1. ความสัมพันธ์ทางการค้าไทย-โปแลนด์
1.1. ภาครัฐบาล
- อนุสัญญาเพื่อการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2521
- ข้อตกลงทางการค้า เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2523
- การจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้าไทย-โปแลนด์ ลงนามเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2523
- การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้า (JTC) ไทย-โปแลนด์
ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 26 - 27 มิถุนายน 2539 ณ กรุงเทพมหานคร
1.2. ภาคเอกชน
- ข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างหอการค้าต่างประเทศโปแลนด์
และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2530
2. การค้าระหว่าง ไทย-โปแลนด์
2.1. การค้ารวม การค้าของไทยกับโปแลนด์ในระยะ 4 ปีที่ผ่านมา (2542-2545) มีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 124.17 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 10.9 โดยในปี 2545 การค้าระหว่างไทยกับโปแลนด์มีมูลค่า 129.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 4.5 โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 35.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สำหรับในช่วงของปี 2546 การค้ารวมมีมูลค่า 150.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ร้อยละ 16.32 โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 19.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
2.2. การส่งออก ในระยะ 4 ปีที่ผ่านมา (2542-2545) การส่งออกของไทยไปโปแลนด์มีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 75.55 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 6.8 โดยในปี 2545 ไทยส่งสินค้าออกไปโปแลนด์เป็นมูลค่า 82.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 เมื่อเทียบกับปี 2544
สำหรับในช่วงของปี 2546 การส่งออกมีมูลค่า 84.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ร้อยละ 3.16
สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ยางพารา เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องยกทรง รัดทรง และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับเป็นต้น
2.3. การนำเข้า ไทยนำเข้าสินค้าจากโปแลนด์ในระยะ 4 ปีที่ผ่านมา (2542-2545) มีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 48.62 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 24.03 โดยในปี 2545 ไทยนำเข้าสินค้าจากโปแลนด์คิดเป็นมูลค่า 47.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 23.7 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
สำหรับในช่วงของปี 2546 การนำเข้ามีมูลค่า 65.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า ร้อยละ 39.28
สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์นม เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม ยากำจัดศัตรูพืช ไม้ซุง ไม้แปรรูปและไม้อื่น ๆ ปุ๋ย เรือและสิ่งก่อสร้างลอยน้ำ เป็นต้น
2.4. ดุลการค้า ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้าโปแลนด์มาตลอด โดยปี 2542 ไทยได้เปรียบดุลการค้าโปแลนด์เป็นมูลค่า 38.1ล้านเหรียญสหรัฐฯ และลดลงเป็น 22.5 และ 11.9 ในปี 2543 และ 2544 ตามลำดับ เป็นที่น่าสังเกตว่ามีการเพิ่มขึ้นของดุลการค้าในปี 2545 เป็น 35.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และปี 2546 เป็น 19.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
3. สินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออกและนำเข้าในอนาคต
