ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. เพิ่มมาตรการคุมบัตรเครดิตเพิ่มเดือน มี.ค.นี้ ผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยว่าได้ให้ฝ่าย
นโยบายสถาบันการเงินศึกษาและรวบรวมข้อมูลธุรกิจ โดยเฉพาะประเด็นที่ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต
ของผู้มีรายได้น้อยมีปริมาณเพิ่มขึ้น โดยจะนำข้อมูลดังกล่าวมาพิจารณาเพื่อหามาตรการกำกับและดูแลธุรกิจดัง
กล่าว ด้านนางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ ธปท. กล่าวเพิ่มเติมว่าเมื่อนำข้อมูลของชมรมธุรกิจบัตร
เครดิตไทยมาเปรียบเทียบกับของสถาบันการเงินพบว่าข้อมูลเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยบัตรเครดิตมีจำนวน
เพิ่มสูงขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ กลุ่มผู้สมัครที่ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือกลุ่มผู้มีรายได้ต่ำ
และข้อสำคัญที่น่าเป็นห่วงคือ ผู้ออกบัตรเป็นสถาบันที่ไม่ใช้สถาบันการเงิน (นอน-แบงก์) ที่มีการแข่งขันกันสูง
มาก จึงคาดว่า ธปท. จะมีมาตรการออกมาเพื่อควบคุมในเร็ว ๆ นี้ อย่างไรก็ตาม มาตรการที่จะออกเพิ่ม
เติมเพื่อดูแลและควบคุมการทำธุรกิจบัตรเครดิต รวมทั้งการให้สินเชื่อบัตรเครดิตนั้น สามารถทำได้โดยไม่จำ
เป็นต้องรอ พ.ร.บ.สถาบันการเงินผ่านการพิจารณาของรัฐสภาก่อน โดยมาตรการเพิ่มเติมนี้จะครอบคลุมถึง
บัตรเครดิตที่ออกโดยสถาบันการเงินและบัตรเครดิตที่ออกโดยบริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน และจะสามารถออก
มาใช้ควบคุมในส่วนของบริษัทบัตรเครดิตที่ไม่ใช่สถาบันการเงินด้วย (ผู้จัดการ, กรุงเทพธุรกิจ)
2. ธ.พาณิชย์ไทยทั้งระบบทำกำไรในปี 46 3.7 หมื่นล้านบาท จากการรวบรวมผลประกอบ
การของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบ 13 แห่ง ในปี 46 พบว่า มีกำไรสุทธิ 37,066.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 45
ที่กำไรสุทธิ 11,134.27 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 232.90% โดยกลุ่มธนาคารเอกชนขนาดใหญ่มีกำไรสุทธิ
50,386 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 45 ที่มีกำไร 10,595.76 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 375.52% เป็นผลมาจาก
การที่สามารถปล่อยสินเชื่อได้เพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ รวมทั้งมีรายได้จากค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น สำหรับ
ธนาคารที่มีกำไรสูงสุด ได้แก่ ธ.กสิกรไทย 14,814 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 121.63% ธ.ไทยพาณิชย์ 12,460
ล้านบาท ธ.กรุงเทพ 11,354 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 81% ส่วนธนาคารที่มีผลขาดทุน ได้แก่ ธ.ทหารไทย ขาด
ทุน 14,054 ล้านบาท ธ.ไทยธนาคาร ขาดทุน 3,935 ล้านบาท และ ธ.ดีบีเอส ไทยทนุ ขาดทุน 2,005
ล้านบาท โดยแจ้งว่ายังมีผลกำไรจากการดำเนินงานแต่ที่ขาดทุนเพราะต้องนำเงินตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญ
ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่าในปี 47 ระบบธนาคารจะมีกำไรเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 82.5% หรือประมาณ 70,528
ล้านบาท เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น ทำให้ธนาคารสามารถขยายสินเชื่อได้มากขึ้น ในขณะเดียวกันธนาคาร
พาณิชย์หลายแห่งจะมีการไถ่ถอนหุ้นกู้ปุริมสิทธิควบหุ้นด้อยสิทธิ (สลิปส์ แคปส์) ให้หมดภายในครึ่งปีแรก ซึ่งจะ
ส่งผลให้ผลประกอบการของธนาคารดีขึ้น เพราะทำให้ภาระจ่ายดอกเบี้ยลดลง อีกทั้งทำให้ธนาคารมีภาระการ
ตั้งสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญลดลงด้วย (โพสต์ทูเดย์)
3. ภาวะเงินเฟ้อเดือน ก.พ.47 ปรับตัวสูงขึ้น 0.7% เทียบกับเดือน ม.ค.47 นายการุณ กิตติ
สถาพร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) ประจำเดือน ก.พ.47 อยู่ที่
ระดับ 107.7 เพิ่มขึ้น 2.2% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แต่เทียบกับเดือน ม.ค.47 เพิ่มขึ้น 0.7%
