เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในการประชุม
สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๘ (สมัยสามัญทั่วไป) เมื่อครบ
องค์ประชุมแล้ว ประธานได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ โดยที่ประชุมรับทราบรายงานผล
การตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนกรณีความรุนแรงอันเนื่องมาจากโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย
ของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งอยู่ระหว่างรอการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จากนั้นได้มี
การขอให้ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งที่ประชุมก็ได้มีมติให้รับรองรายงาน
การประชุมสภาผู้แทนราษฎรตามที่เสนอ ต่อจากนั้นที่ประชุมได้มีการพิจารณาเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมา
พิจารณาก่อน คือ เรื่องที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการลอบวางระเบิด และก่อ
ความไม่สงบเรียบร้อยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขอขยายเวลาในการพิจารณาศึกษาออกไปอีก ๑๒๐ วัน
นับแต่วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ ซึ่งนายจุติ ไกรฤกษ์ ได้ขอให้คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ชี้แจงถึง
เหตุผลความจำเป็นของการขอขยายเวลาดังกล่าว พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ ประธาน
คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้ชี้แจงว่า ปัญหาชายแดนภาคใต้ เป็นปัญหาใหญ่ และมีความสำคัญในการ
ศึกษาปัญหาต้องอาศัยความละเอียดรอบครอบและระยะเวลา ในการสรุปปัญหาต่าง ๆ เพื่อจะได้นำเสนอ
และตอบปัญหาต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้อย่างครบถ้วน และที่สำคัญคือในวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๔๗
ได้มีการเชิญ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี และพลเอกธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มาปรึกษาหารือถึงเหตุการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ที่เกิดขึ้น เพื่อเป็น
ความเห็นประกอบในการศึกษา ทำให้คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ไม่สามารถสรุปผลการศึกษากรณีปัญหาดังกล่าว
ได้ทัน จึงต้องขอขยายเวลาออกไปอีก ๑๒๐ วัน เมื่อชี้แจงเสร็จแล้ว พันตำรวจโท สมชาย เพศประเสริฐ
ได้ขอให้การขยายเวลาการศึกษากรณีปัญหาฯ ครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย เนื่องจากมีการขอขยายเวลามาหลายครั้งแล้ว
หลังจากนั้นที่ประชุมได้ลงมติด้วยคะแนนเสียง เห็นด้วย ๒๑๘ คะแนน ไม่เห็นด้วย ๑๒ คะแนน
งดออกเสียงไม่มี และมีผู้ไม่ลงคะแนนเสียง ๑ ท่าน ให้ขยายเวลาการศึกษากรณีปัญหาดังกล่าว
ตามที่คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ เสนอ
จากนั้น นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ ได้เสนอให้เลื่อนญัตติเรื่องด่วน เรื่อง พิจารณาให้ความเห็นชอบ
การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินขึ้นมาพิจาณาก่อน
ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบตามที่เสนอ ประธานในที่ประชุมจึงได้ชี้แจงเกี่ยวกับญัตติด่วนดังกล่าวว่า
ด้วยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินที่คณะรัฐมนตรีเสนอโดย
ความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ตามมาตรา ๒๔ แห่ง พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปราม
การฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ครบวาระการดำรงตำแหน่ง ๔ ปีแล้ว คณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นสมควร
แต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ แทนตำแหน่งที่ว่างดังนี้
๑. พลตำรวจตรี กัมพล อรุณปลอด ๒. นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ๓. นายนริศ ชัยสูตร ๔. นายพชร
ยุติธรรมดำรง ๕. พลตำรวจโท เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ๖. นายมนตรี โสคติยานุรักษ์ ๗. นายวัฒนา
รัตนวิจิตร ๘. นายวีระพงษ์ บุญโญภาส ๙. พลเอกสมชัย สมประสงค์ จึงขอให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ประชุมลับเพื่อพิจารณาญัตติดังกล่าวต่อไป
หลังจากการประชุมลับเสร็จสิ้นลง ในเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา ที่ประชุมได้พิจารณากระทู้ถามสด
