= ประธานรัฐสภาให้การต้อนรับ
วันพฤหัสบดีที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา
และประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้การต้อนรับผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี พร้อมคณะประธาน รองประธาน
และเลขานุการสภา อบต.ในเขตท้องที่อำเภอปากท่อ ซึ่งเดินทางมาเยี่ยมคารวะ และศึกษาดูงานและชมวิธีการ
ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ณ ห้องสารนิเทศ ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา ๑
= ประธานรัฐสภาบรรยายพิเศษ
วันพฤหัสบดีที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ เวลา ๑๐.๓๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา
และประธานสภาผู้แทนราษฎร บรรยายพิเศษในหัวข้อ "บทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสตรีในสายตาของประธานรัฐสภา"
ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ หมายเลข ๒๑๑-๒๑๓ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๒
= ประชุม ก.ร.
วันจันทร์ที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ เวลา ๑๔.๐๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา
และประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในการประชุม ก.ร. ครั้งที่ ๒/๒๕๔๗ ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ
หมายเลข ๔ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๑
= ประชุมประธานคณะกรรมาธิการ
วันอังคารที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา นายสุชาติ ตันเจริญ
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง เป็นประธานในการประชุม ร่วมกับประธานคณะกรรมาธิการสามัญ
ประจำสภาผู้แทนราษฎร ทุกคณะ ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ หมายเลข ๓๗๐๑ ชั้น ๗ อาคารรัฐสภา ๓
= ที่ปรึกษาอาวุโสฝ่ายนิติบัญญัติประจำรัฐสภาแห่งกัมพูชาเยือนรัฐสภาไทย
เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ให้การรับรอง Dr. Khim Chhun Y. ที่ปรึกษาอาวุโสฝ่ายนิติบัญญัติประจำรัฐสภาแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา และคณะ
ในโอกาสเดินทางมาศึกษาดูงานและเยี่ยมชมรัฐสภา ณ ห้องรับรอง ๑ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๑
Dr. Khim Chhun Y. ได้กล่าวแสดงความขอบคุณเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ที่ได้
สละเวลามาให้การต้อนรับ ซึ่งคณะที่ร่วมเดินทางมาศึกษาดูงานในครั้งนี้ประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่าย
นิติบัญญัติของสำนักงานเลขาธิการวุมิสภาและสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
โดยการสนับสนุนจากองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของแคนาดาและต้องการศึกษาเกี่ยวกับ
การตรากฎหมายเพื่อป้องกันความรุนแรงภายในและการบัญญัติกฎหมาย เพื่อต่อต้านการทุจริตในการเลือกตั้ง
ซึ่งจะได้เดินทางดูงานที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาด้วย ทั้งนี้ได้ม่ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับ
เรื่องดังกล่าวแล้วในราชอาณาจักรกัมพูชาและกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณา อย่างไรก็ตาม
ทางคณะจะต้องศึกษาการบัญญัติกฎหมายในหลายมาตราของไทยที่รัฐสภากัมพูชาไม่มีการบัญญัติไว้เพื่อเป็นแนวทางต่อไป
นายพิทูร พุ่มหิรัญ แสดงความยินดีที่ได้มีโอกาสต้อนรับและได้แนะนำ พล.อ.จิระ
นาวีเสถียร ผู้ชำนาญการด้านการต่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ที่ได้มาร่วมให้การต้อนรับด้วย
และได้กล่าวถึงการเลือกตั้งของวุฒิสภาที่ผ่านมา ซึ่งก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียให้ได้ศึกษาและ
หาแนวทางแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงการทุจริตคอรัปชั่น ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขโดยเร็ว
และในท้ายสุดได้กล่าวแสดงเจตนารมณ์ในการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนราชอาณาจักรกัมพูชา
เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างทั้งสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นต่อไป
= วางพานพุ่ม
วันอังคารที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
พร้อมด้วยข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร นำพานประดับพุ่มดอกไม้ ในนาม "สภาผู้แทนราษฎร"
ถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ณ อุทยานพระบรมราชานุสรณ์
อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
= ประธานรัฐสภาเปิดกิจกรรม "รัฐสภาสัญจร"
วันจันทร์ที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธาน
รัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานเปิดการสัมมนากิจกรรม "รัฐสภาสัญจร" ณ โรงแรม
โซฟิเทล ราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น
การจัดสัมมนาในครั้งนี้ได้มีตัวแทนจากจังหวัดขอนแก่น นครราชสีมา สกลนคร เลย หนองคาย ชัยภูมิ
มหาสารคาม กาฬสินธุ์ อุดรธานี และหนองบัวลำภู เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน ๑,๐๐๐ คน
การจัดกิจกรรม "รัฐสภาสัญจร" เพื่อมุ่งส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเมือง
การปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา กฎหมาย รัฐธรรมนูญ สิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ของ
ประชาชน บทบาทภารกิจ และอำนาจหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติไปสู่ประชาชนในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ
โดยเน้นการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนกับฝ่ายนิติบัญญัติให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น เพื่อพัฒนาประชารัฐ
และประชาธิปไตยให้มีความเข้มแข็งทัดเทียมกับนานาอารยประเทศที่พัฒนา และเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
อีกทั้งยังเป็นโอกาสให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พบปะกับประชาชนเพื่อรับทราบและนำปัญหา
ในพื้นที่ไปสู่การแก้ไขให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
= พรรคการเมืองแถลงผลงาน
สถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภาได้จัดสรรเวลาเพื่อให้พรรคการเมืองแถลงผลงาน
ในรอบปี ๒๕๔๗ ซึ่งเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พุทธศักราช ๒๕๔๑
โดยรับสัญญาณการออกอากาศจากสถานีวิทยุกระจายเสียงองค์การ สื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.)
ตั้งแต่วันที่ ๑-๑๑ มีนาคมนี้ ขอเชิญท่านติดตามรับฟังการแถลงผลงานของพรรคการเมือง ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา
ในเวลา ๑๒.๓๐-๑๓.๐๐ นาฬิกา
๑ มีนาคม พรรคไทยรักไทย
๒ มีนาคม พรรคกิจสังคม
๓ มีนาคม พรรคชาติพัฒนา
๔ มีนาคม พรรคความหวังใหม่
๕ มีนาคม พรรคประชาธิปัตย์
๘ มีนาคม พรรคราษฎร
๙ มีนาคม พรรคชาติไทย
๑๐ มีนาคม พรรคไทยรักไทย
๑๑ มีนาคม พรรคประชาธิปัตย์
ส่วนในกรณีที่ตรงกับวันที่มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรหรือการประชุมวุฒิสภา
ทางสถานีฯ มีภารกิจในการถ่ายทอดเสียงการประชุม ตั้งแต่เริ่มจนเสร็จสิ้นการประชุม จึงมีความจำเป็น
ที่จะต้องนำเทปแถลงผลงานของพรรคการเมืองที่มีกำหนดออกอากาศในวันดังกล่าว มานำเสนอหลังจากการประชุมเสร็จสิ้นลง
= ขอเชิญข้าราชการเข้ารับฟังการบรรยายธรรมเนื่องในวันมาฆบูชา
สำนักพัฒนาบุคลากรได้กำหนดจัดโครงการบรรยายธรรมเนื่องในวันมาฆบูชาให้แก่
ข้าราชการ และลูกจ้าง ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งบุคลากรของรัฐสภา โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อให้ข้าราชการและลูกจ้าง รวมถึงบุคลากรของรัฐสภาได้เพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจใน
หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า และนำหลักของคุณธรรมและจริยธรรมมาใช้ในการปฏิบัติงาน
ตลอดจนมีความตระหนักร่วมกันในการจรรโลงและรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของไทย
การบรรยายธรรมในครั้งนี้ บรรยายโดย พระพิพิธธรรมสุนทร วัดสุทัศนเทพวราราม ใน
หัวข้อเรื่อง "ศีลและธรรมสำคัญอย่างไร" จึงขอเชิญข้าราชการและลูกจ้างร่วมฟังการบรรยายธรรม ใน
วันอังคารที่ ๒ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๐๙.๐๐-๑๑.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ
หมายเลข ๒๑๓-๒๑๖ อาคารรัฐสภา ๒