3.1. สินค้าส่งออก: อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องยางพารา คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เป็นต้น
3.2. สินค้านำเข้า: ผลิตภัณฑ์นม เรือและสิ่งก่อสร้างลอยน้ำ ปุ๋ย ยากำจัดศัตรูพืช เป็นต้น
4. ปัญหาและอุปสรรคการค้าทวิภาคี
4.1. การธนาคาร และการค้าระหว่างประเทศของโปแลนด์ยังขาดความทันสมัย และไม่พอเพียง รวมทั้งมีความไม่แน่นอนของกฎหมาย เช่น กฎหมายที่เกี่ยวกับภาษีอากรต่างๆ การเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง และสภาวะทางการเมืองยังคงมีความสับสน อีกทั้งยังไม่มีการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเพียงพอ
4.2. รัฐบาลโปแลนด์มีแนวโน้มที่จะกำหนดนโยบายกีดกันทางการค้า เพื่อคุ้มครองสินค้าภายในประเทศ และอุดหนุนสินค้าอาหารและสินค้าเกษตร รวมทั้งการเพิ่มอัตราภาษีศุลกากรสำหรับสินค้านำเข้า นอกเหนือจากการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษ ซึ่งส่งผลกระทบสินค้าส่งออกของไทยโดยตรง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปสินค้าเกษตรและสินค้าอุปโภคบริโภค นอกจากนี้ยังเข้มงวดกวดขันเรื่องการสำแดงรายการและราคาสินค้า
4.3 ความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยลดลง เนื่องจากต้นทุนของไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่งในเอเซีย เช่น จีน อินโดนีเซีย อินเดีย และเวียดนาม
4.4 การค้าระหว่างไทย-โปแลนด์ยังคงต้องผ่านประเทศที่สามเป็นมูลค่าที่สูง เนื่องจากขาดแคลนแหล่งข้อมูลที่ถูกต้อง ทันสมัย และเพียงพอ ทั้งด้านสถิติและเศรษฐกิจ
4.5 ปัญหาที่ผู้นำเข้าของโปแลนด์มีเงินหมุนเวียนไม่มากนัก ต้องการเครดิตระยะยาวประมาณ 30-90 วัน ในการชำระเงินให้แก่ผู้ส่งออกไทย ซึ่งผู้ส่งออกไทยไม่สามารถทำได้
4.6 โปแลนด์มีข้อตกลงลดอากรขาเข้ากับกลุ่มประเทศ EU CEFTA และตุรกี ทำให้การเก็บภาษีศุลกากรสินค้านำเข้าจากกลุ่มประเทศดังกล่าวนั้นต่ำกว่าสินค้าที่นำเข้าจากประเทศไทย นับเป็นอุปสรรคที่สำคัญในการแข่งขัน
4.7 ขั้นตอนในการนำเข้าและพิธีการทางศุลกากรของโปแลนด์มีความล่าช้าและเข้มงวดมาก
4.8 กฎหมายใหม่ซึ่งบังคับใช้ในปี 2545 ให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้าต้องกำจัดหรือรีไซเคิลขยะที่เกิดจากการขายสินค้าตามสัดส่วนที่กำหนด มิฉะนั้น จะต้องชำระเงินตามอัตราที่กำหนด โดยมาตรการดังกล่าวสอดคล้องกับมาตรการของสหภาพยุโรป ที่โปแลนด์กำลังเจรจาเข้าเป็นสมาชิกอยู่ ทำให้เป็นการเพิ่มภาระให้แก่ผู้ผลิตและผู้นำเข้า
4.9 รัฐบาลโปแลนด์วางนโยบายจะเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี เพื่อเพิ่มรายได้ ซึ่งอาจจะเข้มงวดการแสดงราคาสินค้านำเข้ามากขึ้นได้ โดยเฉพาะ สินค้าเสื้อผ้าและรองเท้า ซึ่งอุตสาหกรรมเบาของโปแลนด์ได้รับผลกระทบอย่างมากจากการนำเข้าสินค้าราคาถูกจากเอเซีย อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีคลังคนใหม่ได้ประกาศจะไม่เก็บภาษีการนำเข้า เพื่อสนองนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ นอกจากนั้น ยังเสนอแนวคิดให้กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินซวอตตีต่อเงินยูโร (Fixing rate) ซึ่งจะทำให้ค่าเงินซวอตตีลดลงอย่างมาก
5. ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ
5.1. ในระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา สหภาพยุโรปมีการพิจารณาและขยายสมาชิกภาพมาโดยตลอด สำหรับครั้งปัจจุบันเป็นการพิจารณาการขยายสมาชิกภาพครั้งที่ 5 ซึ่งจะรวมอีก 10 ประเทศ ได้แก่ ไซปรัส สาธารณรัฐเช็ก เอสโตเนีย ฮังการี ลัตเวีย ลิทัวเนีย มอลต้า โปแลนด์ สโลวัก และสโลวีเนีย โดยทั้ง 10 ประเทศ ได้สรุปผลการเจรจาตั้งแต่ปี 2545 และได้มีการลงนามใน Treaty of Accession ไปแล้วเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2546 และจะเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปสมบูรณ์ในวันที่ 1 พ.ค. 2547 เมื่อเข้าเป็นสมาชิกของของสหภาพยุโรปแล้ว ประเทศสมาชิกใหม่จะต้องใช้มาตรการภาษี และมาตรการทางการค้าเดียวกันกับสหภาพยุโรป รวมทั้งใช้ระบบ โควต้าเดียวกัน ซึ่งไทยจะต้องพิจารณาผลได้ผลเสียเป็นรายประเภทสินค้า โดยอาจต้องเจรจาขอชดเชยค่าเสียหายในรายการสินค้าที่ก่อให้เกิดผลเสียแก่ไทย และจากการศึกษาเบื้องต้น สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปโปแลนด์ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากอัตราภาษีที่สูงขึ้นได้แก่ ข้าวเจ้า ข้าวโพด และสับปะรดกระป๋อง
5.2. การค้าระหว่างไทยกับโปแลนด์ในอดีตเคยมีมูลค่าการค้าสูงสุดในปี 2538 ถึง 741 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการค้าได้ลดลงเหลือ 379 และ 309 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2539 และ 2540 ตามลำดับ หลังจากนั้น มูลค่าการค้าได้ลดลงจนมีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 123.92 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2541-2545 สาเหตุมาจากปัญหาทางเศรษฐกิจของไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทำให้มีการนำเข้าจากโปแลนด์ลดลง และกรณีพิพาทเกี่ยวกับการเก็บค่าธรรมเนียมสินค้าเหล็กจากโปแลนด์ อีกทั้งสินค้าไทยที่ส่งไปยังโปแลนด์บางส่วนจะถูกนำไป Re-Export ไปยังรัสเซีย และกลุ่มประเทศ CIS นับตั้งแต่วิกฤติการณ์เศรษฐกิจในรัสเซีย ทำให้รัสเซียนำเข้าสินค้าลดลง ส่งผลให้การส่งออกสินค้าไทยไปยังโปแลนด์ลดน้อยลง
5.3. การค้าระหว่างไทย-โปแลนด์ยังคงผ่านประเทศที่สามเป็นมูลค่าที่สูง ภาครัฐจึงควรสนับสนุนให้ภาคเอกชนได้รู้จักและสนใจที่จะค้าขายโดยตรงกับโปแลนด์เพิ่มขึ้น นอกจากนั้น ควรสนับสนุนแหล่งเงินกู้ให้แก่ผู้ส่งออกไปยังโปแลนด์ ตลอดจนอาจเจรจาทำการค้าระบบหักบัญชีกับโปแลนด์ เพื่อแก้ไขปัญหาที่ผู้นำเข้าโปแลนด์ต้องการเครดิตในระยะยาว
5.4. ชาวโปแลนด์มีความนิยมบริโภคข้าวมากขึ้น เฉลี่ยบริโภคคนละ 0.22 กิโลกรัมต่อเดือน ซึ่งปัจจัยราคามีผลมากต่อการนำเข้าข้าวของผู้นำเข้า โดยเวียดนามเป็นผู้ครองตลาดข้าวของโปแลนด์รายใหญ่ เนื่องจากราคาข้าวของไทยค่อนข้างสูง จึงแข่งขันไม่ได้ อย่างไรก็ตาม นับแต่ปลายปี 2543 เป็นต้นมา ราคาข้าวของไทยลดลงมาใกล้เคียงกับของเวียดนาม ทำให้ผู้นำเข้าสนใจนำเข้าข้าวจากไทยมากขึ้น เนื่องจากข้าวไทยมีคุณภาพสูง ได้เปรียบเวียดนามอยู่แล้ว
5.5. การเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป (EU) ของโปแลนด์นั้น ทำให้โปแลนด์จะต้องใช้อัตราภาษีเดียวกับ EU อาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อสินค้าบางประเภท เช่น ข้าวและปลาทูน่ากระป๋อง ซึ่งปัจจุบันไทยได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรจากโปแลนด์อยู่แล้ว
5.6. โปแลนด์ได้ทำความตกลงกับรัสเซีย โดยสายการบิน LOT ของโปแลนด์ได้รับสิทธิประโยชย์ไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่มในการบินเหนือไซบีเรีย เพื่อการพัฒนาการบินของรัสเซีย ทำให้โปแลนด์สามารถเพิ่มเที่ยวบินไปรัสเซียและประเทศในตะวันออกไกลได้ ซึ่งในขณะนี้ สายการบิน LOT ได้เข้ามาร่วมใน Star Alliance ที่มี Thai Airways อยู่ด้วย จึงมีความเป็นไปได้ที่ LOT จะกลับมาบินไปกลับกรุงเทพฯ อีก ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้นำเข้าสินค้าไทย โดยเฉพาะ สินค้าปลาสวยงาม กล้วยไม้ และเสื้อผ้า ที่ใช้การขนส่งทางอากาศ
สำนักยุโรป เอเซียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (66) 2282-6171-9 แฟกซ์ (66) 2280-0775--จบ--
