ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ก.คลังร่างเกณฑ์สถาบันประกันเงินฝาก แหล่งข่าวจาก ก.คลังเปิดเผยว่า ร่างสถาบัน
ประกันเงินฝากที่ได้เสนอให้ รมว.คลังพิจารณาแล้วนั้น ในร่างดังกล่าวกำหนดว่าจะประกันเงินฝาก จำนวน 1
ล้านบาทต่อชื่อต่อธนาคาร อันจะเป็นการเปิดช่องให้ลูกค้าดำเนินการซอยย่อยบัญชีข้ามธนาคาร เพื่อให้ได้รับ
การคุ้มครองประกันเงินฝากทุกบัญชี นอกจากนั้น ในหลักเกณฑ์ดังกล่าว ก.คลังต้องการให้ธนาคารทุกแห่งเข้า
เป็นสมาชิกสถาบันประกันเงินฝากพร้อมกันทุกแห่งหากมีการจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ เพื่อไม่ให้เกิดการได้
เปรียบเสียเปรียบ ทั้งนี้ สถาบันประกันเงินฝากจะเป็นช่องทางเตือนภัยอีกทางหนึ่งให้กับสถาบันการเงิน โดยมี
การประสานงานกับ ธปท. หากพบว่าฐานะสถาบันการเงินแห่งใดมีปัญหา ก็จะส่งข้อมูลดังกล่าวให้ ธปท. ได้
รับทราบอีกทางหนึ่ง (โพสต์ทูเดย์)
2. ธปท. ปรับโครงสร้างหนี้เดือน ม.ค.47 มูลค่า 6,114 ล้านบาท นายทำนอง ดาศรี ผู้
อำนวยการสายปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ธปท. เปิดเผยว่าในเดือน ม.ค.47 ได้เจรจาปรับโครงสร้างหนี้สำเร็จ
6,114 ล้านบาท แบ่งเป็นลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จเพิ่มขึ้น 43 ราย มูลหนี้ 594 ล้านบาท เป็น
ลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างกระบวนการทางกฎหมายที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จ 572 ราย มูลหนี้ 5,520 ล้านบาท
หรือคิดเป็น 63% ของจำนวนลูกหนี้ที่เจรจาจนมีข้อสรุปแล้ว โดยลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จส่วนใหญ่
ประกอบธุรกิจพาณิชย์ รองลงมาคือ การอุปโภคบริโภค และการบริหาร ทั้งนี้ นับตั้งแต่คณะกรรมการปรับปรุง
โครงสร้างหนี้ (คปน.) เริ่มดำเนินการในปี 2541 จนถึงเดือน ม.ค.47 มีลูกหนี้เป้าหมาย จำนวน 16,754
ราย มูลหนี้ 2,864,244 ล้านบาท โดยมีลูกหนี้ที่ได้เข้าเจรจาตามกระบวนการของ คปน. จำนวน 13,356
ราย มูลหนี้ 1,904,376 ล้านบาท ในจำนวนนี้ได้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จไปแล้ว 10,968 ราย มูลหนี้
1,450,497 ล้านบาท คิดเป็น 84% ของลูกหนี้ที่มีการเจรจาจนมีข้อสรุป สำหรับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
ในปี 2547 - 2549 ยังมีทิศทางการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เช่นเดียวกับปี 2546 โดยมุ่งเน้นการปรับปรุง
โครงสร้างหนี้แก่ลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมาย คือ หนี้ที่อยู่ระหว่างดำเนินคดีและ
หนี้ที่อยู่ระหว่างบังคับคดี (โลกวันนี้)
3. ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะจัดตั้งกองทุนคุ้มครองผู้ลงทุน นายรพี สุจริตกุล ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) เปิดเผยว่า กรณีที่ตลาดหลักทรัพย์แห่ง
ประเทศไทยจะจัดตั้งกองทุนคุ้มครองผู้ลงทุนโดยออกเงินส่วนหนึ่งให้นั้น สามารถดำเนินการได้ทันทีโดยไม่จำ
เป็นต้องรอการอนุมัติจาก กลต. หากเป็นการจัดตั้งกองทุนโดยความสมัครใจ ซึ่งการจัดตั้งกองทุนดังกล่าวเป็น
เรื่องที่ดี เพราะจะเป็นการสร้างความมั่นคงให้กับระบบ ลักษณะของกองทุนก็จะเป็นเหมือนการทำประกันคือ มี
วงเงินคุ้มครองเอาไว้ แต่ไม่ได้หวังว่าจะนำมาใช้ตลอดเวลา อย่างไรก็ตาม หากกองทุนคุ้มครองผู้ลงทุนมีการ
จ่ายเงินชดเชยออกไปในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ประสบปัญหาด้านการเงิน กองทุนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้
จ่ายที่เกิดขึ้นเอง โดยไม่สามารถเรียกร้องกับบริษัทหลักทรัพย์นั้นได้เนื่องจากยังไม่มีกฎหมายรองรับ (โลกวันนี้)
4. ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศปีนี้มีมูลค่า 8,900 ล้านดอลลาร์
สรอ. บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า คาดว่าการลงทุนโดยตรงสุทธิจากต่างประเทศในปี 47
มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ประมาณ 3,900 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นประมาณ 95% จากปี 46 โดยมูลค่า
รวมทั้งปีอาจจะสูงถึงระดับ 8,900 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดที่เคยมีมา ขณะที่การลงทุนไหล
ออกคาดว่าจะลดลงโดยมีมูลค่าประมาณ 5,000 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เป็นผลจากเศรษฐกิจในภูมิภาคต่าง ๆ
ของโลกส่วนใหญ่มีแนวโน้มเติบโตดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา และการรวมกลุ่มเศรษฐกิจและการขยายความร่วมมืออัน
จะนำไปสู่เขตการค้าเสรีระหว่างหลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะดึงการลงทุนมาสู่
ภูมิภาคนี้ ส่วนปัจจัยภายในประเทศ พื้นฐานโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยมีความเข้มแข็ง เศรษฐกิจมีแนวโน้ม
การเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายเชิงรุกในด้านการเปิดตลาดการค้าการลงทุนผ่านการ
เจรจากรอบการค้าเสรี ซึ่งเป็นแนวทางที่สร้างโอกาสสำหรับนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาใช้ประเทศไทยเป็น
ฐานในการขยายธุรกิจ (ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1.ยอดขาดดุลงบประมาณของ สรอ.ในปีงบประมาณ 46 มีจำนวน 665
พันล้านดอลลาร์ สรอ. รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 27 ก.พ.47 ยอดขาดดุลงบประมาณของ สรอ.ในปีงบ
ประมาณ 46 ซึ่งเริ่มตั้งแต่ 1 ต.ค. 45 ถึง 30 ก.ย. 46 โดยใช้มาตรฐานการบัญชีที่ใช้กับบริษัทมหาชนทั่ว
ไป มีจำนวน 665 พันล้านดอลลาร์ สรอ. สูงกว่ายอดขาดดุลงบประมาณซึ่งคำนวณตามวิธีการบัญชีแบบเดิมเกือบ
300 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยยอดขาดดุลงบประมาณเดิมซึ่งใช้เกณฑ์เงินสดมีจำนวน 374.2 พันล้านดอลลาร์
สรอ. ในขณะที่ยอดขาดดุลงบประมาณที่ใช้เกณฑ์ค้างรับค้างจ่ายซึ่งเป็นมาตรฐานการบัญชีที่ใช้กับบริษัทมหาชนทั่ว
ไปได้รวมรายการที่ไม่ใช่เงินสดเช่น ค่าใช้จ่ายบำนาญและค่ารักษาพยาบาลที่จะให้แก่ลูกจ้างของกองทัพ ทหาร
ผ่านศึกและข้าราชการจำนวน 286 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ไว้ด้วย และหากใช้มาตรฐานการบัญชีนี้ในระยะยาว
มูลค่าปัจจุบันของค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการสังคมและหนี้สาธารณะเมื่อเทียบรายรับที่คาดว่าจะได้รับในอีก 75 ปี
ข้างหน้า จะทำให้การขาดดุลงบประมาณมีจำนวน 34.825 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 46 เพิ่มขึ้นจาก
จำนวน 31.123 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 47 (รอยเตอร์)
2.คาดว่าการขาดดุลงบประมาณของเยอรมนีในปี 47 จะอยู่ที่ร้อยละ 3.3 ของ GDP รายงานจาก
เบอร์ลิน เมื่อ 28 ก.พ.47 ก.คลังของเยอรมนีคาดว่าการขาดดุลงบประมาณในปี 47 จะลดลงเหลือร้อยละ
3.3 จากร้อยละ 3.9 ของ GDP ในปี 46 ซึ่งยังคงเกินกว่าข้อกำหนดของสหภาพยุโรปที่กำหนดให้ประเทศ
สมาชิกที่ใช้เงินสกุลยูโรรักษาระดับการขาดดุลงบประมาณไว้ไม่ให้เกินร้อยละ 3.0 ของ GDP เป็นปีที่ 3
ติดต่อกัน รมต.คลังของเยอรมนีได้กระตุ้นให้คณะรัฐมนตรีประหยัดงบประมาณรายจ่ายปีนี้ให้ได้ถึง 2 พันล้านยูโร
เพื่อให้การขาดดุลงบประมาณปีนี้อยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 3.0 GDP ตามข้อกำหนดของสหภาพยุโรป (รอยเตอร์)
3. สหภาพยุโรปเริ่มใช้มาตรการภาษีเพื่อตอบโต้สินค้านำเข้าจากสรอ. รายงานจากบรัสเซล