ซึ่งเป็นอัตราเพิ่มสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค.ปีก่อน และถ้าเฉลี่ย 2 เดือน (ม.ค.-ก.พ.) ของปีนี้เทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น 1.7% เป็นผลจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่อง
ดื่มที่เพิ่มขึ้น 1.3% ดัชนีสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่มก็ปรับตัวสูงขึ้น 0.4% นอกจากนี้
รัฐบาลได้ปรับเพิ่มค่าเอฟทีขึ้นอีกหน่วยละ 12.16 สตางค์ หรือปรับเพิ่มขึ้นจากเดิม 5% ซึ่งมีผลกระทบต่อเงิน
เฟ้อประมาณ 1% ซึ่งทั้ง 2 รายการเป็นตัวสำคัญที่ฉุดให้เงินเฟ้อเดือนนี้เพิ่มขึ้น (เดลินิวส์, ข่าวสด)
4. สรุปแผนรวมกิจการ ธ.ทหารไทย-ดีบีเอสไทยทนุ-ไอเอฟซีที แล้ว ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
รมว. ก.คลัง เปิดเผยว่า การเจรจาควบรวมกิจการ ธ.ทหารไทย ธ. ดีบีเอสไทยทนุ และบรรษัทเงินทุน
อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ไอเอฟซีที) ได้ข้อสรุปสมบูรณ์แล้ว โดยนายสมหมาย ภาษี รองปลัด ก.คลัง
กล่าวว่าในวันที่ 4 มี.ค. จะมีการประชุมร่วมกันระหว่าง ธ.ทหารไทย ดีบีเอสไทยทนุ และไอเอฟซีที เพื่อ
พิจารณาสัดส่วนในการแลกหุ้นขั้นสุดท้าย ก่อนที่จะแถลงอย่างเป็นทางการ พร้อมจะมีการเซ็นบันทึกความเข้าใจ
เบื้องต้นพร้อมกันทั้งสามฝ่าย และเมื่อทั้งสามฝ่ายอนุมัติรับสัดส่วนการแลกหุ้น ต้องนำแผนการควบรวมกิจการให้
ธปท. พิจารณา ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะทำคำเสนอซื้อหุ้นต่อผู้ถือหุ้นทั่วไป (Tender
Offer) ช่วงปลายเดือนเมษายน และจะจัดตั้ง ธ.ทหารไทยรูปแบบใหม่ภายในต้นเดือน มิ.ย.47 ทั้งนี้ การ
รวมกิจการในครั้งนี้สอดคล้องกับแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (Financial Sector Master Plan) ของ
ธปท. ฉบับล่าสุด ที่สนับสนุนให้มีการจัดตั้งสถาบันการเงินที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และมีความสามารถในการแข่งขันสูง
ขึ้น (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1.การอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ.ทำให้ประเทศที่ใช้เงินยูโรและเงินเยนซื้อน้ำมันในราคาถูกลง
รายงานจากลอนดอน เมื่อ 1 มี.ค.47 ราคาน้ำมันดิบซึ่งกำหนดเป็นเงินดอลลาร์ สรอ.อยู่ในระดับสูงสุดนับ
ตั้งแต่หลังสงครามอิรักเมื่อเดือน มี.ค. 46 แต่ผู้ใช้น้ำมันในเขตเศรษฐกิจยุโรปและญี่ปุ่นซึ่งใช้เงินสกุลยูโรและ
เงินเยนกลับซื้อน้ำมันในราคาถูกลง โดยราคาน้ำมันในรูปเงินยูโรและเงินเยนลดลงร้อยละ 14 และร้อยละ 9
ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน รมต.ก.พลังงานของ สรอ.ได้แสดงความกังวลว่ากลุ่มโอ
เปคปฏิเสธที่เพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันแม้ว่าราคาน้ำมันดิบจะอยู่ในระดับสูงกว่าช่วงราคา 22 ถึง 28 ดอลลาร์
สรอ.ต่อบาร์เรลที่กลุ่มโอเปคได้ตั้งเป้าไว้เป็นเวลาหลายเดือนแล้วก็ตาม แต่หากคิดในรูปเงินสกุลยูโรแล้ว
ราคาเฉลี่ยของน้ำมันที่ สรอ.นำเข้าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมากลับมีเสถียรภาพอย่างน่าประหลาดใจ ทำให้มีการ
วิเคราะห์กันว่ากลุ่มโอเปคอาจเปลี่ยนการตั้งราคาน้ำมันเป้าหมายเป็นเงินสกุลยูโรอย่างลับ ๆ ในขณะที่ รม
ต.ของกลุ่มโอเปคยังคงยืนยันการตั้งราคาน้ำมันเป้าหมายเป็นเงินดอลลาร์ สรอ. ระหว่าง 22 ถึง 28
ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล และกล่าวว่าเป็นเรื่องปรกติที่ผู้ผลิตน้ำมันจะต้องการราคาน้ำมันที่สูงขึ้นในรูปเงิน
ดอลลาร์ สรอ.ที่อ่อนตัวลง (รอยเตอร์)
2. ตัวเลขภาคอุตสาหกรรมของ สรอ. ส่งผลให้ราคาหลักทรัพย์ปรับตัวลดลง รายงานจาก
นิวยอร์กเมื่อ 1 มี.ค.47 รอยเตอร์เปิดเผยว่า The Institute for Supply Management รายงานตัว
เลขจากการสำรวจประจำเดือน ก.พ.47 ซึ่งพบว่า ประสิทธิภาพการผลิตโดยรวมของภาคอุตสาหกรรมยังคง
ขยายตัวอย่างเข้มแข็ง โดยดัชนีชี้วัดการจ้างงานเพิ่มขึ้นที่ระดับ 56.3 จากระดับ 52.9 ในเดือนก่อน ดัชนีชี้
วัดการใช้จ่ายซึ่งเป็นปัจจัยในการประเมินผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ เพิ่มขึ้นที่ระดับ 81.5 จากระดับ 75.5
รวมถึงดัชนีชี้วัดรายได้และรายจ่ายส่วนบุคคลซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน แม้ว่าดัชนีชี้วัดสถานการณ์ภาคการ