และกระทู้ถามทั่วไป โดยมีกระทู้ถามสดที่เข้าสู่การพิจารณา ดังนี้
กระทู้ถามสด เรื่อง ผลกระทบและรายได้จากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ของนายจุติ
ไกรฤกษ์ ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งเรื่องนี้นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
(นายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช) เป็นผู้ตอบกระทู้ถาม โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานตอบว่า
ในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทมหาชนนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับประสิทธิภาพการบริหารงาน
แบบมืออาชีพ ทำให้การไฟฟ้าและรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ มีศักยภาพมากขึ้น และเพื่อเปิดโอกาสให้
ประชาชนถือหุ้นได้มากขึ้น มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในองค์กรรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งการนำทรัพย์สินของ
รัฐวิสาหกิจไประดมทุนให้มีปริมาณมากขึ้น
กระทู้ถามสด เรื่อง การแยกมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นอิสระ
ของนายมุข สุไลมาน ซึ่งเรื่องนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงศึกษาธิการ (นางสิริกร มณีรินทร์) เป็นผู้ตอบกระทู้ถาม โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ได้ตอบว่า การแยกมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี นั้น กระทรวงศึกษาฯ ได้นำคณะไปศึกษาความเป็นไปได้
ถ้าเป็นเอกเทศก็จะเกิดความคล่องตัวในการเปิดสอน สาขาต่าง ๆ และเกิดความต้องการมากขึ้นทางด้านการจัดการหลักสูตร
บุคลากร อย่างไรก็ตามยังไม่พร้อม ในเรื่องของนักศึกษา ครูอาจารย์ บุคลากร เนื่องจากมีมหาวิทยาลัยใกล้เคียงอยู่
แต่ถ้าจะแยกออกเป็นเอกเทศ ก็ต้องมีการแก้ไขการบริหารจัดการให้คล่องตัวมากขึ้น ซึ่งจะต้องไปศึกษาอีกสักระยะหนึ่ง
กระทู้ถามสด เรื่อง การปล้นปืนจากกองพันทหารพัฒนาที่ ๔ จังหวัดนราธิวาส ของนายองอาจ
คล้ามไพบูลย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (พลเอกธรรมรัตน์
อิศรางกูร ณ อยุธยา) เป็นผู้ตอบชี้แจงว่า ทางกองทัพได้มีวิธีการตรวจสอบยุทโธปกรณ์ แล้วรายงานสถานภาพของ
ยุทโธปกรณ์ไปยังกระทรวงกลาโหมและกองทัพ พร้อมกับตอบชี้แจงให้ที่ประชุมสภากลาโหมทุกเดือน และมั่นใจว่า
ปืนถูกปล้นอย่างแน่นอน เนื่องจากความละเลยของผู้บังคับหน่วยและกำลังพลที่มีน้อย และสืบเนื่องจากพื้นที่ชายแดนมีผลประโยชน์ที่
ผู้มีอิทธิพลขัดแย้งกัน จึงมีทั้งผู้คิดดีและคิดร้ายต่อประเทศปะปนกัน
และมีกระทู้ถามทั่วไป มีจำนวน ๓ เรื่อง คือ
กระทู้ถาม เรื่อง โครงการก่อหนี้ต่างประเทศ ของนายอำนวย คลังผา เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม ถามนายกรัฐมนตรี
แต่นายอำนวย คลังผา ได้ขอถอนกระทู้ถามออกไป
กระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาชาวต่างชาติเข้ามาก่ออาชญากรรมในประเทศไทย ของ
นายสุขมพงศ์ โง่นคำ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม แต่เนื่องจากรัฐมนตรีที่จะตอบกระทู้ติดภารกิจจึงได้เลื่อน
กระทู้ถามออกไป
กระทู้ถาม เรื่อง การขึ้นทะเบียนวัด ของนายนิพนธ์ คนขยัน เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม โดยนายกรัฐมนตรีได้มอบหมาย
ให้รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นผู้ตอบชี้แจงว่า การขึ้นทะเบียนวัด
มีความหมายแตกต่างจากการสร้างวัดและตั้งวัด หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนวัดนั้น วัดใดที่สร้างขึ้นก่อนปี ๒๔๘๔
ได้ขึ้นทะเบียนไว้หมดแล้ว ยกเว้นวัดที่ตกสำรวจ แต่ทางราชการก็ได้อนุโลมให้ และให้
ขึ้นทะเบียนได้ ส่วนวัดที่สร้างขึ้นหลังปี ๒๔๘๔ และมีปัญหาพิพาทในเรื่องของที่ดินที่สร้างวัด
ไม่สามารถที่จะขึ้นทะเบียนได้ แต่ถ้าไม่มีปัญหาในเรื่องข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินก็ขึ้นทะเบียนวัดได้
แต่ทางราชการต้องตรวจสอบการถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินก่อน อย่างไรก็ตามทางการจะเร่งตรวจสอบที่ดิน
เพื่อขึ้นทะเบียนวัดให้เร็วที่สุด เพื่อเป็นการส่งเสริมพระพุทธศาสนา ส่วนการแก้ไขปัญหาวัดไม่ถูกกฎหมายนั้น
จะต้องแก้เป็นกรณีไป เช่น ปัญหาในกรรมสิทธิ์ที่ดิน ปัญหาการสร้างวัดในที่สาธารณประโยชน์
เลิกประชุมเวลา ๑๖.๐๐ นาฬิกา
--------------------------------------------------------
กลุ่มงานสื่อมวลชน สำนักประชาสัมพันธ์
