เศรษฐกิจโดยรวมในเดือนมกราคมยังขยายตัวต่อเนื่อง แม้ว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักธุรกิจจะลดลงบ้างจากข่าวเรื่องการระบาดของโรคไข้หวัดนกในไก่ แต่อุปสงค์ในประเทศยังขยายตัวได้ดีและอุปสงค์ต่างประเทศก็อยู่ในระดับสูง สะท้อนจากมูลค่าการส่งออกที่ขยายตัวดีตามการเพิ่มขึ้นของราคาในภาคการผลิต ผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวดีตามอุปสงค์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักยังคงเพิ่มสูงขึ้นตามราคาสินค้าเกษตรที่สูงต่อเนื่อง สำหรับในภาคบริการ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติขยายตัวสูง ส่วนหนึ่งเพราะเป็นช่วงเทศกาลตรุษจีน เสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลต่อเนื่อง และเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง ขณะที่หนี้ต่างประเทศลดลงจากเดือนก่อน
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนมกราคม มีดังนี้
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 11.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะหมวดอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการส่งออกแผงวงจรรวมไปตลาดสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นมาก หมวดวัสดุก่อสร้างและหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์จากเหล็กที่ขยายตัวดีตามอุปสงค์ของธุรกิจก่อสร้างในประเทศ กอปรกับราคา ผลิตภัณฑ์เหล็กที่มีแนวโน้มสูงขึ้นช่วยจูงใจให้มีการผลิตเพิ่ม และหมวดยานยนต์ที่เพิ่มขึ้นจากการผลิตเพื่อทยอยส่งมอบรถให้กับผู้สั่งจองสินค้าในงาน Motor Expo
อัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ร้อยละ 74.6 เพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 73.0 ในเดือนก่อน ซึ่งนอกจากจะเป็นผลจากอุปสงค์ที่ขยายตัวดีแล้ว ส่วนหนึ่งยังเป็นเพราะปัจจัยชั่วคราว ได้แก่ การผลิตที่ขยายตัวดีในอุตสาหกรรมน้ำตาลเนื่องจากผลผลิตอ้อยเอื้ออำนวย และการสต็อกสินค้าไว้ก่อนการปิดซ่อมบำรุงโรงงานในหมวดยาสูบ
2. การใช้จ่ายภายในประเทศ ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (เบื้องต้น) อยู่ในระดับเดียวกันกับเดือนก่อน แต่เนื่องจากฐานที่สูงในเดือนมกราคมปีก่อน อัตราการขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนจึงชะลอลงจากร้อยละ 4.2 ในเดือนธันวาคม 2546 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.8 ส่วนดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 17.4 ชะลอลงจากร้อยละ 26.0 ในเดือนก่อนเนื่องจากการชะลอตัวของเครื่องชี้การลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ ในขณะที่เครื่องชี้ด้านการก่อสร้างยังคง แสดงแนวโน้มการขยายตัวในเกณฑ์สูง
3. ภาคการคลัง รายได้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.0 ที่สำคัญคือรายได้ภาษีบนฐานรายได้และฐานการบริโภค ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.3 และ 20.2 ตามลำดับ สำหรับรายจ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.0 ทำให้ดุลเงินในงบประมาณขาดดุล 1.6 พันล้านบาท ขณะที่ดุลเงินนอกงบประมาณเกินดุล 13.2 พันล้านบาท รัฐบาลจึงเกินดุลเงินสด 11.6 พันล้านบาทในเดือนนี้
4. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.2 โดยราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 ตามราคาข้าวสารหอมมะลิที่ความต้องการสูงขึ้น ขณะที่ราคาในหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารไม่เปลี่ยนแปลงจากระยะเดียวกันปีก่อน สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานลดลงร้อยละ 0.1 เป็นผลจากค่าเช่าบ้านที่ลดลงต่อเนื่องเป็นสำคัญ
ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.8 โดยเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าทุกหมวด ทั้งนี้ หมวดผลผลิตเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นมากที่สุดร้อยละ 10.1 รองลงมาได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองและหมวดผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 และ 1.7 ตามลำดับ
