วันนี้(7 ก.พ.47)เวลา 11.00น. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงถึงกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ออกมายอมรับในรายการ ‘นายกฯทักษิณคุยกับประชาชน’ เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านว่า เป็นเพราะตนเร่งรัดเกินไปในเรื่องการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิต(กฟผ.) เพื่อกระจายหุ้นเข้าตลาดหลักทรัพย์ ทั้งที่หลายเรื่องยังไม่ชัดเจนว่า ตนขอตั้งข้อสังเกตเรื่องการขอเลื่อนการแปรรูปดังนี้
1. การเตรียมการแปรรูปของรัฐบาล ผ่านการเตรียมการมานาน มีกำหนดระยะเวลาว่าในแต่ละปี จะมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจใดบ้าง เช่น ปี 2544 — 2545 มีการแปรรูปนำหุ้นเข้าตลาดไปแล้ว คือ ปตท. การบินไทย เป็นต้น และ กฟผ. ก็อยู่ในแผนว่าจะต้องนำหุ้นเข้าตลาดหลักทรัพย์ในไตรมาสแรกของ ปี2547 เพราะฉะนั้นเห็นได้ว่ารัฐบาลได้มีการเตรียมการแปรรูปกฟผ.มาตั้งแต่ต้น ซึ่งหากไม่มีการคัดค้านอย่างหนักแน่นจากพนักงาน กฟผ. แล้ว เชื่อว่าสิ่งที่นายกฯระบุว่า ยังไม่ชัดเจน ก็คงจะผ่านไปอย่างไม่โปร่งใส เช่น การจัดสรรหุ้นให้กับพนักงานและประชาชนทั่วไป การกำหนดค่าไฟในอนาคต เป็นต้น และจากการคัดค้านดังกล่าวนายกฯทักษิณจึงต้องออกมาแก้ตัวด้วยการบอกว่า ต้องทำให้ข้อข้องใจเหล่านี้ชัดเจนก่อน ทั้งที่เตรีมการมาพร้อมกับ ปตท. และการบินไทย
ประการที่ 2 การเร่งรีบของนายกฯเพื่อนำหุ้น กฟผ. เข้าตลาดหลักทรัพย์ มีเป้าหมายเพื่อขยายตัวเลขการซื้อขายหุ้นหรือทำมูลค่าการตลาดให้มากขึ้น เป็นการปั้นตัวเลขจีดีพี ให้โต 7.5- 8 % ตามที่ นายกฯเคยประกาศไว้ตั้งแต่ต้นปี 2546 โดยไม่คำนึงถึง ประโยชน์ ของ พนักงานและประชาชน เป็นหลัก ประการที่ 3 การเร่งรีบมีลักษณะปกปิดข้อมูลแอบแฝงหลายเรื่อง อาจเข้าข่ายเอื้อผลประโยชน์ให้พวกพ้อง เช่น ไม่เปิดเผยถึงอัตราส่วนการกระจายหุ้น หรือ จัดสรรหุ้นให้ประชาชนทั่วไป
‘ที่สำคัญคือสมบัติของชาติและประชาชน ได้แก่ เขื่อน 20 แห่ง รวมถึงที่ดินที่ กฟผ.เคยครอบครองไว้ จะกลายเป็นสมบัติ ของบริษัท กฟผ. ( มหาชน ) ด้วยหรือ ไม่ ประชาชน ไม่เคยรับรู้ข้อเท็จจริงเหล่านี้เลย และหาก 20 เขื่อน ซึ่งมีมูลค่ากว่า 2 หมื่นล้าน ซึ่งผูกพันกับชีวิตคนไทยมากว่า 30 ปี ทั้งในแง่การชลประทานเพื่อการเกษตร และการใช้เพื่อ อุปโภคบริโภค ต้องตกไปอยู่กับบริษัท กฟผ.มหาชน แล้ว จะมีอะไรเป็นหลักประกันว่า ระบบการชลประทานการใช้น้ำ ของชาวไร่ชาวนาจะเดือดร้อนหรือไม่ เพราะบริษัทเอกชนต้องเอากำไรอยู่แล้ว’ นายองอาจกล่าว
ประการที่ 4 ที่อ้างว่าเมื่อเป็นบริษัทมหาชน และนำหุ้นเข้าตลาดแล้ว จะเป็นการลดหนี้รัฐวิสาหกิจและไม่ต้องกู้อีก เพราะจะระดมทุนจากตลาดหลักทรัพย์ก็เป็นเรื่องไม่จริง เพราะจากกรณีของปตท. เมื่อแปรรูปเป็นบริษัทมหาชน นำหุ้นเข้าตลาดแล้ว ก็ ยังมีการกู้ธนาคารออมสินถึง 8 พันล้านบาท เพื่อมาพยุงค่าน้ำและผู้ที่รับภาระค้ำประกันเงินกู้ก็คือ กระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ซึ่งก็คือภาษีของประชาชนนั่นเอง เพราะฉะนั้นการที่รัฐบาลพูดอยู่เสมอว่า แปรรูปรัฐวิสาหกิจนำหุ้นเข้าตลาดแล้ว จะไม่ก่อหนี้เป็นภาระต่องบประมาณรัฐบาลนั้น เป็นการไม่พูดความจริงกับประชาชน และหากนำหุ้น กฟผ ขายในตลาดหลักทรัพย์แล้ว ก็ไม่อาจเชื่อได้ว่านายกฯจะทำได้อย่างที่ประกาศไว้หรือไม่