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๘ (สมัยสามัญทั่วไป) เมื่อครบ
องค์ประชุมแล้ว ประธานได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ โดยที่ประชุมรับทราบรายงานผล
การตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนกรณีความรุนแรงอันเนื่องมาจากโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย
ของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งอยู่ระหว่างรอการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จากนั้นได้มี
การขอให้ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งที่ประชุมก็ได้มีมติให้รับรองรายงาน
การประชุมสภาผู้แทนราษฎรตามที่เสนอ ต่อจากนั้นที่ประชุมได้มีการพิจารณาเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมา
พิจารณาก่อน คือ เรื่องที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการลอบวางระเบิด และก่อ
ความไม่สงบเรียบร้อยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขอขยายเวลาในการพิจารณาศึกษาออกไปอีก ๑๒๐ วัน
นับแต่วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ ซึ่งนายจุติ ไกรฤกษ์ ได้ขอให้คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ชี้แจงถึง
เหตุผลความจำเป็นของการขอขยายเวลาดังกล่าว พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ ประธาน
คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้ชี้แจงว่า ปัญหาชายแดนภาคใต้ เป็นปัญหาใหญ่ และมีความสำคัญในการ
ศึกษาปัญหาต้องอาศัยความละเอียดรอบครอบและระยะเวลา ในการสรุปปัญหาต่าง ๆ เพื่อจะได้นำเสนอ
และตอบปัญหาต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้อย่างครบถ้วน และที่สำคัญคือในวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๔๗
ได้มีการเชิญ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี และพลเอกธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มาปรึกษาหารือถึงเหตุการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ที่เกิดขึ้น เพื่อเป็น
ความเห็นประกอบในการศึกษา ทำให้คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ไม่สามารถสรุปผลการศึกษากรณีปัญหาดังกล่าว
ได้ทัน จึงต้องขอขยายเวลาออกไปอีก ๑๒๐ วัน เมื่อชี้แจงเสร็จแล้ว พันตำรวจโท สมชาย เพศประเสริฐ
ได้ขอให้การขยายเวลาการศึกษากรณีปัญหาฯ ครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย เนื่องจากมีการขอขยายเวลามาหลายครั้งแล้ว
หลังจากนั้นที่ประชุมได้ลงมติด้วยคะแนนเสียง เห็นด้วย ๒๑๘ คะแนน ไม่เห็นด้วย ๑๒ คะแนน
งดออกเสียงไม่มี และมีผู้ไม่ลงคะแนนเสียง ๑ ท่าน ให้ขยายเวลาการศึกษากรณีปัญหาดังกล่าว
ตามที่คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ เสนอ
จากนั้น นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ ได้เสนอให้เลื่อนญัตติเรื่องด่วน เรื่อง พิจารณาให้ความเห็นชอบ
การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินขึ้นมาพิจาณาก่อน
ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบตามที่เสนอ ประธานในที่ประชุมจึงได้ชี้แจงเกี่ยวกับญัตติด่วนดังกล่าวว่า
ด้วยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินที่คณะรัฐมนตรีเสนอโดย
ความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ตามมาตรา ๒๔ แห่ง พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปราม
การฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ครบวาระการดำรงตำแหน่ง ๔ ปีแล้ว คณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นสมควร
แต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ แทนตำแหน่งที่ว่างดังนี้
๑. พลตำรวจตรี กัมพล อรุณปลอด ๒. นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ๓. นายนริศ ชัยสูตร ๔. นายพชร
ยุติธรรมดำรง ๕. พลตำรวจโท เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ๖. นายมนตรี โสคติยานุรักษ์ ๗. นายวัฒนา
รัตนวิจิตร ๘. นายวีระพงษ์ บุญโญภาส ๙. พลเอกสมชัย สมประสงค์ จึงขอให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ประชุมลับเพื่อพิจารณาญัตติดังกล่าวต่อไป
หลังจากการประชุมลับเสร็จสิ้นลง ในเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา ที่ประชุมได้พิจารณากระทู้ถามสด
และกระทู้ถามทั่วไป โดยมีกระทู้ถามสดที่เข้าสู่การพิจารณา ดังนี้