ผลิตจะลดลงสู่ระดับ 61.4 จากระดับ 63.6 ในเดือนก่อนก็ตาม นอกจากนี้ คาดว่าสถานการณ์ภาคการผลิต
โดยรวมที่ฟื้นตัวขึ้นดังกล่าว ยังอาจส่งผลให้ ธ.กลาง สรอ.คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมต่อไปอีก
ทั้งนี้ ภายหลังจากที่ผลการสำรวจดังกล่าวได้ประกาศออกมา ส่งผลให้หลักทรัพย์ สรอ.มีราคาลดลงทันที โดย
พธบ.รัฐบาล สรอ.อายุ 10 ปี มีราคาลดลง 1/32 ทำให้อัตราผลตอบแทน (yield) เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ
3.98 (รอยเตอร์)
3. การลดการขาดดุลงบประมาณจะช่วยลดความเสี่ยงในระบบเศรษฐกิจสรอ. รายงานจาก
วอชิงตัน เมื่อวันที่ 1 มี.ค. 47 นายอลัน กรีนสแปน ประธานธ.กลางสรอ. กล่าวว่าการที่ก.คลังสรอ.เพิ่ม
การออมโดยลดการขาดดุลงบประมาณจะช่วยลดความเสี่ยงจากการที่นักลงทุนต่างประเทศซื้อสินทรัพย์เป็นเงิน
ดอลลาร์น้อยลงซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในระยะยาว และ เป็นการยากที่จะวัดว่าผู้ลงทุนทั่วโลกจะยังคงลงทุน
ในสินทรัพย์สรอ. ต่อไปนานเท่าไร แต่อย่างไรก็ตามนักลงทุนต่างประเทศก็ยังไม่ดึงเงินลงทุนกลับแม้ว่าเงิน
ดอลลาร์สรอ.จะอ่อนค่าลงเมื่อปีที่ผ่านมาแต่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดทุนสรอ. นอกจากนั้นการที่เงินดอลลาร์
อ่อนค่าลงยังได้ช่วยลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเมื่อปีที่แล้วด้วย ซึ่งการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นเครื่องวัดการ
ค้าของสรอ.กับประเทศทั่วโลก ส่วนคำถามที่ว่าเศรษฐกิจสรอ.อาจจะได้รับผลกระทบหากจีนเลิกผูกค่าเงิน
หยวนไว้กับเงินดอลลาร์ สรอ. นายกรีนสแปนวิตกว่าอาจจะก่อให้เกิดวิกฤติในระบบธนาคารของจีนได้(รอย
เตอร์)
4. Global PMI ในเดือน ก.พ.47 ชะลอตัวเล็กน้อยอยู่ที่ระดับ 55.9 รายงานจากลอนดอน เมื่อ
1 มี.ค.47 ผลสำรวจของ JPMorgan พบว่า The global purchasing managers’ index ในเดือน
ก.พ.47 ชะลอตัวลงเล็กน้อยอยู่ที่ระดับ 55.9 จากระดับ 56.9 ในเดือนก่อน แต่ยังอยู่เหนือกว่าระดับ 50
ซึ่งเป็นเส้นแบ่งระหว่างการขยายตัวและการหดตัวของภาวะเศรษฐกิจ ดัชนีนี้ได้จากการสำรวจ 7,000 บริษัท
ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งรวมถึงประเทศ สรอ. ญี่ปุ่น เยอรมนี ฝรั่งเศส และอังกฤษด้วย อย่างไรก็ตาม
ตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าผลผลิตและคำสั่งซื้อกำลังขยายตัวพอประมาณ จากที่อยู่ในช่วงอันตรายเมื่อปลายปี
46 โดยการจ้างงานยังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง และบริษัทต่าง ๆ เริ่มมีการเพิ่มสินค้าคงคลัง ในขณะที่ราคา
น้ำมันยังคงเป็นปัญหาที่แผ่ขยายวงกว้างออกไปอีก ทั้งนี้ ดัชนีการจ้างงานในเดือน ก.พ.47 เพิ่มขึ้นที่ระดับ
51.1 จากระดับ 50.3 ในเดือนก่อน ขณะที่ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ลดลงอยู่ที่ระดับ 59.2 จากระดับ 61.6 สำหรับ
ดัชนีผลผลิตลดลงอยู่ที่ระดับ 58.1 จากระดับ 60.9 แต่ดัชนีราคานำเข้าผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างมากที่ระดับ 66.5
จากระดับ 61.8 ในเดือนก่อน (รอยเตอร์)
5. ฐานเงินของญี่ปุ่นในเดือน ก.พ.47 เพิ่มขึ้นเป็นเลขสองหลักต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 29 รายงาน
จากโตเกียว เมื่อ 2 มี.ค.47 ธ.กลางญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ฐานเงินของญี่ปุ่นในเดือน ก.พ. 47 เพิ่มขึ้นร้อยละ
16.2 เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นเลขสองหลักอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 29 และหาก
เทียบกับเดือนก่อน ฐานเงินของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.6 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) อัตราการขยายตัวเทียบ
ต่อปีของฐานเงินญี่ปุ่นได้ชะลอตัวมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 10.9 เมื่อเดือน มี.ค.46 จากที่เคยขยายตัวสูงสุดใน
เดือน เม.ย.45 ถึงระดับร้อยละ 36.3 แต่จากการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของญี่ปุ่นภายใต้การ
บริหารของผู้ว่าการ ธ.กลางญี่ปุ่น (Mr.Toshihiko Fukui) ที่รับตำแหน่งเมื่อเดือน มี.ค.46 ได้ช่วยสนับ