= สวนสัตว์เขาดินงดใช้ลานจอดรถ
สำนักรักษาความปลอดภัย แจ้งข่าวการงดใช้ลานจอดรถยนต์ภายในสวนสัตว์ดุสิต เนื่องจาก
องค์การสวนสัตว์กำลังก่อสร้างอาคารจอดรถยนต์บริเวณที่เคยอนุเคราะห์ใช้เป็นสถานที่จอดรถแก่สมาชิก
รัฐสภา ข้าราชการ และลูกจ้างของรัฐสภา ในวันประชุม
ซึ่งการก่อสร้างอาคารจอดรถยนต์นี้มีกำหนดเสร็จสิ้นภายใน ๙ เดือน จึงของดใช้ลานจอดรถในบริเวณดังกล่าว
ตั้งแต่วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ เป็นต้นไป ทั้งนี้ สมาชิกรัฐสภา ข้าราชการและ
ลูกจ้างของรัฐสภาสามารถไปจอดรถที่สำนักพระราชวัง (สนามเสือป่า) เช่นเดิม
= กรมการปกครองเปิด Website "ข้อมูลอำเภอบริการประชาชน"
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานหลักที่สำคัญในการจัดบริการสาธารณะ
ให้แก่ประชาชน โดยได้สร้างระบบบริการที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์มากที่สุด
จึงจัดทำฐานข้อมูลผ่านเครือข่ายเชื่อมโยงระบบอินเตอร์เน็ตกับภาครัฐและเอกชนในภายใต้เว็บไซต์ที่ชื่อ
"www. amphoe.com" ซึ่งจะมีข้อมูลบริการประชาชนประกอบด้วย
l ข้อมูลทั่วไปของอำเภอ l โครงการสำคัญของอำเภอ
- ประวัติความเป็นมา l ข่าวประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ
- เนื้อที่ / พื้นที่ - อาชีพ
- สภาพภูมิอากาศ - ธนาคาร
l ข้อมูลด้านสังคม - ห้างสรรพสินค้า
- โรงเรียน / มหาวิทยาลัย l ข้อมูลด้านทรัพยากรธรรมชาติ
l ข้อมูลด้านการเกษตร / อุตสาหกรรม l ข้อมูลด้านคมนาคม
l ข้อมูลด้านแหล่งท่องเที่ยว l ข้อมูลด้านโครงสร้าง / ภารกิจของ
- โรงแรม / เกสต์เฮ้าส์ ที่ว่าการอำเภอ
- ภัตตาคาร ร้านอาหาร ศูนย์อาหาร l ผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่ง
- เทศกาลสำคัญของอำเภอ ผลิตภัณฑ์ (OTOP)
l ข้อมูลด้านประชากร l หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ
= การเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดทั่วประเทศ
องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นหน่วยงานการปกครองท้องถิ่นที่จัดตั้งขึ้นในทุกจังหวัด
ปัจจุบันอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. ๒๕๔๐ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ
วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๐ มีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการภายในองค์การบริหารส่วนจังหวัด คือ
๑. ตราข้อบัญญัติโดยไม่ขัดแย้งต่อกฎหมาย
๒. จัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด
ตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
๓. สนับสนุนสภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น
๔. ประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของสภาตำบลและราชการ
ส่วนท้องถิ่น
๕. แบ่งสรรเงินซึ่งตามกฎหมายจะต้องแบ่งให้แก่สภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่น
๖. อำนาจหน้าที่ของจังหวัดตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด
พ.ศ. ๒๔๙๘ เฉพาะภายในเขตสภาตำบล
๗. คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๘. จัดทำกิจกรรมใด ๆ อันเป็นอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นอื่น ที่อยู่ในเขต
องค์การบริหารส่วนจังหวัด และกิจการนั้นเป็นการสมควรให้ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นรวมกันดำเนินการ
หรือให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทำ ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกระทรวง
๙. จัดทำกิจกรรมอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็น
อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
การเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดทั้ง ๗๔ จังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร เนื่องจาก
อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งได้มี
การเลือกตั้งไปก่อนแล้ว โดยจะมีขึ้นในวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๔๗
รัฐสภาเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬา"จตุสัมพันธ์สามัคคี" ระหว่างวันที่ ๑-๔ มีนาคม ๒๕๔๗
ณ สนามกีฬากระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี
โดยมีประเภทกีฬา ดังนี้
๑. ฟุตบอลชาย (๑๑ คน)
๒. ฟุตบอลหญิง (๗ คน)
๓. ปิงปอง ประเภททีม
๔. แบดมินตัน ประเภททีม
๕. เปตอง ประเภททีม
๖. กอล์ฟผู้บริหาร
= การประชุมสภาผู้แทนราษฎร
สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
วันพุธที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๗ (สมัยสามัญทั่วไป) ที่ประชุมได้มีมติให้เลื่อน
พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ ขึ้นมาพิจารณาก่อน
โดย ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้อภิปรายถึง
พระราชกำหนดดังกล่าวว่าด้วยประเทศไทยได้ลงนามในพิธีศาลว่าด้วยการนำพิกัดอัตราศุลกากร Harmonize Asian
มาใช้ ทำให้ต้องแก้ไขพิกัดอัตราศุลกากรให้สอดคล้องกับพันธะกรณีตามพิธีศาล
ดังกล่าว ซึ่งจะทำให้สามารถจำแนกประเภทสินค้าของอาเซียน ซึ่งมีความสำคัญในการขยายความ
ร่วมมือทางเศรษฐกิจและการอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างประเทศในกลุ่มประเทศสมาชิก
อาเซียนและจำเป็นต้องดำเนินการโดยเร่งด่วน เพื่อประโยชน์ต่อการลงทุนในอาเซียนและส่งเสริม
สนับสนุนการเปิดการค้าเสรี อันจะส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศมั่นคงยิ่งขึ้น
ต่อจากนั้นที่ประชุมได้มีการลงมติด้วยคะแนนเสียง ๒๘๑ คะแนน ไม่เห็นด้วย ๑ คะแนน และงดออกเสียง ๖ คะแนน
ให้ผ่านพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗ เพื่อประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป
ต่อมาได้มีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว โดย ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้กล่าวรายงานผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ พ.ศ. …. ว่า ตามที่สภาผู้แทนราษฎร
ได้มีมติรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ พ.ศ. ….
ซึ่งรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ และได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างและทางคณะ
กรรมาธิการวิสามัญได้มีการประชุมตั้งแต่วันที่ ๑๒-๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ ซึ่งบัดนี้ได้พิจารณาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ต่อจากนั้นที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณฯ
เรียงตามลำดับมาตรา ซึ่งไม่มีการแก้ไขในมาตรา ๑, ๒ และ ๓ และมีกรรมาธิการขอสงวนความเห็น
และสงวนคำแปรญัตติในมาตราที่ ๓ โดย นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ
นายสรรเสริญ สมะลาภา นายอลงกรณ์ พลบุตร และ นายจุติ ไกรฤกษ์ ได้สงวนความเห็นให้ปรับลด
งบประมาณลงเนื่องจาก เกิดการสูญเปล่าและสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ และเห็นว่าการชี้แจงของรัฐบาล
ยังไม่มีความชัดเจนรวมทั้งเอกสารที่นำมาประกอบการพิจารณาไม่ตรงกับความเป็นจริงและขาด
หลักเกณฑ์ในการจัดทำงบประมาณ นอกจากนี้ยังไม่มีความโปร่งใสและกระจายงบประมาณในแต่ละจังหวัด
อย่างไม่เท่าเทียมกัน โดยคณะกรรมาธิการได้ชี้แจงว่า รายได้ของรัฐบาลทั้งหมดนั้นจะถูกนำไปจัดไว้ในบัญชีเงินคงคลัง
ซึ่งการที่จะนำเงินในบัญชีดังกล่าวมาใช้นั้น ในทางปฏิบัติแล้วจะไม่สามารถระบุได้ว่านำมาจากเงินในส่วนใด
ทั้งนี้การนำเงินไปใช้จะต้องอยู่ในกรอบของแผนงานและในบางโครงการก็ได้มีการกำหนดรายละเอียดของ
การนำเงินไปใช้ อีกทั้งรัฐบาลได้ใช้ความพยายามอย่างที่สุดแล้วในการ รวบรวมเอกสารต่าง ๆ
เพื่อนำมาประกอบการพิจารณา
ซึ่งที่ประชุมได้มีมติด้วยคะแนนเสียง ๒๗๔ คะแนน ไม่เห็นด้วย ๖๙ คะแนน งด
ออกเสียง ๑๐ คะแนน ให้เป็นไปตามร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ พ.ศ. …. ของคณะกรรมาธิการวิสามัญ
สำหรับในมาตรา ๔ นั้น ไม่มีการแก้ไข และมีกรรมาธิการขอสงวนความเห็นและผู้สงวน คำแปรญัตติ จำนวนหลายท่าน
อาทิ นายอลงกรณ์ พลบุตร นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ นายวิจิตร ศรีสอ้าน นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย
นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู นายวิทยา แก้วภราดัย นายจุติ ไกรฤกษ์
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ นายสุวโรช พะลัง นายวิฑูรย์ นามบุตร นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล
นางรังสิมา รอดรัศมี และนายนคร มาฉิม เพื่อขอตัดงบประมาณในส่วนของงบกลางตามรายการที่ขอตั้งภายใต้
มาตรการค่าใช้จ่ายด้านการพัฒนาและบริการสังคม การเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ
การอุดหนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การอภิปรายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรส่วนใหญ่ขอตัดงบประมาณลง ซึ่งมีประเด็นสำคัญ ๆ ดังนี้
๑. การจัดสรรเงินงบประมาณซื้อเครื่องบิน แอร์บัส CJ ๓๑๙ เพื่อใช้ในงานของ
รัฐบาลนั้นขาดเหตุผลความจำเป็นที่ต้องจัดซื้อ เนื่องจากต้องจ่ายเงินเพิ่มจำนวนมากให้กับบริษัทผู้ขาย
ทั้งที่เป็นการแลกเปลี่ยนเครื่องเฮลิคอปเตอร์ซูเปอร์พูม่า MK ๒ กับเครื่องบินแอร์บัส CJ ๓๑๙
ด้านความคุ้มประโยชน์กับการใช้งานนั้น ประเทศและประชาชนได้รับประโยชน์น้อยมาก เมื่อเทียบกับเงินภาษีราษฎรที่ต้องจ่ายไป
๒. การจัดสรรงบเพื่อการพัฒนาและบริหารกำลังคนของรัฐบาลกรณีการขึ้นเงินเดือน
ข้าราชการทั่วประเทศ ซึ่งใช้เงินมากกว่าหมื่นล้านบาท โดยเน้นให้กับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มากกว่า
กล่าวคือ ได้รับการขึ้นเงินอัตราร้อยละ ๓ ของเดือน รวมกับเงินค่าตอบแทนอีกประมาณรายละ
๓๐,๐๐๐ - ๕๐,๐๐๐ บาท ขณะที่ข้าราชการชั้นผู้น้อย ระดับ ๑-๗ จะได้รับเฉพาะอัตราร้อยละ ๓ ของเงินเดือน เท่านั้น
แสดงให้เห็นว่าข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มีส่วนน้อยกลับได้รับประโยชน์มากกว่าชั้นผู้น้อย ซึ่งมีปริมาณคนมากกว่าข้าราชการทั้งประเทศ
จึงขอให้เพิ่มอัตราการขึ้นเงินเดือนข้าราชการทั้งระบบในอัตราร้อยละ ๑๐ เหมือนกันทุกระดับชั้น
ทางด้านการใช้งบเพื่อโครงการจากกันด้วยดีหรือการเกษียณอายุราชการก่อนเวลานั้น
รัฐบาลใช้เม็ดเงินจำนวนมากเกินไปทั้งยังส่งผลต่อการขาดแคลนบุคลากรบางประเภท เช่น บุคลากรด้านการศึกษา คณาจารย์
โดยเฉพาะสาขาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
การสร้างคนใหม่มาทดแทนนั้นต้องใช้ทั้งเวลาและเงินทุนในการส่งไปศึกษาในและต่างประเทศ
๓. การจัดสรรเงินเพื่อการอุดหนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น หากมองจากแผน
ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดที่มีการนำระบบ CEO มาใช้นั้นไม่ก่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศชาติเลย เพราะการขออนุมัติ
การใช้เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาทิ อบจ. , อบต. , เทศบาล นั้นต้องเสนอแผนงานปฏิบัติการผ่านผู้ว่าราชการ
เพื่ออนุมัติการใช้เม็ดเงิน ซึ่งท้องถิ่นไม่มีอำนาจในการนำเงินไปใช้เอง เพราะผู้อนุมัติเงินคือ ผู้ว่าราชการจังหวัด CEO
นอกจากประเด็นหลักของการอภิปรายแล้วสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยังขอให้รัฐบาล
เร่งแก้ไขปัญหาเร่งด่วน อาทิ การแก้ปัญหาสถานการณ์ภาคใต้โดยเฉพาะไข้หวัดนก ที่ขอให้มีการจ่าย
ค่าชดเชยการเสียชีวิตของประชาชนจากการติดเชื้อไข้หวัดนกโดยเร็ว การเข้าตรวจสอบการใช้งบประมาณท้องถิ่น
บางจังหวัดที่มีการส่อทุจริตการจัดนำเงินงบประมาณส่งเสริมการสร้างแหล่งท่องเที่ยวการจัดสรรงบเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว
ของจังหวัดเชียงใหม่จำนวนมากในขณะที่บางจังหวัดไม่ได้รับการจัดสรร งบประมาณ เพื่อการนี้บ้างรวมทั้งการ
สร้างสวนสัตว์ให้ประชาชนได้พักผ่อนหย่อนใจ การกระตุ้นให้ไทยเป็นเมืองแฟชั่น ซึ่งขัดต่อวัฒนธรรมไทย ควรหันมาสนับสนุน
การท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรม โบราณสถานเชิงประวัติศาสตร์ของไทยที่เคยมีความเจริญรุ่งเรืองมายาวนานจะดีกว่า
ภายหลังจากการอภิปรายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจบลงแล้ว คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ
รายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ พ.ศ. …. ได้ตอบข้อชี้แจงแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรดังนี้คือ
๑. นายโภคิน พลกุล รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ
วิสามัญฯ ได้ตอบชี้แจงการอภิปรายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เกี่ยวกับการขึ้นเงินข้าราชการนั้น
เงินและประโยชน์ส่วนใหญ่เกิดกับข้าราชการชั้นผู้น้อยมากกว่า เพราะจะเป็นการปรับขึ้นคนละ ๑ ขั้น
ก่อนการปรับอัตราร้อยละ ๓ ดังนั้นจะทำให้ได้รับเงินเดือนขึ้นรวมทั้งสิ้นอัตราร้อยละ ๔ ขณะที่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่
จะได้รับในอัตราเดียวกัน ส่วนเงินค่าตอบแทนนั้นจะได้รับเมื่อผ่านการประเมินผลงานแล้ว เท่านั้นมิใช่ทุกคนจะได้รับเงินส่วนนี้
และเมื่อรวมเงินทั้งประเทศแล้วข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ใช้เงินทั้งระบบน้อยกว่าข้าราชการชั้นผู้น้อยทั้งประเทศ กรณีการเกษียณอายุ
ราชการก่อนกำหนดนั้น รัฐบาลได้ให้นโยบายกับหน่วยงานต้นสังกัดเป็นผู้พิจารณาความจำเป็นของแต่ละสาขาอาชีพก็ได้
๒. นายวราเทพ รัตนากร ในฐานะคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ตอบข้อชี้แจง
ในประเด็นการจัดสรรงบประมาณส่งเสริมการท่องเที่ยวและโครงการในจังหวัดเชียงใหม่นั้น เพราะเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพ
วามพร้อมในทุกด้านที่จะเป็นจังหวัดศูนย์กลางเศรษฐกิจที่สามารถเชื่อมโยงไปยังจีนและภูมิภาคได้ ซึ่งจังหวัดภูเก็ตเป็นอีกจังหวัด
หนึ่งที่จะได้รับการพัฒนาเช่นกัน รวมทั้งจังหวัดอื่น ๆ ด้วย หากมีศักยภาพจะได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณเช่นกัน
ซึ่งได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์ไว้แล้ว
สำหรับเงินเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันฯ ๕.๙ หมื่นล้านบาท การใช้จะต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการฯ
พิจารณามิใช่นายกรัฐมนตรี ส่วนการแปรรูป กฟผ. นั้น รัฐบาลเป็น ผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ ๗๕% ทำให้หากมีการขึ้นค่าไฟฟ้า
จะต้องผ่านการควบคุมของรัฐบาล ดังนั้นในเรื่อง ค่าสาธารณูปโภคที่เพิ่มขึ้นจึงไม่เกี่ยวข้องกับการแปรรูป กฟผ.
เนื่องจากมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอภิปรายในประเด็นการจัดซื้อเครื่องบินแบบแอร์บัส CJ ๓๑๙ มากกว่าประเด็นอื่น ๆ นายวิษณุ
เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน คณะกรรมการพิจารณาจัดซื้อเครื่องบินที่รัฐบาลตั้งขึ้นนั้น
ได้ตอบชี้แจงถึงที่มาของการจัดซื้อว่ามาจาก รัฐบาลที่แล้ว ได้จัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ซุปเปอร์พูม่า MK๒ จำนวน ๓ ลำ
เพื่อใช้เป็นพระราชพาหนะตามอารักษ์ขาขบวนเสด็จฯ ซึ่งต่อมาเฮลิคอปเตอร์ ๑ ใน ๓ ลำ ได้บินตก ทำให้มีบุคคลสำคัญเสียชีวิต
หลายราย จึงมีนโยบายให้งดการใช้เฮลิคอปเตอร์อีก ๒ ลำที่เหลือ เพราะเกรงความไม่ปลอดภัยในการบิน ซึ่งกองทัพอากาศ
ได้เสนอแนวทางมายังคณะรัฐมนตรีโดยมีการประชุมหารือหลายครั้ง ก่อนจะสรุปว่าเป็นเครื่องบินแอร์บัส เพราะไทยจะได้รับประโยชน์
มากกว่าเครื่องบินโบอิ้ง ซึ่งเครื่องบินนี้จะใช้ต้อนรับบุคคลสำคัญของประเทศเท่านั้น
เมื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญตอบข้อชี้แจงเสร็จสิ้นแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธาน สภาผู้แทนราษฎร ได้หารือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ถึงการแก้ไขข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่าด้วยควรเว้นระยะเวลาการลงมติต่อร่างพระราชบัญญัติที่มีประชุมอภิปรายแล้วไว้ระยะหนึ่งอาจจะเป็น
๓ หรือ ๗ วัน แล้วที่ประชุม เพื่อให้มีการพิจารณาตรวจสอบถ้อยคำในร่างพระราชบัญญัตินั้นให้
รอบคอบอีกครั้งก่อนการลงมติจะดีหรือไม่ ซึ่งประเด็นนี้เป็นเพียงการฝากให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
นำไปพิจารณาเป็นการบ้าน แล้วค่อยมาหารือกันโอกาสต่อไป จากนั้นประธานฯ ขอให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรลงมติ
ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ พ.ศ. …. ผลปรากฏว่า
ร่างกฎหมายฉบับนี้การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรด้วยคะแนนเสียง ๓๑๑ เสียง ต่อ ๗๖ เสียง ก่อนปิดการประชุม
เวลา ๒๑.๑๕ นาฬิกา พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวขอบคุณสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ที่ร่วมกันพิจารณาอภิปรายร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ รายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ พ.ศ. ….