กระทู้ถามสด เรื่อง ผลกระทบและรายได้จากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ของนายจุติ
ไกรฤกษ์ ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งเรื่องนี้นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
(นายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช) เป็นผู้ตอบกระทู้ถาม โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานตอบว่า
ในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทมหาชนนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับประสิทธิภาพการบริหารงาน
แบบมืออาชีพ ทำให้การไฟฟ้าและรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ มีศักยภาพมากขึ้น และเพื่อเปิดโอกาสให้
ประชาชนถือหุ้นได้มากขึ้น มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในองค์กรรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งการนำทรัพย์สินของ
รัฐวิสาหกิจไประดมทุนให้มีปริมาณมากขึ้น
กระทู้ถามสด เรื่อง การแยกมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นอิสระ
ของนายมุข สุไลมาน ซึ่งเรื่องนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงศึกษาธิการ (นางสิริกร มณีรินทร์) เป็นผู้ตอบกระทู้ถาม โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ได้ตอบว่า การแยกมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี นั้น กระทรวงศึกษาฯ ได้นำคณะไปศึกษาความเป็นไปได้
ถ้าเป็นเอกเทศก็จะเกิดความคล่องตัวในการเปิดสอน สาขาต่าง ๆ และเกิดความต้องการมากขึ้นทางด้านการจัดการหลักสูตร
บุคลากร อย่างไรก็ตามยังไม่พร้อม ในเรื่องของนักศึกษา ครูอาจารย์ บุคลากร เนื่องจากมีมหาวิทยาลัยใกล้เคียงอยู่
แต่ถ้าจะแยกออกเป็นเอกเทศ ก็ต้องมีการแก้ไขการบริหารจัดการให้คล่องตัวมากขึ้น ซึ่งจะต้องไปศึกษาอีกสักระยะหนึ่ง
กระทู้ถามสด เรื่อง การปล้นปืนจากกองพันทหารพัฒนาที่ ๔ จังหวัดนราธิวาส ของนายองอาจ
คล้ามไพบูลย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (พลเอกธรรมรัตน์
อิศรางกูร ณ อยุธยา) เป็นผู้ตอบชี้แจงว่า ทางกองทัพได้มีวิธีการตรวจสอบยุทโธปกรณ์ แล้วรายงานสถานภาพของ
ยุทโธปกรณ์ไปยังกระทรวงกลาโหมและกองทัพ พร้อมกับตอบชี้แจงให้ที่ประชุมสภากลาโหมทุกเดือน และมั่นใจว่า
ปืนถูกปล้นอย่างแน่นอน เนื่องจากความละเลยของผู้บังคับหน่วยและกำลังพลที่มีน้อย และสืบเนื่องจากพื้นที่ชายแดนมีผลประโยชน์ที่
ผู้มีอิทธิพลขัดแย้งกัน จึงมีทั้งผู้คิดดีและคิดร้ายต่อประเทศปะปนกัน
และมีกระทู้ถามทั่วไป มีจำนวน ๓ เรื่อง คือ
กระทู้ถาม เรื่อง โครงการก่อหนี้ต่างประเทศ ของนายอำนวย คลังผา เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม ถามนายกรัฐมนตรี
แต่นายอำนวย คลังผา ได้ขอถอนกระทู้ถามออกไป
กระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาชาวต่างชาติเข้ามาก่ออาชญากรรมในประเทศไทย ของ
นายสุขมพงศ์ โง่นคำ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม แต่เนื่องจากรัฐมนตรีที่จะตอบกระทู้ติดภารกิจจึงได้เลื่อน
กระทู้ถามออกไป
กระทู้ถาม เรื่อง การขึ้นทะเบียนวัด ของนายนิพนธ์ คนขยัน เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม โดยนายกรัฐมนตรีได้มอบหมาย
ให้รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นผู้ตอบชี้แจงว่า การขึ้นทะเบียนวัด
มีความหมายแตกต่างจากการสร้างวัดและตั้งวัด หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนวัดนั้น วัดใดที่สร้างขึ้นก่อนปี ๒๔๘๔
ได้ขึ้นทะเบียนไว้หมดแล้ว ยกเว้นวัดที่ตกสำรวจ แต่ทางราชการก็ได้อนุโลมให้ และให้
ขึ้นทะเบียนได้ ส่วนวัดที่สร้างขึ้นหลังปี ๒๔๘๔ และมีปัญหาพิพาทในเรื่องของที่ดินที่สร้างวัด
ไม่สามารถที่จะขึ้นทะเบียนได้ แต่ถ้าไม่มีปัญหาในเรื่องข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินก็ขึ้นทะเบียนวัดได้
แต่ทางราชการต้องตรวจสอบการถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินก่อน อย่างไรก็ตามทางการจะเร่งตรวจสอบที่ดิน
เพื่อขึ้นทะเบียนวัดให้เร็วที่สุด เพื่อเป็นการส่งเสริมพระพุทธศาสนา ส่วนการแก้ไขปัญหาวัดไม่ถูกกฎหมายนั้น
จะต้องแก้เป็นกรณีไป เช่น ปัญหาในกรรมสิทธิ์ที่ดิน ปัญหาการสร้างวัดในที่สาธารณประโยชน์
เลิกประชุมเวลา ๑๖.๐๐ นาฬิกา
--------------------------------------------------------
กลุ่มงานสื่อมวลชน สำนักประชาสัมพันธ์
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร