แท็ก
โรคไข้หวัดนก
1. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน(เบื้องต้น)ในเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ขยายตัวร้อยละ 4.4 จากระยะเดียวกันปีก่อนมาอยู่ที่ระดับ 114.7 สะท้อนภาวะการอุปโภคบริโภคที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องและแม้ว่าการระบาดของโรคไข้หวัดนกในไก่จะกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยตรง แต่ผลกระทบต่อกิจกรรมการอุปโภคยังอยู่ในวงจำกัด
เครื่องชี้ในกลุ่มยานพาหนะ ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งขยายตัวร้อยละ 19.8 จากระยะเดียวกันปีก่อนโดยความนิยมในรถยนต์รุ่นใหม่ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่องภายใต้การส่งเสริมการขายที่จูงใจและรายได้ของผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น เช่นเดียวกับปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ที่ขยายตัวร้อยละ 15.0 จากระยะเดียวกันปีก่อนและอยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ อันเป็นผลจากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่อยู่ในระดับสูงพร้อมด้วยการส่งเสริมการขายในรูปแบบต่าง ๆ
เครื่องชี้ในกลุ่มที่ไม่ใช่ยานพาหนะ ปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 16.2 โดยสินค้าคงทนและไม่คงทนรายการใหญ่ขยายตัวดีเกือบทุกรายการ ซึ่งเป็นไปตามความต้องการใหญ่ขยายตัวดีเกือบทุกรายการ ซึ่งเป็นไปตามความต้องการในประเทศที่สูงขึ้นสอดคล้องกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปัจจุบันภาษีมูลค่าเพิ่มจากสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวในเกณฑ์ดีร้อยละ 14.1 ในขณะที่ปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินและปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพื่อที่อยู่อาศัยขยายตัวร้อยละ 12.7 และ 4.1 ตามลำดับ
สำหรับยอดค้าปลีกรวมทั้งประเทศในเดือนมกราคม 2547 (เบื้องต้น)ขยายตัวร้อยละ 12.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน สะท้อนกิจกรรมการอุปโภคบริโภคที่มีทิศทางชะลอลงสอดคล้องกับดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนในเดือนมกราคม
2. การลงทุนภาคเอกชน
ดังนีการลงทุนภาคเอกชน(เบื้องต้น)ในเดือนกุมภาพันธ์2547 อยู่ที่ระดับ 60.7 โดยขยายตัวร้อยละ 23.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 14.7 ในเดือนมกราคม ทังนี้เครื่องชี้ด้านการก่อสร้างซึ่งขยายตัวตามการฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ยังคงมีบทบาทสำคัญต่อการเร่งตัวของดัชนีฯ ในขณะที่เครื่องชี้ในหมวดการลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ก็ขยายตัวดี
ปริมาณจำหน่ายรถยนต์พาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 25.6 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 21.0 ในเดือนก่อนโดยยอดจำหน่ายอยู่ที่ 32,142 คัน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยต่อเดือนของยอดจำหน่ายในปี 2546 ทั้งนี้ปริมาณจำหน่ายรถยนต์พาณิชย์มีแนวโน้มที่จะขยายตัวต่อเนื่องในเดือนมีนาคมเนื่องจากการจัดงานมอเตอร์โชว์
ปริมาณนำเข้าสินค้าทุนขยายตัวร้อยละ 18.3 ตามการเร่งตัวของการนำเข้าเครื่องจักรกลและเครื่องมือวิทยาศาสตร์เป็นหลัก ซึ่งสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของอัตราการใช้กำลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรม
ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศขยายตัวร้อยละ 16.4 ซึ่งเป็นอัตราที่เร่งขึ้นจากร้อยละ 5.9 ในเดือนก่อน และปริมาณจำหน่ายในเดือนนี้ก็สูงกว่าค่าเฉลี่ยต่อเดือนในปี 2546
3. ภาคการคลัง
ฐานการคลังรัฐบาลขาดดุลในเดือนกุมภาพันธ์ 2547
รายได้รัฐบาลในเดือนกุมภาพันธ์มีรายได้นำส่ง 66.4 พันล้านบาทลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.8 เนื่องจากรายได้ที่มิใช่ภาษีอากร(สัดส่วนประมาณร้อยละ 10 ของรายได้ทั้งหมด)ลดลงร้อยละ 60.5 ตามการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจซึ่งแต่ละเดือนมักจะผันผวน โดยในเดือนนี้มีการนำส่ง 2,177 ล้านบาท (กฟน.800ล้านบาท กฟภ.400ล้าบาทสำนักงานสลกกินแบ่งรัฐบาล 672 ล้านบาท)นอกจากนี้ ค่าภาคหลวงปิโตรเลียมก็ลดลงมาก