เมื่อวันที่ 29 ก.พ. 47 สหภาพยุโรปเริ่มตอบโต้สินค้าที่นำเข้าจากสรอ. เป็นครั้งแรกโดยใช้กำแพงภาษีซึ่งนำ
ไปสู่สงครามทางการค้าที่ส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกของสรอ. เป็นมูลค่าถึง 300 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในปีนี้
อัตราภาษีในระดับต่ำที่สรอ.ให้กับบริษัทส่งออกทั่วๆไปรวมทั้งบริษัทโบอิ้งและไมโครซอฟเป็นการอุดหนุนทางการ
ค้าที่ผิดกฏขององค์การการค้าโลก (WTO) ถูกสหภาพยุโรปจัดเก็บภาษีเพื่อตอบโต้ทางการค้าเป็นมูลค่าถึง 4 พัน
ล. ดอลลาร์ สรอ. ขณะเดียวกันนาย Pascal Lamy กรรมาธิการการค้าสหภาพยุโรป ตัดสินใจใช้มาตรการ
เพื่อกดดันสรอ. ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสินค้าหลายอย่างของสรอ. รวมทั้งสิ่งทอ เครื่องประดับ และของเล่น
มาตรการตอบโต้ทางการค้าดังกล่าวเพื่อกดดันให้สภาคองเกรสสรอ. ดำเนินการเรื่องมาตรการทางภาษีตาม
แนวทางของ WTO ทางการสรอ. พยายามที่จะลดผลกระทบทางการค้าที่สหภาพยุโรปตอบโต้สรอ. นับเป็นครั้ง
แรกนับตั้งแต่ที่จัดตั้ง WTO ในปี 38 เจ้าหน้าที่สรอ.กล่าวว่าไม่ใช่เป็นการเริ่มต้นสงครามทางการค้า แต่มีการ
ขัดแย้งกันทุกส่วนในระบบของ WTO ก่อนวันที่ 1 มี.ค. ที่กำหนดเส้นตายสำหรับมาตรการการค้าที่สหภาพยุโรป
จะใช้ตอบโต้สรอ. (รอยเตอร์)
4. เงินเฟ้อของยูโรโซนในเดือนก.พ. อาจลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปี รายงานจากบรัสเซล
เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 47 สำนักงานสถิติสหภาพยุโรปประมาณการอัตราเงินเฟ้อของ 12 ชาติในยูโรโซนใน
เดือนก.พ. 47 ลดลงอยู่ในระดับร้อยละ 1.6 ต่ำสุดในรอบ 4 ปีนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 42 เนื่องจากการแข็ง
ค่าของเงินยูโรช่วยชดเชยการสูงขึ้นของราคาน้ำมันและราคาสินค้านำเข้า อย่างไรก็ตามการลดลงอย่างมาก
ของอัตราเงินเฟ้อดังกล่าวซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายของ ธ.กลางยุโรปที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 2.0 ไม่ได้ทำให้นัก
เศรษฐศาสตร์คาดว่าธ.กลางยุโรปจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับร้อยละ 2.0 ลงอีก
ในการประชุมธ.กลางที่จะมีขึ้นในวันที่ 4 มี.ค. นี้ แต่ก็มีแรงกดดันต่อกลุ่มยูโรโซนในการป้องกันความเสี่ยง
จากภาวะเศรษฐกิจถดถอย (รอยเตอร์)
5. สถาบันวิจัยชั้นนำของเกาหลีใต้ปรับเพิ่มการคาดการณ์อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์ในประเทศปี
47 รายงานจากโซลเมื่อ 28 ก.พ.47 ประธาน The Korea Development Institute ซึ่งเป็นสถาบัน
วิจัยชั้นนำของประเทศเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า สถาบันคาดว่าจะปรับเพิ่มตัวเลขประมาณการอัตราการเติบโต
ของผลิตภัณฑ์ในประเทศของเกาหลีใต้ในปี 47 ที่เคยประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ที่ระดับร้อยละ 5.3 หรืออย่าง
น้อยก็ต้องรักษาตัวเลขอยู่ในระดับนี้ ในรอบการปรับปรุงข้อมูลกลางเดือน เม.ย.47 สาเหตุจากการส่งออกที่
ปรับตัวดีขึ้นเกินความคาดหมาย แม้ว่าการบริโภคภายในประเทศจะชะลอลงก็ตาม ทั้งนี้ การคาดการณ์อัตรา
การเติบโตของผลิตภัณฑ์ในประเทศดังกล่าวสอดคล้องกับที่ ธ.กลางเกาหลีใต้คาดการณ์ว่าจะเติบโตที่ระดับร้อย
ละ 5.2 ในปี 47 เทียบกับร้อยละ 2.9 ในปี 46 และร้อยละ 6.3 ในปี 45 อนึ่ง ก.คลังเกาหลีใต้ไม่ได้มี
การคาดการณ์อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์ในประเทศเป็นอัตราที่แน่นอน และการคาดการณ์ The Korea
Development Institute ซึ่งเป็นสถาบันภายใต้การกำกับดูแลของ ก.คลัง เป็นตัวเลขที่ได้รับการยอมรับ