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 07/03/47--จบ--
-สส-
1. การเตรียมการแปรรูปของรัฐบาล ผ่านการเตรียมการมานาน มีกำหนดระยะเวลาว่าในแต่ละปี จะมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจใดบ้าง เช่น ปี 2544 — 2545 มีการแปรรูปนำหุ้นเข้าตลาดไปแล้ว คือ ปตท. การบินไทย เป็นต้น และ กฟผ. ก็อยู่ในแผนว่าจะต้องนำหุ้นเข้าตลาดหลักทรัพย์ในไตรมาสแรกของ ปี2547 เพราะฉะนั้นเห็นได้ว่ารัฐบาลได้มีการเตรียมการแปรรูปกฟผ.มาตั้งแต่ต้น ซึ่งหากไม่มีการคัดค้านอย่างหนักแน่นจากพนักงาน กฟผ. แล้ว เชื่อว่าสิ่งที่นายกฯระบุว่า ยังไม่ชัดเจน ก็คงจะผ่านไปอย่างไม่โปร่งใส เช่น การจัดสรรหุ้นให้กับพนักงานและประชาชนทั่วไป การกำหนดค่าไฟในอนาคต เป็นต้น และจากการคัดค้านดังกล่าวนายกฯทักษิณจึงต้องออกมาแก้ตัวด้วยการบอกว่า ต้องทำให้ข้อข้องใจเหล่านี้ชัดเจนก่อน ทั้งที่เตรีมการมาพร้อมกับ ปตท. และการบินไทย
ประการที่ 2 การเร่งรีบของนายกฯเพื่อนำหุ้น กฟผ. เข้าตลาดหลักทรัพย์ มีเป้าหมายเพื่อขยายตัวเลขการซื้อขายหุ้นหรือทำมูลค่าการตลาดให้มากขึ้น เป็นการปั้นตัวเลขจีดีพี ให้โต 7.5- 8 % ตามที่ นายกฯเคยประกาศไว้ตั้งแต่ต้นปี 2546 โดยไม่คำนึงถึง ประโยชน์ ของ พนักงานและประชาชน เป็นหลัก ประการที่ 3 การเร่งรีบมีลักษณะปกปิดข้อมูลแอบแฝงหลายเรื่อง อาจเข้าข่ายเอื้อผลประโยชน์ให้พวกพ้อง เช่น ไม่เปิดเผยถึงอัตราส่วนการกระจายหุ้น หรือ จัดสรรหุ้นให้ประชาชนทั่วไป
‘ที่สำคัญคือสมบัติของชาติและประชาชน ได้แก่ เขื่อน 20 แห่ง รวมถึงที่ดินที่ กฟผ.เคยครอบครองไว้ จะกลายเป็นสมบัติ ของบริษัท กฟผ. ( มหาชน ) ด้วยหรือ ไม่ ประชาชน ไม่เคยรับรู้ข้อเท็จจริงเหล่านี้เลย และหาก 20 เขื่อน ซึ่งมีมูลค่ากว่า 2 หมื่นล้าน ซึ่งผูกพันกับชีวิตคนไทยมากว่า 30 ปี ทั้งในแง่การชลประทานเพื่อการเกษตร และการใช้เพื่อ อุปโภคบริโภค ต้องตกไปอยู่กับบริษัท กฟผ.มหาชน แล้ว จะมีอะไรเป็นหลักประกันว่า ระบบการชลประทานการใช้น้ำ ของชาวไร่ชาวนาจะเดือดร้อนหรือไม่ เพราะบริษัทเอกชนต้องเอากำไรอยู่แล้ว’ นายองอาจกล่าว
ประการที่ 4 ที่อ้างว่าเมื่อเป็นบริษัทมหาชน และนำหุ้นเข้าตลาดแล้ว จะเป็นการลดหนี้รัฐวิสาหกิจและไม่ต้องกู้อีก เพราะจะระดมทุนจากตลาดหลักทรัพย์ก็เป็นเรื่องไม่จริง เพราะจากกรณีของปตท. เมื่อแปรรูปเป็นบริษัทมหาชน นำหุ้นเข้าตลาดแล้ว ก็ ยังมีการกู้ธนาคารออมสินถึง 8 พันล้านบาท เพื่อมาพยุงค่าน้ำและผู้ที่รับภาระค้ำประกันเงินกู้ก็คือ กระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ซึ่งก็คือภาษีของประชาชนนั่นเอง เพราะฉะนั้นการที่รัฐบาลพูดอยู่เสมอว่า แปรรูปรัฐวิสาหกิจนำหุ้นเข้าตลาดแล้ว จะไม่ก่อหนี้เป็นภาระต่องบประมาณรัฐบาลนั้น เป็นการไม่พูดความจริงกับประชาชน และหากนำหุ้น กฟผ ขายในตลาดหลักทรัพย์แล้ว ก็ไม่อาจเชื่อได้ว่านายกฯจะทำได้อย่างที่ประกาศไว้หรือไม่
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 07/03/47--จบ--
-สส-