กรุงเทพ--8 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2547 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังการหารือกับนายวิน อ่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่าที่กรุงฮานอย ดังนี้
1. นายวิน อ่อง ได้แจ้งให้ทราบถึงการเตรียมการสำหรับการประชุมสมัชชา แห่งชาติตามที่ได้เคยแจ้งไว้ระหว่างการประชุม Bangkok Process ที่กรุงเทพฯ โดยอธิบาย ถึงขั้นตอนต่างๆ ซึ่งมีความชัดเจนในรายละเอียดอย่างมาก การได้รับฟังข้อมูลครั้งนี้ทำให้ มั่นใจว่าการประชุมจะเกิดขึ้นจริงอีกไม่นานเกินรอ โดยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะเข้ามามีส่วนร่วมซึ่งเป็นสิ่งที่ดี
2. ฝ่ายพม่ายืนยันว่าจะเข้าร่วมในการประชุม Bangkok Process ครั้งที่ 2 ที่กรุงเทพฯ แน่นอน โดยจะหารือกันถึงกำหนดเวลาที่เหมาะสม ทั้งนี้ฝ่ายพม่าจะโทรศัพท์ มาแจ้งต่อไป ซึ่งคาดว่าจะไม่นานนี้ ดังนั้นจึงเป็นนิมิตรหมายที่ดีโดยอาจมีประเทศเข้าร่วมเพิ่มเติมในการประชุมฯ ด้วย
3. ในด้านทวิภาคีจะมีการเปิดสะพานข้ามแม่น้ำสายร่วมกัน และยกระดับเป็นด่านระหว่างประเทศ โดยร่วมพิธีเปิดสะพานจะมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธานร่วมกันประมาณปลายเดือนเมษายน 2547 นอกจากนั้นได้หารือกันถึงการสร้างถนนเข้าไปยังแม่สอด-เมียวดี โดยฝ่ายไทยพร้อมจะช่วยสร้างถนนเข้าไประยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร โดยฝ่ายพม่าต้องเห็นชอบในเรื่องการจัดทำเอกสารยกเว้นภาษีและอนุญาตให้นำเครื่องจักรกลับมาได้
นอกจากนั้น ฝ่ายพม่าได้แสดงความพอใจที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมของไทยนำคณะนักธุรกิจไปเยือนพม่า เพื่อดำเนินการตามกรอบความร่วมมือ ECS นอกจากนั้นฝ่ายพม่าพอใจที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาของไทยจะนำคณะไปเยือนพม่าเพื่อหารือเรื่องการท่องเที่ยว การเปิดน่านฟ้าเสรีเพื่อเชื่อมเส้นทางพุกาม-มัณฑะเลย์-เชียงใหม่ รวมทั้งเชิญฝ่ายไทยเข้าไปลงทุนในกิจการโรงแรมที่พุกามด้วย
สำหรับในเรื่องการประมง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งว่า หากเอกชนไทยไม่พร้อมในเรื่องการเข้าไปรับสัมปทานประมงในพม่าซึ่งอาจเสี่ยงต่อการถูกปรับไทยและพม่าก็อาจพิจารณาการลงทุนร่วมโดยอาจแบ่งปันผลประโยชน์กันซึ่งอาจจะดีกว่าระบบสัมปทาน
4. ในเรื่องอาเซม ประเทศสมาชิกในกลุ่มยุโรปชื่นชมบทบาทของประเทศไทยที่ลด ช่องว่างระหว่างพม่ากับยุโรปลงได้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเชื่อว่าจากนี้จนถึงการประชุมผู้นำอาเซมที่กรุงฮานอยในเดือนตุลาคม ศกนี้ จะมีความคืบหน้าในเรื่องกระบวนการปรองดองแห่งชาติและประชาธิปไตยในพม่าอย่างมาก และจะมากพอจนทำให้สมาชิกภาพของพม่าในอาเซมไม่มีปัญหา ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซมที่นครดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ ในเดือนเมษายน ศกนี้ จะมีการหารือในเรื่องนี้เช่นกัน
5. การประชุม Bangkok Process ครั้งแรกที่กรุงเทพฯ ชี้ให้เห็นว่าช่องว่างระหว่างพม่าและประชมคมโลกแคบลง และมีความเข้าใจพม่ามากขึ้น ขณะเดียวกันพม่าก็มีความเข้าใจประชาคมโลกมากขึ้น ในช่วงนี้เป็นช่วงที่จะต้องติดตามว่าพม่าจะดำเนินการตามที่ได้ให้คำมั่นไว้ในการประชุมฯ หรือไม่ จากการพบปะกันในวันนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมั่นใจว่าพม่าจะดำเนินการได้อย่างแน่นอน โดยพม่าได้มีการเตรียมการในทุกด้านเพื่อการเจรจากับทุกกลุ่ม รวมทั้งชนกลุ่มน้อยและพรรคสันนิบาตชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ NLD ด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2547 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังการหารือกับนายวิน อ่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่าที่กรุงฮานอย ดังนี้