โดยทั่วไป เนื่องจากมีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายโดยรวมของ ก.คลัง (รอยเตอร์)
6. เงินให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์สิงคโปร์ในเดือน ม.ค.47 ลดลงเล็กน้อย รายงานจากสิงคโปร์
เมื่อ 28 ก.พ.47 ธ.กลางสิงคโปร์ เปิดเผยว่า เงินให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์สิงคโปร์ในเดือน ม.ค.47
ลดลงเล็กน้อย โดยยอดคงค้างของเงินให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์สิงคโปร์ในเดือน ม.ค.47 อยู่ที่จำนวน
171.3 พัน ล.ดอลลาร์สิงคโปร์ (102 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) ลดลงเล็กน้อยจากจำนวน 171.4 พัน ล.
ดอลลาร์สิงคโปร์ในเดือนก่อน สาเหตุจากการให้กู้ยืมในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและภาคการขนส่งลดลงร้อยละ
1.3 และ 3.89 ตามลำดับ ก่อนหน้านี้ คือ ในไตรมาสที่ 4 ปี 46 ตัวเลขดังกล่าวได้ขยายตัวร้อยละ 11
หรือคิดเป็นจำนวน 95 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว ซึ่งนักวิเคราะห์มีข้อสรุปว่า
ตัวเลขในเดือน ม.ค.ที่ลดลงนั้นเป็นภาวะปกติอันเป็นผลจากเป็นช่วงฤดูกาลของเทศกาลต่าง ๆ สำหรับภาวะ
การค้าที่ถือพลังขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ได้ขยายตัวอย่างเชื่องช้าที่ระดับร้อยละ 1.1
ในปี 46 อันเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในทวีปเอเชีย เนื่องจากผลกระทบจากการระบาดของโรคซาร์สเมื่อปีก่อน
อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกรวมทั้งความต้องการผลิตภัณฑ์ยาและสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์ของ
สิงคโปร์จากทั่วโลกได้ส่งผลให้รัฐบาลสิงคโปร์เปลี่ยนประมาณการตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์
ในปี 47 เป็น ร้อยละ 3.5-5.5 จากเดิมที่ประมาณการไว้ที่ระดับร้อยละ 3.0-5.0 และหากเป็นไปตามเป้า
หมายคาดว่าภาวะเศรษฐกิจของสิงคโปร์จะแข็งแกร่งที่สุดตั้งแต่ปี 43 เป็นต้นมา (รอยเตอร์)
7. ดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจของไต้หวันในเดือน ม.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 รายงานจากไทเป
เมื่อ 27 ก.พ.47 กลุ่มที่ปรึกษาการวางแผนและพัฒนาเศรษฐกิจของไต้หวัน เปิดเผยว่า ดัชนีชี้นำภาวะ
เศรษฐกิจของไต้หวันในเดือน ม.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 อยู่ที่ระดับ 106.1 จากเดือนก่อน ซึ่งเป็นระดับ
สูงสุดในรอบ 45 เดือน และแตกต่างจากที่ผลสำรวจรอยเตอร์คาดการณ์ว่าจะลดลงอยู่ที่ระดับ 104.3 สะท้อน
ว่า เศรษฐกิจไต้หวันฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง เนื่องจากราคาขายส่งเพิ่มขึ้นและปริมาณเงินหมุนเวียนที่ขยายตัว
เพิ่มขึ้นด้วย ทั้งนี้ การส่งออกในไตรมาสที่ 4 ปี 46 ได้เพิ่มขึ้นในระดับสูงที่สุด และคาดว่าในปี 47 อุปสงค์ใน
ประเทศจะขยายตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย อันจะเป็นปัจจัยสำคัญที่เป็นพลังขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็น
อันดับแรก (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 1/3/47 27/2/47
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.313 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.1380/39.4223 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.2500 - 1.2800 1.8750 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 716.30/28.78 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,400/7,500 7,350/7,450 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 30.63 29.92 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ก.คลังร่างเกณฑ์สถาบันประกันเงินฝาก แหล่งข่าวจาก ก.คลังเปิดเผยว่า ร่างสถาบัน