5. ภาคต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9 เป็น 6,897 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยสินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ สินค้าเกษตร ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากราคาข้าวและยางพาราที่สูงขึ้น และสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตสูง โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ขยายตัวต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์โลก ส่วนมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.0 เป็น 6,863 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าวัตถุดิบ เหล็ก และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งสินค้าทุนประเภทเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ ดุลการค้าจึงเกินดุลลดลงมากเหลือเพียง 34 ล้านดอลลาร์ สรอ. แต่เนื่องจากดุลบริการ รายได้ และเงินโอนเกินดุลสูงถึง 778 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากรายได้ท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีน ดุลบัญชีเดินสะพัดจึงเกินดุล 812 ล้านดอลลาร์ สรอ. ใกล้เคียงกับเดือนก่อน และดุลการชำระเงินเกินดุล 147 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือนนี้
เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมกราคมอยู่ที่ระดับ 42.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 7.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
6. ภาวะการเงิน ปริมาณเงิน M2 M2A และ M3 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.7 5.8 และ 4.7 ตามลำดับ โดยมีปัจจัยหลักจากเงินฝากธนาคารพาณิชย์ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ส่วนหนึ่งเนื่องจากธนาคารพาณิชย์ที่มีการไถ่ถอน SLIPS ก่อนกำหนดได้โอนเงินค่าไถ่ถอนเข้าบัญชีเงินฝากของของลูกค้า สำหรับสินเชื่อที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ ณ สิ้นเดือนมกราคมขยายตัวร้อยละ 5.1 เร่งขึ้นจากร้อยละ 4.8 ในเดือนก่อน
อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินโน้มลดลงจากเดือนธันวาคม 2546 เนื่องจากมีสภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ค่อนข้างสูง ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันลดลงจากร้อยละ 1.01 ต่อปีในเดือนก่อนมาเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.95 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 1.03 ต่อปีมาอยู่ที่ร้อยละ 1.02 ต่อปี
7. เงินบาท ค่าเงินบาทในเดือนมกราคมเฉลี่ยอยู่ที่ 39.09 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจาก 39.71 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนก่อน โดยในช่วงครึ่งแรกของเดือนเงินบาทแข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากจากการขายเงินดอลลาร์ สรอ. ของผู้ส่งออกและกองทุนจากต่างประเทศ เนื่องจากนักลงทุนมีความมั่นใจในพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยก่อนจะอ่อนค่าลงในช่วงครึ่งหลังของเดือน
สำหรับค่าเงินบาทในช่วงวันที่ 1-25 กุมภาพันธ์เฉลี่ยอยู่ที่ 39.07 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นอีกเล็กน้อย โดยในช่วงครึ่งเดือนแรกเงินบาทแข็งค่าขึ้นจากการลงทุนเพิ่มขึ้นของนักลงทุนต่างประเทศในตลาดหลักทรัพย์ไทย อย่างไรก็ดี ในช่วงครึ่งหลังของเดือนเงินบาทได้อ่อนค่าลง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนมกราคม มีดังนี้
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 11.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะหมวดอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการส่งออกแผงวงจรรวมไปตลาดสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นมาก หมวดวัสดุก่อสร้างและหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์จากเหล็กที่ขยายตัวดีตามอุปสงค์ของธุรกิจก่อสร้างในประเทศ กอปรกับราคา ผลิตภัณฑ์เหล็กที่มีแนวโน้มสูงขึ้นช่วยจูงใจให้มีการผลิตเพิ่ม และหมวดยานยนต์ที่เพิ่มขึ้นจากการผลิตเพื่อทยอยส่งมอบรถให้กับผู้สั่งจองสินค้าในงาน Motor Expo
อัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ร้อยละ 74.6 เพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 73.0 ในเดือนก่อน ซึ่งนอกจากจะเป็นผลจากอุปสงค์ที่ขยายตัวดีแล้ว ส่วนหนึ่งยังเป็นเพราะปัจจัยชั่วคราว ได้แก่ การผลิตที่ขยายตัวดีในอุตสาหกรรมน้ำตาลเนื่องจากผลผลิตอ้อยเอื้ออำนวย และการสต็อกสินค้าไว้ก่อนการปิดซ่อมบำรุงโรงงานในหมวดยาสูบ
2. การใช้จ่ายภายในประเทศ ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (เบื้องต้น) อยู่ในระดับเดียวกันกับเดือนก่อน แต่เนื่องจากฐานที่สูงในเดือนมกราคมปีก่อน อัตราการขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนจึงชะลอลงจากร้อยละ 4.2 ในเดือนธันวาคม 2546 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.8 ส่วนดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 17.4 ชะลอลงจากร้อยละ 26.0 ในเดือนก่อนเนื่องจากการชะลอตัวของเครื่องชี้การลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ ในขณะที่เครื่องชี้ด้านการก่อสร้างยังคง แสดงแนวโน้มการขยายตัวในเกณฑ์สูง