-พห-
1.1. ภาครัฐบาล
- อนุสัญญาเพื่อการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2521
- ข้อตกลงทางการค้า เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2523
- การจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้าไทย-โปแลนด์ ลงนามเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2523
- การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้า (JTC) ไทย-โปแลนด์
ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 26 - 27 มิถุนายน 2539 ณ กรุงเทพมหานคร
1.2. ภาคเอกชน
- ข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างหอการค้าต่างประเทศโปแลนด์
และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2530
2. การค้าระหว่าง ไทย-โปแลนด์
2.1. การค้ารวม การค้าของไทยกับโปแลนด์ในระยะ 4 ปีที่ผ่านมา (2542-2545) มีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 124.17 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 10.9 โดยในปี 2545 การค้าระหว่างไทยกับโปแลนด์มีมูลค่า 129.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 4.5 โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 35.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สำหรับในช่วงของปี 2546 การค้ารวมมีมูลค่า 150.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ร้อยละ 16.32 โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 19.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
2.2. การส่งออก ในระยะ 4 ปีที่ผ่านมา (2542-2545) การส่งออกของไทยไปโปแลนด์มีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 75.55 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 6.8 โดยในปี 2545 ไทยส่งสินค้าออกไปโปแลนด์เป็นมูลค่า 82.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 เมื่อเทียบกับปี 2544
สำหรับในช่วงของปี 2546 การส่งออกมีมูลค่า 84.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ร้อยละ 3.16
สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ยางพารา เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องยกทรง รัดทรง และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับเป็นต้น
2.3. การนำเข้า ไทยนำเข้าสินค้าจากโปแลนด์ในระยะ 4 ปีที่ผ่านมา (2542-2545) มีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 48.62 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 24.03 โดยในปี 2545 ไทยนำเข้าสินค้าจากโปแลนด์คิดเป็นมูลค่า 47.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 23.7 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
สำหรับในช่วงของปี 2546 การนำเข้ามีมูลค่า 65.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า ร้อยละ 39.28
สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์นม เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม ยากำจัดศัตรูพืช ไม้ซุง ไม้แปรรูปและไม้อื่น ๆ ปุ๋ย เรือและสิ่งก่อสร้างลอยน้ำ เป็นต้น
2.4. ดุลการค้า ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้าโปแลนด์มาตลอด โดยปี 2542 ไทยได้เปรียบดุลการค้าโปแลนด์เป็นมูลค่า 38.1ล้านเหรียญสหรัฐฯ และลดลงเป็น 22.5 และ 11.9 ในปี 2543 และ 2544 ตามลำดับ เป็นที่น่าสังเกตว่ามีการเพิ่มขึ้นของดุลการค้าในปี 2545 เป็น 35.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และปี 2546 เป็น 19.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
3. สินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออกและนำเข้าในอนาคต