ประกันเงินฝากที่ได้เสนอให้ รมว.คลังพิจารณาแล้วนั้น ในร่างดังกล่าวกำหนดว่าจะประกันเงินฝาก จำนวน 1
ล้านบาทต่อชื่อต่อธนาคาร อันจะเป็นการเปิดช่องให้ลูกค้าดำเนินการซอยย่อยบัญชีข้ามธนาคาร เพื่อให้ได้รับ
การคุ้มครองประกันเงินฝากทุกบัญชี นอกจากนั้น ในหลักเกณฑ์ดังกล่าว ก.คลังต้องการให้ธนาคารทุกแห่งเข้า
เป็นสมาชิกสถาบันประกันเงินฝากพร้อมกันทุกแห่งหากมีการจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ เพื่อไม่ให้เกิดการได้
เปรียบเสียเปรียบ ทั้งนี้ สถาบันประกันเงินฝากจะเป็นช่องทางเตือนภัยอีกทางหนึ่งให้กับสถาบันการเงิน โดยมี
การประสานงานกับ ธปท. หากพบว่าฐานะสถาบันการเงินแห่งใดมีปัญหา ก็จะส่งข้อมูลดังกล่าวให้ ธปท. ได้
รับทราบอีกทางหนึ่ง (โพสต์ทูเดย์)
2. ธปท. ปรับโครงสร้างหนี้เดือน ม.ค.47 มูลค่า 6,114 ล้านบาท นายทำนอง ดาศรี ผู้
อำนวยการสายปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ธปท. เปิดเผยว่าในเดือน ม.ค.47 ได้เจรจาปรับโครงสร้างหนี้สำเร็จ
6,114 ล้านบาท แบ่งเป็นลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จเพิ่มขึ้น 43 ราย มูลหนี้ 594 ล้านบาท เป็น
ลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างกระบวนการทางกฎหมายที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จ 572 ราย มูลหนี้ 5,520 ล้านบาท
หรือคิดเป็น 63% ของจำนวนลูกหนี้ที่เจรจาจนมีข้อสรุปแล้ว โดยลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จส่วนใหญ่
ประกอบธุรกิจพาณิชย์ รองลงมาคือ การอุปโภคบริโภค และการบริหาร ทั้งนี้ นับตั้งแต่คณะกรรมการปรับปรุง
โครงสร้างหนี้ (คปน.) เริ่มดำเนินการในปี 2541 จนถึงเดือน ม.ค.47 มีลูกหนี้เป้าหมาย จำนวน 16,754
ราย มูลหนี้ 2,864,244 ล้านบาท โดยมีลูกหนี้ที่ได้เข้าเจรจาตามกระบวนการของ คปน. จำนวน 13,356
ราย มูลหนี้ 1,904,376 ล้านบาท ในจำนวนนี้ได้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จไปแล้ว 10,968 ราย มูลหนี้
1,450,497 ล้านบาท คิดเป็น 84% ของลูกหนี้ที่มีการเจรจาจนมีข้อสรุป สำหรับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
ในปี 2547 - 2549 ยังมีทิศทางการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เช่นเดียวกับปี 2546 โดยมุ่งเน้นการปรับปรุง
โครงสร้างหนี้แก่ลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมาย คือ หนี้ที่อยู่ระหว่างดำเนินคดีและ
หนี้ที่อยู่ระหว่างบังคับคดี (โลกวันนี้)
3. ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะจัดตั้งกองทุนคุ้มครองผู้ลงทุน นายรพี สุจริตกุล ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) เปิดเผยว่า กรณีที่ตลาดหลักทรัพย์แห่ง
ประเทศไทยจะจัดตั้งกองทุนคุ้มครองผู้ลงทุนโดยออกเงินส่วนหนึ่งให้นั้น สามารถดำเนินการได้ทันทีโดยไม่จำ
เป็นต้องรอการอนุมัติจาก กลต. หากเป็นการจัดตั้งกองทุนโดยความสมัครใจ ซึ่งการจัดตั้งกองทุนดังกล่าวเป็น
เรื่องที่ดี เพราะจะเป็นการสร้างความมั่นคงให้กับระบบ ลักษณะของกองทุนก็จะเป็นเหมือนการทำประกันคือ มี
วงเงินคุ้มครองเอาไว้ แต่ไม่ได้หวังว่าจะนำมาใช้ตลอดเวลา อย่างไรก็ตาม หากกองทุนคุ้มครองผู้ลงทุนมีการ
จ่ายเงินชดเชยออกไปในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ประสบปัญหาด้านการเงิน กองทุนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้
จ่ายที่เกิดขึ้นเอง โดยไม่สามารถเรียกร้องกับบริษัทหลักทรัพย์นั้นได้เนื่องจากยังไม่มีกฎหมายรองรับ (โลกวันนี้)
4. ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศปีนี้มีมูลค่า 8,900 ล้านดอลลาร์
สรอ. บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า คาดว่าการลงทุนโดยตรงสุทธิจากต่างประเทศในปี 47
มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ประมาณ 3,900 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นประมาณ 95% จากปี 46 โดยมูลค่า
รวมทั้งปีอาจจะสูงถึงระดับ 8,900 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดที่เคยมีมา ขณะที่การลงทุนไหล
ออกคาดว่าจะลดลงโดยมีมูลค่าประมาณ 5,000 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เป็นผลจากเศรษฐกิจในภูมิภาคต่าง ๆ
ของโลกส่วนใหญ่มีแนวโน้มเติบโตดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา และการรวมกลุ่มเศรษฐกิจและการขยายความร่วมมืออัน
จะนำไปสู่เขตการค้าเสรีระหว่างหลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะดึงการลงทุนมาสู่
ภูมิภาคนี้ ส่วนปัจจัยภายในประเทศ พื้นฐานโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยมีความเข้มแข็ง เศรษฐกิจมีแนวโน้ม
การเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายเชิงรุกในด้านการเปิดตลาดการค้าการลงทุนผ่านการ
เจรจากรอบการค้าเสรี ซึ่งเป็นแนวทางที่สร้างโอกาสสำหรับนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาใช้ประเทศไทยเป็น
ฐานในการขยายธุรกิจ (ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1.ยอดขาดดุลงบประมาณของ สรอ.ในปีงบประมาณ 46 มีจำนวน 665
พันล้านดอลลาร์ สรอ. รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 27 ก.พ.47 ยอดขาดดุลงบประมาณของ สรอ.ในปีงบ
ประมาณ 46 ซึ่งเริ่มตั้งแต่ 1 ต.ค. 45 ถึง 30 ก.ย. 46 โดยใช้มาตรฐานการบัญชีที่ใช้กับบริษัทมหาชนทั่ว
ไป มีจำนวน 665 พันล้านดอลลาร์ สรอ. สูงกว่ายอดขาดดุลงบประมาณซึ่งคำนวณตามวิธีการบัญชีแบบเดิมเกือบ
300 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยยอดขาดดุลงบประมาณเดิมซึ่งใช้เกณฑ์เงินสดมีจำนวน 374.2 พันล้านดอลลาร์
สรอ. ในขณะที่ยอดขาดดุลงบประมาณที่ใช้เกณฑ์ค้างรับค้างจ่ายซึ่งเป็นมาตรฐานการบัญชีที่ใช้กับบริษัทมหาชนทั่ว
ไปได้รวมรายการที่ไม่ใช่เงินสดเช่น ค่าใช้จ่ายบำนาญและค่ารักษาพยาบาลที่จะให้แก่ลูกจ้างของกองทัพ ทหาร
ผ่านศึกและข้าราชการจำนวน 286 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ไว้ด้วย และหากใช้มาตรฐานการบัญชีนี้ในระยะยาว
มูลค่าปัจจุบันของค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการสังคมและหนี้สาธารณะเมื่อเทียบรายรับที่คาดว่าจะได้รับในอีก 75 ปี
ข้างหน้า จะทำให้การขาดดุลงบประมาณมีจำนวน 34.825 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 46 เพิ่มขึ้นจาก
จำนวน 31.123 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 47 (รอยเตอร์)
2.คาดว่าการขาดดุลงบประมาณของเยอรมนีในปี 47 จะอยู่ที่ร้อยละ 3.3 ของ GDP รายงานจาก
เบอร์ลิน เมื่อ 28 ก.พ.47 ก.คลังของเยอรมนีคาดว่าการขาดดุลงบประมาณในปี 47 จะลดลงเหลือร้อยละ
3.3 จากร้อยละ 3.9 ของ GDP ในปี 46 ซึ่งยังคงเกินกว่าข้อกำหนดของสหภาพยุโรปที่กำหนดให้ประเทศ
สมาชิกที่ใช้เงินสกุลยูโรรักษาระดับการขาดดุลงบประมาณไว้ไม่ให้เกินร้อยละ 3.0 ของ GDP เป็นปีที่ 3
ติดต่อกัน รมต.คลังของเยอรมนีได้กระตุ้นให้คณะรัฐมนตรีประหยัดงบประมาณรายจ่ายปีนี้ให้ได้ถึง 2 พันล้านยูโร
เพื่อให้การขาดดุลงบประมาณปีนี้อยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 3.0 GDP ตามข้อกำหนดของสหภาพยุโรป (รอยเตอร์)
3. สหภาพยุโรปเริ่มใช้มาตรการภาษีเพื่อตอบโต้สินค้านำเข้าจากสรอ. รายงานจากบรัสเซล