สนุนให้ปริมาณเงินฝากของสถาบันการเงินที่ธนาคารกลาง และสินทรัพย์สำรองของธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมาย
เพิ่มขึ้น โดยในเดือน ก.พ.47 เพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 65.3 และ 70.7 ตามลำดับ (รอยเตอร์)
6. ญี่ปุ่นไม่ได้แทรกแซงเพื่อกำหนดค่าเงินเยน รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 2 มี.ค. 47 รม
ว.คลังญี่ปุ่นกล่าวว่า การที่ญี่ปุ่นใช้นโยบายแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนก็เพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวของค่า
เงินเยนจากการเก็งกำไรไม่ได้เพื่อกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินเยน แต่เพื่อให้การเคลื่อนไหวของเงินเย
นเป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม ทั้งนี้อัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสมควรสะท้อนถึงพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ
ด้วย อย่างไรก็ตาม รมว. คลังญี่ปุ่นไม่ได้แสดงความเห็นต่อการเข้าแทรกแซงค่าเงินเมื่อเร็วๆนี้ และระดับค่า
เงินเยนในปัจจุบันเหมาะสมหรือไม่ (รอยเตอร์)
7. ดัชนีราคาผู้บริโภคของเกาหลีใต้ในเดือน ก.พ.47 เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 รายงานจาก
โซล เมื่อ 2 มี.ค.47 สำนักงานสถิติแห่งชาติเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของเกาหลีใต้ในเดือน
ก.พ.47 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ระดับร้อยละ 0.4 เทียบต่อเดือน เป็นการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดย
ในเดือน ม.ค.47 และ ธ.ค.46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 และ 0.4 ตามลำดับ แต่ตำกว่าผลสำรวจรอยเตอร์ที่
คาดการณ์ไว้ว่าดัชนีราคาผู้บริโภคของเกาหลีใต้ในเดือน ก.พ.47 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ทั้งนี้ เนื่อง
จากราคาน้ำมันดิบทั่วโลกเพิ่มขึ้นส่งผลให้ต้นทุนสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มสูงขึ้นตาม ขณะที่ราคาเนื้อหมูในเกาหลีใต้
ก็เพิ่มสูงขึ้นด้วยเนื่องจากผู้บริโภคขาดความมั่นใจในการบริโภคเนื้อไก่และเนื้อวัว หลังจากการระบาดของโรค
ไข้หวัดใหญ่สัตว์ปีกและโรควัวบ้า อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า การเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาผู้บริโภค
ในเดือน ก.พ.47 จะไม่ทำให้ ธ.กลางเกาหลีใต้ตัดสินใจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างฉับพลัน หรือ
เปลี่ยนแปลงนโยบายรัฐบาลในการรักษาระดับค่าเงินสกุลวอนในระดับต่ำ เพราะการใช้จ่ายของผู้บริโภคในคง
อยู่ในภาวะชะลอตัว ทั้งนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธ.กลางเกาหลีใต้จะนัดประชุมกันในวันพฤหัสบดีที่ 11
มี.ค.47 เพื่อทำการทบทวนเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยข้ามคืน ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระดับร้อยละ 3.75 ตั้งแต่เดือน
ก.ค.46 นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.พ.47 ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดการขยายตัวของดัชนีราคาผู้บริโภคอยู่
ที่ระดับร้อยละ 3.3 เทียบต่อปี จากระดับร้อยละ 3.4 ในเดือนก่อน ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือน
ก.พ.47 ซึ่งไม่รวมถึงราคาอาหารและพลังงานอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.7 เทียบต่อปี จากระดับร้อยละ 2.8 ใน
เดือน ม.ค.47 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 2/3/47 1/3/47
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.256 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.0670/39.3523 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2800 1.8750 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 705.25/20.19 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,400/7,500 7,400/7,500 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 31.68 30.63 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท. เพิ่มมาตรการคุมบัตรเครดิตเพิ่มเดือน มี.ค.นี้ ผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยว่าได้ให้ฝ่าย