3. ภาคการคลัง รายได้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.0 ที่สำคัญคือรายได้ภาษีบนฐานรายได้และฐานการบริโภค ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.3 และ 20.2 ตามลำดับ สำหรับรายจ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.0 ทำให้ดุลเงินในงบประมาณขาดดุล 1.6 พันล้านบาท ขณะที่ดุลเงินนอกงบประมาณเกินดุล 13.2 พันล้านบาท รัฐบาลจึงเกินดุลเงินสด 11.6 พันล้านบาทในเดือนนี้
4. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.2 โดยราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 ตามราคาข้าวสารหอมมะลิที่ความต้องการสูงขึ้น ขณะที่ราคาในหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารไม่เปลี่ยนแปลงจากระยะเดียวกันปีก่อน สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานลดลงร้อยละ 0.1 เป็นผลจากค่าเช่าบ้านที่ลดลงต่อเนื่องเป็นสำคัญ
ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.8 โดยเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าทุกหมวด ทั้งนี้ หมวดผลผลิตเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นมากที่สุดร้อยละ 10.1 รองลงมาได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองและหมวดผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 และ 1.7 ตามลำดับ
5. ภาคต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9 เป็น 6,897 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยสินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ สินค้าเกษตร ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากราคาข้าวและยางพาราที่สูงขึ้น และสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตสูง โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ขยายตัวต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์โลก ส่วนมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.0 เป็น 6,863 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าวัตถุดิบ เหล็ก และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งสินค้าทุนประเภทเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ ดุลการค้าจึงเกินดุลลดลงมากเหลือเพียง 34 ล้านดอลลาร์ สรอ. แต่เนื่องจากดุลบริการ รายได้ และเงินโอนเกินดุลสูงถึง 778 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากรายได้ท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีน ดุลบัญชีเดินสะพัดจึงเกินดุล 812 ล้านดอลลาร์ สรอ. ใกล้เคียงกับเดือนก่อน และดุลการชำระเงินเกินดุล 147 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือนนี้
เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมกราคมอยู่ที่ระดับ 42.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 7.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
6. ภาวะการเงิน ปริมาณเงิน M2 M2A และ M3 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.7 5.8 และ 4.7 ตามลำดับ โดยมีปัจจัยหลักจากเงินฝากธนาคารพาณิชย์ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ส่วนหนึ่งเนื่องจากธนาคารพาณิชย์ที่มีการไถ่ถอน SLIPS ก่อนกำหนดได้โอนเงินค่าไถ่ถอนเข้าบัญชีเงินฝากของของลูกค้า สำหรับสินเชื่อที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ ณ สิ้นเดือนมกราคมขยายตัวร้อยละ 5.1 เร่งขึ้นจากร้อยละ 4.8 ในเดือนก่อน
อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินโน้มลดลงจากเดือนธันวาคม 2546 เนื่องจากมีสภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ค่อนข้างสูง ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันลดลงจากร้อยละ 1.01 ต่อปีในเดือนก่อนมาเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.95 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 1.03 ต่อปีมาอยู่ที่ร้อยละ 1.02 ต่อปี
7. เงินบาท ค่าเงินบาทในเดือนมกราคมเฉลี่ยอยู่ที่ 39.09 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจาก 39.71 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนก่อน โดยในช่วงครึ่งแรกของเดือนเงินบาทแข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากจากการขายเงินดอลลาร์ สรอ. ของผู้ส่งออกและกองทุนจากต่างประเทศ เนื่องจากนักลงทุนมีความมั่นใจในพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยก่อนจะอ่อนค่าลงในช่วงครึ่งหลังของเดือน
สำหรับค่าเงินบาทในช่วงวันที่ 1-25 กุมภาพันธ์เฉลี่ยอยู่ที่ 39.07 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นอีกเล็กน้อย โดยในช่วงครึ่งเดือนแรกเงินบาทแข็งค่าขึ้นจากการลงทุนเพิ่มขึ้นของนักลงทุนต่างประเทศในตลาดหลักทรัพย์ไทย อย่างไรก็ดี ในช่วงครึ่งหลังของเดือนเงินบาทได้อ่อนค่าลง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-