เมื่อวันที่ 29 ก.พ. 47 สหภาพยุโรปเริ่มตอบโต้สินค้าที่นำเข้าจากสรอ. เป็นครั้งแรกโดยใช้กำแพงภาษีซึ่งนำ
ไปสู่สงครามทางการค้าที่ส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกของสรอ. เป็นมูลค่าถึง 300 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในปีนี้
อัตราภาษีในระดับต่ำที่สรอ.ให้กับบริษัทส่งออกทั่วๆไปรวมทั้งบริษัทโบอิ้งและไมโครซอฟเป็นการอุดหนุนทางการ
ค้าที่ผิดกฏขององค์การการค้าโลก (WTO) ถูกสหภาพยุโรปจัดเก็บภาษีเพื่อตอบโต้ทางการค้าเป็นมูลค่าถึง 4 พัน
ล. ดอลลาร์ สรอ. ขณะเดียวกันนาย Pascal Lamy กรรมาธิการการค้าสหภาพยุโรป ตัดสินใจใช้มาตรการ
เพื่อกดดันสรอ. ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสินค้าหลายอย่างของสรอ. รวมทั้งสิ่งทอ เครื่องประดับ และของเล่น
มาตรการตอบโต้ทางการค้าดังกล่าวเพื่อกดดันให้สภาคองเกรสสรอ. ดำเนินการเรื่องมาตรการทางภาษีตาม
แนวทางของ WTO ทางการสรอ. พยายามที่จะลดผลกระทบทางการค้าที่สหภาพยุโรปตอบโต้สรอ. นับเป็นครั้ง
แรกนับตั้งแต่ที่จัดตั้ง WTO ในปี 38 เจ้าหน้าที่สรอ.กล่าวว่าไม่ใช่เป็นการเริ่มต้นสงครามทางการค้า แต่มีการ
ขัดแย้งกันทุกส่วนในระบบของ WTO ก่อนวันที่ 1 มี.ค. ที่กำหนดเส้นตายสำหรับมาตรการการค้าที่สหภาพยุโรป
จะใช้ตอบโต้สรอ. (รอยเตอร์)
4. เงินเฟ้อของยูโรโซนในเดือนก.พ. อาจลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปี รายงานจากบรัสเซล
เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 47 สำนักงานสถิติสหภาพยุโรปประมาณการอัตราเงินเฟ้อของ 12 ชาติในยูโรโซนใน
เดือนก.พ. 47 ลดลงอยู่ในระดับร้อยละ 1.6 ต่ำสุดในรอบ 4 ปีนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 42 เนื่องจากการแข็ง
ค่าของเงินยูโรช่วยชดเชยการสูงขึ้นของราคาน้ำมันและราคาสินค้านำเข้า อย่างไรก็ตามการลดลงอย่างมาก
ของอัตราเงินเฟ้อดังกล่าวซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายของ ธ.กลางยุโรปที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 2.0 ไม่ได้ทำให้นัก
เศรษฐศาสตร์คาดว่าธ.กลางยุโรปจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับร้อยละ 2.0 ลงอีก
ในการประชุมธ.กลางที่จะมีขึ้นในวันที่ 4 มี.ค. นี้ แต่ก็มีแรงกดดันต่อกลุ่มยูโรโซนในการป้องกันความเสี่ยง
จากภาวะเศรษฐกิจถดถอย (รอยเตอร์)
5. สถาบันวิจัยชั้นนำของเกาหลีใต้ปรับเพิ่มการคาดการณ์อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์ในประเทศปี
47 รายงานจากโซลเมื่อ 28 ก.พ.47 ประธาน The Korea Development Institute ซึ่งเป็นสถาบัน
วิจัยชั้นนำของประเทศเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า สถาบันคาดว่าจะปรับเพิ่มตัวเลขประมาณการอัตราการเติบโต
ของผลิตภัณฑ์ในประเทศของเกาหลีใต้ในปี 47 ที่เคยประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ที่ระดับร้อยละ 5.3 หรืออย่าง
น้อยก็ต้องรักษาตัวเลขอยู่ในระดับนี้ ในรอบการปรับปรุงข้อมูลกลางเดือน เม.ย.47 สาเหตุจากการส่งออกที่
ปรับตัวดีขึ้นเกินความคาดหมาย แม้ว่าการบริโภคภายในประเทศจะชะลอลงก็ตาม ทั้งนี้ การคาดการณ์อัตรา
การเติบโตของผลิตภัณฑ์ในประเทศดังกล่าวสอดคล้องกับที่ ธ.กลางเกาหลีใต้คาดการณ์ว่าจะเติบโตที่ระดับร้อย
ละ 5.2 ในปี 47 เทียบกับร้อยละ 2.9 ในปี 46 และร้อยละ 6.3 ในปี 45 อนึ่ง ก.คลังเกาหลีใต้ไม่ได้มี
การคาดการณ์อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์ในประเทศเป็นอัตราที่แน่นอน และการคาดการณ์ The Korea
Development Institute ซึ่งเป็นสถาบันภายใต้การกำกับดูแลของ ก.คลัง เป็นตัวเลขที่ได้รับการยอมรับ