นโยบายสถาบันการเงินศึกษาและรวบรวมข้อมูลธุรกิจ โดยเฉพาะประเด็นที่ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต
ของผู้มีรายได้น้อยมีปริมาณเพิ่มขึ้น โดยจะนำข้อมูลดังกล่าวมาพิจารณาเพื่อหามาตรการกำกับและดูแลธุรกิจดัง
กล่าว ด้านนางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ ธปท. กล่าวเพิ่มเติมว่าเมื่อนำข้อมูลของชมรมธุรกิจบัตร
เครดิตไทยมาเปรียบเทียบกับของสถาบันการเงินพบว่าข้อมูลเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยบัตรเครดิตมีจำนวน
เพิ่มสูงขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ กลุ่มผู้สมัครที่ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือกลุ่มผู้มีรายได้ต่ำ
และข้อสำคัญที่น่าเป็นห่วงคือ ผู้ออกบัตรเป็นสถาบันที่ไม่ใช้สถาบันการเงิน (นอน-แบงก์) ที่มีการแข่งขันกันสูง
มาก จึงคาดว่า ธปท. จะมีมาตรการออกมาเพื่อควบคุมในเร็ว ๆ นี้ อย่างไรก็ตาม มาตรการที่จะออกเพิ่ม
เติมเพื่อดูแลและควบคุมการทำธุรกิจบัตรเครดิต รวมทั้งการให้สินเชื่อบัตรเครดิตนั้น สามารถทำได้โดยไม่จำ
เป็นต้องรอ พ.ร.บ.สถาบันการเงินผ่านการพิจารณาของรัฐสภาก่อน โดยมาตรการเพิ่มเติมนี้จะครอบคลุมถึง
บัตรเครดิตที่ออกโดยสถาบันการเงินและบัตรเครดิตที่ออกโดยบริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน และจะสามารถออก
มาใช้ควบคุมในส่วนของบริษัทบัตรเครดิตที่ไม่ใช่สถาบันการเงินด้วย (ผู้จัดการ, กรุงเทพธุรกิจ)
2. ธ.พาณิชย์ไทยทั้งระบบทำกำไรในปี 46 3.7 หมื่นล้านบาท จากการรวบรวมผลประกอบ
การของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบ 13 แห่ง ในปี 46 พบว่า มีกำไรสุทธิ 37,066.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 45
ที่กำไรสุทธิ 11,134.27 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 232.90% โดยกลุ่มธนาคารเอกชนขนาดใหญ่มีกำไรสุทธิ
50,386 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 45 ที่มีกำไร 10,595.76 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 375.52% เป็นผลมาจาก
การที่สามารถปล่อยสินเชื่อได้เพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ รวมทั้งมีรายได้จากค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น สำหรับ
ธนาคารที่มีกำไรสูงสุด ได้แก่ ธ.กสิกรไทย 14,814 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 121.63% ธ.ไทยพาณิชย์ 12,460
ล้านบาท ธ.กรุงเทพ 11,354 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 81% ส่วนธนาคารที่มีผลขาดทุน ได้แก่ ธ.ทหารไทย ขาด
ทุน 14,054 ล้านบาท ธ.ไทยธนาคาร ขาดทุน 3,935 ล้านบาท และ ธ.ดีบีเอส ไทยทนุ ขาดทุน 2,005
ล้านบาท โดยแจ้งว่ายังมีผลกำไรจากการดำเนินงานแต่ที่ขาดทุนเพราะต้องนำเงินตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญ
ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่าในปี 47 ระบบธนาคารจะมีกำไรเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 82.5% หรือประมาณ 70,528
ล้านบาท เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น ทำให้ธนาคารสามารถขยายสินเชื่อได้มากขึ้น ในขณะเดียวกันธนาคาร
พาณิชย์หลายแห่งจะมีการไถ่ถอนหุ้นกู้ปุริมสิทธิควบหุ้นด้อยสิทธิ (สลิปส์ แคปส์) ให้หมดภายในครึ่งปีแรก ซึ่งจะ
ส่งผลให้ผลประกอบการของธนาคารดีขึ้น เพราะทำให้ภาระจ่ายดอกเบี้ยลดลง อีกทั้งทำให้ธนาคารมีภาระการ
ตั้งสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญลดลงด้วย (โพสต์ทูเดย์)
3. ภาวะเงินเฟ้อเดือน ก.พ.47 ปรับตัวสูงขึ้น 0.7% เทียบกับเดือน ม.ค.47 นายการุณ กิตติ
สถาพร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) ประจำเดือน ก.พ.47 อยู่ที่
ระดับ 107.7 เพิ่มขึ้น 2.2% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แต่เทียบกับเดือน ม.ค.47 เพิ่มขึ้น 0.7%