นี้อย่างกว้างขวางและยืนยันว่าจะใช้งบประมาณ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและประเทศชาติอย่างแน่นอน
ปิดประชุมเวลา ๒๑.๑๕ นาฬิกา
สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
วันพฤหัสบดีที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๘ (สมัยสามัญทั่วไป) เมื่อครบ องค์ประชุมแล้ว ประธานได้ดำเนินการประชุม
ตามระเบียบวาระ โดยที่ประชุมรับทราบรายงานผล การตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนกรณีความรุนแรง
อันเนื่องมาจากโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย ของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งอยู่ระหว่าง
รอการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จากนั้นได้มีการขอให้ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ซึ่งที่ประชุมก็ได้มีมติให้รับรองรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎรตามที่เสนอ ต่อจากนั้นที่ประชุมได้มีการพิจารณา
เรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน คือ เรื่องที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการลอบวางระเบิด และก่อความ
ไม่สงบเรียบร้อยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขอขยายเวลาในการพิจารณาศึกษาออกไปอีก ๑๒๐ วัน นับแต่
วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ ซึ่งนายจุติ ไกรฤกษ์ ได้ขอให้คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ชี้แจงถึงเหตุผลความจำเป็น
ของการขอขยายเวลาดังกล่าว พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้ชี้แจงว่า
ปัญหาชายแดนภาคใต้ เป็นปัญหาใหญ่ และมีความสำคัญในการศึกษาปัญหาต้องอาศัยความละเอียดรอบครอบและระยะเวลา
ในการสรุปปัญหาต่าง ๆ เพื่อจะได้นำเสนอและตอบปัญหาต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้อย่างครบถ้วน และที่สำคัญคือ
ในวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๔๗ ได้มีการเชิญ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี และพลเอกธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มาปรึกษาหารือถึงเหตุการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นความเห็นประกอบในการศึกษา
ทำให้คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ไม่สามารถสรุปผลการศึกษากรณีปัญหา ดังกล่าวได้ทัน จึงต้องขอขยายเวลาออกไปอีก
๑๒๐ วัน เมื่อชี้แจงเสร็จแล้ว พันตำรวจโท สมชาย เพศประเสริฐ ได้ขอให้การขยายเวลาการศึกษากรณีปัญหาฯ ครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย
เนื่องจากมีการขอขยายเวลามาหลายครั้งแล้ว หลังจากนั้นที่ประชุมได้ลงมติด้วยคะแนนเสียง เห็นด้วย ๒๑๘ คะแนน ไม่เห็นด้วย ๑๒ คะแนน
งดออกเสียงไม่มี และมีผู้ไม่ลงคะแนนเสียง ๑ ท่าน ให้ขยายเวลาการศึกษากรณีปัญหาดังกล่าว ตามที่คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ เสนอ
จากนั้น นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ ได้เสนอให้เลื่อนญัตติเรื่องด่วน เรื่อง พิจารณาให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินขึ้นมา พิจาณาก่อน ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบตามที่เสนอ ประธาน
ในที่ประชุมจึงได้ชี้แจงเกี่ยวกับญัตติด่วนดังกล่าวว่า ด้วยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินที่
คณะรัฐมนตรีเสนอโดยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ตามมาตรา ๒๔ แห่ง พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ครบวาระการดำรงตำแหน่ง ๔ ปีแล้ว คณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นสมควรแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ แทนตำแหน่งที่ว่างดังนี้
๑. พลตำรวจตรี กัมพล อรุณปลอด ๒. นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ๓. นายนริศ ชัยสูตร ๔. นายพชร ยุติธรรมดำรง
๕. พลตำรวจโท เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ๖. นายมนตรี โสคติยานุรักษ์ ๗. นายวัฒนา รัตนวิจิตร ๘. นายวีระพงษ์ บุญโญภาส
๙. พลเอกสมชัย สมประสงค์ จึงขอให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรประชุมลับเพื่อพิจารณาญัตติดังกล่าวต่อไป
หลังจากการประชุมลับเสร็จสิ้นลง ในเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา ที่ประชุมได้พิจารณากระทู้ถามสด และกระทู้ถามทั่วไป
โดยมีกระทู้ถามสดที่เข้าสู่การพิจารณา ดังนี้
กระทู้ถามสด เรื่อง ผลกระทบและรายได้จากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ของนายจุติ ไกรฤกษ์ ถามนายกรัฐมนตรี
ซึ่งเรื่องนี้นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช) เป็นผู้ตอบกระทู้ถาม
โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานตอบว่า ในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทมหาชนนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับประสิทธิภาพการบริหารงาน
แบบมืออาชีพ ทำให้การไฟฟ้าและรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ มีศักยภาพมากขึ้น และเพื่อเปิดโอกาสให้ ประชาชนถือหุ้นได้มากขึ้น มีการพัฒนา
อย่างต่อเนื่องในองค์กรรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งการนำทรัพย์สินของ รัฐวิสาหกิจไประดมทุนให้มีปริมาณมากขึ้น
กระทู้ถามสด เรื่อง การแยกมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นอิสระ ของนายมุข สุไลมาน
ซึ่งเรื่องนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นางสิริกร มณีรินทร์)
เป็นผู้ตอบกระทู้ถาม โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ตอบว่า การแยกมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
นั้น กระทรวงศึกษาฯ ได้นำ คณะไปศึกษาความเป็นไปได้ ถ้าเป็นเอกเทศก็จะเกิดความคล่องตัวในการเปิดสอนสาขาต่าง ๆ
และเกิดความต้องการมากขึ้นทางด้านการจัดการหลักสูตร บุคลากร อย่างไรก็ตามยังไม่พร้อม ในเรื่องของนักศึกษา ครูอาจารย์
บุคลากร เนื่องจากมีมหาวิทยาลัยใกล้เคียงอยู่ แต่ถ้าจะแยกออกเป็นเอกเทศ ก็ต้องมีการแก้ไขการบริหารจัดการให้คล่องตัวมากขึ้น
ซึ่งจะต้องไปศึกษาอีกสักระยะหนึ่ง
กระทู้ถามสด เรื่อง การปล้นปืนจากกองพันทหารพัฒนาที่ ๔ จังหวัดนราธิวาส ของนายองอาจ คล้ามไพบูลย์
เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (พลเอกธรรมรัตน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา)
เป็นผู้ตอบชี้แจงว่า ทางกองทัพได้มีวิธีการตรวจสอบยุทโธปกรณ์ แล้วรายงานสถานภาพของยุทโธปกรณ์ไปยังกระทรวงกลาโหมและกองทัพ
พร้อมกับตอบ ชี้แจงให้ที่ประชุมสภากลาโหมทุกเดือน และมั่นใจว่าปืนถูกปล้นอย่างแน่นอน เนื่องจากความละเลยของ
ผู้บังคับหน่วยและกำลังพลที่มีน้อย และสืบเนื่องจากพื้นที่ชายแดนมีผลประโยชน์ที่ผู้มีอิทธิพลขัดแย้งกัน จึงมีทั้งผู้คิดดีและคิดร้ายต่อประเทศปะปนกัน
และมีกระทู้ถามทั่วไป มีจำนวน ๓ เรื่อง คือ
กระทู้ถาม เรื่อง โครงการก่อหนี้ต่างประเทศ ของนายอำนวย คลังผา เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม ถามนายกรัฐมนตรี แต่นายอำนวย คลังผา
ได้ขอถอนกระทู้ถามออกไป
กระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาชาวต่างชาติเข้ามาก่ออาชญากรรมในประเทศไทย ของ
นายสุขมพงศ์ โง่นคำ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม แต่เนื่องจากรัฐมนตรีที่จะตอบกระทู้ติดภารกิจจึงได้เลื่อน กระทู้ถามออกไป
กระทู้ถาม เรื่อง การขึ้นทะเบียนวัด ของนายนิพนธ์ คนขยัน เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม โดย นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้
รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นผู้ตอบชี้แจงว่า การขึ้นทะเบียนวัด มีความหมายแตกต่างจากการ
สร้างวัดและตั้งวัด หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนวัดนั้น วัดใดที่สร้างขึ้นก่อน ปี ๒๔๘๔ ได้ขึ้นทะเบียนไว้หมดแล้ว ยกเว้นวัดที่ตกสำรวจ
แต่ทางราชการก็ได้อนุโลมให้ และให้ขึ้นทะเบียนได้ ส่วนวัดที่สร้างขึ้นหลังปี ๒๔๘๔ และมีปัญหาพิพาทในเรื่องของที่ดินที่สร้างวัดไม่สามารถ
ที่จะขึ้นทะเบียนได้ แต่ถ้าไม่มีปัญหาในเรื่องข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินก็ขึ้นทะเบียนวัดได้ แต่ทางราชการต้อง ตรวจสอบการถือกรรมสิทธิ์
ในที่ดินก่อน อย่างไรก็ตามทางการจะเร่งตรวจสอบที่ดิน เพื่อขึ้นทะเบียนวัดให้ เร็วที่สุด เพื่อเป็นการส่งเสริมพระพุทธศาสนา
ส่วนการแก้ไขปัญหาวัดไม่ถูกกฎหมายนั้นจะต้องแก้เป็นกรณีไป เช่น ปัญหาในกรรมสิทธิ์ที่ดิน ปัญหาการสร้างวัดในที่สาธารณประโยชน์
เลิกประชุมเวลา ๑๖.๐๐ นาฬิกา
-------------------------------------------------------------
วันพฤหัสบดีที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา
และประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้การต้อนรับผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี พร้อมคณะประธาน รองประธาน
และเลขานุการสภา อบต.ในเขตท้องที่อำเภอปากท่อ ซึ่งเดินทางมาเยี่ยมคารวะ และศึกษาดูงานและชมวิธีการ
ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ณ ห้องสารนิเทศ ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา ๑
= ประธานรัฐสภาบรรยายพิเศษ
วันพฤหัสบดีที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ เวลา ๑๐.๓๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา
และประธานสภาผู้แทนราษฎร บรรยายพิเศษในหัวข้อ "บทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสตรีในสายตาของประธานรัฐสภา"
ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ หมายเลข ๒๑๑-๒๑๓ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๒
= ประชุม ก.ร.