โดยทั่วไป เนื่องจากมีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายโดยรวมของ ก.คลัง (รอยเตอร์)
6. เงินให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์สิงคโปร์ในเดือน ม.ค.47 ลดลงเล็กน้อย รายงานจากสิงคโปร์
เมื่อ 28 ก.พ.47 ธ.กลางสิงคโปร์ เปิดเผยว่า เงินให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์สิงคโปร์ในเดือน ม.ค.47
ลดลงเล็กน้อย โดยยอดคงค้างของเงินให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์สิงคโปร์ในเดือน ม.ค.47 อยู่ที่จำนวน
171.3 พัน ล.ดอลลาร์สิงคโปร์ (102 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) ลดลงเล็กน้อยจากจำนวน 171.4 พัน ล.
ดอลลาร์สิงคโปร์ในเดือนก่อน สาเหตุจากการให้กู้ยืมในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและภาคการขนส่งลดลงร้อยละ
1.3 และ 3.89 ตามลำดับ ก่อนหน้านี้ คือ ในไตรมาสที่ 4 ปี 46 ตัวเลขดังกล่าวได้ขยายตัวร้อยละ 11
หรือคิดเป็นจำนวน 95 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว ซึ่งนักวิเคราะห์มีข้อสรุปว่า
ตัวเลขในเดือน ม.ค.ที่ลดลงนั้นเป็นภาวะปกติอันเป็นผลจากเป็นช่วงฤดูกาลของเทศกาลต่าง ๆ สำหรับภาวะ
การค้าที่ถือพลังขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ได้ขยายตัวอย่างเชื่องช้าที่ระดับร้อยละ 1.1
ในปี 46 อันเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในทวีปเอเชีย เนื่องจากผลกระทบจากการระบาดของโรคซาร์สเมื่อปีก่อน
อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกรวมทั้งความต้องการผลิตภัณฑ์ยาและสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์ของ
สิงคโปร์จากทั่วโลกได้ส่งผลให้รัฐบาลสิงคโปร์เปลี่ยนประมาณการตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์
ในปี 47 เป็น ร้อยละ 3.5-5.5 จากเดิมที่ประมาณการไว้ที่ระดับร้อยละ 3.0-5.0 และหากเป็นไปตามเป้า
หมายคาดว่าภาวะเศรษฐกิจของสิงคโปร์จะแข็งแกร่งที่สุดตั้งแต่ปี 43 เป็นต้นมา (รอยเตอร์)
7. ดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจของไต้หวันในเดือน ม.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 รายงานจากไทเป
เมื่อ 27 ก.พ.47 กลุ่มที่ปรึกษาการวางแผนและพัฒนาเศรษฐกิจของไต้หวัน เปิดเผยว่า ดัชนีชี้นำภาวะ
เศรษฐกิจของไต้หวันในเดือน ม.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 อยู่ที่ระดับ 106.1 จากเดือนก่อน ซึ่งเป็นระดับ
สูงสุดในรอบ 45 เดือน และแตกต่างจากที่ผลสำรวจรอยเตอร์คาดการณ์ว่าจะลดลงอยู่ที่ระดับ 104.3 สะท้อน
ว่า เศรษฐกิจไต้หวันฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง เนื่องจากราคาขายส่งเพิ่มขึ้นและปริมาณเงินหมุนเวียนที่ขยายตัว
เพิ่มขึ้นด้วย ทั้งนี้ การส่งออกในไตรมาสที่ 4 ปี 46 ได้เพิ่มขึ้นในระดับสูงที่สุด และคาดว่าในปี 47 อุปสงค์ใน
ประเทศจะขยายตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย อันจะเป็นปัจจัยสำคัญที่เป็นพลังขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็น
อันดับแรก (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 1/3/47 27/2/47
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.313 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.1380/39.4223 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.2500 - 1.2800 1.8750 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 716.30/28.78 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,400/7,500 7,350/7,450 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 30.63 29.92 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-