ซึ่งเป็นอัตราเพิ่มสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค.ปีก่อน และถ้าเฉลี่ย 2 เดือน (ม.ค.-ก.พ.) ของปีนี้เทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น 1.7% เป็นผลจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่อง
ดื่มที่เพิ่มขึ้น 1.3% ดัชนีสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่มก็ปรับตัวสูงขึ้น 0.4% นอกจากนี้
รัฐบาลได้ปรับเพิ่มค่าเอฟทีขึ้นอีกหน่วยละ 12.16 สตางค์ หรือปรับเพิ่มขึ้นจากเดิม 5% ซึ่งมีผลกระทบต่อเงิน
เฟ้อประมาณ 1% ซึ่งทั้ง 2 รายการเป็นตัวสำคัญที่ฉุดให้เงินเฟ้อเดือนนี้เพิ่มขึ้น (เดลินิวส์, ข่าวสด)
4. สรุปแผนรวมกิจการ ธ.ทหารไทย-ดีบีเอสไทยทนุ-ไอเอฟซีที แล้ว ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
รมว. ก.คลัง เปิดเผยว่า การเจรจาควบรวมกิจการ ธ.ทหารไทย ธ. ดีบีเอสไทยทนุ และบรรษัทเงินทุน
อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ไอเอฟซีที) ได้ข้อสรุปสมบูรณ์แล้ว โดยนายสมหมาย ภาษี รองปลัด ก.คลัง
กล่าวว่าในวันที่ 4 มี.ค. จะมีการประชุมร่วมกันระหว่าง ธ.ทหารไทย ดีบีเอสไทยทนุ และไอเอฟซีที เพื่อ
พิจารณาสัดส่วนในการแลกหุ้นขั้นสุดท้าย ก่อนที่จะแถลงอย่างเป็นทางการ พร้อมจะมีการเซ็นบันทึกความเข้าใจ
เบื้องต้นพร้อมกันทั้งสามฝ่าย และเมื่อทั้งสามฝ่ายอนุมัติรับสัดส่วนการแลกหุ้น ต้องนำแผนการควบรวมกิจการให้
ธปท. พิจารณา ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะทำคำเสนอซื้อหุ้นต่อผู้ถือหุ้นทั่วไป (Tender
Offer) ช่วงปลายเดือนเมษายน และจะจัดตั้ง ธ.ทหารไทยรูปแบบใหม่ภายในต้นเดือน มิ.ย.47 ทั้งนี้ การ
รวมกิจการในครั้งนี้สอดคล้องกับแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (Financial Sector Master Plan) ของ
ธปท. ฉบับล่าสุด ที่สนับสนุนให้มีการจัดตั้งสถาบันการเงินที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และมีความสามารถในการแข่งขันสูง
ขึ้น (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1.การอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ.ทำให้ประเทศที่ใช้เงินยูโรและเงินเยนซื้อน้ำมันในราคาถูกลง
รายงานจากลอนดอน เมื่อ 1 มี.ค.47 ราคาน้ำมันดิบซึ่งกำหนดเป็นเงินดอลลาร์ สรอ.อยู่ในระดับสูงสุดนับ
ตั้งแต่หลังสงครามอิรักเมื่อเดือน มี.ค. 46 แต่ผู้ใช้น้ำมันในเขตเศรษฐกิจยุโรปและญี่ปุ่นซึ่งใช้เงินสกุลยูโรและ
เงินเยนกลับซื้อน้ำมันในราคาถูกลง โดยราคาน้ำมันในรูปเงินยูโรและเงินเยนลดลงร้อยละ 14 และร้อยละ 9
ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน รมต.ก.พลังงานของ สรอ.ได้แสดงความกังวลว่ากลุ่มโอ
เปคปฏิเสธที่เพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันแม้ว่าราคาน้ำมันดิบจะอยู่ในระดับสูงกว่าช่วงราคา 22 ถึง 28 ดอลลาร์
สรอ.ต่อบาร์เรลที่กลุ่มโอเปคได้ตั้งเป้าไว้เป็นเวลาหลายเดือนแล้วก็ตาม แต่หากคิดในรูปเงินสกุลยูโรแล้ว
ราคาเฉลี่ยของน้ำมันที่ สรอ.นำเข้าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมากลับมีเสถียรภาพอย่างน่าประหลาดใจ ทำให้มีการ
วิเคราะห์กันว่ากลุ่มโอเปคอาจเปลี่ยนการตั้งราคาน้ำมันเป้าหมายเป็นเงินสกุลยูโรอย่างลับ ๆ ในขณะที่ รม
ต.ของกลุ่มโอเปคยังคงยืนยันการตั้งราคาน้ำมันเป้าหมายเป็นเงินดอลลาร์ สรอ. ระหว่าง 22 ถึง 28
ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล และกล่าวว่าเป็นเรื่องปรกติที่ผู้ผลิตน้ำมันจะต้องการราคาน้ำมันที่สูงขึ้นในรูปเงิน
ดอลลาร์ สรอ.ที่อ่อนตัวลง (รอยเตอร์)
2. ตัวเลขภาคอุตสาหกรรมของ สรอ. ส่งผลให้ราคาหลักทรัพย์ปรับตัวลดลง รายงานจาก
นิวยอร์กเมื่อ 1 มี.ค.47 รอยเตอร์เปิดเผยว่า The Institute for Supply Management รายงานตัว
เลขจากการสำรวจประจำเดือน ก.พ.47 ซึ่งพบว่า ประสิทธิภาพการผลิตโดยรวมของภาคอุตสาหกรรมยังคง
ขยายตัวอย่างเข้มแข็ง โดยดัชนีชี้วัดการจ้างงานเพิ่มขึ้นที่ระดับ 56.3 จากระดับ 52.9 ในเดือนก่อน ดัชนีชี้
วัดการใช้จ่ายซึ่งเป็นปัจจัยในการประเมินผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ เพิ่มขึ้นที่ระดับ 81.5 จากระดับ 75.5
รวมถึงดัชนีชี้วัดรายได้และรายจ่ายส่วนบุคคลซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน แม้ว่าดัชนีชี้วัดสถานการณ์ภาคการ
ผลิตจะลดลงสู่ระดับ 61.4 จากระดับ 63.6 ในเดือนก่อนก็ตาม นอกจากนี้ คาดว่าสถานการณ์ภาคการผลิต
โดยรวมที่ฟื้นตัวขึ้นดังกล่าว ยังอาจส่งผลให้ ธ.กลาง สรอ.คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมต่อไปอีก
ทั้งนี้ ภายหลังจากที่ผลการสำรวจดังกล่าวได้ประกาศออกมา ส่งผลให้หลักทรัพย์ สรอ.มีราคาลดลงทันที โดย
พธบ.รัฐบาล สรอ.อายุ 10 ปี มีราคาลดลง 1/32 ทำให้อัตราผลตอบแทน (yield) เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ
3.98 (รอยเตอร์)
3. การลดการขาดดุลงบประมาณจะช่วยลดความเสี่ยงในระบบเศรษฐกิจสรอ. รายงานจาก
วอชิงตัน เมื่อวันที่ 1 มี.ค. 47 นายอลัน กรีนสแปน ประธานธ.กลางสรอ. กล่าวว่าการที่ก.คลังสรอ.เพิ่ม
การออมโดยลดการขาดดุลงบประมาณจะช่วยลดความเสี่ยงจากการที่นักลงทุนต่างประเทศซื้อสินทรัพย์เป็นเงิน
ดอลลาร์น้อยลงซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในระยะยาว และ เป็นการยากที่จะวัดว่าผู้ลงทุนทั่วโลกจะยังคงลงทุน
ในสินทรัพย์สรอ. ต่อไปนานเท่าไร แต่อย่างไรก็ตามนักลงทุนต่างประเทศก็ยังไม่ดึงเงินลงทุนกลับแม้ว่าเงิน
ดอลลาร์สรอ.จะอ่อนค่าลงเมื่อปีที่ผ่านมาแต่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดทุนสรอ. นอกจากนั้นการที่เงินดอลลาร์
อ่อนค่าลงยังได้ช่วยลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเมื่อปีที่แล้วด้วย ซึ่งการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นเครื่องวัดการ
ค้าของสรอ.กับประเทศทั่วโลก ส่วนคำถามที่ว่าเศรษฐกิจสรอ.อาจจะได้รับผลกระทบหากจีนเลิกผูกค่าเงิน
หยวนไว้กับเงินดอลลาร์ สรอ. นายกรีนสแปนวิตกว่าอาจจะก่อให้เกิดวิกฤติในระบบธนาคารของจีนได้(รอย
เตอร์)
4. Global PMI ในเดือน ก.พ.47 ชะลอตัวเล็กน้อยอยู่ที่ระดับ 55.9 รายงานจากลอนดอน เมื่อ
1 มี.ค.47 ผลสำรวจของ JPMorgan พบว่า The global purchasing managers’ index ในเดือน
ก.พ.47 ชะลอตัวลงเล็กน้อยอยู่ที่ระดับ 55.9 จากระดับ 56.9 ในเดือนก่อน แต่ยังอยู่เหนือกว่าระดับ 50
ซึ่งเป็นเส้นแบ่งระหว่างการขยายตัวและการหดตัวของภาวะเศรษฐกิจ ดัชนีนี้ได้จากการสำรวจ 7,000 บริษัท
ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งรวมถึงประเทศ สรอ. ญี่ปุ่น เยอรมนี ฝรั่งเศส และอังกฤษด้วย อย่างไรก็ตาม
ตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าผลผลิตและคำสั่งซื้อกำลังขยายตัวพอประมาณ จากที่อยู่ในช่วงอันตรายเมื่อปลายปี
46 โดยการจ้างงานยังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง และบริษัทต่าง ๆ เริ่มมีการเพิ่มสินค้าคงคลัง ในขณะที่ราคา
น้ำมันยังคงเป็นปัญหาที่แผ่ขยายวงกว้างออกไปอีก ทั้งนี้ ดัชนีการจ้างงานในเดือน ก.พ.47 เพิ่มขึ้นที่ระดับ
51.1 จากระดับ 50.3 ในเดือนก่อน ขณะที่ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ลดลงอยู่ที่ระดับ 59.2 จากระดับ 61.6 สำหรับ
ดัชนีผลผลิตลดลงอยู่ที่ระดับ 58.1 จากระดับ 60.9 แต่ดัชนีราคานำเข้าผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างมากที่ระดับ 66.5
จากระดับ 61.8 ในเดือนก่อน (รอยเตอร์)
5. ฐานเงินของญี่ปุ่นในเดือน ก.พ.47 เพิ่มขึ้นเป็นเลขสองหลักต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 29 รายงาน
จากโตเกียว เมื่อ 2 มี.ค.47 ธ.กลางญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ฐานเงินของญี่ปุ่นในเดือน ก.พ. 47 เพิ่มขึ้นร้อยละ
16.2 เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นเลขสองหลักอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 29 และหาก
เทียบกับเดือนก่อน ฐานเงินของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.6 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) อัตราการขยายตัวเทียบ
ต่อปีของฐานเงินญี่ปุ่นได้ชะลอตัวมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 10.9 เมื่อเดือน มี.ค.46 จากที่เคยขยายตัวสูงสุดใน
เดือน เม.ย.45 ถึงระดับร้อยละ 36.3 แต่จากการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของญี่ปุ่นภายใต้การ
บริหารของผู้ว่าการ ธ.กลางญี่ปุ่น (Mr.Toshihiko Fukui) ที่รับตำแหน่งเมื่อเดือน มี.ค.46 ได้ช่วยสนับ