1. นายวิน อ่อง ได้แจ้งให้ทราบถึงการเตรียมการสำหรับการประชุมสมัชชา แห่งชาติตามที่ได้เคยแจ้งไว้ระหว่างการประชุม Bangkok Process ที่กรุงเทพฯ โดยอธิบาย ถึงขั้นตอนต่างๆ ซึ่งมีความชัดเจนในรายละเอียดอย่างมาก การได้รับฟังข้อมูลครั้งนี้ทำให้ มั่นใจว่าการประชุมจะเกิดขึ้นจริงอีกไม่นานเกินรอ โดยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะเข้ามามีส่วนร่วมซึ่งเป็นสิ่งที่ดี
2. ฝ่ายพม่ายืนยันว่าจะเข้าร่วมในการประชุม Bangkok Process ครั้งที่ 2 ที่กรุงเทพฯ แน่นอน โดยจะหารือกันถึงกำหนดเวลาที่เหมาะสม ทั้งนี้ฝ่ายพม่าจะโทรศัพท์ มาแจ้งต่อไป ซึ่งคาดว่าจะไม่นานนี้ ดังนั้นจึงเป็นนิมิตรหมายที่ดีโดยอาจมีประเทศเข้าร่วมเพิ่มเติมในการประชุมฯ ด้วย
3. ในด้านทวิภาคีจะมีการเปิดสะพานข้ามแม่น้ำสายร่วมกัน และยกระดับเป็นด่านระหว่างประเทศ โดยร่วมพิธีเปิดสะพานจะมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธานร่วมกันประมาณปลายเดือนเมษายน 2547 นอกจากนั้นได้หารือกันถึงการสร้างถนนเข้าไปยังแม่สอด-เมียวดี โดยฝ่ายไทยพร้อมจะช่วยสร้างถนนเข้าไประยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร โดยฝ่ายพม่าต้องเห็นชอบในเรื่องการจัดทำเอกสารยกเว้นภาษีและอนุญาตให้นำเครื่องจักรกลับมาได้
นอกจากนั้น ฝ่ายพม่าได้แสดงความพอใจที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมของไทยนำคณะนักธุรกิจไปเยือนพม่า เพื่อดำเนินการตามกรอบความร่วมมือ ECS นอกจากนั้นฝ่ายพม่าพอใจที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาของไทยจะนำคณะไปเยือนพม่าเพื่อหารือเรื่องการท่องเที่ยว การเปิดน่านฟ้าเสรีเพื่อเชื่อมเส้นทางพุกาม-มัณฑะเลย์-เชียงใหม่ รวมทั้งเชิญฝ่ายไทยเข้าไปลงทุนในกิจการโรงแรมที่พุกามด้วย
สำหรับในเรื่องการประมง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งว่า หากเอกชนไทยไม่พร้อมในเรื่องการเข้าไปรับสัมปทานประมงในพม่าซึ่งอาจเสี่ยงต่อการถูกปรับไทยและพม่าก็อาจพิจารณาการลงทุนร่วมโดยอาจแบ่งปันผลประโยชน์กันซึ่งอาจจะดีกว่าระบบสัมปทาน
4. ในเรื่องอาเซม ประเทศสมาชิกในกลุ่มยุโรปชื่นชมบทบาทของประเทศไทยที่ลด ช่องว่างระหว่างพม่ากับยุโรปลงได้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเชื่อว่าจากนี้จนถึงการประชุมผู้นำอาเซมที่กรุงฮานอยในเดือนตุลาคม ศกนี้ จะมีความคืบหน้าในเรื่องกระบวนการปรองดองแห่งชาติและประชาธิปไตยในพม่าอย่างมาก และจะมากพอจนทำให้สมาชิกภาพของพม่าในอาเซมไม่มีปัญหา ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซมที่นครดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ ในเดือนเมษายน ศกนี้ จะมีการหารือในเรื่องนี้เช่นกัน
5. การประชุม Bangkok Process ครั้งแรกที่กรุงเทพฯ ชี้ให้เห็นว่าช่องว่างระหว่างพม่าและประชมคมโลกแคบลง และมีความเข้าใจพม่ามากขึ้น ขณะเดียวกันพม่าก็มีความเข้าใจประชาคมโลกมากขึ้น ในช่วงนี้เป็นช่วงที่จะต้องติดตามว่าพม่าจะดำเนินการตามที่ได้ให้คำมั่นไว้ในการประชุมฯ หรือไม่ จากการพบปะกันในวันนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมั่นใจว่าพม่าจะดำเนินการได้อย่างแน่นอน โดยพม่าได้มีการเตรียมการในทุกด้านเพื่อการเจรจากับทุกกลุ่ม รวมทั้งชนกลุ่มน้อยและพรรคสันนิบาตชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ NLD ด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-