3.1. สินค้าส่งออก: อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องยางพารา คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เป็นต้น
3.2. สินค้านำเข้า: ผลิตภัณฑ์นม เรือและสิ่งก่อสร้างลอยน้ำ ปุ๋ย ยากำจัดศัตรูพืช เป็นต้น
4. ปัญหาและอุปสรรคการค้าทวิภาคี
4.1. การธนาคาร และการค้าระหว่างประเทศของโปแลนด์ยังขาดความทันสมัย และไม่พอเพียง รวมทั้งมีความไม่แน่นอนของกฎหมาย เช่น กฎหมายที่เกี่ยวกับภาษีอากรต่างๆ การเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง และสภาวะทางการเมืองยังคงมีความสับสน อีกทั้งยังไม่มีการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเพียงพอ
4.2. รัฐบาลโปแลนด์มีแนวโน้มที่จะกำหนดนโยบายกีดกันทางการค้า เพื่อคุ้มครองสินค้าภายในประเทศ และอุดหนุนสินค้าอาหารและสินค้าเกษตร รวมทั้งการเพิ่มอัตราภาษีศุลกากรสำหรับสินค้านำเข้า นอกเหนือจากการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษ ซึ่งส่งผลกระทบสินค้าส่งออกของไทยโดยตรง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปสินค้าเกษตรและสินค้าอุปโภคบริโภค นอกจากนี้ยังเข้มงวดกวดขันเรื่องการสำแดงรายการและราคาสินค้า
4.3 ความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยลดลง เนื่องจากต้นทุนของไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่งในเอเซีย เช่น จีน อินโดนีเซีย อินเดีย และเวียดนาม
4.4 การค้าระหว่างไทย-โปแลนด์ยังคงต้องผ่านประเทศที่สามเป็นมูลค่าที่สูง เนื่องจากขาดแคลนแหล่งข้อมูลที่ถูกต้อง ทันสมัย และเพียงพอ ทั้งด้านสถิติและเศรษฐกิจ
4.5 ปัญหาที่ผู้นำเข้าของโปแลนด์มีเงินหมุนเวียนไม่มากนัก ต้องการเครดิตระยะยาวประมาณ 30-90 วัน ในการชำระเงินให้แก่ผู้ส่งออกไทย ซึ่งผู้ส่งออกไทยไม่สามารถทำได้
4.6 โปแลนด์มีข้อตกลงลดอากรขาเข้ากับกลุ่มประเทศ EU CEFTA และตุรกี ทำให้การเก็บภาษีศุลกากรสินค้านำเข้าจากกลุ่มประเทศดังกล่าวนั้นต่ำกว่าสินค้าที่นำเข้าจากประเทศไทย นับเป็นอุปสรรคที่สำคัญในการแข่งขัน
4.7 ขั้นตอนในการนำเข้าและพิธีการทางศุลกากรของโปแลนด์มีความล่าช้าและเข้มงวดมาก
4.8 กฎหมายใหม่ซึ่งบังคับใช้ในปี 2545 ให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้าต้องกำจัดหรือรีไซเคิลขยะที่เกิดจากการขายสินค้าตามสัดส่วนที่กำหนด มิฉะนั้น จะต้องชำระเงินตามอัตราที่กำหนด โดยมาตรการดังกล่าวสอดคล้องกับมาตรการของสหภาพยุโรป ที่โปแลนด์กำลังเจรจาเข้าเป็นสมาชิกอยู่ ทำให้เป็นการเพิ่มภาระให้แก่ผู้ผลิตและผู้นำเข้า
4.9 รัฐบาลโปแลนด์วางนโยบายจะเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี เพื่อเพิ่มรายได้ ซึ่งอาจจะเข้มงวดการแสดงราคาสินค้านำเข้ามากขึ้นได้ โดยเฉพาะ สินค้าเสื้อผ้าและรองเท้า ซึ่งอุตสาหกรรมเบาของโปแลนด์ได้รับผลกระทบอย่างมากจากการนำเข้าสินค้าราคาถูกจากเอเซีย อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีคลังคนใหม่ได้ประกาศจะไม่เก็บภาษีการนำเข้า เพื่อสนองนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ นอกจากนั้น ยังเสนอแนวคิดให้กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินซวอตตีต่อเงินยูโร (Fixing rate) ซึ่งจะทำให้ค่าเงินซวอตตีลดลงอย่างมาก
5. ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ
5.1. ในระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา สหภาพยุโรปมีการพิจารณาและขยายสมาชิกภาพมาโดยตลอด สำหรับครั้งปัจจุบันเป็นการพิจารณาการขยายสมาชิกภาพครั้งที่ 5 ซึ่งจะรวมอีก 10 ประเทศ ได้แก่ ไซปรัส สาธารณรัฐเช็ก เอสโตเนีย ฮังการี ลัตเวีย ลิทัวเนีย มอลต้า โปแลนด์ สโลวัก และสโลวีเนีย โดยทั้ง 10 ประเทศ ได้สรุปผลการเจรจาตั้งแต่ปี 2545 และได้มีการลงนามใน Treaty of Accession ไปแล้วเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2546 และจะเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปสมบูรณ์ในวันที่ 1 พ.ค. 2547 เมื่อเข้าเป็นสมาชิกของของสหภาพยุโรปแล้ว ประเทศสมาชิกใหม่จะต้องใช้มาตรการภาษี และมาตรการทางการค้าเดียวกันกับสหภาพยุโรป รวมทั้งใช้ระบบ โควต้าเดียวกัน ซึ่งไทยจะต้องพิจารณาผลได้ผลเสียเป็นรายประเภทสินค้า โดยอาจต้องเจรจาขอชดเชยค่าเสียหายในรายการสินค้าที่ก่อให้เกิดผลเสียแก่ไทย และจากการศึกษาเบื้องต้น สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปโปแลนด์ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากอัตราภาษีที่สูงขึ้นได้แก่ ข้าวเจ้า ข้าวโพด และสับปะรดกระป๋อง
5.2. การค้าระหว่างไทยกับโปแลนด์ในอดีตเคยมีมูลค่าการค้าสูงสุดในปี 2538 ถึง 741 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการค้าได้ลดลงเหลือ 379 และ 309 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2539 และ 2540 ตามลำดับ หลังจากนั้น มูลค่าการค้าได้ลดลงจนมีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 123.92 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2541-2545 สาเหตุมาจากปัญหาทางเศรษฐกิจของไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทำให้มีการนำเข้าจากโปแลนด์ลดลง และกรณีพิพาทเกี่ยวกับการเก็บค่าธรรมเนียมสินค้าเหล็กจากโปแลนด์ อีกทั้งสินค้าไทยที่ส่งไปยังโปแลนด์บางส่วนจะถูกนำไป Re-Export ไปยังรัสเซีย และกลุ่มประเทศ CIS นับตั้งแต่วิกฤติการณ์เศรษฐกิจในรัสเซีย ทำให้รัสเซียนำเข้าสินค้าลดลง ส่งผลให้การส่งออกสินค้าไทยไปยังโปแลนด์ลดน้อยลง
5.3. การค้าระหว่างไทย-โปแลนด์ยังคงผ่านประเทศที่สามเป็นมูลค่าที่สูง ภาครัฐจึงควรสนับสนุนให้ภาคเอกชนได้รู้จักและสนใจที่จะค้าขายโดยตรงกับโปแลนด์เพิ่มขึ้น นอกจากนั้น ควรสนับสนุนแหล่งเงินกู้ให้แก่ผู้ส่งออกไปยังโปแลนด์ ตลอดจนอาจเจรจาทำการค้าระบบหักบัญชีกับโปแลนด์ เพื่อแก้ไขปัญหาที่ผู้นำเข้าโปแลนด์ต้องการเครดิตในระยะยาว
5.4. ชาวโปแลนด์มีความนิยมบริโภคข้าวมากขึ้น เฉลี่ยบริโภคคนละ 0.22 กิโลกรัมต่อเดือน ซึ่งปัจจัยราคามีผลมากต่อการนำเข้าข้าวของผู้นำเข้า โดยเวียดนามเป็นผู้ครองตลาดข้าวของโปแลนด์รายใหญ่ เนื่องจากราคาข้าวของไทยค่อนข้างสูง จึงแข่งขันไม่ได้ อย่างไรก็ตาม นับแต่ปลายปี 2543 เป็นต้นมา ราคาข้าวของไทยลดลงมาใกล้เคียงกับของเวียดนาม ทำให้ผู้นำเข้าสนใจนำเข้าข้าวจากไทยมากขึ้น เนื่องจากข้าวไทยมีคุณภาพสูง ได้เปรียบเวียดนามอยู่แล้ว
5.5. การเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป (EU) ของโปแลนด์นั้น ทำให้โปแลนด์จะต้องใช้อัตราภาษีเดียวกับ EU อาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อสินค้าบางประเภท เช่น ข้าวและปลาทูน่ากระป๋อง ซึ่งปัจจุบันไทยได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรจากโปแลนด์อยู่แล้ว
5.6. โปแลนด์ได้ทำความตกลงกับรัสเซีย โดยสายการบิน LOT ของโปแลนด์ได้รับสิทธิประโยชย์ไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่มในการบินเหนือไซบีเรีย เพื่อการพัฒนาการบินของรัสเซีย ทำให้โปแลนด์สามารถเพิ่มเที่ยวบินไปรัสเซียและประเทศในตะวันออกไกลได้ ซึ่งในขณะนี้ สายการบิน LOT ได้เข้ามาร่วมใน Star Alliance ที่มี Thai Airways อยู่ด้วย จึงมีความเป็นไปได้ที่ LOT จะกลับมาบินไปกลับกรุงเทพฯ อีก ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้นำเข้าสินค้าไทย โดยเฉพาะ สินค้าปลาสวยงาม กล้วยไม้ และเสื้อผ้า ที่ใช้การขนส่งทางอากาศ
สำนักยุโรป เอเซียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (66) 2282-6171-9 แฟกซ์ (66) 2280-0775--จบ--
-พห-