สนุนให้ปริมาณเงินฝากของสถาบันการเงินที่ธนาคารกลาง และสินทรัพย์สำรองของธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมาย
เพิ่มขึ้น โดยในเดือน ก.พ.47 เพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 65.3 และ 70.7 ตามลำดับ (รอยเตอร์)
6. ญี่ปุ่นไม่ได้แทรกแซงเพื่อกำหนดค่าเงินเยน รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 2 มี.ค. 47 รม
ว.คลังญี่ปุ่นกล่าวว่า การที่ญี่ปุ่นใช้นโยบายแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนก็เพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวของค่า
เงินเยนจากการเก็งกำไรไม่ได้เพื่อกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินเยน แต่เพื่อให้การเคลื่อนไหวของเงินเย
นเป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม ทั้งนี้อัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสมควรสะท้อนถึงพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ
ด้วย อย่างไรก็ตาม รมว. คลังญี่ปุ่นไม่ได้แสดงความเห็นต่อการเข้าแทรกแซงค่าเงินเมื่อเร็วๆนี้ และระดับค่า
เงินเยนในปัจจุบันเหมาะสมหรือไม่ (รอยเตอร์)
7. ดัชนีราคาผู้บริโภคของเกาหลีใต้ในเดือน ก.พ.47 เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 รายงานจาก
โซล เมื่อ 2 มี.ค.47 สำนักงานสถิติแห่งชาติเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของเกาหลีใต้ในเดือน
ก.พ.47 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ระดับร้อยละ 0.4 เทียบต่อเดือน เป็นการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดย
ในเดือน ม.ค.47 และ ธ.ค.46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 และ 0.4 ตามลำดับ แต่ตำกว่าผลสำรวจรอยเตอร์ที่
คาดการณ์ไว้ว่าดัชนีราคาผู้บริโภคของเกาหลีใต้ในเดือน ก.พ.47 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ทั้งนี้ เนื่อง
จากราคาน้ำมันดิบทั่วโลกเพิ่มขึ้นส่งผลให้ต้นทุนสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มสูงขึ้นตาม ขณะที่ราคาเนื้อหมูในเกาหลีใต้
ก็เพิ่มสูงขึ้นด้วยเนื่องจากผู้บริโภคขาดความมั่นใจในการบริโภคเนื้อไก่และเนื้อวัว หลังจากการระบาดของโรค
ไข้หวัดใหญ่สัตว์ปีกและโรควัวบ้า อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า การเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาผู้บริโภค
ในเดือน ก.พ.47 จะไม่ทำให้ ธ.กลางเกาหลีใต้ตัดสินใจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างฉับพลัน หรือ
เปลี่ยนแปลงนโยบายรัฐบาลในการรักษาระดับค่าเงินสกุลวอนในระดับต่ำ เพราะการใช้จ่ายของผู้บริโภคในคง
อยู่ในภาวะชะลอตัว ทั้งนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธ.กลางเกาหลีใต้จะนัดประชุมกันในวันพฤหัสบดีที่ 11
มี.ค.47 เพื่อทำการทบทวนเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยข้ามคืน ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระดับร้อยละ 3.75 ตั้งแต่เดือน
ก.ค.46 นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.พ.47 ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดการขยายตัวของดัชนีราคาผู้บริโภคอยู่
ที่ระดับร้อยละ 3.3 เทียบต่อปี จากระดับร้อยละ 3.4 ในเดือนก่อน ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือน
ก.พ.47 ซึ่งไม่รวมถึงราคาอาหารและพลังงานอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.7 เทียบต่อปี จากระดับร้อยละ 2.8 ใน
เดือน ม.ค.47 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 2/3/47 1/3/47
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.256 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.0670/39.3523 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2800 1.8750 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 705.25/20.19 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,400/7,500 7,400/7,500 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 31.68 30.63 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-