็นจำนวน 1.106 ล้านหลัง เทียบกับตัวเลขที่ปรับปรุงแล้วจำนวน 1.125 ล้าน
หลังในเดือน ธ.ค.46 ซึ่งแตกต่างจากการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะมีจำนวน 1.065 ล้านหลัง
และเป็นการลดลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค.46 เนื่องจากตลาดที่อยู่อาศัยมีสัญญาณที่ซบเซาลง สำหรับ
ราคาเฉลี่ยของบ้านใหม่อยู่ที่ระดับ 197,000 ดอลลาร์ สรอ. ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 จาก 181,700 ล.
ดอลลาร์ สรอ.ในเดือนเดียวกันของปีก่อน (รอยเตอร์)
2. คำสั่งซื้อสินค้าคงทนของ สรอ.ในเดือน ม.ค.47 ลดลงต่ำกว่าการคาดหมาย รายงานจาก
วอชิงตันเมื่อ 26 ก.พ.47 ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า คำสั่งซื้อสินค้าคงทนของ สรอ.ในเดือน ม.ค.47
ลดลงร้อยละ 1.8 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ในเดือน ธ.ค.46 ซึ่งแตกต่างจากที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า
จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ทั้งนี้ การลดลงต่ำกว่าความคาดหมายของคำสั่งซื้อดังกล่าว เป็นผลจากความต้องการ
สินค้าประเภทเครื่องบินและรถยนต์ลดลง โดยคำสั่งซื้อรถยนต์ลดลงร้อยละ 5.1 ขณะที่คำสั่งซื้อเครื่องบิน
พลเรือนและเครื่องบินทหารลดลงร้อยละ 27.9 และ 34 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ยังมีสัญญาณที่ดีจากตัวเลข
การใช้จ่ายเพื่อการลงทุน โดยคำสั่งซื้อสินค้าทุนที่ไม่รวมเครื่องบิน ซึ่งเป็นปัจจัยในการพิจารณาแนวโน้มการใช้
จ่ายของธุรกิจในอนาคต ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 ในเดือน ธ.ค.46 หลัง
จากที่ลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงปี 44-45 ซึ่งเป็นช่วงที่ สรอ.ประสบภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ และได้เริ่มปรับตัว
เพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 46 ได้ช่วยสนับสนุนความหวังว่าการลงทุนของธุรกิจจะฟื้นตัวขึ้น (รอยเตอร์)
3. ความเชื่อมั่นผู้บริโภคของอังกฤษลดลงภายหลังนโยบายปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของธ.กลาง
รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 26 ก.พ. 47 บริษัทวิจัย Martin Hamblin Gfk กล่าวว่า ความเชื่อมั่นผู้
บริโภคของอังกฤษในเดือนก.พ. 47 อยู่ที่ระดับ -2 ลดลงจากระดับ 0 ในเดือนม.ค. มากกว่าที่นักวิเคราะห์
คาดไว้ว่าจะลดลงอยู่ที่ระดับ —1 เนื่องจากการปรับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของธ.กลางอังกฤษเพิ่มขึ้นร้อยละ
0.25 เมื่อเดือนก่อนเป็นร้อยละ 4.0 เพื่อควบคุมหนี้สินผู้บริโภค และลดความร้อนแรงในตลาดบ้าน แม้ว่า
ความเชื่อมั่นผู้บริโภคจะลดลงแต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วที่อยู่ที่ระดับร้อยละ —9 แล้วนับว่ายังคงอยู่ใน
ระดับสูง (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ในเดือนม.ค. 47 ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง รายงานจาก
โซล เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 47 รัฐบาลสิงคโปร์เปิดเผยว่า ในเดือนม.ค. 47 ผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลี
ใต้เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งมากกว่าที่คาดไว้เนื่องจากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในภาคการส่งออก และการ
บริโภคภาคเอกชนเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ทั้งนี้ผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนม.ค.ขยายตัวร้อยละ 1.1 จากเดือน
ธ.ค. 46 สูงกว่าผลการสำรวจของรอยเตอร์ที่คาดว่าจะขยายตัวเพียงร้อยละ 0.5 และเมื่อเทียบกับช่วง
เดียวกันปีก่อนผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ขยายตัวร้อยละ 4.8 (ตัวเลขก่อนปรับฤดูกาล) จากที่ขยายตัว
ร้อยละ 10.9 เมื่อเดือน ธ.ค. 46 (ตัวเลขที่ปรับแล้ว) และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 จากเดือนม.ค. 46 (รอยเตอร์)
5 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเดือน ม.ค. เพิ่มขึ้น 3.4% รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่
26 ก.พ.47 กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (METI) ของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ผลผลิตภาค
อุตสาหกรรมในเดือน ม.ค. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 3.4% มากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ของรอยเตอร์คาดการณ์
ไว้ที่ 2.8% ทั้งนี้ เป็นผลจากการส่งออกสินค้าประเภทเครื่องจักรและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความต้องการสูง
ขึ้นทั้งในจีนและ สรอ. การเพิ่มขึ้นอย่างมากของตัวเลขดังกล่าวเป็นสัญญานแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลัง
ฟื้นตัวหลังจากหยุดนิ่งมานานกว่าทศวรรษ โดยเศรษฐกิจในช่วงเดือน ต.ค.-ธ.ค. ปีก่อนมีอัตราการเติบโตสูง
ถึง 7.0% สูงสุดในรอบ 13 ปี อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของผลผลิตอย่างต่อเนื่องส่วนใหญ่เป็นผลมาจาก
การส่งออก ดังนั้น จึงยังเห็นสัญญานของแรงกดดันด้านเงินฝืดว่ายังคงมีอยู่ โดยตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค
(CPI) ที่ไม่รวมราคาอาหารสดในเดือน ม.ค.47 ลดลงร้อยละ 0.1 เทียบต่อปี และลดลงร้อยละ 0.7
เทียบต่อเดือน อีกทั้งการที่ตัวเลขการว่างงานในเดือน ม.ค.47 ที่เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 5.0% จากระดับ 4.9% ใน
เดือนก่อน สะท้อนให้เห็นถึงว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นยังไม่ได้ฟื้นตัวในทุก ๆ ด้านเท่าที่ควร (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 27/2/47 26/2/47 31/12/46 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.303 39.622 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.0740/39.3652 39.4435/39.7378 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.8750 - 1.2800 1.2800 - 1.3000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 697.92/25.62 772.15/41.74 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,350/7,450 7,350/7,450 7,700/7,800 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 29.92 30.27 28.66 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 17.29*/14.39 ปตท.
* ปรับเลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-