สำหรับรายได้ภาษีอากรมีการนำส่ง 62.0พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ตามการขยายตัวของภวะเศรษฐกิจในประเทศ โดยภาษีบนฐานรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 และภาษีบนฐานการบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 ทั้งนี้ ภาษีสรรพสามิตยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะภาษีรถยนต์นับตั้งแต่มีการจัดงานมอเตอร์โชว์ในเดือนธันวาคมปีก่อน ขณะที่ภาษียาสูบก็จัดเก็บได้มากขึ้นตามนโยบายโครงการทั่วไทยปลอดบุหรี่เถื่อนส่วนภาษีอากรบนฐานการค้าระหว่างประเทศลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.9 เนื่องจากอัตราภาษีที่ลดลง
รายจ่ายรัฐบาลในเดือนกุมภาพันธ์รายจ่ายรัฐบาลเพื่มึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.0(อัตราการเบิกจ่ายในเดือนนี้เท่ากับร้อยละ 5.7)รายจ่ายในงบประมาณที่สำคัญได้แก่ (1)รายจ่ายเพื่อการจัดตั้งบริษัทมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร จำกัด 1.7 พันล้านบาท และ (2)รายจ่ายเพื่อร่วมกิจการร่วมการลงทุนเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันธูรกิจ 0.4 พันล้านบาท เป็นต้น สำหรับรายจ่ายนอกงบประมาณได้แก่ การเบิกจ่ายรายจ่ายภาษีที่โอนให้ท้องถิ่นรวม 3.3 พันล้านบาท และรายจ่ายให้แก่กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 7.4 พันล้านบาท
ดุลเงินสด ในเดือนกุมภาพันธ์ดุลเงินในงบประมาณเกินดุล 0.2 พันล้านบาทในขณะที่ดุลเงินนอกงบประมาณขาดดุล 5.0 พันล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดขาดดุล 4.8 พันล้านบาทนอกจากนี้ มีการชำระคืนเงินกู้ในประเทศสุทธิ 24.2 พันล้านบาท (โดยเป็นการออกตั๋วเงินคลัง 16.0 พันล้านบาท และไถ่ถอนตั๋วเงินคลัง 40.0 พันล้านบาท ขณะที่เงินฝากของธปท.ที่คลังจังหวัดลดลง 0.2 พันล้านบาท)และมีการชำระคืนเงินกู้ต่างประเทศสุทธิ 0.2 พันล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลังลดลงเหลือ 38.3 พันล้านบาท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ลจ--
ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน(เบื้องต้น)ในเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ขยายตัวร้อยละ 4.4 จากระยะเดียวกันปีก่อนมาอยู่ที่ระดับ 114.7 สะท้อนภาวะการอุปโภคบริโภคที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องและแม้ว่าการระบาดของโรคไข้หวัดนกในไก่จะกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยตรง แต่ผลกระทบต่อกิจกรรมการอุปโภคยังอยู่ในวงจำกัด
เครื่องชี้ในกลุ่มยานพาหนะ ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งขยายตัวร้อยละ 19.8 จากระยะเดียวกันปีก่อนโดยความนิยมในรถยนต์รุ่นใหม่ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่องภายใต้การส่งเสริมการขายที่จูงใจและรายได้ของผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น เช่นเดียวกับปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ที่ขยายตัวร้อยละ 15.0 จากระยะเดียวกันปีก่อนและอยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ อันเป็นผลจากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่อยู่ในระดับสูงพร้อมด้วยการส่งเสริมการขายในรูปแบบต่าง ๆ
เครื่องชี้ในกลุ่มที่ไม่ใช่ยานพาหนะ ปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 16.2 โดยสินค้าคงทนและไม่คงทนรายการใหญ่ขยายตัวดีเกือบทุกรายการ ซึ่งเป็นไปตามความต้องการใหญ่ขยายตัวดีเกือบทุกรายการ ซึ่งเป็นไปตามความต้องการในประเทศที่สูงขึ้นสอดคล้องกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปัจจุบันภาษีมูลค่าเพิ่มจากสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวในเกณฑ์ดีร้อยละ 14.1 ในขณะที่ปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินและปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพื่อที่อยู่อาศัยขยายตัวร้อยละ 12.7 และ 4.1 ตามลำดับ
สำหรับยอดค้าปลีกรวมทั้งประเทศในเดือนมกราคม 2547 (เบื้องต้น)ขยายตัวร้อยละ 12.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน สะท้อนกิจกรรมการอุปโภคบริโภคที่มีทิศทางชะลอลงสอดคล้องกับดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนในเดือนมกราคม
2. การลงทุนภาคเอกชน
ดังนีการลงทุนภาคเอกชน(เบื้องต้น)ในเดือนกุมภาพันธ์2547 อยู่ที่ระดับ 60.7 โดยขยายตัวร้อยละ 23.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 14.7 ในเดือนมกราคม ทังนี้เครื่องชี้ด้านการก่อสร้างซึ่งขยายตัวตามการฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ยังคงมีบทบาทสำคัญต่อการเร่งตัวของดัชนีฯ ในขณะที่เครื่องชี้ในหมวดการลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ก็ขยายตัวดี
ปริมาณจำหน่ายรถยนต์พาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 25.6 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 21.0 ในเดือนก่อนโดยยอดจำหน่ายอยู่ที่ 32,142 คัน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยต่อเดือนของยอดจำหน่ายในปี 2546 ทั้งนี้ปริมาณจำหน่ายรถยนต์พาณิชย์มีแนวโน้มที่จะขยายตัวต่อเนื่องในเดือนมีนาคมเนื่องจากการจัดงานมอเตอร์โชว์
ปริมาณนำเข้าสินค้าทุนขยายตัวร้อยละ 18.3 ตามการเร่งตัวของการนำเข้าเครื่องจักรกลและเครื่องมือวิทยาศาสตร์เป็นหลัก ซึ่งสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของอัตราการใช้กำลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรม
ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศขยายตัวร้อยละ 16.4 ซึ่งเป็นอัตราที่เร่งขึ้นจากร้อยละ 5.9 ในเดือนก่อน และปริมาณจำหน่ายในเดือนนี้ก็สูงกว่าค่าเฉลี่ยต่อเดือนในปี 2546
3. ภาคการคลัง
ฐานการคลังรัฐบาลขาดดุลในเดือนกุมภาพันธ์ 2547
รายได้รัฐบาลในเดือนกุมภาพันธ์มีรายได้นำส่ง 66.4 พันล้านบาทลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.8 เนื่องจากรายได้ที่มิใช่ภาษีอากร(สัดส่วนประมาณร้อยละ 10 ของรายได้ทั้งหมด)ลดลงร้อยละ 60.5 ตามการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจซึ่งแต่ละเดือนมักจะผันผวน โดยในเดือนนี้มีการนำส่ง 2,177 ล้านบาท (กฟน.800ล้านบาท กฟภ.400ล้าบาทสำนักงานสลกกินแบ่งรัฐบาล 672 ล้านบาท)นอกจากนี้ ค่าภาคหลวงปิโตรเลียมก็ลดลงมาก
สำหรับรายได้ภาษีอากรมีการนำส่ง 62.0พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ตามการขยายตัวของภวะเศรษฐกิจในประเทศ โดยภาษีบนฐานรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 และภาษีบนฐานการบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 ทั้งนี้ ภาษีสรรพสามิตยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะภาษีรถยนต์นับตั้งแต่มีการจัดงานมอเตอร์โชว์ในเดือนธันวาคมปีก่อน ขณะที่ภาษียาสูบก็จัดเก็บได้มากขึ้นตามนโยบายโครงการทั่วไทยปลอดบุหรี่เถื่อนส่วนภาษีอากรบนฐานการค้าระหว่างประเทศลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.9 เนื่องจากอัตราภาษีที่ลดลง
รายจ่ายรัฐบาลในเดือนกุมภาพันธ์รายจ่ายรัฐบาลเพื่มึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.0(อัตราการเบิกจ่ายในเดือนนี้เท่ากับร้อยละ 5.7)รายจ่ายในงบประมาณที่สำคัญได้แก่ (1)รายจ่ายเพื่อการจัดตั้งบริษัทมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร จำกัด 1.7 พันล้านบาท และ (2)รายจ่ายเพื่อร่วมกิจการร่วมการลงทุนเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันธูรกิจ 0.4 พันล้านบาท เป็นต้น สำหรับรายจ่ายนอกงบประมาณได้แก่ การเบิกจ่ายรายจ่ายภาษีที่โอนให้ท้องถิ่นรวม 3.3 พันล้านบาท และรายจ่ายให้แก่กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 7.4 พันล้านบาท
ดุลเงินสด ในเดือนกุมภาพันธ์ดุลเงินในงบประมาณเกินดุล 0.2 พันล้านบาทในขณะที่ดุลเงินนอกงบประมาณขาดดุล 5.0 พันล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดขาดดุล 4.8 พันล้านบาทนอกจากนี้ มีการชำระคืนเงินกู้ในประเทศสุทธิ 24.2 พันล้านบาท (โดยเป็นการออกตั๋วเงินคลัง 16.0 พันล้านบาท และไถ่ถอนตั๋วเงินคลัง 40.0 พันล้านบาท ขณะที่เงินฝากของธปท.ที่คลังจังหวัดลดลง 0.2 พันล้านบาท)และมีการชำระคืนเงินกู้ต่างประเทศสุทธิ 0.2 พันล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลังลดลงเหลือ 38.3 พันล้านบาท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ลจ--