วันจันทร์ที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ เวลา ๑๔.๐๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา
และประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในการประชุม ก.ร. ครั้งที่ ๒/๒๕๔๗ ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ
หมายเลข ๔ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๑
= ประชุมประธานคณะกรรมาธิการ
วันอังคารที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา นายสุชาติ ตันเจริญ
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง เป็นประธานในการประชุม ร่วมกับประธานคณะกรรมาธิการสามัญ
ประจำสภาผู้แทนราษฎร ทุกคณะ ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ หมายเลข ๓๗๐๑ ชั้น ๗ อาคารรัฐสภา ๓
= ที่ปรึกษาอาวุโสฝ่ายนิติบัญญัติประจำรัฐสภาแห่งกัมพูชาเยือนรัฐสภาไทย
เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ให้การรับรอง Dr. Khim Chhun Y. ที่ปรึกษาอาวุโสฝ่ายนิติบัญญัติประจำรัฐสภาแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา และคณะ
ในโอกาสเดินทางมาศึกษาดูงานและเยี่ยมชมรัฐสภา ณ ห้องรับรอง ๑ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๑
Dr. Khim Chhun Y. ได้กล่าวแสดงความขอบคุณเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ที่ได้
สละเวลามาให้การต้อนรับ ซึ่งคณะที่ร่วมเดินทางมาศึกษาดูงานในครั้งนี้ประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่าย
นิติบัญญัติของสำนักงานเลขาธิการวุมิสภาและสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
โดยการสนับสนุนจากองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของแคนาดาและต้องการศึกษาเกี่ยวกับ
การตรากฎหมายเพื่อป้องกันความรุนแรงภายในและการบัญญัติกฎหมาย เพื่อต่อต้านการทุจริตในการเลือกตั้ง
ซึ่งจะได้เดินทางดูงานที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาด้วย ทั้งนี้ได้ม่ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับ
เรื่องดังกล่าวแล้วในราชอาณาจักรกัมพูชาและกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณา อย่างไรก็ตาม
ทางคณะจะต้องศึกษาการบัญญัติกฎหมายในหลายมาตราของไทยที่รัฐสภากัมพูชาไม่มีการบัญญัติไว้เพื่อเป็นแนวทางต่อไป
นายพิทูร พุ่มหิรัญ แสดงความยินดีที่ได้มีโอกาสต้อนรับและได้แนะนำ พล.อ.จิระ
นาวีเสถียร ผู้ชำนาญการด้านการต่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ที่ได้มาร่วมให้การต้อนรับด้วย
และได้กล่าวถึงการเลือกตั้งของวุฒิสภาที่ผ่านมา ซึ่งก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียให้ได้ศึกษาและ
หาแนวทางแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงการทุจริตคอรัปชั่น ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขโดยเร็ว
และในท้ายสุดได้กล่าวแสดงเจตนารมณ์ในการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนราชอาณาจักรกัมพูชา
เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างทั้งสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นต่อไป
= วางพานพุ่ม
วันอังคารที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
พร้อมด้วยข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร นำพานประดับพุ่มดอกไม้ ในนาม "สภาผู้แทนราษฎร"
ถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ณ อุทยานพระบรมราชานุสรณ์
อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
= ประธานรัฐสภาเปิดกิจกรรม "รัฐสภาสัญจร"
วันจันทร์ที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธาน
รัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานเปิดการสัมมนากิจกรรม "รัฐสภาสัญจร" ณ โรงแรม
โซฟิเทล ราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น
การจัดสัมมนาในครั้งนี้ได้มีตัวแทนจากจังหวัดขอนแก่น นครราชสีมา สกลนคร เลย หนองคาย ชัยภูมิ
มหาสารคาม กาฬสินธุ์ อุดรธานี และหนองบัวลำภู เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน ๑,๐๐๐ คน
การจัดกิจกรรม "รัฐสภาสัญจร" เพื่อมุ่งส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเมือง
การปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา กฎหมาย รัฐธรรมนูญ สิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ของ
ประชาชน บทบาทภารกิจ และอำนาจหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติไปสู่ประชาชนในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ
โดยเน้นการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนกับฝ่ายนิติบัญญัติให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น เพื่อพัฒนาประชารัฐ
และประชาธิปไตยให้มีความเข้มแข็งทัดเทียมกับนานาอารยประเทศที่พัฒนา และเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
อีกทั้งยังเป็นโอกาสให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พบปะกับประชาชนเพื่อรับทราบและนำปัญหา
ในพื้นที่ไปสู่การแก้ไขให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
= พรรคการเมืองแถลงผลงาน
สถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภาได้จัดสรรเวลาเพื่อให้พรรคการเมืองแถลงผลงาน
ในรอบปี ๒๕๔๗ ซึ่งเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พุทธศักราช ๒๕๔๑
โดยรับสัญญาณการออกอากาศจากสถานีวิทยุกระจายเสียงองค์การ สื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.)
ตั้งแต่วันที่ ๑-๑๑ มีนาคมนี้ ขอเชิญท่านติดตามรับฟังการแถลงผลงานของพรรคการเมือง ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา
ในเวลา ๑๒.๓๐-๑๓.๐๐ นาฬิกา
๑ มีนาคม พรรคไทยรักไทย
๒ มีนาคม พรรคกิจสังคม
๓ มีนาคม พรรคชาติพัฒนา
๔ มีนาคม พรรคความหวังใหม่
๕ มีนาคม พรรคประชาธิปัตย์
๘ มีนาคม พรรคราษฎร
๙ มีนาคม พรรคชาติไทย
๑๐ มีนาคม พรรคไทยรักไทย
๑๑ มีนาคม พรรคประชาธิปัตย์
ส่วนในกรณีที่ตรงกับวันที่มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรหรือการประชุมวุฒิสภา
ทางสถานีฯ มีภารกิจในการถ่ายทอดเสียงการประชุม ตั้งแต่เริ่มจนเสร็จสิ้นการประชุม จึงมีความจำเป็น
ที่จะต้องนำเทปแถลงผลงานของพรรคการเมืองที่มีกำหนดออกอากาศในวันดังกล่าว มานำเสนอหลังจากการประชุมเสร็จสิ้นลง
= ขอเชิญข้าราชการเข้ารับฟังการบรรยายธรรมเนื่องในวันมาฆบูชา
สำนักพัฒนาบุคลากรได้กำหนดจัดโครงการบรรยายธรรมเนื่องในวันมาฆบูชาให้แก่
ข้าราชการ และลูกจ้าง ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งบุคลากรของรัฐสภา โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อให้ข้าราชการและลูกจ้าง รวมถึงบุคลากรของรัฐสภาได้เพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจใน
หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า และนำหลักของคุณธรรมและจริยธรรมมาใช้ในการปฏิบัติงาน
ตลอดจนมีความตระหนักร่วมกันในการจรรโลงและรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของไทย
การบรรยายธรรมในครั้งนี้ บรรยายโดย พระพิพิธธรรมสุนทร วัดสุทัศนเทพวราราม ใน
หัวข้อเรื่อง "ศีลและธรรมสำคัญอย่างไร" จึงขอเชิญข้าราชการและลูกจ้างร่วมฟังการบรรยายธรรม ใน
วันอังคารที่ ๒ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๐๙.๐๐-๑๑.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ
หมายเลข ๒๑๓-๒๑๖ อาคารรัฐสภา ๒
= สวนสัตว์เขาดินงดใช้ลานจอดรถ
สำนักรักษาความปลอดภัย แจ้งข่าวการงดใช้ลานจอดรถยนต์ภายในสวนสัตว์ดุสิต เนื่องจาก
องค์การสวนสัตว์กำลังก่อสร้างอาคารจอดรถยนต์บริเวณที่เคยอนุเคราะห์ใช้เป็นสถานที่จอดรถแก่สมาชิก
รัฐสภา ข้าราชการ และลูกจ้างของรัฐสภา ในวันประชุม
ซึ่งการก่อสร้างอาคารจอดรถยนต์นี้มีกำหนดเสร็จสิ้นภายใน ๙ เดือน จึงของดใช้ลานจอดรถในบริเวณดังกล่าว
ตั้งแต่วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ เป็นต้นไป ทั้งนี้ สมาชิกรัฐสภา ข้าราชการและ
ลูกจ้างของรัฐสภาสามารถไปจอดรถที่สำนักพระราชวัง (สนามเสือป่า) เช่นเดิม
= กรมการปกครองเปิด Website "ข้อมูลอำเภอบริการประชาชน"
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานหลักที่สำคัญในการจัดบริการสาธารณะ
ให้แก่ประชาชน โดยได้สร้างระบบบริการที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์มากที่สุด
จึงจัดทำฐานข้อมูลผ่านเครือข่ายเชื่อมโยงระบบอินเตอร์เน็ตกับภาครัฐและเอกชนในภายใต้เว็บไซต์ที่ชื่อ
"www. amphoe.com" ซึ่งจะมีข้อมูลบริการประชาชนประกอบด้วย
l ข้อมูลทั่วไปของอำเภอ l โครงการสำคัญของอำเภอ
- ประวัติความเป็นมา l ข่าวประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ
- เนื้อที่ / พื้นที่ - อาชีพ
- สภาพภูมิอากาศ - ธนาคาร
l ข้อมูลด้านสังคม - ห้างสรรพสินค้า
- โรงเรียน / มหาวิทยาลัย l ข้อมูลด้านทรัพยากรธรรมชาติ
l ข้อมูลด้านการเกษตร / อุตสาหกรรม l ข้อมูลด้านคมนาคม
l ข้อมูลด้านแหล่งท่องเที่ยว l ข้อมูลด้านโครงสร้าง / ภารกิจของ
- โรงแรม / เกสต์เฮ้าส์ ที่ว่าการอำเภอ
- ภัตตาคาร ร้านอาหาร ศูนย์อาหาร l ผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่ง
- เทศกาลสำคัญของอำเภอ ผลิตภัณฑ์ (OTOP)
l ข้อมูลด้านประชากร l หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ
= การเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดทั่วประเทศ
องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นหน่วยงานการปกครองท้องถิ่นที่จัดตั้งขึ้นในทุกจังหวัด
ปัจจุบันอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. ๒๕๔๐ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ
วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๐ มีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการภายในองค์การบริหารส่วนจังหวัด คือ
๑. ตราข้อบัญญัติโดยไม่ขัดแย้งต่อกฎหมาย
๒. จัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด
ตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
๓. สนับสนุนสภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น
๔. ประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของสภาตำบลและราชการ
ส่วนท้องถิ่น
๕. แบ่งสรรเงินซึ่งตามกฎหมายจะต้องแบ่งให้แก่สภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่น
๖. อำนาจหน้าที่ของจังหวัดตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด
พ.ศ. ๒๔๙๘ เฉพาะภายในเขตสภาตำบล
๗. คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๘. จัดทำกิจกรรมใด ๆ อันเป็นอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นอื่น ที่อยู่ในเขต
องค์การบริหารส่วนจังหวัด และกิจการนั้นเป็นการสมควรให้ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นรวมกันดำเนินการ
หรือให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทำ ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกระทรวง
๙. จัดทำกิจกรรมอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็น
อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
การเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดทั้ง ๗๔ จังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร เนื่องจาก
อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งได้มี
การเลือกตั้งไปก่อนแล้ว โดยจะมีขึ้นในวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๔๗
รัฐสภาเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬา"จตุสัมพันธ์สามัคคี" ระหว่างวันที่ ๑-๔ มีนาคม ๒๕๔๗
ณ สนามกีฬากระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี
โดยมีประเภทกีฬา ดังนี้
๑. ฟุตบอลชาย (๑๑ คน)
๒. ฟุตบอลหญิง (๗ คน)
๓. ปิงปอง ประเภททีม
๔. แบดมินตัน ประเภททีม
๕. เปตอง ประเภททีม
๖. กอล์ฟผู้บริหาร
= การประชุมสภาผู้แทนราษฎร
สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
วันพุธที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๗ (สมัยสามัญทั่วไป) ที่ประชุมได้มีมติให้เลื่อน
พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ ขึ้นมาพิจารณาก่อน
โดย ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้อภิปรายถึง
พระราชกำหนดดังกล่าวว่าด้วยประเทศไทยได้ลงนามในพิธีศาลว่าด้วยการนำพิกัดอัตราศุลกากร Harmonize Asian
มาใช้ ทำให้ต้องแก้ไขพิกัดอัตราศุลกากรให้สอดคล้องกับพันธะกรณีตามพิธีศาล
ดังกล่าว ซึ่งจะทำให้สามารถจำแนกประเภทสินค้าของอาเซียน ซึ่งมีความสำคัญในการขยายความ
ร่วมมือทางเศรษฐกิจและการอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างประเทศในกลุ่มประเทศสมาชิก
อาเซียนและจำเป็นต้องดำเนินการโดยเร่งด่วน เพื่อประโยชน์ต่อการลงทุนในอาเซียนและส่งเสริม
สนับสนุนการเปิดการค้าเสรี อันจะส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศมั่นคงยิ่งขึ้น
ต่อจากนั้นที่ประชุมได้มีการลงมติด้วยคะแนนเสียง ๒๘๑ คะแนน ไม่เห็นด้วย ๑ คะแนน และงดออกเสียง ๖ คะแนน
ให้ผ่านพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗ เพื่อประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป
ต่อมาได้มีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว โดย ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้กล่าวรายงานผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ พ.ศ. …. ว่า ตามที่สภาผู้แทนราษฎร
ได้มีมติรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ พ.ศ. ….
ซึ่งรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ และได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างและทางคณะ
กรรมาธิการวิสามัญได้มีการประชุมตั้งแต่วันที่ ๑๒-๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ ซึ่งบัดนี้ได้พิจารณาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ต่อจากนั้นที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณฯ
เรียงตามลำดับมาตรา ซึ่งไม่มีการแก้ไขในมาตรา ๑, ๒ และ ๓ และมีกรรมาธิการขอสงวนความเห็น
และสงวนคำแปรญัตติในมาตราที่ ๓ โดย นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ
นายสรรเสริญ สมะลาภา นายอลงกรณ์ พลบุตร และ นายจุติ ไกรฤกษ์ ได้สงวนความเห็นให้ปรับลด
งบประมาณลงเนื่องจาก เกิดการสูญเปล่าและสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ และเห็นว่าการชี้แจงของรัฐบาล
ยังไม่มีความชัดเจนรวมทั้งเอกสารที่นำมาประกอบการพิจารณาไม่ตรงกับความเป็นจริงและขาด
หลักเกณฑ์ในการจัดทำงบประมาณ นอกจากนี้ยังไม่มีความโปร่งใสและกระจายงบประมาณในแต่ละจังหวัด
อย่างไม่เท่าเทียมกัน โดยคณะกรรมาธิการได้ชี้แจงว่า รายได้ของรัฐบาลทั้งหมดนั้นจะถูกนำไปจัดไว้ในบัญชีเงินคงคลัง
ซึ่งการที่จะนำเงินในบัญชีดังกล่าวมาใช้นั้น ในทางปฏิบัติแล้วจะไม่สามารถระบุได้ว่านำมาจากเงินในส่วนใด
ทั้งนี้การนำเงินไปใช้จะต้องอยู่ในกรอบของแผนงานและในบางโครงการก็ได้มีการกำหนดรายละเอียดของ
การนำเงินไปใช้ อีกทั้งรัฐบาลได้ใช้ความพยายามอย่างที่สุดแล้วในการ รวบรวมเอกสารต่าง ๆ
เพื่อนำมาประกอบการพิจารณา
ซึ่งที่ประชุมได้มีมติด้วยคะแนนเสียง ๒๗๔ คะแนน ไม่เห็นด้วย ๖๙ คะแนน งด
ออกเสียง ๑๐ คะแนน ให้เป็นไปตามร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ พ.ศ. …. ของคณะกรรมาธิการวิสามัญ
สำหรับในมาตรา ๔ นั้น ไม่มีการแก้ไข และมีกรรมาธิการขอสงวนความเห็นและผู้สงวน คำแปรญัตติ จำนวนหลายท่าน
อาทิ นายอลงกรณ์ พลบุตร นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ นายวิจิตร ศรีสอ้าน นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย
นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู นายวิทยา แก้วภราดัย นายจุติ ไกรฤกษ์
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ นายสุวโรช พะลัง นายวิฑูรย์ นามบุตร นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล
นางรังสิมา รอดรัศมี และนายนคร มาฉิม เพื่อขอตัดงบประมาณในส่วนของงบกลางตามรายการที่ขอตั้งภายใต้
มาตรการค่าใช้จ่ายด้านการพัฒนาและบริการสังคม การเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ
การอุดหนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การอภิปรายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรส่วนใหญ่ขอตัดงบประมาณลง ซึ่งมีประเด็นสำคัญ ๆ ดังนี้
๑. การจัดสรรเงินงบประมาณซื้อเครื่องบิน แอร์บัส CJ ๓๑๙ เพื่อใช้ในงานของ
รัฐบาลนั้นขาดเหตุผลความจำเป็นที่ต้องจัดซื้อ เนื่องจากต้องจ่ายเงินเพิ่มจำนวนมากให้กับบริษัทผู้ขาย
ทั้งที่เป็นการแลกเปลี่ยนเครื่องเฮลิคอปเตอร์ซูเปอร์พูม่า MK ๒ กับเครื่องบินแอร์บัส CJ ๓๑๙
ด้านความคุ้มประโยชน์กับการใช้งานนั้น ประเทศและประชาชนได้รับประโยชน์น้อยมาก เมื่อเทียบกับเงินภาษีราษฎรที่ต้องจ่ายไป
๒. การจัดสรรงบเพื่อการพัฒนาและบริหารกำลังคนของรัฐบาลกรณีการขึ้นเงินเดือน
ข้าราชการทั่วประเทศ ซึ่งใช้เงินมากกว่าหมื่นล้านบาท โดยเน้นให้กับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มากกว่า
กล่าวคือ ได้รับการขึ้นเงินอัตราร้อยละ ๓ ของเดือน รวมกับเงินค่าตอบแทนอีกประมาณรายละ
๓๐,๐๐๐ - ๕๐,๐๐๐ บาท ขณะที่ข้าราชการชั้นผู้น้อย ระดับ ๑-๗ จะได้รับเฉพาะอัตราร้อยละ ๓ ของเงินเดือน เท่านั้น
แสดงให้เห็นว่าข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มีส่วนน้อยกลับได้รับประโยชน์มากกว่าชั้นผู้น้อย ซึ่งมีปริมาณคนมากกว่าข้าราชการทั้งประเทศ
จึงขอให้เพิ่มอัตราการขึ้นเงินเดือนข้าราชการทั้งระบบในอัตราร้อยละ ๑๐ เหมือนกันทุกระดับชั้น
ทางด้านการใช้งบเพื่อโครงการจากกันด้วยดีหรือการเกษียณอายุราชการก่อนเวลานั้น
รัฐบาลใช้เม็ดเงินจำนวนมากเกินไปทั้งยังส่งผลต่อการขาดแคลนบุคลากรบางประเภท เช่น บุคลากรด้านการศึกษา คณาจารย์
โดยเฉพาะสาขาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
การสร้างคนใหม่มาทดแทนนั้นต้องใช้ทั้งเวลาและเงินทุนในการส่งไปศึกษาในและต่างประเทศ
๓. การจัดสรรเงินเพื่อการอุดหนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น หากมองจากแผน
ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดที่มีการนำระบบ CEO มาใช้นั้นไม่ก่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศชาติเลย เพราะการขออนุมัติ
การใช้เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาทิ อบจ. , อบต. , เทศบาล นั้นต้องเสนอแผนงานปฏิบัติการผ่านผู้ว่าราชการ
เพื่ออนุมัติการใช้เม็ดเงิน ซึ่งท้องถิ่นไม่มีอำนาจในการนำเงินไปใช้เอง เพราะผู้อนุมัติเงินคือ ผู้ว่าราชการจังหวัด CEO
นอกจากประเด็นหลักของการอภิปรายแล้วสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยังขอให้รัฐบาล
เร่งแก้ไขปัญหาเร่งด่วน อาทิ การแก้ปัญหาสถานการณ์ภาคใต้โดยเฉพาะไข้หวัดนก ที่ขอให้มีการจ่าย
ค่าชดเชยการเสียชีวิตของประชาชนจากการติดเชื้อไข้หวัดนกโดยเร็ว การเข้าตรวจสอบการใช้งบประมาณท้องถิ่น
บางจังหวัดที่มีการส่อทุจริตการจัดนำเงินงบประมาณส่งเสริมการสร้างแหล่งท่องเที่ยวการจัดสรรงบเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว
ของจังหวัดเชียงใหม่จำนวนมากในขณะที่บางจังหวัดไม่ได้รับการจัดสรร งบประมาณ เพื่อการนี้บ้างรวมทั้งการ
สร้างสวนสัตว์ให้ประชาชนได้พักผ่อนหย่อนใจ การกระตุ้นให้ไทยเป็นเมืองแฟชั่น ซึ่งขัดต่อวัฒนธรรมไทย ควรหันมาสนับสนุน
การท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรม โบราณสถานเชิงประวัติศาสตร์ของไทยที่เคยมีความเจริญรุ่งเรืองมายาวนานจะดีกว่า
ภายหลังจากการอภิปรายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจบลงแล้ว คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ
รายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ พ.ศ. …. ได้ตอบข้อชี้แจงแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรดังนี้คือ
๑. นายโภคิน พลกุล รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ
วิสามัญฯ ได้ตอบชี้แจงการอภิปรายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เกี่ยวกับการขึ้นเงินข้าราชการนั้น
เงินและประโยชน์ส่วนใหญ่เกิดกับข้าราชการชั้นผู้น้อยมากกว่า เพราะจะเป็นการปรับขึ้นคนละ ๑ ขั้น
ก่อนการปรับอัตราร้อยละ ๓ ดังนั้นจะทำให้ได้รับเงินเดือนขึ้นรวมทั้งสิ้นอัตราร้อยละ ๔ ขณะที่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่
จะได้รับในอัตราเดียวกัน ส่วนเงินค่าตอบแทนนั้นจะได้รับเมื่อผ่านการประเมินผลงานแล้ว เท่านั้นมิใช่ทุกคนจะได้รับเงินส่วนนี้
และเมื่อรวมเงินทั้งประเทศแล้วข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ใช้เงินทั้งระบบน้อยกว่าข้าราชการชั้นผู้น้อยทั้งประเทศ กรณีการเกษียณอายุ
ราชการก่อนกำหนดนั้น รัฐบาลได้ให้นโยบายกับหน่วยงานต้นสังกัดเป็นผู้พิจารณาความจำเป็นของแต่ละสาขาอาชีพก็ได้
๒. นายวราเทพ รัตนากร ในฐานะคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ตอบข้อชี้แจง
ในประเด็นการจัดสรรงบประมาณส่งเสริมการท่องเที่ยวและโครงการในจังหวัดเชียงใหม่นั้น เพราะเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพ
วามพร้อมในทุกด้านที่จะเป็นจังหวัดศูนย์กลางเศรษฐกิจที่สามารถเชื่อมโยงไปยังจีนและภูมิภาคได้ ซึ่งจังหวัดภูเก็ตเป็นอีกจังหวัด
หนึ่งที่จะได้รับการพัฒนาเช่นกัน รวมทั้งจังหวัดอื่น ๆ ด้วย หากมีศักยภาพจะได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณเช่นกัน
ซึ่งได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์ไว้แล้ว
สำหรับเงินเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันฯ ๕.๙ หมื่นล้านบาท การใช้จะต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการฯ
พิจารณามิใช่นายกรัฐมนตรี ส่วนการแปรรูป กฟผ. นั้น รัฐบาลเป็น ผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ ๗๕% ทำให้หากมีการขึ้นค่าไฟฟ้า
จะต้องผ่านการควบคุมของรัฐบาล ดังนั้นในเรื่อง ค่าสาธารณูปโภคที่เพิ่มขึ้นจึงไม่เกี่ยวข้องกับการแปรรูป กฟผ.
เนื่องจากมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอภิปรายในประเด็นการจัดซื้อเครื่องบินแบบแอร์บัส CJ ๓๑๙ มากกว่าประเด็นอื่น ๆ นายวิษณุ
เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน คณะกรรมการพิจารณาจัดซื้อเครื่องบินที่รัฐบาลตั้งขึ้นนั้น
ได้ตอบชี้แจงถึงที่มาของการจัดซื้อว่ามาจาก รัฐบาลที่แล้ว ได้จัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ซุปเปอร์พูม่า MK๒ จำนวน ๓ ลำ
เพื่อใช้เป็นพระราชพาหนะตามอารักษ์ขาขบวนเสด็จฯ ซึ่งต่อมาเฮลิคอปเตอร์ ๑ ใน ๓ ลำ ได้บินตก ทำให้มีบุคคลสำคัญเสียชีวิต
หลายราย จึงมีนโยบายให้งดการใช้เฮลิคอปเตอร์อีก ๒ ลำที่เหลือ เพราะเกรงความไม่ปลอดภัยในการบิน ซึ่งกองทัพอากาศ
ได้เสนอแนวทางมายังคณะรัฐมนตรีโดยมีการประชุมหารือหลายครั้ง ก่อนจะสรุปว่าเป็นเครื่องบินแอร์บัส เพราะไทยจะได้รับประโยชน์
มากกว่าเครื่องบินโบอิ้ง ซึ่งเครื่องบินนี้จะใช้ต้อนรับบุคคลสำคัญของประเทศเท่านั้น
เมื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญตอบข้อชี้แจงเสร็จสิ้นแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธาน สภาผู้แทนราษฎร ได้หารือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ถึงการแก้ไขข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่าด้วยควรเว้นระยะเวลาการลงมติต่อร่างพระราชบัญญัติที่มีประชุมอภิปรายแล้วไว้ระยะหนึ่งอาจจะเป็น
๓ หรือ ๗ วัน แล้วที่ประชุม เพื่อให้มีการพิจารณาตรวจสอบถ้อยคำในร่างพระราชบัญญัตินั้นให้
รอบคอบอีกครั้งก่อนการลงมติจะดีหรือไม่ ซึ่งประเด็นนี้เป็นเพียงการฝากให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
นำไปพิจารณาเป็นการบ้าน แล้วค่อยมาหารือกันโอกาสต่อไป จากนั้นประธานฯ ขอให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรลงมติ
ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ พ.ศ. …. ผลปรากฏว่า
ร่างกฎหมายฉบับนี้การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรด้วยคะแนนเสียง ๓๑๑ เสียง ต่อ ๗๖ เสียง ก่อนปิดการประชุม
เวลา ๒๑.๑๕ นาฬิกา พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวขอบคุณสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ที่ร่วมกันพิจารณาอภิปรายร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ รายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ พ.ศ. ….
นี้อย่างกว้างขวางและยืนยันว่าจะใช้งบประมาณ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและประเทศชาติอย่างแน่นอน
ปิดประชุมเวลา ๒๑.๑๕ นาฬิกา
สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
วันพฤหัสบดีที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๘ (สมัยสามัญทั่วไป) เมื่อครบ องค์ประชุมแล้ว ประธานได้ดำเนินการประชุม
ตามระเบียบวาระ โดยที่ประชุมรับทราบรายงานผล การตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนกรณีความรุนแรง
อันเนื่องมาจากโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย ของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งอยู่ระหว่าง
รอการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จากนั้นได้มีการขอให้ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ซึ่งที่ประชุมก็ได้มีมติให้รับรองรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎรตามที่เสนอ ต่อจากนั้นที่ประชุมได้มีการพิจารณา
เรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน คือ เรื่องที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการลอบวางระเบิด และก่อความ
ไม่สงบเรียบร้อยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขอขยายเวลาในการพิจารณาศึกษาออกไปอีก ๑๒๐ วัน นับแต่
วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ ซึ่งนายจุติ ไกรฤกษ์ ได้ขอให้คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ชี้แจงถึงเหตุผลความจำเป็น
ของการขอขยายเวลาดังกล่าว พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้ชี้แจงว่า
ปัญหาชายแดนภาคใต้ เป็นปัญหาใหญ่ และมีความสำคัญในการศึกษาปัญหาต้องอาศัยความละเอียดรอบครอบและระยะเวลา
ในการสรุปปัญหาต่าง ๆ เพื่อจะได้นำเสนอและตอบปัญหาต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้อย่างครบถ้วน และที่สำคัญคือ
ในวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๔๗ ได้มีการเชิญ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี และพลเอกธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มาปรึกษาหารือถึงเหตุการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นความเห็นประกอบในการศึกษา
ทำให้คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ไม่สามารถสรุปผลการศึกษากรณีปัญหา ดังกล่าวได้ทัน จึงต้องขอขยายเวลาออกไปอีก
๑๒๐ วัน เมื่อชี้แจงเสร็จแล้ว พันตำรวจโท สมชาย เพศประเสริฐ ได้ขอให้การขยายเวลาการศึกษากรณีปัญหาฯ ครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย
เนื่องจากมีการขอขยายเวลามาหลายครั้งแล้ว หลังจากนั้นที่ประชุมได้ลงมติด้วยคะแนนเสียง เห็นด้วย ๒๑๘ คะแนน ไม่เห็นด้วย ๑๒ คะแนน
งดออกเสียงไม่มี และมีผู้ไม่ลงคะแนนเสียง ๑ ท่าน ให้ขยายเวลาการศึกษากรณีปัญหาดังกล่าว ตามที่คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ เสนอ
จากนั้น นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ ได้เสนอให้เลื่อนญัตติเรื่องด่วน เรื่อง พิจารณาให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินขึ้นมา พิจาณาก่อน ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบตามที่เสนอ ประธาน
ในที่ประชุมจึงได้ชี้แจงเกี่ยวกับญัตติด่วนดังกล่าวว่า ด้วยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินที่
คณะรัฐมนตรีเสนอโดยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ตามมาตรา ๒๔ แห่ง พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ครบวาระการดำรงตำแหน่ง ๔ ปีแล้ว คณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นสมควรแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ แทนตำแหน่งที่ว่างดังนี้
๑. พลตำรวจตรี กัมพล อรุณปลอด ๒. นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ๓. นายนริศ ชัยสูตร ๔. นายพชร ยุติธรรมดำรง
๕. พลตำรวจโท เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ๖. นายมนตรี โสคติยานุรักษ์ ๗. นายวัฒนา รัตนวิจิตร ๘. นายวีระพงษ์ บุญโญภาส
๙. พลเอกสมชัย สมประสงค์ จึงขอให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรประชุมลับเพื่อพิจารณาญัตติดังกล่าวต่อไป
หลังจากการประชุมลับเสร็จสิ้นลง ในเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา ที่ประชุมได้พิจารณากระทู้ถามสด และกระทู้ถามทั่วไป
โดยมีกระทู้ถามสดที่เข้าสู่การพิจารณา ดังนี้
กระทู้ถามสด เรื่อง ผลกระทบและรายได้จากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ของนายจุติ ไกรฤกษ์ ถามนายกรัฐมนตรี
ซึ่งเรื่องนี้นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช) เป็นผู้ตอบกระทู้ถาม
โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานตอบว่า ในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทมหาชนนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับประสิทธิภาพการบริหารงาน
แบบมืออาชีพ ทำให้การไฟฟ้าและรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ มีศักยภาพมากขึ้น และเพื่อเปิดโอกาสให้ ประชาชนถือหุ้นได้มากขึ้น มีการพัฒนา
อย่างต่อเนื่องในองค์กรรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งการนำทรัพย์สินของ รัฐวิสาหกิจไประดมทุนให้มีปริมาณมากขึ้น
กระทู้ถามสด เรื่อง การแยกมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นอิสระ ของนายมุข สุไลมาน
ซึ่งเรื่องนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นางสิริกร มณีรินทร์)
เป็นผู้ตอบกระทู้ถาม โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ตอบว่า การแยกมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
นั้น กระทรวงศึกษาฯ ได้นำ คณะไปศึกษาความเป็นไปได้ ถ้าเป็นเอกเทศก็จะเกิดความคล่องตัวในการเปิดสอนสาขาต่าง ๆ
และเกิดความต้องการมากขึ้นทางด้านการจัดการหลักสูตร บุคลากร อย่างไรก็ตามยังไม่พร้อม ในเรื่องของนักศึกษา ครูอาจารย์
บุคลากร เนื่องจากมีมหาวิทยาลัยใกล้เคียงอยู่ แต่ถ้าจะแยกออกเป็นเอกเทศ ก็ต้องมีการแก้ไขการบริหารจัดการให้คล่องตัวมากขึ้น
ซึ่งจะต้องไปศึกษาอีกสักระยะหนึ่ง
กระทู้ถามสด เรื่อง การปล้นปืนจากกองพันทหารพัฒนาที่ ๔ จังหวัดนราธิวาส ของนายองอาจ คล้ามไพบูลย์
เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (พลเอกธรรมรัตน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา)
เป็นผู้ตอบชี้แจงว่า ทางกองทัพได้มีวิธีการตรวจสอบยุทโธปกรณ์ แล้วรายงานสถานภาพของยุทโธปกรณ์ไปยังกระทรวงกลาโหมและกองทัพ
พร้อมกับตอบ ชี้แจงให้ที่ประชุมสภากลาโหมทุกเดือน และมั่นใจว่าปืนถูกปล้นอย่างแน่นอน เนื่องจากความละเลยของ
ผู้บังคับหน่วยและกำลังพลที่มีน้อย และสืบเนื่องจากพื้นที่ชายแดนมีผลประโยชน์ที่ผู้มีอิทธิพลขัดแย้งกัน จึงมีทั้งผู้คิดดีและคิดร้ายต่อประเทศปะปนกัน
และมีกระทู้ถามทั่วไป มีจำนวน ๓ เรื่อง คือ
กระทู้ถาม เรื่อง โครงการก่อหนี้ต่างประเทศ ของนายอำนวย คลังผา เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม ถามนายกรัฐมนตรี แต่นายอำนวย คลังผา
ได้ขอถอนกระทู้ถามออกไป
กระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาชาวต่างชาติเข้ามาก่ออาชญากรรมในประเทศไทย ของ
นายสุขมพงศ์ โง่นคำ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม แต่เนื่องจากรัฐมนตรีที่จะตอบกระทู้ติดภารกิจจึงได้เลื่อน กระทู้ถามออกไป
กระทู้ถาม เรื่อง การขึ้นทะเบียนวัด ของนายนิพนธ์ คนขยัน เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม โดย นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้
รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นผู้ตอบชี้แจงว่า การขึ้นทะเบียนวัด มีความหมายแตกต่างจากการ
สร้างวัดและตั้งวัด หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนวัดนั้น วัดใดที่สร้างขึ้นก่อน ปี ๒๔๘๔ ได้ขึ้นทะเบียนไว้หมดแล้ว ยกเว้นวัดที่ตกสำรวจ
แต่ทางราชการก็ได้อนุโลมให้ และให้ขึ้นทะเบียนได้ ส่วนวัดที่สร้างขึ้นหลังปี ๒๔๘๔ และมีปัญหาพิพาทในเรื่องของที่ดินที่สร้างวัดไม่สามารถ
ที่จะขึ้นทะเบียนได้ แต่ถ้าไม่มีปัญหาในเรื่องข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินก็ขึ้นทะเบียนวัดได้ แต่ทางราชการต้อง ตรวจสอบการถือกรรมสิทธิ์
ในที่ดินก่อน อย่างไรก็ตามทางการจะเร่งตรวจสอบที่ดิน เพื่อขึ้นทะเบียนวัดให้ เร็วที่สุด เพื่อเป็นการส่งเสริมพระพุทธศาสนา
ส่วนการแก้ไขปัญหาวัดไม่ถูกกฎหมายนั้นจะต้องแก้เป็นกรณีไป เช่น ปัญหาในกรรมสิทธิ์ที่ดิน ปัญหาการสร้างวัดในที่สาธารณประโยชน์
เลิกประชุมเวลา ๑๖.๐๐ นาฬิกา
-------------------------------------------------------------